โควิด-19 จะระบาดระลอก 2 และ 3 หรือไม่

โควิด-19 จะระบาดระลอก 2 และ 3 หรือไม่

ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
18 พ.ค. 2563

การที่จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องตรวจสอบเรื่องที่เรารู้แล้ว และเรื่องที่เรายังไม่รู้ หรือไม่แน่นอน

 ดาวน์โหลดเอกสาร


เรื่องที่ยังไม่รู้ หรือยังไม่แน่นอน

1. การที่คิดกันว่าจะเกิดการระบาดรอบ 2 และ 3 ตามมา อิงจากข้อมูลโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) และการทำแบบจำลองการระบาด

โดยเฉพาะการอ้างอิงจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนเมื่อร้อยปีที่แล้ว ซึ่งรอบ 2 และ 3 ทำให้มีคนตายมากว่ารอบแรกเสียอีก ข้อมูลเรื่องนี้ชัดเจนมากในสหรัฐ (ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นประเทศแรกสุดที่เกิดการระบาดในคราวนั้น หรือพูดง่ายๆ เป็น “ต้นตอโรค” นั่นเอง)

https://www.cdc.gov/flu/pandemic-resources/1918-commemoration/three-waves.htm

2. มีนักวิจัยทำแบบจำลองไว้ พบว่าหากมาตรการของประเทศต่างๆ เข้มข้นลดลง จะทำให้ค่าความสามารถในการติดเชื้อของโควิด (ค่า R0) เกิน 1 ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นการระบาดรอบ 2 ได้

https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S0140-6736%2820%2930845-X

Continue reading “โควิด-19 จะระบาดระลอก 2 และ 3 หรือไม่”

การใช้งาน SciVal เพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพทางการวิจัย

“SciVal” ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นผู้ช่วยในการวิเคราะห์ศักยภาพทางการวิจัย โดยเน้นการนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ และเข้าใจง่าย ทำให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้ไม่ยาก ฐานข้อมูลนี้จะทำให้ผู้ใช้งานมองเห็นถึงศักยภาพทางการวิจัยในระดับต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์สำหรับการติดตาม และประเมินศักยภาพทางการวิจัย ตลอดจนการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัย

Scival for Research Performance from Boonlert Aroonpiboon

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2563

ภาวะโรคระบาดใหญ่ (Pandemics)
การระบาดใหญ่ หรือ Pandemics คือปรากฎการณ์ที่โรคติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคขนาดใหญ่เช่นหลายทวีปหรือทั่วโลก 
ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีการระบาดใหญ่ของโรค เช่นไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค และวัณโรค อยู่บ่อยครั้ง และหนึ่งในโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดคือกาฬโรค
(Black Death) ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 75-200 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ 
(ไข้หวัดสเปน) ในปี 1918 และการระบาดของโรคเอดส์ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า
30 ล้านคน ที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการวิจัยใหญ่ทางไวรัสวิทยา โดยเฉพาะการผลิตยาต้านไวรัสที่มีผลต่อการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสในปัจจุบัน

สถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในจีนและเอเชียตะวันออก

8 ธ.ค.62 เจ้าหน้าที่จีนได้การบันทึกผู้ป่วยรายแรกที่แสดงอาการของโรคจากโคโรน่าไวรัส ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ทราบสาเหตุ
30 ธ.ค.62 การบริหารทางการแพทย์ของคณะกรรมการอนามัยเทศบาลอู่ฮั่นประกาศฉุกเฉินเกี่ยวกับการรักษาโรคปอดโดยไม่ทราบสาเหตุไปยังองค์การอนามัยโลก ซึ่งส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดอาหารทะเลจีนใต้อู่ฮั่น
2 ม.ค.63 มีการยืนยันจากห้องปฎิบัติการว่า ผู้ป่วย 41 คนในอู่ฮั่นติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV
(โคโรน่าไวรัสอู่ฮั่น)
3 ม.ค.63 ไทยและสิงคโปร์เริ่มมีการคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ณ ท่าอากาศยานสำคัญ
9 ม.ค. 63 องค์การอนามัยโลกยืนยันว่ามีโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในมนุษย์ และมีผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นชายอายุ 61 ปี ซึ่งเป็นลูกค้าประจำที่ตลาดอาหารทะเลดังกล่าว
16 ม.ค. 63 ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV เป็นรายแรก เป็นชายสัญชาติจีนอายุ 30 ปี
20 ม.ค. 63 ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อเป็นหญิงอายุ 74 ปี ซึ่งเดินทางมาจากจีน
21 ม.ค. 63 มีรายงานผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกในประเทศเกาหลีใต้
22 ม.ค. 63 มาเก๊าและฮ่องกงมีรายงานผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันจากห้องปฎิบัติการ
24 ม.ค. 63 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และฮ่องกง เริ่มพบผู้ติดเชื้อรายต่อๆ ไป แสดงให้เห็นการระบาด
ที่ใหญ่ขึ้น

ไวรัส อีกหนึ่ง “สิ่งที่ไม่เห็น ไม่ใช่ไม่มี”

ไวรัส จะมีองค์ประกอบของไวรัส มีด้วยกัน 3 ส่วน
1. ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรมหรือจีโนม ซึ่งมีทั้งที่เป็นดีเอ็นเอสายเดี่ยว ดีเอ็นเอสายคู่ อาร์เอ็นเอ
สายเดี่ยว หรือ อาร์เอ็นเอสายคู่ ที่แตกต่างออกไปตามชนิด
2. ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นโปรตีนห่อหุ้ม มีลักษณะเป็นก้อนโปรตีนมาเรียงต่อกัน แต่ละก้อนประกอบขึ้นจากสายโพลีเปปไทด์ที่ขดกันจนดูคล้ายเป็นก้อน แต่ละก้อนเรียกแคปโซเมียร์ หลายๆ ก้อนที่มาเรียงต่อกันเรียก แคปซิด
3. ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงโปรตีนชนิดอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นเอมไซม์ ที่สำคัญส่วนประกอบพวกนี้โดยทั่วไปมี
องค์ประกอบที่มีลักษณะแบบเดียวกับเซลล์ที่ไวรัสจะเข้าไปอาศัยไวรัสเพิ่มจำนวนได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น อาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงแบคทีเรีย
ใช้เพาะเลี้ยงไวรัสไม่ได้ นอกจากจะเพาะเลี้ยงในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รหัสพันธุกรรมของไวรัสเมื่อผันแปร ไวรัสก็ผันแปรด้วยไวรัสที่ผันแปรแตกต่าง
ไปจากไวรัสปกติอาจตรวจสอบได้โดยเลี้ยงกับเซลล์ต่างๆ และเปรียบเทียบไวรัสดูตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ เช่นจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีโครงสร้าง
แบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน นอกจากนั้นไวรัสแต่ละชนิดยังมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น
– คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของไวรัส เช่น ความทนของไวรัสต่อรังสี ความทนของไวรัสต่ออุณหภูมิระดับต่างๆ
– คุณสมบัติทางเคมีของไวรัส เช่น ความทนของไวรัสต่อสารเคมี ต่อสารฆ่าเชื้อต่างๆ
– คุณสมบัติทางชีววิทยาของไวรัส เช่น ความสามารถในการสังเคราะห์ไวรัส ความสามารถของไวรัสในการทำลายเซลล์รุนแรงมากน้อยเพียงใด
ความสามารถในการสังเคราะห์เอ็นไซม์ สังเคราะห์แอนติเจนที่เฉพาะของไวรัส ยีนที่ควบคุมชนิดของเซลล์ที่ไวรัสจะเจริญ
ยีนที่ทำให้เกิดการสลายเซลล์ที่ผันแปรจากเซลล์ปกติ โดยเปรียบเทียบความสามารถของไวรัสที่จะแพร่พันธุ์

COVID-19 ไวรัสเขย่าโลกยุคโลกาภิวัฒน์

ไวรัส COVID-19 เป็นไวรัส RNA ในกลุ่ม Coronavirus หรือชื่ออย่างเป็นทางการที่วงการวิทยาศาสตร์อเมริกันนิยมใช้คือ SARS-CoV-2
(ส่วนวงการเมืองระดับผู้นำใช้ Wuhan Virus หรือ Chinese Virus) เนื่องจากไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคซาร์
(Severe Acute Respiratory Syndrome) ที่เริ่มต้นจากมณฑลกวางตุ้งของจีนเช่นเดียวกันเมื่อสิบกว่าปีกว่า และก็เป็นไวรัสชนิดเดียวกับ
ที่ก่อให้เกิดโรค
MERS (Middle East Respiratory Syndrome) ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนาที่ติดต่อมาจากอูฐ โดยกรณี COVID-19
ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าต้นตอของไวรัสมาจากค้างคาว และพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับงู และตัวนิ่ม รวมแม้กระทั่งมีการลือว่าเป็น
ไวรัสสังเคราะห์โดยฝีมือมนุษย์จากห้องปฎิบัติการ อันที่จริง ไวรัสกลุ่มนี้ ก็คือไวรัสกลุ่มเดียวกับไวรัสตระกูลใหญ่หรือตระกูลหวัด
ที่อยู่กับอารยธรรมมนุษย์มานมนาน และได้ชื่อที่ไพเราะว่า
corona virus เพราะว่ามีหนามแหลมคล้ายมงกุฎบนพื้นผิวของมัน
ซึ่งภาษาจีนได้เรียกขานเจ้าไวรัสนี้ ว่า ซินกวนปิ้งตู๋ หรือไวรัสมงกุฎใหม่ ไวรัสกลุ่มหวัดนี้ โดยธรรมชาติจะมุ่งเป้าการติดเชื้อ
ที่ระบบทางเดินหายใจ โดยกรณีปกติ ก็เป็นสาเหตุของการทำให้เกิดอาการเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไปจนถึง ปวดหัว
ตัวร้อน เป็นไข้ เจ็บคอ โดยอาการปกติก็สามารถทุเลาได้เอง แต่ในกรณีของอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อ
Coronavirus
ในปลายปี 2019 การตระหนักเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ มีขึ้นหลังจากพบว่า มีผู้คนในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยของจีน จำนวนมาก
มีอาการปอดอักเสบรุนแรง และเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการแพร่ระบาดในจีนได้อยู่ในช่วงวิกฤตในช่วง
ปลายเดือน ธ.ค.
2562 จนถึงกลางเดือน มี.ค.2563 โดยกว่าที่สถานการณ์จะเข้าสู่ระยะควบคุมได้ ก็มีผู้ป่วยมากกว่า 80,000 คน
ทั่วประเทศ และเสียชีวิตกว่า
3,000 คน แต่สถานการณ์กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะแม้ว่าสถานการณ์จากจุดแพร่ระบาดเริ่มต้นจะสงบลง
แต่สถานการณ์ที่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในเพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น กลับทวีความรุนแรงขึ้น และกระจายไปใน
หลายพื้นที่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นในตะวันออกกลาง จนถึงยุโรปและข้ามมายังทวีปอเมริกา ซึ่งในบางพื้นที่ อาทิ สถานการณ์ในยุโรป
โดยเฉพาะอิตาลี สเปน รวมทั้งประเทศที่ได้รับการประเมินว่า มีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลกอย่างสหรัฐอเมริกา กลับมีสถานการณ์
การติดเชื้อและจำนวนผู้เสียชีวิต อยู่ในระดับที่น่าหวั่นเกรง
องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ
COVID-19 อยู่ในระดับของการแพร่ระบาดในวงกว้าง หรือการระบาดใหญ่ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Pandemic นั่นเอง

อาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19

อาการของผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ในระยะเริ่มต้นจะมีความรุนแรงของอาการแตกต่างกัน ผู้ติดเชื้อบางรายจะไม่แสดงอาการใดๆ บางรายจะมีอาการ
คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาเจียน หรือท้องเสีย หรือบางรายมีอาการที่รุนแรงขึ้น คือ หายใจถี่ เหนื่อยหอบ
จากข้อมูลของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ
(Centers for Disease Control and Prevention : CDC) ระบุว่า อาการหลักของผู้ที่ติดเชื้อ
COVID-19 ในเบื้องต้น ที่จะแสดงอาการภายใน 2 – 14 วัน คือ
1. มีไข้ อุณหภูมิสูงกว่า 38องศาเซลเซียส หรือ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์
2. เจ็บคอ ไอแห้ง และเสียการรับรู้กลิ่น-รสชาติ
3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยร่างกาย และเมื่อเชื้อเข้าทำลายปอดก็จะมีการหายใจถี่ เหนื่อยหอบ (หากมีอาการดังกล่าว ควรต้องพบแพทย์
เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากเชื้อได้ลงไปทำลายเซลล์และระบบการทำงานของปอด)
ส่วนอาการที่ค่อนข้างขัดแย้งกับอาการติดเชื้อ
COVID-19 คือ การมีน้ำมูก ซึ่งมักเป็นอาการของหวัดธรรมดา และการแพ้อากาศ
โดยอาการเบื้องต้นทั้ง
3+1 อาการนี้ จะแสดงอาการในผู้ป่วยแต่ละคนมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละ
บุคคลสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น หายใจลำบาก ปวดหน้าอก เมื่อร่างกายนำพา
ออกซิเจนมาไหลเวียนในระบบโลหิตไม่พอ ก็จะมีอาการเพ้อหรือขาดสติ ริมฝีปากและใบหน้าหมองคล้ำรวมถึง ภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบ
โดยเชื้อไวรัสนี้จะทำลายการทำงานของปอด หากพบว่าติดเชื้อในระยะหลังแล้ว อาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ไตวาย และเสียชีวิตในที่สุด
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน และผู้ที่ปอดมีการทำงานไม่สมบูรณ์ อาทิ จากสาเหตุการสูบบุหรี่จัด

แนวทางปฎิบัติตนของผู้มีอาการติดเชื้อโดย CDC
1. พักอยู่ที่บ้าน สำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการ หรือติดเชื้อ COVID-19 ในระยะเริ่มต้น สามารถฟื้นตัวได้เอง หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ยกเว้นในกรณี
จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์ หลีกเลี่ยงการใช้รถโดยสารสาธารณะ/แท็กซี่ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ
2. กันพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนแยกออกจากผู้อื่นในบ้าน (Self-isolate) แยกการใช้พื้นที่ในบริเวณบ้าน ห้องน้ำจากผู้อื่นภายในบ้าน เป็นระยะเวลา 14 วัน
เพื่อให้ผ่านระยะเชื้อฟักตัว และเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีอาการของโรค รวมทั้ง ลดการสัมผัสสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานการติดเชื้อ
COVID-19 ในสัตว์เลี้ยงก็ตาม ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องดูแลหรือสัมผัสสัตว์เลี้ยง ควรล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสสัตว์เลี้ยง
3. ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อรู้สึกไม่สบายและเมื่อต้องอยู่รวมกับผู้อื่น ถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ เนื่องจากปัญหาการหายใจติดขัด
ผู้ที่เข้าใกล้หรือผู้ที่ให้การดูแลผู้ป่วยควรใส่หน้ากากอนามัย
4. เมื่อมีอาการไอ หรือจาม ควรปิดจมูกและปากด้วยกระดาษทิชชูและทิ้งลงถังขยะ และล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
หรือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลที่มีปริมาณแอลกอฮอล์อย่างน้อย
60%
5. ล้างมือบ่อยครั้ง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้า ตา จมูก และปาก
6. การล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ควรล้างมือให้สะอาดใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะเมื่อมีการจาม หรือไอ รวมถึง
ก่อนการเตรียมและก่อนรับประทานอาหาร
7. การใช้แอลกอฮอล์เจลที่มีปริมาณแอลกอฮลล์อย่างน้อย 60% ควรถูให้รอบทั้งบริเวณฝ่ามือและหลังมือ
จนแห้ง
8. หลีกเลี่ยงการใช้ของภายในบ้านร่วมกัน เช่น จาน แก้วน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนอน และควรล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้าง
9. ทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อยครั้ง ในบริเวณห้องนอน ห้องน้ำของผู้ป่วย ควรทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยๆ เป็นประจำทุกวัน
รวมถึงในพื้นที่หรืออุปกรณ์ที่มีการใช้ร่วมกัน เช่น บริเวณโต๊ะ รีโมทโทรทัศน์ กลอนประตูห้องน้ำ โทรศัพท์ เป็นต้น
10. มั่นตรวจสอบอาการของตนเอง ถ้าหากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ รวมถึงใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกนอกบ้าน
และอยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย
6 ฟุต

การรักษาการติดเชื้อไวรัส COVID-19 กรณีของสหรัฐอเมริกา

หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention – CDC) แนะนำการรักษาในเบื้องต้น หากผู้ป่วยมีอาการไอ
หรือมีไข้ให้ทานยาตามอาการ ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งอาการในเบื้องต้นนี้สามารถหายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล
ทั้งนี้ หากมีอาการรุนแรง หรือหายใจลำบากควรโทรปรึกษาแพทย์หรือหน่วยสาธารณสุขของรัฐทันที นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีไข้
European Medicines Agency (EMA) แนะนำให้ใช้ยาที่มีส่วนประกอบของสาร Acetaminophen (APAP) เช่น ไทลินอล พาราเตมอล
ไม่ควรใช้ยาลดไข้ที่มีส่วนประกอบของสาร
Ibuprofen และ NSAIDs เนื่องจากฤทธิ์ยาจะทำให้ร่างกายผลิตเอมไซม์เคลือบผิวเซลล์ทำให้ไวรัส
สามารถเข้าเซลล์ได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก
(WHO) ยังไม่มีการยืนยันการห้ามใช้ยาลดไข้ที่มีส่วนประกอบของสาร Ibuprofen
และ NSAIDs ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจเกิดเฉพาะรายบุคคล ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการใช้ยา สำหรับผู้ป่วย
ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง ถึงแม้ว่าจะยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคนี้ได้โดยตรง แต่ได้มีการประยุกต์ใช้ยาที่มีอยู่แล้วหลายประเภทในการรักษาอาการ
ติดเชื้อในขณะนี้ ได้แก่

ยาต้านไวรัส เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)

Remdesivir (รหัสพัฒนา GS-5734) เป็นยาต่อต้านไวรัสตัวใหม่ในคลาส Analogs นิวคลีโอไทด์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Gilead Sciences
คุณสมบัติดั้งเดิมเพื่อเป็นยาต้านไวรัสอีโบลาและการติดเชื้อไวรัส Marburg บริษัทได้แจกจ่ายยาครั้งแรกให้กับศูนย์การแพทย์ในรัฐวอชิงตัน
ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงจำนวนมากเพื่อทำการศึกษาทดลองนำมาใช้ต้านไวรัส
COVID-19 ดังนั้น จากเว็บไซต์ของ CDC ยา Remdesivir นี้
เป็นยาต้านไวรัสที่เคยมีการรายงานว่าสามารถต้านเชื้ออีโบลาได้เมื่อปี
2557 ทำให้นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจในการศึกษาทดลองยาตัวนี้
เพื่อใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากไวรัสอื่นๆ รวมถึง
COVID-19 ในปัจจุบันผู้ป่วยจาก COVID-19 จำนวนหนึ่งได้รับ Remdesivir เพื่อทดลอง
ประสิทธิภาพของยา โดยการทดลองใช้
Remdesivir ในผู้ป่วยของ U.S. National Institutes of Health (HIH) ซึ่งเพิ่งได้รับการอนุมัติให้
ดำเนินการจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ
(FDA) แล้วเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ Remdesivir กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง
การรักษาการติดเชื้อไวรัส
COVID-19 กรณีของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันโรงพยาบาลในสหรัฐฯ มีการทดลอง Remdesivir ภายใต้โครงการวิจัย
ของ
NIH โรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ในเมือง Boston ซึ่งพบว่าผู้ป่วยดีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากได้รับ Remdesivir
ผุ้ป่วยเริ่มทานอาหารได้ ไข้ลดลง และไอน้อยลง แม้ว่าแพทย์ยังไม่กล้ายืนยันว่าจะมีผลข้างเคียงอื่นตามาหรือไม่

ยา Chloroquine และ Hydroxychloroquine
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ได้ประกาศเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่น่ายินดีของการใช้ยารักษามาลาเรียสองชนิดที่เรียกว่า
Chloroquine และ Hydroxychloroquine ว่าจะเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อ COCID-19 โดยเขาได้สนับสนุนการใช้ยานี้
อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ
(FDA) ออกแถลงการณ์อย่างรวดเร็วเพื่อชี้แจงว่ายาเหล่านี้ไม่ได้รับการอนุมัติ
ให้ใช้ในการรักษา
COVID-19 ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจาก Coronavirus SARS-CoV-2 ยาทั้งสองชนิดนี้

ยาโลพินาเวียร์ (Lopinavir) และ ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
ยาสองชนิดนี้ หรือรู้จักในชื่อ Kaletra เป็นยาสำหรับใช้รักษาผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งในเกาหลีใต้และไทยได้ใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19
พบว่า มีอาการดีขึ้น หลังจากได้รับยาสองตัวนี้ ทั้งนี้ ยังไม่ได้รับการยืนยันประสิทธิภาพของการใช้ Kaletra ในการรักษาโรค COVID-19
จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยากลุ่มนี้ เป็นยาต้านไวรัส ที่มีการคิดค้นออกมามากในช่วงที่มีการระบาด

ยาฟาวิไฟเรเวียร์ (Favipiravir) หรือ ฟาวิลาเวียร์ (Favilavir) หรือ Avigan
ยานี้ เป็นยาใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ คิดค้นโดยบริษัท Fujifilm Toyama Chemical ญี่ปุ่น ที่ผ่านมา การใช้ยาตัวนี้ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
เนื่องจากมีรายงานถึงประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง แต่ยาตัวนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคอีโบลา รวมถึงโรค
COVID-19 โดยญี่ปุ่นและจีนได้้
ใช้ยาตัวนี้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ พบว่า บรรเทาอาการปอดบวมได้ และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว แต่มีรายงานว่ายานี้ยังไม่มีประสิทธิภาพพอในการ
รักษาผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง ในเดือน ก.พ.
2563 ที่ผ่านมา จีนได้อนุมัติยานี้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 อย่างเป็นทางการและส่งออก
เพื่อช่วยเหลือนานาประเทศ โดยยานี้ ถือว่าเป็นยาที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคติดเชื้อจาก
COVID-19 ทั้งนี้
ไวรัสชนิดนี้ เป็นกลุ่มเดียวกับไวรัส
CORONA ที่ทำให้เกิดไข้หวัด และหวัด แม้ว่า
เมื่อเดือนมี.ค.
2558 แต่ทั้งนี้ ยานี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) สำหรับการรักษาการติดเชื้อ COVID-19
แต่อาจจะมีการพิจารณาเร็วๆ นี้ จากกระแสที่หลายประเทศรับรองคุณสมบัติของยาดังกล่าวโดยเฉพาะจากการทดลองขนาดเล็กที่มีกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน
80 คน เมื่อต้นเดือน มี.ค. 2563 พบว่า Favipiravir มีฤทธิ์ต้านไวรัส COVID-19 มีศักยภาพมากกว่า Lopinavir/Ritonavir เจ้าหน้าที่
ของจีนแนะนำว่า
Favipiravir ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพในการรักษา COVID-19

การตรวจหา COVID-19
การตรวจวินิจฉัยหา COVID-19 มีหลายวิธีซึ่งพัฒนาขึ้นโดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่
2019 ใช้เทคนิคการตรวจในห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า Realtime RT-PCR หรือการตรวจรหัสพันธุกรรมเฉพาะตัวไวรัสอู่ฮั่น
RT คือ Reverse transcriptase เป็นกระบวนการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมอาร์เอ็นเอ (RNA) ของไวรัสให้เป็นสายคู่แบบดีเอ็นเอ (DNA) ก่อน
แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการตรวจแบบ
PCR (Polymerase chain reaction) ซึ่งแม่นยำ เชือถือได้ และใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง

ผู้เข้าข่ายที่ควรรับการตรวจ
ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อยและสามารถรักษาตัวได้ด้วยตนเอง แม้ว่ากรมควบคุมโรคติดต่อจะได้กำหนดลักษณะชองผู้ที่ควรได้รับ
การตรวจ COVID-19 การตัดสินใจขึ้นอยู่กับหน่วยงานท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลนั้นๆ ดังนั้น หากสงสัยว่าอาจติดเชื้อ coronavirus เช่น
มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ หรือมีประวัติใกล้ชิดผู้ที่สงสัยติดเชื้อ
COVID-19 ควรติดต่อไปยัง
สถานพยาบาลในพื้นที่และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

สถิติผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในเอเชีย  
สถานการณ์ COVID-19 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ยังถือว่าเป็นที่น่ากังวลในหลายประเทศทั่วโลก บางประเทศสามารถกำหนดมาตรการต่างๆ
เพื่อควบคุมการระบาดได้ บางประเทศยังอยู่ในวิกฤต บทความนี้จะเจาะไปที่ประเทศในทวีปเอเชียที่น่าสนใจในการเผชิญกับวิกฤตในครั้งนี้
โดยเน้นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงสุด
20 ประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านของไทย

จีน
จีนเป็นประเทศจุดเริ่มต้นของการระบาดครั้งนี้และยังเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 สูงที่สุดในทวีปเอเชีย
โดยยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.พ. และเริ่มชะลอตัวในเดือน ม๊.ค. แม้ว่าหลายฝ่ายจะยอมรับว่ามาตรการเด็ดขาด
ของจีนเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า จีนยังไม่ควรประมาท เพราะ
coronavirus อาจจะกลับมาระบาดได้อีกครั้ง
หากประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ
จำนวนผู้ติดเชื้อ
82,465 คน (3/4/2563)

อิหร่าน
อิหร่านเป็นอีกประเทศที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากิจกรรมทางศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด
เช่น ศาสนสถานแห่งหนึ่งในเมืองกอมทางใต้ของกรุงเตหะรานที่ประชาชนจำนวนมากเข้าไปสักการะ และมีการสัมผัสและจูบผิวของศาสนสถาน
ปัจจุบัน จำนวนผู้ติดเชื้อในอิหร่านยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีบุคคลสำคัญของประเทศ เช่น นักการเมือง ติดเชื้อและเสียชีวิตด้วย
COVID-19
จำนวนผู้ติดเชื้อ 50,468 คน (3/4/2563)

ตุรกี
ตุรกีประกาศยืนยันพบผู้ป่วยติดเชื้อ
COVID-19 เป็นรายแรกเมื่อวันที่ 11 มี.ค.63 ซึ่งเป็นชายที่เพิ่งเดินทางกลับจากยุโรป หลังจากนั้น
อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อในตุรกีก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับเป็นประเทศที่มีอัตราเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อสูงสุดในโลก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า
สาเหตุคือ การเริ่มการตรวจหาผู้ติดเชื้อและการออกมาตรการระงับการเดินทาง และการปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคม เริ่มต้นขึ้นช้ากว่าที่ควร
จำนวนผู้ติดเชื้อ
18,135 คน (3/4/2563)

เกาหลีใต้
เมื่อปี
2558 เกาหลีใต้เคยประสบปัญหาการระบาดของ MERS (Middle East respiratory syndrome) จากบทเรียนครั้งนั้น ทำให้เกาหลีใต้้
รู้ว่าสิ่งที่ต้องทำคือ การผลิตอุปกรณ์ตรวจคัดกรองให้มากที่สุดเพื่อตรวจหาและแยกตัวผู้ติดเชื้อออกจากสังคมให้เร็วที่สุด และการใช้
หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการระบาด ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ ทำให้เกาหลีใต้สามารถชะลอการระบาดของ
coronavirus ได้
จำนวนผู้ติดเชื้อ
10,062 คน (3/4/2563)

มาเลเซีย
มาเลเซียมีการออกมาตรการต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตามความท้าทายหนึ่งของประเทศนี้คือ ปัญหาผู้ลี้ภัยกว่า
180,000 คน
ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพม่าและกว่า
80,000 คนยังไม่มีการลงทะเบียนและข้อมูลใดๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้อาจจะไม่สามารถเข้าถึงการคัดกรองและการรักษา
ทำให้การควบคุมการระบาดเป็นไปได้ยาก
จำนวนผู้ติดเชื้อ
3,116 คน (3/4/2563)

ฟิลิปปินส์
แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่หากดูจากพื้นที่ของประเทศแล้ว ฟิลิปปินส์มีจำนวนผู้ติดเชื้อค่อนข้างเยอะ
ทำให้ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ต้องใช้มาตรการเด็ดขาดต่างๆ เพื่อให้ประชาชนไม่ออกจากบ้าน รวมถึงการให้อำนาจผู้รักษา
กฏหมายในการสังหารผู้ที่ขัดขืนได้ทันที
จำนวนผู้ติดเชื้อ
2,633 คน (3/4/2563)

ญี่ปุ่น
ในช่วงแรก ญี่ปุ่นทำให้หลายคนประหลาดใจกับจำนวน ผู้ติดเชื้อที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการพยายามรักษาระดับ
จำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อป้องกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
2020 อย่างไรก็ตาม
ญี่ปุ่นก็หนีไม่พ้นชะตากรรม และต้องเริ่มต้นใช้มาตรการปิดประเทศและควบคุมประชากรเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ
จำนวนผู้ติดเชื้อ
2,617 คน (3/4/2563)

อินเดีย
อินเดีย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับหลายคน เพราะทั้งพื้นที่ ความหนาแน่นของประชากร วิถีชีวิตของประชากร ฯลฯ
อินเดียกลับมีจำนวนผู้ติดเชื้อต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐบาลอินเดียก็ไม่นิ่งนอนใจ มีการบังคับใช้มาตรการปิดเมือง
การยกเลิกการเดินทางและบริการต่างๆ ฯลฯ
จำนวนผู้ติดเชื้อ
2,301 คน (3/4/2563)

เวียดนาม – กัมพูชา – พม่า – ลาว
ประเทศเพื่อนบ้านสี่ประเทศนี้ แม้ว่าบางประเทศจะมีพรมแดนติดกับจีน และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกในช่วงเริ่มต้นการระบาด
แต่จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมีจำนวนต่ำมากในระดับหลักสิบและหลักร้อย ไม่น่าแปลกใจที่หลายฝ่ายเกิดความเคลือบแคลงสงสัย
ในตัวเลขที่ทางการรายงาน จึงเป็นกลุ่มประเทศที่ไทยควรจะต้องจับตามอง เพราะไทยมีพรมแดนที่เชื่อมต่อกับทั้ง
4 ประเทศนี้

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-feb2020.pdf

 

 

โลกเปลี่ยน คนปรับ เตรียมคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิด-19

โรคระบาดโควิด-19 อาจเป็นสิ่งนำโชคในสถานการณ์ที่เลวร้าย (Blessing in Disguise) ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ทั้งใน “เชิงโครงสร้าง” และ“เชิงพฤติกรรม” โควิด-19 ก่อให้เกิดโลกใหม่ที่ย้อนแย้งในตัวเอง กล่าวคือ ในขณะที่แต่ละคนต้องทิ้งระยะห่างทางกายภาพแต่กลับต้องอิงอาศัยกันมากขึ้น ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในเชิงกายภาพอาจจะลดลงแต่ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในโลกเสมือนกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย Many 2 Many ที่เพิ่มขึ้นในโลกเสมือนจะถูกเติมเต็มด้วย Mind 2 Mind ทั้งนี้เนื่องจากในโลกที่เชื่อมต่อกันอย่างสนิท การกระท าของบุคคลหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย จนอาจกล่าวได้ว่า “จํากนี้ไป ผู้คนในโลก สุขก็จะสุขด้วยกัน ทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน”

 ดาวน์โหลด  link1 | link2

 

โลกเปลี่ยน คนปรับ “สังคมของพวกเรา” ในโลกหลังโควิด

โลกมีพลวัตอยู่ตลอดเวลา บ่อยครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จะมีนานๆ ครั้งที่ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน การเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน ก่อให้เกิดการจบสิ้นของบางสิ่ง พร้อมๆ กับการอุบัติขึ้นของสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหน้านั้น การเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนจนไม่เหลือเค้าโครงสร้างเดิมในทางชีววิทยาเรียกว่า “การปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง” (Metamorphosis) ดังเช่น ตัวหนอนที่ค่อยๆ เปลี่ยนตัวเองเป็นดักแด้ ก่อนที่จะค่อยๆ เปลี่ยนตัวเองอีกครั้งเป็นผีเสื้อในที่สุด การเปลี่ยนแปลงในพลวัตของโลก ก็ไม่ได้มีอะไรที่ผิดแปลกแตกต่างไปจากการเปลี่ยนแปลงจากตัวหนอนเป็นผีเสื้อ นี่คือปรากฏการณ์ที่อาจเรียกว่า “การปรับโครงสร้างโลก” (Global Metamorphosis) ภายใต้การปรับโครงสร้างโลก อารยธรรมกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ที่มิได้มีแต่เพียงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่เท่านั้น แต่เกิดการปฏิวัติทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ขนานใหญ่ตามมา… และนี่คือที่มาของการอุบัติขึ้นของ “สังคมของพวกเรา” ในโลกหลังโควิด

ดาวน์โหลด  link1 | link2

 

โลกเปลี่ยน คนปรับ ความพอเพียงในโลกหลังโควิด

“โลกหลังโควิด-19”จะเป็นโลกที่มีการพลิกโฉมครั้งใหญ่ เป็นการปรับเปลี่ยนทั้งเชิงโครงสร้างและพฤติกรรมแบบ “ภาคบังคับ”ก่อให้เกิดโลกที่ผู้คนต้องอิงอาศัยกันมากขึ้น การกระทำของบุคคลหนึ่งย่อมส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย จนอาจกล่าวได้ว่า “จํากนี้ไป ผู้คนในโลก สุขก็จะ สุขด้วยกัน ทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน” ไม่ว่าหลังโควิด-19 เราจะกลับไปใช้ชีวิตอยู่ใน “โลกใบเดิม” หรือ “โลกใบใหม่” การเตรียมความพร้อม มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน ใช้ปัญญา มีเหตุผล รู้จักความพอดี ความพอประมาณ ความลงตัว คุณลักษณะเหล่านี้เมื่อประกอบกันเพียงพอที่จะนำพาพวกเรา ครอบครัวของเรา องค์กรของเรา ประเทศของเรา และโลกของเราฝ่าฟันอุปสรรค ก้าวข้ามวิกฤต และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขอย่างแน่นอน

ดาวน์โหลด  link1 | link2

 

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนมกราคม 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มกราคม 2563

อววน.ในกลุ่ม MERCOSUR

สาธารณรัฐอาร์เจนตินา

รัฐบาลอาร์เจนตินาให้ความสำคัญต่อการศึกษาของนักเรียนเป็นอย่างมาก การศึกษาในสถาบันของรัฐในอาร์เจนตินามีข้อโดดเด่น คือ ได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับปริญญาตรี จากข้อมูลของ UNESCO อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีความเสมอภาคทางการศึกษา มีจำนวนนักศึกษาที่จบการศึกษาเพีมขึ้นร้อยละ 68 โดยเป็นประเทศที่มีอัตรานักศึกษาในมหาวิทยาลัยสูงสุดในลาตินอเมริกา และมีประชากรไม่รู้หนังสือเพียงร้อยละ 1.9 เป็นอัตราที่ต่ำที่สุดเป็นอันดับสองในลาตินอเมริกา อาร์เจนตินามีมหาวิทยาลัยที่มีชือเสียงหลายแห่ง อาทิ
University of Buenos Aires (UBA)
National University La Plata (UNLP)
National University of Cordoba (UNC)
National University of Rosario (UNR)
Auatral University
National Technology University (UTN)

สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล

รัฐบาลบราซิลให้ความสำคัญต่อการศึกษาขั้นสูง โดยมหาวิทยาลัยของรัฐในบราซิลได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลระดับรัฐและนักศึกษาสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สถาบันการศึกษาของบราซิลมีระบบหลักสูตรการศึกษามุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาหลายด้าน โดยที่ผลงานทางด้าน วทน. ร้อยละ 99 ของผลงานวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่ผลิตในบราซิลเกิดขึ้นจาการพัฒนาในสถาบันการศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยที่มีขื่อเสียงทางด้านวิทยาศาสตร์ในบราซิล เช่น
University of São Paulo (USP)
University of Campinas (Univamp)
Federal University of Rio de Janeiro (NFRJ)
PARQUE TECHNOLÓGICO UFRJ
Federal University of Rio Grande do Sul (UFRGS)
São Paulo State University (UNESP)
Federal University of Minas Gerais (UFMG)

สาธารณรัฐปารากวัย

ปารากวัย หัวใจแห่งอเมริกาใต้ที่ล้อมรอบด้วยอาร์เจนตินา โบลิเวีย และบราซิล จากความไม่สงบทางการเมือง การทุจริต และปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรัง ส่งผลให้การพัฒนาประเทศล่าช้า ในเชิงของความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ของปารากวัยยังคงเป็นรองหลายประเทศ เนื่องจากยังไม่มีห้องปฎิบัติการที่ทันสมัย ระบบการรับรองคุณภาพที่ดี และจำนวนนักวิจัยที่มีคุณสมบัติที่จะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงในระบบการวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ รัฐบาลพยายามผลักดันการพัฒนาทางด้าน วทน. มากขึ้น มีการเพิ่มตำแหน่งงานในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการให้ความสำคัญเพิ่มหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยสามารถดำเนินการศึกษาวิจัยได้ภายในประเทศ
National University of Asuncion (UNA)
Autonomous University of Asunción

สาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย

อุรุกวัย เป็นประเทศเล็กที่ขนาบด้วยประเทศใหญ่อย่างอาร์เจนตินา ที่มีขนาดประเทศใหญ่กว่า 16 เท่า และบราซิล ที่มีขนาดประเทศใหญ่กว่า 48 เท่า แต่ขนาดพื้นที่ไม่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาของประเทศ อุรุกวัยกลับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพที่สุดในลาตินอเมริกา มีการพัฒนาหลายด้านที่โดดเด่น โดยเฉพาะทางด้านการใช้พลังงานทดแทน จากที่ต้องนำเข้าไฟฟ้าจากอาร์เจนตินาและบราซิล ปัจจุบันอุรุกวัยกลับเป็นผู้ส่งออกไฟฟ้าให้กับเพื่อนบ้านสองประเทศ มีอัตราส่วนของนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ต่อหัวประชากรสูงที่สุดในภูมิภาค มีการวางรากฐานการศึกษา วิจัยไว้เป็นอย่างดี
นักศึกษาอุรุกวัยสามารถเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาภาครัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจนถึงระดับปริญญาตรี
University of Montevideo (UM)
University of the Republic (UdelaR)
Catholic University of Uruguay (UCU)

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-jan2020.pdf

คู่มือมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้จัดทำ คู่มือมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้อธิบายและอ้างอิงเกี่ยวกับประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2557 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ลงวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

เนื้อหาภายในจะประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ความหมายของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์องค์ประกอบของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์กระบวนการ (Process) ที่เป็นสาระสำคัญของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังจะได้อธิบายความหมายและเนื้อหาของประกาศกระทรวงฯ ในแต่ละข้อ ความหมายของคำนิยาม มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพของผู้ร่วม และการบันทึกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากระบบควบคุมการประชุม

ดาวน์โหลดคู่มือ

ที่มาhttp://dmsic.moph.go.th/index/detail/8076

หนังสือ 20th Anniversary NSC

หนังสือ 20th Anniversary NSC

แม้ว่าประเทศไทยจะมีศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศในด้านการพัฒนาขีดความสามารถและทักษะในการเขียนโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้ยั่งยืน จำเป็นต้องเตรียมสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และมีปริมาณมากพอ จากความจำเป็นดังกล่าว ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ได้ดำเนินโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2537 ภายใต้ชื่อ “โครงการสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก” โดยในระยะแรกของโครงการเป็นการให้ทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์ในระดับนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งได้รับความสนใจมีผู้ส่งผลงานการพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าร่วมประกวดจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 โครงการประกวดซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก ได้ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินโครงการโดยจัดให้มีเวทีการแข่งขันในระดับประเทศ และเปลี่ยนชื่อเป็น “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest: NSC)”

  คลิกเพื่อแสดงในรูปแบบ (Flip Book)

ดาวน์โหลดหนังสือในรูปแบบ (PDF)

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2563

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2563


การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในยุโรป และมาตรการการจัดการจากคณะกรรมาธิการยุโรปและเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยด้านโรคติดเชื้อระหว่างประเทศ (GloPID-R)

     การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) เริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2562 ในนครอู่ฮั่น ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในลักษณะที่มีกลุ่มคนซึ่งมีอาการของโรคปอดอักเสบอย่างไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน โดยเริ่มพบผู้ป่วยโรค มีอาการไข้สูง ไอแห้ง และอ่อนเพลีย มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวนหลายราย ส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงไปถึงร้านแผงลอยในตลาดค้าอาหารทะเลหวาหนาน ซึ่งนอกจากอาหารทะเลแล้วยังเป็นตลาดค้าสัตว์ป่าที่ยังมีชีวิต อาทิ ค้างคาว งู และสัตว์อื่นๆ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ป่วยทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโรคและไม่สามารถประเมินถึงอันตรายและความรุนแรงในการแพร่กระจายของไวรัสได้ โดยพบว่ามีการแพร่ระบาดมาจนถึงช่วงปีใหม่และช่วงเทศกาลตรุษจีน 2563 โดยเฉพาะในช่วงตรุษจีนที่ชาวจีนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนาไปยังเมืองอื่นๆ รวมถึงเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ทำให้มีการแพร่ระบาดในวงกว้างและรุนแรงมากขึ้น

     จากการทดสอบปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase chain reaction, PCR) ซึ่งเป็นการวินิจฉัยโดยเฉพาะสำหรับการติดเชื้อของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างกว้างขวางและพบผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วเป็นจำนวนมาก บางส่วนเป็นบุคลากรด้านการสาธารณสุข นอกจากนี้ยังพบการแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ไปยังประเทศอื่นๆ ได้แก่ ประเทศไทย ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน มาเลเซีย มาเก๊า ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แคนาดา เวียดนาม กัมพูชา ฟินแลนด์ อินเดีย เนปาล ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา ซึ่งล่าสุดพบว่าในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีผู้ติดเชื้อจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 9 พันคนแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2563)

     ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าก่อกำเนิดมาจากสัตว์ชนิดใด เพราะมีข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยออกมาน้อยมาก แต่มีผลการทดสอบจากสารพันธุกรรมพบว่าสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีลักษณะคล้ายไวรัสโคโรนาที่อยู่ในกลุ่มค้างคาว อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด เพราะมีโอกาสเกิดจากค้างคาวแล้วติดต่อกันในสัตว์ตัวอื่นและพัฒนามาสู่คนได้ ดังเช่น โรคซาร์ส ซึ่งเดิมก่อกำเนิดจากค้างคาวมาติดต่ออีเห็นแล้วมาติดต่อสู่คนอีกทีหนึ่ง โดยมีลักษณะการติดต่อส่งกันมาเป็นทอดๆ ส่วนใหญ่มักเกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

     ข้อสังเกตของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่พบว่ากรณีการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวเป็นหลัก ฉะนั้นอาจจะสันนิษฐานได้ว่า บุคคลที่มีโรคประจำตัวหรือผู้สูงอายุ จะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อไวรัสชนิดนี้และมีโอกาสนำไปสู่การเสียชีวิตสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้เป็นโรคหัวใจ โรคปอด หรือ กลุ่มคนกินยากดภูมิคุ้มกันอยู่ซึ่งมีปัจจัยทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายน้อยลง เมื่อติดเชื้อก็มีโอกาสเสียชีวิตสูงจากความรุนแรงของอาการได้
อีกประเด็นที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยบางคนที่ติดเชื้อเล็กน้อยแต่ยังไม่แสดงอาการป่วย สามารถแพร่กระจายเชื้อสู่บุคคลอื่นหรือในพื้นที่อื่น โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศที่สะดวกและรวดเร็วด้วยสายการบิน อาจส่งผลให้การแพร่ระบาดเกิดได้ง่ายและรวดเร็วตามมาเช่นกัน ด้วยเหตุนี้หลายๆ ประเทศทั่วโลกรวมไปถึงสหภาพยุโรป จึงได้ออกมาตรการเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
2019 ดังนี้

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO)

     เมื่อเดือนธันวาคม 2562 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับการแจ้งข้อมูลจากทางการจีนเกี่ยวกับการระบาดของโรคปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่องค์การอนามัยโลกตัดสินใจไม่ประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขซึ่งเป็นความกังวลระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) เพราะมองว่าเป็นการระบาดปกติตามฤดูกาล แต่หลังจากพบว่ายอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆและแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศมากขึ้น ทางองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า คณะกรรมการฉุกเฉินจะรีบทบทวนการตัดสินใจอย่างทันทีหากจำเป็น แม้ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกจะเตือนว่าอาจมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างขึ้นได้ก็ตาม และยังมีความกังวลว่าจะมีการแพร่กระจายของเชื้อมากขึ้นในช่วงตรุษจีนซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยวของชาวจีนอีกด้วย โดยในรายงานสถานการณ์จากองค์การอนามัยโลกที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2563 ระบุว่าความเสี่ยงของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อยู่ในระดับ “สูงมาก” ในจีน “สูง” ในระดับภูมิภาค และ “สูง” ในระดับโลก แต่อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลกชี้ว่าการแก้ไขการประเมินความเสี่ยงทั่วโลกสำหรับไวรัสดังกล่าว ไม่ได้หมายถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศแต่อย่างใด โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่ายังคงต้องการข้อมูลมากขึ้นและสถานการณ์ที่แน่ชัดมากกว่านี้ ก่อนที่จะประกาศให้การแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินในระดับโลก

     เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 นายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อสนับสนุนการต่อต้านการแพร่ระบาดของไวรัสและหารือกับรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยองค์การอนามัยโลกต้องการที่จะทำความเข้าใจความคืบหน้าล่าสุด และเสริมสร้างความร่วมมือกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในการรับมือกับโรคระบาดต่อไป รวมไปถึงพิจารณาทางเลือกของความเป็นไปได้ในการอพยพพลเมืองต่างชาติออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในสาธารณรัฐประชาชนจีน

     ในขณะนี้องค์การอนามัยโลกอยู่ระหว่างการจัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญ เป้าหมายหลัก คือ การเรียนรู้จากวิธีการดำเนินงานจากจีน เนื่องจากเมืองอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาด นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังได้ปรับฐานข้อมูลเกี่ยวกับรายการอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์และยาที่จำเป็นสำหรับการรักษาผู้ป่วย (Disease Commodity Package) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการรับมือกับการแพร่ระบาด โดยมาตรการที่องค์การอนามัยโลกผลักดันและปฏิบัติในตอนนี้มีดังนี้

1. การแลกเปลี่ยนข้อมูล – เน้นเรียนรู้จากประเทศที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ เพื่อพยายามสร้างมาตรฐานของการรักษา สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัสให้ลึกซึ้งมากขึ้น อาทิ สัญญาณแจ้งเตือนและอาการผู้ป่วย เพื่อติดตามและคาดเดาพัฒนาการของการแพร่ระบาด
2. การแลกเปลี่ยนไวรัส – โดยจีนไม่ขัดข้องต่อการแบ่งปันข้อมูลลำดับทางพันธุกรรมของไวรัส และตัวอย่างเชื้อไวรัส โดยองค์การอนามัยโลกยืนยันว่าการดำเนินการของจีนมีความโปร่งใสและทางการอู่ฮั่นก็เปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยรายวัน
3. บทบาทของสื่อ – องค์การอนามัยโลกได้เน้นถึงความสำคัญของสื่อในการให้ข้อมูลอย่างถูกต้องและให้ความร่วมมือในการรายงานข่าวอย่างมีความรับผิดชอบไม่บิดเบือน เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนและวิธีรักษาโรค
4. การจัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญ – โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกเป็นหลัก ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวจีน ทั้งนี้ประเทศอื่นสามารถให้ความร่วมมือแบบทวิภาคีได้
5. การอพยพพลเมืองกลับประเทศ – องค์การอนามัยโลกไม่แสดงความเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดีหรือไม่ หรือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสฯ แต่ได้เน้นว่าประเทศนั้นๆ ควรเตรียมการอย่างรอบคอบและรอบด้าน
6. การแก้ไขปัญหาขาดแคลนหน้ากาอนามัยและอุปกรณ์อื่น – องค์การอนามัยโลกกำลังทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคเอกชน เพื่อขอรับความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาดังกล่าว
7. ข้อแนะนำต่อประเทศที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ – แต่ละประเทศควรพยายามตรวจหากรณีผู้ป่วยติดเชื้ออย่างรวดเร็ว และให้การรักษา โดยต้องวิเคราะห์ตัวอย่างเชื้อในห้องวิจัยเพื่อรับการยืนยัน ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดจากมนุษย์สู่มนุษย์
8. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน – องค์การอนามัยโลกได้หารือกับองค์กรพันธมิตรที่เกี่ยวข้องแล้วเพื่อเตรียมให้ความช่วยเหลือ
9. การตรวจหาเชื้อในพื้นที่ที่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อ – การที่ยังไม่มีการรายงานผู้ป่วยในทวีปอเมริกาใต้และแอฟริกาอาจสะท้อนความไม่โปร่งใสของการให้ข้อมูล ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกอยู่

     ระหว่างการทำงานร่วมกับประเทศแถบแอฟริกาเพื่อตรวจวินิจฉัยกรณีผู้ต้องสงสัย ข้อห่วงกังวลหลักขององค์การอนามัยโลก ได้แก่เรื่องขีดความสามารถในการตรวจหาเชื้อและรับมือกับเชื้อ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประเทศเพื่อนบ้านที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเชื้อโรค แต่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้ องค์การอนามัยโลกจึงเชิญชวนให้ประเทศเหล่านี้ขอรับความช่วยเหลือด้านการเงิน

     ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2563 ให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 “เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโลก (global emergency)” หลังจากมีการแพร่กระจายไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมีรายงานพบผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้เดินทางไปที่จีน ได้แก่ เยอรมนี เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น และเป็นการติดต่อของเชื้อไวรัสจากคนสู่คน (human to human transmission)

สหภาพยุโรป

     สำหรับประเทศในสหภาพยุโรปต่างเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่นและภาคกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเข้มงวด ในการสกัดกั้นไม่ให้เชื้อไวรัสดังกล่าวแพร่กระจายในประเทศของตน โดยมีการประกาศให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปเมืองอู่ฮั่นทันที หลังจากมีการพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี นอกจากนี้สหภาพยุโรปและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร สเปน เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และเยอรมนี ต่างพิจารณาเตรียมแผนอพยพพลเมืองออกจากเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แล้ว

ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในยุโรป

     ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (The European Centre for Disease Prevention and Control, ECDC) ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในยุโรปอย่างใกล้ชิดและทำการประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังมีข้อจำกัดด้านการประเมิน เนื่องด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปันข้อมูลทางระบาดวิทยายังมีไม่เพียงพอ จากการประเมินความเสี่ยงของ ECDC พบว่า
– ความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ของพลเมืองชาวยุโรปที่อาศัยหรือเดินทางไปยังนครอู่ฮั่นอยู่ในระดับ “ปานกลาง”
– ความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศสู่ประเทศในสหภาพยุโรปอยู่ในระดับ “ปานกลาง”
– ความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากผู้ติดเชื้อไปยังบุคคลใกล้ชิดในสหภาพยุโรปอยู่ในระดับ “ต่ำ”

มาตรการจัดการความเสี่ยงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในยุโรป

     คณะกรรมธิการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยทางอาหาร (Directorate-General for Health and Food Safety, DG SANTE) ได้ทำการประเมินเบื้องต้นต่อข้อมูลที่ได้รับจากแต่ละประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป โดยพบว่าสหภาพยุโรปมีการเตรียมความพร้อมในระดับสูงในการจัดการกับการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยมีการจัดการให้ทุกประเทศสมาชิกสามารถเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากห้องปฏิบัติการ เผยแพร่ข้อควรปฏิบัติให้แก่นักท่องเที่ยวและบุคลากรทางสาธารณสุข และร่างแผนระบบสุขภาพเพื่อบริหารจัดการกรณีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยขณะนี้ยังไม่มีประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปที่เรียกขอความช่วยเหลือพิเศษทางด้านอุปกรณ์จากคณะกรรมาธิการยุโรป
เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ห้องปฏิบัติการในแต่ละประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปให้สามารถตรวจจับการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

– เกณฑ์การคัดกรองทางระบาดวิทยา :
   – บุคคลใดก็ตามที่มีประวัติการเดินทางไปยังเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วง 14 วัน ก่อนเริ่มมีอาการป่วย
   – บุคคลใดก็ตามที่มีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการ ในช่วง
14 วัน ก่อนเริ่มมีอาการป่วย

– เกณฑ์การคัดกรองทางคลินิก :
   – บุคคลใดก็ตามที่มีอาการทางคลินิกที่เหมือนได้จากการติดเชื้อทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลันและรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือหรือจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องด้วยผลพิสูจน์ทางคลินิกหรือจากการฉายรังสีว่ามีอาการของโรคปอดบวม
– บุคคลใดก็ตามที่มีไข้หรือมีประวัติว่ามีไข้สูงกว่าหรือเท่ากับ
38 องศาเซลเซียส และพบการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน (มีการแสดงอาการอย่างฉับพลันของการติดเชื้อทางเดินหายใจอย่างน้อยอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ การหายใจถี่ ไอ หรือ เจ็บคอ) โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) แนะนำว่าหากพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะต้องแจ้งในระบบเตือนภัยล่วงหน้าและการตอบสนอง (Early Warning and Response System, EWRS) อย่างทันที เพื่อกระจายข่าวการพบและการกระจายที่มาของเชื้อ

สาธารณรัฐฝรั่งเศส

     สาธารณรัฐฝรั่งเศสถือเป็นชาติแรกของยุโรปที่สั่งอพยพพลเมืองของตนออกจากสาธารณรัฐประชาชนจีนหลังจากที่พบผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ภายในประเทศ ซึ่งต่างมีประวัติเดินทางกลับมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศส ส่งเครื่องบินเที่ยวแรกเข้ารับพลเมืองออกจากเมืองอู่ฮั่น โดยเที่ยวบินแรกที่จะไปรับเฉพาะที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ อย่างไรก็ดีฝรั่งเศสได้จัดเตรียมสถานที่รองรับและกักกันโรคเพื่อเฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน หลังการอพยพพลเมืองชุดนี้กลับมายังฝรั่งเศส
สำหรับการจัดการกับการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในฝรั่งเศส สำนักงานสาธาณสุขของฝรั่งเศสได้เร่งกำลังตรวจสอบด้านระบาดวิทยา เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยติดเชื้อได้สัมผัสกับผู้อื่นหรือไม่ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดต่อไป โดยสำนักงานสาธารณสุขของฝรั่งเศสกล่าวว่า การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในฝรั่งเศสมีประสิทธิภาพและรู้ผลได้เร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ฝรั่งเศสสามารถตรวจพบผู้ติดเชื้อรายแรกในยุโรป

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

     สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นประเทศที่ 2 ในทวีปยุโรปถัดจากฝรั่งเศส ที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หัวหน้าสำนักงานความปลอดภัยสุขภาพและอาหาร รัฐบาวาเรียของเยอรมนี แถลงยืนยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในเยอรมนี โดยเผยว่าชายคนนี้ไม่เคยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ติดเชื้อจากเพื่อนร่วมงานชาวจีนที่มาทำงานในเยอรมนี โดยคณะแพทย์กำลังติดตามดูอาการของผู้ติดเชื้อเหล่านี้และได้แยกตัวออกจากผู้ป่วยคนอื่นๆ นอกจากนี้ทางรัฐบาลเยอรมนีได้ติดตามตรวจสอบร่างกายผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ว่าได้รับการแพร่กระจายเชื้อด้วยหรือไม่ ตามมาตรการเฝ้าระวัง ในขณะที่บริษัทที่ผู้ติดเชื้อทำงานอยู่ได้ประกาศปิดให้บริการ 2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการกักบริเวณและให้มีการฆ่าเชื้อ และระงับการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับสำนักงานในสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างไม่มีกำหนด

ราชอาณาจักรเบลเยียม

     ถึงแม้ในเบลเยียมจะยังไม่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่มหาวิทยาลัย KU Leuven กำลังพัฒนาวัคซีนสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย KU Leuven ได้อาศัยเทคโนโลยี passe-partout ในการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ โดยเริ่มแรกเทคโนโลยี passe-partout มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคไข้เหลือง แต่ทว่าสามารถนำไปใช้จัดการเชื้อโรคชนิดอื่นได้เช่นกัน ซึ่งในการทดสอบในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย KU Leuven พบว่าเทคโนโลยีนี้สามารถใช้จัดการไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า อีโบลา และซิกาได้เช่นกัน โดยชณะนี้นักวิจัยกำลังสร้างแบบจำลองและคาดว่าจะสามารถทดสอบวัคซีนชนิดใหม่ในสัตว์ได้ภายในไม่กี่อีกสัปดาห์ข้างหน้า

เครือข่ายวิจัย Global Research Collaboration for Infectious Disease Preparedness (GloPID-R)

     เครือข่ายวิจัย Global Research Collaboration for Infectious Disease Preparedness (GloPID-R) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยด้านโรคติดเชื้อระหว่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ ที่ระบาดในโลก ได้ทำงานร่วมกับสมาชิกของเครือข่ายและองค์การอนามัยโลกเพื่อกำหนดหัวข้อการวิจัยที่สำคัญที่จะสนับสนุนให้ทุนโดยขณะนี้จะมุ่งเน้นการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการวินิจฉัย การรักษา และการพัฒนาวัคซีน พร้อมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางสาธารณสุขต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ เพื่อจำกัดอัตราการป่วยและเสียชีวิต ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยเบื้องต้นทางสมาชิกของเครือข่าย GloPID-R ได้ระบุแผนปฏิบัติการสำคัญเพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดของเชื้อ 3 ประการดังนี้
– การส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั่วโลก โดยส่งเสริมการสื่อสารและการปรึกษาหารือระหว่างองค์กรทั่วโลกถึงการใช้ประโยชน์จากการวิจัยและพัฒนาเพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดของเชื้อ
– กำหนดหัวข้อหรือสาขาการวิจัยที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการจัดการกับเชื้อไวรัสเพื่อให้เกิดการลงทุนทางการวิจัยที่มีประสิทธิผลโดยจะมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญอิสระและจัดการประชุมระหว่างผู้แทนระดับสูงเพื่อกำหนดความเร่งด่วนของการวิจัย
– จัดทำแพลตฟอร์มเพื่อกำหนดกระบวนการระเบียบวิธี และเครื่องมือมาตรฐานที่ชัดเจน เช่น กรอบกำกับดูแลในการประเมินทางคลินิกของวัคซีน วิธีการรักษา และวิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้หน่วยงานระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ทุกหน่วยงาน ได้ดำเนินงานตามอย่างสอดคล้องกัน รวมถึงเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและตัวอย่างระหว่างสมาชิกทั่วโลกอีกด้วย

     ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสมาชิกของเครือข่ายวิจัย GloPID-R โดยมีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนของประเทศไทย ซึ่งล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาห้องปฏิบัติการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (ส่วนกลาง) และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ส่วนภูมิภาคเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยห้องปฏิบัติการดังกล่าวจะให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างที่น่าสงสัยต่อการติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การคัดกรองของกรมควบคุมโรค ซึ่งสามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสได้อย่างแม่นยำ มีความจำเพาะสูง เชื่อถือได้ และรู้ผลภายใน 3 ชั่วโมง หลังจากห้องปฏิบัติการได้รับตัวอย่าง โดยใช้การตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสด้วยเทคนิค หากผลการตรวจเป็นลบ สามารถรายงานผลได้ทันที แต่หากผลการตรวจเป็นบวก จะดำเนินการตรวจยืนยันอีกครั้งด้วยการตรวจลำดับนิวคลิโอไทด์ (Nucleotide sequencing) โดยใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้การสรุปผลการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อไวรัสมีความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษา โดยห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีส่วนทำให้การทำงานของเครือข่ายวิจัย GloPID-R ในการตรวจหาเชื้อไวรัสมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติมของประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิจัย GloPID-R

     สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ประสานงานกับเครือข่ายวิจัย GloPID-R มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องกับเครือข่ายวิจัย GloPID-R ตลอดจนได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์สำหรับนักวิจัยไทยที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการต่างๆ ในกรอบความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม Horizon 2020 ของสหภาพยุโรป ภายหลังจากการเข้าร่วมประชุมหารือดังกล่าว สำนักงานฯ ได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงอุดมศึกษาฯ (กระทรวงวิทย์ฯ(เดิม)) และได้รับมอบหมายจากท่านปลัดกระทรวง ให้อัครราชทูตที่ปรีกษา (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ประจำกรุงบรัสเซลส์ เป็นผู้แทนไทยที่ประจำอยู่ในยุโรป ทำหน้าที่ประสานงาน (coordinator) และในส่วนของผู้แทนไทยที่ประจำอยู่ในประเทศไทย เสนอโดยกระทรวงสาธารณสุข อันได้แก่ นางสาวนภวรรณ เจนใจ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายในประเทศไทย

การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์

     ทีมนักวิจัยจาก Johns Hopkins Center for Systems Science and Engineering (CSSE) ได้พัฒนาแผนที่ติดตามเรียลไทม์ (dashboard) สำหรับติดตามจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสทั่วโลก เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสอย่างใกล้ชิดและทันท่วงที โดยในแผนที่ติดตามเรียลไทม์ จะมีการแสดงจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด ระบุเมืองและภูมิภาคที่ผู้ป่วย ยิ่งพบมากในภูมิภาคใด จะยิ่งมีจุดบนแผนที่มากขึ้น และมีแผนภูมิช่วยแสดงผลให้เห็นว่ามีอัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเท่าใด มีจำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้รอดชีวิตหรือหายจากการติดเชื้อไวรัสนี้ ซึ่งข้อมูลต่างๆ นำมาจากรายงานขององค์กรสาธารณสุขระดับโลก เช่น WHO CDC NHC และ Dingxiangyuan เป็นต้น ข้อมูลได้ถูกรวบรวมและสรุปให้ดูง่ายและมีการอัพเดตข้อมูลแบบรายวัน นักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องสามารถ download ติดตามได้ที่ https://gisanddata.maps.arcgis.com/apps/opsdashboard/index.html#/bda7594740fd40299423467b48e9ecf6

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200225-newsletter-brussels-no01-jan63.pdf