วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 12 เดือน ธันวาคม 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 12 เดือน ธันวาคม 2562

สหภาพยุโรปเปิดตัวแผนนโยบาย Green Deal เพื่อจัดการกับสภาวะโลกร้อนและสร้างบทบาทการเป็นผู้นำในเวทีโลกในด้านอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสะอาด
นโยบาย Green Deal ซึ่งเป็นนโยบายการลดและต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายขับเคลื่อนยุโรปสู่สังคมไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ.2050 อีกทั้งยุโรปจะต้องเป็นผู้นำในเวทีโลกด้านอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสะอาด

10 ประเด็นสำคัญของแผนนโยบาย Green Deal
1.การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral)
สหภาพยุโรปได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งระเบียบวาระดังกล่าวจะถูกบรรจุอยู่ในกฎหมายว่าด้วยสภาพภูมิอากาศซึ่งจะถูกนำเสนอในเดือนมีนาคม ค.ศ.2020 ระเบียบวาระดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย โดยมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 40 เพิ่มเป็นร้อยละ 50-55 ภายในปี ค.ศ.2030 (โดยใช้ฐานของปี ค.ศ. 1990 มาวัด) แต่ทว่ายังจะต้องมีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของเป้าหมายอีกทีหนึ่ง
2.แผนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนฉบับใหม่ (Circular Economy)
แผนนโยบายฉบับใหม่นี้จะครอบคลุมประเด็นผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดยจะอธิบายถึงวิธีการผลิตที่จะลดการใช้วัสดุและทรัพยากร และการออกแบบเพื่อส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล เช่น กรณีของแบตเตอรี่ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น เหล็ก ซีเมนต์ และสิ่งทอ โดยจะเตรียมการให้มีการผลิตวัสดุเหล่านี้ด้วยพลังงานสะอาด เช่น ไฮโดรเจน ภายในปีค.ศ.2030
3.การปรับปรุงอาคารบ้านเรือน (Building renovation)
หนึ่งในโครงการสำคัญภายใต้แผนนโยบาย Green Deal นั่นคือการเพิ่มอัตราการปรับปรุงอาคาร โดยเพิ่มเป็นจำนวนอย่างน้อย 2 ถึง 3 เท่า จากปัจจุบันที่อยู่ที่ร้อยละ 1
4.สังคมไร้มลพิษ (Zero-pollution)
แผนนโยบาย Green Deal ต้องการสร้างสังคมที่ไร้มลพิษ ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ดิน และน้ำ ต้องปลอดจากสารมลพิษภายในปี ค.ศ. 2050 โดยแผนนโยบายใหม่นี้จะครอบคลุมถึงกลยุทธ์การจัดการสารเคมีเพื่อสร้างสังคมที่ปราศจากสารพิษ
5.ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (Ecosystems & biodiversity)
ภายใต้แผนกลยุทธ์ใหม่สหภาพยุโรปต้องการเป็นผู้นำในการพัฒนามาตรการเพื่อจัดการกับปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น มาตรการจัดการมลพิษในดินและน้ำ และแผนกลยุทธ์ป่าไม้ฉบับใหม่ที่จะมุ่งเน้นการเพิ่มอัตราการปลูกป่าทั้งในเขตเมืองและชนบท และกฎการใช้ฉลากเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีกระบวนการผลิตปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
6.แผนกลยุทธ์จากฟาร์มถึงปลายส้อม (From Farm to Fork Strategy)
แผนกลยุทธ์จากฟาร์มถึงปลายส้อมจะถูกเสนอแก่ที่ประชุมในปี ค.ศ. 2020 โดยมีจุดมุ่งหมายพัฒนาระบบเกษตรกรรมสีเขียวเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจะมีการพิจารณาลดการใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี และยาต้านจุลชีพ อย่างมีนัยสำคัญ
7.ภาคขนส่ง (Transport)
ปัจจุบันเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งของสหภาพยุโรปอยู่ที่ 95gCO2/km ภายใน ค.ศ. 2021 แต่สหภาพยุโรปมีความมุ่งมั่นที่จะลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคส่วนนี้ให้เป็นศูนย์ในช่วงปี ค.ศ. 2030 โดยจะมีการกระตุ้นและส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าผ่านเป้าหมายการติดตั้งสถานีจ่ายไฟจำนวน 1 ล้านสถานีทั่วยุโรปให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2025 นอกจากนี้จะมุ่งเน้นการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบิน การเดินเรือ และ การขนส่งโดยยานยนต์ขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าได้
8.การเงิน (Money)
สหภาพยุโรปเตรียมใช้เครื่องมือการเงิน Just transition Mechanism โดยจะระดมทุนจำนวน 1 แสนล้านยูโร เพื่อช่วยประเทศ ภูมิภาค และภาคธุรกิจ ที่มีความเสี่ยงสูงสุด ที่ยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลัก โดยงบประมาณ 1 แสนล้านยูโรนี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
กองทุน
Just Transition เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม โดยจะดึงงบประมาณด้านนโยบายภูมิภาคของสหภาพยุโรปมาใช้
โครงการ
InvestEU ซึ่งงบประมาณมาจากธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (The European Investment Bank, EIB)
กองทุนธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป โดยทุกๆ ยูโรที่ถูกใช้จ่ายจากกองทุน จะถูกสบทบด้วยเงิน 2 ถึง 3 ยูโร จากงบประมาณส่วนภูมิภาค
9.การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (R&D and innovation)
ขอบข่ายโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 หรือ Horizon Europe ซึ่งมีงบประมาณ 1 แสนล้านยูโร ครอบคลุมช่วงปี ค.ศ. 2021-2027 จะส่งเสริมแผนนโยบาย Green Deal เช่นกัน โดยร้อยละ 35 ของทุนวิจัยจะนำไปส่งเสริมการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
10.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ (External relations)
สหภาพยุโรปมุ่งใช้มาตรการทางการฑูต ในการสนับสนุนแผนนโยบาย Green Deal ซึ่งหนึ่งในมาตรการ คือ ข้อเสนอการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ณ ชายแดน ในขณะที่สหภาพยุโรปเพิ่มมาตรการต่างๆ ในการรักษาสิ่งแวดล้อม สหภาพยุโรปจึงอยากเห็นประเทศอื่นๆ ทั่วโลกแสดงเจตจำนงที่สอดคล้องกันและสหภาพยุโรปจะป้องกันเศรษฐกิจในภูมิภาคจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม อีกหนึ่งนโยบายการค้าที่สหภาพยุโรปนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการปฏิรูปสีเขียวคือ การกำหนดให้คู่ภาคีที่จะเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรปต้องให้สัตยาบันและปฏิบัติตามความตกลงปารีสอย่างเคร่งครัด

ข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย
จากแผนนโยบาย Green Deal หน่วยงานในไทยทั้งภาครัฐและเอกชนควรเตรียมความพร้อมและจัดเตรียมมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับแผนนโยบาย Green Deal โดยเฉพาะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มิฉะนั้นอาจจะทำให้ประเทศไทยเสียสิทธิประโยชน์ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่นในกรณีการเสียภาษีคาร์บอน นอกจากนี้ประเทศไทยยังสามารถใช้ประโยชน์จากแผนนโยบาย Green Deal ในการร่างมาตรการและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ของไทย หรือเป็นช่องทางในการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยด้านพลังงานสะอาดในยุโรปได้อีกด้วย

ผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA
โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ได้ประกาศผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลประจำปี ค.ศ. 2018 ออกมาแล้ว ในระดับนานาชาติ พบว่า นักเรียนจากจีนในสี่มณฑล (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เจียงซู และเจ้อเจียง) และสิงค์โปร์ มีคะแนนทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สูงกว่าทุกประเทศ/เขตเศรษฐกิจ สำหรับประเทศที่มีคะแนนสูงสุดห้าอันดับแรกในด้านการอ่านซึ่งเป็นด้านที่เน้นในรอบการประเมินนี้ ได้แก่ จีนสี่มณฑล สิงคโปร์ มาเก๊า ฮ่องกง และเอสโตเนีย ส่วนนักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยในด้านการอ่านมีคะแนนลดลง 16 คะแนน ส่วนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีคะแนนเพิ่มขึ้น 3 คะแนน และ 4 คะแนน ตามลำดับ ซึ่งในการทดสอบทางสถิติถือว่าด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับรอบการประเมินที่ผ่านมา

การประเมิน PISA
โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาในการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนมีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยจะประเมินนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 ปี และเน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน หรือเรียกว่า ความฉลาดรู้ (Literacy) ได้แก่ ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (reading literacy) ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (mathematical literacy) และความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ (scientific literacy) การประเมินนักเรียนจะวัดทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวไปพร้อมกัน แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งในแต่ละรอบการประเมินซึ่งความฉลาดรู้ทั้งสามด้านนี้ ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นสิ่งที่ประชากรจำเป็นต้องมีเพื่อการพัฒนาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ

การประเมิน PISA สำคัญอย่างไรในเวทีโลก
สาเหตุที่เลือกนักเรียนในช่วงอายุ 15 ปี มาทำการประเมิน เพราะนักเรียนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สิ้นสุดการศึกษาภาคบังคับและจะต้องออกไปประกอบอาชีพในตลาดแรงงาน คุณภาพของนักเรียนในกลุ่มนี้จึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในอนาคต เนื่องจากนานาชาติถือว่าการประเมิน PISA เป็นข้อสอบที่มีคุณภาพและมีนักเรียนจำนวนมากจากทั่วโลกเข้าร่วมทดสอบ ผลการทดสอบจึงเป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพทางการศึกษาที่น่าเชื่อถืออันหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันต่างๆ เช่น World Competitiveness Center (IMD) หรือ World Economic Forum (WEF) ล้วนใช้ผลทดสอบการประเมิน PISA เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านทรัพยากรของประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทย ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้ตั้งเป้าหมายให้เด็กไทยมีคะแนนการประเมิน PISA อยู่ในระดับมาตรฐานสากลหรือระดับค่าเฉลี่ยของประเทศ OECD ให้ได้

การประเมิน PISA 2018
PISA 2018 มีการประเมินนักเรียนอายุ 15 ปี จำนวนมากกว่า 600,000 คน จาก 79 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจโดยประเทศที่เข้าร่วมการประเมินเป็นครั้งแรกใน PISA 2018 ได้แก่ เบลารุส บอสเนียและเฮร์เซโกวีนา บรูไนดารุสซาลาม โมร็อกโก ยูเครน ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย และมณฑลเจ้อเจียง(จีน) โดยการสอบครั้งก่อนในปี ค.ศ. 2015 มีจำนวนประเทศที่เข้าร่วม 72 ประเทศ (นักเรียน 510,000 คน) ในขณะที่การสอบครั้งแรกมีจำนวนประเทศที่เข้าร่วม 43 ประเทศ (นักเรียน 256,000 คน) สำหรับประเทศไทยนับเป็นประเทศในกลุ่มแรกๆ ที่เข้าร่วมการสอบ PISA ทุกรอบตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ทำหน้าที่เป็นศูนย์แห่งชาติ ซึ่งดำเนินการจัดสอบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา มีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8,633 คน จาก 290 โรงเรียนในทุกสังกัดการศึกษาเข้าร่วมการประเมินในรอบนี้ โดยนักเรียนได้ทำแบบทดสอบและแบบสอบถามทางคอมพิวเตอร์ผ่านแฟลชไดรฟ์ข้อสอบนอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียนผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ด้วย

การเปลี่ยนแปลงการประเมินด้านการอ่าน
PISA 2018 จะประเมินการอ่านทั้งการใช้แหล่งข้อมูลเดียวและหลายแหล่งข้อมูล ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่มีในช้อสอบของ PISA เช่น แผ่นพับ ป้ายประกาศ การโพสต์ข้อความหลายๆ โพสต์บนกระดานสนทนา การเขียนบล็อกส่วนตัว การโต้ตอบทางอีเมล การสนทนาทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ บทความออนไลน์ บทความทางวิชาการ บทความจากหนังสือพิมพ์ เอกสารทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถใช้สื่อดิจิทัลได้หลายแบบและสามารถกดลิงค์ แท็บ หรือเมนูต่างๆ เพื่อดูข้อมูลบนเว็บไซต์ที่อยู่ในสถานการณ์ของข้อสอบที่สร้างขึ้น  PISA จึงประเมินกระบวนการอ่านโดยเน้นที่ความสามารถในสามกระบวนการ ดังนี้
– ตำแหน่งข้อสนเทศในเนื้อเรื่อง
(locate information) : เข้าถึงและค้นสาระข้อสนเทศที่อยู่ในเนื้อเรื่อง
– มีความเข้าใจในเนื้อเรื่อง
(understand) : แสดงถึงความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของเนื้อเรื่อง และบูรณาการและลงข้อสรุปจากข้อสนเทศหลายๆ ส่วนที่อยู่ในเนื้อเรื่อง
– ประเมินและสะท้อนความคิดเห็นต่อเนื้อเรื่อง
(evaluate and reflect) : ประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของเนื้อเรื่องได้ , สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและรูปแบบของเรื่องที่ได้อ่านอย่างมีวิจารณญาณ, ตรวจสอบข้อมูลที่ขัดแย้งกันและหาวิธีจัดการข้อขัดแย้งนั้น  

ผลการประเมิน
ทั้งนี้จากการประเมินของ PISA 2018 ที่เน้นในด้านทักษะการอ่าน พบว่าประเทศที่ได้คะแนน 10 อันดับแรกคือ จีน (เฉพาะในปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เจียงซู และเจ้อเจียง) สิงคโปร์ มาเก๊า ฮ่องกง เอสโตเนีย แคนาดา ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และโปแลนด์  ส่วนประเทศที่มีคะแนนรั้งท้ายด้านการอ่านคือฟิลิปปินส์ (มีคะแนนเฉลี่ยด้านการอ่านต่ำสุดอยู่ที่ 340 คะแนน) สาธารณรัฐโดมินิกัน โคโซโว เลบานอน โมร็อกโก อินโดนีเซีย ปานามา จอร์เจีย คาซัคสถาน บากู มาซิโดเนียเหนือ และไทย ในภูมิภาคอาเซียน มีเพียงสิงคโปร์เท่านั้นที่ทำคะแนนจากกการประเมิน PISA 2018 ได้เกินกว่าค่าคะแนนเฉลี่ย OECD ในขณะที่ประเทศไทยมีคะแนนสูงกว่าแค่ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
สำหรับผลการประเมินของประเทศไทย นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยในด้านการอ่าน
393 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 487 คะแนน) คณิตศาสตร์ 419 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 489 คะแนน) และวิทยาศาสตร์ 426 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 489 คะแนน) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ PISA 2015 พบว่า ด้านการอ่านมีคะแนนลดลง 16 คะแนน ส่วนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีคะแนนเพิ่มขึ้น 3 คะแนน และ 4 คะแนน ตามลำดับ ซึ่งในการทดสอบทางสถิติถือว่าด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับรอบการประเมินที่ผ่านมา โดยสรุปพบว่านักเรียนไทยมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ในทุกด้าน ทั้งด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แม้รายงาน PISA 2015 จะพบว่า เด็กไทยใช้เวลาเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนถึง 55 ชั่วโมง สูงกว่าประเทศที่ได้คะแนนอันดับต้นๆ อย่างฟินแลนด์ (36 ชั่วโมง) หรือ เกาหลีใต้ (50 ชั่วโมง)

ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเวลาเรียนกับผลคะแนนการประเมิน PISA
โดยเฉลี่ยนักเรียนมีเวลาทั้งหมดที่สามารถใช้ในการเรียนประมาณสัปดาห์ละ 80 ชั่วโมง  นักเรียนในประเทศสมาชิก OECD รายงานว่าใช้เวลาเรียน 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมเวลาทำการบ้าน เรียนเพิ่มเติม และเรียนพิเศษส่วนตัว) นั่นคือประมาณร้อยละ 55 ของเวลาที่นักเรียนมีทั้งหมด ในขณะที่นักเรียนบางประเทศ/เขตเศรษฐกิจ เช่น จีนสี่มณฑล กาตาร์ ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไทย ใช้เวลาเรียนอย่างน้อยร้อยละ 65 ของเวลาที่นักเรียนมีแต่บางประเทศ เช่น ฟินแลนด์ เยอรมนี สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และอุรุกวัย นักเรียนใช้เวลาเรียนน้อยกว่าครึ่งของเวลาที่นักเรียนมีทั้งหมด
นักเรียนไทยใช้เวลาเรียนมากทั้งในเวลาเรียนปกติในโรงเรียนและนอกเวลาเรียนซึ่งเกือบจะมากกว่านักเรียนจากทุกประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ข้อมูลชี้ว่านักเรียนไทยใช้เวลามากว่าอีกหลายประเทศและให้เวลากับวิชาวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอื่นๆ ทั้งในเวลาเรียนปกติและนอกเวลาเรียน อีกทั้งเวลารวมที่ใช้กับทุกวิชาทั้งในและนอกเวลาก็จัดอยู่ในกลุ่มระบบโรงเรียนที่ใช้เวลาเรียนมาก แต่ผลการประเมินชี้ว่านักเรียนไทยยังคงอยู่ห่างไกลจากค่าเฉลี่ย
OECD ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างคะแนนต่อเวลาเรียนรวมมีค่าต่ำแสดงนัยถึงการใช้เวลาที่ยังไม่คุ้มค่าและชี้ถึงประสิทธิภาพของการจัดการของระบบโรงเรียนด้วย

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200225-newsletter-brussels-no12-dec62.pdf

เติบแกร่ง แทงยอด: สท. คือใคร ตัวอย่างผลงานปี 2560

เติบแกร่ง แทงยอด สท.

หนังสือ “เติบแกร่ง แทงยอด: สท. คือใคร ตัวอย่างผลงานปี 2560” นำเสนอผลงานส่วนหนึ่งจากการทำงานของ สท. ที่ได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรให้พร้อมที่จะเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ดาวน์โหลดหนังสือ

ทำไมใช้ OER

มีหลายเหตุผลที่ครูอาจต้องการใช้ OER ดังนี้
1. ฟรีและถูกต้องตามกฎหมายที่จะใช้ ปรับปรุง และแบ่งปัน
– ประหยัดเวลาและพลังงานโดยปรับหรือแก้ไขทรัพยากรซึ่งได้รับการสร้างแล้ว
– ปรับทรัพยากรการศึกษาให้เป็นเนื้อหาที่จำเพาะสำหรับหลักสูตร
– ขยายโอกาสสำหรับการเรียนรู้และการสอนสหสาขาวิชาโดยช่วยในการรวบรวมและแก้ไขหลายทรัพยากรการศึกษา
– จำกัดความใหม่การเรียนรู้แบบดั้งเดิมโดยรวมหลายสื่อหรือการศึกษาใช้บทละคร
– ไปเกินกว่าขอบเขตของการใช้หนังสือในการสอน

2. เครือข่ายและร่วมมือกับผู้รู้เสมอกัน
– เข้าถึงทรัพยากรการศึกษาซึ่งได้รับการทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
– บทวิจารณ์หรือบทความที่มีคำอธิบายประกอบและเนื้อหาดังนั้นครูคนอื่นมีความรู้ลึกซึ้งมากกว่าของทรัพยากรและคุณภาพอย่างเร็ว
– ให้การเรียนรู้และสอนโครงการของทีมโดยใช้ระบบความร่วมมือ

3. ลดค่าใช้จ่ายในการศึกษาและปรับปรุงการเข้าถึงรายละเอียด
– ลดค่าใช้จ่ายของวัสดุในหลักสูตร โดยเฉพาะตำราเรียนดังนั้นนักเรียนเข้าถึงและไม่มีภาระทางการเงิน
– ค้นหาและเข้าถึงรายละเอียดโดยทันทีในหัวข้อใดก็ได้ในหลายอุปกรณ์
– ทำให้นักเรียนมีโอกาสเห็นเนื้อหาของหลักสูตรอย่างเปิดเผยก่อนการสมัครเข้าเรียน
– เพิ่มการสำเร็จการศึกษาและอัตราการคงอยู่

ที่มา: (April 12, 2019). Why Use OER?. Retrieved April 4, 2020, from https://guides.library.illinois.edu/oer

การสร้างแบรนด์สำหรับ KM ภายในองค์กร

การส่งเสริม KM ของ APQC แสดงว่าการสร้างแบรนด์เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งเพื่อสร้างความตระหนักของ KM ในคนทำงาน เมื่อสร้างแบรนด์ให้กับ KM จะทำให้สิ่งที่เชื่อมโยงกับแบรนด์สามารถจำได้โดยทันทีอย่างมองเห็น การสร้างแบรนด์ช่วย KM มีความสามารถในการมองเห็นในธุรกิจและเตือนพนักงานเกี่ยวกับรายละเอียด ความชำนาญ และความร่วมมือที่มีให้กับพนักงาน และแบรนด์ที่ได้รับการประดิษฐ์โดยใช้ฝีมือที่ดีสามารถทำให้เกิดความหมายในเชิงบวกคือกระตุ้นให้พนักงานให้และค้นหาความรู้จากการทำงานประจำ

1. การสร้างแบรนด์สำหรับ KM ที่น่าสนใจ ขั้นตอนแรกในการสร้างแบรนด์สำหรับ KM คือ เลือกคำที่ถูกต้องเพื่ออธิบายความรู้และ KM ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม ผู้ฟังเป้าหมาย จุดประสงค์สำหรับ KM และวัฒนธรรมองค์กร บางโปรแกรม KM ใช้คำศัพท์มาตรฐานของ KM เช่น knowledge management, communities of practice หรือ knowledge asset บริษัทอื่นอาจใช้คำศัพท์ที่ทั่วไปมากกว่านี้ เช่น knowledge sharing หรือ collaboration

ท้ายที่สุดแบรนด์ KM ควรจะสอดคล้องกับลักษณะทางสังคมและคุณค่าทั้งหมดของบริษัท สำหรับบางบริษัทการสร้างแบรนด์ที่สนุกสนานและตลกจะใช้ได้ดีกว่า แต่บางบริษัทต้องการวิธีการที่ไม่ไร้สาระซึ่งวาง KM เกี่ยวกับธุรกิจที่ยอมรับภายในและมุ่งจุดสนใจไปที่ผลลัพธ์ที่ต้องการ

บริษัท Consolidated Contractors Company หรือ CCC เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างแบรนด์สำหรับ KM ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง CCC เรียกโปรแกรม KM ว่า Fanous เป็นคำอารบิคและกรีกมีความหมายว่าโคมไฟ เหตุผลที่ใช้ Fanous คือ ทีม Km ต้องการหาคำที่ง่ายในการออกเสียงเกือบจะทุกภาษา จุดประสงค์เพื่อให้พนักงานเชื่อมต่อกับแบรนด์ Fanous โดยไม่คำนึงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์หรือภาษาพื้นฐาน Fanous เปรียบ KM เหมือนโคมไฟที่นำทางพนักงานที่อยู่ในที่มืดเพราะว่าพนักงานต้องการเนื้อหาหรือความชำนาญ โลโก้ Fanous ใช้สีที่เป็นทางการของ CCC และจำได้ง่าย

อีกหนึ่งบริษัท คือ MSA เป็นบริษัทด้านความปลอดภัย ผู้ออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยทั่วโลก สร้างแบรนด์สำหรับ KM ที่เชื่อมโยงใกล้ชิดกับภารกิจของบริษัท

2. ทำให้แบรนด์ KM มีความน่าเชื่อถือ ขั้นตอนแรกในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ คือ ทำให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์และบริการ KM มีคุณภาพสูง ข้างล่างเป็นวิธีที่สามารถช่วยสื่อสารและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ KM

  • วางหน้าคนบน KM ใช้ผู้ชนะเลิศ KM หรือผู้ใช้ยอดเยี่ยมในธุรกิจเพื่อส่งเสริมโปรแกรมแก่เพื่อนและทำให้ทีม KM การปรากฏที่มองเห็นได้ผ่านเหตุการณ์สดและเสมือนจริง
  • แสดงให้เห็นว่าเนื้อหาน่าเชื่อถือ แสดง metadata ที่สำคัญ เช่น วันที่เผยแพร่, ผู้แต่ง, มีการ update เร็วๆ นี้อย่างไร และเนื้อหาได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญหรือไม่หรือเมื่อไร
  • รับฟังการตอบกลับ จัดให้มีหนทางสำหรับผู้ใช้ปลายทางเพื่อให้การตอบกลับต่อเครื่องมือ KM และเนื้อหา ขอบคุณต่อคำแนะนำและนำคำแนะนำไปปฏิบัติเมื่อเป็นไปได้
  • เชื่อมต่อไปยังคุณค่าของบริษัท บริษัทส่วนใหญ่มีบางเวอร์ชั่นของความน่าเชื่อถืออยู่ในคุณค่าและภารกิจของบริษัท ผูกแบรนด์ KM กับแนวคิดนี้เพื่อสนับสนุนความสำคัญของ KM ต่อธุรกิจ

3. ส่งเสริมแบรนด์ KM ให้กว้างขวาง มีหลายหนทางเพื่อส่งเสริมแบรนด์ KM ดังนี้

  • KM applications and sites สร้างลักษณะและความรู้สึกที่สอดคล้องกันสำหรับ KM applications and sites โดยรวมโลโก้ KM และสีเข้าด้วยกัน
  • KM newsletters and other communications เพิ่มโลโก้ KM และสีไปที่ email และการสื่อสารผ่านสื่อสังคมของบริษัท
  • KM swag สิ่งของที่ได้รับแบรนด์ KM เช่น เหยือกกาแฟ, power banks และสายคล้อง ไม่จำเป็นต้องแพง แต่จะช่วยถ้ากระตุ้นการสนทนา ทำให้แบรนด์กระจายตลอดองค์กร
  • Posters and video displays เป็นสิ่งเตือนความจำที่มองเห็นได้เกี่ยวกับ KM เมื่อพนักงานไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานหรือกำลังเดินอยู่ในสำนักงาน
  • Webinars แบรนด์ KM webinars และ presentations ด้วยโลโก้และองค์ประกอบแบรนด์อื่นๆ
  • Communities of practice โลโก้ที่จำเพาะสำหรับแต่ละ community of practice ช่วยจำแนกความแตกต่างเนื้อหาของ community และสร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของท่ามกลางสมาชิกของ community

ที่มา: Lauren Trees and Mercy Harper (July 8, 2019). Building a brand for KM inside your organization. Retrieved April 2, 2020, from https://www.kmworld.com/Articles/Editorial/Features/Building-a-brand-for-KM-inside-your-organization-132774.aspx

หนังสือสื่อความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อเกษตรและชุมชน

สื่อความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อเกษตรและชุมชน” รวบรวมสื่อความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตรที่ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดแก่เกษตรกรและชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านพันธุ์พืชและการผลิต เทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ เทคโนโลยีด้านสัตว์ เทคโนโลยีการจัดการดิน เทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร และเทคโนโลีด้านอุปกรณ์ เครื่องจักร ซึ่งจัดทำในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ บทความ วิดีโอ และรายการสัมภาษณ์ เพื่อการเข้าถึงง่ายและปรับประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรได้จริง นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรของประเทศ

ดาวน์โหลดหนังสือ

สมุดปกขาว การศึกษาเชิงนโยบายการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ


จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศที่มีแนวโน้มของความเสื่อมโทรมลง ทำให้การรักษาและบริหารจัดการทรัพยากรและสภาพแวดล้อมได้รับความสนใจจากประเทศต่าง ๆ มากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย พลังงานนับได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน และเป็นที่ทราบกันดีว่า แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานเพื่อดำเนินชีวิตนั้นมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่แหล่งพลังงานเดิมมีแนวโน้มที่ลดลง ด้วยเหตุนี้ทั่วโลกจึงเริ่มค้นหาแหล่งพลังงานใหม่เข้ามาทดแทน เพื่อรองรับความต้องการและสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศของตน จำกแนวโน้มดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อม และรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่กำลังเกิดขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชำติ (สวทช.) จึงได้ทำการจัดทำสมุดปกขาวการศึกษาเชิงนโยบายการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติขึ้น เพื่อศึกษาแนวโน้มและสถานการณ์ด้านพลังงานของโลก การวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานของหน่วยงานวิจัยในต่างประเทศ ความเชื่อมโยงของแผนงานด้านพลังงานต่าง ๆ ของไทย การวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานของหน่วยงานวิจัยในไทย รวมถึงแผนงานการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานของ สวทช. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปใช้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบำยต่อทิศทาง การวิจัยและพัฒนาด้านพลังงาน อีกทั้งเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติหรับข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนั้น เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสำร รายงาน และข้อมูลของหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ซึ่งข้อมูลโดยสรุปของ สมุดปกขาว การศึกษาเชิงนโยบายการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ 

 ดาว์นโหลดเอกสารฉบับเต็ม

5 Megatrends ปี 2020-2030 ที่มีความหมายต่อคุณธุรกิจและการเติบโตของนวัตกรรม

5 Megatrends ปี 2020-2030 ที่มีความหมายต่อคุณธุรกิจและการเติบโตของนวัตกรรม

          การเติบโตของนวัตกรรมสร้างความคาดหวังและความเครียดในสังคม การทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงจะสร้างอนาคตใหม่ ที่เราเรียกกันว่า “Megatrends” ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก  McKinsey ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเปรียบเสมือนเพื่อน การวิเคราะห์ คาดการณ์อนาคตทางธุรกิจและการลงทุนในอนาคต จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับภาคธุรกิจ ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน รวมถึงชีวิตการทำงาน

Megatrend 1: การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจ

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจ ประเทศกำลังพัฒนาจะมีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ สังคมและวิธีลงทุนอย่างมาก            

1.เศรษฐกิจใหม่กำลังเติบโต

คนรุ่นใหม่ในประเทศกำลังพัฒนาได้เปลี่ยนจากการเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการให้กับประเทศพัฒนา สู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการเพื่อบริโภคภายในประเทศของตนเอง ร้อยละ 80 ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และร้อยละ 85 ของการเจริญเติบโตของการบริโภคทั่วโลก คิดเป็นมากกว่าสองเท่าในปี 1990           

2.จีนจะเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลก

เมื่อสองศตวรรษที่ผ่านมา นโปเลียน โบนาปาร์ตได้กล่าวว่า “จีนเสมือนคนนอนหลับ แต่เมื่อตื่นขึ้น จีนจะขับเคลื่อนโลก” เพียง 15 ปีผ่านไป เศรษฐกิจของจีนมีขนาดเท่ากับหนึ่งในสิบของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ถ้าหากยังเติบโตตามคาดการณ์ไว้เศรษฐกิจจีนจะมีมูลค่ามากกว่าสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 2020 คาดการณ์ว่าจีนจะมี 200 เมืองที่มีประชากรหนึ่งล้านคนภายในปี 2025 เพื่อลดความแออัดในกรุงปักกิ่ง และดำเนินการสร้างเมืองใหม่ในชื่อ “สงอัน” ซึ่งห่างออกไป 100 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง โดยเมืองใหม่นี้มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของแมนฮัตตันและคาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าของนิวยอร์คและสิงค์โปร์

3.ข้อมูลประชากรทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง

ในปี 2016 ทั่วทั้งเอเชียมีประชากรประมาณ 4.4 พันล้านคน เท่ากับสี่เท่าในศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2050 จะมีประชากร 5 พันล้านคน ภูมิภาคเอเชียมีทรัพยากร ความหลากหลายทางนิเวศวิทยารองรับการเติบโต เป็นผลให้สามารถคาดหวังการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ต่อไป

ผลกระทบ           

1.มหาอำนาจเปลี่ยนจากตะวันตกเป็นตะวันออก

เศรษฐกิจของจีนมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และยุโรป จีนกำลังมาแทนที่สหรัฐอเมริกา ในฐานะประเทศมหาอำนาจชั้นนำของโลก ดังนั้นวาระทางการเมือง การค้าโลก และอิทธิพลจะเปลี่ยนจากกรุงวอชิงตันในสหรัฐอเมริกามาเป็นกรุงปักกิ่งในจีน            

2.ธุรกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง

จีนมีบริษัทเอกชนที่มีการประเมินมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และภายในสิ้นปี 2019 คาดว่าจะมีผู้ใช้ระบบสิทธิบัตรระดับสากลรายใหญ่ที่สุด ปัจจุบันจีนอยู่ในอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อปีที่แล้วธุรกิจหกล้านแห่งได้รับการจดทะเบียนในประเทศจีน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ล้าน ในปี 2013 โดยภาคธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บันเทิง กีฬา และการเงิน ในขณะที่จำนวนบริษัทเหมืองแร่ ไฟฟ้าและก๊าซมีจำนวนลดลง           

3.ความเป็นผู้นำมาจากตะวันออก

มาจากตะวันออกมากกว่าตะวันตก สถาบันอเมริกันและความเป็นผู้นำองค์กรกำลังลดลง เทียบได้จากจำนวนซีอีโอในซิลิคิน วัลเลย์ (Silicon Valley) ของอินเดีย การเปิดการค้าเสรีของจีนหมายถึงโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นอดีต  

Megatrend 2

ทรัพยากรขาดแคลนผลกระทบของสภาวะโลกร้อนและ อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพืชและผลผลิต ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจน ในขณะเดียวกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะเกิดน้ำท่วมเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้น           

1.ผลกระทบต่อทรัพยากรของโลก

ประชากรกำลังขยายตัวและความเจริญเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความต้องการพลังงาน น้ำและอาหารก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของโลก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ประมาณการว่าประชากรจะเกิน 9.1 พันล้านคน ภายในปี 2050 ด้วยหลักการนี้ ระบบการเกษตรของโลกจะไม่สามารถจัดหาอาหารให้เพียงพอสำหรับทุกคน และองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำจืดจะเกินร้อยละ 40 ในปี 2030 และบางเมือง เช่น เคปเทาวน์ (Cape Town) ประเทศแอฟริกาใต้ จะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ            

2.การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นทำให้โลกร้อนขึ้น

สภาวะโลกร้อนมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 และยังคงดำเนินต่อไป สาเหตุหลักคือการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมไปถึงการที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ถูกปล่อยบนชั้นบรรยากาศ ทำให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมและไม่มีสัญญาณว่าจะลดลง คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสององศาก่อนปี 2100 ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรโลก เรื่องนี้ศึกษาโดย Pricewaterhouse Coopers (PwC) ได้คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้ภายในปี2036

ผลกระทบ           

1.การผลิตมากขึ้น

เพื่อตอบสนองความต้องการอาหารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต อุตสาหกรรมการเกษตรต้องปรับตัวโดยใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตให้น้อยลง โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น เทคโนโลยีช่วยตรวจจับเซ็นเซอร์และสเปรย์สามารถลดการใช้สารกำจัดวัชพืชได้ถึงร้อยละ 95 โดย McKinsey กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ร้อยละ 20-40 ที่ผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ภายในปี 2025            

2.การเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นพลังงานสะอาด

การใช้พลังงานที่ยั่งยืนมีความสำคัญมากกว่าการใช้พลังงานถ่านหิน แต่การเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ            

3.การลดลงของการปล่อยคาร์บอน

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าภายในปี 2040 จะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน ขณะที่รถยนต์ไร้คนขับยังคงเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ รัฐบาลอังกฤษได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีรถยนต์ไร้คนขับคันแรกในปี 2021 กับบริษัทต่างๆ โดยการวางแผนของเดมเลอร์ (Daimler Motor Company) บริษัทผลิตรถยนต์ระดับหรูของสหราชอาณาจักร

Megatrend 3 : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ปัจจุบันคือยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเข้าสู่การปฏิวัติดิจิทัล Klaus Schwab ประธานกรรมการบริหารสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) กล่าวว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และการเรียนรู้ของเครื่องยนต์เป็นศูนย์กลางของ Megatrends ทั้งหมด             

1.ก้าวของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีผลกระทบกับอุตสาหกรรม มีแนวโน้มว่าคนจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร เนื่องจากเครื่องจักร หุ่นยนต์ และ AI สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่ามนุษย์            

2.ข้อมูลคือแหล่งน้ำมันใหม่

ข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะคาดคิดได้ว่าจะมีประสิทธิภาพเพียงใด Jack Ma ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารอาลีบาบา (Alibaba) ได้เปรียบเทียบข้อมูลกับการค้นพบกระแสไฟฟ้า โดยกล่าวว่า “โลกกำลังจะเป็นจุดเริ่มต้นของข้อมูลภายในปี 2025” จำนวนข้อมูลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสิบเท่า

3.ระบบอัตโนมัติ

ในระบบอุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น งานบางอย่างจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร ร้อยละ 60 ของการประกอบอาชีพจะมีอย่างน้อยร้อยละ 30 ของงานถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร แต่ทั้งนี้มนุษย์สามารถเรียนรู้และควบคุมระบบของเครื่องจักรได้

ผลกระทบ           

1.IOT เชื่อมต่อกับการใช้ชีวิต

ภายในปี 2020 โลกจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมากขึ้น รถยนต์ เครื่องชงกาแฟ เครื่องทำความเย็น ความร้อนสามารถควบคุมได้โดยแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน Gartner ได้ประเมินว่าในปี 2014 จะมีการเชื่อมต่อ “สิ่ง” 7 พันล้านอินเทอร์เน็ต ภายในปี 2020 จะเพิ่มเป็น 26 พันล้าน

2.การปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพผ่านหุ่นยนต์และ AI

หุ่นยนต์ AI จะถูกใช้งานมากขึ้นสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ประชาชนจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และค่าขนส่งจะลดลง

3.การปรับปรุงด้านสาธารณสุข

ประชากรจะมีอายุยืนมากขึ้น เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาช่วยดูแลด้านสุขภาพ พัฒนากำจัดโรคในผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องระยะยาวที่สาธารณสุขที่ต้องคิดกันต่อไป

Megatrend 4 : เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ในเอเชียมากกว่า 65 ประเทศซึ่งมีประชากรมากกว่าในสหรัฐอเมริกา ภายในปี 2042 จะมีมากกว่า 65 ประเทศในเอเชียจะมีประชากรมากกว่าในโซนยุโรป และอเมริกาเหนือ (ประชากร, เชื้อชาติ ระดับการศึกษาและด้านอื่นๆ ของประชากร) จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายและโอกาสสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน  Megatrend สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอื่นๆ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปตามภูมิภาคจะมีผลกระทบต่อท้องถิ่นและตลาดโลกและสังคม            

1.ประชากรยังคงเพิ่มจำนวนมากขึ้น

ตามที่องค์การสหประชาติได้คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 พันล้านคนภายในปี 2030 กับการเติบโตของตลาด และภายในปี 2050 องค์การสหประชาชาติประมาณการว่าร้อยละ 80 ของประชากรโลกจะมีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปและอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

2.ประชากรมีอายุยืน

ร้อยละ 30 ของประชากรญี่ปุ่นมีอายุมากกว่า 60 ปี จีนมีประชากร 29 ล้านคน อายุกว่า 80 ปี คาดการณ์ว่าภายในปี 2050 จะมีประชากร 120 ล้านคน รายงานข้อมูลประชากรขององค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 สถานการณ์เช่นนี้จะเกิดกับอีก 55 ประเทศ การที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลครอบคลุมบริการด้านสุขภาพ รวมถึงบริการด้านอื่น ๆ  หลายประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขเพื่อให้แน่ใจว่าผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

3.ำนวนเด็กน้อยลง

สังคมเปลี่ยนแปลงทำให้คนมีการศึกษาแต่งงานน้อยมีจำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยลง สิ่งนี้ส่งผลต่อธุรกิจรวมถึงผลผลิตที่ลดลง การมีส่วนร่วมของแรงงานน้อยลง คนรุ่นใหม่จะมีภาระมากขึ้นอันเป็นผลจากความคาดหวังจากผู้สูงอายุ           

ผลกระทบ           

1.ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ

ในสหรัฐอเมริกาค่าใช้จ่ายในการดูแลด้านสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 8 ของจีดีพีในแต่ละปี โดยนับตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2040 สหรัฐอเมริกาต้องใช้เงินประมาณ 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีเพื่อการดูแล  จากการวิเคราะห์ของ World Economic Forum ชี้ให้เห็นว่าช่องว่างระหว่างการออมเพื่อการเกษียณใน 8 ประเทศใหญ่กำลังเติบโต 28 พันล้านเหรียญสหรัฐในทุกๆ 24 ชั่วโมงและจะสูงถึง 400 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2050 คิดเป็น 5 เท่าของเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน โดยจะมุ่งเน้นการออมหลังเกษียณและการหาวิธีเพิ่มรายได้หลังเกษียณอีกด้วย เป็นผลให้อาจมีความต้องการในการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน ตลอดจนคำแนะนำเพิ่มมากขึ้น            

2.หุ่นยนต์จะกลายเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์

เมื่อประชากรอายุยืนยาวมากขึ้น มีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความขาดแคลนแรงงาน หุ่นยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น (หุ่นยนต์ไม่หลับ ไม่ป่วย แต่ต้องการทักษะมากขึ้น) เป็นผลให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีทักษะสำคัญ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล             

3.ความต้องการของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนอุตสาหกรรมอาหาร

ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการบริโภคมากขึ้น ใส่ใจในอาหารและผลิตภัณฑ์ สร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของอาหาร ตัวอย่างเช่น อาหารออร์แกนิกในสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 224 จากปี 2005 ถึงปี 2016 อาหารสดใหม่รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นที่ต้องการมากกว่าอาหารแปรรูป เห็นได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของอะโวคาโดและผลเบอร์รี่ นอกจากนี้จากการที่ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายมากขึ้นส่งผลให้มีการใช้บริการสั่งอาหารทางออนไลน์มากขึ้น 

Megatrend 5 : การกลายเป็นมหานครอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันประชากรมากกว่าครึ่งโลกอาศัยอยู่ในเขตเมือง และในปี 2030 ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 พันล้านคน การขยายตัวของเมืองส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย ซึ่งนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ในปี 1990 มีเพียง 10 เมืองในโลกที่มีประชากรเกิน 10 ล้านคนซึ่งเรียกว่า “มหานคร” วันนี้จำนวน “มหานคร” ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3 เท่า ส่วนใหญ่ประชากรจะเพิ่มขึ้นในเมืองและเมืองใหญ่ใกล้เมืองหลวง สิ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของประชากรเหล่านี้นำไปสู่โอกาสและความท้าทายสำหรับสังคม ความต้องการของประชากรเมืองในอนาคตจะแตกต่างกับในปัจจุบัน เนื่องจากในอนาคตประชาชนต้องการการเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง และทุกอุปกรณ์ การเชื่อมต่อไร้สายจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในเมือง            

1.การอพยพเข้าเมืองหลวง

ประชากรอาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าเขตชนบท และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในปี 1950 ประชากรของโลกร้อยละ 30 อาศัยอยู่ในเมือง และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 66 ภายในปี 2050

2.ความศิวิไลซ์ของเมืองหลวง

ในสหรัฐอเมริกา พื้นที่ชนบทมีสัดส่วนแพทย์ 39.8 คน ต่อหนึ่งแสนคน เทียบกับแพทย์ในเขตเมืองมี 53.3 คน ต่อหนึ่งแสนคน การกระจายแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกันมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร ด้วยการดูแลสุขภาพที่ดีและรวดเร็วจึงเป็นแรงจูงใจให้ประชากรนิยมโยกย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในเขตเมือง  ขณะเดียวกัน ในเขตเมืองมีค่าตอบแทนในการจ้างงานที่ดี มีการศึกษา การเข้าสังคม และวัฒนธรรมที่ดีกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอีกแรงดึงดูด อีกทั้งยังทำให้ธุรกิจเติบโตได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน รายได้ของประชากรในเมืองได้มากกว่าสองเท่าของชนบท             

ผลกระทบ           

1.เมืองอัจฉริยะ

เมืองต่างๆ ได้รับแรงสนับสนุนจากประชากรสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานและการบริการ การย้ายถิ่นฐานแสดงออกถึงความต้องการโครงสร้างพื้นฐานและบริการใหม่ๆ โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและเครือข่ายต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการใช้ยานพาหนะของประชากรเพิ่มมากขึ้น            

2.การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย

จากความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ระบบการดูแลสุขภาพต้องได้รับการพัฒนา เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร โรงพยาบาลแบบดั้งเดิมจะต้องเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีทดแทน และเนื่องจากอัตราการเกิดอาชญากรรมในเมืองสูงกว่าชนบท รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังในระดับสูง การเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้นหมายถึงทุกกิจกรรมจะต้องถูกบันทึกและตรวจสอบได้

3.การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

ในสภาพแวดล้อมของเมืองที่เปลี่ยนไป รถยนต์ โรงจอดรถ บ้านหลังใหญ่ ปัจจัยเหล่านี้จะมีความต้องการแตกต่างกันเมื่อต้องอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ ผลิตภัณฑ์ต้องมีขนาดเล็กลง ความต้องการพื้นที่และการจัดเก็บลดลง อาหารจะสั่งผ่านดิลิเวอรี่เพื่อความรวดเร็ว วัฒนธรรมหมู่บ้านหายไปการรู้จักเพื่อนบ้านน้อยลงกลายเป็นสังคมเมือง ทรัพยากรจะถูกใช้ร่วมกัน เกิดเป็นพฤติกรรมกลุ่มรูปแบบใหม่   

 

Peter, Fisk. (2019, December) Retrieved from https://www.thegeniusworks.com/2019/12/mega-trends-with-mega-impacts-embracing-the-forces-of-change-to-seize-the-best-future-opportunities/

 

 

 

 

Smart Farming

สวทช. สนับสนุนการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในภาคการเกษตร
ตั้งแต่การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีการปลูก การจัดการพืช/สัตว์สมัยใหม่
ระบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ การเตือนการณ์ คาดการณ์ผลผลิต และการบริหารจัดการกระบวนการผลิต

ในแง่ของผู้ประกอบการ การนำเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนจากการลดการใช้ปุ๋ยและยาที่เป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรไทย และยังได้ผลิตผลที่ปลอดภัย ได้คุณภาพและปริมาณคงที่ ตรงตามความต้องการของตลาด
อีกทั้งยังสามารถนำผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพคงที่มาแปรรูปให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

nstda service booklet

ฐานข้อมูลและแหล่งความรู้เกี่ยวกับ Coronavirus (COVID-19)

การแพร่ระบาดของ Coronavirus (COVID-19) เป็นภัยคุกคามที่สำคัญและเร่งด่วนต่อสุขภาพของประชากรโลก ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว นับเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการรับมือและการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของ Coronavirus เพื่อลดความเสียหายและสูญเสียที่จะเกิดขึ้น

บทความนี้ ขอแนะนำรายชื่อฐานข้อมูลและแหล่งความรู้ออนไลน์ต่างประเทศ ที่รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลและบทความวิจัยและวิชาการ รายงานเชิงเทคนิค และสื่อความรู้ประเภทต่างๆ เกี่ยวกับ Coronavirus (COVID-19) ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและดาวน์โหลดได้ฟรี (เรียงตามลำดับอักษร A-Z)

  1. BMJ หรือ British Medical Journal รวบรวมข่าว บทความวารสาร และสื่อความรู้เกี่ยวกับ Coronavirus (COVID-19) ที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ใน BMJ เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  2. Cambridge University Press รวบรวมบทความวารสารและหนังสือเกี่ยวกับ Coronavirus (COVID-19) ที่ตีพิมพ์และเผยแพร่โดย Cambridge University Press เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  3. Centers for Disease Control and Prevention หรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Coronavirus (COVID-19) (เช่น ขั้นตอนในการดูแลและป้องกันตนเอง จะทำอย่างไรเมื่อมีอาการป่วย อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสฯ และคำถามทั่วไปเกี่ยวกับไวรัสฯ) ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสฯ แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย (เช่น ชุมชน โรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ และบุคลากรห้องปฏิบัติการ) อัพเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสฯ (เช่น สรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสฯ ทั่วโลก กรณีการแพร่ระบาดของไวรัสฯ ในสหรัฐอเมริกา และการประเมินความเสี่ยง) และสื่อความรู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับไวรัสฯ (เช่น หนังสือ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวิดีโอ) เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  4. Chinese Journal of Lung Cancer คือ วารสารแบบเปิด (Open Access) ฉบับรายเดือน โดย Chinese Anti-Cancer Association, Chinese Antituberculosis Association และ Tianjin Medical University General Hospital วารสารนี้ได้รับการจัดทำดัชนีใน เช่น DOAJ, EMBASE/SCOPUS, Chemical Abstract(CA), CSA-Biological Science, HINARI, EBSCO-CINAHL,CABI Abstract, Global Health, CNKI โดยมีบทความวิชาการที่เผยแพร่เกี่ยวกับชีวเคมี พันธุศาสตร์ ชีววิทยาโมเลกุล การวิจัยและการรักษาโรคมะเร็ง และแพทยศาสตร์ทางเดินหายใจและปอด รวมถึงมีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ Coronavirus (COVID-19) ในประเทศจีน (หมายเหตุบทความในวารสารเป็นภาษาจีน) เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  5. Elsevier รวบรวมผลงานวิจัยขั้นต้น เอกสารแนวทางการดูแลรักษาสำหรับแพทย์และผู้ป่วย รวมถึงแผนที่แสดงถึงข้อมูลสถาบันทั่วโลกที่ศึกษาวิจัยการระบาดและการควบคุมโรคจาก Coronavirus, SARS และ MERS โดยอาศัยข้อมูลผลงานวิจัยและวิชาการในฐานข้อมูล Scopus เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ นอกจากนี้ยังได้ทำคอลเลคชั่นพิเศษรวม บทความที่เกี่ยวข้องกับ Coronavirus, SARS และ MERS ในฐานข้อมูล ScienceDirect เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  6. Emerald Publishing รวบรวมบทความในวารสารและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ Coronavirus, SARS และ MERS ซึ่งเผยแพร่โดย Emerald Publishing เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  7. European Centre for Disease Prevention and Control (ECDC) หรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระของสหภาพยุโรป มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการป้องกันโรคติดเชื้อในยุโรป โดย ECDC ได้รวบรวมข่าว ข้อมูล ผลงานตีพิมพ์ (เช่น หลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อยืนยันว่าผู้ต้องสงสัยปลอดภัยหรือไม่ติดเชื้อ Coronavirus สามารถออกจากโรงพยาบาลหรือสามารถปล่อยตัวกลับบ้านได้ และ การประเมินทรัพยากรสำหรับการติดตามผู้ป่วย Coronavirus ในสหภาพยุโรปหรือเขตเศรษฐกิจยุโรป) รวมถึง Infographic เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Coronavirus และการป้องกันตนเองจาก Coronavirus เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  8. International Society for Infectious Diseases (ISID) หรือ สมาคมโรคติดเชื้อระหว่างประเทศ ได้รวบรวมข้อมูลล่าสุด สิ่งพิมพ์ และบทความเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Coronavirus จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  9. Microbiology Society สมาคมจุลชีววิทยา ได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับ Coronavirus ของสมาคมฯ เพื่อเผยแพร่ให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้ฟรี เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  10. New England Journal of Medicine วารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดย Massachusetts Medical Society สมาคมทางการแพทย์ของรัฐที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา โดยวารสารได้นำเสนอบทความและแหล่งข้อมูลอื่นๆ รวมถึงรายงานผลการทดลองทางคลินิก แนวทางการจัดการและความเห็นเกี่ยวกับการระบาดของ Coronavirus เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  11. Oxford University Press รวบรวมแหล่งข้อมูลออนไลน์และวารสารชั้นนำของ Oxford University Press ที่นำเสนอข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับ Coronavirus ที่สามารถเข้าถึงได้ฟรี เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  12. PLOS Blog แบ่งปันและขยายข้อมูลการวิจัยและการค้นพบที่เกี่ยวข้องกับการระบาด Coronavirus เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่
  13. Springer Nature รวบรวมบทความวิจัยจากวารสารของ Springer Nature รวมถึงหนังสือ และ ความเห็นเพิ่มเติมจากนักวิชาการในหัวข้อ Coronavirus เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่
  14. Social Science Research Network (SSRN) – Preprints นำเสนอผลการวิจัยขั้นต้นเกี่ยวกับ Coronavirus โดยจัดเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ 1. COVID-19 Research จากการระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน 2. การวิจัยโรคติดเชื้อเกี่ยวกับโรคติดเชื้อรวมถึง Coronavirus, SARD, MERS และ Ebola 3. Coronavirus และ สหวิทยาการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคมและการเงิน 4. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการติดตาม Coronavirus 5. เว็บไซต์ของ Johns Hopkins เกี่ยวกับ Coronavirus 6. เว็บไซต์ของ Centers for Disease Control and Prevention เกี่ยวกับ Coronavirus และ 7. Healthmap ของการแพร่กระจายของ Coronavirus เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  15. Taylor & Francis รวบรวมรายการของการศึกษาและบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ Coronavirus ของตีพิมพ์และเผยแพร่โดย Taylor & Francis  เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  16. The Lancet ได้จัดทำ COVID-19 Resource Centre เพื่อรวมบทความวิจัยและวิชาการเกี่ยวกับ Coronavirus ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 
  17. World Health Organization รวบรวมรายการบรรณานุกรมบทความวิจัยและวิชาการเกี่ยวกับ Coronavirus ในวารสารต่างๆ ภายใต้ชื่อ Global research on coronavirus disease (COVID-19)เข้าถึงข้อมูลคลิกที่นี่ 

NETPIE 2020

NETPIE 2020 คือแพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองผู้ใช้งานเชิงพาณิชย์ เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT, อุตสาหกรรม, โรงงาน และองค์กรที่พัฒนาสู่ยุค Digital Transformation 4.0 ซึ่งจะช่วยธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง หรือ Internet of Things (IoT)

โดยแพลตฟอร์มจะช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้ เกิดการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์แบบ real-time ทำให้ผู้ใช้งานทราบถึงข้อมูลของอุปกรณ์ ณ เวลานั้นๆ ไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ไหนเวลาใดก็ตาม ทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้จำนวนมหาศาล ทำให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานเชิงพาณิชย์ที่มีอุปกรณ์ IoT จำนวนมากอย่างแน่นอน

คุณสมบัติหลักๆของ NETPIE 2020 Platfrom ประกอบไปด้วย

  1. การแสดงค่าข้อมูลจากเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์แบบ Real-time (Monitoring)
  2. การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน Cloud Platform (Controlling)
  3. การเก็บค่าข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์ (Data Storage)
  4. การแจ้งเตือนความผิดปกติของเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์จากที่ได้กำหนดไว้ (Notification)
  5. การแสดงผลและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ผ่าน Dashboard (Dashboard for monitor & control)