วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 11 เดือน พฤศจิกายน 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 11 เดือน พฤศจิกายน 2562

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 14 ณ กรุงบรัสเซลส์

ระเบียบวาระ เรื่อง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือของสหภาพยุโรปที่ร่วมกับภูมิภาคอาเซียนในการจัดโครงการกลไกการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน (Enhanced Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument) หรือโครงการ E-READI ซึ่งนักวิจัยในภูมิภาคอาเซียนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้เป็นอย่างมาก ในส่วนประเทศไทยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronic and Computer Technology Center, NECTEC) หรือ เนคเทค และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) หรือ สวทช. เป็นตัวแทนในการเข้าร่วม ในอนาคตประเทศไทยต้องการกระชับความสัมพันธ์และพัฒนาโครงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมกับสหภาพยุโรปให้เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักวิจัย หรือโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่นักวิจัยระหว่างประเทศไทยหรือภูมิภาคอาเซียน และสหภาพยุโรป โดยปัจจุบันประเด็นที่ประเทศไทยให้ความสนใจ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสาขาที่ประเทศไทยสามารถสร้างความร่วมมือกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (Thailand National Metal and Materials Technology Center, MTEC) หรือ เอ็มเทค มีความประสงค์ที่ส่งโครงร่างการวิจัยในหัวข้อการพัฒนาโปรตีนเกษตร และการใช้เทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างอาหารร่วมกับโปรตีนที่สกัดได้จากพืชหรือวัสดุชีวภาพอื่นๆ

เขตนวัตกรรม ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECI) หรืออีอีซีไอ ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองเป้าประสงค์ของนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยจะใช้เป็นศูนย์กลางของแหล่งนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ของประเทศ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อและถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม และความเชี่ยวชาญจากพันธมิตรในสหภาพยุโรปสู่ประเทศไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้

ระเบียบวาระ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change)

นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเป้าหมายที่สำคัญ ของอาเซียนในด้านสภาพภูมิอากาศใน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านพลังงาน : อาเซียนจะลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 23 ภายในปี ค.ศ. 2025 และ 2) ด้านการขนส่งทางบก : อาเซียนจะลดการใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ยของยานพาหนะขนาดเล็กที่จำหน่ายในอาเซียนร้อยละ 26 ระหว่างปี ค.ศ. 2015-2025 รวมถึงจะเสนอและเสริมสร้างมาตรการนโยบายการคลังบนพื้นฐานการประหยัดพลังงานหรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับประเทศ และส่งเสริมการประกาศใช้มาตรฐานการใช้เชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะขนาดเล็กของแต่ละประเทศ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศและทุกภาคส่วน โดยอาเซียนพร้อมที่จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับประชาคมโลกในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อประกันความยั่งยืนให้กับอนุชนรุ่นปัจจุบันและอนาคต

แบคทีเรียจากแม่ : หนึ่งกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาด้านสุขภาพของทารก

แบคทีเรียและไวรัสที่ส่งผ่านจากแม่สู่ทารกมีบทบาทสำคัญในการกำหนดสถานะสุขภาพในภายหลังของเด็กได้ ซึ่งผลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาวิธีในการจัดการโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วนและอาการภูมิแพ้ หากแม่ของคุณเป็นโรคอ้วน คุณก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคอ้วนเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้โดยปัจจัยทางวิทยาศาสตร์หลายๆ ปัจจัย ปัจจัยแรก คือ เด็กที่เป็นโรคอ้วนตามแม่นั้นเป็นเพราะได้รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นเดียวกับแม่ของตนเอง ปัจจัยที่สอง คือ ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เด็กได้รับยืนจากแม่ ซึ่งยีนนี้มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดภาวะโรคอ้วนเช่นเดียวกับแม่ และปัจจัยที่สาม ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในวงการวิจัย นั่นก็คือ จุลินทรีย์ทั้งหมดที่อาศัยในร่างกายของเด็ก หรือ ไมโครไบโอตา ซึ่งบางส่วนได้รับมาจากแม่ตั้งแต่ตอนอยู่ในมดลูก หรือจะในระหว่างการให้นมบุตร

ไมโครไบโอตา (Microbiota)

ไมโครไบโอตา หรือ ชุมชนจุลชีพ คือ จุลินทรีย์ทั้งหมดที่อาศัยในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยนับรวมทั้งที่อยู่บนผิว ภายในเนื้อเยื่อ หรือในสารคัดหลั่งของอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ผิวหนัง ต่อมน้ำนม รก น้ำอสุจิ มดลูก รังไข่ ปอด น้ำลาย เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุตา ท่อน้ำดี และทางเดินอาหาร สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีทั้งที่เป็นแบคทีเรียอาร์เคีย เชื้อรา โปรติสต์ และไวรัส นอกจากนี้ยังอาจมีสัตว์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ ในร่างกายของคนปกติ โดยส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 อยู่ที่ลำไส้ใหญ่ส่วนท้ายที่เรียกว่าโคลอน ในร่างกายมนุษย์มีเซลล์จำนวนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านล้านเซลล์ หากความเป็นจริงแล้วเซลล์มนุษย์เป็นเพียง 1 ใน 10 ส่วนของจำนวนเซลล์ของจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้มีผลต่อระบบการทำงานและของร่างกายในส่วนต่างๆ ตามแหล่งที่อาศัยอยู่ บางชนิดมีส่วนช่วยป้องกันจุลินทรีย์ก่อโรคอื่นๆ ที่เข้ามารุกรานช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร ระบบการเผาผลาญและระบบขับถ่าย บางชนิดช่วยสร้างสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในร่างกาย เสริมสร้างและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ แต่บางครั้งความผิดปกติของร่างกายก็อาจเกิดจากจุลินทรีย์เหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน เมื่อจุลินทรีย์บางชนิดมีจำนวนมากเกินไปหรือลดน้อยลงไปจากสภาวะปกติหรือ เรียกอีกอย่างว่า การเสียสมดุลของ ไมโครไบโอตา

การส่งผ่านไมโครไบโอตาจากแม่สู่ลูก

จุลินทรีย์ที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล มีชนิดและจำนวนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละอวัยวะ สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามช่วยอายุของการเจริญเติบโต พบว่าไมโครไบโอตาตั้งตันที่อาศัยในร่างกายได้ส่งผ่านจากแม่มาสู่ทารก โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งผิวหนังของทารกได้รับจากแม่ทั้งก่อนและหลังคลอด เมื่อถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ทารกเริ่มกลืนน้ำคร่ำได้ จุลินทรีย์ในรกสามารถส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ได้ การคลอดก่อนหรือหลังกำหนดคลอดจึงมีความสัมพันธ์ต่อชนิดของไมโครโอตาในทารกแรกเกิดด้วย นอกจากนี้วิธีคลอดไม่ว่าจะเป็นการคลอดโดยวิธีธรรมชาติ หรือการผ่าคลอดยังส่งผลต่อความหลากหลายของชนิดจุลินทรีย์ในไมโครไบโอตา พบว่าทารกที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติผ่านทางช่องคลอดจะได้รับกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในช่องคลอดของแม่ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนกลุ่มจุลินทรีย์ที่พบในทารกที่ผ่าคลอดนั้นจะเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปบริเวณผิวหนัง การให้นมบุตรเป็นอีกช่องทางในการส่งผ่านจุลินทรีย์จากแม่สู่ลูก น้ำนมแม่ประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในทารก เนื่องจากน้ำนมแม่มีองค์ประกอบที่สำคัญคือโมเลกุลน้ำตาลสายสั้นๆ (human milk oligosaccharides, HMOs) หรือที่เรียกว่าพรีไบโอติก (prebiotics) เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กับร่างกายหรือโพรไบโอติคส์ (probiotics) อีกทั้งน้ำนมแม่ยังมีสารที่สามารถยับยั้งไวรัสหรือจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิดได้ การศึกษาพบว่าทารกที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติและได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่องจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า มีโอกาสเป็นโรคอ้วนน้อยกว่าทารกที่คลอดด้วยวิธีการผ่าและไม่ได้รับนมแม่

งานวิจัยด้านไมโครไบโอตา

นักวิทยาศาสตร์การอาหารและนักจุลชีววิทยา กล่าวว่า จุลินทรีย์ในลำไส้วัยแรกเกิดจะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญถึงสถานะสุขภาพของบุคคลนั้นๆ ในอนาคต โดยเมื่อไมโครไบโอตาในร่างกายเสียสมดุล จะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังซึ่งสามารถส่งผลต่อระบบเผาผลาญของเซลล์ในร่างกาย ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจึงเริ่มให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมในทางเดินอาหารตั้งแต่วัยแรกเกิดเพื่อส่งเสริมการสร้างไมโครไบโอตาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ไขความลับของการดื้อยาต้านจุลชีพ

ปัจจุบันการดื้อยาจุลชีพถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในวงการสาธารณสุขทั่วโลกกำลังเผชิญ ในยุโรปมีประชากรที่เสียชีวิตจาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาต้านจุลชีพเป็นจำนวนกว่า 33,000 คนต่อปี และมีการประมาณการว่าในปี ค.ศ. 2050 จะมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพเป็นจำนวนสูงถึง 10 ล้านคน โดยการใช้ยาต้านจุลชีพเกินขนาดถูกมองว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหานี้

ความสำคัญของยาต้านจุลชีพ

เกือบ 100 ปีมาแล้วที่ Alexander Fleming ได้ค้นพบยาต้านจุลชีพ หรือ ยาปฏิชีวนะ penicillin ซึ่งได้กลายมาเป็นหนทางในการรักษาโรคติดเชื้อแทบทุกชนิดบนโลก และกลายเป็นรากฐานสำคัญสำหรับแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ช่วยให้เราสามารถทำการผ่าตัดที่อาจก่อให้เกิดแผลขนาดใหญ่ การปลูกถ่ายอวัยวะ การดูแลรักษาทารกที่คลอดก่อนกำหนด เคมีบำบัด รวมไปถึงการรักษาอาการติดเชื้อที่นำไปสู่โรคร้ายแรงและการเสียชีวิตได้

การดื้อยาต้านจุลชีพคืออะไร?

การดื้อยาต้านจุลชีพ คือ ภาวะที่จุลชีพมีความสามารถทนต่อยาต้านจุลชีพที่เคยมีประสิทธิภาพดีในการรักษา โรคที่เกิดจากการติดเชื้อจุลชีพดังกล่าว ทั้งนี้การดื้อต่อยาปฏิชีวนะนี้เกิดขึ้นในจุลชีพเท่านั้น คนหรืออวัยะที่เกิดการติดเชื้อจุลชีพนั้นไม่อาจก่อให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะได้ ในปี ค.ศ. 2014 ด้วยความรุนแรงของการดื้อยาต้านจุลชีพทำให้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) ประกาศให้การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น “ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม การดื้อยานี้ทำให้แบคทีเรียเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้น ยาปฏิชีวนะที่เคยใช้ได้ผลจะไม่สามารถใช้งานได้กับคนที่ต้องการการรักษาโรคที่เกิดติดเชื้อนี้และประกาศให้ การดื้อยาต้านจุลชีพเป็นภัยคุกคามหลักต่อการสาธารณสุขในปัจจุบัน

แบคทีเรียพัฒนาความสามารถในการดื้อยาต้านจุลชีพได้อย่างไร

การดื้อยาต่อปฏิชีวนะของแบคทีเรียนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก โดยการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียเป็นการตอบสนองและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในขณะที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียนั้นๆ โดยการดื้อยานี้อาจเกิดจากการปรับตัวทางกายภาพหรือทางพันธุกรรมของแบคทีเรียนั้นก็ได้ การดื้อยาสามารถเกิดขึ้นได้เองทั่วไปในธรรมชาติ โดยมีการค้นพบยีนที่มีมาแต่โบราณซึ่งเป็นยีนทำให้แบคทีเรียเหล่านั้นดื้อต่อยาปฏิชีวนะ โดยยาปฏิชีวนะนั้นอาจเป็นยาที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยแบคทีเรียนั้นๆ โดยยีนที่ดื้อยาอาจถูกถ่ายทอดจากแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคไปยังแบคทีเรียอื่นที่ก่อโรคและทำให้แบคทีเรียที่ได้รับยีนนี้เข้าไปสามารถทนต่อยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน

ก้าวต่อไปของงานวิจัยการดื้อยาต้านจุลชีพ

ในโครงการ uCARE ของสหภาพยุโรปกำลังศึกษาผลกระทบจากการใช้ยาประเภทอื่นที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะถึงความเป็นไปได้ในการเหนี่ยวนำให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่เราอาจมองข้ามไป โดยมีกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ยาประเภทอื่นที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ ณ ความเข้มข้นปกติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ได้เช่นกัน โครงการ uCARE ได้ทดสอบยาประเภทอื่นที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะจำนวน 800 ชนิด พบว่าหนึ่งในสี่ของยาที่ถูกทดสอบสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีความเป็นไปได้ว่าท้ายที่สุดแล้วเชื้อแบคทีเรียจะพัฒนาความสามารถของการดื้อยาต่อยาเหล่านี้ได้เหมือนในกรณีของยาต้านจุลชีพ ซึ่งนั้นหมายความว่าการทานยาที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะอาจทำให้ร่างกายเกิดอาการดื้อยาต้านจุลชีพได้เช่นกัน

ทางออกต่อปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

หนึ่งในวิธีการรักษาที่ทางโครงการ uCARE กำลังศึกษาอยู่คือ การใช้ยาหลายๆ ประเภทร่วมกัน โดยปกติแล้วในปัจจุบันเราจะใช้ยาชนิดเดียวในการรักษาโรคแต่ละโรค ซึ่งการใช้ยาหลายประเภทในการจัดการกับเชื้อแบคทีเรียอาจจะทำให้เชื้อแบคทีเรียปรับตัวได้ยากกว่า ซึ่งยาที่จะถูกเลือกใช้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นยาปฏิชีวนะโดยยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติต้านจุลชีพได้ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยในการค้นหาและพัฒนายาที่ไม่จำเป็นต้องยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และไปหยุดกระบวนการการพัฒนาความสามารถในการดื้อยา

อุจจาระรักษาโรค

อีกหนึ่งวิทยาการทางการแพทย์ คือ Faecal Microbiota Transplantation (FMT) หรือ การปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ ซึ่งหมายถึงการนำอุจจาระของคนที่มีสุขภาพแข็งแรงมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีไปใส่ลำไส้ของผู้ติดเชื้อเพื่อเปลี่ยนไมโครไบโอตาในลำไส้และจัดการกับแบคทีเรียชนิดที่ก่อให้เกิดโรค การรักษาแบบ FMT มีแนวคิดในการนำอุจจาระของผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง นำมาใส่ในลำไส้ของผู้ป่วยระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ (colonoscopy) ซึ่งการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจากอุจจาระคนหนึ่งเข้าสู่ลำไส้ใหญ่อีกคน เสมือนเป็นการเปลี่ยนถ่ายหรือการนำสิ่งมีชีวิตไปใส่ จึงเรียกว่า Faecal Transplantation ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มศักยภาพของจุลินทรีย์ประจำถิ่นชนิดดีที่เสียหายจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งจากผลการรักษาชี้ให้เห็นว่าการรักษาโดยวิธีนี้มีประสิทธิภาพและได้ผลดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ การรักษาด้วย FMT เป็นวิธีการที่ยังไม่มีหลักเกณฑ์ข้อบังคับในระดับสากล ดังนั้นการกำหนดรายละเอียดในวิธีการนำ FMT มาใช้รักษาจึงแตกต่างกัน

 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200225-newsletter-brussels-no11-nov62.pdf

 

 

Megatrends 2020 – 2030 สิ่งที่มีความหมายต่อคุณ ธุรกิจและการเติบโตของนวัตกรรม

ความนำ “Megatrends” แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อมนุษย์

เนื้อความ Megatrends 2020-2030 สิ่งที่มีความหมายต่อคุณธุรกิจและการเติบโตของนวัตกรรม

           การเติบโตของนวัตกรรมสร้างความคาดหวังและความเครียดในสังคม การทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงจะสร้างอนาคตใหม่ ที่เราเรียกกันว่า “Megatrends” ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก  McKinsey ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเปรียบเสมือนเพื่อน การวิเคราะห์ คาดการณ์อนาคตทางธุรกิจและการลงทุนในอนาคต จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับภาคธุรกิจ ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน รวมถึงชีวิตการทำงาน

Megatrend 1: การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจ

การเติบโตของประชากรเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนอำนาจทางเศรษฐกิจ ประเทศกำลังพัฒนาจะมีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ สังคมและวิธีลงทุนอย่างมาก            

1.เศรษฐกิจใหม่กำลังเติบโต

คนรุ่นใหม่กับประเทศกำลังพัฒนาได้หายไปจากการเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับประเทศพัฒนาแล้ว โดยจะเน้นผลิตสินค้าและบริการสำหรับบริโภคภายในประเทศ โดยคิดเป็นร้อยละ 80 ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และร้อยละ 85 ของการเจริญเติบโตของการบริโภคทั่วโลก ซึ่งมากกว่าสองเท่าของปี 1990           

2.จีนจะเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลก

เมื่อสองศตวรรษที่ผ่านมา นโปเลียน โบนาปาร์ตได้กล่าวว่า “ประเทศจีนเสมือนคนนอนหลับ แต่เมื่อตื่นขึ้น จีนจะขับเคลื่อนโลก” เพียง 15 ปีผ่านไป เศรษฐกิจของประเทศจีนมีขนาดเท่ากับหนึ่งในสิบของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ถ้าหากยังเติบโตตามคาดการณ์ไว้เศรษฐกิจจีนจะมีมูลค่ามากกว่าสหรัฐฯในช่วงปี 2020
คาดการณ์ว่าจีนจะมี 200 เมืองที่มีประชากรหนึ่งล้านคนภายในปี 2025 เพื่อลดความแออัดในกรุงปักกิ่ง และดำเนินการสร้างเมืองใหม่ในชื่อ “สงอัน” ซึ่งห่างออกไป 100 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองหลวง โดยเมืองใหม่นี้มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของแมนฮัตตันและคาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าของนิวยอร์คและสิงค์โปร์

3.ข้อมูลประชากรทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง

ในปี 2016 ทั่วทั้งเอเชียมีประชากรประมาณ 4.4 พันล้านคน เท่ากับสี่เท่าในศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2050 จะมีประชากร 5 พันล้านคน ภูมิภาคเอเชียมีทรัพยากร ความหลากหลายทางนิเวศวิทยารองรับการเติบโต เป็นผลให้เราสามารถคาดหวังการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ต่อไป                  

ผลกระทบ           

1.มหาอำนาจจากตะวันตกไปตะวันออก

แม้จะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจจากจีน หนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มขยายการเติบโตในระยะยาว เศรษฐกิจจีนมีความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และยุโรป จีนกำลังมาแทนที่สหรัฐฯ ในฐานะประเทศมหาอำนาจชั้นนำของโลก ดังนั้นวาระทางการเมือง การค้าโลก และอิทธิพลจะเปลี่ยนจากกรุงวอชิงตันมาเป็นกรุงปักกิ่ง            

2.การเติบโตของธุรกิจจีนเติบโตต่อเนื่อง

จีนมีบริษัทเอกชนที่มีการประเมินมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และภายในสิ้นปี 2019 คาดว่าจะมีผู้ใช้ระบบสิทธิบัตรระดับสากลรายใหญ่ที่สุด ปัจจุบันจีนอยู่ในอันดับสองรองจากสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วธุรกิจหกล้านแห่งได้รับการจดทะเบียนในประเทศจีน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ล้าน ในปี 2013 โดยภาคธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บันเทิง กีฬา และการเงิน ในขณะที่จำนวนบริษัทเหมืองแร่ ไฟฟ้าและก๊าซมีจำนวนลดลง            

3.ความเป็นผู้นำมาจากภาคตะวันออก

แนวคิดการปฏิบัติที่ดีที่สุดมาจากตะวันออกมากกว่าตะวันตก สถาบันอเมริกันและความเป็นผู้นำองค์กรกำลังลดลง เทียบได้จากจำนวนซีอีโอในซิลิคิน วอลเลย์ ของอินเดีย การเปิดเศรษฐกิจเสรีของจีนหมายถึงสันนิษฐานว่าโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นอดีต

Megatrend 2 ทรัพยากรขาดแคลน

ผลกระทบของสภาวะโลกร้อนอยู่รอบๆ ตัวเรา อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพืชผลผลิต ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจน ในขณะเดียวกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะเกิดน้ำท่วมเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้น           

1.ผลกระทบกับทรัพยากรของโลก

ประชากรกำลังขยายตัวและความเจริญเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความต้องการพลังงาน น้ำและอาหารก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของโลก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติประมาณการว่าประชากรจะเกิน 9.1 พันล้านคน ภายในปี 2050 ด้วยหลักการนี้ ระบบการเกษตรของโลกจะไม่สามารถจัดหาอาหารให้เพียงพอสำหรับทุกคน และองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำจืดจะเกินร้อยละ 40 ในปี 2030 และบางเมือง เช่น เคปเทาวน์ จะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ            

2.การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นทำให้โลกร้อนขึ้น

สภาวะโลกร้อนมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 และยังคงดำเนินต่อไป สาเหตุหลักจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมไปถึงการที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมและไม่มีสัญญาณว่าจะลดลง สำหรับอุณหภูมิคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสององศาก่อนปี 2100 ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรโลก งานศึกษาของ Pricewaterhouse Coopers (PwC) ได้คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้ภายในปี2036           

ผลกระทบ           

1.ได้ผลิตมากขึ้น

เพื่อตอบสนองความต้องการอาหารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต อุตสาหกรรมการเกษตรต้องปรับตัวโดยใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตให้น้อยลง โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้มีผลผลิตมากขึ้น เทคโนโลยีช่วยตรวจจับเซ็นเซอร์และสเปรย์สามารถลดการใช้สารกำจัดวัชพืชได้ถึงร้อยละ 95 โดย McKinsey กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ร้อยละ 20-40 ที่ผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ภายในปี 2025            

2.เปลี่ยนจากน้ำมันเป็นพลังงานสะอาด

การใช้พลังงานที่ยั่งยืนมีความสำคัญมากกว่าการใช้พลังงานถ่านหิน และมีการเปลี่ยนแปลงในการบริโภคสินค้า แต่การเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ            

3.การลดลงของการใช้คาร์บอน 

การกำหนดภาษีรถยนต์กำหนดโดยการใช้ลักษณะเครื่องยนต์ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าภายในปี 2040 จะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน ขณะที่รถยนต์ไร้คนขับยังคงเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ รัฐบาลอังกฤษได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีรถยนต์ไร้คนขับคันแรกในปี 2021

Megatrend 3 : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ขณะนี้เราอยู่ท่ามกลางการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเข้าสู่การปฏิวัติดิจิตอล Klaus Schwab ประธานกรรมการบริหารสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) กล่าวว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องยนต์เป็นศูนย์กลางของ Megatrends ทั้งหมด             

1.ก้าวของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีผลกระทบกับอุตสาหกรรม มีแนวโน้มว่าคนจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร เนื่องจากเครื่องจักร หุ่นยนต์ และ AI สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่ามนุษย์            

2.ข้อมูลคือแหล่งน้ำมันใหม่

ข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะคาดคิดได้ว่าจะมีประสิทธิภาพเพียงใด Jack Ma ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารอาลีบาบา ได้เปรียบเทียบข้อมูลกับการค้นพบกระแสไฟฟ้า เขากล่าวว่า “โลกกำลังจะเป็นจุดเริ่มต้นของข้อมูลภายในปี 2025” จำนวนข้อมูลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสิบเท่า

3.ระบบอัตโนมัติ

ในระบบอุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น งานบางอย่างจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร ร้อยละ 60 ของการประกอบอาชีพจะมีอย่างน้อยร้อยละ 30 ของงานถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร แต่ทั้งนี้มนุษย์สามารถเรียนรู้และควบคุมระบบของเครื่องจักรได้                

ผลกระทบ           

1.IOT เชื่อมต่อกับการใช้ชีวิต

ภายในปี 2020 โลกจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมากขึ้น รถยนต์ เครื่องชงกาแฟ เครื่องทำความเย็น ความร้อนสามารถควบคุมได้โดยแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน การ์ตเนอร์ได้ประเมินว่าในปี 2014 7 พันล้านสิ่งจะสามารถเชื่อมต่อด้วยอินเตอร์เน็ต และภายในปี 2020 จะเพิ่มเป็น 26 พันล้าน

2.ปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพผ่านหุ่นยนต์และ AI
หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะถูกใช้งานมากขึ้นซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ประชาชนจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ดี ในขณะเดียวกันการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และค่าขนส่งจะลดลง

3.การปรับปรุงด้านสาธารณสุข
ประชากรจะมีอายุยืนมากขึ้น เป็นผลจากการนำเทคโนโลยีมาช่วยดูแลด้านสุขภาพ พัฒนาวิธีการรักษาโรคให้ผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องระยะยาวที่สาธารณสุขที่ต้องคิดกันต่อไป

Megatrend 4 : เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ในเอเชียมากกว่า 65 ประเทศซึ่งมีประชากรมากกว่าในสหรัฐฯ ภายในปี 2042 จะมีมากกว่า 65 ประเทศในเอเชียจะมีประชากรมากกว่าในโซนยุโรป และอเมริกาเหนือ การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก (ประชากร, เชื้อชาติ ระดับการศึกษาและด้านอื่นๆ ของประชากร) จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายและโอกาสสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน  Megatrend สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอื่นๆ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปตามภูมิภาคจะมีผลกระทบต่อท้องถิ่นและตลาดโลกและสังคม            

1.ประชากรยังคงเพิ่มจำนวนมากขึ้น

ตามที่องค์การสหประชาติได้คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 พันล้านคนภายในปี 2030 กับการเติบโตของตลาด และภายในปี 2050 องค์การสหประชาชาติประมาณการว่าร้อยละ 80 ของประชากรโลกที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปจะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

2.ประชากรมีอายุยืน

ร้อยละ 30 ของประชากรในประเทศญี่ปุ่นมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี เช่นเดียวกับจีนที่ปัจจุบันมีประชากรอายุกว่า 80 ปี ประมาณ 29 ล้านคน และภายในปี 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 120 ล้านคน รายงานข้อมูลประชากรขององค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 สถานการณ์เช่นนี้จะเกิดกับอีก 55 ประเทศ การที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลครอบคลุมบริการด้านสุขภาพ รวมถึงบริการด้านอื่น ๆ  หลายประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขเพื่อให้แน่ใจว่าผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

3.จำนวนเด็กน้อยลง

สังคมเปลี่ยนแปลงทำให้คนมีการศึกษาแต่งงานน้อยมีจำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยลง สิ่งนี้ส่งผลต่อธุรกิจรวมถึงผลผลิตที่ลดลง การมีส่วนร่วมของแรงงานน้อยลง คนรุ่นใหม่จะมีภาระมากขึ้นอันเป็นผลจากความคาดหวังจากผู้สูงอายุ           

ผลกระทบ           

1.ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพในสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายในการดูแลด้านสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 8 ของจีดีพีในแต่ละปี โดยนับตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2040 สหรัฐฯต้องใช้เงินประมาณ 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี  จากการวิเคราะห์ของ World Economic Forum ชี้ให้เห็นว่าช่องว่างระหว่างการออมเพื่อการเกษียณใน 8 ประเทศใหญ่กำลังเติบโต 28 พันล้านเหรียญสหรัฐทุกๆ 24 ชั่วโมงและจะสูงถึง 400 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2050 คิดเป็น 5 เท่าของเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน โดยจะมุ่งเน้นการออมหลังเกษียณและการหาวิธีเพิ่มรายได้หลังเกษียณอีกด้วย เป็นผลให้อาจมีความต้องการในการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน ตลอดจนคำแนะนำเพิ่มมากขึ้น            

2.หุ่นยนต์จะกลายเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของเราเมื่อประชากรอายุยืนยาวมากขึ้น มีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความขาดแคลนแรงงาน หุ่นยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น (หุ่นยนต์ไม่หลับ ไม่ป่วย แต่ต้องการทักษะมากขึ้น) เป็นผลให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีทักษะสำคัญ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล             

3.ความต้องการของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนอุตสาหกรรมอาหาร

ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการบริโภคมากขึ้น ใส่ใจในอาหารและผลิตภัณฑ์ สร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของอาหาร ตัวอย่างเช่น อาหารออร์แกนิกในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 224 จากปี 2005 ถึงปี 2016 อาหารสดใหม่รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นที่ต้องการมากกว่าอาหารแปรรูป เห็นได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของอะโวคาโดและผลเบอร์รี่ นอกจากนี้จากการที่ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายมากขึ้นส่งผลให้มีการใช้บริการสั่งอาหารทางออนไลน์มากขึ้น  

Megatrend 5 : การกลายเป็นมหานครอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันประชากรมากกว่าครึ่งโลกอาศัยอยู่ในเขตเมือง และในปี 2030 ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 พันล้านคน การขยายตัวของเมืองส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบทวีปแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ในปี 1990 มีเพียง 10 เมืองในโลกที่มีประชากรเกิน 10 ล้านคนซึ่งเรียกว่า “มหานคร” วันนี้จำนวน “มหานคร” ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3 เท่า ส่วนใหญ่ประชากรจะเพิ่มขึ้นในเมืองและเมืองใหญ่ใกล้เมืองหลวง สิ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของประชากรเหล่านี้นำไปสู่โอกาสและความท้าทายสำหรับสังคม ความต้องการของประชากรเมืองในอนาคตจะแตกต่างกับในปัจจุบัน เนื่องจากในอนาคตประชาชนต้องการการเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง และทุกอุปกรณ์ การเชื่อมต่อไร้สายจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในเมือง            

1.การอพยพเข้าเมืองหลวง

ประชากรอาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าเขตชนบท และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในปี 1950 ประชากรของโลกร้อยละ 30 อาศัยอยู่ในเมือง และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 66 ภายในปี 2050

2.ความศิวิไลซ์ของเมืองหลวง

ในสหรัฐฯ พื้นที่ชนบทมีสัดส่วนแพทย์ 39.8 คน ต่อหนึ่งแสนคน เทียบกับแพทย์ในเขตเมืองมี 53.3 คน ต่อหนึ่งแสนคน การกระจายแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกันมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร ด้วยการดูแลสุขภาพที่ดีและรวดเร็วจึงเป็นแรงจูงใจให้ประชากรนิยมโยกย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในเขตเมือง  ขณะเดียวกัน ในเขตเมืองมีค่าตอบแทนในการจ้างงานที่ดี มีการศึกษา การเข้าสังคม และวัฒนธรรมที่ดีกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอีกแรงดึงดูด อีกทั้งยังทำให้ธุรกิจเติบโตได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน รายได้ของประชากรในเมืองได้มากกว่าสองเท่าของชนบท             

ผลกระทบ           

1.เมืองอัจฉริยะ

เมืองต่างๆ ได้รับแรงสนับสนุนจากประชากรสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานและการบริการ การย้ายถิ่นฐานแสดงออกถึงความต้องการโครงสร้างพื้นฐานและบริการใหม่ๆ โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและเครือข่ายต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการใช้ยานพาหนะของประชากรเพิ่มมากขึ้น            

2.การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย

จากความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ระบบการดูแลสุขภาพต้องได้รับการพัฒนา เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร โรงพยาบาลแบบดั้งเดิมจะต้องเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีทดแทน และเนื่องจากอัตราการเกิดอาชญากรรมในเมืองสูงกว่าชนบท รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังในระดับสูง การเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้นหมายถึงทุกกิจกรรมจะต้องถูกบันทึกและตรวจสอบได้

3.การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

ในสภาพแวดล้อมของเมืองที่เปลี่ยนไป รถยนต์ โรงจอดรถ บ้านหลังใหญ่ ปัจจัยเหล่านี้จะมีความต้องการแตกต่างกันเมื่อต้องอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ ผลิตภัณฑ์ต้องมีขนาดเล็กลง ความต้องการพื้นที่และการจัดเก็บลดลง อาหารจะสั่งผ่านดิลิเวอรี่เพื่อความรวดเร็ว วัฒนธรรมหมู่บ้านหายไปการรู้จักเพื่อนบ้านน้อยลงกลายเป็นสังคมเมือง ทรัพยากรจะถูกใช้ร่วมกัน เกิดเป็นพฤติกรรมกลุ่มรูปแบบใหม่   

 

Peter, Fisk. (2019, December) Retrieved fromhttps://www.thegeniusworks.com/2019/12/mega-trends-with-mega-impacts-embracing-the-forces-of-change-to-seize-the-best-future-opportunities/

ชุดเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน G Suite for education

แนะนำบริการ G Suite for Education

G Suite for Educatin ชุดเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน เปิดให้ใช้บริการฟรีสำหรับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา

จุดเด่นของบริการ G Suite for Education

  • เป็นบริการฟรีทั้งหมด มีคุณลักษณะเทียบเท่า G Suite for Business
  • มี email ในโดเมนของหน่วยงานเอง เช่น xxx@school.edu
  • สามารถใช้ Gmail, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Form และ Google Classroom และอื่นๆ ร่วมกันได้
  • มีพืนที่เก็บข้อมูลไม่จำกัด
  • ไม่มีโฆษณา
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระดับสูง
  • ใช้ได้ในอุปกรณ์ทุกประเภท

บริการหลักของ G Suite for Education

Gmail

บริการ email ภายใต้โดเมนของสถานศึกษา ให้บริการพื้นที่ไม่จำกัด รับส่ง email อย่างปลอดภัยกับสมาชิกในชั้นเรียน

Google Drive

จัดเก็บและส่งต่อให้เพื่อนร่วมชั้นได้ง่าย และเข้าถึงได้จากอุปกรณ์ทุกชนิด

Google Sheets Docs Slides

เครื่องมือสร้างและแก้ไขเอกสาร ที่ผุ้ใช้หลายคนสามารถทำงาร่วมกันได้ในเวลาเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้อัติโนมัติ

Google Forms

เครื่องมือสร้างแบบฟอร์ม แบบทดสอบ และแบบสำรวจเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์คำตอบ

Google Sites

เครื่องมือสร้างเว็บใช้งานง่ายสำหรับการสร้างเว็บไซต์ จัดเก็บข้อมูลหลักสูตร สร้างทักษะการพัฒนา และช่วยให้นักเรียนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

Classroom

Classroom เป็นผลิตภัณฑ์ใน G Suite for Education ซึ่งประกอบด้วย Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides และอื่นๆ อีกมากมาย โดย Classroom จะทำงานร่วมกับ G Suite for Education เพื่อให้ผู้สอนและนักเรียนสามารถสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย

วิธีใช้งานเครื่องมือ

การเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือของ G Suite for education แต่ละชนิดนั้น ทุกท่านสามารถศึกษาได้ที่ https://oer.learn.in.th/event/event_media/31#top  

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีน และต่อไปนี้ก็คือ ข้อสรุปหลักๆ ของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้หลังจากปฏิบัติงานผ่านไป 9 วัน

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีน และต่อไปนี้ก็คือ ข้อสรุปหลักๆ ของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้
หลังจากปฏิบัติงานผ่านไป
9 วัน

แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
[ต้นฉบับภาษาอังกฤษเข้าถึงที่ https://www.reddit.com/r/China_Flu/comments/fbt49e/the_who_sent_25_international_experts_to_china/?utm_medium=android_app&utm_source=share]
การแปลครั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ ในการทำความเข้าใจกับการระบาดของโรคโควิด-19
ที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยเช่นกัน เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจในประชาชนไทยในวงกว้าง]

ดาวน์โหลดเอกสาร


ทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ 25 คน ที่องค์การอนามัยโลกส่งเข้าไปสืบสวนสถานการณ์ในจีน สรุปว่า

  • กรณีส่วนใหญ่ (78-85%) เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัวจากละอองเสมหะ (droplet) ไม่ใช่จากการกระจายจากละอองลอย (aerosol) เป็นหลัก
  • ส่วนใหญ่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ติดเชื้อ (จากทั้งหมด 2,055 คน) ติดเชื้อจากที่บ้าน หรือไม่ก็ติดเชื้อจากการระบาดในช่วงแรกที่ยังไม่มีการประกาศมาตรการรับมือโรค
  • ราว 5% ของคนที่วินิจฉัยว่าป่วย ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อีก 15% ต้องใช้ออกซิเจนเข้มข้นสูง
  • ช่วงการฟื้นตัวโดยเฉลี่ยราว 3–6 สัปดาห์ สำหรับรายที่อาการหนัก และ 2 สัปดาห์สำหรับราย
    ที่ป่วยไม่มาก
  • จำนวนผู้ป่วยและช่วงเวลาที่ใช้รักษาเป็นภาระหนักเกินกว่าระบบที่อู่ฮั่นรองรับได้ จังหวัดหูเป่ย เมืองหลวงมณฑลอู่ฮั่นมีผู้ป่วยราว 65,596 คน (ข้อมูลวันที่ 2 มี.ค. 2563)
  • มีการส่งคนไปช่วยรับมือที่หูเป่ยราว 40,000 คน ในอู่ฮั่นมีโรงพยาบาล 45 แห่งที่ใช้รองรับผู้ป่วย โดย 6 แห่งรองรับผู้ป่วยขั้นวิกฤติ และอีก 39 แห่งรองรับผู้ป่วยหนัก โดยเฉพาะกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี
  • มีการสร้างโรงพยาบาลสนามขนาด 2,600 เตียงอย่างรวดเร็ว
  • ผู้ป่วยราว 80% มีอาการไม่หนัก มีโรงพยาบาลชั่วคราว 10 แห่งที่ปรับใช้จากการดัดแปลงยิมเนเซียมและห้องจัดแสดงนิทรรศการ
  • ขณะนี้ จีนผลิตชุดตรวจโรคโคโรนาไวรัสใหม่นี้ ราว 6 ล้านชุด/สัปดาห์ โดยรู้ผลการตรวจได้ในวันเดียว ใครที่มีไข้และไปพบแพทย์ จะได้รับการตรวจเบื้องต้นด้วยชุดตรวจนี้ ในเมืองกวางตุ้งที่ห่างจากอู่ฮั่น ได้ทดสอบกับคนไปแล้วรวม 320,000 คน และมี 0.14% ที่ตรวจแล้วพบไวรัส
  • คนส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อ มักจะมีอาการในที่สุด แม้ว่าจะช้าเร็วต่างกัน ในกรณีที่ตรวจพบไวรัสแต่ยังไม่มีอาการนั้น หายาก และส่วนใหญ่จะป่วยในอีกสองสามวันต่อมา
  • อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีไข้ (88%) ไอแห้งๆ (68%) ไม่มีเรี่ยวแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) หนาวสั่น (11%) อาการที่พบน้อยลงมาหน่อยคือ คลื่นไส้และอาเจียน (5%) คัดจมูก (5%) และท้องเสีย (4%)
  • อาการที่ไม่ใช่สัญญาณโรคของโควิด-19 คือ น้ำมูกไหล
  • จากการตรวจสอบคนจีนที่ติดเชื้อรวม 44,672 คน มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 4%
  • อัตราการเสียชีวิตขึ้นเป็นอย่างมากกับ อายุ, สภาพร่างกายก่อนติดเชื้อ, เพศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบสุขภาพที่รับมือโรค
  • ตัวเลขการเสียชีวิตนับจนถึงวันที่ 17 ก.พ. ทุกรายสะท้อนผลระบบสุขภาพที่ใช้รับมือของจีน ซึ่งจะต่างออกไปเป็นอย่างมากในอนาคต สำหรับที่อื่นๆ
  • ระบบสุขภาพของจีน: คนที่ติดเชื้อในจีนราว 20% ต้องการการรักษาที่โรงพยาบาลนานหลายสัปดาห์ จีนมีโรงพยาบาลเพียงพอจะใช้รักษาประชากรได้ 4% ของทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ มีศักยภาพราว 0.1–1.3% และเตียงส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีผู้ป่วยโรคอื่นใช้อยู่แล้ว
  • วิธีการรับมือที่สำคัญแรกสุดที่จะช่วยป้องกันการกระจายของไวรัสได้อย่างชะงัด คือทำให้จำนวนผู้ป่วยหนักโรคนี้มีจำนวนน้อย และขั้นตอนสำคัญรองลงมาคือ การเพิ่มจำนวนเตียง (รวมทั้งวัสดุและบุคลากร) จนกว่าจะมีเพียงพอสำหรับผู้ป่วยหนัก
  • จีนทดสอบการรักษาด้วยวิธีการที่หลากหลายกับโรคที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก และนำวิธีการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดไปใช้ทั่วประเทศ ด้วยวิธีการตอบสนองเช่นนี้เอง ที่ทำให้อัตราการตายลดลงกว่าเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้
  • สภาพร่างกายก่อนการติดเชื้อ: อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อที่มีโรคระบบหลอดเลือดหัวใจในจีนคือ 2% ขณะที่สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (เบาหวานที่ไม่ควบคุม) อยู่ที่ 9.2% และ 8.4% สำหรับโรคความดันสูง, 8% สำหรับโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และ 7.6% สำหรับโรคมะเร็ง
    คนที่ไม่มีอาการป่วยใดๆ ก่อนติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิตที่
    1.4%
  • อายุ: ยิ่งอายุน้อย ก็ยิ่งติดเชื้อยาก และแม้จะติดเชื้อ ก็จะป่วยไม่หนักเท่ากับผู้ที่อายุมากกว่า

อายุ (ปี)

% ของประชากร

% ของการติดเชื้อ

อัตราการเสียชีวิต

0-9

12.0%

0,9%

0 as of now

10-19

11.6%

1.2%

0.1%

20-29

13.5%

8.1%

0.2%

30-39

15.6%

17.0%

0.2%

40-49

15.6%

19.2%

0.4%

50-59

15.0%

22.4%

1.3%

60-69

10.4%

19.2%

3.6%

70-79

4.7%

8.8%

8.0%

80+

1.8%

3.2%

14.8%

คำอธิบายตาราง: จากคนที่อาศัยในจีน, มี 13.5% ที่อายุระว่าง 20-29 ปี จากจำนวนผู้ติดเชื้อในจีน มี 8.1% ที่อยู่ในอายุกลุ่มนี้ (แต่ไม่ได้หมายความว่า มี 8.1% ของคนอายุ 20-29 ปีที่ติดเชื้อ) นี่หมายความว่า มีแนวโน้มที่ใครก็ตามที่มีอายุในช่วงนี้ จะมีโอกาสติดเชิ้อค่อนข้างต่ำกว่าเฉลี่ย และในกลุ่มอายุนี้ที่ติดเชื้อจะเสียชีวิต 0.2%

Continue reading “องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีน และต่อไปนี้ก็คือ ข้อสรุปหลักๆ ของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้หลังจากปฏิบัติงานผ่านไป 9 วัน”

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 10 เดือน ตุลาคม 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 10 เดือน ตุลาคม 2562

การประชุมทีมประเทศไทยเพื่อติดตามสถานะความก้าวหน้าของสหราชอาณาจักร ประจำปี 2562

การประชุมทีมประเทศไทย ในสหราชอาณาจักร (เต็มคณะ) ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2562 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน โดยมีข้อหารือต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นการหารือถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการที่สหรราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) นอกจากนี้ยังได้เข้าพบปะผู้บริหารท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์เพื่อรับฟังความการบรรยายถึงความก้าวหน้าและแผนการพัฒนาท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ ตลอดจนการหารือถึงโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย และสหราชอาณาจักร โดยใช้เมืองแมนเชสเตอร์เป็นฐานทางเหนือของสหราชอาณาจักร และได้เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมและการออกแบบแมนเชสเตอร์ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้สำหรับการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าฝีมือพื้นเมืองของประเทศไทยได้

ความสำคัญด้านวทน. ของเมืองแมนเชสเตอร์

การปฏิวัติในทางอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักรและของโลกเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองแมนเชสเตอร์ทำให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก และทำให้แมนเชสเตอร์เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสิ่งทอในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีการคิดค้นและนำเทคโนโลยีเครื่องจักรมาใช้ในอุตสาหกรรม เมืองแมนเชสเตอร์ยังมีความสำคัญและมีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก เริ่มตั้งแต่การค้นพบอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ในเมืองนี้ และล่าสุดคือการค้นพบกราฟีนซึ่งเป็นวัสดุที่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนเป็นโครงสร้างตาข่ายหกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้งโดย 2 นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลจากการค้รพบกราฟีนซึ่งเป็นวัสดุมหัศจรรย์ เนื่องจากมีความแข็งแกร่งทนทานมากกว่าแหล็กกล้าหลายร้อยเท่ามีความยึดหยุ่นสูง สามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดงหลายเท่า อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเป็นวัสดุในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางในอนาคต

การศึกษาดูงาน ณ Manchester Craft and Design Centre (MCDC)

Manchester Craft and Design Centre (MCDC) ก่อตั้งขึ้นโดยความริเริ่มของ Manchester City Council เมื่อปี 2516 ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า Manchester Craft Village เพื่อส่งเสริมการรวมตัวของช่างฝีมือในลักษณะสหกรณ์ โดยพัฒนาตลาดปลาที่ถูกทิ้งร้าง ซึ่งสภาเมืองให้ช่างฝีมือเช่าพื้นที่ในราคาถูกเพื่อดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ และจำหน่ายสินค้า มีทีมบริหารที่มีหัวคิดก้าวหน้าโดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายตามโอกาสและเทศกาลต่างๆ  ในปี 2544 Manchester Craft Village เปลี่ยนชื่อเป็น Manchester Craft and Design Centre และปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานจากสหกรณ์มาเป็นบริษัทจำกัดที่ไม่แสวงหาผลกำไร นอกจากนี้บริษัทได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งของ MCDC เพื่อให้บุคคลภายนอกสามารถเช่าเพื่อจัดกิจกรรมเกี่ยวกับงานหัตถศิลป์ต่างๆ อีกด้วย ในปี 2556 MCDC ได้เริ่มการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ซึ่งช่วยให้ช่างฝีมือมีพื้นที่ตลาดจำหน่ายสินค้าและสามารถผลิตงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์

การศึกษาดูงาน ณ ท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์

Manchester Airport Group (MAG) เป็นบริษัทที่บริหารท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ ซึ่งดูแลท่าอากาศยานอีก 2 แห่ง ได้แก่ London Stansted Airport ชานกรุงลอนดอน และ East Midlands Airport เมืองดาร์บี้ ท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากท่าอากาศยานฮีทโรว์และท่าอากาศยานแกตวิค ชานกรุงลอนดอน ให้บริการผู้โดยสารประมาณ 29 ล้านคนต่อปี มีเที่ยวบินไปยังเมืองต่างๆ 234 แห่ง ในขณะที่ท่าอากาศยานฮีทโรว์มีเที่ยวบินไปยังเมืองต่างๆ 232 แห่ง โดยเมืองแมนเชสเตอร์มีโครงข่ายการคมนาคมที่เชื่อมโยงกับเมืองอื่นๆ ทั่วสหราชอาณาจักร จึงนับว่าอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร ทั้งกลุ่มธุรกิจ นักศึกษา ประชาชนทั่วไปในแถบ Midlands ซึ่งสามารถเชื่อมไปถึงสกอตแลนด์และตอนเหนือของเขตปกครองเวลส์ด้วย

ความสำคัญด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเมืองแมนเชสเตอร์

แมนเชสเตอร์ได้ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางและเขตเศรษฐกิจทางภาคเหนือของประเทศ (Northern Powerhouse) ที่มีความสำคัญและเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร และยุทธศาสตร์ Northern Powerhouse Strategy 2016 โดยใช้จุดแข็งด้านอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมและ สนับสนุนการพัฒนาโครงข่ายด้านคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ และต่างประเทศ เมืองแมนเชสเตอร์เป็นที่ตั้งของบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง และมีท่าอากาศยานนานาชาติ

สถานะด้าน วทน. ของสหราชอาณาจักร

สาขาที่สหราชอาณาจักรมีความเชี่ยวชาญประกอบด้วย การแพทย์ เภสัชศาสตร์และสุขภาพ อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ นาโนเทคโนโลยี พลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ สภาวิจัยแห่งราชอาณาจักร (Research Councils UK, RCUK) ได้เสนอ 8 เทคโนโลยีแห่งชาติที่จะใช้ในการขับเคลื่อนให้สหราชอาณาจักรเติบโตและพัฒนาขึ้นเป็นผู้นำของโลก ประกอบด้วย วัสดุขั้นสูง (Advanced materials) วิทยาศาสตร์การเกษตร (Agri-science) การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน (Energy storage) เวชศาสตร์การฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Regenerative medicine) ระบบหุ่นยนต์และอัตโนมัติ (Robotics and autonomous systems) เทคโนโลยีดาวเทียมและการประยุกต์ เทคโนโลยีอวกาศไปใช้เชิงพาณิชย์ (Satellites and commercial applications of space) และ ชีวสังเคราะห์ (Synthetic biology) สำหรับอุตสาหกรรมที่สหราชอาณาจักรมีความเชี่ยวชาญ คือด้านอากาศยานและระบบการบินอัตโนมัติ

สถานะทางระบบอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักร

ในปัจจุบันมหาวิทยาลียหลายแห่งในสหราชอาณาจักรเริ่มจัดตั้งส่วนที่บริหารงานแบบภาคเอกชนโดยมีห้องปฏิบัติการ ห้องประชุม และพื้นที่สำนักงานให้เช่า โดยอนุญาตให้ผู้เช่าสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากห้องปฏิบัติการได้ เพื่อส่งเสริมการทำวิจัยและพัฒนา รวมทั้งสร้างรายได้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนหลังจากที่สหราชอาณาจักรจะได้รับเงินทุนสนับสนุนการวิจัยน้อยลง เพราะสหราชอาณาจักรจะไม่มีสิทธิในกองทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปหลังจาก Brexit ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัย Imperial College มีการจัดตั้ง Imperial White City Incubator เพื่อส่งเสริมการต่อยอดเชิงพาณิชย์ของงานวิจัย ในขณะที่มหาวิทยาลัย Newcastle ได้จัดตั้งแพลตฟอร์ม Newcastle Helix ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อหลายๆ ภาคส่วน ทั้งภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เข้ามาทำงานร่วมกันในการรังสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินงานในลักษณะนี้จะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาไทยในระดับชั้นปริญญาเอกที่กำลังศึกษาในสหราชอาณาจักร ที่จะได้มีโอกาสร่วมทำวิจัยกับมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนที่สามารถนำผลงานไปประยุกต์ใช้ได้จริง

โครงการ Human Brain Project

เป็นหนึ่งในโครงการเรือธงของสหภาพยุโรป ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาบูรณาการใช้ร่วมกับศาสตร์ด้านประสาทด้านวิทยาศาสตร์และประสาทวิทยา เพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของสมองมนุษย์และการทำงานของเทคโนโลยีในสาขาวิชานี้ได้ดียิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการสร้างประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่าง 2 สาขาวิชา อย่างแรกคือ การใช้วิทยาการขั้นสูงด้านสารสนเทศและการสื่อสารในงานประสาทวิทยาศาสตร์ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมองและโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองได้ดียิ่งขึ้น สองคือการนำองค์ความรู้ด้านชีววิทยามาพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร

ผลงานจากโครงการ Human Brain Project

โครงการ Human Brain Project ได่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอิวีการประยุกต์ใช้เทคโนลีด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างคือ การทำแบบจำลองสมองที่เฉพาะเจาะจงกับแต่ละบุคคลเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการผ่าตัดคนไข้โรคลมชัก (Epilepsy) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกาย จำทำให้เกิดอาการชัก โดยมีแผนจะทดสอบเทคโนโลยีนี้ทางคลินิกกับผู้ป่วยจำนวน 400 ราย อีกหนึ่งผลงานคือการจัดทำแผนที่สามมิติของสมองมนุษย์ที่มีความละเอียดมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โครงการ Human Brain Project ได้ศึกษาผ่านการทดลองในหนูและมนุษย์ ร่วมกับการใช้องค์ความรู้และทฤษฎีด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใน 6 สาขาด้วยกันคือ ประสาทสารสนเทศ การวิเคราะห์และคำนวณประสิทธิภาพสูง ระบบประมวลผลโดยใช้แนวคิดเลียนแบบสมอง หุ่นยนต์ประมวลสัญญาณประสาท และสารสนเทศการแพทย์

การวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในยุคของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

การพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์อย่างรวดเร็วประกอบกับศักยภาพในการจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning) ของปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งการเรียนรู้เชิงลึกนำมาซึ่งข้อสงสัยที่ว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ทันสมัยจะสอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลหรือไม่ ปัจจุบันการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เป็นไปอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญในการพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิทัล คือการเข้าถึงบุคคลากรที่ความสามารถเป็นเลิศ และทุนวิจัยก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการสรรสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลก โดยการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ปัจจัยสำคัญสำหรับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และปัญญาประดิษฐ์ คือจะต้องมีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอในการผลักดันผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อออกสู่ตลาด แต่หนึ่งความท้าทายหลักในการถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงจากมหาวิทยาลัยไปยังภาคอุตสาหกรรมในยุโรป คือการขาดความสัมพันธ์ระหว่างผู้คิดค้นนวัตกรรมกับนักลงทุน โดยสภานวัตกรรมยุโรป (European Innovation Council, EIC) สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสองภาคส่วนนี้ได้ เพื่อที่จะให้กระบวนการนำงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ดำเนินได้สะดวกยิ่งขึ้น


การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์


ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านปัญญาประดิษฐ์เกิดขึ้นมากมาย เช่น รถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยไร้คนขับ เครื่องแปลภาษา จนไปถึงการวินิจฉัยตรวจหาโรคมะเร็ง และการวิเคราะห์ระบบการจัดซื้อ โดยนักวิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์ต่างก็มีการพัฒนาความสามารถที่สูงขึ้นจนสามารถออกแบบวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งวิวัฒนาการของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั้นถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยหลัก
3 ประการดังนี้ การเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ฮาร์ดแวร์ที่มีการประมวลผลด้วยความเร็วสูง (fast hardware) และอัลกอริทึมของการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) ที่ทันสมัย
Artificial General Intelligence (AGI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไปเป็นวิวัฒนาการขั้นต่อไปของปัญญาประดิษฐ์โดย AGI เป็นระบบเครื่องจักรฉลาดที่สามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาดเทียบเท่ามนุษย์ มีความคิดอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลและสามารถตอบโต้กับมนุษย์ทั่วไปได้ แต่ไม่สามารถมีอารมณ์และความรู้สึกในด้านละเอียดอ่อนอย่างที่คนทั่วไปมีได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนักวิทยาศาสตร์ยังอยู่ห่างจากการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ไปสู่ AGI อย่างมาก เนื่องจากยังไม่เข้าใจระบบสมองหรือการคิดของมนุษย์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะการอธิบายการใช้วิจารณญาณหรืออารมณ์ที่แตกต่างกันไปใน
แต่ละบุคคล


ตัวอย่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สำคัญ คือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
(self-driving car) ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำมาใช้ในการคาดคะเนถึงเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เพื่อจะหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถคาดคะเนถึงการเคลื่อนที่ของคนที่เดินอยู่บนถนน ดังนั้นรถยนต์สามารถควบคุมทิศทางไม่ให้ไปชนกับคนเหล่านั้นได้  นอกจากนี้นักวิจัยยังสามารถพัฒนาอัลกอริทึม ซึ่งจะใช้ภาพที่ถ่ายจากกล้องถ่ายรูปมาซึ่งเป็นภาพ 2 มิติมาสร้างเป็นแผนที่ 3 มิติ ณ สถานที่นั้นแบบ real time และด้วยเทคโนโลยีแบบเดียวกันนี้ ก็สามารถนำไปใช้ในแวดวงกีฬา โดยใช้สร้างภาพ 3 มิติของการเคลื่อนไหวของนักกีฬาเพื่อวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย เทคโนโลยีถัดไป คือการระบุตำแหน่งพร้อมกับการสร้างแผนที่ (Simultaneous Localization and Mapping, SLAM) เป็นกระบวนการที่หุ่นยนต์จะสร้างแผนที่ของสภาพแวดล้อมในขณะที่กำลังเคลื่อนที่ และระบุตำแหน่งของตัวเองในเวลาพร้อมๆ กัน โดยที่หุ่นยนต์นั้นไม่มีข้อมูลของสิ่งแวดล้อมมาก่อน ซึ่ง SLAM นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับหุ่นยนต์ที่ต้องการการโต้ตอบแบบทันการณ์ ซึ่งนำไปพัฒนาเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบไร้คนควบคุมที่สามารถทำหน้าที่นำทางโดยใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์


โครงการทุนการศึกษาของสหภาพยุโรป “อีราสมุส พลัส”


เป็นโครงการที่ให้ทุกการศึกษาสำหรับนักศึกษาและนักวิชาการจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป รวมถึงประเทศไทย โดยทุนที่มอบให้นั้นเป็นทุนเต็มจำนวนครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่ค่าเดินทางไปจนถึงค่าที่พักและอาหาร ตลอดจนค่าเล่าเรียน และประกันต่างๆ และเป็นทุนให้เปล่าโดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ โดยจุดมุ่งหมายของโครงการ คือ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และการศึกษาระหว่างประเทศ สร้างสัมพันธไมตรี และเปิดโอกาสให้นักศึกษาต่างประเทศได้มาศึกษาในสหภาพยุโรป และยังเปิดโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอันหลากหลายของยุโรปอีกด้วย


ประเภททุนการศึกษา


โครงการทุนการศึกษาของสหภาพยุโรป อีราสมุส พลัส สามารถแบ่งประเภทของทุนได้เป็น
3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ทุนการศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาโทร่วม
ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับศึกษาต่อ ทำวิจัย หรือ สอน
ทุนส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบาย

  ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200225-newsletter-brussels-no10-oct62.pdf

BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

bcg book ebookในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 ต่อปี ด้วยอัตราการเติบโตดังกล่าวไม่เพียงพอในการนำพาประเทศไทยให้ก้าวข้าม “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” และลดความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยฐานความเข้มแข็งของประเทศอันประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งเสริมและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเจ้าของสินค้าและบริการมูลค่าสูง ที่ ยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการ นำเทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลสมัยใหม่ที่ช่วยทลายข้อจำกัด ให้เกิดการก้าวกระโดดของการพัฒนาต่อยอด และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งแบบทั่วถึง (Inclusive Growth) ด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG Model” ซึ่งเป็นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ BCG Model มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดรับกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

alt Download Book

ไวรัสโคโรนา COVID-19

 

ข่าวสาร บทความ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อล่าสุด รู้จัก แก้ปัญหา ป้องกัน การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา Infographic

ข่าวสาร บทความ

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อล่าสุด

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

ประกาศรัฐบาล

ประกาศกระทรวงการสารธารณะสุข

ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ประกาศกรุงเทพมหานคร

รู้จัก แก้ปัญหา ป้องกัน

“ไวรัสโคโรนา” เป็นไวรัสที่จัดอยู่ในวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด ถูกพบครั้งแรกในช่วงปี 1960 โดยผู้ที่ได้รับเชื้อ ณ เวลานั้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก “โคโรนา” ในภาษาละตินมีความหมายว่ามงกุฎ เนื่องจากเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะเห็นว่าไวรัสชนิดนี้มีลักษณะคล้ายมงกุฎ โดยเปลือกหุ้มด้านนอกประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเป็นมีลักษณะปุ่ม ๆ ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสที่สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย เนื่องจากมีสารพันธุกรรมชนิด RNA ดังนั้นเชื้อจึงมีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลาทำให้การรับมืออาจทำได้ยาก ไวรัสโคโลน่ามีหลากหลายชนิดบางชนิดทำให้เกิดอาการไข้หวัดธรรมดา แต่บางชนิดก็มีความรุนแรงและสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ไม่ว่าจะเป็น การคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายก็รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

เชื้อก่อโรค coronavirus สายพันธุ์ใหม่ เชื้อไวรัสนี้มีชื่อเฉพาะว่า 2019-nCoV เป็นไวรัสในลำดับที่ 7 ของไวัสตระกูล coronaviruses lineage B, จีนัส betacoronavirus, เชื้อมีลำดับยีนมากกว่าร้อยละ 85 ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARS-like CoV ในค้างคาว (bat-SL-CoVZC45, MG772933.1) การก่อโรคในมนุษย์จากเชื้อโรคในค้างคาวถือว่าเป็น zoonotic disease ด้วย

เชื้อไวรัสนี้ถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่ยังไม่เคยมีการตรวจพบมาก่อน จึงเป็นเหตุให้ทั้งโลกต่างจับตาและมีความวิตกกังวลและหวาดกลัวต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ ไวรัสโคโรนา เดิมมีชื่อที่ใช้ในตอนแรกคือ 2019 nCoV และมีชื่ออย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2 ส่วนชื่อของโรคติดเชื้อชนิดนี้เรียกว่า COVID-19 (ศ.เกียรติคุณนายแพทย์อมร,2563) ย่อมาจาก

  • CO แทน corona
  • VI แทน virus
  • D แทน disease
  • 19 แทน ปี 2019 (โรคติดเชื้อนี้เกิดขึ้นในปี 2019)

แนวทางการแก้ปัญหา

วิธีแก้ปัญหา ป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ขึ้นอยู่กับการควบคุมอำนาจแพร่ระบาด หรือการกระจายของโรค เช่น ประเทศจีนบังคับใช้วิธี ปิดเมือง ห้ามคนในออก คนนอกห้ามเข้า และส่งทีมแพทย์เข้าไปรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วในพื้นที่ระบาด ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน โดยคิดง่ายๆว่า ผู้ป่วย 1 คน กระจายโรคไปได้ 2 คน เมื่อรักษาผู้ป่วยแล้ว ก็จะได้ผู้ที่มีภูมิต้านทานมากขึ้น จนถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย หรือ 50% การระบาดก็จะอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า เริ่มสงบ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสนี้ก็จะกลายเป็นแค่โรคประจำถิ่น (endemic) มีการติดเชื้อเป็นหย่อมๆ จนกว่าจะมีภูมิต้านทานกันหมดทุกคน (มติชนออนไลน์, 2563)

มาตรการป้องกัน

โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ขอแจ้งมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพรวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ตามแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • คัดกรอง และแยกผู้ป่วยที่สงสัยเพื่อตรวจในห้องตรวจเฉพาะ
  • ซักประวัติ และวัดไข้ผู้มารับบริการที่ทุกคลินิก
  • ติดตั้งแอลกอฮอล์เจลที่หน้าลิฟต์ทุกชั้น
  • สำรองเวชภัณฑ์ ยา และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้พอเพียง
  • เตรียมความพร้อม ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
  • หากท่านมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก และเพิ่งกลับจากประเทศจีน ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ภายใน 14 วัน หรือสัมผัสผู้ป่วยต้องสงสัย กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

วิธีป้องกัน

เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด19สายพันธุ์ใหม่ ได้ดังนี้

  • เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
  • เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรคและเมืองอื่นๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
  • ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
  • ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
  • งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
  • เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่างๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
  • ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
  • สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด19สายพันธุ์ใหม่ โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา
  • มาตรการพื้นฐานในการป้องกันไวรัสโคโรนาชนิดใหม่

MHESI INTERVIEW : ตอบข้อสงสัยหน้ากากอนามัยกับการป้องกันไวรัส COVID-19

5 จุดเสี่ยงบนเครื่องบินที่พบเชื้อโรคมากที่สุด

  1. ถาดพับวางอาหารหลังเบาะโดยสาร เนื่องจากตารางบินที่กระชั้นชิด พนง.ไม่มีเวลามากพอที่จะทำความสะอาดถาดวางอาหารได้ดีเพียงพอ และอาจไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
  2. ตะแกรงระบายอากาศ และหัวเข็มขัดนิรภัย เพราะเป็นส่วนที่ผู้โดยสารต้องจับอยู่บ่อยๆ
  3. ห้องน้ำ มีคำแนะนำง่ายๆ คือ ใช้กระดาษชำระห่อจับลูกบิด และกลอนประตู ควรพกเจลล้างมือฆ่าเชื้อโรคขวดเล็กๆ ขึ้นเครื่องบิน
  4. ที่ใส่ของหลังเบาะผู้โดยสาร ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน
  5. ที่นั่งริมทางเดิน เพราะเบาะริมทางเดินจะโดนสัมผัสจากมือของคนอื่นๆ

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีต้นตอมาจากที่ใด เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำาให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎ (ภาษาลาติน corona แปลว่า crown หรือมงกุฎ) ล้อมรอบ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ที่มีสมาชิกหลากหลาย ติดเชื้อก่อโรคได้ทั้งในคน และสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ม้า วัว แมว สุนัข ค้างคาว กระต่าย หนู อูฐ และสัตว์ป่าอื่นๆ) และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ดังนั้น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่ก่อโรคในสัตว์ทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร อาจแพร่มาสู่คนและก่อโรคในคนได้ (zoonotic infection)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ 2019-nCoV จากประเทศจีน นับจากที่มีการรายงานครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2019 นั้น พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้นเป็นลำาดับ ต่อมาได้มีการรายงานเป็นทางการเมื่อ 3 มกราคม ค.ศ. 2020 ว่าโรคปอดอักเสบที่ระบาดที่อู่ฮั่น มีสาเหตุจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้

สาเหตุของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่มีการแพร่ระบาดในคนยังไม่แน่ชัดนัก แม้ว่าจะมีการโฟกัสไปที่ตลาดทะเลสดในอู่ฮั่นว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อแห่งแรกก็ตาม เวลาต่อมามีสมมติฐานถึงการแพร่ระบาดที่น่าสนใจถูกตีพิมพ์ในวารสาร Lancet อยู่ 4 สมมติฐาน ดังนี้

  1. ผู้ป่วยรายแรกมีการแสดงผลของเชื้อในวันที่ 1 ธันวาคม แสดงว่าผู้ป่วยรายนี้มีการติดเชื้อในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน โดยที่เขาไม่เคยไปที่อู่ฮั่นในเวลานั้นมาก่อน จึงสันนิษฐานว่ามีการแพร่ระบาดที่นอกอู่ฮั่นมาสักพักแล้ว แต่การแพร่ระบาดที่อู่ฮั่นโด่งดังกว่า จึงมีการเข้าใจว่าเผยแพร่ครั้งแรกที่นั่น
  2. ในตลาดสดที่อู่ฮั่นมีการค้าขายค้างคาวในลักษณะขังรวมกันหลาย ๆ ตัว ซึ่งเป็นค้างคาวที่มีเชื้ออยู่แล้ว ค้างคาวจึงแพร่กระจายเชื้อไปสู่คน ผ่านทางอุจจาระ ละอองน้ำลายและเลือดจากการถูกเชือดต่อหน้าลูกค้าที่ไปซื้อของ
  3. มีสัตว์ปีกบางชนิดหรือค้างคาว ที่มีเชื้อตัวนี้อยู่แล้วได้บินไปบินมาระหว่างตลาดสดอู่ฮั่น เมื่อปล่อยมูลกลางอากาศจึงเป็นการแพร่เชื้ออีกทางหนึ่ง
  4. มีบ้านหลังหนึ่งในอู่ฮั่นที่ถูกตรวจพบว่า บนกระเบื้องใต้หลังคาบ้านเป็นแหล่งอยู่อาศัยของค้างคาว ที่ถูกสันนิษฐานว่ามีเชื้อ ทำให้เจ้าของบ้านติดเชื้อผ่านทางการสูดอากาศเอาเชื้อที่อยู่เหนือหัวเข้าไป รวมถึงระแวกใกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

แหล่ง “ต้นเชื้อ” แพร่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สู่คน “ยังไม่ทราบชนิด” (ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ,2563) ขณะนี้ผลการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส nCoV บ่งชี้ว่ารหัสจีโจมใกล้เคียงมากกว่า 90% กับไวรัสโคโรนาที่พบในค้างคาวเกือกม้าในเมืองยูนาน ปี 2013 แต่ไวรัสดังกล่าวอาจแพร่สู่สัตว์ตัวกลางก่อนติดในคน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบชนิด สาเหตุของการระบาดอาจไม่ใช่ “งู” นักไวรัสวิทยาไม่ปักใจเชื่อว่าต้นเชื้อไวรัส nCoV มาจากงูเพราะไม่เคยมีการค้นพบไวรัสโคโรนาในสัตว์เลือดเย็นและสัตว์เลื้อคลาน รวมทั้งไม่มีรายงานการพบไวรัสจากสัตว์เลื้อยคลานข้ามมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม


คลิปของประเทศบราซิล บอกให้เราทราบว่า เชื้อจะแพร่กระจายสู่บุคคลใกล้เคียงและในที่สาธารณะได้อย่างไร by Pariwat Chanthorn

Infographic

Infographic ความรู้สู้ covid-19 จาก สวทช.

สื่อเผยแพร่องค์ความรู้ วิธีการรับมือ การดูแลตนเอง (สำหรับประชาชน)

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำสื่อเผยแพร่องค์ความรู้ วิธีการรับมือ การดูแลตนเอง (สำหรับประชาชน) วิธีการจัดการให้ปลอดไวรัสโคโรนา โดยสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ โดยตรงได้ที่ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php


 

   

{/tabs}

รายการบรรณานุกรม

  • โคโรนา : มารู้จักไวรัสที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบระบาดในจีน. สืบค้น 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461
  • นพ.ธีระ วรธนารัตน์. (2563). โคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ตอนนี้เรารู้อะไรบ้าง?. สืบค้น 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.hfocus.org/print/18552
  • Novel Coronavirus (COVID-19) advice for the public. สืบค้น 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/advice-for-public
  • กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้น 29 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php
  • 6 ท้อเท็จจริง โรคอุบัติใหม่ ไวรัสโคโรนา (2019-nCoV). (2563). ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. สืบค้น 29 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://oer.learn.in.th/search_detail/result/166770

มาตรการพื้นฐานในการป้องกันไวรัสโคโรนาชนิดใหม่

มาตรการพื้นฐานในการป้องกันไวรัสโคโรนาชนิดใหม่
ข้อมูลจาก WHO (ณ วันที่ 16 ก.พ. 2563)
https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public
แปลโดย ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ดาวน์โหลดเอกสาร


ให้ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 ได้จากเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก และผ่านทางหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขในพื้นที่หรือระดับประเทศของท่าน โดยส่วนใหญ่แล้ว โควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบกับคนในประเทศจีน และมีการระบาดอยู่บ้างในประเทศอื่นๆ คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อมีอาการป่วยไม่รุนแรงและหายป่วย แต่มีบางรายที่ป่วยรุนแรง ดูแลปกป้องสุขภาพของตัวเองและป้องกันผู้อื่น โดยการทำดังต่อไปนี้:

  • ล้างมือบ่อยๆ
    ล้างมืออยู่เรื่อยๆ และทำความสะอาดมืออย่างทั่วถึง ด้วยสารที่มีแอลกอฮอล์ผสม หรือล้างด้วยสบู่และน้ำ
    ทำไม? การล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้สารที่มีแอลกอฮอล์ผสม ช่วยฆ่าไวรัสที่อาจจะมีอยู่บนมือได้
  • รักษาระยะห่างทางสังคม
    พยายามอยู่ห่างจากคนอื่น ที่อาจจะไอหรือจาม อย่างน้อย 1 เมตร (3 ฟุต)
    ทำไม? เมื่อมีใครไอหรือจาม จะมีละอองฝอยของเหลวขนาดเล็กพุ่งกระจายออกจากจมูกหรือปากของผู้นั้น ซึ่งอาจมีไวรัสอยู่ หากคุณอยู่ใกล้ชิดมากเกินไป ก็อาจจะหายใจเอาละอองฝอยเหล่านั้น รวมทั้งไวรัสโควิด-19 เข้าไปได้ หากว่าคนผู้นั้นติดเชื้ออยู่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา, จมูก หรือปาก
    ทำไม? มือที่สัมผัสพื้นผิวสิ่งต่างๆ มากมาย อาจจะติดเอาไวรัสมาได้ ครั้นเมื่อติดเชื้อมาแล้ว มือนั้นก็อาจจะถ่ายทอดไวรัสต่อไปยังตา, จมูก หรือปาก ต่อไปได้ จากนั้น ไวรัสดังกล่าวก็อาจจะเข้าสู่ร่างกายและทำให้คุณป่วยได้
  • ฝึกฝนการรักษาอนามัยเกี่ยวกับระบบหายใจ
    พยายามรักษาอนามัยเกี่ยวกับระบบหายใจให้ถูกวิธี ทั้งกับตัวคุณเองและผู้คนรอบๆ ตัวคุณ ซึ่งก็รวมทั้งการปิดปากและจมูกด้วยข้อศอกหรือกระดาษทิชชู่ เวลาที่ไอหรือจาม จากนั้น ทิ้งทิชชู่ที่ใช้แล้วในทันที
    ทำไม? ละอองฝอยช่วยกระจายไวรัส การปฏิบัติตามอนามัยเกี่ยวกับระบบหายใจที่ดี ช่วยให้คุณปกป้องผู้คนรอบตัวจากไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 ได้
  • หากคุณมีไข้, ไอ และหายใจลำบาก ไปพบแพทย์เพื่อรักษาแต่เนิ่นๆ
    ให้พักอยู่บ้าน หากรู้สึกไม่สบาย หากมีไข้, ไอ และหายใจลำบาก โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ล่วงหน้า และไปพบแพทย์ โดยทำตามแนวทางที่กำหนดโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบสาธารณสุขในพื้นที่ของคุณ
    ทำไม? หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่และระดับประเทศ จะมีข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ของคุณ การโทรศัพท์ติดต่อไปล่วงหน้าจะช่วยให้ผู้ให้การดูแลรักษาสามารถนำตัวคุณไปยังสถานพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยป้องกันตัวคุณเอง และช่วยป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของไวรัส และเกิดการติดเชื้ออื่นๆ เพิ่มขึ้น
  • ติดตามข่าวสารและทำตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษาพยาบาล
    ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับโควิด-19 ทำตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษาพยาบาล, หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขระดับพื้นที่และระดับประเทศหรือนายจ้างของคุณ เกี่ยวกับวิธีการป้องกันตัวเองและผู้อื่นจากโควิด-19
    ทำไม? หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขระดับพื้นที่และระดับประเทศ จะมีข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการกระจายของโควิด-19 ในพื้นที่ของคุณ พวกเขาจะให้คำแนะนำกับคนในพื้นที่ได้ดีที่สุดว่า ควรจะทำอย่างไรบ้างจึงจะป้องกันตัวเองได้

มาตรการป้องกันสำหรับผู้ที่ไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิด-19
เมื่อเร็วๆ นี้ (ใน
14 วันที่ผ่านมา)

  • ทำตามแนวทางที่กล่าวไว้ข้างต้น
  • อยู่กับบ้านหากรู้สึกไม่สบาย, แม้ว่าจะจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ปวดหัว หรือมีน้ำมูกเล็กน้อย จนกว่าจะหาย ทำไม? เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นและลดผู้ไปยังสถานรักษาพยาบาล เพื่อช่วยให้การดูแลรักษาพยาบาลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้ตัวคุณเองและผู้อื่นจากโอกาสติดเชื้อโควิด-19 และไวรัสอื่นๆ อีกด้วย
  • หากมีไข้, ไอ หรือหายใจลำบาก ให้ไปพบแพทย์ในทันที เพราะอาจแสดงให้เห็นถึงการติดเชื้อของระบบหายใจ หรือสภาวะความเจ็บป่วยที่ร้ายแรงอื่นๆ, กรุณาโทรศัพท์ไปแจ้งก่อนล่วงหน้า และแจ้งกับสถานพยาบาลด้วยว่า เคยไปยังสถานที่ท่องเที่ยวหรือสัมผัสกับนักท่องเที่ยวมาก่อนเมื่อไม่นานมานี้ ทำไม? การโทรศัพท์ล่วงหน้าจะช่วยให้สถานพยาบาลช่วยนำคุณไปรักษาในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งจะช่วยป้องกันโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายของโควิด-19 และไวรัสอื่นๆ ได้

แหล่งที่มาของข้อมูล : ข้อมูลจาก WHO (ณ วันที่ 16 ก.พ. 2563) https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public

Continue reading “มาตรการพื้นฐานในการป้องกันไวรัสโคโรนาชนิดใหม่”

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 เดือน กันยายน 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 เดือน กันยายน 2562

นโยบายการพัฒนาประเทศจากเยอรมนีสู่ไทย โดย สถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเบอร์ลิน
ดร.ธิรวัฒน์ ภูมิจิตร เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน กล่าวว่า หากประเทศไทยเติบโตด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนที่จะช่วยให้ประเทศสามารถจัดการกับความท้าทายทางสังคมได้ หากพิจารณาถึงประเทศเยอรมนี จะพบว่ามี 4 จุดเด่นสำคัญด้าน วทน. ที่ประเทศไทยสามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้
1.การสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
2.การพัฒนาทักษะแรงงานและทรัพยากรมนุษย์
3.นวัตกรรมสังคม
4.การสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์


ความก้าวหน้าด้าน วทน. ในยุโรปและโอกาสการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงบรัสเซลส์
ภารกิจส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี
คือการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปเพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคมวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งจะนำประเทศไปสู่สังคมและเศรษฐกิจบนฐานความรู้โดยเฉพาะการถ่ายองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนนโยบาย
Thailand 4.0

การจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การปรับบทบาทของอุดมศึกษาเพื่อขับเคลื่อนประเทศภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แนวคิดในการจัดตั้งมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่รัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาและการวิจัยของไทย เช่น ปัญหาธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัย การวิจัย นวัตกรรม ไม่มีทิศทาง โจทย์วิจัย ไม่ตอบสนองสังคม เศรษฐกิจ งบประมาณวิจัยไม่เพียงพอ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทาง วทน. ขาดทิศทาง ไม่ต่อเนื่อง อัตราการสร้างนวัตกรรมต่ำ และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยหัวใจหลักของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือการดำเนิน 2 ภารกิจหลัก ได้แก่ 1.เตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 และ 2. นำองค์ความรู้และนวัตกรรม ไปพัฒนาประเทศ

การพัฒนาการศึกษาไทย โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สสวท. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในและนอกสถานศึกษาให้นักเรียนพัฒนาตามศักยภาพเป็นประชากรที่มีความรู้ นักวิชาชีพฐานดี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำต่อไป
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน วทน.
1. วิทยาการคำนวณ : สสวท. ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่หลักสูตรวิทยาการคำนวณ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะการคิดเชิงคำนวณ โดยกำหนดขอบเขตการเรียนการสอนของวิชาวิทยาการคำนวณไว้3องค์ความรู้  ดังนี้ การคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และ พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy)
2. หนังสือเรียนแนวคิดใหม่ : สสวท. ได้ปรับปรุงแบบเรียนในทุกระดับชั้นโดยพิมพ์สีทั้งหมด พร้อม QR Code และ Short url เชื่อมโยงแหล่งความรู้ออนไลน์ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ  นอกจากนี้ยังได้พัฒนาสื่อวิทยาศาสตร์แบบสื่อดิจิทัลแสดงผลเสมือนจริง หรือสื่อ AR 3 มิติ (Augmented Reality) เพื่อเป็นสื่อประกอบหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์อีกด้วย
3. สะเต็มศึกษา : เป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง โดยเน้นจากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวแล้วค่อยอธิบายเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยทฤษฎีและนำไปสู่การเรียนรู้คำนิยามต่างๆ
4. แผนการจัดตั้งสถาบัน Kosen : สสวท.จะนำระบบ Kosen จากประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้กับระบบอาชีวะในประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักสูตรเชี่ยวชาญพิเศษด้านวิศวกรรมศาสตร์ เที่ยบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายโดยตลอดหลักสูตร 5 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันโคเซ็น ควบอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์


การสร้างความเป็นสากลให้แก่ระบบอุดมศึกษาของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
การสร้างความเป็นสากลให้แก่ระบบอุดมศึกษาของไทย โดยที่ผ่านมามีการสร้างความเป็นสากลผ่านการสร้างความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศ การลงนามบันทึกความเข้าใจ
(MoU) การจัดอันดับมหาวิทยาลัย การรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียน การเกิดหลักสูตรนานาชาติเพื่อดึงดูดนักศึกษาต่างชาติ ในขณะที่ปัจจุบันเป็นโลกแห่งยุคดิจิทัล ดังนั้นมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายร่วมกัน เชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของโลกสมัยใหม่ที่มีการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงสูงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้อาจจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการสร้างการแลกเปลี่ยนเสมือน (virtual mobility) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมผ่านระบบดิจิทัลเสมือนจริง


เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
นาโนเทค

นาโนเทคเป็นองค์กรที่ดำเนินงานวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต โดยปัจจุบันนาโนเทคมีหน่วยวิจัย
5 หน่วย การวิจัยด้านการพัฒนาวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน ซึ่งมุ่งพัฒนาและแบบ วัสดุ โครงสร้างและระบบในระดับนาโนด้วยวิธีการคำนวณทางเคมีคอมพิวเตอร์ ผ่านการสร้างแบบจำลองและการประเมินเชิงวิศวกรรมผ่านการสร้างต้นแบบและระบบนำร่องสำหรับการประยุกต์ใช้งานในด้านพลังงาน การวิจัยด้านนาโนเพื่อชีวิตและสุขภาพ มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัย โดยใช้โมเลกุลเป้าหมาย การพัฒนาเทคโนโลยีระบบนำส่งยาชนิดใหม่และเวชสำอางจาการใช้ประโยชน์ด้วยสารจากธรรมชาติและสมุนไพร


เอ็มเทค
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือเอ็มเทค เป็นหน่วยงานที่พัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีวัสดุให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชนโดยดำเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนากำลังคน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ตัวอย่างผลงานของเอ็มเทค
: วัสดุชนิดแข็งพิเศษจากยางธรรมชาติสำหรับงานปูพื้นเพื่อการตกแต่งบ้านและสวน เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ น้ำยาง ParaFIT เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหมอนและที่นอน แอพพลิเคชั่นบนมือถือที่มุ่งเน้นตรวจสอบปริมาณของขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารจากการบริโภคในชีวิตประจำ และวัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนเซรามิกส์


เนคเทค
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทคเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เปรียบเสมือนเครื่องจักรสำคัญในการสร้างฐานรากทางเทคโนโลยีให้ประเทศรวมถึงเตรียมความพร้อมงานวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยร่วมกับพันธมิตรผลักดันให้เกิดระบบนิเวศน์ของการใช้เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาขึ้นให้เกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ที่ให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เสมือนกับการเป็นสาธารณูปโภคที่ส่งให้ประชาชนทุกคนในบ้าน  ตัวอย่างผลงานของเนคเทค
: โปรแกรมวัดขนาดอาหารเม็ดสัตว์น้ำ แพลตฟอร์มระบบบริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยินและคนพิการทางการพูด เครื่องอ่านปริมาณสารเคมีในแบบอัจฉริยะ ระบบถอดความเสียงพูดเป็นตัวอักษรแบบทันเวลา และระบบอัจฉริยะเพื่อเฝ้าระวังและติดตามการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น


ไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ สร้างองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
(excellence) และส่งเสริมต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ตอบโจทย์ของสังคมและนโยบายประเทศเพื่อให้เกิดผลกระทบสูงสุด

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่

https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191119-newsletter-brussels-no9-sep62.pdf

Creating A Sustainable Future For Thai Farming Sector And Local Communities With STI

This publicaton illustrates our work in introducing technologies, innovatons along with assistance in a number of areas – such as market access, quality standards and business development – with the ultmate goal of enhancing capacity and compettveness of our farmers, villagers and social enterprises. It is our belief that enhanced capacity of our farming sector and people in the rural communites will become a robust engine to meet Sustainable Development Goals and support the Government’s Bio – Circular – Green (BCG) economic model.

 Download ฺBook