แนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร กรณีศึกษา สวทช.

ในโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และยากจะคาดเดานั้น “การบริหารจัดการองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม” การนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญ

หนังสือ “แนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร กรณีศึกษา สวทช.” เล่มนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงของ สวทช. จึงขอนำเสนอเผยแพร่ให้กับองค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการจะพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงเพื่อใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับริหารจัดการองค์กร

[ Download หนังสือ] | [View as flip book]

หนังสือ ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์ : ไขปริศนา 100 ข่าวสิ่งแปลกที่ชาวบ้านพากันกราบไหว้ขอหวย

สังคมไทยมีวิถีชีวิตในความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ อำนาจเล้นลับ หรือกระทั่งเรื่องออกแนวไปทางไสยศาสตร์มาช้านานซึ่งก็คงไม่ต่างจากชนชาติอื่นๆ ที่ต่างก็มีเรื่องราวทำนองนี้ในท้องถิ่นของตน ส่วนการตอบสนองต่อเรื่องเหล่านี้ ในแต่ละชนชาติอาจมีวิธีการที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันไปตามบริบทของสังคมแต่ละแห่ง

หนังสือ “ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้ จัดทำโดย ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รวบรวมข่าวแปลกดังกล่าวในรอบสี่ปีที่ผ่านมาเป็นหลัก คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2555 แล้วสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ต่อข่าวดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง แม้บางเรื่องอาจจะยังมีคำตอบที่ไม่ชัดเจน เพราะต้องอาศัยเวลาและการทดลองเพื่อหาคำตอบ ซึ่งเราไม่มีโอกาสได้ทำ แต่อย่างน้อยนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ให้แนวทางและวิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ในเรื่องดังกล่าวได้

ดาวน์โหลดหนังสือ

 

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ปี 2562

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

1. เครื่องข่ายมือถือ 5G/6G (Mobile Network 5G/6G)
2. การคำนวณและวิศวกรรมควอนตัม (Quantum Coumputing and Engineering)
3. เอไอแห่งอนาคต (Future Artificial Intelligence)
4. การเดินทางแบบไร้รอยต่อ (Mobility-as-a-Service, Maas)
5. เซลล์แสดงอาทิตย์เพอรอฟสไกด์ (Perovskite Solar Cell)
6. แบตเตอรี่ลิเทียมยุคหน้า(Next Generation Lithium Ion Batterles)
7. โครงเสริมภายนอกกาย (Exoskeletion)
8. ไฟเบอร์สารพัดประโยชน์จากจุลินทรีย์
(Microbial Multifunctional Fiber)
9. กายจำลองทดสอบยา (Companion Diagnostics)
10. วัคซีนมะเร็งเฉพาะบุคคล (Personalized Cancer Vaccine)

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ปี 2562

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ปี 2562

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ปี 2562

การเปลี่ยนพลาสติก polyethylene ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นผลิตภัณฑ์ของเหลวคุณภาพสูง (Upcycling single-use polyethylene into high-quality liquid products)

เมื่อมองไปรอบๆ ตัวจะพบว่าพลาสติกเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตประจำวัน โดยใช้ไม่เพียงเพื่อความสะดวกเช่น ถุงพลาสติก และขวดพลาสติก แต่ยังเพื่อการประยุกต์ใช้ที่จำเป็นเช่น การบรรจุอาหาร และอุปกรณ์การแพทย์ เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่ดีที่สุดที่มีอยู่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการพลาสติกที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตพลาสติกเกือบ 400 ล้านตันต่อปีทั่วโลก และตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้น 4 เท่าในปี 2050 ทุกวันนี้มีการทิ้งพลาสติกมากกว่า 3 ใน 4 ส่วนหลังจากใช้ครั้งเดียว ทำให้เหลือพลาสติกในหลุมฝังกลบหรือสิ่งแวดล้อม รู้หรือไหมขยะพลาสติกใช้เวลาเป็นพันปีเพื่อย่อยสลาย ดังนั้นจะดีไหมถ้าสามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงเช่น เครื่องสำอาง ผงซักฟอก หรือน้ำมันหล่อลื่น

ดังนั้นจึงมีการรวมตัวกันระหว่างนักวิจัยจากหลายสถาบัน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Argonne และห้องปฏิบัติการ Ames ของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัย Northwestern, มหาวิทยาลัย Cornell, มหาวิทยาลัย South Carolina และมหาวิทยาลัย California Santa Barbara เพื่อทำให้ฝันนั้นเป็นจริง

ในขณะที่บางส่วนของขยะพลาสติกถูกนำกลับมาใช้ใหม่ (recycled) แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพและคุณค่าต่ำกว่าพลาสติกตั้งต้น เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยดังกล่าวได้รายงานในวารสาร ACS Central Science ว่าสามารถค้นพบวิธีเร่งปฏิกิริยาสำหรับเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง เช่น น้ำมันหล่อลื่น หรือขี้ผึ้ง (waxes) ต่อมาขี้ผึ้งสามารถเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันเช่น ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง

ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้คือ อนุภาคนาโนแพลทินัม (platinum nanoparticles) แต่ละอนุภาคมีขนาดเพียง 2 นาโนเมตร ถูกยึดไว้บน perovskite nanocuboids มีขนาดประมาณ 100 นาโนเมตร ทีมวิจัยเลือกใช้ perovskite เพราะคงตัวมากๆ ในอุณหภูมิและความดันที่ใช้ในการเร่งปฏิกิริยาและได้รับการทดสอบว่าเป็นวัสดุที่ดีเป็นพิเศษสำหรับการเปลี่ยนพลังงาน

ทีมวิจัยเลือกใช้วิธี atomic layer deposition เป็นวิธีวางอนุภาคนาโนแพลทินัมบน perovskite nanocuboid ทำให้ควบคุมขนาดอนุภาคนาโนได้แม่นยำ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการ Argonne และมหาวิทยาลัย Northwestern

เริ่มจากการทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยากับ polyethylene ที่ใช้สำหรับงานวิจัย ผลที่ได้คือตัวเร่งปฏิกิริยาสามารถเปลี่ยน polyethylene ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบได้ทั่วไปมากที่สุดในพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ของเหลวคุณภาพสูงปริมาณมาก ต่อมาได้ทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยากับถุงพลาสติกที่มีวางจำหน่าย พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาให้ผลกับถุงพลาสติกเหมือนกับการใช้ polyethylene อย่างเดียวและผลิตน้อยกว่ามากไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดเล็ก (ตัวอย่างเช่น methane และ ethane) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ pyrolysis (กระบวนการให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง) หรือใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาทั่วไปซึ่งประกอบด้วยอนุภาคนาโนแพลทินัมอยู่บนสารตั้งต้น alumina

ต่อมาทีมวิจัยได้คำนวณตามทฤษฎี พบว่ามี 2 ลักษณะหลักที่มีผลต่อประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา อย่างแรกคือความสามารถคงตัวในอุณหภูมิเนื่องจากการลงตัวทางเรขาคณิตระหว่างรูปร่างเป็นลูกบาศก์ของอนุภาคนาโนแพลทินัมและ perovskite nanocuboid อย่างที่สองคือความไม่เป็นรูของวัสดุ perovskite ซึ่งช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเร่ง

การค้นพบครั้งนี้คงเป็นข่าวดีของใครหลายคนที่สามารถใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติก แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เป็นผลสำเร็จ แต่ยังหวังว่าจะได้ยินข่าวดีแบบนี้อยู่เรื่อยๆ ในอนาคตข้างหน้า

ที่มา: Joseph E. Harmon (2019, October 23). Rethinking the science of plastic recycling. Argonne National Laboratory. Retrieved January 13, 2019, from https://www.anl.gov/article/rethinking-the-science-of-plastic-recycling

การติดตั้งโปรแกรม Greenstone 3.09

การติดตั้ง Greenstone 3.09 สำหรับ Windows

Download โปรแกรมได้ที่ http://www.greenstone.org/download

  1. เลือก Download โปรแกรมที่สำหรับใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows
  2. ติดตั้งโปรแกรม

    เลือกภาษาสำหรับแสดงในโปรแกรม คลิกปุ่ม Next

     

    ตำแหน่งติดตั้งโปรแกม ถ้าไม่เปลี่ยนคลิกปุ่ม Next
       – เปลี่ยนตำแหน่งคลิกปุ่ม  Browser 
     

    ติดตั้งโปรแกรมเสริมที่จำเป็น คลิกปุ่ม Next ต่อไปได้เลย

     

    ตั้งรหัสผ่าน สำหรับเข้าใช้งาน คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยม คลิกปุ่ม Next
     

    คลิกปุ่ม Install 
     

     

  3. เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดที่ Start –> Greenstone –> Greenstone Librarian Interface(GLI) เพื่อเปิดใช้งานโปรแกรม Greenstone
     

Chemical Upcycling of Polymers (การเปลี่ยนพลาสติกที่ถูกทิ้งจากของเสียเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง)

ถ้าเรามองไปในชีวิตประจำในโลกยุคใหม่จะพบว่ามีพลาสติกมาเกี่ยวข้องอย่างมาก รู้ไหมว่าพลาสติกเหล่านั้นเกิดมาจากโพลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนเป็นหลัก (โมเลกุลอินทรีย์ขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากหน่วยย่อยซ้ำๆ กันที่เรียกว่า โมเลกุลเดี่ยว (โมโนเมอร์)) โพลิเมอร์ถูกออกแบบให้ทนทานต่อการทำลาย เมื่อมาดูทั่วโลกมีการผลิตพลาสติกมากน้อยแค่ไหน พบว่ามีการผลิตมากกว่า 400 ล้านเมตริกซ์ตันต่อปี ด้วยมากกว่า 8 พันล้านเมตริกซ์ตันถูกผลิตในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยแล้วมีการผลิตเพิ่มขึ้น 36% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะผลิตถึง 700 ล้านเมตริกซ์ตันในปี 2030 (พลาสติกจะถูกผลิตเพื่อทุกคนบนโลกประมาณ 80 กิโลกรัม) ทั่วโลกพลาสติกที่ถูกทิ้ง 20% จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ (น้อยกว่า 10% ในสหรัฐอเมริกา) โดยกระบวนการเชิงกลเป็นหลัก และประมาณ 25% ถูกเผาเพื่อให้ได้พลังงานออกมา มากกว่าครึ่งถูกเก็บในหลุมฝังกลบหรือถูกปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ดังนั้นพลาสติกของเสียเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดลอมในระยะยาว ตัวอย่างเช่น ด้วยอัตราของการผลิตและการทิ้งพลาสติกในปัจจุบัน ได้รับการทำนายว่าปริมาณพลาสติกของเสียในมหาสมุทรจะมากกว่าปริมาณของปลาในปี 2050

พลาสติกเป็นแหล่งของสารเคมี เชื้อเพลิง และวัสดุ ถึงแม้การเผาจะกำจัดของเสียและได้พลังงานออกมา แต่ใช้หมดไปแหล่งที่มีประโยชน์และสร้างผลพลอยได้ที่ไม่ต้องการ การนำกลับมาใช้ใหม่ที่อาศัยกระบวนการเชิงกล (mechanical recycling) ซึ่งเกี่ยวกับการตัดเป็นชิ้นๆ การให้ความร้อน และการสร้างขึ้นใหม่ของพลาสติก มีประสิทธิภาพมากกว่าการผลิตพลาสติกจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ใช้พลังงานน้อยกว่าครึ่งเพื่อผลิตพลาสติกใหม่ แต่วิธีนี้ลดคุณค่าของพลาสติก การนำกลับมาใช้ใหม่ที่อาศัยวิธีทางเคมี (chemical recycling) เปลี่ยนโพลิเมอร์เป็นตัวกลางระดับโมเลกุลซึ่งใช้เป็นหน่วยโครงสร้างเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้พลาสติกที่ถูกทิ้งกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง อย่างไรก็ตามวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ตัวอย่างเช่น การใช้อุณหภูมิสูงที่ไม่มีออกซิเจน) ต้องการพลังงานมากและกระบวนอื่นๆ อีกเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ วิธีการใหม่คือ polymer upcycling เป็นการเปลี่ยนโพลิเมอร์เป็นสารเคมี เชื้อเพลิง หรือตัวกลางระดับโมเลกุลและต่อจากนั้นสร้างใหม่ตัวกลางเหล่านั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงภายใต้สภาพที่ไม่รุนแรง

Basic Energy Sciences ภายใต้กระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกาจัดการประชุมในหัวข้อ Chemical Upcycling of Polymers ในเดือนเมษายน 2019 เพื่อระบุปัญหาพื้นฐานและการวิจัยที่สามารถเปลี่ยนพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นเชื้อเพลิง สารเคมี และวัสดุที่มีมูลค่าสูงขึ้น จากการประชุมดังกล่าวได้ระบุ 4 งานวิจัยที่ควรให้ความสนใจก่อนเพื่อจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกระบวนการทางฟิสิกส์ที่ซับซ้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง งานวิจัยดังกล่าวได้แก่
1. รู้อย่างละเอียดกลไกการเปลี่ยน สร้างใหม่ และการทำหน้าที่ของโพลิเมอร์
ต้องการตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การเปลี่ยนโมเลกุลขนาดใหญ่ และกระบวนการทางเคมีใหม่เพื่อเปลี่ยนสายโพลิเมอร์ในพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นตัวกลางซึ่งสามารถถูกสร้างใหม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (ตัวอย่างเช่น สารเคมี เชื้อเพลิง หรือโพลิเมอร์ใหม่)

2. เข้าใจและค้นหากระบวนการเปลี่ยนพลาสติกผสมเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
พัฒนาสารเคมีที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน วิธีเร่งปฏิกิริยาและแยกใหม่ที่จะแก้ปัญหาทางเคมีและฟิสิกส์ของพลาสติกผสม จะทำให้เกิดการเปลี่ยนพลาสติกผสมเป็นสารเคมีและเชื้อเพลิง รวมถึงวัสดุใหม่

3. ออกแบบโพลิเมอร์รุ่นถัดไปสำหรับการหมุนเวียนทางเคมี
ต้องออกแบบพลาสติกใหม่ให้มีคุณสมบัติและการหมุนเวียนทางเคมีตามต้องการเพื่อทำให้เกิดการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่และ chemical upcycling พัฒนาเคมีโมโนเมอร์และโพลิเมอร์ใหม่ซึ่งทำให้เกิดโพลิเมอร์รุ่นถัดไปที่มีคุณสมบัติเหมือนหรือดีกว่าโพลิเมอร์ปัจจุบันและทำให้เกิดวงจรชีวิตวงกลมใช้กระบวนการที่ใช้อะตอมและพลังงานที่มีประสิทธิภาพ

4. พัฒนาเครื่องมือใหม่เพื่อค้นหาและควบคุมกลไกทางเคมีสำหรับการเปลี่ยนโมเลกุลขนาดใหญ่
การศึกษาลักษณะแบบ in situ และ operando รวมกับการสร้างแบบจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบ real-time การจำลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล จะทำให้เข้าใจกลไกและ kinetic ของการเปลี่ยน การสร้างใหม่ และการแยก เทคนิคเหล่านี้จะช่วยออกแบบการเปลี่ยนทางเคมีและกระบวนการใหม่สำหรับเปลี่ยนพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

สรุป
Chemical upcycling จากพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นเชื้อเพลิง สารเคมี หรือวัสดุที่มีมูลค่าสูงจะเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตของพลาสติก ช่วยประหยัดพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าของทั้ง 4 งานวิจัยดังกล่าวจะทำให้เกิดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการออกแบบปฏิกิริยาเคมี ตัวเร่งปฏิกิริยา กระบวนการใหม่ที่จะทำให้การเปลี่ยน การสร้างขึ้นใหม่ และการทำหน้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง งานวิจัยพื้นฐานในเรื่อง chemical upcycling of polymers จะทำให้พลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นแหล่งในการผลิตที่มีประสิทธิภาพสารเคมี เชื้อเพลิง วัสดุที่มีมูลค่าสูง และลดการสะสมของพลาสติกของเสียในสิ่งแวดล้อม

ที่มา: Office of Science, U.S. Department of Energy. Roundtable on Chemical Upcycling of Polymers. Retrieved January 8, 2020, from https://winey.seas.upenn.edu/wp-content/uploads/2017/08/2019_DOE_Polymer_Upcycling_Brochure.pdf

เอาคลิปคนอื่นมาใช้โดยไม่ขออนุญาตแล้วให้เครดิต ผิดหรือถูกต้อง?

ในปัจจุบัน มีหลายคนหรือสื่อหลายสำนักที่สนใจการทำ youtube , สื่อออนไลน์เพื่อการค้า มีความเข้าใจว่า “การนำคลิปคนอื่นมาใช้งานโดยการให้เครดิตเจ้าของคลิปบนวีดีโอที่ตัดต่อใหม่ของตนแล้วเผยแพร่ สามารถทำได้เพราะให้เครดิตแล้ว”  ความเข้าใจนี้ถือเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เนื่องจากสื่อดังกล่าวไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของคลิปที่เป็นต้นฉบับ (Original Content) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร หรือผ่านการอนุญาตที่ชัดเจนจากเจ้าของไม่ว่าจะช่องทางใดๆ ก็ตาม ที่สำคัญคือการไม่ได้รับการติดต่อจากผู้ขอใช้ เป็นการคิดเองเออเองทั้งสิ้นจากผู้สร้าง หากเจ้าของพบเจอ สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่นำคลิปไปดัดแปลง ทำซ้ำ ได้อย่างหนักหน่วง กฏเกณฑ์เหล่านี้มีกฏหมายรองรับและสำคัญที่จิตสำนึกในการนำไปใช้ หากใครทำ youtube จะเข้าใจได้ดีในเรื่องการละเมิดคลิปของผู้อื่น ที่มีโทษถึงขั้นปิด account หรือยุติช่อง youtube ทันที  ดังนั้นจึงควรพิจารณาและศึกษาให้เข้าใจถึงกติกา มารยาท จิตสำนึก และ กฏหมายในการละเมิดสิทธิ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับผู้สร้างทั้งเจตนาหรือไม่เจตนาก็ดีครับ เพราะลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาต ไม่ใช่การคิดเองเออเอง แต่มันคือการทำความเข้าใจในกฏกติกาสากล และการสื่อสารอย่างลงตัวระหว่างผู้ขอและผู้ให้ครับ

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือน สิงหาคม 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือน สิงหาคม 2562

การประกาศยกเลิกการใช้พลาสติก 8 ชนิดในสหราชอาณาจักร

รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรได้ประกาศเลิกใช้พลาสติก 8 ชนิดภายในปี ค.ศ. 2020 ได้แก่
1.ชุดช้อน ส้อม และมีดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง
2.บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยวัสดุพอลิสไตรีน
3.สำลีก้านพลาสติก (cotton buds)
4. แท่งคนกาแฟ
5.หลอดดื่มน้ำที่ทำจากพลาสติก (มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้ในทางการแพทย์)
6.พลาสติกแตกสลายได้ชนิดอ๊อกโซ (Oxo-degradable Plastics)
7.พลาสติก PVC หรือ พอลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinylchloride, PVC)
8.ชามและถ้วยพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง

โครงการ UK Plastics Pact

โครงการ UK Plastics Pact ได้ถูกจัดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2018 โดยมีสมาชิก 127 เข้าร่วม โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้ง 8 ชนิด และหาวัสดุทดแทน เช่น กระดาษ เส้นใย โลหะ และ อื่นๆ รวมไปถึงร่วมมือกันในการบรรลุเป้าหมายการกำจัดพลาสติกที่เป็นปัญหาทั้งหมดและลดการใช้พลาสติกที่ไม่จำเป็นให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2025

การยกเลิกใช้พลาสติกบางประเภทในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พิจารณากำหนดการลด และเลิกใช้ ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ที่พบมากในขยะซึ่งถูกทิ้งในทะเลของประเทศไทยและก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนการยกเลิกพลาสติก 7 ประเภทดังนี้
1.พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม
2.พลาสติกแตกสลายได้ชนิดอ๊อกโซ
3.ไมโครบีดจากพลาสติก เลิกใช้ปี 2562
4.ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน
5.กล่องโฟมบรรจุอาหาร เลิกใช้ปี 2565
6.แก้วน้ำพลาสติก (ชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง)
7.หลอดพลาสติก เลิกใช้ปี 2568 โดยมีเป้าหมายรวมในการลด

การประชุมประจำปีของสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมิภาคยุโรป ATPER 2019

สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมิภาคยุโรป ATPER 2019 ณ เมือง Dusseldorf สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2562 การจัดประชุมครั้งนี้ มีผู้แทนของหน่วยงานในประเทศไทย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ร่วมกันพัฒนารูปแบบและแนวทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ที่มาของการประชุม

การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมในประเทศควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup) อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเพื่อรองรับการเติบโต ของอุตสาหกรรมใหม่ หัวข้อการประชุมสมาคมนักวิชาชีไทยในภูมิภาคยุโรปมุ่งเน้นไปที่ประเด็นดังนี้
1.นวัตกรรม
2.เทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3.อุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกสมัยใหม่

การประชุมหารือ สร้างความร่วมมือการวิจัย พัฒนา และการทดสอบพลาสติกชีวภาพ การรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติก และวัสดุสัมผัสอาหาร

ในการประชุมครั้งนี้ได้พบปะกับองค์กรเชี่ยวชาญระดับโลกที่มีประสบการณ์สูงในด้านพลาสติกชีวภาพของราชอาณาจักรเบลเยียมและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ รวม 4 หน่วยงาน คือ
1.Wageningen University & Research
2.Rodenburg Biopolymers
3.Public Waste Agency of Flanders (OVAM)
4.Organic Waste Systems (OWS)
โดยมีประเด็นการหารือด้านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม การพัฒนามาตรฐานวิธีทดสอบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการขยะ และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี รวมถึงการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบ

  ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191119-newsletter-brussels-no8-aug62.pdf