วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2562

ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปหญิงคนแรกกับวาระการแก้ปัญหาโลกร้อน

รัฐสภายุโรปได้มีการเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการยุโรปคนใหม่ คือ นาง Ursula von der Leyen ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นประธานคณะกรรมาธิการยุโรปผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ และเป็นชาวเยอรมันคนแรกที่เข้ารับตำแหน่งนี้ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา

การผลักดันวาระด้านสิ่งแวดล้อม

นาง Ursula von der Leyen ได้ประกาศว่า ตนเองจะผลักดันนโยบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศภายใน 100 วันแรกที่รับตำแหน่ง การสร้างสังคมไร้มลพิษถือเป็นความท้าทายและเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ และได้เสนอแผนปรับเปลี่ยนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 50 เพิ่มเป็น ร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 รวมถึงการร่างแผนสังคมสีเขียวสำหรับยุโรป และร่างกฎหมายสภาพภูมิอากาศแห่งยุโรป นอกจากนี้จะผลักดันการลงทุนอย่างยั่งยืน โดยจะจัดสรรงบและทรัพยากรบางส่วนจากธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (The European Investment Bank, EIB) เพื่อจัดตั้ง Climate bank เพื่อจัดงบลงทุนสูงถึง 1 ล้านล้านยูโรในโครงการต่างๆ ที่จะช่วยจัดการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และท้ายสุดจะประกาศใช้มาตราการการจัดเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรหมแดนฉบับใหม่ โดยหวังว่าท้ายสุดจะผลักดันให้ยุโรปเป็น “ทวีปที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” (Carbon-neutral continent) ให้ได้ภายในปี ค.ศ.2050

ปฏิกิริยาต่อข้อเสนอของนาง Ursula von der Leyen

ถึงแม้ประชาชนทั่วไปจะรู้สึกว่าวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่นและจริงจังในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้อำนวยการของ IDDRI ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำการค้นคว้า ศึกษา วิจัย วิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้านสภาพภูมิอากาศของฝรั่งเศส กล่าวว่า ความมุ่งมั่นในการยกระดับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง ในทางกลับกันสมาชิกรัฐสภายุโรปที่ไม่สนับสนุนกล่าวว่าข้อเสนอที่ประกาศในที่ประชุมยังไม่เพียงพอในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไม่ได้เสนอแผนงานที่ชัดเจนว่ายุโรปจะปฏิบัติตามความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้ลงนาม ณ กรุงปารีส ไว้อย่างไร บางท่านกล่าวว่าข้อเสนอด้านสิ่งแวดล้อมไม่ได้ช่วยยกระดับมาตรการในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

คุณประโยชน์ที่น่าค้นหาจากแมงกะพรุน

แมงกะพรุนเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดใหญ่ อยู่ในไฟลัมไนดาเรีย มีรูปร่างคล้ายระฆัง ร่ม หรือจาน ตัวแมงกระพรุนประกอบด้วยส่วนลำตัวด้านบนมีลักษณะโปร่งใสรูปร่างคล้ายร่ม โดยมีส่วนที่เป็น หนวดอยู่บริเวณขอบร่ม และปากอยู่ด้านล่างของร่ม และมีขาอยู่รอบปากทำหน้าที่ปกป้องปาก หรือช่วยในการกินอาหาร แมงกะพรุนพบมากในทะเลแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 17 สายพันธุ์
  
โมเลกุลต่างๆ ที่พบในแมงกะพรุน

แมงกะพรุนมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์และมีรสชาติดีหากปรุงให้สุก นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดพัฒนาเป็นยารักษาโรค และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้

คอลลาเจน

คอลลาเจน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนทั่วๆ ไปเช่นเดียวกับเอนไซม์ เส้นใยคอลลาเจนมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย คอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เคราติน สหราชอาณาจักรได้ทำการวิจัยศึกษาคอลลาเจนจากแมงกะพรุน และพบว่าแมงกะพรุนอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในการสร้างเนื้อเยื่อ เพราะคอลลาเจนที่ได้จากแมงกะพรุนสามารถเข้ากับเซลล์หลากหลายประเภทของมนุษย์

สารต้านอนุมูลอิสระ

ได้มีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแมงกะพรุน โดยทำให้คอลลาเจนจากแมงกะพรุนแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารที่สามารถยับยั้ง หรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ (free radical) สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลายโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรัง เช่น โรงมะเร็ง เบาหวาน หัวใจ สมอง (เช่นอัลไซเมอร์)

การวิจัยอื่นๆ เพื่อศึกษาคุณประโยชน์ของแมงกะพรุน

จากผลงานทางวิชาการว่าสารประกอบที่พบในรังไข่ของแมงกะพรุนชนิดนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ โดยได้ทำการทดลองนำแมงกะพรุนมาต้มด้วยน้ำร้อน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลในแมงกะพรุน สามารถรักษากักเก็บสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีถึงแม้จะถูกต้มในน้ำร้อน

การวิจัยแมงกะพรุนในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยจะบริโภคแมงกะพรุนที่ผ่านการแปรรูปด้วยการดองเกลือและสารส้ม ขายแบบสดและตากแห้ง ในประเทศไทยพบแมงกะพรุนที่ภริโภคได้ 3 สายพันธุ์ คือ แมงกะพรุนหนัง แมงกะพรุนลอดช่อง และแมงกะพรุนหอม แต่แมงกะพรุนหอมที่พบมากและ นิยมนำมาแปรรูปเพื่อส่งออกและจำหน่ายในประเทศคือแมงกะพรุนหนังและแมงกะพรุนลอดช่อง พบมากบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน

งานประชุมเครือข่ายวิชาการสุขภาพ ครั้งที่ 7 (7th Health Challenge Thailand 2019)

การจัดประชุมเครือข่ายนักเรียนไทยและนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นความท้าทายทางสุขภาพ การติดตามงานวิจัยและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับความสำคัญของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเป็น New engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ความเป็นมา

เพื่อเป็นงานประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักรที่ศึกษาและมีความสนใจประเด็นด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ริเริ่มจัดประชุมครั้งแรกปี พ.ศ. 2554 โดยมีจุดประสงค์หลัก 3 ข้อด้วยกัน คือ
1.ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพในสหราชอาณาจักร
2.ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นความท้าทายทางสุขภาพ
3.เผยแพร่ผลงานด้านวิชาการของเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

กิจกรรมและผลจากการประชุมครั้งที่ 7

การประชุมวิชาการเครือข่าวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในธีม Towards Health Innovations : Application of Basic and Translation Research ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินการเป็น 2 ส่วนหลักคือ
1.การบรรยายพิเศษจากวิทยากร 2 ท่าน
2.การนำเสนอผลงานทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เข้าร่วมประชุม

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191119-newsletter-brussels-no7-jul62.pdf

ไม้ประดับทนน้ำท่วม

พรรณไม้ที่ปลูกในบ้านทนน้ำท่วมหรือไม่

การกล่าวว่า พรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งทนน้ำท่วมหรือไม่ ทนได้มากเพียงไร หรือทนได้มากกว่าหรือน้อยกว่าชนิดอื่นๆ นั้น จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มีเกณฑ์เปรียบเทียบเดียวกัน อาทิเช่น ระดับน้ำท่วมสูง จำนวนวันที่น้ำท่วม เป็นน้ำหลากหรือไหลผ่านหรือน้ำนิ่งที่สะอาดหรือน้ำเน่าเสีย และพรรณไม้ที่นำมาเปรียบเทียบควรมีอายุ หรือความสูง หรือความแข็งแรงพอๆ กัน ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆ ก็ดูจากบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ว่าชนิดไหนตาย ชนิดไหนรอด แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่ดูเหมือนว่า มีความทนทานต่อน้ำท่วม น้ำท่วมนานเท่าไร สูงเท่าไร ก็ทนได้ มีใบเขียวชอุ่มแน่นทรงพุ่ม แต่พอน้ำลด ดินโคนต้นเริ่มแห้ง ใบก็เริ่มเหี่ยว ร่วง และตายในที่สุด

โดยปรกติในที่ราบลุ่มของภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ในภาคกลาง ได้แก่จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำหลากจากภาคเหนือและท่วมขังอยู่เป็นเวลา 2-3 เดือน ประชาชนจึงปลูกบ้านที่มีเสาสูง 1.5-2.0 เมตร และยกพื้นบ้านให้สูงกว่าระดับน้ำ ส่วนพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณนี้ก็ปรับตัวจนสามารถทนทานต่อน้ำท่วมได้ ทั้งนี้เนื่องจากภาวะน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำหลากในฤดูฝน เป็นน้ำที่ไหลมาจากภูเขาในภาคเหนือ เป็นน้ำสะอาดไม่เน่าเสีย ในน้ำยังมีออกซิเจนมากเพียงพอให้รากต้นไม้ได้แลกเปลี่ยนกาซและดูดน้ำขึ้นไปใช้ ในเวลาเดียวกัน น้ำหลากเหล่านี้ได้พัดพาเอาตะกอนดินที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์จากภูเขาลงมาด้วย สังเกตได้ว่าน้ำมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเหลืองนวลที่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนั้นน้ำหลากจึงช่วยให้พืชพื้นเมืองตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาเจริญเติบโตได้ดี

ทำไมพรรณไม้แต่ละชนิดจึงทนน้ำท่วมขังได้แตกต่างกัน

ถ้าตอบแบบง่ายๆ และถูกต้องก็คือ เป็นธรรมชาติของพรรณไม้ หากขยายความก็คือ ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของพรรณไม้ เห็นได้จากถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ (Habitat & distribution) พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ริมแหล่งน้ำ ก็จะชอบน้ำและทนทานต่อน้ำท่วม หากกล่าวถึงเฉพาะพรรณไม้พุ่มหรือไม้ต้นที่มีเนื้อไม้แข็ง สามารถสังเกตได้จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเปลือกลำต้นและเปลือกรากที่มีความแข็ง หรือหนาเหนียว และอาจพบช่องแลกเปลี่ยนก๊าซตามเปลือกที่เป็นรอยขีดนูนหรือเป็นตุ่มนูนสีขาวหรือเทา ดังเช่น ต้นมะกอกน้ำ มะดัน อโศกน้ำ ยางนา ละมุด มะกรูด ซึ่งมีความทนทานต่อน้ำท่วมได้ดี แต่ในขณะที่เปลือกลำต้นหรือเปลือกรากมีลักษณะค่อนข้างอ่อน หนาและค่อนข้างฉ่ำน้ำ เช่น จำปี จำปา มะกอก มะกอกฝรั่ง พญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด ชมพูพรรณทิพย์ จะไม่ทนทานต่อน้ำท่วม

ทำไมพรรณไม้ถึงตายเมื่อน้ำท่วม

ตามธรรมชาติแล้วพรรณไม้ประดับทุกชนิดต้องการน้ำที่จะนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหาร เพื่อการเจริญเติบโต แต่มีความต้องการในปริมาณที่เหมาะสมไม่เท่ากัน โดยดูดซับเข้ามาทางรากขนอ่อนที่อยู่ส่วนปลายของราก รากขนอ่อนนี้มีผนังบางๆ หากมีน้ำท่วม น้ำจะเข้าไปแทนที่ฟองอากาศที่มีอยู่ในดิน ทำให้รากแลกเปลี่ยนก๊าซไม่ได้ เซลล์จะตายหรือเน่าเสีย ทำให้รากใหญ่ดูดน้ำขึ้นไปใช้ไม่ได้ ใบก็จะขาดน้ำ ทำการสังเคราะห์แสงไม่ได้ ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหี่ยวแห้งและร่วง ตายในเวลาต่อมา ซึ่งหลายคนสงสัยว่า ทำไมใบไม้ขาดน้ำ ทั้งๆ ที่ต้นแช่น้ำอยู่

พรรณไม้ประดับที่ทนน้ำท่วม

พรรณไม้ที่ทนน้ำท่วมส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง หรือขึ้นอยู่ริมแหล่งน้ำที่เป็นแม่น้ำ ลำธาร น้ำตก หนองบึง หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพรรณไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย อาทิเช่น พรรณไม้ในวงศ์ยาง (Family Dipterocarpaceae) ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย สยาขาว กระบาก จันทน์กะพ้อ พะยอม พรรณไม้ในวงศ์มะเกลือ (Family Ebenaceae) โดยเฉพาะในสกุลมะพลับ (Genus Diospyros) ได้แก่ มะพลับ ไม้ดำ ดำดง สั่งทำ ตะโกพนม ตะโกนา ตะโกสวน จันดำ จันอิน มะเกลือ พญารากดำ พรรณไม้ในวงศ์อื่นๆ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โกงกางหัวสุม โกงกางหูช้าง  กระโดน กระทุ่มน้ำ กระทุ่มนา กระเบา กรวยน้ำ กะพ้อแดง กะพ้อหนาม กาจะ การเวกน้ำ เกด กุ่มน้ำ ข่อย ขะเจาะน้ำ ขี้เหล็กบ้าน คัดเค้าเครือ คล้า คลุ้ม เคี่ยม แคนา ไคร้ย้อย จิกน้ำ จิกสวน ชมพู่น้ำ ชำมะเลียงบ้าน ตะแบกนา ตีนเป็ดน้ำ ตีนเป็ดทราย เตยทะเล เตยน้ำ เตยพรุ  เตยหอม เตยหนู เต่าร้าง ทองกวาว ไทร โพธิ์ นาวน้ำ นนทรี นมแมว ประดู่ป่า ประดู่บ้าน ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง  ไผ่ป่า ฝรั่ง พิกุล พุดทุ่ง  พุดภูเก็ต พุดสี  พุทรา โพทะเล มะกรูด โมกลา มะพร้าว มะขาม มะขามเทศ  มะเดื่อกวาง มะตูม ยอบ้าน ละมุด ลำพู สะแก สะตือ เสม็ด สารภี หูกวาง หมากสง อินทนิล อโศกป่าพุ (พุเมืองกาญจนบุรี)

นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้จากต่างประเทศอีกหลายชนิดที่นำเข้ามาปลูกกัน แล้วมีความทนทานต่อภาวะน้ำท่วมได้ อาทิเช่น อโศกอินเดีย ก้ามปู หูกระจง กระดังงาจีน

สำหรับพรรณไม้ประดับบางชนิด มีความทนทานเป็นเลิศ ถึงแม้ว่าจะมีน้ำท่วมสูงมิดยอดเป็นเวลานาน (ทนได้ถึง 30 วัน) ได้แก่ ปาล์มแวกซ์ (Copernicia prunifera) ต้นตาลโตนด (Borassus flabellifer) จาก สาคู อโศกน้ำ มะกอกน้ำ มะดัน หลังจากน้ำลดลงแล้ว เจริญเติบโตต่อได้เลย

อย่างไรก็ตาม การปลูกพรรณไม้ทนน้ำท่วมเหล่านี้ประดับบ้าน ก็ควรมีการตัดแต่งทรงพุ่มให้สวยงาม มีการกำจัดวัชพืช โรคและแมลง มีการพรวนโคนต้นให้สวยงาม พร้อมทั้งมีการใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตเป็นช่วงๆ พรรณไม้เหล่านี้ก็จะเป็นไม้ประดับที่สวยงาม พร้อมที่จะสู้ทนน้ำท่วมให้เจ้าของบ้านอย่างท่านได้สบายใจ

(อ้างอิง : ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น  ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.))

แนวโน้มผู้บริโภคทั่วโลก ปี 2030 (ตอนจบ)

ตอนที่แล้วได้นำเสนอ 3 ปัจจัยขับเคลื่อนพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2030 จากรายงานของ Gabrielle Lieberman บริษัท Mintel ตอนนี้ขอเสนออีก 4 ปัจจัย เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ สิทธิ ตัวบุคคล คุณค่า และ ประสบการณ์ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

สิทธิ

Cancel culture หรือ Call-out culture (การคว่ำบาตรหรือการเลิกสนับสนุนคนที่มีชื่อเสียงโดยกลุ่มคนจำนวนมาก เนื่องจากการกระทำที่น่าสงสัยหรือการแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมลงบนโซเชียลมีเดีย กำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าตนเองมีอำนาจมากขึ้น นอกจากนี้ แนวคิดที่คำนึงว่าคนเป็นศูนย์กลาง ได้ให้อำนาจแก่คนในการควบคุมวิธีการรวบรวมและการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลของตน โดยคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า ผู้บริโภคจะเบื่อหน่ายกับ Cancel culture หรือ Call-out culture ที่ไม่มีวันจบสิ้น ผลที่ตามมาคือบริษัทและแบรนด์ต่างๆ จะมีพลังเสียงอีกครั้ง นอกจากนี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจากแพลตฟอร์มสู่ตัวบุคคล การควบคุมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมและการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจะอยู่ในมือของผู้บริโภค

สิ่งที่คาดหวังในปี 2030

  • การแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลจะอยู่ใต้การควบคุมของผู้บริโภค
  • ผู้บริโภคต้องการเสรีภาพในตัวตน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศ
  • เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพและความสำเร็จในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

กลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2030

  • แบรนด์จำเป็นต้องเตรียมพร้อมที่จะส่งมอบสัมผัสที่เป็นส่วนตัวแก่ผู้บริโภคมากขึ้น
  • ผู้บริโภคยินดีที่จะให้เข้าถึงข้อมูลของตนเองกับการทำธุรกรรมที่มีความคุ้มค่า ดังนั้นแบรนด์ต้องแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงความคุ้มค่าดังกล่าว

ตัวตนบุคคลหรือเอกลักษณ์

ผู้บริโภคกำลังเคลื่อนห่างจากคำจำกัดความที่เข้มงวดของเพศ เชื้อชาติ และชาติพันธุ์ อีกทั้ง ความรู้สึกโดดเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้คนรู้สึกเหมือนว่าตนเองสูญเสียความเป็นตัวตน ความรู้สึกโดดเดี่ยวถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนมากขึ้น

สิ่งที่คาดหวังในปี 2030

  • ชื่อเรียกเพศที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นจะเกิดขึ้น
  • สถานที่ทำงานจะมีการปรับให้เข้ากับสภาวะ non-binary คือ การไม่ได้จำกัดแค่เพศชายหรือหญิง
  • การใช้หุ่นยนต์อย่างกว้างขวางเพื่อลดความวิตกกังวลและกระตุ้นการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • ผู้คนเลือกอยู่อาศัยด้วยกันจากความคิดและงานอดิเรกที่ร่วมกัน

กลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2030

Gen Z เป็นผู้นำในการกำหนดบรรทัดฐานตัวบุคคล แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในปี 2030 จะต้องเปิดกว้างเพื่อตอบสนองความหลากหลาย การค้นหาวิธีแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีเพื่อช่วยต่อสู้กับความเหงา นอกจากนี้ ผู้บริโภคมองว่าการซื้อสินค้าและบริการของตนเป็นการแสดงออกถึงตัวตนของตนเอง ดังนั้นแบรนด์ที่จะประสบความสำเร็จไม่เพียงแต่พยายามที่จะปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค แต่ต้องหาวิธีที่จะรวมสินค้าและบริการของตนเข้ากับกระบวนการสำรวจตัวตนของผู้บริโภค

คุณค่า

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในปัญหาของสังคมสมัยใหม่ ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคของตัวเองและมองหาการเปลี่ยนแปลงในวันนี้ที่นำไปสู่อนาคตที่ดีกว่า การซื้อสินค้าที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผู้บริโภคกำลังค้นหาสินค้ามือสองที่ราคาไม่แพงเพิ่มมากขึ้นซึ่งนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจมือสอง ในขณะที่ผู้บริโภคกำลังมองหาวิธีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น ก็ยังต้องการบางสิ่งที่ไม่เหมือนใครสำหรับตนเอง คาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญการบริโภคที่ช้าลง โดยเน้นความทนทาน การป้องกัน และการใช้งาน

สิ่งที่คาดหวังในปี 2030

  • ผู้บริโภคยอมรับคุณค่าความคิดสร้างสรรค์ งานฝีมือ และผลิตภัณฑ์ของแท้ คุณภาพ และความทนทาน
  • การใช้จ่ายของผู้บริโภคมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์สาธารณะมากกว่าการผูกขาดส่วนตัว
  • Slow life กลายเป็นสถานะในอุดมคติ
  • เศรษฐกิจการแบ่งปันบังคับให้นักวางผังเมืองมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้แนวคิดของการแบ่งปัน

กลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2030

  • ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับความคงทนของผลิตภัณฑ์ แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจะเป็นแบรนด์ที่ยึดมั่นในจริยธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • ในขณะที่ผู้บริโภคกำลังมองหาวิธีการซื้อสินค้าและบริการอย่างมีสติ แต่ก็ยังต้องการสิ่งที่เป็นเฉพาะสำหรับตนเอง แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในปี 2030 จะก้าวไปไกลกว่าการปรับเรื่องการให้บริการส่วนบุคคล หรือ Personalisation สู่ กรอบความคิดหรือทัศนคติของบริการที่แต่ละคนระบุว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง หรือ Hyper-individualisation
  • เศรษฐกิจการแบ่งปันจะดำเนินต่อไปเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้บริโภคเพื่อความยั่งยืนที่ดีขึ้นของเมือง

ประสบการณ์

เทคโนโลยีกำลังผลักดันประสบการณ์จากการพักผ่อนไปจนสู่การค้าปลีก ประสบการณ์โดยรวมจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ประสบการณ์ที่บ้านจะเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้อยู่อาศัยเดี่ยวและครัวเรือนหลากหลายรุ่นมากขึ้น ในเวลาเดียวกันผู้คนจะเริ่มนิยามสิ่งที่พวกเขาต้องการในฐานะบุคคล ซึ่งจะรวมถึง Nothing Experience เมื่อผู้คนตัดสินใจอย่างรอบคอบมากขึ้นเกี่ยวกับเวลาของตนเอง นอกจากนี้ การศึกษาเป็นประสบการณ์มากกว่าความจำเป็น

สิ่งที่คาดหวังในปี 2030

  • เส้นทางการศึกษาแบบดั้งเดิมมีความสำคัญ และการสำรวจเส้นทางใหม่ในการศึกษาและอาชีพก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
  • การเน้นย้ำถึงผลประโยชน์ทางกายภาพและทางอารมณ์จาก Nothing experience โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อลำดับความสำคัญของงานและชีวิต

กลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2030

  • การกระตุ้นผู้บริโภคให้ละทิ้งความคาดหวังของคนรุ่นใหม่ผ่านประสบการณ์ที่สนุกสนาน โดยที่ความสนุกสนานจะทำให้แบรนด์สามารถสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับลูกค้าของตนและทำให้ลูกค้าเหล่านั้นรู้สึกถึงอิสรภาพใหม่
  • ในโลกแห่งความตึงเครียด ผู้คนจะค้นหาแบรนด์และวิธีการแก้ปัญหาที่ให้การสนับสนุนความต้องการที่แตกต่างหลากหลาย โอกาสมีอยู่สำหรับแบรนด์ที่ขยายข้อเสนอของตนเพื่อเสนอทางเลือกที่มากขึ้นแก่ผู้บริโภค
  • Nothing Experience เป็นวิธีผ่อนคลายผ่อนคลาย ผู้คนจะมองหาผลิตภัณฑ์และบริการและสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้พวกเขาแยกตัวออกมาจากโลกวุ่นวาย

อ้างอิง

Lieberman, G. (2019). 2030 Global Consumer Trends : Seven core drivers of consumer behaviour that will shape global markets over the next 10 years [presentation].

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2562 โดย IMD (2019 IMD World Competitiveness Ranking)

ในปี 2562 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2019 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2561-2562 โดย IMD

ประเทศ สิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทย
ปี 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561
อันดับรวม 1 3 2 2 3 1 4 5 5 7 25 30
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
5 7 10 9 1 1 23 25 7 3 8 10
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ 8 7 18 20 2 2 6 8 22 22 30 34
1.2 การค้าระหว่างประเทศ 1 2 4 3 16 14 29 34 2 1 6 6
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ 5 7 4 3 1 1 18 33 16 10 21 37
1.4 การจ้างงาน 7 8 17 12 6 7 29 27 9 3 3 4
1.5 ระดับราคา 58 51 62 61 48 41 57 53 18 25 29 23
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
3 3 1 1 23 26 4 2 2 4 20 22
2.1 ฐานะการคลัง 7 3 1 1 50 51 5 4 3 2 16 18
2.2 นโยบายภาษี 12 13 2 2 13 22 8 9 3 3 6 6
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน 2 3 8 9 22 23 1 1 5 10 34 35
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ 2 2 1 1 16 14 12 18 5 11 32 36
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม 9 17 20 23 37 34 8 5 18 29 48 45
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
5 11 2 1 11 12 9 9 1 2 27 25
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ 9 15 8 10 5 7 10 11 2 2 43 40
3.2 ตลาดแรงงาน 8 10 6 8 26 27 15 23 2 2 9 6
3.3 การเงิน 6 7 1 1 2 4 3 2 16 22 19 24
3.4 การบริหารจัดการ 16 18 3 7 18 11 17 13 1 2 27 24
3.5 ทัศนคติและค่านิยม 4 9 3 7 30 27 21 15 2 1 26 17
4. โครงสร้างพื้นฐาน 6 8 22 23 1 1 2 2 33 36 45 48
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน 11 7 3 6 12 12 8 10 2 9 27 31
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี 1 2 18 19 6 3 8 9 24 27 38 36
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ 14 17 23 24 1 1 4 3 39 37 38 42
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม 23 25 20 23 7 8 1 2 35 46 55 58
4.5 การศึกษา 2 2 16 18 21 21 9 8 41 44 56 56

สิงคโปร์ได้อันดับ 1 ดีขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ รองลงมาคือ ฮ่องกง ยังคงครองอันดับเดิมเหมือนปีที่แล้ว ถัดมาเป็นสหรัฐอเมริกา ซึ่งตกลงมา 2 อันดับจากปีที่แล้วเคยเป็นอันดับ 1  สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 4 ในปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ  อันดับ 5 คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งขึ้นมา 2 อันดับจากปีที่แล้ว ส่วนไทยได้อันดับ 25 ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 5 อันดับ

สิงคโปร์ได้อันดับ 1 ในปีนี้เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นถึง 3 ปัจจัยจากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับจากอันดับ 7 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 5 ในปีนี้  2. โดยเฉพาะปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 6 อันดับ ในปีนี้ได้อันดับ 5 จากอันดับ 11 ในปีที่แล้ว  3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ มีอันดับ 6 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัยคือ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ยังคงรักษาอันดับ 3 ไว้เหมือนปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจคือ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศ ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงานเป็นอันดับ 1, 5 และ 7 ในปีนี้ จากปีที่แล้วได้อันดับ 2, 7 และ 8 ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยย่อยทั้งหมด (5 ปัจจัยย่อย) มีการเลื่อนอันดับขึ้นทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจมีอันดับเลื่อนขึ้นมาก โดยเฉพาะปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยมมีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 6 และ 5 อันดับจากอันดับ 15 และ 9 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 9 และ 4 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน โดยปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเลื่อนอันดับขึ้นจากอันดับ 2 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 1 ในปีนี้  ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เลื่อนอันดับขึ้นจากอันดับ 17 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 14 ในปีนี้ และปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลื่อนอันดับขึ้นเป็นอันดับ 23 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 25   

ฮ่องกงยังคงครองอันดับ 2 เหมือนปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปีนี้ได้อันดับ 2 ถึงแม้จะเลื่อนอันดับลง 1 อันดับจากปีที่แล้วของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ส่วนอีก 2 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนลง 1 อันดับเป็นอันดับ 10 ในปีนี้ และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับดีปานกลางทั้งปีนี้และปีที่แล้วโดยได้อันดับ 23 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 22 การยังคงรักษาอันดับไว้เหมือนเดิมได้ของปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจที่อันดับ 1, 2 และ 1 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ ถึงแม้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับดีปานกลางทั้งปีนี้และปีที่แล้ว แต่มี 1 ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากคือ สาธารณูปโภคพื้นฐานมีอันดับ 6 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 3

ถึงแม้สหรัฐอเมริกามีอันดับรวมตกลงมาจากอันดับ 1 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 3 ในปีนี้ แต่ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับ 1 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยที่ส่งผลให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจยังคงครองอันดับ 1 ไว้ได้คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศที่ยังครองอันดับ 2 และ 1 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ตามลำดับ ส่วนปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับ 1 ไว้ได้คือ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และปัจจัยย่อยการศึกษาที่ยังคงครองอันดับ 12, 1 และ 21 ไว้เหมือนเดิมกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 4 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับจากปีที่แล้ว เนื่องจากปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับจากอันดับ 25 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 23 ในปีนี้ ในขณะที่ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังคงรักษาอันดับ 2 และ 9 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ตามลำดับ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับลง 2 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 4 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศมีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ โดยปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศเลื่อนอันดับขึ้น 5 อันดับ เป็นอันดับ 29 ในปีนี้ และปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศเลื่อนอันดับขึ้นถึง 15 อันดับ เป็นอันดับ 18 ในปีนี้

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้อันดับ 5 ในปีนี้ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 2 อันดับ เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นถึง 3 ปัจจัยได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับจากอันดับ 4 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 2 ในปีนี้  2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับจากอันดับ 2 ในปีที่แล้วส่วนปีนี้ได้อันดับ 1  3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับจากอันดับ 36 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 33 ในปีนี้ ส่วนที่เหลืออีก 1 ปัจจัยคือ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับลง 4 อันดับจากอันดับ 3 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐคือ ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน ปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ และปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมที่เลื่อนอันดับขึ้น 5, 6 และถึง 11 อันดับจากอันดับ 10, 11 และ 29 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 5, 5 และ 18 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการเงินและปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ 6 และ 1 อันดับเป็นอันดับ 16 และ 1 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเลื่อนอันดับขึ้นได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานเลื่อนอันดับขึ้น 7 อันดับจากอันดับ 9 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 2 ในปีนี้  2. ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลื่อนอันดับขึ้นถึง 11 อันดับจากอันดับ 46 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 35 ในปีนี้

คงเป็นข่าวดีมากของไทยที่เลื่อนอันดับรวมขึ้นถึง 5 อันดับจากอันดับ 30 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 25 ในปีนี้ เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน จากอันดับ 10, 22 และ 48 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 8, 20 และ 45 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะอีก 1 ปัจจัยคือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับลง 2 อันดับจากอันดับ 25 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 27 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ส่งผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจคือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศที่เลื่อนอันดับขึ้น 4 และถึง 16 อันดับจากอันดับ 34 และ 37 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 30 และ 21 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศเป็นปัจจัยย่อยที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด ส่วนปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 2, 1 และ 4 อันดับจากอันดับ 18, 35 และ 36 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 16, 34 และ 32 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับเลื่อนขึ้น โดยปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานและปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับจากอันดับ 31 และ 42 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 27 และ 38 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับจากอันดับ 58 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 55 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงอย่างมากถึง 9 อันดับจากอันดับ 17 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 26 ในปีนี้ของปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม ทำให้เป็นปัจจัยย่อยที่มีการเลื่อนอันดับลงมากที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด ส่งผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากในปีนี้ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศได้อันดับ 6 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ  2. ปัจจัยย่อยการจ้างงานได้อันดับ 3 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 4 อยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ  3. ปัจจัยย่อยนโยบายภาษียังครองอันดับ 6 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ  4. ปัจจัยย่อยตลาดแรงงานมีอันดับ 9 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 6 อยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับไม่ค่อยดีในปีนี้ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากพบเพียงในปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อันดับ 55 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 58  2. ปัจจัยย่อยการศึกษายังคงครองอันดับ 56 ไว้เหมือนปีที่แล้ว

ถึงแม้ไทยจะเลื่อนอันดับขึ้นในปีนี้ถึง 5 อันดับ เป็นอันดับ 25 ในปีนี้ แต่เป็นอันดับระดับดีปานกลาง ทำให้ไทยต้องพัฒนาในอีกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษาที่ได้อันดับต่ำมากในปีนี้และปีที่แล้วดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อในปีหน้าไทยจะเลื่อนอันดับขึ้นมาก

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2562

โครงการแบตเตอรี่ 2030 + : แผนการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ระยะยาวของสหภาพยุโรป

แบตเตอรี่มีศักยภาพในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคการขนส่ง และสามารถช่วยให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยโครงการแบตเตอรี่ 2030 + ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของคณะกรรมาธิการยุโรปที่จะพัฒนาแผนการวิจัยขนาดใหญ่และระยะยาวด้านแบตเตอรี่ จะส่งผลให้เกิดการรวบรวมนักวิจัยชั้นนำในยุโรปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาครั้งสำคัญในการนำไปสู่เทคโนโลยีแบตเตอรี่ขั้นสูง ปัจจุบันทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงแหล่งพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะต้องอาศัยเทคโนโลยีแบตเตอรี่และการกักเก็บพลังงานในการขับเคลื่อน สหภาพยุโรปจึงจำเป็นต้องสนับสนุนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านแบตเตอรี่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในการผลิตแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูง ชาร์จไฟได้เร็ว มีความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการแบตเตอรี่ 2030 + ยังเน้นการวิจัยและศึกษาหาวิธีทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่เอื้อให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบเซ็นเซอร์ และการคำนวณเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านไฟฟ้าเคมี และศึกษากระบวนการทางเคมีของแบตเตอรี่ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมพลังงาน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใกล้เคียง   

ข้อคิดเห็นจากคณะกรรมาธิการยุโรปและผู้เชี่ยวชาญ

กรรมาธิการยุโรป ด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล กล่าวว่ายุโรปจะเปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้คาร์บอนไดออกไซด์ จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่มีศักยภาพที่เอื้อต่อการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและการกักเก็บพลังงานหมุนเวียนในระดับกว้าง สหภาพยุโรปต้องระดมความเป็นเลิศทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่มีมูลค่าสูงในยุโรป กรรมาธิการยุโรป ด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม กล่าวว่า แบตเตอรี่ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวบรวมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และสร้างห่วงโซ่คุณค่าของแบตเตอรี่ เพื่อพัฒนายุโรปให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่แห่งอนาคต ซึ่งจะถือเป็นตัวกำหนดลำดับของความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก และเสริมสร้างความเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ประสานงานโครงการแบตเตอรี่ 2030 + กล่าวว่า ในอนาคตแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง น่าเชื่อถือ ปลอดภัย ยั่งยืน และราคาถูกเป็นสิ่งที่จำเป็น และโครงการแบตเตอรี่ 2030 + จะมุ่งเน้นการพัฒนาและออกแบบแบตเตอรี่ประเภทนี้ โดยเราจะสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาโดยการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง และปัญญาประดิษฐ์เพื่อเร่งการพัฒนาวัสดุใหม่ๆ ในการผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าว โดยพิจารณาถึงข้อกำหนดด้านความยั่งยืนอยู่เสมอ   

สหภาพยุโรปและโครงการด้านแบตเตอรี่

ในปี ค.ศ.2017 คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดตั้งภาคีแบตเตอรี่แห่งยุโรป ซึ่งรวบรวมนักกำหนดนโยบายตัวแทนจากภาคการศึกษา และตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อทำงานร่วมกันในการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่ๆ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในยุโรป คณะทำงานของโครงการแบตเตอรี่ 2030 + ประกอบด้วย : 5 มหาวิทยาลัย (Uppsala University, Politecnico di Torino, Technical University of Denmark, Vrije Universiteit Brussel, University of Munster) 8 ศูนย์วิจัย (French Alternative Energies and Atomic Energy Commission, Karlsruhe Institute of Technology, French National Centre for Scientific Research, Forschungszentrum Julich, Fraunhofer Gesellschaf, Fundacion Cidetec, etc) 3 องค์กรวิจัยขับเคลื่อนโดยภาคอุตสาหกรรม (Energy Materials Industrial Research Initiative, European Association for Storage of Energy, Recharge Association)

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยของการใช้เมล็ดเจียใน Novel Food

ธัญพืชที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพ คือ Chia Seed หรือ เมล็ดเจีย โดยจัดเป็นพืชในกลุ่มเครื่องเทศตระกูลเดียวกับสะระแหน่และกะเพรา มีถิ่นกำเนิดทางตอนกลางไปจนถึงตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา เป็นพืชที่มีอายุมากกว่า 3,500 ปีก่อนคริสตกาล เมล็ดเจีย ได้รับการประชาสัมพันธ์ว่าเป็น super food ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เช่น กรดไขมันโอเมก้า3 สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และแร่ธาตุ เช่น โบรอนที่ช่วยดูดซึมแคลเซียม โดยคุณสมบัติเด่นคือ มีไฟเบอร์สูง ทำให้อิ่มท้อง จึงมักนำมาเป็นอาหารเพื่อช่วยลดน้ำหนัก เมล็ดเจียเมื่อนำไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นสิบเท่า ลักษณะคล้ายเม็ดแมงลักแต่คุณค่าทางอาหารสูงกว่ามาก ส่วนใหญ่านำไปผสมในอาหารรับประทาน เช่น โยเกิร์ต นมสด น้ำเต้าหู้ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ประโยชน์ของเมล็ดเจียในการเสริมสร้างสุขภาพ ดังนี้ ช่วยให้หัวใจแข็งแรง ช่วยให้บาดแผลหายเร็ว ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน บำรุงสมองและความจำ ป้องกันโรคกระดูกพรุน กระตุ้นระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายดีขึ้น และช่วยระบบย่อยให้ทำงานได้ดีขึ้น เป็นต้น   

อาหารใหม่ หรือ Novel food

ถึงแม้เมล็ดเจีย จะเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ แต่การนำเมล็ดเจียไปแปรรูปในอาหารอาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความปลอดภัยทางอาหารได้ คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้ยื่นคำร้องให้คณะกรรมการด้านโภชนาการ อาหารใหม่ และสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ทำการศึกษาและพิจารณาพร้อมให้ความเห็นในประเด็นการใช้เมล็ดเจีย ในรูปแบบผงเพื่อใช้เป็น Novel Food หรือ อาหารใหม่ ตามกฎระเบียบ EU Novel Food คืออะไร หรืออาหารใหม่ หมายถึง

1. อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการ ว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี

2. อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากระบวนการผลิตที่ไม่ใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้น ๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหาร นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต (Metabolism)   

การตรวจสอบและประเมินความปลอดภัย

หลังจากได้รับคำร้องทาง NDA ได้ทำการทดสอบผงเมล็ดเจียที่ถูกสกัดไขมันออกไปบางส่วน ซึ่งถูกผลิตด้วยการนำเมล็ดเจียทั้งเมล็ดไปอัดผ่านเกลียว โดยการประเมินความปลอดภัยของอาหารใหม่ชนิดนี้ NDA ได้ดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานความปลอดภัยทางอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ว่าด้วยเรื่องการอนุญาตการใช้อาหารใหม่ตามกฎระเบียบ EU โดยอาหารใหม่นี้ ทางผู้ผลิตประชาสัมพันธ์ให้ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเป็นส่วนผสมในอาหารประเภทอื่น ๆ โดยปริมาณสูงสุดที่แนะนำให้ใช้อยู่ที่ ร้อยละ 0.7 ถึง ร้อยละ 10 ในอาหารที่มีการเติมสารอาหารเพิ่มลงไปเพื่อทำให้อาหารนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น (fortified food) และกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายของอาหารใหม่ชนิดนี้คือประชาชนทั่วไป

หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกันสำหรับโรงงานอัจฉริยะ

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมสามารถช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ และเพิ่มความสามารถในการผลิตและรับรองความปลอดภัยในโรงงาน อย่างไรก็ตามหุ่นยนต์อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านความสามารถ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชั้นนำที่มีศักยภาพเต็มรูปแบบกลับไม่ได้ถูกนำไปใช้จริงในโรงงานผลิตในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งโครงการ THOMAS ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจากสหภาพยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาหุ่นยนต์สองแขนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง โดยหุ่นยนต์นี้จะรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้ผ่านกระบวนการใช้เหตุและผล นอกจากนี้ยังสามารถทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์ด้วยกันเอง และทำงานร่วมกับหน่วยการผลิตอื่น ๆ รวมไปถึงมนุษย์ โดยปกติแล้วผู้ผลิตทราบว่าประสิทธิภาพของหุ่นยนต์นั้นมีความแม่นยำสูงและมีความสม่ำเสมอ แต่หุ่นยนต์ส่วนใหญ่มีปัญหาในการจัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โดยเฉพาะเมื่อมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ในการผลิต หรือมีการดัดแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตอยู่แล้ว ผลคือ ประสิทธิภาพในการผลิตของหุ่นยนต์และรูปแบบการผลิตอย่างต่อเนื่องจะลดลง ดั้งนั้นอุปกรณ์การผลิตที่ไม่สามารถรองรับการทำงานที่หลายหลายในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจำเป็นต้องถูกดัดแปลงและพัฒนาให้สามารถปฏิบัติฟังก์ชันใหม่ ๆ ได้   

หุ่นยนต์เคลื่อนที่ที่สามารถทำงานได้หลากหลาย

สำหรับหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาภายใต้โครงการ THOMAS การเคลื่อนที่และความคล่องตัวถือเป็นคุณลักษณะสำคัญเพราะหุ่นยนต์ที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวจะสามารถระบุเส้นทางในการเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเองและสามารถปฏิบัติงานตามชุดคำสั่งที่หลากหลาย โดยหุ่นยนต์จะรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมได้โดยการสื่อสารผ่านเซ็นเซอร์ของตัวหุ่นยนต์เอง และยังมีการรับรู้ร่วมกันผ่านเซ็นเซอร์ของหุ่นยนต์หลาย ๆ ตัวรวมกัน การสื่อสารร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์หลายๆ ตัว จะเกิดเป็นเครือข่าย ทำให้หุ่นยนต์แต่ละตัวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อจัดสรรหน้าที่การทำงานระหว่างหุ่นยนต์ด้วยกันเอง นอกจากนี้ยังสามารถลงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเริ่มมีการใช้หุ่นยนต์ก็คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากต่อสหภาพยุโรป และการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตในอุตสาหกรรมดังกล่าว

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัมในยุโรป   

ภูมิหลัง

ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2018 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เปิดตัวโครงการ “Quantum Technologies Flagship” ซึ่งมีระยะเวลา 10 ปี และงบโครงการจำนวน 1,000 ล้านบาท โดยจุดประสงค์ในการรวบรวมทรัพยากรตามแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน 5 สาขาดังนี้ 1. Quantum communication 2. Quantum computing 3. Quantum simulation 4. Quantum metrology and sensing 5. วิทยาศาสตร์พื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีควอนตัม ในปี ค.ศ. 2021 ถึง 2027 เทคโนโลยีควอนตัมจะถูกสนับสนุนผ่านโครงการ Digital Europe programme ซึ่งจะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถเชิงกลยุทธ์ของสหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปผ่านโครงการ Horizon Europe ในงานวิจัยและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ   

การประกาศลงนามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัม

ในงานประชุม Digital Assembly ณ กรุง Bucharest ประเทศโรมาเนีย ตัวแทนจาก 7 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ได้แก่ เบลเยียม เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ และสเปน ได้ร่วมกันลงนามประกาศความร่วมมือในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัม (Quantum Communication Infrastructure, QCI) ทั่วสหภาพยุโรปภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยจะมีการบูรณาการระบบและเทคโนโลยีควอนตัมในโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิม ซึ่งประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักด้วยกัน คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลก ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายสายไฟเบอร์สำหรับการสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ทางกลยุทธ์ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ   

ข้อคิดเห็นจากคณะกรรมาธิการยุโรปและผู้เชี่ยวชาญ

รองประธานคณะกรรมธิการยุโรปด้าน Digital Single Market กล่าวว่าทุก ๆ ภาคส่วนของเศรษฐกิจและสังคมทั่วทั้งยุโรปต่างมีศักยภาพในการได้รับประโยชน์จากการใช้โครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัม โดยโครงสร้างพื้นฐานนี้จะช่วยรักษาความปลอดภัยของการทำธุรกรรมทางการเงิน และเอื้อให้มีการส่งผ่านและจัดเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหวในระยะยาวได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะข้อมูลภาครัฐ ปัจจุบันการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลออนไลน์ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งซึ่งยุโรปจะเพิกเฉยให้ภูมิภาคอื่นพัฒนาล้ำหน้ากว่าไม่ได้ กรรมาธิการยุโรป ด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล กล่าวว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าวิธีที่เราใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลและรักษาความปลอดภัยของระบบดิจิทัลจะประสบความเสี่ยงจากการใช้คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังอย่างคอมพิวเตอร์ควอนตัม ในการเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงและป้องกันเศรษฐกิจและสังคมจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดย 7 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปได้ประกาศลงนามความร่วมมือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัมแห่งอนาคต   

ก้าวต่อไป

ประเทศที่ประกาศลงนามในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัม ได้มีความตกลงที่จะทำงานร่วมกัน และจะร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรปในการจัดทำแผนงานปฏิบัติการเพื่อศึกษาถึงประโยชน์และความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัม โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี ค.ศ. 2020 แผนงานปฏิบัติการฉบับนี้จะครอบคลุมทั้งในส่วนการศึกษาเบื้องต้นของโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัม ตัวเลือกเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัมในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป งบประมาณในการดำเนินโครงการ และกรอบการรับรองความปลอดภัยในการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารควอนตัมโดยเฉพาะในงานที่ประกอบด้วยข้อมูลที่มีความอ่อนไหว นอกจากนี้ในรายงานจะศึกษาถึงโอกาสการต่อยอดพัฒนาระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์และเทคโนโลยีควอนตัมที่มีคุณภาพสูงและสามารถแข่งขันได้

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191112-newsletter-brussels-no6-june62.pdf

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2562

การจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพด้วยเทคโนโลยี Whole genome sequencing (WGS)          

การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance, AMR)

การค้นพบยาปฏิชีวนะถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สำหรับมวลมนุษยชาติ เพราะสามารถช่วยชีวิตคนนับล้านที่ป่วยจากการติดเชื้อแบคทีเรียให้หายได้ แต่ปัจจุบันประสิทธิภาพของยาได้ลดลงเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคมีการปรับตัวให้ดื้อต่อยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาลดลงและอาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอีกต่อไปในอนาคต จึงเป็นที่มาของคำว่า “การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance, AMR)” ซึ่งถูกนิยามไว้ว่า “ความสามารถของจุลินทรีย์ (เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และรา) โดยจุลินทรีย์ที่พบว่ามีอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพสูง คือ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลานขนาน ส่งผลให้ตลาดยาปฏิชีวนะมีอายุสั้น จึงเป็นการลงทุนที่ไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการลงทุนในกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ที่สามารถขายและขยายตลาดได้เรื่อยๆ          

สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในยุโรป

ผลการศึกษาจากหน่วยงานความปลอดภัยทางอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) และ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ได้เน้นว่าภาวะการดื้อยาต้านจุลชีพสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ กรรมาธิการยุโรปด้านสาธารณสุขและความปลอดภัยอาหาร ได้กล่าวว่า ในทุกๆ ปี การติดเชื้อในยุโรปที่เกิดจากภาวะการดื้อยาต้านจุลชีพส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 25,000 ราย ถือว่าเป็นปัญหาระดับโลก          

การจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพ

ในปัจจุบัน มีการเรียกร้องให้จัดการกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรีย การดำเนินงานนี้จำเป็นต้องมีรายละเอียดและได้รับความสนใจจากภาคส่วนต่างๆ โดยที่ผ่านมามีแนวคิดทึ่จะนำระบบการติดตามและประเมินผลการรักษามาใช้จัดการกับปัญหานี้ การป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียนั้นกระทำได้หลายช่องทาง ได้แก่ ใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีข้อบ่งใช้ที่เหมาะสม ให้พิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์แคบ (Narrow-spectrum antibiotics) จะมีความจำเพาะต่อเชื้อสาเหตุและมีประสิทธิภาพมากกว่า จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการดื้อยาต้านจุลชีพได้ นอกจากนี้วารสารทางการแพทย์ เช่น Lancet ได้นำเสนอกลยุทธ์สำคัญ 5 ประการที่จำเป็นสำหรับการลดอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรีย ดังนี้

– การเฝ้าระวังการใช้ยาปฏิชีวนะ

– มีการกำหนดกรอบเวลาที่จำเป็นต้องมีการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพและเจาะจงกับเชื้อ

– พัฒนาและรับรองยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ให้ได้ 10 ชนิดภายในปี ค.ศ. 2020

– พัฒนาวิธีการศึกษาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลเพื่อตรวจหายีนของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพ          

การลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมด (Whole genome sequencing, WGS)

สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) และกองทุนเวลคัมแห่งกรุงลอนดอนได้ร่วมมือกันค้นหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมในมนุษย์ทั้ง 3 พันล้านเบส เมื่อปี ค.ศ.2003 ต่อมาได้ศึกษาหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมดในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น

– หนู มีจีโนมขนาดเล็กกว่ามนุษย์เล็กน้อย ขนาดจีโนมประมาณ 3 พันล้านคู่เบส บรรจุอยู่ในโครโมโซม 20 คู่

– แมลงหวี่ Drosophila มีจีโนมขนาดประมาณ 160 ล้านคู่เบส และมีโครโมโซม 4 คู่

– หนอนตัวกลม C.elegans มีจีโนมขนาดประมาณ 100 ล้านคู่เบส

– ยีสต์ S.cerevisiae มีจีโนมขนาดประมาณ 12,5 ล้านคู่เบส

– แบคทีเรีย E. coli มีโครโมโซมเดี่ยว และมีจีโนมขนาดเล็กเพียง 5 ล้านคู่

กรรมวิธีในการถอดลำดับเบสของสารพันธุกรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ

1. หาการเรียงตัวของคู่เบส (sequencing) ทำโดยตัดเส้น DNA เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วป้อนเข้าไปให้เครื่องอ่านอัตโนมัติอ่านเหมือนการแกะตัวอักษรทีละตัว เพื่อให้ได้ลำดับเบสของ DNA ชิ้นนั้น ๆ

2. จากนั้นนำตัวลำดับเบสที่ถอดแล้วในแต่ละชิ้นของเส้น DNA มาประกอบเรียงกันใหม่จนกระทั่งได้ลำดับคู่เบสของ DNA ทั้งหมด

3. เมื่อทราบการเรียงลำดับของ DNA ทั้งหมดแล้ว จึงค้นหาตำแหน่งของยีน ซึ่งมีอยู่เพียงประมาณร้อยละ ในข้อมูลจีโนมทั้งหมด ทั้งนี้อาจทำโดยการค้นหา รหัสบ่งชี้การเริ่มต้นและสิ้นสุดของยีน หรือโดยการเปรียบเทียบกับยีนที่รู้จักแล้ว          

การใช้เทคนิคการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมด (Whole genome sequencing, WGS) ในการตรวจสอบการดื้อยาต้านจุลชีพ

หน่วยงานความปลอดภัยทางอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้ระบุว่าเทคนิคนี้ดีกว่าวิธีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากจะระบุหาการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ยังสามารถสร้างข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งนำไปต่อยอดในการศึกษาและการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาอื่น ๆได้อีกด้วย

การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม (STS Forum 2019)          

ความเป็นมา Science and Technology in Society (STS) Forum ก่อตั้งขึ้นโดย นาย Koji Omi ในปีพ.ศ.2547 ซึ่งมีการจัดประชุมประจำปี หรือ STS Forum Annual Meeting ในเดือนตุลาคมของทุกปี ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นเวทีในการพบปะระหว่างผู้กำหนดนโยบายนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้นำในวงการธุรกิจจากทั่วโลก เพื่อหารือเรื่องการนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาจัดการกับความท้าทายทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษยชาติ          

แถลงการณ์ของผู้เข้าร่วมประชุม การประชุม STS Forum มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรวบรวมผู้คนจากหลากหลายสาขาและภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ บริษัทเอกชน ภาคอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักกำหนดนโยบาย จากประเทศทั่วโลก มาทำงานร่วมกันเพื่อจัดการความท้าทายทางสังคม นำไปสู่การจัดทำนโยบายและข้อเสนอแนะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ในอนาคตของมนุษยชาติ ผ่านการร่วมมือระหว่างองค์กรทั่วโลก และบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ จากผู้เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

– หลักสำคัญของการดำเนินงานของ STS Forum คือ ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ บริษัทเอกชน ภาคอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักกำหนดนโยบาย ควรเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาของมนุษยชาติ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย

– ในการจัดประชุมประจำปีของ STS Forum นอกจากประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม ควรมีหัวข้อหารือในประเด็นด้านสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจด้วย เช่น ผลกระทบทางสังคมต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

– สมาชิกให้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ และนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยรุ่นเยาว์ให้มากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องผลักดันให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเอามาใช้จัดการกับความท้าทายทางสังคม

– ควรมีปรับรูปแบบของการประชุม โดยให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ฟังให้มากยิ่งขึ้น โดยปรับให้อยู่ในรูปแบบการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่าง ผู้บรรยาย ผู้ร่วมอภิปราย ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมได้ชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

– ประเด็นที่ท้าทายระดับโลก คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดประชุมระดับนานาชาติเพื่อหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน และมีข้อเสนอแนะให้มีการนำข้อเสนอแนะจากการประชุม G7 ด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก

– การจัดการข้อมูลบนโลกออนไลน์ เทคโนโลยีที่อาศัยข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และการเรียนรู้เชิงลึก ว่ามีผลต่อการพัฒนาและการดำเนินงานในภาคการผลิตสาธารณสุข เศรษฐกิจ และวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยข้อมูลขนาดใหญ่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคส่วนเหล่านี้แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความเสี่ยงต่างๆ ตามมา

– ประชาชนส่วนใหญ่ทั่วโลกยังได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ไม่มากเท่าที่ควร เหตุนี้การพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำเป็นต้องกระจายให้อย่างเท่าเทียมกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศทั่วโลก เพื่อลดช่องว่างของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          

การประชุม STS Forum Council Meeting

การประชุม STS Forum Annul Meeting 2019 มีการประชุมเต็มคณะทั้งหมดจำนวน 8 การประชุม หัวข้อ

Science and Technology for the Future of Humankind

Sustainable Society

Lights and Shadows of Energy and Environment

Science and Technology Education for Society

Science and Technology in Business

AI and Society

Delivering Healthcare to the World

Basic Science Innovation and Policy           

การประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ

STS Forum

การประชุม Regional Action on Climate Change (RACC11) :

เพื่อหามาตรการจัดการกับปัญหาและความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ จัดโดยองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191112-newsletter-brussels-no5-may62.pdf

ทำไมวารสารใน SCI ไม่มีค่า IF

กำลังมองหาวารสารใน Science Citation Index (SCI) เพื่อตีพิมพ์บทความวิชาการ แต่พบว่าวารสารบางชื่อไม่มีค่า Impact factor (IF) … เป็นไปได้หรือไม่ว่าวารสารที่มีรายชื่ออยู่ใน SCI จะไม่มีค่า IF?

วารสารบางชื่อใน Science Citation Index (SCI) รวมถึง Social Sciences Citation Index (SSCI) อาจไม่ปรากฎค่า IF ใน Journal Citation Reports (JCR) หรือ ฐานข้อมูลซึ่งใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยประกอบการพิจารณาประเมินคุณภาพและจัดอันดับวารสารวิชาการ แต่แสดงข้อความว่า Journal Impact “Not Available” เนื่องจาก เป็นวารสารใหม่ที่พึ่งตั้งขึ้นและตีพิมพ์บทความ ทำให้ยังสามารถคำนวณค่า IF ได้ โดยการคำนวนณค่า IF คือ วัดความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสารในแต่ละปี โดยเปรียบเทียบกับจำนวนบทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารดังกล่าวในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมา 

ยกตัวอย่างเช่น วารสาร Current Medical Science ไม่มีค่า IF ใน JCR ปี 2018 เนื่องจาก วารสารนี้เป็นวารสารใหม่ พึ่งเริ่มตั้งในปี 2018 จึงยังไม่เข้าเกณฑ์การคำนวณและให้ค่า IF แต่หากวารสารดังกล่าว เป็นวารสารที่ตีพิมพ์มามากกว่า 2 ปี แล้ว แต่ไม่ปรากฎค่า IF อาจจำเป็นต้องติดต่อไปยังฐานข้อมูลหรือบริษัทที่จัดทำค่า IF เพื่อตรวจสอบสาเหตุ

นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ Citation cartel หรือ การตกลงกันไว้ก่อนระหว่างวารสารในการอ้างอิงกันและกัน เพื่อให้ค่า IF ของวารสารเหล่านั้นเพิ่มขึ้น โดย Citation cartel กรณีแรกเกิดขึ้นในปี 2012 ซึ่ง Thomson Reuters ประกาศระงับการให้ค่า IF ของวารสาร 3 ใน 4 ชื่อทางด้านชีวการแพทย์ เนื่องจากมีพฤติกรรมการตกลงระหว่างวารสารในการอ้างอิงกันและกัน ต่อมาในปี 2014 ก็มีวารสารทางด้านธุรกิจอีก 6 ชื่อ ที่มีพฤติกรรมในทำนองเดียวกัน ซึ่ง Thomson Reuters ก็ดำเนินการเช่นเดียวกัน และในปี 2016 Thomson Reuters ก็ระงับการให้ค่า IF ของวารสาร 2 ชื่อ โดยวารสารทั้งสองจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เดียวกัน ในประเทศเยอรมนี ตามข้อมูลพบว่า 39% ของการอ้างอิงถึงวารสารชื่อที่ 1 ในปี 2015 มาจากวารสารชื่อที่ 2 ที่ถูกระงับการให้ค่า IF ทั้งนี้ในบางรายอาจถึงขั้นถอนรายชื่อวารสาร (อ้างอิงข้อมูลจาก Oransky, I and Marcus, A. (2017, February 22). The science world is plagued by ‘citation cartels’. Retrieved from https://theweek.com/articles/676146/science-world-plagued-by-citation-cartels

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2562

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 4 เดือน เมษายน 2562

การสร้างความร่วมมือด้าน วทน. ระหว่าง มหาวิทยาลัย Ghent และ ไบโอเทค

สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้นำคณะจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เข้าลงนาม MOU ด้านการวิจัยการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมกับศูนย์เก็บรวบรวมสายพันธุ์จุลินทรีย์ เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 150 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เบลเยียมในเดือนธันวาคม 2561 โดยในเดือนเมษายน 2562 ดร.มาณพ สิทธิเดช อัครราชทูตที่ปรีกษา ได้ประสานนำคณะผู้แทนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และสวทช. เข้าร่วมการประชุมและประสานความร่วมมือด้านการวิจัยการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agricultural Research and Biotechnology) ร่วมกับมหาวิทยาลัย Ghent ณ ประเทศเบลเยียม โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ สัตวแพทย์ รวมถึงการผลิต start-ups และ spin-off company ห้องปฏิบัติการจุลินทรีย์วิทยาเป็นส่วนหนึ่งของภาคชีวเคมีและจุลินทรีย์วิทยา (Department of Biochemistry and Microbiology) และมีทีมงานมาจากหลายสาชาวิชา เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ชีวเคมี คณิตศาสตร์ และชีวสารสนเทศ สำหรับการเก็บรวบรวมสายพันธุ์แบคทีเรีย โดยการหารือในโอกาสนี้นำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ด้านการวิจัยการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ในเดือนพฤษภาคม 2562 ระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และ Department of Biochemistry and Microbiology มหาวิทยาลัย Ghent ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านการวิจัยสองประเทศด้าน Bacterium’s Genome Sequencing และ Long-term Preservation of Bacteria ต่อไป

กฎหมาย GDPR กับ การพัฒนาเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล

ประเทศไทยมีการใช้สังคมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook LINE Twitter Instagram มากกว่าในประเทศอื่นๆ จนติดอันดับประเทศที่มีการใช้สังคมออนไลน์ที่สูงที่สุดในโลก โดยการใช้ แอพพลิเคชันต่างๆ ผ่านสังคมออนไลน์หรือการหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล เช่น Google Yahoo Bing หรือ search engine อื่นๆ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกด้วยผู้ให้บริการ โดยเฉพาะข้อมูลในส่วนของการใช้จ่ายหรือเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต อีกทั้งข้อมุลเหล่านั้นยังถูกนำไปใช้ประมวลผลโดยผู้เก็บข้อมูลและผู้ที่ซื้อข้อมูลจากผู้จัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคและการเลือกซื้อสินค้า ข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ Big Data ซึ่งถูกนำเอาไปทำการตลาดสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของส่วนบุคคลเหล่านี้ให้สนใจซื้อสินค้าและบริการ   

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เรียกว่า General Data Protection Regulation หรือ GDPR เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค ไม่ให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างง่ายดายเหมือนแต่ก่อน สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ก็คือ

– หน่วยงานควบคุมข้อมูลที่เจ้าของข้อมูลได้เข้ารับบริการ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งต้องกำหนดขอบเขต วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลที่ชัดเจน นอกจากนี้มีการกำหนดว่ารายละเอียดเงื่อนไขการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลต้องเข้าใจง่าย โดยกฎหมาย GDPR ระบุว่า คำขอความยินยอมอ่านแล้วเข้าใจง่าย ใช้ภาษาที่รวบรัด ชัดเจน อีกทั้งกำหนดว่าต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลว่าข้อมูลถูกใช้เอาไปทำอะไร วัตถุประสงค์ใด และ ต้องจำทำสำเนาให้กับเจ้าของข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยห้ามเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

– แต่ละประเทศในสหภาพยุโรปต้องให้การคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อข้อมูลที่อ่อนไหวเป็นพิเศษ เช่น ความคิดทางการเมือง ศาสนา ลัทธิ พฤติกรรม สุขภาพ พฤติกรรมทางเพศ การเป็นสมาชิกสหพันธ์ประวัตอาชญากรรม เป็นต้น

– การส่งข้อมูลไปต่างประเทศหรือบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ ผู้รับข้อมูลต้องมีการคุ้มครองข้อมูลโดยใช้มาตรฐานเดียวกันกับบริษัทในยุโรป

– หน่วยงานควบคุมข้อมูลต้องกำหนดขอบเขตระยะเวลาในการประมวลผล และมีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลอย่างรัดกุม

– หากพบว่าข้อมูลมีการรั่วไหล หน่วยงานควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลต้องแจ้งให้หน่วยงานกำกับดูแลและประชาชนทราบภายใน 72 ชั่วโมง

– หากพบว่าบริษัทหรือองค์ทำผิดกฎหมาย GDPR องค์กรนั้นๆ ต้องจ่ายค่าปรับร้อยละ 4 ของผลประกอบการรายได้ทั่วโลกทั้งหมด หรือกว่า 20 ล้านยูโร ตัวอย่างความผิดเช่น การได้ข้อมูลมาโดยเจ้าของข้อมูลไม่ได้ให้การยินยอม ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว กรณีของ Facebook โดยบทลงโทษนี้จะถูกบังคุบใช้กับหน่วยงานควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูล   

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับการพัฒนาเทคโนโลยี

การปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) การใช้อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ การรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฎหมาย GDPR ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการวางรากฐาน การเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล และก้าวสู่โลกที่ต้องเชื่อมต่อกันบนสังคมออนไลน์ตลอดเวลา ซึ่งจำเป็นต้องทำให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองจากการโจรกรรมข้อมูล และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆ ต้องทำ เพื่อ สร้างความมั่นใจว่าระบบและเทคโนโลยีขององค์กรถูกนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย   

กรณีตัวอย่างของเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากับกฎหมาย GDPR

การใช้ภายใต้กฎหมาย GDPR เช่น กรณีบริษัท Google จะต้องจ่ายค่าปรับถึง 50 ล้านยูโร สำหรับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผู้ควบคุมศูนย์ข้อมูลของฝรั่งเศส (The National Commission for Informatics and Liberties, CNIL) ได้กล่าวหาว่าบริษัท Google ขาดความโปร่งใส ข้อมูลไม่เพียงพอและขาดความยินยอมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนโฆษณา อีกตัวอย่างคือ กรณีพิพาทว่าด้วยเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition Technology, FRT) ที่ถูกใช้โดย Facebook หลังจากที่ Facebook ถูกฟ้องว่าใช้ข้อมูลใบหน้าของผู้ใช้ Facebook โดยไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้ใช้ก่อน โดยการที่ Facebook ได้ใช้ facetemplates ในการแนะนำให้แท็กบุคคลในรูป โดยไม่ต้องแจ้งให้ใครทราบ เทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะเก็บข้อมูลลักษณะใบหน้าของคน อยู่ภายใต้ข้อมูลไบโอเมตริก จัดเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว” (sensitive personal data) ตามคำนิยามของข้อมูลไบโอเมตริกใน กฎหมาย GDPR ซึ่งหมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดจากการประมวลผลทางเทคนิคเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพ สรีรวิทยา และพฤติกรรมของคนตามธรรมชาติ เช่น ภาพใบหน้า หรือลายนิ้วมือ ตามข้อกำหนดของกฎหมาย GDPR ได้แบ่งข้อมูลไบโอเมตริก ออกเป็น 2 ประเภท คือ

– ลักษณะทางกายภาพ : ลักษณะใบหน้า ลายนิ้วมือ ม่านตา น้ำหนัก ฯลฯ

– ลักษณะพฤติกรรม : นิสัย การกระทำ ลักษณะบุคลิก ท่าทางประหลาดๆ การเสพติด ฯลฯ   

การเปรียบเทียบระหว่างกฎหมาย GDPR ของสหภาพยุโรปและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย

หากพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย กับกฎหมาย GDPR ของสหภาพยุโรป แม้กฎหมายทั้ง 2 จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีบางส่วนที่แตกต่างกัน ในหลายเรื่องเช่น

1.การยกเลิกความยินยอมและการร้องขอโดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ลบ ทำลาย ระงับการใช้ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.กระทำได้ยากหรือมีเงื่อนไขมากกว่าของกฎหมาย GDPR

2. ในส่วนของข้อบังคับเกี่ยวกับข้อมูลสำคัญนั้นกฎหมาย GDPR มีการกำหนดเพิ่มเติมไว้ว่าข้อมูลประเภทนี้จะจัดเก็บได้หากข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวนี้เป็นข้อมูลที่เจ้าของข้อมูลได้ทำให้เป็นข้อมูลสาธารณะด้วยตนเอง หรือเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยการนำไปใช้ในงานวิจัยหรือจัดทำสถิติโดยไม่มีการระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล

3. ในส่วนของโทษทางแพ่งและทางอาญาเมื่อเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หรือกระทำผิดตามพ.ร.บ. พบว่า พ.ร.บ. ของไทย มีการกำหนดโทษจำคุกและค่าปรับ ไว้ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าปรับที่กำหนดไว้ในกฎหมาย GDPR

4. ขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมาย สำหรับร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ บังคับใช้แก่การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลนั้นอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักร และผลแห่งการกระทำเกิดหรือเล็งเห็นว่าจะมีผลเกิดในประเทศไทยเท่านั้น ในขณะที่กฎหมาย GDPR มีผลบังคับใช้กับการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่อาศัยในทุกประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ไม่สนใจว่าเจ้าของข้อมูลนั้นจะเป็นพลเมืองของประเทศใด ดังนั้น ธุรกิจดิจิทัลที่ทำธุรกรรมออนไลน์กับลูกค้าหรือหุ้นส่วนในไทยและยุโรป หรือสถาบันวิจัย ที่มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้ ผู้รวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนตัวของคนที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยและในสหภาพยุโรป จำเป็นต้องเรียนรู้กฎหมายทั้ง 2 นี้และปฏิบัติตามเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎหมาย ซึ่งมีการกำหนการรับผิดทางแพ่งและกำหนดโทษทางอาญาและทางปกครอง

การจัดการกับปัญหาการลักลอบซื้อขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างผิดกฎหมาย   

ปัญหา

การลักลอบซื้อขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างผิดกฎหมายได้ทำลายความน่าเชื่อถือของระบบการจดทะเบียนขึ้นสินค้าของภาครัฐ รวมไปถึงก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจในความสามารถของภาครัฐในการป้องกันผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จากการได้รับอันตรายจากสินค้าที่ผิดกฎหมายและไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือรับรองจากภาครัฐ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อตลาดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพราะสินค้าที่ถูกกฎหมายได้ถูกทดแทนด้วยสินค้าอันตรายที่มีราคาถูก นอกจากนี้ การลักลอบซื้อขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างผิดกฎหมายยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ใช้สินค้าความปลอดภัยในห่วงโซ่การผลิตอาหาร และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งเห็นได้จากปัญหาทางสุขภาพและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการสัมผัสกับสารตกค้างอันตราย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร และทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงเป็นผลต่อเนื่องกันมา   

แนวทางแก้ปัญหา

ในการจัดการปัญหาการลักลอบซื้อขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างผิดกฎหมาย องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development, OECD) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้จัดทำข้อเสนอแนะและแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อส่งเสริมการร่วมมือกันระหว่างประเทศ และระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการตรวจจับและป้องกันการลักลอบซื้อขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งรายละเอียดของข้อเสนอแนะสำหรับแต่ละภาคส่วนสามารถสรุปได้ดังนี้

โรงงานผลิตและโรงจัดเก็บสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

– หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศควรจะต้องมีการจัดทำและอัพเดทรายการโรงงานผลิตและโรงจัดเก็บสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้เข้าไปตรวจสอบโรงงานเหล่านี้ได้

– สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกผลิตเพื่อซื้อขายและใช้ภายในประเทศจำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนกับภาครัฐและมีการแปะฉลากที่ถูกกฎหมายบนผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน

– โรงงานที่ผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต้องมีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลการผลิตและการจัดเก็บของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ซึ่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับการจัดเก็บ ได้แก่ ชื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประเทศปลายทางที่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะถูกใช้ วันที่ในการผลิต ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตสารออกฤทธิ์ที่ใช้ในสารเคมีกำจัดศัตรูพืช วันที่ที่ได้รับสารออกฤทธิ์เข้าสู่โรงงาน หมายเลขชุดการผลิต ประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ และวันที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

ผู้ตรวจสอบ

– ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบต้องมีความรู้ในเรื่องข้อกำหนดในการจัดเก็บและการบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

– ควรมีการจัดสร้างความร่วมมือของผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบระหว่างประเทศ เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญ

ผู้ส่งออก

– หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศควรจะต้องมีการจัดทำและอัพเดทรายชื่อผู้ส่งออกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศนั้นๆ

– ผู้ส่งออกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลอย่างละเอียดของผลิตภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกส่งออกเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ได้แก่ ชื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารออกฤทธิ์ ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออก ชื่อและที่อยู่ของผู้รับสินค้า วันที่ส่งออก วันที่รับมอบสินค้า และจำนวนสินค้าที่ถูกส่งออก

– ในการตรวจสอบการส่งออกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมาย หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศนั้นๆ ควรมีการจัดทำระบบตรวจสอบของสินค้า เช่น การตรวจสอบใบอนุญาตการส่งออก เมื่อสินค้าเดินทางสู่ประเทศปลายทาง

การขนส่ง

– เจ้าหน้าที่ ณ ประเทศปลายทางต้องตรวจสอบข้อมูลสินค้าก่อนสินค้าจะเดินทางมาถึงปลายทาง หากพบว่าสินค้าที่กำลังถูกนำเข้ามีความน่าสงสัย เจ้าหน้าที่จะต้องทำการควบคุมและดำเนินการตรวจสอบเมื่อสินค้าเข้ามายังประเทศปลายทางทันที โดยผู้ส่งออกต้องแจ้งข้อมูลให้แก่ประเทศที่นำเข้าสินค้าทราบล่วงหน้า ใบเสร็จ ใบอนุญาตในการส่งออก เอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมี รายการบรรจุภัณฑ์ และข้อมูลสินค้าที่ส่งออก

ผู้นำเข้า

– หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศจะต้องมีการจัดทำและอัพเดทรายชื่อผู้นำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศนั้นๆ เพื่อที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้สามารถระบุชนิดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่นำเข้าในแต่ละช่วงเวลา และเข้าไปตรวจสอบผู้นำเข้าได้ รวมไปถึงการตรวจสอบสินค้าที่ถูกนำเข้าในแต่ละชุดได้ด้วย

– ผู้นำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต้องจัดเก็บข้อมูลอย่างละเอียดของผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 5 ปี ได้แก่ ชื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารออกฤทธิ์ ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า ชื่อและที่อยู่ของผู้ที่จดส่งสินค้า วันที่นำเข้า วันรับมอบสินค้า และจำนวนสินค้าที่นำเข้า

– ในการตรวจสอบการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมาย หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศนั้นๆ ควรมีการจัดทำระบบตรวจสอบของสินค้า เช่น การตรวจสอบใบอนุญาตการส่งนำเข้า

ผู้จัดจำหน่าย หรือกระจายสินค้า (ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก)

– หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศจะต้องมีการจัดทำอัพเดทรายชื่อผู้จัดจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศนั้นๆ เพื่อที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้สามารถระบุชนิดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกจัดจำหน่ายในแต่ละช่วงเวลา และเข้าไปตรวจสอบผู้จัดจำหน่ายเหล่านี้ได้

– ผู้จัดจำหน่ายต้องจัดเก็บข้อมูลอย่างละเอียดของสารเคมีระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ได้แก่ ชื่อสารเคมี สารออกฤทธิ์ ชื่อและที่อยู่ของผู้จัดจำหน่ายและผู้ซื้อ วันที่ซื้อ วันที่รับมอบสินค้า

– ในการตรวจสอบการจัดจำหน่ายสารเคมีผิดกฎหมาย ควรมีการจัดทำระบบการขึ้นทะเบียนและตรวจสอบของสินค้า เช่น ตรวจสอบใบอนุญาตของการจัดจำหน่าย

บรรจุภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

– หลังการใช้สารเคมีแล้วควรจะต้องล้างบรรจุภัณฑ์ด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 3 ครั้ง และทำการเจาะรูบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการนำไปใช้อย่างผิดกฎหมาย   

การจัดการกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมาย

เมื่อตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมายหรือหมดอายุต้องมีการกำจัดทิ้งอย่างทันที โดยมีการจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ ที่กำจัดที่เหมาะสม   

การจัดการกับปัญหาการลักลอบซื้อขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมา มีการลักลอบนำเข้าสารเคมีข้ามชายแดนมาขาย รวมทั้งการนำสารที่ถูกระงับการใช้แล้วมาวางขายในท้องตลาดอย่างผิดกฎหมาย โดยระบุว่าสารเคมีเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้เอง และทำให้ดินได้รับความเสียหายเป็นวงกว้างไม่สามารถเพาะปลูกได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีแผนป้องกันการลักลอบซื้อขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างผิดกฎหมายโดยออกกฎให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการนำเข้า ส่งออกและจัดจำหน่ายในประเทศ

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191112-newsletter-brussels-no4-april62.pdf

แนวโน้มผู้บริโภคทั่วโลก ปี 2030 (ตอนที่ 1)

มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 จะมีประชากรทั่วโลกสูงถึง 8.5 หมื่นล้านคน โดยจะเป็นผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป) ประมาณ 1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 12% ของประชากรทั้งหมด 

Gabrielle Lieberman, Director of Trends and Social Media Research บริษัท Mintel ได้เสนอ 7 ปัจจัยขับเคลื่อนพฤติกรรมผู้บริโภคในอีก 10 ปีข้างหน้า เพื่อนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดย 7 ปัจจัยที่ว่า ได้แก่

  1. คุณภาพชีวิต
  2. สิ่งแวดล้อม
  3. เทคโนโลยี
  4. สิทธิ
  5. เอกลักษณ์
  6. คุณค่า และ
  7. ประสบการณ์

โดยบทความในตอนนี้จะขอนำเสนอ 3 ปัจจัยแรกก่อน ได้แก่ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยี

คุณภาพชีวิต

แม้ว่าการดูดีจะมีความสำคัญต่อผู้บริโภคจำนวนมาก แต่การพิจารณาถึงประโยชน์ทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ในระยะยาวกำลังได้รับความสำคัญเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค ผู้บริโภคจำนวนมากกำลังมองหาวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม โดยคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า ระบบอัตโนมัติจะมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นและสร้างโอกาสสำหรับรูปแบบการทำงานที่ดีต่อสุขภาพ อากาศและน้ำจะกลายเป็นจุดขาย มีการเติบโตของระบบกรองมลพิษภายในบ้านเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวอย่างมีสติและการทำสมาธิจะมีความสำคัญเท่ากับสมรรถภาพทางกาย

สิ่งที่คาดหวังในปี 2030 ได้แก่

  • การพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็กเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามในร่างกาย
  • อากาศสะอาดเป็นจุดขายสำหรับผู้ค้าปลีก บนถนน สถานที่ และอาคารสาธารณะ
  • การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ จะทำให้เกิดวิธีการใหม่ๆ ในชุมชน ด้วยการแบ่งปันสิ่งอำนวยความสะดวก และทรัพยากรกลายเป็นสิ่งจำเป็น
  • การเป็นเจ้าของยานพาหนะลดลงเนื่องจากพื้นที่ทางกายภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของมลพิษทางอากาศกลายเป็นสิ่งสำคัญ

กลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2030

  • การทำความเข้าใจกับความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคลคือสิ่งสำคัญเนื่องจากผู้คนต่างต้องการหาวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะ
  • การทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญ แบรนด์ที่ทำหน้าที่เป็นพันธมิตรกับผู้บริโภคจะประสบความสำเร็จ โดยทำให้ผู้บริโภคมีพลังในการตัดสินใจ แบรนด์ต้องเสนอข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องการในเวลาที่ต้องการ และการให้คำแนะนำ
  • การใช้ประโยชน์พื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้บริโภค

สภาพแวดล้อม

ปัจจุบันผู้คนกำลังทบทวนเกี่ยวกับชุมชน การออกแบบและใช้สอยพื้นที่ในเมือง และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ทำให้ผู้คนมองถึงการสร้างพื้นที่สีเขียวมากขึ้น การแบ่งปันพื้นที่นั่งเล่น ทำงาน เรียนรู้ และพักผ่อนกำลังสร้าง องค์กรชุมชนแกนหลัก (Community-based Organization) และ เทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีขึ้นและราคาไม่แพงมากช่วยให้สภาพการทำงานของผู้คนมีความยืดหยุ่น โดยคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า หากผู้คนไม่ลดปริมาณการบริโภค ขยะและการใช้พลังงาน พื้นที่ในเมืองก็จะกลายเป็นมลพิษมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ด้วยผู้คนจำนวนมากที่อัดแน่นในพื้นที่ที่ลดน้อยลง ความตึงเครียดทางสังคมจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการแข่งขันเพื่อเพิ่มทรัพยากร เกิดการแบ่งชนชั้นทางสังคมมากขึ้นและความล้มเหลวในการจัดการกับความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการวางผังเมืองที่ดี

สิ่งที่คาดหวังในปี 2030 ได้แก่

  • ผู้ประกอบการจะสร้างความมั่งคั่งใหม่ในระดับรากหญ้าในท้องถิ่น
  • จริยธรรมทางการเมือง สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเศรษฐกิจ เป็นตัวขับเคลื่อนทิศทางของนวัตกรรม ขณะที่ผู้คนเรียนรู้ที่จะรับมือกับสภาพภูมิอากาศแบบใหม่
  • บ้านสำเร็จรูป ที่เคลื่อนที่ได้ และมีขนาดเล็ก สามารถซื้อหรือเช่า เพื่อการอยู่อาศัยที่มีความยืดหยุ่น
  • พื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้นเนื่องจากถนนมีขนาดเล็กผู้คนเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น
  • พื้นที่ในท้องถิ่น พื้นที่ธุรกิจขนาดเล็ก พื้นที่ทางการเกษตรแบบแบ่งปัน จะถูกส่งเสริม
  • กลุ่มผลประโยชน์ที่มีใจเดียวกันก่อตัวขึ้นทั่วโลกผ่านทางอินเทอร์เน็ต
  • การปรับปรุงพื้นที่ทั้งในชนบทและในเมืองยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2030

  • แบรนด์ที่เติบโตขึ้นในปี 2030 จะเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการทำงานร่วมกันในผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
  • ผู้บริโภคจะต้องการสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตในท้องถิ่นที่ดีขึ้นและโอกาสในการพัฒนาทักษะและความคิด แบรนด์ที่จะเติบโตในปี 2030 จะลงทุนในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวมากกว่าผลกำไรในระยะสั้น โดยเชื่อมต่อกับชุมชนและทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีประสิทธิภาพที่พวกเขาต้องการ
  • ผู้คนจะต้องการสร้างสมดุลระหว่างการทำงาน การเรียนรู้ การเลี้ยงดูครอบครัว และพักผ่อนอย่างยืดหยุ่น แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในปี 2030 จะเป็นแบรนด์ที่สร้างวิธีการทำงานและการขายใหม่ๆ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกัน สร้างสรรค์ และสื่อสารกับชุมชนที่พวกเขาให้บริการ

เทคโนโลยี

ภายในปี 2030 คาดการณ์ว่าเทคโนโลยี 5G จะเชื่อมโยงอุปกรณ์ 125 พันล้านเครื่อง เทคโนโลยีมือถือจะทำให้เส้นแบ่งระหว่างเวลา การเดินทาง และสถานที่สำหรับการทำงาน การเรียนรู้ และการพักผ่อนจางลง สิ่งนี้จะรวมองค์ประกอบต่างๆ ของความเป็นจริงเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR) และ ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality หรือ AR) เข้ากับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นการท่องเที่ยวและความบันเทิง นอกจากนี้ virtual e-sports จะเป็นคู่ต่อสู้ของ physical sports

การออกแบบในเมืองจะถูกขับเคลื่อนโดยระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยใช้ยานพาหนะอัตโนมัติสำหรับการเชื่อมต่อระยะทางไกล มีการพัฒนา App เพื่อการตั้งค่าการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน และเฟอร์นิเจอร์อัจฉริยะจะช่วยให้ผู้คนสามารถสร้างการตั้งที่ชื่นชอบได้ทุกที่เพื่อให้เหมาะกับอารมณ์ ความสะดวกสบาย และนิสัยการบริโภคสื่อของแต่ละบุคคล

บริการที่ผสานกันระหว่างโลกดิจิทัลและโลกแห่งความเป็นจริงเข้าด้วยกันจะเหนือกว่าการค้าปลีกปกติ เนื่องจากธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์และร้านค้าที่ไม่มีคนควบคุมเต็มรูปแบบ มีการเรียกร้องข้อมูลส่วนบุคคล และมองหาการปฏิสัมพัธ์ระหว่างมนุษย์มากขึ้น

ปัจจุบัน หากแนวทางการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศได้ผล จะช่วยกระตุ้นกิจกรรมในด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจร่วมกันทั่วโลก โดยได้รับความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็วมากขึ้น สิ่งนี้จะขยายไปสู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ ช่วยกระจายความคิดและนวัตกรรม และทำให้เศรษฐกิจมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้คนจะได้รับความสนใจน้อยลงจากการจ้างงานแบบตายตัวและต้องการโอกาสการทำงานที่เป็นอิสระและที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานลักษณะดังกล่าว

โดยคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือกิจกรรมหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศไม่ได้รับแรงกระตุ้นเพียงพอ ส่งผลให้ผู้คนต้องการเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดผลกระทบและช่วยให้ตนมีชีวิตอยู่กับผลที่ตามมาได้ ทั้งนี้หนึ่งในผลที่ตามมาคือการลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น คาดว่าจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบของการย้ายถิ่นและการพลัดถิ่น 

สิ่งที่คาดหวังในปี 2030 ได้แก่

  • เมืองที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการขนส่งแบบอิสระพร้อมด้วยคุณสมบัติ AR ในตัว
  • Media-stream brands
  • Nanobots ทางหลอดเลือดดำ ที่ตรวจสอบการทำงานของร่างกายและความแข็งแรงอย่างต่อเนื่อง
  • App การตั้งค่าภายในบ้าน 
  • เทคโนโลยี 5G ทำให้เส้นแบ่งระหว่างการทำงาน การเรียนรู้ การพักผ่อน และเวลาเดินทางจางลง
  • เทคโนโลยี VR และ AR เป็นบรรทัดฐานสำหรับการท่องเที่ยวและความบันเทิง
  • บริการค้าปลีกออนไลน์สู่ออฟไลน์ (O2O) ที่ไร้รอยต่อ ซึ่ง O2O คือ การตลาดดิจิทัลเพื่ออธิบายระบบที่ชักจูงผู้บริโภคในสภาพแวดล้อมดิจิทัลเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากธุรกิจทางกายภาพหรือออฟไลน์ 
  • เทคโนโลยี 5G ทำให้ virtual esports แซงหน้า physical sports ในความนิยม

กลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2030

  • แบรนด์ที่เติบโตขึ้นในปี 2030 จะเป็นแบรนด์ที่คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจะนำมาซึ่งความคาดหวังและพฤติกรรมของผู้บริโภค
  • ความคาดหวังและพฤติกรรมของผู้บริโภคจะได้รับการแจ้งที่ดีขึ้นและเรียกร้องมากขึ้น แบรนด์ที่จะเฟื่องฟูในปี 2030 จะไม่รอให้ผู้บริโภคเรียกร้องมากขึ้น แต่แบรนด์ดังกล่าวจะคิดค้นเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่า
  • การเปลี่ยนแปลงจะถูกนำไปใช้กับวิธีการทำงาน การเรียนรู้ และการพักผ่อนของผู้บริโภค โดยแบรนด์ที่เติบโตขึ้นในปี 2030 จะเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีความยืดหยุ่นในการผสมผสานระหว่างแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ยังมีอีก 4 ปัจจัยขับเคลื่อนพฤติกรรมผู้บริโภคในอีก 10 ปีข้างหน้า ติดตามอ่านได้ในบทความตอนที่ 2

อ้างอิง

Lieberman, G. (2019). 2030 Global Consumer Trends : Seven core drivers of consumer behaviour that will shape global markets over the next 10 years [presentation].

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ประจำปี 2562 โดย IMD (2019 IMD World Digital Competitiveness Ranking)

ในปี 2562 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ไว้ที่ IMD WORLD DIGITAL COMPETITIVENESS RANKING 2019 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2561-2562 โดย IMD

ประเทศ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ สวีเดน เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ไทย
ปี 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561
อันดับรวม 1 1 2 2 3 3 4 4 5 5 40 39
1. ความรู้ 1 4 3 1 4 7 6 8 2 6 43 44
1.1 ความสามารถพิเศษ 14 11 1 1 8 10 6 6 2 2 40 42
1.2 การฝึกอบรมและการศึกษา 25 21 4 1 2 5 6 3 15 15 50 44
1.3 ความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ 1 1 22 19 3 3 17 14 7 6 35 45
2. เทคโนโลยี 5 3 1 1 7 5 11 10 10 9 27 28
2.1 โครงสร้างการควบคุม 19 16 2 2 5 12 10 8 14 15 33 34
2.2 เงินทุน 1 1 8 8 4 10 27 22 16 15 21 28
2.3 โครงสร้างเทคโนโลยี 11 9 1 1 12 7 8 5 9 8 29 23
3. ความพร้อมในอนาคต 1 2 11 15 6 5 2 1 10 10 50 49
3.1 ทัศนคติที่ปรับตัวได้ 2 1 19 20 8 9 1 5 11 12 58 55
3.2 ความคล่องตัวทางธุรกิจ 2 9 6 18 13 10 10 6 14 7 30 34
3.3 การรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 8 4 3 12 11 1 5 7 16 51 55

สหรัฐอเมริกา, สิงคโปร์, สวีเดน, เดนมาร์ก และสวิตเซอร์แลนด์ ยังคงครองอันดับรวมที่ 1 ถึง 5 ไว้เหมือนกับปีที่แล้ว (2561)  ตามลำดับ ซึ่งตรงข้ามกับไทยที่ในปีนี้ (2562) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 40 ซึ่งเลื่อนลงมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว

ปัจจัยที่ทำให้สหรัฐอเมริกายังคงรักษาอันดับ 1 ได้อย่างเดิม มาจากการพัฒนาด้านความรู้ที่ได้อันดับ 1 ในปีนี้เลื่อนขึ้นมาถึง 3 อันดับ และด้านความพร้อมในอนาคตที่ได้อันดับ 1 ในปีนี้ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 2 ส่วนด้านเทคโนโลยีมีอันดับเลื่อนลง 2 อันดับ ได้อันดับ 5 ในปีนี้ การพัฒนาด้านความรู้ของสหรัฐอเมริกาที่ดีขึ้นเกิดจากปัจจัยย่อยคือ การยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ของความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ถึงแม้ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา และความสามารถพิเศษจะมีอันดับเลื่อนลงกว่าปีก่อน 4 อันดับ และ 3 อันดับ ตามลำดับ ปีนี้ได้อันดับ 25 และ 14 ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่ส่งผลให้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ยังคงรักษาอันดับ 1 ได้คือ รายจ่ายทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนา ผลิตผลทางการวิจัยและพัฒนาในรูปของสิ่งพิมพ์เผยแพร่ การจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การให้ทุนสิทธิบัตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และการศึกษาวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่เพิ่งมีในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาคือ การฝึกหัดพนักงาน ตัวชี้วัดประสบการณ์ระหว่างประเทศ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ส่งผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ ส่วนการพัฒนาด้านความพร้อมในอนาคตที่เลื่อนขึ้นมา 1 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ เกิดจากปัจจัยย่อยคือ ความคล่องตัวทางธุรกิจ และการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 7 และ 3 อันดับ ตามลำดับ เป็นอันดับ 2 และ 5 ตามลำดับในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของความคล่องตัวทางธุรกิจคือ โอกาสและอุปสรรค และการกระจายทั่วโลกของหุ่นยนต์ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่เพิ่งมีในปีนี้ ส่วนตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ส่วนปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่มีอันดับเลื่อนลงเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม และโครงสร้างเทคโนโลยีจากอันดับ 16 และ 9 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 19 และ 11 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของโครงสร้างการควบคุมคือ กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำสุดทั้งในปีนี้และปีที่แล้วคือ ได้อันดับ 60 ในปีนี้ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 54 และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ในขณะที่ตัวชี้วัดที่มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของโครงสร้างเทคโนโลยีคือ ผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ และการส่งออกสินค้าไฮเทค

การเลื่อนอันดับลง 2 อันดับจากอันดับ 1 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 3 ในปีนี้ของปัจจัยความรู้ และการเลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ ในปีนี้มีอันดับ 11 ของปัจจัยความพร้อมในอนาคต ในขณะที่ปัจจัยเทคโนโลยียังคงรักษาอันดับ 1 ไว้เหมือนเดิม ทำให้สิงคโปร์สามารถรักษาอันดับรวมไว้ที่อันดับ 2 เหมือนปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา และปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ จากอันดับ 1 และ 19 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 4 และ 22 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาคือ การฝึกหัดพนักงาน และจำนวนเฉลี่ยของนักศึกษาต่ออาจารย์ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ตัวชี้วัดรายจ่ายทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนา และการศึกษาวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับหุ่นยนต์มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความพร้อมในอนาคตโดยหลักเกิดจากปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 12 อันดับ เป็นอันดับ 6 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับขึ้นมากของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจคือ ตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรคที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 13 อันดับ จากอันดับ 22 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 9 ในปีนี้ ตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัทที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 19 อันดับ จากอันดับ 26 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 7 ในปีนี้ และตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 6 อันดับ ได้อันดับ 15 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม เงินทุน และโครงสร้างเทคโนโลยียังคงรักษาอันดับไว้เหมือนเดิมที่อันดับ 2, 8 และ 1 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยเทคโนโลยียังคงอยู่ที่อันดับ 1 เท่าเดิม

การยังคงอันดับรวมที่อันดับ 3 ในปีนี้เหมือนปีที่แล้วของสวีเดน เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้ที่เลื่อนจากอันดับ 7 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 4 ในปีนี้ และการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยความพร้อมในอนาคต 2 และ 1 อันดับ มีอันดับ 7 และ 6 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยความรู้เลื่อนอันดับขึ้นคือ ความสามารถพิเศษ และการฝึกอบรมและการศึกษาที่เลื่อนขึ้น 2 และ 3 อันดับ เป็นอันดับ 8 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดประสบการณ์ระหว่างประเทศและตัวชี้วัดทักษะทางด้านเทคโนโลยีหรือดิจิทัลมีผลทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ ส่วนตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาคือ ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยหลักที่ส่งผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยเทคโนโลยีคือ โครงสร้างเทคโนโลยีที่เลื่อนลง 5 อันดับ มีอันดับ 7 ในปีที่แล้ว ส่วนในปีนี้มีอันดับ 12 ตัวชี้วัดที่มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีคือ ผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 10 อันดับ ได้อันดับ 32 ในปีนี้ ในขณะที่การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความพร้อมในอนาคตเนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของ 2 ปัจจัยย่อยได้แก่ ความคล่องตัวทางธุรกิจ และการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ได้อันดับ 10 และ 11 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 13 และ 12 ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจเลื่อนอันดับลงคือ ความคล่องตัวของบริษัท ส่วนตัวชี้วัดที่สำคัญที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศได้แก่ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 10 อันดับ จากอันดับ 26 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 36 ในปีนี้

เดนมาร์กมีอันดับรวมจัดอยู่ในอันดับ 4 เหมือนปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้จากอันดับ 8 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 6 ในปีนี้ และการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยเทคโนโลยีและความพร้อมในอนาคตจากอันดับ 10 และ 1 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 11 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการปรับอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้คือ ความสามารถพิเศษที่ยังคงรักษาอันดับ 6 ไว้เหมือนเดิม ถึงแม้อีก 2 ปัจจัยย่อยได้แก่ การฝึกอบรมและการศึกษา และความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ มีการเลื่อนอันดับลงจากอันดับ 3 และ 14 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 6 และ 17 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลทำให้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษยังคงรักษาอันดับไว้เหมือนเดิมคือ การประเมินนักเรียนนานาชาติขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) วิชาคณิตศาสตร์ และตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศที่ยังคงรักษาอันดับ 11 และ 6 ไว้เหมือนเดิม ตามลำดับ ส่วนการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยเทคโนโลยีเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของทั้ง 3 ปัจจัยย่อยได้แก่ โครงสร้างการควบคุม เงินทุน และโครงสร้างเทคโนโลยี เลื่อนอันดับลง 2, 5 และ 3 อันดับ ได้อันดับ 10, 27 และ 8 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุมคือ การเริ่มต้นธุรกิจ และตัวชี้วัดการพัฒนาและโปรแกรมใช้งานของเทคโนโลยี ส่วนตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยเงินทุนได้แก่ การให้ทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี และการบริการทางการเงินและธนาคาร ในขณะที่การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีส่งผลอย่างมากมาจากการเลื่อนอันดับลงของตัวชี้วัดการส่งออกสินค้าไฮเทคถึง 13 อันดับ มีอันดับ 33 ในปีนี้ ปัจจัยความพร้อมในอนาคตเลื่อนอันดับลงเนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจเป็นหลัก โดยเลื่อนอันดับลง 4 อันดับ จัดอยู่ในอันดับ 10 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจได้แก่ การใช้ big data และ analytics ที่เลื่อนอันดับลงถึง 10 อันดับ มีอันดับ 17 ในปีนี้

สวิตเซอร์แลนด์มีอันดับรวมจัดอยู่ในอันดับ 5 ในปีนี้ ซึ่งรักษาอันดับไว้เหมือนเดิมกับปีที่แล้ว เนื่องจากการยังคงรักษาอันดับ 10 ไว้เหมือนเดิมของปัจจัยความพร้อมในอนาคต และการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้ 4 อันดับ จัดอยู่ในอันดับ 2 ในปีนี้ ในขณะที่ปัจจัยเทคโนโลยีเลื่อนอันดับลง 1 อันดับ มีอันดับ 10 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการยังคงรักษาอันดับเดิมไว้ได้ของปัจจัยความพร้อมในอนาคตคือ ทัศนคติที่ปรับตัวได้ และการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เลื่อนอันดับขึ้น 1 และ 9 อันดับ เป็นอันดับ 11 และ 7 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจเลื่อนอันดับลง 7 อันดับ มีอันดับ 14 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลมากต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้คือ การมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ เลื่อนอันดับขึ้นถึง 14 อันดับ จากอันดับ 51 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 37 ในปีนี้ ส่วนตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศได้แก่ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 12 อันดับ จากอันดับ 27 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 15 ในปีนี้ ในขณะที่ตัวชี้วัดทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจคือ การใช้ big data และ analytics เลื่อนอันดับลง 5 อันดับ จัดอยู่ในอันดับ 29 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้เกิดจากการยังคงรักษาอันดับ 2 และ 15 ไว้ได้อย่างเดิมของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ และปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา ตามลำดับ ถึงแม้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์จะเลื่อนอันดับลง 1 อันดับ มีอันดับ 7 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการยังคงรักษาอันดับไว้ได้เหมือนเดิมของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษคือ การยังคงรักษาอันดับเดิมไว้ได้ของตัวชี้วัดการประเมินนักเรียนนานาชาติขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) วิชาคณิตศาสตร์  ตัวชี้วัดประสบการณ์ระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดบุคลากรที่มีทักษะสูงเรื่องต่างประเทศ ตัวชี้วัดการจัดการเมือง และตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการยังคงรักษาอันดับเดิมได้ของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาได้แก่ ความสำเร็จของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ปัจจัยเทคโนโลยีเลื่อนอันดับลงเนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยเงินทุน และโครงสร้างเทคโนโลยีจากอันดับ 15 และ 8 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 16 และ 9 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่สำคัญทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีได้แก่ ผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ และบรอดแบนด์ไร้สาย

ปีนี้ไทยได้อันดับ 40 ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ปีที่แล้วได้อันดับ 39 เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความพร้อมในอนาคต 1 อันดับ จากปีที่แล้วมีอันดับ 49 เป็นอันดับ 50 ในปีนี้ ส่วนอีก 2 ปัจจัยคือ ความรู้ และเทคโนโลยี มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 44 และ 28 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 43 และ 27 ในปีนี้ ตามลำดับ ดังนั้นประเทศยังคงต้องพัฒนาด้านความพร้อมในอนาคตและด้านความรู้เนื่องจากยังคงมีอันดับที่ต่ำมากในปีนี้ และทั้งสองปัจจัยเป็นเหตุดึงรั้งให้ไทยจัดอยู่ในอันดับ 40 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากซึ่งมีทั้งอันดับต่ำในปีนี้และมีการเลื่อนอันดับลงคือ การฝึกอบรมและการศึกษา อยู่ภายใต้ปัจจัยความรู้ และทัศนคติที่ปรับตัวได้ อยู่ภายใต้ปัจจัยความพร้อมในอนาคต เลื่อนอันดับลงจากอันดับ 44 และ 55 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 50 และ 58 ปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้มีอันดับต่ำสุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดในปีนี้  ตัวชี้วัดที่มีผลต่อปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาคือ รายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษามีอันดับ 45 ในปีที่แล้ว ส่วนในปีนี้มีอันดับ 51 และตัวชี้วัดจำนวนเฉลี่ยของนักศึกษาต่ออาจารย์ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเลื่อนอันดับลงจากอันดับ 51 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 57 ในปีนี้ ส่วนตัวชี้วัดที่มีผลต่อปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้คือ การมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต และการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต ที่เลื่อนอันดับลง 8, 3 และ 1 อันดับ จากอันดับ 48, 51 และ 58 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 56, 54 และ 59 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ตมีอันดับต่ำสุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีนี้ ถึงแม้ปัจจัยเทคโนโลยีมีอันดับเลื่อนขึ้นและจัดอยู่ในอันดับ 27 ในปีนี้ แต่มีตัวชี้วัดภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีที่ต้องพัฒนาอย่างมากคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ยังคงรักษาอันดับ 54 ไว้เหมือนปีที่แล้ว ส่วนตัวชี้วัดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมากพบอยู่ในทั้ง 3 ปัจจัยได้แก่ 1. รายจ่ายทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนาเลื่อนขึ้น 8 อันดับจากอันดับ 45 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 37 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยความรู้  2. เทคโนโลยีการสื่อสารเลื่อนขึ้น 14 อันดับจากอันดับ 37 ในปีที่แล้วส่วนปีนี้ได้อันดับ 23 ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ปัจจัยเทคโนโลยี 3. ภายใต้ปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต ตัวชี้วัดความปลอดภัยทางไซเบอร์เลื่อนขึ้น 8 อันดับจากอันดับ 38 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 30 ในปีนี้ ในขณะที่ตัวชี้วัดที่มีอันดับที่ดีมากในปีนี้ได้แก่ 1. นักวิจัยผู้หญิงที่ยังคงครองอันดับที่ดีที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดโดยได้อันดับ 3 ในปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยความรู้  2. ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้มีอันดับ 4 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ปัจจัยเทคโนโลยี  3. การบริการทางการเงินและธนาคารจัดอยู่ในอันดับ 7 ในปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยเงินทุน ปัจจัยเทคโนโลยี  4. ตัวชี้วัดการส่งออกสินค้าไฮเทคได้อันดับ 9 ในปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ปัจจัยเทคโนโลยี  5. ตัวชี้วัดการกระจายทั่วโลกของหุ่นยนต์มีอันดับ 10 ในปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต

คงเป็นข่าวดีของสหรัฐอเมริกาที่ยังคงรักษาอันดับรวมที่อันดับ 1 ไว้ได้ แต่สำหรับไทยคงต้องหันมาสนใจพัฒนาหลายตัวชี้วัดดังที่กล่าวมาแล้วให้มาก เนื่องจากในปีนี้ไทยมีอันดับลดลง 1 อันดับเป็นอันดับ 40 ซึ่งเป็นอันดับที่ค่อนไปทางไม่ดี เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับเลื่อนขึ้นมาก