กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework) (DGA)

ข้อมูลจัดเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐจึงได้ให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาใช้สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน แต่ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐยังประสบกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาเชิงนโยบายและปฏิบัติ ทั้งในเรื่อง ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้หน่วยงานมีมาตรการและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการและกำกับดูแลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กรอบการกำกับดูแลข้อมูลจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ นำไปปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะเฉพาะของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้สามารถปรับตัวตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.dga.or.th/th/profile/2108/

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ DGA Contact Center โทร : 0 2612 6060 หรือ อีเมล : contact@dga.or.th

ทำความเข้าใจ Data Governance Framework กันได้ง่ายๆ ใน 6 หน้า
https://www.dga.or.th/th/content/920/12692/

Continue reading “กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework) (DGA)”

10 ช่องเรียนรู้สุด Wow กับผู้สร้างสรรค์ยูทูปเพื่อการศึกษาอย่างไม่รู้จบ สำหรับเด็กและทุกเพศทุกวัย

การอยากรู้ อยากถาม  เป็นหนึ่งของทักษะพื้นฐานสำหรับ เด็กที่มีพรสวรรค์หรือมีความฉลาด แต่การถามเหล่านั้นบางครั้งผู้ใหญ่อย่างเราก็หมดความรู้ที่จะตอบ  หากคุณมีลูก ๆ หลาน ๆ ที่มีความสนใจในเรื่องรอบตัวแล้วเจอปัญหาหมดความรู้ตอบเด็กๆ เหมือนที่กล่าว  เรามีตัวช่วยครับ วันนี้มีบทความจากเว็บไซต์  https://www.notsoformulaic.com  เขียนโดยคุณ Ginny Kochis เธอได้สรุป 100 Educational YouTube Channels for Curious, Creative, Gifted Kids โดยเธอได้รวบรวมเว็บไซต์ของผู้สร้างสรรค์ใน youtube ที่แปลงเอาเรื่องราวรอบตัว มาเป็นเรื่องนำเสนอสั้นๆ ในแต่ละช่องแตกต่างกันไป บางช่องเป็นการ์ตูน, ร้องเพลง, ทำสไลด์ง่าย ๆ ไปจนถึงยากจนน่าทึ่ง บางช่องมีผู้ดำเนินรายการ ที่สำคัญ เธอยังแบ่งการเรียนรู้เป็น category ไว้ให้ได้ศึกษาค้นคว้าและเข้าไปเรียนรู้  (แต่เป็นภาษาอังกฤษนะครับ)  category เหล่านั้น ได้แก่

  1. For Kids Who Love Science ช่องสำหรับเด็กที่รักวิทยาศาสตร์  มีหลากหลายการอธิบายชิงวิทยาศาสตร์เป็นการ์ตูนและสิ่งที่น่าสนใจอย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีสมาชิกมากกว่า 4 ล้านราย ได้แก่ ช่อง minutephysics ที่มีการนำเสนอข้อมูลแบบการ์ตูนน่ารัก เข้าใจง่าย มีสาระที่น่าสนใจสำหรับเด็ก
  2. For Kids Who Love History ช่องสำหรับเด็กที่รักเรื่องราวประวัติศาสตร์ มีเว็บไซต์ตัวอย่างมากมาย ที่น่าสนใจคือ Simple History ที่นำเสนอเป็นการ์ตูนอีกเช่นกัน
  3. For Kids Who Love Math ช่องสำหรับเด็กที่รักการคำนวณ นี่เป็นเรื่องท้าทายของผู้โดนถามทุกคน ช่องเหล่านี้จะมีผู้เชี่ยวชาญสอนเป็นเรื่องแยกกัน เช่น Fraction , Calculus เป็นต้น น่าสนใจมากครับ
  4. For Kids Who Love Theater and Performing Arts  ช่องสำหรับเด็กที่ชอบการศิลปะการแสดง การละคร เช่น บัลเล่ต์  โอเปรา เป็นต้น
  5. For Kids Who Love the Visual Arts  ช่องสำหรับเด็กที่ชอบศิลปะการวาดภาพ สีน้ำ สีเทียน หรือ ศิลปะสื่อผสมในรูปแบบต่าง ๆ  น่าสนใจมากครับ มีคลิปสอนแบบเริ่มจาก  0 จนถึงทำงานเป็นกันเลยครับ
  6. For Kids Who Love Reading and Writing ช่องสำหรับเด็กที่ชอบการเขียน อ่าน นวนิยาย หรือความคิดสร้างสรรค์ด้านวรรณกรรม
  7. For Kids Who Love Nature and Animals ช่องสำหรับเด็กที่ชอบด้านธรรมชาติ สัตว์ป่า หรือการผจญภัย นอนแคมป์ เป็นอะไรที่เปิดโลกทัศน์ใหม่ได้ดีมากครับ ปลูกฝังการรักษ์โลกไปในตัวกับส่วนนี้
  8. For Kids Who are Makers, Inventors, and Such ช่องที่เหมาะกับเด็กนักคิดนักประดิษฐ์หรือคิดค้นอะไรใหม่ ๆ นอกกรอบ ให้แนวทางพื้นฐานคล้าย ๆ กับ STEM แล้วมาต่อยอดเป็นชิ้นงาน
  9. For Kids Who Love Space and Astronomy ช่องสำหรับเด็กที่เหมาะสำหรับเด็กที่สนใจด้านอวกาศ ดาราศาสตร์ หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่อง เฉพาะช่องนี้ก็ค้นหาข้อมูลได้เป็นวันๆ ในเรื่องอวกาศ
  10. For Kids Who Love to Code ช่องสำหรับเด็กที่สนใจการ coding เขียนโปรแกรม ซึ่งถึงแม้จะไกลตัวและดูยากสำหรับเด็ก แต่ในช่องต่าง ๆ จะนำเสนอความเข้าใจ และเครื่องมือในการเขียนโค้ดได้อย่างน่าสนใจ  ยกตัวอย่างเช่น ช่อง The Coding Train ที่มีการนำเสนอและช่องที่น่าสนใจครับ

    โดยสรุป บทความดังกล่าวถือเป็นบทความที่น่าสนใจในการแบ่งหมวดหมู่การเรียนรู้สำหรับเด็กไว้อย่างเป็นระเบียบ ง่ายต่อการนำไปเรียนรู้   เมื่อไปดูผู้สร้างสรรค์ของต่างประเทศดังกล่าว พบว่า มีความสดใหม่ เรียบเรียงเข้าใจใหม่ได้ง่าย และสร้างสื่อให้ดูมีเสน่ห์ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย  น่าเสียดายที่ผู้ติดตามและผู้สนใจยังมีน้อยกว่าพวกช่องที่ไม่ได้เน้นเนื้อหาสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์แบบช่องเหล่านี้ ย้อนกลับมาที่เมืองไทย ยังมีผู้สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าวไม่มากนัก  ถ้ามองเป็นผลดีก็คงเหมาะกับ creator ที่สนใจจะเข้ามาจัดทำสื่อให้น่าสนใจตามบริบทกฏหมายการศึกษาที่ควร หากมองผลเสีย เราพบว่า สื่อเหล่านี้มีน้อย และยอดวิวน้อยกว่าข่าวไร้สาระมากถึงมากที่สุด จึงควรที่จะส่งเสริมให้ทุกคนมาสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ตามความถนัด ผ่าน youtube หรือถ้าจะให้ดี ผ่านโครงการ OER , MOOC ของ สวทช. ก็จะเป็นสิ่งที่ดีไม่น้อยสำหรับสังคมอุดมปัญญาของไทยครับ

ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยความสำเร็จการทำบทเรียน STEM ระดับประถมศึกษา

ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยความสำเร็จการทำบทเรียน STEM ระดับประถมศึกษา

Science Technology Engineering and Mathematics หรือ “STEM” เป็นหลักสูตรที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดในการให้ความรู้แก่นักเรียนใน 4 สาขาวิชาเฉพาะได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ โดยรวมเอากระบวนทัศน์การเรียนรู้ทั้งสี่วิชานี้เข้าด้วยกันผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตจริง และต่อยอดสู่การประกอบอาชีพในอนาคต  

แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะเคยเป็นผู้นำด้านนี้มาก่อน แต่ปัจจุบันกลับพบว่านักเรียนจำนวนน้อยที่ให้ความสนใจ จากรายงานของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐได้ชี้ให้เห็นว่า มีนักเรียนมัธยมเพียง 16% เท่านั้นที่ให้ความสนใจกับอาชีพ STEM และได้พิสูจน์ความสามารถทางคณิตศาสตร์แล้ว นอกจากนี้พบว่าเกือบ 28% ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสนใจในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ STEM โดย 57% ของนักเรียนระบุว่าจะหมดความสนใจเมื่อพวกเขาจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยม เป็นผลให้ในปี 2009 รัฐบาลโอบามาประกาศแคมเปญ “ความรู้เพื่อนวัตกรรม” เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถทางด้าน STEM โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้นักเรียนชาวอเมริกันขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ในเวทีโลก นอกจากนี้แคมเปญนี้สะท้อนถึงปัญหาการมีจำนวนครูที่มีทักษะไม่เพียงพอที่จะให้ความรู้ในวิชาเหล่านี้

ในปี 2014 รัฐบาลโอบามาได้ทุ่มงบว่า 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐให้กับโครงการของรัฐบาลกลางด้านการศึกษา STEM เพิ่มขึ้น 6.7% จากปี 2012 เพื่อรับสมัครและสนับสนุนอาจารย์สอนทางด้าน STEM รวมถึงสนับสนุนโรงเรียนมัธยมที่เน้นไปที่ STEM ด้วย STEM Innovation Networks ผ่านการสนับสนุนงบประมาณในโครงการวิจัยขั้นสูงเพื่อการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเทคโนโลยีการเรียนรู้สู่รุ่นต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

ความสำคัญของการศึกษาเรื่อง STEM          

ตามรายงานจากเว็บไซต์ STEMconnector.org ได้เผยว่าภายในปี 2018 ความต้องการแรงงานที่เกี่ยวข้องกับ STEM จะอยู่ที่ราว 8.65 ล้านคน นอกจากนี้จากการสำรวจสถิติแรงงานของสหรัฐฯ ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิตจากการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะที่จำเป็นในกลุ่มสาขาทางด้านคอมพิวเตอร์ วิศวกรรม วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต และคณิตศาสตร์

ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมในโรงเรียน

1.วิสัยทัศน์และพันธกิจ     

วิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียน เป็นแนวทางในการทำงาน นักเรียนจะเรียนรู้จากค่านิยมหลักจากการสอบถาม การวิจัย การทำงานร่วมกัน และการนำเสนอในชั้นเรียน

2.หน้าที่และพันธกิจของครูผู้สอน         

ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจถึงโครงการและวิธีการทำงาน พันธกิจไม่ควรมีเงื่อนไขในการปิดบังเนื้อหาการสอนและการเรียนรู้

3. การดำเนินงาน         

ครูผู้สอนควรเป็นผู้นำด้านวิชาการ วินัยหรือความปลอดภัยของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำชั้นในห้องเรียนที่ควรฝึกฝนวัฒนธรรมการดูแลเอาใจใส่นักเรียน ส่งเสริมการทำงานร่วมกันและการดูแลเอาใจใส่กัน

4.วัฒนธรรมและการเรียนการสอน         

โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จทุกแห่งมีวัฒนธรรมของโรงเรียนที่แข็งแกร่ง รวมถึงครูผู้สอนมีความสามารถและโปรแกรมการสอนที่ออกแบบที่ดี

5.การพัฒนาที่ยั่งยืน         

โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านมีการวางแผน และพยายามที่จะเปลี่ยนเป็นโรงเรียนที่มีชีวิต

ความสำเร็จ STEM โรงเรียนประถม กับกลยุทธ์ที่จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน         

เป้าหมายที่สำคัญคือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงเรียนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ (STEM) และเพื่อเพิ่มทักษะทางภาษาวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบูรณาการความต้องการของภาษาพี้นที่ STEM ลงในหลักสูตร ผ่านการพัฒนาภาษาอย่างเข้มแข็ง โปรแกรมการเรียนการสอนเนื้อหาถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มการป้อนข้อมูลที่เข้าใจของภาษาวิชาการในทุกกลุ่มนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสนใจในอาชีพ STEM         

ปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจในอาชีพ STEM คือ กิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมนอกห้องเรียน อิทธิพลทางสังคม และอิทธิพลของสื่อ

กิจกรรมในห้องเรียน

นักเรียนจะได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมและหลักสูตรของโรงเรียนที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น สภาพแวดล้อมของโรงเรียน กลยุทธ์การสอนและการเรียนรู้จึงมีความสำคัญต่อการ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับสาขาของ STEM จากการศึกษากลยุทธ์การแก้ปัญหากิจกรรมพบว่า การปรับเนื้อให้วิทยาศาสตร์ให้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และการเรียนรู้ผ่านความร่วมมือในการทำกิจกรรม รวมถึงการทำงานกลุ่มเป็นสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้

กิจกรรมนอกห้องเรียน

การศึกษา STEM นอกห้องเรียนเปรียบเสมือนส่วนเติมเต็มการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้นักเรียนเข้าร่วม ซึ่งมีผลกระทบในเชิงบวกต่อนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในแง่ของความรู้ และทัศนคติ ตลอดจนความปรารถนาในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ STEM กิจกรรมนอกห้องเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ค่ายวิทยาศาสตร์การเรียนรู้ในศูนย์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สวนสัตว์ การแข่งขันหุ่นยนต์ และการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ สำหรับประโยชน์ของ STEM นอกจากจะเป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน จากการประยุกต์คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไปพร้อมๆ ยังมีส่วนในการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมและสร้างความสนิทสนมระหว่างผู้เข้าร่วม

อิทธิพลทางสังคม         

การสนับสนุนของบุคคลใกล้ ได้แก่ พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัว และครูอาจารย์ มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพและมีส่วนช่วยในการรับรู้เชิงบวก โดยผู้ปกครองมีอิทธิพลต่อนักเรียนมากที่สุด ด้านตัวนักเรียนทัศนคติมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจเนื่องจากการมีทัศนคติในเชิงบวกและลบจะส่งผลต่อมุมมองและความเข้าใจต่ออาชีพ

อิทธิพลของสื่อ         

อิทธิพลของสื่อมีทั้งในรูปสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ นิตยสารวิทยาศาสตร์ยอดนิยม หนังสือ ภาพยนตร์ และรายการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ล้วนมีอิทธิพลต่อความสนใจในอาชีพ STEM และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสนใจในการศึกษา STEM รวมถึงอาชีพ STEM เนื่องจากมีวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจทำให้สามารถดึงดูดและเข้านักเรียนได้

ปัจจัยความสำเร็จทำไมต้องมี STEM ในโรงเรียนประถมศึกษา         

ครูผู้สอนที่มีประสิทธิภาพมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก จากวิธีที่ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาเลือกใช้

1.การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากครูเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนเป็นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง         

การเรียนการสอนมีนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ในห้องเรียน ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์อย่างเท่าเทียมกัน เปิดโอกาสให้สร้างความเข้าใจจากการกระทำของพวกเขา การศึกษาในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ผ่านการสร้างแบบจำลองในห้องเรียน การมีส่วนร่วมของนักเรียน กลยุทธ์การวิจัยและการโต้ตอบการมีส่วนร่วม โดยครูผู้สอนสร้างสภาพแวดล้อมที่ STEM เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและเป็นจริงของหลักสูตร

2.เพิ่มขีดความสามารถ         

ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นและลงมือปฏิบัติอย่างอิสระ เด็กได้เลือกใช้อุปกรณ์ที่ครูจัดให้ตามความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

3.สร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่น         

ครูได้ถ่ายทอดบทเรียนการพัฒนาที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมการปลูกฝังการแก้ปัญหาและการคิดเชิงตรรกะ โดยการบูรณาการกิจกรรม STEM ในบทเรียนที่มีครูที่มีประสบการณ์และการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการเรียนรู้ ผลที่ได้รับคือความไว้วางใจและกลายเป็นความมั่นใจ เปิดโอกาสนักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ฝึกคิดตั้งคำถามในการเรียนรู้ต่างๆ

4.การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม         

ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนบทบาทของ STEM ในหลักสูตรและวิธีการสอน เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมใหม่ได้นำไปสู่การส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมและมีแรงจูงใจ มีความพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทางทางเศรษฐกิจโลก โรงเรียนที่ได้รับการฝึกฝนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ครูและนักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเดียวกันกับนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์เรียนรู้จะทำให้เป็นคนที่มีทักษะสูงในอนาคต

แหล่งที่มา :

https://www.livescience.com/43296-what-is-stem-education.html

https://www.kqed.org/mindshift/47587/five-guidelines-to-make-school-innovation-successful https://www.idra.org/resource-center/an-elementary-schools-stem-success-story/

https://www.eduhk.hk/apfslt/v19_issue2/rahman/page3.htm

วารสารใดเหมาะกับงานวิจัยของคุณ

งานวิจัยแต่ละชิ้นใช้ระยะเวลาตั้งแต่ตกผลึกไอเดียวิจัย วางแผน จนถึงลงมือวิจัยหรือจนเสร็จสิ้นวงจรชีวิตวิจัย (Research lifecycle) เป็นเวลานาน ย่อมเป็นธรรมดาที่นักวิจัยหรือทีมวิจัย
จะรักผลงานของตนหรือทีม เพราะเบื้องหลังเป็นยิ่งกว่างานวิจัยเพียงหนึ่งชิ้น เมื่อเสร็จสิ้นออกมาเป็นผลงานแล้วย่อมต้องการเผยแพร่องค์ความรู้นั้นสู่วงการเดียวกัน หรือแม้แต่คนที่สนใจทั่วไป ช่องทางหนึ่งของการเผยแพร่องค์ความรู้คือการส่งเข้ารับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารทางวิชาการ (
Scholarly communication) แน่นอนว่าในกระบวนการดังกล่าวย่อมมีเรื่องของตัวชี้วัด การประเมินผลงานหรือคุณภาพงานเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่แก่นแท้แล้วคือ การได้เผยแพร่ผลงานออกสู่โลกภายนอกเพื่อประโยชน์ต่อสังคมหรือเศรษฐกิจและประเทศชาติต่อไป

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มในการเผยแพร่ผลงานวิจัยมีหลากหลาย เช่น วารสารวิชาการ (Academic journals) โซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มเครือข่ายทางสังคมต่างๆ เป็นต้น บทความนี้กล่าวถึงแนวทางกว้างๆ ในการเลือกวารสารวิชาการที่เหมาะกับงานวิจัยของท่านซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสที่ผลงานของท่านจะได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์

  1. รวบรวมวารสารที่เหมาะสม
    1. ประเมินว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในวารสารนั้นๆ สำหรับท่านคืออะไร เช่น journal metrics กลุ่มผู้อ่าน/ผู้ติดตามเฉพาะกลุ่มหรือสาขาวิชา หรือวงกว้าง ดัชนีวัดผลกระทบหรือคุณภาพระดับวารสารมีหลายตัวให้ท่านเลือกพิจารณา เช่น Impact Factor โดย Clarivate SCImago Journal Rank (SJR) โดย SCImago Lab หรือ Source Normalized Impact per Paper (SNIP) โดย Elsevier เป็นต้น
    2. สอบถามบรรณารักษ์ที่ห้องสมุดที่ท่านทำงานอยู่หรือศึกษาอยู่ หรือไล่เรียงดูจากเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ โดยอาจเริ่มจากสาขาวิชาเพื่อดูว่าในสาขาวิชาที่ท่านสนใจมีจำนวนวารสารในแต่ละสาขาวิชากี่ชื่อ เป็นต้น ท่านสามารถสอบถามหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่ STKS (stks@nstda.or.th) หรือสืบค้นได้จากฐานข้อมูลที่ สวทช.บอกรับ เช่น Scopus หรือ แหล่งสารสนเทศอื่นๆ เช่น scimago (https://www.scimagojr.com) ที่มีการจัดอันดับวารสารตามสาขาวิชาและดัชนี SJR (SCImago Journal Rank)
    3. พิจารณาวารสารที่ท่านติดตามอ่านอยู่เป็นประจำ (ที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาของงานวิจัยของท่าน) ว่ามีชื่อใดหรือไม่ที่เหมาะกับผลงานของท่าน
    4. สอบถามหัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา/เพื่อนร่วมงาน ว่ามีวารสารใดที่เหมาะจะเผยแพร่งานวิจัยของท่าน
  2. เมื่อรวบรวมรายชื่อวารสารที่เข้าข่ายได้แล้ว ท่านอาจศึกษาดูแต่ละวารสารถึงวัตถุประสงค์และขอบเขต แม้ว่าท่านจะคุ้นเคยกับวารสารนั้นๆ เป็นอย่างดีก็ตาม หน้าวัตถุประสงค์และขอบเขตบอกอะไร? ท่านสามารถหาประเภทของเนื้อหาหรืองานวิจัยที่วารสารนั้นเผยแพร่ รวมถึงขั้นตอนของ peer-review ทางเลือกในการเข้าถึงซึ่งเขียนโดยบรรณาธิการ
  3. เมื่อคัดเลือกวารสารชื่อที่สอดคล้องและเหมาะสมที่กับผลงานของท่านแล้ว ศึกษาแนวปฏิบัติสำหรับผู้แต่ง โดยเฉพาะข้อกำหนดในเรื่องของการโอนย้ายสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้กับสำนักพิมพ์ แนวทางการเขียน การจัดหน้า แม่แบบ และข้อแนะนำอื่นๆ สำหรับเทคนิคและข้อแนะนำการจัดหน้าและแนวทางการใช้เครื่องมือต่างๆ ของ word processing เช่น MS Word เป็นต้น STKS มีบริการแนะนำไว้ใน คู่มือการเตรียมสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ ท่านสามารถดาวน์โหลดตัวเล่ม ได้ที่ https://oer.learn.in.th/search_detail/result/879

รายการอ้างอิง

Bamicon. (2017). Education [Image]. Retrieved from https://www.iconfinder.com/iconsets/education-209

Eassom, Helen. (2016). 6 steps to choosing the right journal for your research [Infographic]. Retrieved from https://www.wiley.com/network/researchers/preparing-your-article/6-steps-to-choosing-the-right-journal-for-your-research-infographic

ปาฐกถาพิเศษ “SOCIAL INNOVATION 4 ALL” โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

ปาฐกถาพิเศษ SOCIAL INNOVATION 4 ALL
โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์)

“ประเทศไทยเคยทำ Made in Thailand ปัจจุบันเราอาจจะต้องลุกขึ้นมาทำ Innovation in Thailand” ประเทศไทยในปัจจุบันนี้มีกระแสต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย

  • กระแสที่ 1 : Globalization หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่คนในเมืองมีความหลากหลาย เมืองหลายๆ เมืองกลายเป็นที่มีความหลากหลายของผู้คนที่ต่างเชื้อชาติมาอยู่ร่วมกัน เมืองที่มีความหลากหลายนี้จะเสน่ห์ถ้าสามารถมีนวัตกรรมดีๆ ออกมา แต่เมืองอาจจะไม่มีก็ได้หากความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถที่จะมีความฝันร่วมกันได้
  • กระแสที่ 2 : Digitization การเป็นเมืองสมัยใหม่นั้นจะทำอย่างไรให้อยู่บน diital platform ส่วนนึงแน่นอนว่าจะต้องเป็นเรื่องของเทคโนโลยี แต่เรื่องของคนกับเทคโนโลยีจะปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรในสังคมเมือง นวัตกรรมทางสังคมจะต้องมาตอบโจทย์เรื่องนี้ได้อย่างไร
  • กระแสที่ 3 : Urbanization กระแสของสังคมเมือง ที่เราจะเห็นภาพได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้วคนมากกว่า 50% ของโลกอาศัยอยู่ในเมืองแล้ว แสดงว่าเมืองต่อไปจะมีความสำคัญมากขึ้น แต่กระแสของสังคมเมืองที่มีคนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมากมายและหลากหลาย หากปราศจากการบริหารจัดการที่ดีเมืองจะกลายเป็น “เมกะสลัม” แต่ถ้าหากมีการบริหารจัดการที่ดีจะกลายเป็นเมืองที่น่าอยู่
  • กระแสที่ 4 : Individualization ความเป็นปัจเจกของคน เมื่อกระแสทั้ง 3 ในข้างต้นเริ่มก่อตัวมากขึ้น คนมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ความเป็นปัจเจกของคนคือต่างคนต่างอยู่ ถ้าต่างคนต่างอยู่แล้วจะทำให้เมืองนั้นมีความน่าอยู่ได้อย่างไร

จากกระแสของเมืองที่เติบโตขึ้นทั้ง 4 กระแสข้างต้นนั้นเป็นโจทย์ที่น่าสนใจ แต่ทั้งหมดนี้โลกของความเชื่อมโยงอย่างที่ไม่เคยมีในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมือง มันทำให้เรียกว่า Commonization คือทุกอย่างอยู่ใน Common สุขก็สุขอยู่ด้วยกัน ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน เพราะฉะนั้นคำถามคือแล้วเราจะมีคำตอบให้สามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในสังคมเมืองนี้ได้อย่างไร

การที่จะทำให้เมืองนั้นน่าอยู่เมืองจะต้ององค์ประกอบดังนี้

  • Economic well เมืองต้องมีพลวัฒน์ทางด้านเศรษฐกิจ
  • Social well being เมืองต้องเป็นสังคมที่น่าอยู่
  • Environmental wellness เมืองจะต้องมีสิ่งแวดล้อที่มีความสุข

ความเป็นเมืองนั้นประกอบไปด้วยผู้คนดังนี้เราต้องการให้ผู้คนมารังสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน เพราะแะนั้นเรื่องของ Human Wisdom มีความสำคัญ ดังนั้นจึงได้มีกรอบแนวคิดในการที่จะตอบโจทย์ Innovation in the City ออกเป็น Value Chain 3 อันด้วยกัน

  1. จะทำให้เกิดได้จะต้องจุดกระแสของการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนไหวของผู้คนเรียกว่า Civic movement นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้นั้นไม่ใช่เกิดจากความคิดของคนบางคนเท่านั้น แต่มันต้องเกิดจากความคิดของผู้คนที่ทุกคนมีส่วนที่จะมาช่วยกันรังสรรค์ขึ้นมา
  2. การที่จะทำให้เกิดกระแสของการรังสรรค์นวัตกรรมร่วมกันนั้นจะต้อง empower people จะต้องเติมพลังให้คนในเมือง ในสังคม
  3. Engage ให้คนมีส่วนร่วมในการรังสรรค์นวัตกรรม

ทั้ง 3 Value Chain คือโจทย์ที่ว่าจากนี้ไปหากอยากให้เมืองน่าอยู่เราจะทำให้เกิด Civic Movement เราจะทำอย่างไร เราจำเป็นที่จะต้องมี 2 สิ่งคือ People empowerment กับ People engagement หลังจากนั้นเมื่อมี Civic Movement การเคลื่อนไหวต่างๆ จะนำมาสู่เรื่องของนวัตกรรมในเมืองที่เราเรียกว่า Civic Innovation เพราะฉะนั้นคำถามคือ เราจะให้ประชาชนในเมือง Co-Create ด้วยกัน รังสรรค์นวัตกรรมของเมืองขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้การมีชีวิตอยู่ในสังคมยุคศตวรรษที่ 21 เป็นไปได้อย่างไร เป็นโจทย์ที่น่าสนใจและท้าทายเป็นอย่างยิ่ง

จุดสุดท้ายที่อยากจะทำนวัตกรรมภายในเมือง หรือมี Social innovation ในเมืองเพื่ออะไรก็เพื่อคนสามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน เราอาจจะต้องเปลี่ยนโจทย์ใหม่ เมืองแต่เดิมนั้นจังหวัดต่างๆ เหมือนกับประเทศวัดกันที่ GDP แต่เมืองวัดกันที่ GPP หรือ Gross Provincial Product ฉะนั้นมิติทางเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่พอ เมืองต้องวัดกันที่ความสุข นวัตกรรมต้องนำไปสู่ความสุขของเมือง เพราะฉะนั้นจะต้องวัดกันที่ GPH หรือ Gross Provincial Happiness หมายถึงความสุขของคนในเมือง แต่เมืองจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นจะต้องดูต่อไปว่าเรื่องของ Gross district happiness คือแต่ละตำบล แต่ละเขต แต่ละอำเภอนั้นประชาชนมีความสุขมากน้อยแค่ไหน ทั้งหมดนี้เรียกว่า Value Creation ในการรังสรรค์นวัตกรรมเพื่สร้างความเป็นเมือง เริ่มตั้งแต่เรื่องของ Civic Movement ไปสู่ Civic Innovation เพื่อไปตอบโจทย์ Civic Sustainability

นวัตกรรมในเมืองน่าจะมีอะไรบ้าง เพื่อตอบโจทย์ของคนในเมืองอย่างยั่งยืนมี 4 มิติ หรือเรียกว่า 4C

C1 : Connected City เรื่องของการเชื่อมโยง
เชื่อมโยงทางกายภาพผ่าน Mobility ยกตัวอย่างการจราจรในเมืองที่แย่ มันกลายเป็นเมืองที่ไม่น่าอยู่ เราจะมีนวัตกรรมทางสังคมอย่างไรที่จะไปตอบโจทย์ที่จะทำให้ Mobility กับ Connectivity เกิดขึ้นในเมืองเพื่อให้ทุกคนได้รับความสะดวก ยกตัวอย่างประเทศสิงค์โปร์ เรื่องของ Smarter traffic system สามารถที่จะทำให้ประชาชนรู้ว่าการจราจรจะติดขัดในช่วงใด ระบบของประเทศสิงค์โปร์มีความแม่นยำในการแจ้งการจราจรถึง 90% ฉะนั้นเรื่องนี้เราจะสามารถนำนวัตกรรม นำเรื่องของความเป็น Smarter มาใช้ได้อย่างไร ในอนาคตเรากำลังจะพูดถึง 5G เพราะฉะนั้นนวัตกรรมต่างๆ จะเกิดขึ้นใน 5G อีกมากมายที่จะตอบโจทย์วิถีชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเดินทาง การศึกษา การพยาบาล สิ่งต่างๆ ที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของความสะดวก เพราะฉะนั้นวัตกรรมสิ่งแรกที่จะต้องช่วยกันคิดคือนวัตกรรมบน Connected City จะมีอะไรบ้าง

C2: Clean City เมืองสะอาด
เราอยู่ในเมืองที่น่าอยู่ แต่ ณ วันนี้ในกรุงเทพมหานคร กำลังเผชิญกับ PM2.5 เพราะฉะนั้นเรื่องของ Clean City เรื่องของเมืองสะอาดเราจะไม่พูดแค่ว่า Clean Air เพียงอย่างเดียวแต่มันเป็นเรื่องของ Zero waste คือเมืองที่มีการบริหารจัดการในเรื่องของขยะได้เป็นอย่างดี เมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ในส่วนนี้นวัตกรรมต่างๆ จะตอบโจทย์ได้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่นวัตกรรมจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวแล้ว มันจะต้องเป็นนวัตกรรม Co-Creation ที่เป็นการร่วมมือรังสรรค์นวัตกรรมร่วมกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Startup โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน และภาคชุมชน

C3: Collaborative City เมืองที่ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์กัน
เมืองที่น่าอยู่จะต้องเป็นเมืองที่ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดั้งนั้นนวัตกรรมจะต้องออกมาในแนวที่ทำให้ผู้คนนั้นมีปฏิสัมพันธ์กัน Socializebility เมืองที่น่าอยู่คือเมืองที่มีสังคม ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงเมื่อก่อนและตอนนี้เรากำลังพูดถึง Co-Working Space ซึ่งมันมีมากขึ้น แต่ในอนาคตไม่น่าจะมีแค่ Co-Working Space น่าจะมี Co-Learning Space และมี Co-Living Space ที่จะอยู่ในเมืองเพราะฉะนั้นเป็นโอกาสของ Startup ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะไปตอบโจทย์ Co-Working Space ตอบโจทย์ Co-Living Space ของคนในเมืองอย่างไร ในอนาคตเมืองทุกคนมีโอกาส Share กัน มันจะได้เกิดการ sharing and caring metropolis เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยแนวคิดที่มีอยู่แล้วในบางส่วนที่เรียกว่า Open Source เรามี Open Source Software เรามี Open Source มากมาย แต่ตอนนี้เราอาจจะต้องมีเรื่องของ Open Source metropolis คือเมืองที่มันสามารถที่จะใช้ Facility ต่างๆ ที่เป็นของกลาง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะใช้และทุกคนมีสิทธิ์ที่จะ Share

C4: Creative City เมืองทุกเมืองเมื่อมีอัตลักษณ์ มีเอกลักษณ์ จะต้องมีอัตลักษณ์ในระดับของเมือง อัตลักษณ์ในระดับของชุมชน ที่จะบ่งบอกตัวตนของเมือง มีจุดขายและสามารถที่จะสร้างรายได้ให้กับคนในเมืองได้

ทั้ง 4C เป็นโอกาสที่จะสร้างเมืองในการที่ว่า C1 เป็น Connected City สามารถอำนวยความสะดวกของคนในเมืองตอบโจทย์คนในเมือง และเมื่อเชื่อมโยงกันแล้วจะต้องเกิด Collaborative คือทำอย่างไรให้คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันบนทิศทางที่อยู่บน Clean City เป็นเมืองที่น่าอยู่ แต่เป็นเมืองที่มีสีสัน สามารถทำรายได้แปลงออกมาเป็นเรื่องรายได้ต่างๆ ผ่านสิ่งต่างๆ ที่เรา Creatative City

เฮิร์บ เคน นักสื่อสารมวลชนชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า “เมืองนั้นไม่ได้วัดกันที่ความกว้างหรือความยาวของพื้นที่ แต่วัดกันที่ความกว้างของวิสัยทัศน์ และความสูงของความใฝ่ฝัน” เพราะฉะนั้นจะไม่มีทางเป็นไปได้เลยถ้าไม่ร่วมกันรังสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นร่วมกันในเมือง


อ้างอิง : ปาฐกถาพิเศษ “SOCIAL INNOVATION 4 ALL” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ [ออนไลน์]. 2019, แหล่งที่มา : ปาฐกถาพิเศษ “SOCIAL INNOVATION 4 ALL” [4 ตุลาคม 2562].

นิยามของ OER / OER คืออะไร?

นิยามของ OER / OER คืออะไร?

Open Educational Resources (OER) คือสื่อการสอนและการเรียนรู้ที่คุณสามารถใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แตกต่างจากแหล่งข้อมูลปิดลิขสิทธิ์ดั้งเดิม OER ได้รับการประพันธ์หรือสร้างขึ้นโดยบุคคลหรือองค์กร ถ้ามีสิทธิการเป็นเจ้าของ ในบางกรณี นั่นหมายความว่าคุณสามารถดาวน์โหลดทรัพยากรและแบ่งปันกับเพื่อนร่วมงานและนักเรียน ในกรณีอื่น ๆ คุณอาจจะสามารถดาวน์โหลดทรัพยากรแก้ไขในบางวิธีแล้วโพสต์ใหม่เป็นงานรีมิกซ์ คุณรู้จักตัวเลือกของคุณได้อย่างไร? OER มักมีใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์หรือ GNU เพื่อแจ้งให้คุณทราบว่าอาจมีการใช้วัสดุอย่างไร ดาวน์โหลดได้นำมาใช้ห้ามดัดแปลง ตัวอย่างสื่อที่เผยแพร่ใน OER เช่น รูปภาพ วีดีโอ คลิปภาพและเสียง ฯลฯ 

                                                

        OER Common พื้นที่เผยแพร่ความรู้ พื้นที่สำหรับสร้างแหล่งข้อมูลการศึกษาแบบเปิด (OER) ด้วยเครื่องมือการเผยแพร่ของเรา ให้ผู้แต่งท่านอื่นๆ ช่วยสร้างแหล่งข้อมูลทางการศึกษา แผนการสอนและหลักสูตร ด้วยตัวเองหรือกับผู้อื่น แล้วเผยแพร่เพื่อประโยชน์ของนักศึกษาและผู้เรียนได้ทุกแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมได้เกี่ยวกับสร้างทรัพยากร (OER Common) 

ฟังก์ชันของเว็บไซต์ OER Common มีดังนี้

1.การสร้างทรัพยากร รูปแบบตัวสร้างทรัพยากรผู้เขียนระบบเปิดนี้ทำให้ง่ายต่อการรวมข้อความ รูปภาพ เสียงไฟล์และวีดีโอ และบันทึกเป็นทรัพยากรการศึกษาที่ได้รับอนุญาตอย่างเปิดเผย ซึ่งสามารถแชร์กับเพื่อนร่วมงานและนักศึกษาจากทั่วโลกและกับบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระเบียบแก้ไขและเผยแพร่ทรัพยากรที่เหมาะกับชั้นเรียน ห้องเรียน สามารถพิมพ์และดาวน์โหลดทรัพยากรในรูปแบบของ PDF รวมถึงดาวน์โหลดสื่อที่รวมอยู่ทั้งหมด ไม่ต้องค้นหาที่แหล่งอื่นใด เพราะได้รวบรวมข้อมูลและทรัพยากรประเภทต่างๆไว้ให้แล้ว

2.เครื่องมือสร้างบทเรียน รูปแบบตัวสร้างบทเรีบนผู้เขียนเปิด ช่วยให้ผู้เขียนสามารถสร้างทั้งมุมมองของนักเรียนและครูไปทางเนื้อหา ผู้เขียนได้รับการสนับสนุนให้รวมภาพข้อความสนับสนุนการสอน และคำแนะนำสำหรับนักเรียนและผู้ใช้อื่นๆ ของทรัพยากร บทเรียนประกอบด้วยงานตามลำดับ ซึ่งสามารถรวมวิธีการเรียนรู้แบบทีละขั้นตอน แต่ละงานสามารถมีแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องพร้อมให้ดาวน์โหลด

3.ตัวสร้างโมดูลรูปแบบตัวสร้างโมดูลผู้เขียนเปิดอนุญาตให้ผู้เขียนสร้าง ทั้งนักเรียนและอาจารย์ผู้สอนที่มีมุมมองเนื้อหา ผู้เขียนได้รับการสนับสนุนให้รวมภาพ รวมข้อความสนับสนุนการสอน และคำแนะนำสำหรับนักเรียนและผู้ใช้อื่น ๆ ของทรัพยากร โมดูลสามารถประกอบไปด้วยงานตามลำดับ ซึ่งสามารถรวมวิธีการเรียนรู้ทีละขั้นตอน แต่ละงานสามารถมีแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องพร้อมให้ดาวน์โหลด 

วิธีการสืบค้นจาก OER Commonsการสืบค้น OER Commons ทำได้โดยใช้คำค้น เช่น ต้องการค้นหาคำว่า เรือพระราชพิธี จะปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับเรือสุพรรณหงษ์ เรือต่างๆในขบวนพระราชพิธี และเรื่องราวเครื่องประกอบเกี่ยวกับเรือ ฯลฯ เมื่อค้นพบสิ่งที่ต้องการแล้วสามารถดาวน์โหลดรูปภาพ และเนื้อหา ไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษาได้ หรือกรณีต้องการวารสารทั้งฉบับ ก็สามารถดาวน์โหลดวารสารย้อนหลังได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ข้อมูลใน OER มีข้อกำหนดคือให้เผยแพร่ได้ ไม่ดัดแปลง และไม่ใช้เพื่อการค้า

 

 

แหล่งที่มา : https://www.oercommons.org/

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่5/62

ข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2562

ประวัติ ดร.วีรชัย พลาศรัย อดีตเอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำสหรัฐอเมริกา อดีตเอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก อดีตเอกอัครราชทูตประจำกรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อดีตเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (เจ้าหน้าที่การทูต 10) สำนักงานปลัดกระทรวง เอกอัครราชทูตวีรชัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รำลึก…ท่านเอกอัครราชทูต โดย ผู้ช่วยทูตทหารสามเหล่าทัพสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี โดยพันเอกสยามรัฐ รุ่งสังข์ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน …พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา

ด้วยความเคารพอย่างสูง นาวาอากาศเอก ระวิน ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำกรุงวอชิงตัน ความร่วมมือด้านความมั่นคง ไทย-สหรัฐฯ จากปืนคาบศิลาสู่การซ้อมรบคอบบร้าโกลด์

ในปี 2557 คอบร้าโกลด์มีกิจกรรมที่แตกต่างกันสามประการ สิ่งแรกคือการฝึกซ้อมแบบใช้อาวุธยิงร่วม (CALFEX) ซึ่งมีการใช้กระสุนจริงเล็งไปที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ กองทหารจู่โจมชายหาดและโซนลงจอดในขณะที่เกิดไฟไหม้ครั้งนี้ กิจกรรมที่สองคือการฝึกการโพสต์คำสั่ง (CPX) ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารมีส่วนร่วมในเกมสงครามคอมพิวเตอร์บรรเทาภัยพิบัติหรือภารกิจด้านมนุษยธรรมในหลายวัน และกิจกรรมสุดท้ายคือการช่วยเหลือประชากรไทยในท้องถิ่น คอบร้าโกลด์ได้ขยายไปถึง 35 ประเทศ ณ ปี 2559 รวมถึง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ ในเอเชียใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก จีนได้เข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์เป็นครั้งแรกในปี 2558 ด้วยเช่นกัน โดยให้เข้าร่วมการฝึกอบรมการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำหรับครั้งล่าสุดในปี 2562 ได้จัดไป เมื่อวันที่ 11-22 กุมภาพันธ์ 2562 นับเป็นครั้งที่ 38 โดยมีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลักจำนวน 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และมาเลเซีย ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน จำนวน 2 ประเทศ ประกอบด้วย จีน และ อินเดีย และประเทศอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 29 ประเทศ

รำลึกท่าน ออท.วีรชัย พลาศรัย สุดยอดผู้นำทีม ปทท. ของพวกเรา โดย อัครราชทูต (ฝ่ายเศรษฐกิจและการคลังและอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการเมือง) รำลึกท่าน ออท.วีรชัยฯ โดย อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) รำลึกท่าน ออท.วีรชัยฯ โดย รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ

ปัญหาการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เริ่มรุนแรงขึ้นในปี 2528 และดำเนินติดต่อกันเป็นเวลาเกือบ 10 ปี โดยส่วนใหญ่สหรัฐฯ จะกดดันไทยให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องต่างๆ ในระยะแรก (ปี 2528-2531) ข้อขัดแย้งทางการค้าส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ นอกเหนือจากข้อขัดแย้งกรณีลิขสิทธิ์แล้ว ยังได้ขยายข้อเรียกร้องไปถึงการคุ้มครองสิทธิบัตร

วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กับบทบาทของสหรัฐฯ วิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย ซึ่งเริ่มจากวิกฤตการณ์ทางการเงินการคลังในไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นเหตุการณ์สำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในภาพรวมระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในสภาวการณ์ที่ประเทศขาดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเงินอยู่ในสภาพล้มละลาย

กฎระเบียบที่สำคัญด้านประมงของสหรัฐฯ ที่มีผลต่อการประมงของไทย

1.ระเบียบ SEAFOOD IMPORT MONITORING PROGRAM (SIMP) เมื่อระเบียบ SIMP มีผลใช้บังคับ ในวันที่ 9 มกราคม 2560 ประเทศที่นำเข้าและ/หรือ ผู้นำเข้าปลาและสินค้าปลามายังสหรัฐฯ ต้องจัดทำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ให้แก่สหรัฐฯ ซึ่งจะทำการจัดเก็บข้อมูลแหล่งที่มาของสินค้าประมงผ่านระบบ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย กับสัตว์น้ำสายพันธุ์เสี่ยงเริ่มแรก 11 สายพันธุ์

  1. ระเบียบ Marine Mammal Protection Act (MMPA) ระเบียบเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 โดยสหรัฐฯ ได้กำหนดช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวไว้ 5 ปี และจะดำเนินการกับประเทศที่ทำการประมงเพื่อการพาณิชย์ที่มีการส่งสินค้าเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยประเทศที่ได้รับแจ้งขอข้อมูลจะต้องจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่ NMFS ภายในระยะเวลา 90 วัน 3. กฏหมาย Federal Meat Inspection Act (FMIA)

สืบเนื่องจากสหรัฐฯ แก้ไขกฏหมาย Farm Bill เพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบสินค้าอาหารนำเข้าประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ และปลาหนัง ให้มีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะมากขึ้น โดยยกเลิกการใช้คำว่าปลาดุก (Catfish) ในผลิตภัณฑ์ปลาที่ไม่ได้อยู่ในตระกูล Ictaluridae โดยจัดให้ปลาดังกล่าวอยู่ในตระกูลปลาหนังแทน

ทั้งนี้ ปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้ประกาศรับรองความปลอดภัยของการผลิตปลาหนัง(ดิบ) ของไทยให้มีความเท่าเทียมกับระบบสหรัฐฯ และประกาศรายชื่อโรงงานไทยส่งออกสินค้าปลาหนังจำนวน 3 โรง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 ได้แก่

1.โรงงาน B.S.A. Food Products Co.,Ltd.

2.โรงงาน I.T. Foods Industries Co.,Ltd. 3.Sanhara Foods Co.,Ltd.

บันทึกไว้ในความทรงจำ โดย อัครราชทูต (ฝ่ายการศึกษา) อาลัยท่านทูตวีรชัยฯ ที่เคารพยิ่ง โดย อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลักษณะเด่นของระบบอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา

ประเภทของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา 1.มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของรัฐ สนับสนุนและบริหารโดยรัฐบาลของรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่น ทุกรัฐจะมีมหาวิทยาลัยแห่งรัฐหนึ่งแห่งเป็นอย่างน้อย มหาวิทยาลัยเหล่านี้จะถูกตั้งชื่อตามชื่อของรัฐนั้นๆ ตามด้วยชื่อเมืองที่ตั้ง หรือมีคำว่า “State” อยู่ในชื่อด้วย เช่น Washington State University 2.มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนบริหารโดยองค์กรเอกชน มีค่าเล่าเรียนที่สูงกว่าและมีขนาดเล็กกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐบาล กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงมายาวนานที่รู้จักกันระดับนานาชาติ คือกลุ่ม Ivy League ที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำ อาทิ Harvard Yale Princeton Columbia Cornell เป็นต้น มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งหมดก็เป็นของเอกชน 3.วิทยาลัยชุมชน หรือวิทยาลัยอาชีวศึกษา คือวิทยาลัยชุมชนสองปีที่นักศึกษาจะได้รับอนุปริญญาเมื่อสำเร็จการศึกษา และสามารถโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาต่อได้อีกทั้งมีหลักสูตรประกาศนียบัตรด้วย หลักสูตรอนุปริญญาแยกออกเป็นสองประเภทคือ หลักสูตรทางวิชาการที่สามารถโอนย้ายหน่วยกิตได้ และหลักสูตรประกาศนียบัตรที่เตรียมความพร้อมทางอาชีพให้นักศึกษา นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนส่วนใหญ่จะทำการโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยสี่ปีเพื่อให้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี 4.สถาบันเทคโนโลยี บางสถาบัน ไม่เรียกตัวเองว่า University แต่ใช้ว่า Institute of Technology เนื่องจากเน้นการสอนเทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อให้นำไปปฏิบัติจริงในการประกอบอาชีพโดยเฉพาะในสาขาด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ สถาบันเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐาน เทียบเคียงมหาวิทยาลัยชั้นนำ การศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีใช้เวลาสี่ปีในการทำการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางแห่งเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท-เอก บรรยากาศในห้องเรียน ห้องเรียนมีหลายขนาดตั้งแต่ห้องเลคเชอร์ขนาดใหญ่ไปจนถึงห้องเรียนขนาดเล็กและห้องประชุม บรรยากาศในห้องเรียนนักศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โต้เถียงเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง มีส่วนร่วมในการสนทนา และนำเสนองานของตน อาจารย์จะมอบหมายให้นักศึกษาทำรายงานและอ่านหนังสือทุกอาทิตย์ นักศึกษาจะต้องทำการบ้าน อ่านหนังสืออยู่ตลอดเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับคำบรรยายและมีส่วนร่วมในการสนทนาในชั้นเรียนได้ การให้คะแนน อาจารย์ผู้สอนจะมีเกณฑ์ให้คะแนนด้านการมีส่วนร่วมในห้องเรียนไม่เหมือนกัน นักศึกษาจะได้คะแนนผ่านการมีส่วนร่วมในบทสนทนาภายในชั้นเรียนโดยเฉพาะในห้องสัมมนา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการตัดสินให้คะแนน การสอบกลางภาค ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในช่วยการทำการเรียนการสอน การรวบรวมส่งงานวิจัย การเรียบเรียงภาคนิพนธ์ หรือการส่งรายงานแลปอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อการประเมินผล

การสอบย่อย หรือการตอบคำถามในชั้นเรียน อาจารย์จะให้นักศึกษาทำข้อสอบหรือตอบคำถามในห้องเรียนทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคอยทำการบ้านที่ให้ไว้อยู่ตลอด

การสอบปลายภาค หลังจากเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของชั้นเรียน ระบบให้คะแนนของสหรัฐอเมริกา จึงเน้นการมีส่วนร่วม การทำกิจกรรมเก็บคะแน มากกว่า วัดผลตัดคะแนนจากการสอบปลายภาค หน่วยกิต หลักสูตรวิชาหนึ่งจะมีหน่วยกิตเป็นตัวเลขหนึ่งจำนวนหรือเป็นจำนวนชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนชั่วโมงที่นักศึกษาทำการเรียนภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่หนึ่งหลักสูตรวิชาจะเท่ากับ 3-5 หน่วยกิต หลักสูตรเต็มเวลาส่วนใหญ่จะมี 12-15 หน่วยกิตชั่วโมง (4 หรือ 5 หลักสูตรวิชาต่อหนึ่งเทอม) และนักศึกษาต้องเข้าทำการศึกษาให้ได้จำนวนหน่วยกิตที่กำหนดเพื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษาชาวต่างชาติต้องศึกษาในหลักสูตรเต็มเวลาเท่านั้น โรค เอ็มดีเอส โรคทางเลือดที่ยังไม่สามารถระบุหาสาเหตุได้

โรค “เอ็มดีเอส” Myelodysplastic syndrome (MDS) เป็นโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากระบบการผลิตเม็ดโลหิต หรือเป็นโรคทางโลหิตวิทยาที่เกิดจากความผิดปกติของเซลต้นกำเนิด หรือ stem cell ในไขกระดูกในด้านการเจริญเติบโต การพัฒนาการ และการทำงานของเซลล์ โดยมีการแสดงออกในรูปของภาวะไขกระดูกไม่ทำงาน และจำนวนเม็ดเลือดในกระแสเลือดผิดปกติ และอาจมีการดำเนินโรคต่อเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ถึงร้อยละ 30 เซลล์ต้นกำเนิด เป็นเซลล์ไม่จำเพาะ หน้าที่ของเซลล์ต้นกำเนิดคือการผลิตเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่า สำหรับโลหิตซึ่งมีเม็ดเลือดเดินทางหล่อเลี้ยงร่างกาย ก็มีเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเช่นกัน แบ่งได้ 3 ประเภท คือ เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด เม็ดเลือดแดง โรคเอ็มดีเอส เป็นกลุ่มโรคของเซลล์ต้นกำเนิด เม็ดเลือดไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดทั้ง 3 ประเภทได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายค่อยๆหมดแรง รู้สึกได้เมื่อมีความอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่ายขึ้น สาเหตุของโรคเอ็มดีเอส ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดอาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ สารเคมี รังสี การสูบบุหรี่ และไวรัสบางชนิด หรือการสัมผัสกับรังสีและยาเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง และยังสามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้

ทูตวีรชัยฯ ผู้ริเริ่มแนวคิด Music Diplomacy โดย กงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ สหรัฐอเมริกา – แหล่งกำเนิดดนตรีสากลร่วมสมัย

ต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา และความก้าวหน้าและสถานะของการเป็นมหาอำนาจ ได้ค่อยๆ ทำให้เพลงแนวใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 20 ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก และกลายเป็นสไตล์เพลงสากลที่ทั่วโลกเล่นกันอยู่ทุกวันนี้

ดนตรีแจ๊ส (Jazz) เป็นลักษณะดนตรีที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐฯ ราวทศวรรษ 1920 ในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา โดยมีลักษณะพิเศษคือ มีจังหวะชัดเจนเล่นอย่างอิสระโดยการประสานกันขึ้นเองของนักดนตรีในขณะที่กำลังบรรเลง มีการลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยใช้เครื่องดนตรี ที่เป็นเครื่องเป่า เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต ทรอมโบน หรือเครื่องดีด อย่าง กีตาร์ แบนโจ ทูบา รวมทั้งการใช้เปียโนเป็นตัวบรรเลงโน๊ตที่อิสระไร้รูปแบบ เล่นบทบาทนำล้อกันไปมาซึ่งแตกต่างจากยุคคลาสสิคโดยสิ้นเชิง

วงดนตรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band : ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า “แจ๊ส” ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues) คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้างเพราะจำมาไม่ครบถ้วน ดนตรีร็อก (Rock) หรือ ร็อกแอนด์โรล (Rockn Roll) เป็นดนตรีที่ประกอบด้วย กีตาร์ กีตาร์เบส กลอง เป็นดนตรีหลัก รูปแบบดนตรีง่ายๆ เน้นความหนักแน่นในเนื้อหาที่ต้องการสื่อ และความสนุกสนาน คิดค้นขึ้นในศตวรรษที่ 60 โดยเอลวิส เพรสลีย์ โดยการนำเอาการร้องที่ใช้เสียงสูงของเพลงบลูส์ของ คนผิวดำ ผสมกับทำนองสนุกสนานของเพลงคนทรีของคนผิวขาว เป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมของสองเชื้อชาติ ซึ่งเอลวิส เพลสลีย์ ต่อมาได้รับการยกย่องและเรียกว่าเป็น “ราชาร็อกแอนด์โรล” และพัฒนาต่อยอดแตกแขนงเป็นหลายประเภท เช่น เฮฟวี่เมทัล, เดธเมทัล, บริติสร็อก, อันเทอร์เนทีฟ


ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/ost-sci-review-may2019.pdf

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 4/62

ข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 4 เมษายน 2562

การสร้างความร่วมมือแนว 4.0 ระหว่างไทยกับลาตินอเมริกา การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันนั้น นำไปสู่ การแลกเปลี่ยนความชำนาญและผสานประโยชน์กัน ซึ่งในแต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญด้าน วทน. ที่แตกต่างกัน โดยความเชี่ยวชาญด้าน วทน. ของประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและการพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างความร่วมมือ ในการสนับสนุนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากร การวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการสนับสนุนการจัดกิจกรรม โครงการทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จะช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการทูตวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รัฐบาล ในสาย วทน. ซึ่งเป็นคนในวงการที่เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศที่สำคัญ

กิจกรรมผู้บริหารด้าน วทน. จากลาตินอเมริกามาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2562 สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้นำคณะผู้บริหารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษา จากประเทศกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก ประกอบด้วย เม็กซิโก ชิลี เปรู โคลอมเบีย และ โบลิเวีย ไปเยือนไทย เพื่อสร้างเครือข่ายด้าน วทน. และสนับสนุนการแลกเปลี่ยน การพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจด้าน วทน. รวมถึง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาและบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ระหว่างหน่วยงานของไทยกับประเทศลาตินอเมริกา ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5 ประเทศ ประกอบด้วย เม็กซิโก เปรู ชิลี โคลอมเบีย โบลิเวีย

งานสัมมนา หัวข้อ Thailand Regional Science Parks and Latin America Connect ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ คณะผู้บริหารจากลาตินได้ให้การบรรยายในงานสัมมนากลุ่มผู้ฟังคือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของอุทยานวิทยาศาสตร์จากภาคและจังหวัดต่างๆ ของไทย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ จำนวน 120 คน โดยการบรรยายของคณะเจ้าหน้าที่จากลาตินมีดังต่อไปนี้

1.Monterrey, International Capital of Knowledge and Advanced Manufacturing โดย Dr.Jaime Parada ประเทศเม็กซิโก 2.Peruvian University Cayetano Heredia : Towards the Development of a Center for Innovation and Entrepreneurship Aimed at Connecting the World and Achieving the Sustainable Development Goals (SDG) โดย Dr. Victor Huanambal Tiravanti ประเทศเปรู 3.Nationa Commission for Scientific and Technological Research – Opportunities for Graduate Studies and International Cooperation โดย Dr. Sharapiya Kakimova ประเทศชิลี

  1. Colombia From STEAM (STEM + ART) Education to a sustainable industrialized nation โดย Dr. Juan Sebastian Osorio โคลอมเบีย 5.Research, Postgraduate and Social Interaction Department (DIPGIS) โดย Prof.Waldo Vargas-Ballester ประเทศโบลิเวีย 6.Open Innovation Partnerships : Thailand Regional and Global Connect โดย ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อว.มช.) 7.Tech Enterprises Development in Northern Thailand โดย ดร.เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และให้บรรยายแนะนำ สวทช. เช่น หน้าที่และบทบาท ของ สวทช. ในการพัฒนา Platform เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ให้สามารถทำได้เร็วขึ้นและใช้งบประมาณน้อยลง นอกจากนี้ยังได้บรรยายเกี่ยวกับแนวนโยบาย Thailand 4.0 สาขา วทน. ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ และ 10 อุตสาหกรรม (S-Curve) ประเทศไทยมีความสนใจที่จะสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ ในส่วนของการให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นเสมือน One stop service สำหรับผู้ประกอบการทั้งภายใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถมาขอใช้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลา 1 เดือน และ สวทช.จะช่วยหาคู่พันธมิตรทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนหลังจากการหารือ คณะได้เยี่ยมชม ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) ของ BIOTEC ซึ่งเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลชีววัสดุ มีให้บริการในการจัดเก็บตัวอย่าง การฝึกอบรม และการให้คำแนะนำต่างๆ ปัจจุบันได้มีการทำ MOU กับประเทศมาเลเซียแล้ว

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารฯ และบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานโครงการที่สำคัญของ วว. เช่น โครงการ OTOP รวมถึง กลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ เช่น คูปองวิทย์เพื่อโอทอป มาตรการติดตามและวัดผลของธุรกิจที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก วว. และโครงการที่ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน นอกจากนี้ ดร.อาภารัตน์ฯ ยังกล่าวว่า วว. มีร่วมมือกับต่างประเทศบ้างแล้วโดยปัจจุบันมีการเปิดรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และเวียดนาม เข้ามาศึกษาและดูงาน ดร.อาภารัตน์ฯ ได้พาคณะเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย (Algal Excellent Center) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับโครงการวิจัยสาหร่ายเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสาหร่าย โดยปัจจุบัน วว. มีสาหร่ายน้ำจืดและน้ำเค็มจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดทำ ฐานข้อมูลกว่า 1,000 สายพันธุ์ และพยายามศึกษาพัฒนาวิธีการเพิ่มผลผลิตจากสาหร่ายโดยการวิจัยและปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเติบโต ซึ่งคณะผู้บริหารฯ ให้ความสนใจที่จะสร้างความร่วมมือกับศูนย์นี้เนื่องจากไทยมีความพร้มทั้งอุปกรณ์ ความรู้ และบุลากรในการวิจัย ซี่งผู้แทนจากทุกประเทศได้มีการหารือแลกเปลี่ยน สนใจต่อโครงการเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเม็กซิโก ได้แจ้งว่า อาจมีการเสนอการแลกเปลี่ยนวิจัย โดย PIIT ก็มีการเก็บตัวอย่างวิจัยเช่นกัน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่ (สดร.) ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารฯ และให้บรรยายเกี่ยวกับข้อมูล บทบาท แผนการและเป้าหมายของ สดร. ประเด็นที่คณะผู้บริหารฯ ให้ความสนใจคือ สดร. ได้นำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางดาราศาสตร์ไปใช้เพื่อส่งเสริมการศึกษาสะเต็ม และการนำศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ไปใช้ต่อยอดในสาขาอื่นๆ ได้ เช่น การแพทย์ สดร. ได้พาคณะผู้บริหารฯ ไปเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาว และวิศวกรรม โครงการความร่วมมือพัฒนาระบบเคลือบกระจกสำหรับโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเซเรนคอฟเพื่อเยี่ยมชมห้องทดลองและงานวิจัยของ สดร. และเยี่ยมชมหอดูดาวแห่งชาติ ณ ดอยดอินทนนท์

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะผู้บริหาร เยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมี ดร.นพดล โค้วสุวรรณ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการให้การต้อนรับและให้ข้อมูลแก่คณะ โดยนอกจากการบรรยายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาฯ แล้ว ดร.นพดลฯ ได้พาคณะเยี่ยมชมงานในส่วนของงานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ภาคเหนือของไทย และพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการแก้ไขและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และงานศึกษาและพัฒนาการประมงซึ่งเป็นศูนย์ศึกษา ทดลอง และเผยแพร่องค์ความรู้และพันธุ์ปลาให้แก่เกษตรกรรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งคณะผู้บริหารฯ โดยเฉพาะ Dr. Tiravanti (เปรู) และ Dr. Kakimova (ชิลี) ให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดโครงการฝึกอบรมการเพาะพันธ์ปลา เช่น การจัดส่งผู้แทนจากเปรูหรือชิลีมาศึกษารูปแบบการดำเนินงานของศูนย์ และงานศึกษาของศูนย์การศึกษาฯ

สำนักการเกษตรต่างประเทศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะผู้บริหารฯ ได้พบกับ ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผอ.สำนักการเกษตรต่างประเทศ กษ. เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงสร้างของ กษ. การวิจัยต่างๆ แผนความร่วมมือกับต่างประเทศ กษ. ดร.วนิดาฯ กล่าวว่า วิทยาศาสตรีความสำคัญมากสำหรับการพัฒนาด้านเกษตรกรรมทั้งในด้านการผลิตของเกษตรกร การเพิ่มมูลค่าและการทำ ตลาดสินค้าเกษตรกรรม และการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรสู่ต่างประเทศ ดร.วนิดาฯ ให้ข้อมูลว่า กษ. มีความสนใจที่จะสร้างความร่วมมือด้าน วทน.กับ ประเทศในลาตินอเมริกา เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่สำคัญของประเทศเช่นกัน โดย กษ. มีการให้เงินทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งแม้ว่าจะให้เฉพาะนักวิจัยของ กษ. เท่านั้น แต่นักวิจัยสามารถทำงานร่วมกับนักวิจัยจากต่างประเทศได้โดยเงินทุนสนับสนุนการวิจัยนี้มีหลายระดับแล้วแต่ความสำคัญและความเหมาะสมของโครงการ จากการหารือพบว่า สาขาการวิจัยที่มีความสนใจตรงกันมีหลายสาขา เช่น การวิจัยที่ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก ความปลอดภัยของอาหาร น้ำมันปาล์ม และกาแฟ แนะนำหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในลาตินอเมริกาและไทย The Institute of Innovation and Technology Transfer (I2T2) Technology Research and Innovation Park (PIIT) เม็กซิโก I2T2 ก่อตั้งโดยรัฐบาลของรัฐ Nuevo Leon เม็กซิโก มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในนโยบายสาธารณะ การพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และการบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ Technology Research and Innovation Park (PIIT) ซึ่งเป็นศูนย์เพาะบ่มผู้ประกอบการของธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ วทน. ของรัฐ Nuevo Leon ตั้งอยู่ที่เมือง Monterey I2T2 มีวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนการถ่ายทดเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเริ่มตั้งแต่การทำวิจัยและพัฒนา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาสินค้าและบริการ การสนับสนุนภาคการศึกษา ไปจนถึงการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ ปัจจุบัน PIIT ถือเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์อันดับหนึ่งของเม็กซิโก ปัจจุบันมีการยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์กว่า 500 โครงการ ทำให้ PIIT เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ผู้นำในภูมิภาค ลาตินอเมริกา

BIMEDCO – GEMEDCO เป็นบริษัทเอกชนที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสุขภาพของชาวโคลอมเบีย ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย การบริการจากผู้เชี่ยวชาญ และการพัฒนาการศึกษาด้านการแพทย์แก่สาธารณะ บริษัท BIMEDCO – GEMEDCO มีการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ เช่น บริษัท General Electric (GE) โดยบริษัท BIMEDCO – GEMEDCO เป็น ตัวแทนในการวิจัย ผลิต และจำหน่ายให้กับ GE นอกจากนี้ยังมีความสนใจกับการสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในเอเชียอีกด้วย

Innovation and Entrepreneurship Center, Cayetano Heredia Peruvian University มหาวิทยาลัย Cayetano Heredia เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ตั้งอยู่ ณ เมืองลิมา เปรู โดย Cayetano Heredia เป็นชื่อของนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงในช่วงศตวรรษที่ 19 ของเปรู มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการตีพิมพ์บทความวิทยาศาสตร์อันดับต้นของประเทศ สาขาวิจัยที่สำคัญ เช่น biomedical imaging, tissue engineering, biomaterials, biomechanics and rehabilitation และ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการให้บริการด้านการแพทย์

สถาบันวิจัยด้านดาราศาสตร์ในชิลี ชิลี เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงดาราศาสตร์ของโลก โดยคาดว่าในปี 2563 โครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ในชิลีจะนับเป็นร้อยละ 70 ของโลก พื้นที่ทางตอนเหนือของชิลี มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาดาราศาสตร์ เนื่องจากมีท้องฟ้าโปร่ง และมีสภาพอากาศที่แห้งมากกว่า 300 วันต่อปี ปัจจัยเหล่านี้ดึงดูดนักวิจัย นักดาราศาสตร์ วิศวกร นักเรียน และนักดาราศาสตร์สมัครเล่นจากทั่วโลก มายังพื้นที่ดังกล่าว สำหรับประเทศไทย สดร. ได้ร่วมมือกับ University of North Carolina ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ภายใต้โครงการ PROMPT (Panchromatic Robotic Optical Monitoring and Polarimetry Telescopes) ซึ่งประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล โดยสถานที่ติดตั้งคือ เซโร โตโลโล (Cerro Tololo) ประเทศชิลี หน่วยงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของชิลีมีหลายแห่ง เช่น – Center for Excellence in Astrophysics and Associated Technologies (CATA) เป็นศูนย์วิจัยที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ที่ Calan Hill (Cerro Calan) กรุงซันติอาโก โดยมีการวิจัยวิทยาศาสตร์ 6 หัวข้อ วิจัยด้านเทคโนโลยีขั้นสูง 3 หัวข้อ และกิจกรรมเพื่อการศึกษาและการเข้าถึงสาธารณะ 1 หัวข้อ – Millennium Center for Supernova Science ศูนย์วิจัยแห่งนี้เน้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Supernova

Universidad Mayor de San Andres Universidad Mayor de San Andres เมือง La Paz ประเทศโบลิเวีย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2443 มหาวิทยาลัยแห่งนี้เก่าแก่อันดับสองของประเทศ และเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ สถาบันวิจัยที่สำคัญของมหาวิทยาลัยมีหลายสถาบัน เช่น The Institute of Ecology เป็นสถาบันที่วิจัยเกี่ยวกับสาขาพฤกษศาสตร์ และสาขาสัตววิทยา ศูนย์วิจัยนี้เป็นผู้นำในการสร้างนโยบายและวางกลยุทธ์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ในโบลิเวีย งานวิจัยที่สำคัญ เช่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การวิจัยด้านนิเวศเกษตรแ หรือ Agroecology

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์ โดยอยู่ภายในการกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) สวทช. มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมสามาถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่ง สวทช. ได้ดำเนินงานผ่านการทำงานร่วมกันของศูนย์ทั้ง 5 ศูนย์และ 1 สถาบัน ได้แก่

-ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ -ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ -ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ -ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี -ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) มุ่งให้ความช่วยเหลือนักวิจัยและบริษัทต่างๆ ในการนำผลงานการค้นพบและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ -สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) (AIMI) ให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร แบบครบวงจร (One Stop Service)

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ นั่นคือจัดตั้งเพื่อส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบไม่แสวงหากำไร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย (Algal Excellent Center) มีผลงานวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการให้บริการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายน้ำจืดขนาดเล็กแก่ภาคอุตสาหกรรม วว. ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของสาหร่ายขนาดเล็ก ที่มีบทบาทในด้านต่างๆ มากขึ้นตามลำดับ วว. จึงเป็นหน่วยงานแห่งเดียวในประเทศที่มีการดำเนินงานในด้านนี้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การจัดตั้งคลังเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่าย (TISTR Algae Culture Collection, TISTR ACC) ซึ่งในปัจจุบันมีการรวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดขนาดเล็ก (freshwater microalgae) จากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศพร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูล กว่า 1,000 สายพันธุ์ มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง วิเคราะห์ และทดสอบ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.) ที่สำคัญและโดดเด่น คือ วว. มีระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายระดับขยายกลางแจ้งต้นแบบตั้งแต่ขนาด 100-40,000 ลิตร เป็นระบบการเพาะเลี้ยงแบบต่อเนื่องและครบวงจร ปริมาตรรวม 400,000 ลิตร

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 ตามพระราชดำริของสำเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีความสนพระทัยอย่างยิ่งในวิชาดาราศาสตร์ ท่านทรงพระกรุณารับโครงการดำเนินการของสถาบันฯ เป็นโครงการในพระราชดำริ 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการหอดูดาวแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในศุภมงคลวารเฉลิมพระชนมายุ 80 พรรษา และ 2) โครงการหอดูดาวภูมิภาคเพื่อประชาชน 5 แห่ง ที่จังหวัดนครราชสีมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคตะวันออก จังหวัดสงขลา ภาคใต้ จังหวัดพิษณุโลก ภาคเหนือ และจังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภารกิจของสดร.คือ 1.ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาด้านดาราศาสตร์ 2.สร้างเครือข่ายการวิจัยและวิชาการด้านดาราศาสตร์ในระดับชาติและนานาชาติกับสถาบัน ต่างๆ ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ 3.ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือด้านดาราศาสตร์กับหน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ 4.บริการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์

Science & Technology Park (STeP) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “STeP” เป็นหน่วยงานวิชาการภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดจากความร่วมมืออย่างเป็นทางการของ 7 คณะ อันประกอบไปด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี ซึ่งสามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมหลัก ในเชียงใหม่และภาคเหนือ อาทิเช่น เกษตรแปรรูป กระบวนการอาหาร และหัตถอุตสาหกรรม โดยจะมีการขยายขอบเขตข้อตกลงความร่วมมือไปยังคณะอื่นๆ ต่อไปในอนาคต STeP เป็นศูนย์ให้บริการที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรทั้งบุคลากร โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้วยกลไกการให้บริการที่หลากหลายในการสนับสนุน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งครอบคลุมถึงการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์เทคโนโลยี การออกแบบนวัตกรรม การให้บริการห้องปฏิบัติการและเครื่องมือปฏิบัติการ การให้บริการ โรงงานต้นแบบเทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างโอกาสทางธุรกิจในรูปแบบต่างๆ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อกำเนิดจากการที่ได้รับพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2525 ที่พระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองต่อไป โดยทำการศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำตลอดจนความชุ่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และ พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารและ ปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศีกษากิจกรรมต่างๆ ในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป ดังมีพระราชดำริว่า “ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” หรืออีกนัย หนึ่งเป็น “สรุปผลการพัฒนา” ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้”
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/ost-sci-review-april2019.pdf

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 2/62

ข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ดาราศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ได้ชื่อว่ามีความยากในการศึกษา และการพัฒนา เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก เพราะต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะมาช่วยให้เราสามารถสังเกตการณ์ สำรวจ หรือวิเคราะห์ปรากฎการณ์ และเทหวัตถุต่างๆ บนฟากฟ้าได้ การมีสถาบันและบุคลากรด้านดาราศาสตร์เป็นตัวชี้วัดของความก้าวหน้าทางวิทยาการและเศรษฐกิจสังคมของประเทศ การเริ่มต้นเรื่องดาราศาสตร์ของไทย ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าด้วยการทรงศึกษาดาราศาสตร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงสามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411 จนได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

เนื่องในวาระที่มีการสมโภช 200 ปี แห่งการพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เมื่อปี 2547 และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ปี 2550 คณะรัฐมนตรี จึงมีมติอนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ในรูปแบบองค์การมหาชนขี้น เพื่อเป็นการรองรับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยวันที่ 1 มกราคม 2522 เป็นวันสถาปนา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. โดยมีที่ทำการอยู่ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ศูนย์ดาราศาสตร์แห่งชาติของประเทศไทย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

Ultima Thule วัตถุที่ไกลที่สุดที่เคยมียานสำรวจใดไปถึง

ยานสำรวจอวกาศ New Horizons ได้นำภาพที่ได้จาก Ultima Thule ซึ่งเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans Neptunian Object) ที่อยู่ห่างไปถึง 6 พันล้ากิโลเมตร นับเป็นวัตถุห่างไกลจากโลกมากที่สุดเท่าที่เคยมียานสำรวจใดๆ ของมนุษย์โฉบผ่าน ยานสำรวจอวกาศ New Horizons เป็นยานสำรวจอวกาศที่ถูกปล่อยออกไปเมื่อปี 2006 และในวันที่ 14 กรกฎาคม 2015 ได้เป็นยานสำรวจแรกที่โฉบผ่านและนำภาพถ่ายพื้นผิวที่แท้จริงของดาวพลูโตมาให้ได้ดูกันเป็นครั้งแรก หลังจากที่ยาน New Horizons ได้บรรลุภารกิจในการโฉบผ่านดาวพลูโต ทีมงานได้พยายามมองหาวัตถุ Trans-Neptunian วัตถุอื่นที่จะทำการศึกษาต่อไป ภายหลังจากที่ยาน New Horizons ได้ทำการศึกษาและมีความเข้าใจเกี่ยวกับดาว (486958) 2014 MU69 การตั้งขื่ออย่างเป็นทางการจึงจะเกิดขึ้น ตามมาตรฐานของ IAU หลังจากที่ได้ถูกรับเลือกเป็นวัตถุเป้าหมายของยาน New Horizons ทีมงานจึงได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เสนอชื่อที่จะนำมาใช้เป็นชื่อเล่นชั่วคราวของดาวดวงนี้ จนในที่สุดชื่อที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ Ultima Thule คำว่า Ultima Thule มาจากภาษาละติน มีความหมายว่า ขอบเขตของโลกที่เรารู้จัก ซึ่งสำหรับวัตถุ Trans – Neptunian เป็นวัตถุที่ไกลจากโลกที่สุดเท่าที่ยานสำรวจใดๆเคยไปเยือน ยานสำรวจอวกาศ New Horizons ได้ทำการโฉบผ่านดาว Ultima Thule ด้วยระยะห่างเพียง 3,500 กม. ตรงกับเวลา 12.33 น. วันที่ 1 มกราคม 2019 ตามเวลาประเทศไทย และได้ทำการบันทึกภาพของ ขอบเขตของระบบสุริยะที่เรารู้จัก เอาไว้เป็นครั้งแรก ในเบื้องต้นนั้น ภาพคร่าวๆ เผยให้เห็นว่า ดาวดวงนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับพินโบว์ลิ่ง มีการหมุนรอบตัวเองและมีขนาดประมาณ 32 คูณ 16 กม. Ultima Thule เป็นวัตถุประเภท Contact Binary หรือ ดาวคู่แบบแตะกัน ซึ่งประกอบจากวัตถุทรงกลมสองวัตถุที่ชนกันจะหลอมติดกันจนมีรูปร่างอันแปลกประหลาด วัตถุนี้มีความยาวรวมกันประมาณ 31 กม. โดยนักดาราศาสตร์ตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการสำหรับก้อนทรงกลมใหญ่ว่า Ultima โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 19 กม. และทรงกลมเล็กว่า Thule มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 กม.

ดาวเคราะห์แห่งดาวบาร์นาร์ด (Bernard’s Star) โลกใบใหม่ที่ไกลออกไป 4.3 ปีแสง ในจักรวาลของดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าเบอร์นาด (Burnard’s Star) นักดาราศาสตร์ได้ส่องดูดาวเคราะห์ดวงใหม่ พบว่า ในกลุ่มดาวนี้ มีซุปเปอร์เอิร์ธที่มีมวลอย่างน้อย 3.2 เท่าของโลกโคจรรอบใกล้กับแนวเหมายันต์ (ระยะทางขั้นต่ำจากดาวฤกษ์ นอกเหนือจากระบบอัลฟาเซ็นทอรี) ซึ่งประกอบด้วยสามดาวและอยู่ห่างจากเราประมาณ 4.3 ปีแสง ดาวบาร์นาร์ดเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดถัดไปเมื่ออยู่ห่างออกไป 6 ปีแสง ดาวฤกษ์บาร์นาร์ดมีการเคลื่อนที่ที่เร็วมาก ประมาณ 500,000 กม./ขม. ดาวเคราะห์ที่ถูกขนานนามว่าเป็นดาว b ของ Barnard เชื่อกันว่ามีอยู่ประมาณ 0.4 หน่วยทางดาราศาสตร์หรือ 37 ล้านไมล์จากดาว Barnard ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้โคจรรอบดาวฤกษ์และหมุนรอบตัวเองทุก 233 วัน การวิเคราะห์ดาวต่างๆ บนท้องฟ้า ต้องอาศัยอุปกรณ์ในลักษณะของเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์เช่น กล้องโทรทรรศน์ที่ Telecopio Nazionale Galieo หรือ Lick Observatory และ CARMENES ที่ Calar Alto Observatory ของสเปน กล้องโทรทรรศน์ 90 ซม. ที่หอดูดาวเซียร่าเนวาดา สหรัฐอเมริกา กล้องโทรทรรศน์หุ่นหยนต์ 40 ซม.ที่หอดูดาว SPACEOBS กลางทะเลทรายอตากามา ในชิลีและอุปกรณ์อื่นๆ มากมายที่ถ่ายภาพและบันทึกดางดาวอันไกลโพ้น การตรวจสอบ และการติดตามความเคลื่อนที่ของระบบจักรวาลของดาวบาร์นาร์ด จะดำเนินต่อไป ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า Red Dots Hubble Fellow ที่ Carnegie Institute for Science ได้บันทีกไว้ว่า การศึกษาครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการทำงานร่วมกันและประสานงานในหลายๆทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยประสบความสำเร็จมาก่อนในการวิจัยดาวเคราะห์นอกระบบ (Exoplanet) ซึ่งยากที่จะสังเกตได้ด้วยวิธีทั่วไป

นักดาราศาสตร์มองเห็นดาวฤกษ์ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งเป็นดาวแคระแดงอายุ 13.5 พันล้านปี อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก หนึ่งในดาวที่เก่าแก่ที่สุดในจักรวาลซ่อนตัวอย่างเงียบๆ ในทางช้างเผือกประมาณ 2,000 ปีแสงจากโลก จากการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal ของ Jake Park ดาวแคระแดง จัดเป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง มีอายุ 13,500 ล้านปี ไม่พบร่องรอยว่ามันก่อตัวขึ้นจากเมฆที่ยังเหลืออยู่หลังจาก Big Bang เนื่องจากดาวฤกษ์ขนาดเล็กนั้นมีมวลเพียงหนึ่งในเจ็ดของมวลดวงอาทิตย์ และมีธาตุหนักและสสารดั้งเดิม จนทำให้เชื่อได้ว่า ดาวนี้เป็นประชากรดาวดวงแรกของดาราจักร ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) ดวงอาทิตย์น่าจะสืบเชื้อสายมาจากดาวมวลสูงอายุสั้นหลายพันดวงที่มีชีวิตและตายไปตั้งแต่ Big Bang อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สนใจที่สุดเกี่ยวกับดาวฤกษ์นี้ก็คือบางทีมันอาจมีบรรพบุรุษเพียงดวงเดียวที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งที่ยังเหลืออยู่ในดาราจักรช้างทางเผือกของเรา

Exoplanet ดาวเคราะห์นอกระบบ ดาวเคราะห์นอกระบบ (extrasolar planet หรือ exoplanet) หรือ ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาล ดาวเคราะห์เหล่านี้ เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง ดาวเคราะห์นอกระบบส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์คล้ายกับดาวพฤหัสบดี แต่เทคโนโลยีดาราศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้พบดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเล็กลง หรือพวกดาวดิน ดาวหิน ดาวเคราะห์นอกระบบเริ่มเป็นประเด็นสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์เชือว่าดาวเคราะห์นอกระบบมีอยู่จริง เมื่อถึงปี 2000 มีการตรวจพบเพิ่มขึ้นทุกปีมากว่าปีละ 15 ดวง ประมาณการว่า อย่างน้อย 10% ของดวงดาวที่มีลักษระคล้ายดวงอาทิตย์จะต้องมีดาวเคราะห์บริวาร การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า จะมีบางดวงที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ก็คือหาดาวที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลกมนุษย์ ที่มีความสมดุลของธรณีภาค (geosphere) อุทกภาค (hydrosphere) และ บรรยากาศ (atmosphere) จนก่อให้เกิดชีวภาค (biosphere) ขึ้นมา ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดได้ยากมากในจักรวาล สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้นิยาม ดาวเคราะห์ ไว้ว่า ดาวเคราะห์ต้องโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ในปัจจุบันคำนิยามนี้จะใช้สำหรับดาวเคราะห์ภายในระบบสุริยะเท่านั้น มิได้ใช้นิยามนี้กับดาวเคราะห์นอกระบบสำหรับคำนิยามของดาวเคราะห์นอกระบบ ที่ใช้งานจริง โดยมีคำจำกัดความดังต่อไปนี้ วัตถุที่มีมวลแท้จริงต่ำกว่าขีดจำกัดมวลอันทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นของดิวเทอเรียม (ในปัจจุบันคำนวณได้ประมาณ 13 เท่า ของมวลดาวพฤหัสบดีสำหรับวัตถุที่ประกอบด้วยโลหะ) ที่โคจรรอบดาวฤกษ์หรือซากของดาวฤกษ์ ถือว่าเป็น ดาวเคราะห์ (ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากอะไร) สำหรับขนาดหรือมวลต่ำสุดสำหรับวัตถุนอกระบบสุริยะในการพิจารณาถึงการเป็นดาวเคราะห์ให้ใช้หลักการเช่นเดียวกับที่ใช้ในระบบสุริยะ ปัจจุบัน มีคำถามที่ยังตอบไม่ได้จำนวนมากเกี่ยวกับคุณสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบ อย่างเช่น รายละเอียดขององค์ประกอบของดาว และโอกาสที่ดาวเหล่านี้จะมีดวงจันทร์ของตัวเอง ในปัจจุบันพบว่าดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากไม่มีน้ำซึ่งแสดงว่ายังคงต้องมีการศึกษาสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มเติม อีกคำถามหนึ่งคือมีสิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์นอกระบบหรือไม่ ดาวเคราะห์หลายๆ ดวงมีวงโคจรอยู่ในระยะที่สามารถมีสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งมีโอกาสที่เงื่อนไขหลายประการทำให้ดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่ดาวเคราะห์ที่พบได้เหล่านี้ ส่วนมากเป็นดาวเคราะห์ยักษ์คล้ายดาวพฤหัสบดีมากกว่า ถ้าดาวเคราะห์เหล่านี้มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ เป็นไปได้ว่าดวงจันทร์เหล่านั้นจะสามารถเป็นแหล่งกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้ การตรวจหาสิ่งมีชีวิตบนดาวที่อยู่ห่างไกล (ยังไม่นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมหรือไม่) เป็นสิ่งที่น่าท้าทายอย่างยิ่ง แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้ว่าการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้มาก็ตาม ดาวแท้ๆ ชื่อไทยๆ วัตถุบนฟากฟ้าชิ้นแรกที่คนไทยรู้จักในชื่อภาษาไทย น่าจะเป็น ไทยคม ซึ่งเป็นชุดดาวเทียมสื่อสารของไทย ที่ได้มีการยิงดวงแรกไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 และปัจจุบันมี 8 ดวงแล้ว ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ ไม่มีคำภาษาไทยได้รับการรับรองในศัพท์สากลในการเรียกชื่อดาว กระทั่งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ประกาศผลการคัดเลือกชื่อสามัญโลกต่างระบบ 20 แห่ง ที่แต่ละชาติเรียกต่างๆ กัน เช่น ไทยเรียก ดาวจระเข้ ลาวเรียก ดาวหัวช้าง อังกฤษเรียก ดาวคันไถ (Plow) โดยให้ชื่อดาวดวงนี้ว่า แชลาแวน (Chalawan) หรือออกให้ถูกในสำเนียงเจ้าของภาษาก็คือ ดาวชาละวัน นั่นเอง ชาละวัน เป็นดาวฤกษ์ดวงแรกบนท้องฟ้าที่มีชื่อสามัญสากลเป็นชื่อไทย ที่มาก็คือ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือ IAU ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดชื่อและนิยามต่างๆ ในทางดาราศาสตร์ ได้ดำเนินโครงการตั้งชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ (NameExoWorlds) เป้าหมายที่จะตั้งชื่อสามัญให้แก่ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นจำนวน 20 ระบบ บางระบบที่ดาวฤกษ์เองยังไม่มีชื่อสามัญก็ให้ตั้งชื่อสามัญให้ดาวฤกษ์นั้นด้วย สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้จัดประกวดและคัดเลือกชื่อ ตะเภาแก้ว ซึ่งเสนอโดย ด.ญ.ศกลวรรณ ตระการรังสี ส่วนชื่อ ชาละวัน เสนอโดย นายสุภาภัทร อุดมรัตน์นุภาพ คณะทำงานจึงได้เพิ่มชื่อ ตะเภาทอง เข้าไปอีกชื่อเพื่อนำไปตั้งให้แก่ระบบสุริยะของดาว 47 หมีใหญ่ การสถาปนาชื่อไทยให้โลกต่างระบบครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย

19 ก.พ. คืนมาฆบูชาชวนจับตา “ซูเปอร์ฟูลมูน”

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยคืนมาฆบูชา 19 กุมภาพันธ์ 2562 ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2562 หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย คืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ตรงกับวันมาฆบูชา ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฎในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ที่ระยะห่างประมาณ 356,836 กิโลเมตร เปรียบเทียบดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติจะมีขนาดใหญ่กว่า 7% และสว่างกว่า 16% สังเกต ได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 18.11 น. เป็นต้นไป ผู้สนใจรอชมและเก็บภาพความสวยงามของดวงจันทร์ได้ในคืนดังกล่าว ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น แต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 356,400 กิโลเมตรและตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุดเรียกว่าอะโปจี (Apogee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,700 กิโลเมตร ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก มีผลทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงมากว่าปกติเล็กน้อย ไม่มีผลกระทบอื่นใดต่อโลก นอกจากนี้ การที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงที่โตกว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่อธิบายได้ตามหลัการทางวิทยาศาสตร์ แม้วว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่อาจไม่ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง สำหรับ ดวงจันทร์เต็มดวงและใกล้โลกที่สุดในรอบปี ครั้งต่อไปตรงกับวันที่ 8 เมษายน 2563 ห่างประมาณ 357,022 กิโลเมตร

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/ost-sci-review-feb2019.pdf

 

 

 

 

 

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่1/62

ข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม 2562

เมื่อ Science หาใช่เพียง…วิทยาศาสตร์ เมื่อ Art หาใช่เพียง…ศิลปะ

การจัดตั้งกระทรวงใหม่ของประเทศไทย ในชื่อของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยกระทรวงดังกล่าวมีหลักคือ 1) สร้างกลไกระดับกระทรวงที่สามารถตอบโจทย์ นโยบายประเทศไทย 4.0 ได้สำเร็จ 2) ไม่มีการเพิ่มกระทรวง และไม่เพิ่มความซ้ำซ้อนของการบริหารราชการ 3) ให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาสามารถเป็นต้นน้ำ ไปสู่การวิจัยพัฒนานวัตกรรมให้กับประเทศ ทั้งในด้านการคิดค้น บุคลากร และโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงใหม่ไม่ได้เป็นการสร้างกระทรวงใหม่เพื่อให้มีตำแหน่งรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี เพิ่มขึ้น แต่เป็นแนวทางที่อยากหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรืออดีตทบวงมหาวิทยาลัยที่ถูกรวมกับกระทรวงศีกษาธิการปี 2545 ในฐานะสำนักคณะรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) ย้ายมารวมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และตั้งเป็นกระทรวงใหม่ ที่ดูงานวิจัย และนวัตกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพราะมหาวิทยาลัยจำนวนมากเป็นแหล่งศึกษาและคิดค้นวิทยาการมากมาย ในขณะที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นแหล่งสรรพกำลังบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีจำนวนมากก็ขาดฐานที่ดีจะนำมาต่อยอด เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมของหน่วยงานในสังกัดของ วท.หลายองค์กร เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ศูนย์ความเป็นเลิศทางชีววิทยาศาสตร์ (ศลช.) ในมิติของการพัฒนาทีมวิจัยร่วมกัน นำผลการวิจัยไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ หรือแม้กระทั่งการที่ วท. สนับสนุนการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ให้อยู่ใต้ความดูแลของมหาวิทยาลัยต่างๆ เมื่อกลุ่มองค์การภาควิจัยและพัฒนาของ วท. สามารถทำงานร่วมกับกลุ่ม มหาวิทยาลัย ภายในร่มเงากระทรวงเดียวกันอะไรๆ น่าจะง่ายขึ้น ประเด็นถัดมาสาขาที่เป็นสายศิลป์จะทำอย่างไร คณะสายสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ การหาคำอธิบายต่างๆ กลไกมารองรับเป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เคมี ชีวะ ฟิกส์กับวิจัยทางสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ อาทิ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ดุริยางคศาสตร์ ดังนั้น ทางออกชั้นแรกที่ต้องคิดคือ ทำใจให้กว้างสำหรับผู้ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารกระทรวงขวดใหม่ใส่เหล้าคอดเทลผสม ก็คือ คำว่า Science แท้จริง แปลว่าศาสตร์ คำว่าศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิทย์ สังคม มนุษย์ ย่อมอาศัยพื้นฐานความเข้าใจ วิธีวิจัย การใช้ตรรก การสุ่มตัวอย่าง การใช้หลักการของการสืบหาเหตุผล และข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ ศาสตร์ไม่ว่าสาขาใด ย่อมนำไปสู่ผลการวิเคราะห์วิจัย และอาจนำไปสู่นวัตกรรม การนำผลการวิจัยไปเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ย่อมเกี่ยวข้องกับทั้งวิทย์และศิลป์ ดังนั้น Art กลับสอดแทรกไปในวิทยาศาสตร์ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการเจรจา ดังนั้น นักธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Start-up จึงต้องเป็นผู้มีองค์รวมของการใช้วิทยายุทธ ทั้งศาสตร์และศิลป์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ กับคำว่า ศิลปะ หรือ ศาสตร์ กับ ศิลป์ จึงมีความหมายแบบไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นสองฝั่งชัดเจน บุคลากรไทยยุค 4.0 จึงมีความจำเป็นต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัว ดังนั้น การก่อตั้งกระทรวงใหม่ที่ชื่อว่ากระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พิสูจน์ได้ด้วยวิธี STEAM (Science, Technology, Engineering, Art, and Mathematics) กรอบแนวคิดใหม่ STEM นั่นเอง

 

วิทยาศาสตร์ช่วยสร้างองค์ความรู้ทางโบราณคดีเพื่อใช้ในงานพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร?

วิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์ พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ และเครื่องมือหลายประเภทสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์โบราณวัตถุได้เช่นกัน เช่น การศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตันและบริติชมิวเซียม เพื่อศึกษาโบราณวัตถุยุคโรมันด้วยเครื่องมือเอกซเรย์ พร้อมทั้งถ่ายภาพแบบ 360 องศา เพื่อนำไปประกอบให้เป็นภาพถ่ายแบบ 3 มิติ นอกจากนี้ ยังประยุกต์ใช้เทคนิค CT scan เพื่อสแกนดูภายในโบราณวัตถุได้เช่น การศึกษาภาชนะสำริดของชาวไวกิ้ง ประเทศสก๊อตแลนด์ ผลจากการสแกนพบว่าภายในบรรจุวัตถุจำนวน 20 ชิ้น เช่น เข็มกลัดเงิน ทองคำแท่ง ลูกปัดงาช้างเคลือบทอง ซึ่งวัตถุทั้งหมดถูกหุ้มไว้ด้วยหนังสัตว์ ในประเทศไทยมีการนำเทคนิคการเอกซเรย์มาวิเคราะห์การศึกษาเครื่องเขินซึ่งจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ (X-ray radiography) เพื่อศึกษาโครงสร้างของเครื่องเขิน และใช้วิธี Microscopic analysis เพื่อศึกษาจำนวนชั้นที่ลงรักและวัสดุที่ใช้ผสมในเนื้อรักของเครื่องเขินโบราณ นอกจากนี้ยังนำเทคนิควิเคราะห์ด้วยวิธีการเอกซเรย์ และถ่ายภาพด้วยรังสีแกมมา มาใช้วิเคราะห์ส่วนผสมของโลหะ และเทคนิคการหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย สมัยพุทธศตวรรษที่ 14 นอกจากศึกษาภูมิปัญญาของช่างโบราณแล้วยังมีประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ในอนาคต

เรื่องเล่าจากขอบหลุม (ขุดค้น)

โบราณคดีเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่นๆ อย่างไรบ้าง วิชาโบราณคดีต้องอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เริ่มจากการขุดค้น โดยอาศัยการใช้ข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) โดยการเอาแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม นักโบราณคดีจะต้องลงพื้นที่สำรวจตรวจสอบร่องรอยที่พบจากการใช้ข้อมูลระยะไกลและไปพูดคุยสอบถามคนในท้องถิ่น ถ้าพบจะต้องระบุตำแหน่งที่พบโดยการใช้ GPS ถ้าพบหลายๆ แหล่งอาจใช้โปรแกรมด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ช่วยเวลาเอาข้อมูลไปใส่ในคอมพิวเตอร์ เพราะสามารถมองเห็นการกระจายตัวของแหล่งโบราณคดีได้ง่าย ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลสะดวกมากขึ้น สำหรับการขุดค้น จะเลือกเนินดินสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ ผิวดินมีหลักฐานโบราณคดีกระจายอยู่ เช่น เศษหม้อดินเผา แนวอิฐโบราณ ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผา กระดูกคน กระดูกสัตว์ ฯลฯ ในกรณีที่ขุดแล้วกลับไม่ค่อยพบโบราณวัตถุเราอาจจะใช้เครื่องสำรวจหยั่งลึกด้วยสัญญาณเรดาร์ (Ground Penetrating Radar หรือเรียกสั้นๆ ว่า GPR) เครื่องนี้สามารถส่งคลื่นทะลุลงไปใต้ดิน แล้วส่งสิ่งที่ตรวจวัดได้เป็นกราฟขยุกขยิกมาให้แปลความอีกทีหนึ่ง เมื่อตกลงกันได้แล้วว่าจะขุดตรงไหน นักศึกษาปี 2 จะวางผังหลุมขุดค้น โดยใช้เครื่องมือแบบช่างรังวัดช่วยในการวางผังคลุมให้ทั่วบริเวณที่จะขุด และทำผังบริเวณรอบๆที่ขุดค้นด้วย จะต้องส่งสัญญาณให้ขยับไม้สตาฟ ลากสายเทปวัดระยะยาวๆ แล้วตอกหมุดลงพื้น เสร็จแล้วขึงเชือกให้เป็นช่องตารางไว้ทั่วบริเวณ พวกเรานิยมใช้เชือกสีขาวแบบเชือกห่อพัสดุ ที่ขึงไว้เพื่อความสะดวกในการกำหนดขอบเขตของหลุมขุดค้น ส่วนขุดแล้วจะพบอะไรบ้างเป็นเรื่องที่ไม่อาจคาดเดาได้ เพราะการแปลความที่ได้จากการใช้เครื่อง GPR บอกได้เพียงว่ามีบางสิ่งบางอย่างอยู่ใต้ดินตรงนั้น หากขุดขึ้นมาแล้วพบโครงกระดูกของคนโบราณ นักศึกษาปี 3 ต้องใช้ความรู้วิชาการวิภาค (anatomy) บอกให้ได้ว่าเป็นโครงกระดูกผู้หญิงหรือผู้ชาย เป็นเด็กหรือแก่แล้ว และก็อาจจะเก็บขึ้นไปศึกษาในรายละเอียดต่อไปว่าเขาหรือเธอคนนั้นจากโลกนี้ไปด้วยสาเหตุอะไร และหากโชคดีพบโครงกระดูกที่อยู่นาภาพดี ไม่ผุจนเกินไป อาจเก็บตัวอย่างส่งไปวิเคราะห์ดีเอ็นเอ ก็จะได้ความรู้เกี่ยวกับประชากรยุคโบราณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มักจะขุดพบเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำจากวัสดุต่างๆ ตลอดจนเมล็ดพืชแลโครงกระดูกสัตว์ฝังร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ด้วย สันนิษฐานว่าหลักฐานเหล่านี้เป็นของอุทิศให้กับคนตาย ไม่เพียงแต่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมความตายสิ่งของที่พบอาจบ่งบอกถึงสถานภาพทางสังคมของผู้ตาย อาจบอกถึงการติดต่อกับชุมชนอื่น และสภาพแวดล้อมในยุคนั้นได้อีกด้วย เช่น หลุมฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่เต็มไปด้วยของอุทิศจำนวนมาก ที่โครงกระดูกสวมเครื่องประดับทำจากหินกึ่งอัญมณีและโลหะหลายชิ้น อาจแสดงให้เห็นว่าเป็นโครงกระดูกของบุคคลที่เคยมีสถานภาพสูงในชุมชนนั้น นอกจากนี้เมื่อนำเครื่องใช้และเครื่องประดับบางชิ้นไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบเหมือนกับองค์ประกอบของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับชนิดเดียวกันที่พบจากแหล่งโบราณคดีอื่นที่อยู่ไกลออกไป แสดงให้เห็นว่าคนในแหล่งโบราณคดีมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น ซึ่งอาจเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพ เช่น การใช้วิธีทางศิลาวรรณา (Petrographic Analysis) ศึกษาองค์ประกอบของเครื่องมือหินหรือภาชนะดินเผา หรือการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของลูกปัดแก้วโดยการใช้ X-Ray Fluorescence (XRF) หรือ Laser Ablation-ICP-MS นอกจากการพยายามสร้างภาพสันนิษฐานของสภาพแวดล้อมในอดีตจากพืชหรือสัตว์ที่พบแล้ว ยังมีงานโบราณคดีที่เน้นศึกษาภูมิประเทศในบริเวณที่พบว่ามีการตั้งถิ่นฐานในสมัยโบราณ เช่น การศึกษาว่าเมืองโบราณแห่งนี้เคยตั้งอยู่บนแนวชายฝั่งทะเลโบราณหรือไม่ นักโบราณคดีต้องค้นคว้าจากภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียมมาแปลความด้านสภาพภูมิประเทศโบราณก่อนสำรวจในพื้นที่จริง แล้ววางแนวเจาะเอาตัวอย่างตะกอนไปศึกษา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ด้านธรณีวิทยากับโบราณคดีมาใช้คู่กันกับการกำหนดอายุของตะกอนด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence Dating) ส่วนการกำหนดอายุจากอินทรียวัตถุก็นิยมใช้การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon Dating) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าวิธีหาอายุโดยการใช้คาร์บอน 14 ซึ่งเป็นวิธีที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการกำหนดอายุของแหล่งโบราณคดีด้วย

 

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/ost-sci-review-jan2019.pdf