การอนุญาตแบบเปิด (open licences) ลิขสิทธิ์ (copyright) และสมบัติสาธารณะ (public domain) คืออะไร

– การอนุญาตแบบเปิดคืออะไร
สามารถร่วมมือ พัฒนา เข้าถึง และแรงบันดาลใจ งานที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยไม่ต้องยกเลิกการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ที่ได้มาโดยอัตโนมัติสำหรับงานนั้น
ทำให้ยังคงเป็นเจ้าของงานนั้นในขณะที่อนุญาตให้บุคคลอื่น ใช้ แบ่งปัน และเรียบเรียงใหม่ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของงาน

– ลิขสิทธิ์คืออะไร
เมื่อไรก็ตามที่สร้างสรรค์งานใหม่ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเพลงหรือเรื่องราวใหม่ รูปภาพ สไลด์ จะได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องทำอะไรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และตั้งใจจะคุ้มครองงานนั้นจากการนำไปใช้ที่เจ้าของไม่ต้องการโดยไม่ขออนุญาตเจ้าของก่อน
ถ้าต้องการให้งานที่ได้รับการสร้างสรรค์ได้แบ่งปันอย่างฟรี โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน ต้องให้งานนั้นอยู่ภายใต้สมบัติสาธารณะหรือให้การอนุญาตแบบเปิด

– สมบัติสาธารณะคืออะไร
สิ่งที่อยู่ภายใต้สมบัติสาธารณะไม่คุ้มครองโดยกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งได้แก่ ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือ กฎหมายสิทธิบัตร ไม่มีใครสามารถเรียกร้องสิทธิกับสิ่งนั้น และสิ่งนั้นสามารถใช้โดยใครก็ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของก่อน
ข้างล่างเป็น 4 หนทางที่จัดเป็นสมบัติสาธารณะ ได้แก่
1. การคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์หมดอายุ
2. เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่สามารถต่อการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ได้
3. งานอยู่ภายใต้สมบัติสาธารณะ
4. กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองงานต่อไปนี้ เช่น วลีสั้นๆ ข้อเท็จจริงและทฤษฎี และงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ที่มา: BCcampus (OpenEd). What are Creative Commons and Open Licences?. Retrieved September 30, 2019, from https://open.bccampus.ca/what-is-open-education/what-are-creative-commons-and-open-licences/

6 Big Research Ideas โดย the U.S. National Science Foundation (NSF)

The National Science Foundation (NSF) ได้ประกาศ 6 research ideas ใน 10 Big Ideas
(4 ideas คือ process ideas) เพื่อนำทางการวิจัยและลงทุนระยะยาว

NSF และหน่วยงานที่ขอรับทุน โดย NSF ได้อธิบายแนวคิด Big Ideas ว่าเปรียบเสมือนตัวกระตุ้นความท้าทายในการวิจัย ที่เป็นงานวิจัยใหญ่ สร้างสรรค์ใหม่ และมีพันธสัญญาระยะยาว นอกจากนี้ Big Ideas จะดึงดูดการมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์จากนักวิจัยจำนวนมาก ข้ามพรมแดนวิทยาศาสตร์ และนำไปสู่ผลกระทบทางวิทยาศาสตร์และสังคมที่ส่งประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก Big Ideas ต้องมีวิธีการดำเนินการที่ไม่ซ้ำใคร และมีนักวิจัยร่วมทีมวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชา รวมถึงความร่วมมือจากอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานวิทยาศาสตร์ สังคม และ มหาวิทยาลัย (Henry, 2018) 

จากไอเดีย “The U.S. National Science Foundation’s 6 big research ideas,” 2019 ดังกล่าว Elsevier ใช้ข้อมูลวิจัยจากฐาน Scopus ตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2016 และเครื่องมือ SciVal ที่วิเคราะห์สถานภาพงานวิจัยปัจจุบันของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งข้อมูลตามภูมิศาสตร์ เช่น รัฐ หรือ สถาบัน
เป็นต้น จำนวนบทความ
/งานวิจัย และผลงานที่อยู่อันดับสูงสุด (วัดจากหลายมิติ เช่น ผู้แต่ง (บุคคลและหน่วยงาน) ที่มีผลงานตีพิมพ์มากที่สุด หรือ บทความที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดในสาขาวิจัยนั้นๆ หรือค่า FWCI สูงสุด เป็นต้น) (National Science Foundation [NSF], n.d.)

6 Big Research Ideas ได้แก่

Future of Work at the Human-Technology Frontier มีทั้งหมด 4 ธีม คือ Building the human-technology partnership Augmenting human performance Illuminating the socio-technological landscape และ Fostering lifelong learning คำค้นและผลสืบค้นดังรูปภาพที่ 1

รูปภาพที่ 1 ผลการค้นคืนคำค้เกี่ยวกับ Human-Technology

Harnessing data งานวิจัยที่เกี่ยวกับ data science และวิศวกรรม หากสืบค้นด้วยคำค้น Data science research, research data infrastructure, cyberinfrastructure (คำนี้ NSF นำมาใช้เพื่อกล่าวถึง information storage system, technology repositories), data-capable workforce, mathematics, statistics, computational science, data modeling, simulation and visualization พบว่า University of Illinois at Urbana-Champaign มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสูงสุด (57) ลองลงมาคือ Indiana University (53)

Navigating the new Arctic สืบค้นด้วยคำค้น Arctic, narwhal, Arctic fox, Arctic hare พบว่า University of Alaska Fairbanks มีผลงานทั้งหมด 663 บทความ จำนวนอ้างอิงรวม 7,347 ครั้ง

Quantum leap สืบค้นด้วยคำค้น quantum mechanics, lasers, transistors, superposition, entanglement, precision sensors, quantum states พบว่า University of Pittsburgh
เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้นำงานวิจัยด้านนี้ โดยมีมีค่า FWCI สูงถึง 97

Understanding the rules of life คำสำคัญที่ใช้ และผลการสืบค้นดังรูปภาพที่ 2

รูปภาพที่ 2 ผลการค้นคืนคำค้เกี่ยวกับ Rules of Life

Windows on the universe สืบค้นด้วยคำค้น Multi-messenger astrophysics, cosmic rays, quantum and gravitational fields, stars, black holes, neutron stars พบว่า NASA มีผลงานตีพิมพ์มากที่สุดคือ 222 บทความ และทำวิจัยร่วมกับ University of Maryland ทั้งหมด 725 งานวิจัย และมีชิ้นงานที่ได้การอ้างอิงสูงสุดที่ 182 ครั้ง
STKS จะได้นำ Big Research Ideas ของ NSF มาใช้สืบค้นผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยใช้ฐานข้อมูลที่ สวทช. บอกรับเป็นสมาชิก เพื่อสำรวจสภาพงานวิจัยปัจจุบันของประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 6 Big Research Ideas ได้ใน NSTDA Style ฉบับต่อไป

อ้างอิง
Henry, Mike. (2018, September 5). NSF launches competition to identify new ‘Big Ideas’. Retrieved from https://www.aip.org/fyi/2018/nsf-launches-competition-identify-new-‘big-ideas’
NSF. (2018). NSF’s ten big ideas. Retrived Retrieved from https://www.nsf.gov/news/special_reports/big_ideas/
The U.S. National Science Foundation’s 6 big research ideas. (2019). Retrieved from https://www.elsevier.com/research-intelligence/campaigns/6-big-research-ideas

คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources, OER) คืออะไร

เป็นแหล่งทรัพยากรเพื่อการสอน การเรียนรู้ และการวิจัย ซึ่งได้รับอนุญาตโดยผู้สร้างสรรค์ เช่น ให้ใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง

เป็นแหล่งทรัพยากรเพื่อการสอนที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้แบบเปิด เช่น ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิด Creative Commons หรืออนุญาตให้ใช้ภายใต้สมบัติสาธารณะ (public domain) และไม่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง สามารถเข้าถึง ใช้ เรียบเรียงใหม่ ปรับปรุง และแบ่งปันได้อยางฟรี ขึ้นอยู่กับการอนุญาตที่ใช้ มีหลายชนิดของ OER เช่น เป็นหลักสูตรออนไลน์ วีดีโอ Audio สไลด์นำเสนอ

เหตุผลหนึ่งที่เราใช้ OER เช่น ตำราเรียนแบบเปิด (open textbooks) คือใช้ได้ฟรี แต่ยังมีเหตุผลอื่นอีก เช่น เป็นส่วนหนึ่งของการสอนแบบเปิดและทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียน หลายการศึกษาแสดงความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการใช้ OER และการประสบผลสำเร็จทางการศึกษาของนักเรียนและชี้ให้เห็นว่า OER อาจช่วยลดอัตราการถอนตัว (withdrawal rates) แต่เพิ่มผลการเรียนให้ดีขึ้นสำหรับนักเรียน

สามารถเพิ่มการเข้าถึงการศึกษา ช่วยให้นักเรียนเข้าถึงและวางแผนการศึกษา กระตุ้นการเรียนรู้โดยให้แหล่งทรัพยากรการศึกษาในเวลาที่ต้องการ โดยตรง การใช้แบบไม่เป็นทางการแก่ทั้งนักเรียนและผู้สนใจเรียน เพิ่มคุณค่าของการผลิตความรู้ ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มคุณภาพ สร้างนวัตกรรมผ่านความร่วมมือ

ที่มา: BCcampus (OpenEd). What are Open Educational Resources?. Retrieved September 28, 2019, from https://open.bccampus.ca/what-is-open-education/what-are-open-educational-resources/

10 สาระสำคัญของการใช้บริการ Facebook ที่ควรรู้

ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องจับตาดูเรื่องข้อมูลส่วนตัวที่ถูกนำไปใช้ จริงๆ แล้วประเทศไทยมีการเล่นเฟสบุ๊คกันอย่างมากมายโดยเป็นอันดับ 8 ของโลก ด้วยสถิติ 46 ล้านคน จากประชากร 70 ล้านคน นั่นคือ 70% ของคนในประเทศไทยมีเฟสบุ๊คใช้

ปัจจุบันเราอาจใช้เฟสบุ๊คกันอย่างสบายใจมานานแต่ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศต้นทางของเทคโนโลยีนี้ก็พยายามหาทางเข้ามาควบคุม มาตรวจสอบเฟสบุ๊คกันอยู่เป็นประจำ

มีตัวอย่างที่น่าสนใจหากผู้ใช้งานเฟสบุ๊คสังเกตนั่นคือ หากมีการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์เพิ่งจบไปแล้วเข้าใช้งานเฟสบุ๊คทันที จะด้วยมือถือหรือ พีซี ก็ตาม เมื่อเราเลื่อนฟีดลงมาไม่เกิน 2 โพส เราจะเห็นโฆษณาที่เกี่ยวกับสิ่งที่เราเพิ่งคุยจบไปขึ้นมาให้เห็นพอดี เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มีคนสงสัยว่าเฟสบุ๊คอาจแอบฟังเราสนทนากันจริงๆ แต่อย่างไรก็ตามเฟสบุ๊คได้ปฏิเสธเรื่องนี้

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเฟสบุ๊ครู้ใจเรายิ่งกว่าคนใกล้ตัวเราซะอีก การที่เฟสบุ๊คสร้างแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ให้เราใช้กันฟรีๆ นั้น ความจริงแล้วของฟรีไม่มีในโลก เราจำเป็นต้องแลกมาด้วยอะไรบางอย่างที่เราอาจไม่เคยสนใจ และข้อตกลงก่อนสมัครเฟสบุ๊คไม่เคยมีใคนอ่านหรือสนใจดู ก่อนสมัครทำให้เราต้องพลาดการรู้เรื่องราวถึงการนำข้อมูลของเราไปใช้ เพื่อจะอธิบายเรื่องนี้ แบไต๋ขออาสาที่จะสรุปเป็น 10 สาระสำคัญของข้อกำหนดการใช้บริการที่เราต้องรู้ ก่อนเล่นเฟสบุ๊ค

สำหรับข้อกำหนดการใช้งานของเฟสบุ๊คที่นำมาเสนอนี้เป็นเวอร์ชันที่เพิ่งอัปเดตกันไปล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2019

  • สาระสำคัญข้อแรก เฟสบุ๊คไม่เก็บค่าบริการ ดังนั้น คุณต้องยินยอมให้เราแสดงโฆษณา จากธุรกิจ องค์กรที่จ่ายเงินให้เรา โปรโมตทั้งในและนอกผลิตภัณฑ์ในเครือเฟสบุ๊ค โดยอาศัยข้อมูลส่วนตัวของคุณ
  • สาระสำคัญข้อที่ 2 การปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้คนเป็นหัวใจหลักในการออกแบบระบบโฆษณาของเรา เราไม่ได้ขายข้อมูลส่วนตัวของคุณแก่ผู้ลงโฆษณา และเราจะไม่แชร์ข้อมูลที่ระบุตัวคุณโดยตรงเช่นชื่อ นามสกุล อีเมล์ หรือข้อมูลติดต่ออื่นๆ กับผู้ลงโฆษณา เว้นแต่ว่าคุณให้สิทธิ์การอนุญาตเป็นการเฉพาะกับเฟสบุ๊ค
  • สาระสำคัญข้อที่ 3 หลังจากที่เฟสบุ๊คยิงโฆษณาไปตามกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าเฟสบุ๊ค เฟสบุ๊คก็จะทำรายงานประสิทธิภาพการทำงานของโฆษณากลับไปที่ลูกค้าของเฟสบุ๊คอีกที เพื่อให้ลูกค้าของเฟสบุ๊คเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ใช้ ก็จะมีข้อมูลประชากรศาสตร์ ข้อมูลความสนใจ เช่น เพศ อายุ เมืองที่อยู่อาศัย สนใจเรื่องอะไร รวมไปถึงวิธีการตอบโต้ระหว่างคุณกับเนื้อหาโฆษณานั้นๆ แต่ย้ำว่าเฟสบุ๊คจะไม่แชร์ข้อมูลที่ระบุตัวตนของคุณโดยตรง เว้นเสียแต่ว่าคุณให้สิทธิ์การอนุญาตเป็นการเฉพาะกับเฟสบุ๊ค  แล้วเราไปกดให้มันไปยังเนี่ย!!!
  • สาระสำคัญข้อที่ 4 เฟสบุ๊คพูดถึงสิทธิ์การอนุญาตการใช้เนื้อหาที่คุณสร้างขึ้นและแชร์ว่า เนื้อหาบางอย่างที่คุณแชร์ หรืออับโหลดเข้ามาในระบบไม่ว่าจะเป็นภาพหรือวิดีโอ หรือข้อความเนื้อหานั้นๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาคือคุณ แต่เพื่อที่คุณจะใช้เฟสบุ๊คได้ต่อไป คุณก็จำเป็นต้องให้สิทธิ์การอนุญาตทางกฎหมายกับเฟสบุ๊คที่เรียกว่าการอนุญาตให้เฟสบุ๊คใช้เนื้อหาของคุณได้ด้วย แต่ถ้าคุณแชร์โพสต์หรืออัปโหลดเนื้อหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟสบุ๊ค หรือทำโดยเฟสบุ๊ค เช่น การประมวลผลภาพเพื่อนำไปสู่วิดีโอประทับใจแห่งวันวานทั้งหลาย คุณจะได้สิทธิ์แบบไม่เฉพาะตัว และเฟสบุ๊คสามารถถ่ายโอนได้ ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ในการใช้ แจกจ่าย ปรับเปลี่ยน แสดง คัดลอก หรือเสนอต่อสาธารณะ แปล และสร้างผลงานที่มาจากเนื้อหาของคุณได้ด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ ลิขสิทธิ์ของภาพ วิดีโอ บทความเป็นของเรา(ผู้ใช้งานเฟสบุ๊ค) แต่เมื่อคุณแชร์ด้วยเฟสบุ๊ค ก็เท่ากับว่าคุณได้ให้สิทธิ์และอนุญาตให้เฟสบุ๊คนำไปจัดเก็บ คัดลอกและแชร์สู่บุคคลอื่น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของคุณ
  • สาระสำคัญข้อที่ 5 เนื้อหาของคุณยังคงถูกเก็บไว้ในระบบของเฟสบุ๊ค ซึ่งเฟสบุ๊คจะยังคงเก็บเนื้อหาตามระยะเวลาที่จำเป็น ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละกรณี ดังนี้
    • ข้อกำจัดทางเทคนิคในกรณีนี้เนื้อหาของคุณจะถูกลบภายในเวลาไม่เกิน 90 วันจากระบบ หลังจากวันที่คุณลบเนื้อหาไม่ให้ปรากฏต่อสาธารณะชนแล้ว
    • ผู้อื่นนำเนื้อหาของคุณไปใช้แบบอนุญาตแล้วแต่ยังไม่ได้ลบ
    • เรื่องของการสืบสวน กิจกรรมที่ผิดกฏหมาย การเก็บรักษาหลักฐาน การปฏิบัติตามคำขอ จากเจ้าหน้าที่รัฐ
  • สาระสำคัญข้อที่ 6 มาดูข้อจำกัดด้านความรับผิดชอบจากเฟสบุ๊ค มีดังนี้ เฟสบุ๊คระบุชัดว่า เฟสบุ๊คออกผลิตภัณฑ์ตามสภาพ จึงไม่รับประกันว่าผลิตภัณฑ์จะปลอดภัย มั่นคง หรือปราศจากข้อผิดพลาด อยู่เสมอ เฟสบุ๊คขอปฏิเสธความรับผิดชอบในการรับประกันทั้งหมด เฟสบุ๊คไม่ควบคุม หรือชี้แนะให้ทุกคนพูดหรือทำสิ่งใด เฟสบุ๊ค ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่ถูกแชร์ ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะไม่เหมาะสม ลามก ผิดกฏหมายอื่นๆ เฟสบุ๊คไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า เฟสบุ๊คจะมีปัญหา ดังนั้นจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น สรุปง่ายๆ ก็คือเฟสบุ๊คไม่ได้รับประกันอะไรเลย และเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลก ดังนั้นเฟสบุ๊คจึงถูกโจมตีจากเหล่าแฮคเกอร์อยู่ตลอดเวลา จึงไม่สามารถรับประกันเรื่องความปลอดภัยได้นั่นเอง ทำให้ผู้ใช้งานต้องรับความเสี่ยงนี้กันเอาเอง
  • สาระสำคัญข้อที่ 7 ข้อนี้เด็ดมาก นั่นคือ เฟสบุ๊คเก็บข้อมูลทุกอย่างที่คุณปฏิสัมพันธ์ด้วย พูดง่ายๆ คือข้อมูลที่คุณให้เฟสบุ๊คไปแล้ว ทุกอย่างจะถูกประมวลผลโดยอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่เนื้อหาที่คุณดูหรือมีการโต้ตอบด้วย ฟีเจอร์ที่คุณชอบใช้ ใครที่คุณคุยด้วย รวมถึงเวลา ความถี่  ระยะเวลาที่ทำสิ่งนั้นๆ ทุกสิ่งอย่างที่เราใช้งานจะถูกเก็บไปประมวลผล และส่งกลับมานำเสนอให้เราอีกครั้ง เช่น ฟิลเตอร์รูปภาพที่เราอาจสนใจ เป็นต้น นอกจากนี้เฟสบุ๊คยังเก็บข้อมูลธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้งานในอนาคต
  • สาระสำคัญข้อที่ 8 เฟสบุ๊คจะเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ที่คุณใช้ ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ สมาร์ตทีวี และอุปกณ์ใดๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต โดยการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ของเฟสบุ๊ค ที่จะทำหน้ารวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ เวอร์ชันของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระดับแบตเตอรี่  ความแรงของสัญญาณ พื้นที่จัดเก็บที่มี ประเภทเบาร์เวอร์ ชื่อไฟล์ที่มีอยู่ในเครื่องและแอปที่มีใช้ และแม้แต่การเคลื่อนไหวของเมาส์ เพื่อนำไปใช้แยกระหว่างมนุษย์กับโปรแกรมบอตให้ได้ ยังมีการจัดเก็บข้อมูล wifi เสาสัญญาณโทรศัพท์  ข้อมูลจากการตั้งค่าอุปกรณ์ เช่น GPS กล้อง รูปภาพ ไอดีต่างๆ จากเกมส์และแอปที่เล่น (ไม่ได้เก็บพาสเวิร์ด) ชื่อผู้ให้บริการ ภาษา โซนเวลา หมายเลขโทรศัพท์มือถือ  ที่อยู่ IP ความเร็วในการเชื่อมต่อ และข้อมูลคุกกี้
  • สาระสำคัญข้อที่ 9 เป็นเก็บข้อมูลทางอ้อมจากพาสเนอร์ของเฟสบุ๊ค ง่ายๆ ก็คือใครที่ใช้การเข้าสู่ระบบด้วยเฟสบุ๊คเพื่อใช้งานแอปพลิเคชั่นต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกส่งให้เฟสบุ๊คด้วยเหมือนกัน  อย่างเช่นไม่ได้เล่นเฟสบุ๊คไปเป็นปี พอกลับเล่นได้เห็นโฆษณาตรงกับสิ่งที่เราอยากได้อยู่พอดี กลไกเหล่านี้ทำผ่านทาง API หรือ SDK ที่แอปต่างๆ ได้ฝั่งเอา เพื่อให้รู้กิจกรรมนอกเฟสบุ๊ค ว่าผู้ใช้งานไปท่องเว็บไหนมา หรือเล่นเกมส์อะไรอยู่ แม้ว่าผู้ใช้งานไม่ได้เล่นเฟสบุ๊คหรือไม่มีบัญชีผู้ใช้เลยก็ตาม  นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลการซื้อ ออนไลน์ ออฟไลน์ ซึ่งสามารถบอกได้เลยว่าผู้ใช้งานซื้ออะไรไปบ้างในเว็บนั้นๆ
  • สาระสำคัญข้อที่ 10 เฟสบุ๊คยืนยันหนักแน่นว่า  เราไม่ขายข้อมูลของคุณ และจะไม่ทำอย่างนั้นเด็ดขาด แต่เฟสบุ๊คจะนำข้อมูลที่มีทั้งหมดมาทำเป็นกราฟและสรุปใน เฟสบุ๊คบิสซิเนส  เพื่อให้ลูกค้าของเฟสบุ๊คตัดสินใจซื้อบริการโฆษณา ส่วนข้อมูลสาธารณะจะถูกส่งให้ยังบุคคลที่สาม เช่นผู้พัฒนาเกมส์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเกมส์ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้เฟสบุ๊คกำลังจำกัดการเข้าถึงของข้อมูลของผู้พัฒนาแอป เพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด และจะไล่ลบแอปที่ผู้ใช้งานไม่ได้ใช้งานเกิน 3 เดือน เพื่อป้องกันการนำข้อมูลหรือบัญชีของผู้ใช้งานไปใช้ในทางที่ผิด

ถึงตรงนี้ผู้ใช้งานเฟสบุ๊คอย่างเราคงต้องพิจารณาว่าจะใช้งานเฟสบุ๊คต่อไปหรือไม่ เพราะเฟสบุ๊คก็คือธุรกิจหนึ่งที่ต้องการทำกำไร เฟสบุ๊คทำให้เราได้ประโยชน์ทั้งความสนุก การเล่น มิตรภาพ การงาน หลายคนสร้างสังคมได้และนำไปสู่ธุระกิจการค้าที่มีประโยชน์มากมาย ดังนั้นการได้ใช้งานฟรีก็ต้องแลกอะไรบางอย่างของเรา การรู้เท่าทันข้อกำหนดการใช้งานของเฟสบุ๊ค จะช่วยให้เราระมัดระวังการใช้งาน และส่วนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในอนาคตได้

ตำราเรียนแบบเปิด (open textbook) คืออะไร

ตำราเรียนแบบเปิดจัดเป็นส่วนหนึ่งของคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (open educational resources, OER) จัดเป็นสมบัติสาธารณะ (public domain) คือสิ่งนั้นไม่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง

ตำราเรียนแบบเปิดมีอยู่ในรูปของดิจิทัล สามารถเข้าถึงออนไลน์หรืออยู่ในรูปแบบที่แบ่งปันกันได้ เพื่อใช้ได้ฟรีโดยใครก็ได้ เช่น นักเรียน ผู้สอน บรรณารักษ์ โดยทั่วไปตำราสามารถ เช่น ถูกดัดแปลง สั่งพิมพ์ แบ่งปัน เรียบเรียงใหม่ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ถ้าตำราอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิด Creative Commons หรือการอนุญาตแบบเปิดอื่นๆ ผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการอนุญาตนั้นๆ

ตำราเรียนแบบเปิดช่วยให้นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาลดค่าใช้จ่ายในการศึกษา

ที่มา: BCcampus (OpenEd). What are Open Textbooks?. Retrieved September 28, 2019, from https://open.bccampus.ca/what-is-open-education/what-are-open-textbooks/

จะหาแหล่งตำราเรียนแบบเปิด (open textbook) ได้จากที่ไหน

ข้างล่างเป็นแหล่งที่มีตำราเรียนแบบเปิดและสื่อการสอนอื่นๆ ซึ่งอนุญาตแบบเปิดและฟรีสำหรับผู้สอนที่จะนำไปใช้และปรับให้เหมาะสมตามความต้องการ

– OpenStax College (https://openstax.org/) จัดให้มีตำราเรียนฟรีสำหรับนักเรียน ซึ่งเป็นตำราที่ผ่านการตรวจสอบและเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
– Open Academics Textbook Catalog (https://open.umn.edu/opentextbooks/) เจ้าของคือ University of Minnesota เป็นแหล่งตำราเรียนแบบเปิดของ 150 เรื่องครอบคลุมสาขาธุรกิจ บัญชี เทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ กฎหมาย คณิตศาสตร์และสถิติ ธรรมชาติ ฟิสิกส์ และสังคมศาสตร์
– Orange Grove Text โครงการคลังวัสดุการศึกษาแบบเปิดของ Florida
– College Open textbooks (https://oer.thatmatter.org/) รวบรวมตำราเรียนแบบเปิดตามสาขาวิชา ส่วนใหญ่ตำราจะผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
– Global Text Project เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง Terry College of Business ของ University of Georgia และ The Daniels College of Business ของ University of Denver เป็นแหล่งตำราเรียนแบบเปิดในสาขาธุรกิจ คอมพิวเตอร์ การศึกษา สุขภาพ วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์
– Connexions (https://cnx.org/) เป็นแหล่งวัสดุการศึกษาที่ได้รับการอนุญาตแบบเปิดและฟรีในสาขา เช่น ดนตรี วิศวกรรมไฟฟ้า
– CCCOER (Community College Consortium for Open Educational Resources)

ที่มา: BCcampus (OpenEd). Where to find open textbooks. Retrieved September 28, 2019, from https://open.bccampus.ca/open-textbook-101/where-to-find-open-textbooks/
 

เศรษฐกิจหมุนเวียน CIRCULAR ECONOMY

เป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้นการออกแบบเพื่อการปรับตัวระยะยาว โดยจะอนุรักษ์และเพิ่มการใช้ประโยชน์ต้นทุนทางธรรมชาติ ด้วยการควบคุมทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น ผ่านการนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือแลกเปลี่ยนกันซึ่งก่อนให้เกิดประโยชน์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม อีกทั้งยังทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางด้านธุรกิจและเศรษฐศาสตร์

เศรษฐกิจหมุนเวียน CIRCULAR ECONOMY
สวทช. กับเศรษฐกิจหมุนเวียน

เศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยแก้ปัญหาสำคัญของโลกในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี สวทช. เร่งพัฒนางานวิจัยที่มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคิดค้นวิธีการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้ง ที่นอกจากจะไม่กลายเป็นขยะที่สร้างภาระต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ เช่น แพ็กแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์นั่งไฟฟ้า, การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาผลิตไบโอดีเซลจากเปลือกไข่, ระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพในโรงงานแป้งมันสำปะหลัง, พีลิกนินแคร์จากกากอ้อยสู่สารต้านเชื้อ, การผลิตไบโอแคลเซียมจากเปลือกไข่, การผลิตอาหารเสริมโปรคอลลาเจนจากเยื่อหุ้มไข่

เศรษฐกิจชีวภาพ BIOECONOMY

เป็นระบบเศรษฐกิจที่นำความรู้และนวัตกรรม โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาช่วยพัฒนาต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางเกษตรให้เป็นสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การเกษตรและอาหาร สุขภาพการแพทย์และพลังงาน ให้มีความสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

เศรษฐกิจชีวภาพ BIOECONOMY
สวทช. กับเศรษฐกิจชีวภาพ

ประเทศไทยได้เปรียบในการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพจากการมีความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) สูง สวทช. มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพในหลายด้าน เช่น การจัดทำธนาคารชีวภาพ (Biobank) ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์, โรงงานผลิตพืช (Plant Factory), เกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture), พืชสมุนไพรเศรษฐกิจ, การจัดตั้งศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center, TBRC), ห้องปฏิบัติการการทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุ (Biodegradation Testing), พัฒนากระบวนการ/ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพทดแทนสารเคมี (Bioprocess, Bioproduct)

แนะนำการเรียนรู้ Android ด้วยภาษา Kotlin เครื่องมือจาก Google

ในปัจจุบันการพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ สามารถทำได้ง่ายและสะดวก หากทางนักพัฒนาซอฟต์แวร์อยากเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมบนมือถือ มีแหล่งเรียนรู้ ฟรี และมีเครื่องมือให้ทดสอบทำง่าย บนอินเตอร์เน็ตที่ทาง STKS อยากขอแนะนำดังนี้
1. เรียนรู้ภาษา Kotlin เบื้องต้นกับเครื่องมือพื้นฐานต่างๆ
ภายในหลักสูตรนักพัฒนาจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ ภาษา Kotlin คืออะไร ฟังก์ชั่นการทำงาน Extensionที่เกี่ยวข้อง และการบริหารจัดการข้อมูลด้วยภาษา Kotlin โดยนักพัฒนาสามารถเข้าร่วมอบรมเป็นหลักสูตร ชื่อว่า Kotlin Bootcamp Course ตาม URL นี้ https://codelabs.developers.google.com/kotlin-bootcamp/
ภายในมี 8 หัวข้อ ประกอบไปด้วย

Kotlin Bootcamp for Programmers: Welcome to the course
Kotlin Bootcamp for Programmers 1: Get started
Kotlin Bootcamp for Programmers 2: Kotlin basics
Kotlin Bootcamp for Programmers 3: Functions
Kotlin Bootcamp for Programmers 4: Object-oriented programming
Kotlin Bootcamp for Programmers 5.1: Extensions
Kotlin Bootcamp for Programmers 5.2: Generics
Kotlin Bootcamp for Programmers 6: Functional manipulation

2.เรียนรู้พื้นฐานการจัดทำโปรแกรม Android Kotlin Fundamentals Course
ภายในหลักสูตรนักพัฒนาจะได้เรียนรู้ตั้งแต่การติดตั้ง Android Studio โครงสร้างของAppเพื่อใช้ในการพัฒนา การจัดการภาพและการแสดงผลให้เหมาะสมในทุกๆหน้าจอ และการเรียนรู้ Data-binding ViewModel และ LiveData ที่เกี่ยวข้อง และการบริหารจัดการ Repository รวมถึงการออกแบบระบบบนมือถือ โดย นักพัฒนาสามารถเข้าร่วมอบรมเป็นหลักสูตร ตาม URL นี้ https://codelabs.developers.google.com/android-kotlin-fundamentals
ภายในมี 35 หัวข้อ ประกอบไปด้วย

นอกจากนี้ยังสามารถลองพัฒนาโปรแกรมเพื่อทดลอง และใช้งานง่ายๆ ผ่าน https://try.kotlinlang.org/ ซึ่งช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้และช่วยให้นักพัฒนาโปรแกรมได้เรียนรู้อย่างรวดเร็ว

ขอขอบคุณแหล่งที่มา https://training.techtalkthai.com/2019/09/24/google-free-kotlin-programming-online-courses/

infographic แสดงแหล่งข่าววิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด

American Council on Science and Health ร่วมมือกับ RealClearScience จัดทำ infographic เพื่อแสดงแหล่งข่าววิทยาศาสตร์ที่ดีและที่แย่ ดังภาพด้านล่าง

จากภาพด้านบน แกน X (จากซ้ายไปขวา) ได้จัดเรียงแหล่งตามความน่าเชื่อถือ แหล่งที่อยู่ในพื้นที่สีเขียวมีเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้หลักฐานในการรายงานและปราศจากความนึกคิด (ideology) ในขณะที่แหล่งในพื้นที่สีแดงใช้ความนึกคิดและการรายงานที่ลำเอียง นอกจากนี้ใช้น้อยมากหรือไม่ใช้หลักฐานเลย

แกน Y (จากบนลงล่าง) ได้จัดเรียงแหล่งตามความน่าสนใจของเนื้อหา แหล่งที่อยู่ด้านบนมีความน่าสนใจของเนื้อหากว้างๆ ทั่วไปและมีการรายงานที่ดี ในขณะที่แหล่งที่อยู่ด้านล่างจำกัดความน่าสนใจของเนื้อหาหรือมีการรายงานที่ไม่ดี (หัวข้อที่เลือกน่าเบื่อหรือเนื้อหาไร้สาระหรือมาจากความรู้สึก)

ที่มา:  Alex Berezow (March 2017). Infographic: The Best and Worst Science News Sites. Retrieved September 9, 2019, from https://www.acsh.org/news/2017/03/05/infographic-best-and-worst-science-news-sites-10948