อุปสรรคของการแบ่งปันความรู้

1. ปลาไม่รู้มากเกี่ยวกับน้ำ หลายคนไม่รู้ถึงความสำคัญของความรู้ที่เป็นของตน มีคำพูดที่มาจากผู้รู้และมีประสบการณ์ว่า ฉันไม่มีอะไรที่จะแบ่งปัน และสิ่งที่ฉันรู้เป็นเพียงความรู้ทั่วไป

2. ฉันจะประสบปัญหาถ้าแบ่งปัน ความรู้มีพลังดังนั้นทำไมฉันควรแบ่งปันความรู้ของฉันซึ่งฉันได้มาจากการใช้เวลาและความพยายาม เป็นสิ่งซึ่งหยุดหลายคนจากการแบ่งปันความรู้ ความรู้เก่าหรือความเชื่อเก่าต้องการการเพิ่มพลังและควรได้รับความคิดเห็นของผู้อื่นเกี่ยวกับความรู้ของตน ถ้ามีการแลกเปลี่ยนความคิดบ่อยๆ ความรู้ใหม่จะเกิดขึ้น องค์กรต้องสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการแบ่งปันความรู้ วัฒนธรรมซึ่งกลัวการสูญเสียงานหรือตำแหน่งจากการแบ่งปันจะไม่ทำให้เกิดความรู้ใหม่สำหรับองค์กร ความรู้เป็นเหมือนของเหลวจะเติบโตขยายเมื่อข้ามผ่านขอบเขต ความรู้องค์กรมีประโยชน์เมื่อไปถึงลูกค้า ผู้ผลิตสินค้า หรือผู้ถือผลประโยชน์ร่วม ความรู้จะช่วยปรับปรุงหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

3. ความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญต่อการแบ่งปัน ความไว้วางใจระหว่างพนักงานเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมแบ่งปัน ไม่มีใครจะแบ่งปันปัญหาหรือถกเถียงความคิดใหม่เมื่อไม่ไว้วางใจคนอื่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้, การสร้างเครือข่าย, การเข้ากลุ่ม เป็นเครื่องมือซึ่งทำให้คนมารวมกันและความไว้วางใจจะพัฒนาขึ้น  การทำงานเป็นกลุ่ม, การแบ่งปันปัญหาทั่วไป, การถกเถียงการปรับปรุง เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

4. นโยบายองค์กรและวัฒนธรรม บางองค์กรชอบที่จะให้รางวัลต่อพนักงานรายคนกว่าเป็นทีม ซึ่งจะไม่สนับสนุนการแบ่งปันความรู้ ถูกอธิบายในบทความเรื่อง Create colleagues, not Competitors เขียนโดย Marshall W. Van องค์กรต้องสร้างบรรยากาศของการแบ่งปันอย่างอิสระและให้รางวัลหรือยกย่องทุกความพยายามในการแบ่งปันความรู้

5. ฉันไม่ต้องการเป็นจุดสนใจ บางครั้งหลายคนไม่ต้องการเป็นจุดสนใจโดยการแบ่งปันความรู้


ที่มา: Barriers of knowledge sharing in a KM program. Retrieved July 19, 2019, from http://www.allkm.com/km-basics/share.php

สร้างฟอร์มกรอกข้อมูลด้วย Webform สำหรับ Drupal

Webform เป็นโมดูลสำหรับการสร้างฟอร์มกรอกข้อมูลและสร้างแบบสำรวจที่ใช้งานกับ CMS ชื่อ Drupal

ความสามารถของโมดูลนี้ สามารถกำหนดรูปแบบการกรอกข้อมูลและเงื่อนไขได้หลายรูปแบบ หลังจากส่งข้อมูลเข้าระบบแล้วสามารถตั้งค่าให้ส่งอีเมลแจ้งผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบได้ ระบบสามารถส่งออกข้อมูลเป็นรูปแบบ Excel และรูปแบบอื่นได้

Webform version 8.x-5.3 https://www.drupal.org/project/webfom เผยแพร่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ใช้ได้กับ Drupal 8 เท่านั้น

รูปภาพหน้าจอแสดงผล



รูปหน้าจอการสร้างแบบฟอร์มกรอกข้อมูล


รูปหน้าจอการกำหนดเงื่อนไข

Explicit knowledge คืออะไร

ตัวอย่าง explicit knowledge ขององค์กร เช่น รายงาน เอกสาร คู่มือ ความรู้ประเภทนี้ง่ายที่จะสื่อสารและแบ่งปันกว่า tacit knowledge นอกจากนี้สามารถเก็บรักษาในรูปของข้อมูลหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) และสามารถถ่ายทอดและแบ่งปันได้ง่ายโดยใช้เครื่องมือ IT  explicit knowledge อย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

explicit knowledge ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ tacit knowledge ด้วยกระบวนการสร้างความรู้หลายอย่างและขับเคลื่อนการจัดการความรู้ เอกสารการวิจัยถูกทำให้เกิดขึ้นโดยวิธีการของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง tacit knowledge และ explicit knowledge ไม่ใช่ tacit หรือ explicit เพียงอย่างเดียว


ที่มา: Explicit Knowledge. Retrieved July 23, 2019, from  http://www.allkm.com/km-basics/explicit-knowledge.php

Tacit knowledge คืออะไร

Tacit knowledge เป็นเรื่องส่วนบุคคลมาก ยากที่จะทำให้เป็นทางการ ตัวอย่างของ tacit knowledge เช่น ความเข้าใจลึกซึ้ง การหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นในใจ และการรู้สึกล่วงหน้า โดยความรู้ประเภทนี้จะสะท้อนออกมาในเช่น การกระทำ แนวคิด ความเชื่อมั่น เป็นเรื่องยากที่จะสื่อสาร tacit knowledge

องค์กรต้องสนับสนุนความรู้ที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมและความรู้นี้จะทำให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ดังนั้น  tacit knowledge ต้องการสิ่งที่มาสนับสนุนเพื่อเติบโตขยายเช่น วัฒนธรรม เครือข่ายทางสังคม ความไว้วางใจระหว่างพนักงาน

การศึกษาชี้ให้เห็นว่า 80% ของความรู้องค์กรเป็น tacit และที่เหลือ 20% เป็น explicit knowledge ดังนั้น tacit knowledge และกระบวนการในการจัดการความรู้ประเภทนี้ มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้


ที่มา: Tacit Knowledge. Retrieved July 23, 2019, from http://www.allkm.com/km-basics/tacit-knowledge.php

แนวทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดทำแนวทางการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอันได้แก่ บทความวิชาการ บทความสั้น เอกสารประชุมวิชาการ เพื่อให้บุคลากรในสายวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ของ สวทช. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบหลักการมีชื่อผู้นิพนธ์ (Authorship) ที่เป็นไปตามหลักสากลและสอดคล้องกับจริยธรรมการวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาความเหมาะสมของผู้มีชื่อในผลงานทางวิชาการ เป็นแนวปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมในผลงานวิจัย อีกทั้งยังเป็นแนวทางการป้องกันข้อร้องเรียนด้านการประพฤติมิชอบทางการวิจัยในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัย ในการสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับในผลงานทางวิชาการ

แนวทางนี้อ้างอิงแนวทางมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผู้วิจัยสามารถยึดเป็นแนวปฏิบัติในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำไปปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมตามบริบทของการเผยแพร่งานวิจัยของตน ตลอดจนอาจปรับใช้หลักการมีชื่อในผลงานประเภทอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม

 

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ : หลักสูตร การมีชื่อในเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ

คู่มือการบันทึกข้อมูลงานวิจัย

คู่มือการบันทึกข้อมูลงานวิจัยนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวการบันทึกข้อมูลวิจัยที่ดีสำหรับผู้วิจัย ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล ความสำคัญของการบันทึกข้อมูลงานวิจัย รูปแบบของการบันทึก แนวทางการบันทึก และคำแนะนำต่าง ๆ ในคู่มือได้กล่าวถึงรูปแบบการบันทึกข้อมูลวิจัย 2 รูปแบบ คือ สมุดบันทึกมาตรฐาน และสมุดบันทึกแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้หลักการบันทึกในคู่มือส่วนใหญ่เป็นการบันทึกในสมุดบันทึกมาตรฐานเป็นหลัก โดยแนวทางที่จัดทำขึ้น อ้างอิงแนวทางและคำแนะนำในการบันทึกข้อมูลวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติ สวทช. และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ พร้อมทั้งยกตัวอย่างการบันทึกข้อมูลงานวิจัยโดยอ้างอิงจากภายใน สวทช. และมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามคู่มือนี้ไม่ได้มีผลบังคับให้ผู้วิจัยทุกท่านต้องปฏิบัติตาม แต่เพื่อให้เป็นแนวทางการบันทึกข้อมูลงานวิจัย เพื่อให้สามารถใช้เป็นหลักฐานการดำเนินงาน หลักฐานทางกฎหมาย และป้องกันข้อกล่าวหาการประพฤติมิชอบทางการวิจัย เพื่อประโยชน์แก่ผู้วิจัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยและหน่วยงาน

Download คู่มือ

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ : การบันทึกข้อมูลงานวิจัย

ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ แตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูล (data): ผลที่ได้จากกระบวนการจัดเป็นข้อมูล นอกจากนี้สารสนเทศ (information) ที่ไม่ได้ผ่านการประมวลถือว่าเป็นข้อมูล ภายในตาราง excel เก็บข้อมูลไม่ใช่สารสนเทศ อีกตัวอย่างตัวเลขของการขายของบริษัทที่อยู่ในแผ่นตารางคือข้อมูล ถ้ามีการจัดประเภทข้อมูลอาจทำให้ได้ผลที่เป็นประโยชน์ออกมา

สารสนเทศ: ข้อมูลที่ผ่านการประมวลคือสารสนเทศ ไม่จัดเป็นสารสนเทศถ้าไม่ได้ผล (ข้อสรุป) ออกมาจากข้อมูล ตัวอย่างเช่น ตัวเลขการขายที่เก็บในแผ่นตารางโดยตัวเองไม่สามารถให้ข้อสรุปแต่เมื่อผ่านการสังเกตหรือใช้เครื่องมือทางสถิติทำให้รู้ว่าพื้นที่ทางเหนือมีการขายที่ดีกว่าพื้นที่ทางใต้ สิ่งนี้เป็นสารสนเทศที่ได้จากข้อมูลการขาย

ความรู้ (knowledge): วิวัฒนาการต่อจากสารสนเทศและข้อมูลคือความรู้ เมื่อประยุกต์ใช้ประสบการณ์ การพิจารณากับสารสนเทศจะทำให้ได้ความรู้ออกมา ความรู้เป็นผลที่เกิดจากการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น จากข้อมูลการขายสามารถสรุปได้ว่าต้องการมากขึ้นความพยายามในการตลาดหรือการเลื่อนตำแหน่งในพื้นที่ทางใต้กว่าพื้นที่ทางเหนือเพื่อเพิ่มการขายในพื้นที่ทางใต้ ความรู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ tacit knowledge (ความรู้ฝังในตัวคน) และ explicit knowledge (ความรู้ที่ชัดแจ้ง)

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
“ความดันเลือดของผู้ป่วย” จัดเป็นข้อมูล และ “จากการตรวจสอบความดันเลือดของผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยมีความดันเลือดสูง” จัดเป็นสารสนเทศ “ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการอ่านความดันเลือด” ถือว่าเป็นสารสนเทศ


ที่มา: Data Information and Knowledge. Retrieved July 19, 2019, from http://www.allkm.com/km-basics/data.php

กลุ่มวิชาของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มวิชาของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  1. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ได้แก่ (1) สาขาคณิตศาสตร์  (2) สาขาเคมี  (3) สาขาชีววิทยา  (4) สาขาฟิสิกส์  (5) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ  (6) สาขาระบบโลกศาสตร์  (7) สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม  (8) สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์  (9) สาขาพฤกษศาสตร์  (10) สาขาสัตววิทยา  (11) สาขาพันธุศาสตร์  (12) สาขาดาราศาสตร์  (13) สาขาสถิติศาสตร์  (14) สาขาชีวเคมี  (15) สาขาจุลชีววิทยา  (16) สาขาชีววิทยาระดับโมเลกุล  (17) สาขาธรณีวิทยา  (18) สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล  (19) สาขาวาริชศาสตร์  (20) สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์  (2) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ  (3) สาขาชีวเคมีทางการแพทย์  (4) สาขานิติวิทยาศาสตร์  (5) สาขาปรสิตวิทยา  (6) สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน  (7) สาขาสรีรวิทยา  (8) สาขาพิษวิทยา  (9) สาขากายวิภาคศาสตร์  (10) สาขาพยาธิวิทยา  (11) สาขารังสีวิทยา  (12) สาขาสาธารณสุขศาสตร์  (13) สาขาการระบาดวิทยา  (14) สาขาโภชนศาสตร์  (15) สาขาอายุรศาสตร์เขตร้อน  (16) สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง  (17) สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม  (18) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ได้แก่ (1) สาขาเกษตรศาสตร์  (2) สาขาปฐพีวิทยา  (3) สาขาพืชศาสตร์  (4) สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  (5) สาขากีฏวิทยาทางการเกษตร  (6) สาขาสัตวบาลและสัตวศาสตร์  (7) สาขาประมง  (8) สาขาวนศาสตร์  (9) สาขาโรคพืชวิทยา  (10) สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
  4. กลุ่มวิชาสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร  (2) สาขาอุตสาหกรรมเคมี  (3) สาขาอิเล็กทรอนิกส์  (4) สาขาภูมิสารสนเทศ  (5) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ  (6) สาขาเทคโนโลยีพลังงาน  (7) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  (8) สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร  (9) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ  (10) สาขาเทคโนโลยีวัสดุ  (11) สาขาเทคโนโลยีพอลิเมอร์  (12) สาขาเทคโนโลยีการจัดการ  (13) สาขานาโนเทคโนโลยี  (14) สาขาเทคโนโลยีอุณหภาพ  (15) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง  (16) สาขาวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์  (17) สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

ที่มา:

  1. ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง  การกําหนดกลุ่มวิชาของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2558
  2. ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง  การกำหนดกลุ่มวิชาของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบบัที่  2) พ.ศ. 2562

วิธี Update Drupal เวอร์ชัน 8.x.x ไปเวอร์ชัน 8.7.x

การใช้งาน CMS ไม่ว่าจะเป็น Drupal Joomla หรือ WordPress จะมีเวอร์ชันออกมาใหม่เรื่อยๆ จะออกมาเพื่อแก้ bug โปรแกรมหรือเพื่อความปลอดภัยก็ตาม เราต้องคอย Update เวอร์ชันให้ทันสมัยอยู่เสมอ

วิธี Update Drupal

1. ก่อน update เว็บไซต์ ให้ backup ข้อมูลก่อน ทั้ง database เเละไฟล์ข้อมูลเว็บไซต์
2. ที่ไฟล์ข้อมูลเว็บไซต์เปิดไฟล์ settings.php (/sites/default/settings.php)
$settings[update_free_access] = FALSE แก้ไขคำว่า FALSE เป็น TRUE คลิก Save ไฟล์
3. ปรับเว็บไซต์ให้เป็น Maintenance mode (Configuration -> Maintenance mode คลิกให้เป็นเครื่องหมายถูก และคลิก save configuration)

4. ที่ห้องเว็บไซต์ ลบไฟล์และโฟลเดอร์ ให้เหลือแค่ modules profile sites และ theme

5. Download Drupal เวอร์ชั่นล่าสุด https://www.drupal.org/project/drupal และ Extract ไฟล์
6. Copy โฟลเดอร์ core vendor และไฟล์ต่างๆ มาใส่ที่ห้องเว็บไซต์

7. ที่ช่องพิมพ์ url ให้พิมพ์ update.php ต่อท้ายชื่อเว็บไซต์(http://www.example.com/update.php) คลิก continue ระบบจะ update และรายงานผล

8. ปรับเว็บไซต์ให้เป็น Online mode (Configuration -> Maintenance mode คลิกเอาเครื่องหมายถูกออก และคลิก save configuration)
9. เปิดไฟล์ settings.php (/sites/default/settings.php)
$settings[update_free_access] = TRUE แก้ไขคำว่า TRUE เป็น FALSE คลิก Save ไฟล์
10. ดูผลการ Update (Report -> available updates)

OER แนวทางปฏิบัติและแบบฝึกหัด: วิธีการสร้าง Open Educational Resources

OER แนวทางปฏิบัติและแบบฝึกหัด: วิธีการสร้าง Open Educational Resources

ปัจจุบัน Open Educational Resources (OER) เริ่มเป็นที่ยอมรับในมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาที่มีการตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากได้ให้การสนับสนุนครูอาจารย์ในสังกัด ให้มีการเปลี่ยนจากตำราที่เป็นสิ่งพิมพ์รูปเล่มเป็น Open Educational Resources ซึ่งจากผลการสำรวจการใช้คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยปี 2018 ระบุว่า ร้อยละ 64 ของมหาวิทยาลัย เปิดเผยว่ามีการสนับสนุนให้บุคลากรใช้ Open Educational Resources ในหลักสูตรมากขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี 2014 ที่พบเพียงร้อยละ 34 เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 52 ของมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนครูอาจารย์หากมีการสร้างสื่อการเรียนการสอนใน OER ของตนเองด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ข้อเสนอในการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีแบบฝึกหัดและแหล่งข้อมูลออนไลน์อื่น ๆ จำนวนมากที่สามารถนำมาใช้ในการสร้าง Open Educational Resources รวมถึงโครงการ OER และศูนย์ข้อมูล OER ต่าง ๆ อีกด้วย โดยมีการรวบรวมหลักสูตรและแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเองไว้ให้บริการ เช่น

  • Ruhr University Bochum ได้เสนอหลักสูตรที่เรียนด้วยตนเองอย่าง  “Introduction to open educational resources” (OER) ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการค้นหา OER และวิธีการสร้างด้วยตนเอง โดยหลักสูตรจะใช้เวลาประมาณ 120 – 160 นาที โดยรวมถึงแบบฝึกหัด แบบทดสอบด้วยตนเองและเกมมิฟิเคชั่น (gamification)
  • Algonquin Colleges ได้เสนอหลักสูตรประมวลความรู้ หรือหลักสูตรวัดความรู้สำหรับทุกคนที่สนใจความเคลื่อนไหวของ OER หัวข้อหลักคือ: ลิขสิทธิ์ แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศเมื่อค้นหาและใช้งาน OER (copyright, best practices when searching, and using OER) ในตอนท้ายของหลักสูตรนั้น ผู้เข้าร่วมจะได้รับเชิญให้สร้างแหล่งข้อมูลแบบเปิดเพื่อเรียนรู้หรือสอนด้วยตัวของพวกเขาเองอีกด้วย
  • Penn State University Libraries มีข้อมูลสำหรับครูอาจารย์ที่พัฒนา MOOCs หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา MOOCs โดยเฉพาะ ซึ่งในส่วนนี้ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน Open Educational Resources
  • The University of the Witwatersrand Johannesburg ได้นำเสนอ LibGuide ซึ่งประกอบด้วยแนวทางการปฏิบัติ เครื่องมือ และเนื้อหาหลักสูตรสำหรับ OER รวมถึงสิ่งอื่น ๆ อีกที่เกี่ยวข้อง
  • Fort Hays State University ได้นำเสนอภาพรวมของ open educational resources โดยสังเขป ซึ่งมีข้อมูลครอบคลุมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง และจัดทำข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติ Forsyth Library OER Research Guide พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการทำวิจัย OER ไว้ให้ศึกษา
  • College Libraries Ontario ได้มี The Learning Portal ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการใช้งาน OER ที่มีคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการค้นหา การใช้งานและการสร้าง Open educational resources ไว้อย่างชัดเจน
  • รัฐแซกซันและ University Library Dresden (Sächsische Landesbibliothek — Staats- und Universitätsbibliothek Dresden, SLUB) มีการนำเสนอ “introduction to open educational materials” เป็นภาษาเยอรมัน

มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ให้บริการข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ OER เช่น

  • Reynolds Community College Libraries มีการจัดทำ Research Guide Open Educational Resources
  • Bridgewater State University Maxwell Library
  • Prince George’s Community College
  • University of Pittsburgh Library System

นอกจากมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีแหล่ง OER information centre ที่รวมสื่อการเรียนรู้แบบเปิด ไว้ให้บริการ เช่น

  • OER information centre (OERinfo) ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ OERinfo นำเสนอคือ แนวทางในการสร้าง OER ซึ่งจะแสดงรายการทรัพยากรจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น การเสนอ OER Canvas ซึ่งเป็นแม่แบบ (template) สำหรับเริ่มต้นร่างโครงการ OER และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับ OER เป็นภาษาเยอรมัน
  • Open Education Austria ได้จัดทำแนวทางการปฏิบัติในการสร้าง Open educational resources ข้อมูลและแบบฝึกหัดภาคปฏิบัติสำหรับผู้สอนในมหาวิทยาลัย 2 (A Guideline for creating open educational resources – information and practical exercises for university tutors2) ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน
  • OERinForm ได้รวบรวมสื่อวิดีโอการเรียนการสอนบน YouTube ไว้จำนวนมาก และยังสามารถหาข้อมูล สื่ออื่น ๆ และ e-learning centres สำหรับครูอาจารย์และบุคคลทั่วไปที่สนใจเพิ่มเติมได้ โดยมีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย รายการลิงก์ที่เกี่ยวข้อง แม่แบบสำหรับการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับ OER ของมหาวิทยาลัย รวมถึงแนวทางการสร้าง OER ทั้งนี้ คู่มือการใช้งาน OER ในมหาวิทยาลัยและอินโฟกราฟิกสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ OER ในมหาวิทยาลัยและกระบวนการทำงานกับ OER บางหัวข้อที่พร้อมให้บริการดาวน์โหลด และนอกเหนือจากสื่อวัสดุและการดาวน์โหลดอื่น ๆ ซึ่งคู่มือการศึกษาแบบเปิดประกอบด้วยข้อมูลที่ช่วย OER ในทางปฏิบัติ ยังมีข้อมูลในการสร้างและพัฒนา OER ซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์ การเผยแพร่ OER เครื่องมือสำหรับการสร้างและการผสมผสาน OER ซึ่งสามารถค้นหาวิดีโอที่เป็น Open educational resources จำนวนมากผ่านทาง YouTube อีกด้วย

ที่มา: Birgit Fingerle. (2018). OER Guidelines and Tutorials: How to Create Open Educational Resources. Retrieved June 25, 2019, from https://www.zbw-mediatalk.eu/2018/11/oer-guidelines-and-tutorials-how-to-create-open-educational-resources/