การศึกษาแบบเปิด (open education) คืออะไร

การศึกษาแบบเปิด คือ ทรัพยากร เครื่องมือ และการปฏิบัติ ที่ไม่มีการกีดกันทางกฎหมาย การเงิน และเทคนิค และสามารถถูกใช้ แบ่งปัน และปรับอย่างสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล

การศึกษาแบบเปิดทำให้อินเทอร์เน็ตมีความสามารถสูงสุดในการทำให้การศึกษาสามารถจ่ายได้ เข้าถึงได้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รากฐานของการศึกษาแบบเปิด คือ ทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources, OER) ซึ่งเป็นการสอน การเรียนรู้ ทรัพยากรวิจัย ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีการกีดกันการเข้าถึง และยังมีการอนุญาตทางกฎหมายให้ใช้แบบเปิด โดยการอนุญาตใช้การอนุญาตแบบเปิด ที่ปล่อยให้ใครก็ได้ใช้ ปรับ และแบ่งปันทรัพยากรอย่างไม่มีค่าใช้จ่าย ที่เวลาไหนก็ได้และที่ไหนก็ได้

ทำไมใช้การศึกษาแบบเปิด
1. ราคาตำราเรียนไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การศึกษาแบบเปิดมีตำราเรียนให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
2. นักศึกษาเรียนรู้มากขึ้นเมื่อเข้าถึงวัสดุทางการศึกษาที่มีคุณภาพ การศึกษาแบบเปิดให้วัสดุทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. เทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาการสอนและการเรียนรู้อย่างมาก การศึกษาแบบเปิดทำให้การสอนและการเรียนรู้พัฒนา
4. การศึกษาที่ดีขึ้นหมายถึงอนาคตที่ดีขึ้น การศึกษาแบบเปิดทำให้การศึกษาถูกเข้าถึงได้มากขึ้นและการสอนและการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา: SPARC. Open Education. Retrieved September 15, 2023, from https://sparcopen.org/open-education/

การเข้าถึงแบบเปิด (open access) คืออะไร

การเข้าถึงแบบเปิด คือบทความวิจัยที่มีให้อย่างฟรี ทันที และออนไลน์ และสิทธิในการใช้บทความอย่างสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล ยังมีความหมายได้อีก เช่น

1. การเข้าถึงแบบเปิดทำให้ใครก็ได้สามารถเข้าถึงและใช้ผลการวิจัย เพื่อเปลี่ยนจากแนวคิดเป็นอุตสาหกรรมและชีวิตที่ดีขึ้น
2. การเข้าถึงแบบเปิดเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนโดยทำให้ผลการวิจัยที่ได้รับทุนสามารถอ่านและต่อยอดโดยใครก็ได้
3. การเข้าถึงแบบเปิดขยายจำนวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในงานวิจัยจากสถาบันที่มีเงินมากพอที่จะจ่ายสำหรับสมัครสมาชิกใช้บริการวารสารไปยังใครก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ตไว้ใช้
4. การเข้าถึงแบบเปิดหมายถึงมีผู้อ่านที่มากขึ้น มีผู้ร่วมมือที่มากขึ้น มีการอ้างอิงงานที่มากขึ้น และในที่สุดได้รับการยอมรับที่มากขึ้น

ที่มา: SPARC. Open Access. Retrieved September 15, 2023, from https://sparcopen.org/open-access/

การจัดการความรู้เริ่มต้นด้วยการไหลของความรู้ (Knowledge Flow)

การไหลของความรู้ คือการที่ความรู้ที่สำคัญที่สุดเคลื่อนย้ายทั่วทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และไปยังคนที่ถูกต้องในเวลาที่ถูกต้อง เริ่มต้นเมื่อความรู้ใหม่เกิดขึ้น

เครื่องมือการจัดการความรู้หรือแนวทาง ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดการไหลของความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ จะไม่สนับสนุนความสำเร็จของเป้าหมายของการจัดการความรู้และองค์กร

กระบวนการไหลของความรู้ของ APQC (American Productivity and Quality Center) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน พูดถึงวิธีที่ความรู้เคลื่อนย้ายทั่วทั้งองค์กร ได้แก่

1. สร้าง (Create) การสร้างความรู้เกิดขึ้นทุกวันในแนวทางที่แตกต่างกันมาก เช่น การทดลองใหม่ แผนการปฏิบัติสำหรับลูกค้าใหม่
2. ระบุ (Identify) ระบุความรู้ที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์และการปฏิบัติ เพื่อมุ่งไปที่ความรู้นั้น พนักงานแต่ละคนควรระบุความรู้เพื่อแบ่งปันในหลักสูตรของงาน
3. เก็บรวบรวม (Collect) เก็บความรู้ไว้ใน เช่น ฐานข้อมูล หรือ blog การเก็บรวบรวมสามารถเกิดขึ้นผ่านกิจกรรม ในเหตุการณ์ เช่น การประชุมในทีม หรืองานประจำ
4. ทบทวน (Review) ทบทวนและประเมินความรู้สำหรับความตรงประเด็น ความถูกต้อง และการใช้ ความรู้บางอย่างต้องการการทบทวนอย่างเป็นทางการโดยผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่ความรู้อื่น ๆ สามารถได้รับการทบทวนและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพโดยชุมชนผู้ใช้
5. แบ่งปัน (Share) แบ่งปันความรู้สู่คนอื่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มหรือการอภิปราย และหรือตอบคำถาม
6. เข้าถึง (Access) ส่งผ่านความรู้และหรือความชำนาญจากคนหนึ่งถึงคนหนึ่ง หรือจากคนหนึ่งถึงหลายคน
7. ใช้ (Use) ความรู้ถูกใช้ในรูปแบบปัจจุบันและประยุกต์ใช้กับอีกหนึ่งสถานการณ์ เพื่อแก้ปัญหา พัฒนากระบวนการ หรือตัดสินใจ

ที่มา: Lynda Braksiek (August 30, 2023). Managing Knowledge Starts with Knowledge Flow. Retrieved September 19, 2023, from https://www.apqc.org/blog/managing-knowledge-starts-knowledge-flow

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement) คืออะไร

เมื่อพูดถึงกระบวนการ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตรงข้ามโดยตรงกับการเสร็จสิ้นในหนึ่งครั้ง แต่คือการกระทำอย่างต่อเนื่องของการระบุ วิเคราะห์ และทำให้กระบวนการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง องค์กรเกิดความพร้อมอย่างมากในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพและพัฒนากระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ

กระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีลักษณะอย่างไร
ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ใช้ขั้นตอนที่แตกต่างกัน การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในที่สุดควรสะท้อนความต้องการที่จำเพาะและเป้าหมายขององค์กร

วงจรชีวิตของกระบวนการของ APQC (American Productivity and Quality Center) เน้น 5 ขั้นตอนสำหรับการจัดการกระบวนการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยสร้างหน้าที่ประจำที่เป็นระบบในการออกแบบ ทบทวน และทำให้ดีขึ้นกระบวนการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนทั้ง 5 ได้แก่

1. ระบุและรวบรวม (Identify and Organize) เมื่อองค์กรระบุว่ากระบวนการมีอยู่ หรือควรมีอยู่ และจัดให้สอดคล้องกับกระบวนการมีอยู่อื่น ๆ
2. ออกแบบและทำให้เป็นเอกสาร (Design and Document) ออกแบบและทำให้เป็นเอกสารกระบวนการ รวมถึงกระบวนการทำงานอย่างไร บทบาทที่เกี่ยวข้อง และกฎระเบียบทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3. ติดตามและควบคุม (Monitor and Control) มองไปที่มาตรการและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิธีการที่ดำเนินการของกระบวนการ
4. พัฒนาและรวมเข้าด้วยกัน (Improve and Integrate) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับกระบวนการอื่น ๆ ตลอดเวลา
5. จัดการและสนับสนุน (Manage and Support) เฝ้าดูแล สนับสนุน และบำรุงรักษากระบวนการตลอดเวลา

ที่มา: Madison Lundquist (August 29, 2023). What is Continuous Improvement?. Retrieved September 17, 2023, from https://www.apqc.org/blog/what-continuous-improvement

ความเชื่อและความจริงเกี่ยวกับการสวมหมวกนิรภัย

มาดูไปพร้อมกันครับว่า “ความเชื่อและความจริงเกี่ยวกับการสวมหมวกนิรภัย” เมื่อทำมาเปรียบเทียบกันแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง

เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะครับ

 

สีหมวกนิรภัย

รู้หรือไม่ ! การเลือกใช้หมวกนิรภัยสีขาวหรือสีอ่อน สามารถลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุจากจักรยานยนต์ได้

เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะครับ

 

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570)

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570)

แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) 

นโยบายและแผนระดับชาติฯ ฉบับพกพา (Booklet)

แผนบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (พ.ศ. 2566-2570) 

ผลการดำเนินงานสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 

Research performance หัวข้อ Telehealth

ภาพรวมข้อมูลความสามารถด้านการวิจัย (research performance) หัวข้อเรื่อง Telehealth จากการวิเคราะห์ข้อมูลการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและวิชาการที่ถูกทำดัชนีในฐานข้อมูล Scopus ทั้งในภาพรวมโลกและประเทศไทย ในช่วงปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน เพื่อติดตามสถานภาพของการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยในเรื่องดังกล่าว จากการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและวิชาการที่มีการรวบรวมและเผยแพร่ รวมถึงจากการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อติดตามสถานภาพและแนวโน้มของการแข่งขัน

Continue reading “Research performance หัวข้อ Telehealth”

ระยะอันตราย

ระยะทาง 5 กม.แรกจากที่พัก ถือเป็นระยะทางที่เกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ส่งผลให้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากที่สุด เนื่องจากผู้ขับขี่คิดว่าเดินทางระยะทางใกล้ๆ ไม่ต้องสวมหมวกนิรภัยก็ได้

เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะครับ

 

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับ Telehealth ในต่างประเทศ

จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพหันมาใช้ telehealth โดยเฉพาะเพื่อรับมือกับการต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) แต่เมื่อสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ (post-pandemic) มีการคาดการณ์ว่า telehealth จะยังได้รับความสนใจในการนำมาใช้เพื่อการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ โดยไม่เพียงมอบประสบการณ์ที่สะดวกมากขึ้นให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังขยายการเข้าถึงการดูแลไปยังผู้ที่อาจมีปัญหาในการเข้าถึงบริการอีกด้วย โดยในบทความนี้นำเสนอตัวอย่างผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับ telehealth ในต่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ 10 กลุ่มหลัก และตัวอย่างที่เกี่ยวข้องในแต่ละกลุ่ม

  • การคัดกรองผู้ป่วยและการมีส่วนร่วมกับผู้ป่วยจากระยะไกลก่อนเข้าสู่สถานพยาบาล

โรงพยาบาลและหน่วยงานดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (home care organization) ได้ใช้แบบสอบถามออนไลน์เพื่อคัดแยกและติดตามผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19 โดยมีคอลเซ็นเตอร์ติดต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่จะส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้ให้บริการหรือเจ้าหน้าที่ดูแลที่เหมาะสม สิ่งนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยต้องเผชิญความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น แม้ว่าความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจะลดลงเมื่อการระบาดของ COVID-19 ลดลง แต่ยังมีเหตุผลอื่นที่ทำให้เครื่องมือคัดกรองออนไลน์และการมีส่วนร่วมออนไลน์จะยังคงถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่น ความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยที่มากขึ้น และศักยภาพในการลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ด้วยการดูแล ติดตาม และแนะนำการดูแลสุขภาพทางไกล

บริษัทสตาร์ทอัพในสิงคโปร์เปิดตัวแอปพลิเคชันมือถือ HeHealth ที่ใช้ AI เพื่อวิเคราะห์รูปอวัยวะเพศ สำหรับสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ยังสามารถระบุสภาวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อราและมะเร็งองคชาตได้ ผู้ใช้สามารถส่งภาพอวัยวะเพศของตนโดยไม่ระบุตัวตนและรับผลทันทีสำหรับปัญหา STD โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยอ้างคะแนนความแม่นยำ 90% เมื่อตรวจคัดกรองไวรัส HPV อีกทั้งผู้ใช้จะเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มชุมชนที่สามารถขอคำแนะนำและการสนับสนุนโดยไม่เปิดเผยตัวตน ในอนาคตมีแผนที่จะรวมคุณสมบัติ telehealth ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นการส่วนตัวเพื่อจัดการการดูแลที่จำเป็นและส่งการรักษาตรงถึงบ้าน (Mintel, 2022D)

mWell PH https://www.mwell.com.ph/ เป็นแอปพลิเคชันด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีที่เปิดตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของชาวฟิลิปปินส์ แอปพลิเคชัน mWell PH ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญและคำแนะนำทางการแพทย์ที่จำเป็นได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องออกจากบ้านไปที่คลินิกหรือโรงพยาบาล สมาชิกแอปพลิเคชันยังได้รับแผนออกกำลังกายและโภชนาการรายวัน วิดีโอออกกำลังกาย และสูตรอาหารควบคุมแคลอรี่บนแพลตฟอร์ม เครื่องติดตามสุขภาพส่วนบุคคลยังใช้งานได้กับผู้สมัครใช้งานแอปพลิเคชัน โดยพวกเขาจะได้รับคะแนน mWellness รายวันตามการวิเคราะห์ของโปรแกรมเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและการนอนหลับโดยรวม (Mintel, 2022I)

Sublimed บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติฝรั่งเศส ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคจัดการกับความเจ็บปวดเรื้อรังผ่านอุปกรณ์ที่ใช้แรงกระตุ้นไฟฟ้า เพิ่งได้รับการอนุมัติสำหรับตลาดสหรัฐฯ อุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่า actiTENS ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) และทำงานโดยการเชื่อมต่อแผ่นอิเล็กโทรดที่วางอยู่บนร่างกายเข้ากับระบบกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง (TENS) ระบบจะส่งแรงกระตุ้นไปยังแผ่นอิเล็กโทรด ช่วยลดความเจ็บปวดเป็นระยะเวลานาน และดำเนินการโดยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน แอปพลิเคชันนี้ยังรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้เพื่อติดตามการพัฒนาของความเจ็บปวดสำหรับแพทย์และผู้ป่วย (Mintel, 2021E)

Mon4t Montfort บริษัทสตาร์ทอัพด้านการแพทย์ในอิสราเอลได้สร้างแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งดำเนินการตรวจสอบสมองจากระยะไกลเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตเวช แอปพลิเคชัน Montfort Brain Monitor (Mon4t) ดำเนินการทดสอบระบบประสาทแบบดิจิทัลที่ได้รับการรับรองจาก FDA เพื่อช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตเวชต่างๆ ด้วยการใช้ AI และ machine learning ระบบจะรวบรวมตัวบ่งชี้ที่หลากหลายเพื่อสร้างกลไก การรับรู้ และความรู้สึกหรือ biomarkers ดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ สิ่งเหล่านี้สามารถทำนายการรบกวนการเชื่อมต่อของสมองที่เชื่อมโยงกับความผิดปกติ (Mintel, 2021M)

Anura ของ NuraLogix (NuraLogix, 2022) แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนแอปแรกของโลกที่สามารถแจ้งข้อมูลสุขภาพโดยรวมของผู้ใช้ภายใน 30 วินาที แอปพลิเคชันใช้กล้องบนอุปกรณ์มือถือของผู้ใช้เพื่อประเมินสุขภาพทั่วไปและสุขภาวะที่ดี โดยให้การตรวจวัดระดับทางการแพทย์โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากวิดีโอเซลฟีความยาว 30 วินาที

Jumia แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเปิดตัว e-doctor ซึ่งเป็นบริการ telemedicine แบบสมัครสมาชิกซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพดิจิทัลที่มีคุณภาพและราคาไม่แพงในไนจีเรีย มีให้บริการในแอปพลิเคชัน JumiaPay ผู้ใช้เพียงแค่สมัครใช้บริการ e-doctor ด้วยค่าสมัครเริ่มต้นที่ N1,500 (US$3.61) สำหรับเวลาสามเดือน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบความสะดวกสบายและช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพโดยไม่ต้องแออัดยัดเยียดหรือรอนาน (Mintel, 2022S) หรือ Med247 https://med247.vn/ คือ สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพที่มีแผนจะใช้แอปพลิเคชัน telehealth ใหม่เพื่อให้คำปรึกษาทางการแพทย์และการรักษาเป็นส่วนตัวมากขึ้น Med247 ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงฮานอยกำลังขยายเครือข่ายศูนย์การดูแลเบื้องต้นสำหรับครอบครัวทั่วเวียดนาม ซึ่งจะเสริมด้วยแพลตฟอร์มแบบผสมผสานระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ (Mintel, 2021H)

Voice Therapy App แอปพลิเคชันที่ให้การบำบัดด้วยเสียงสำหรับผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน แอปนี้เป็นบริการที่ตรวจสอบโดยแพทย์และช่วยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันสามารถเข้าถึงการบำบัดด้วยเสียงได้ตั้งแต่เนิ่นๆ นี่คือสิ่งที่ผู้ก่อตั้งระบุว่าจะช่วยรักษาเสียงของผู้ป่วยได้นานถึงสองปีเมื่อเทียบกับการไม่ใช้บริการ ผู้ใช้แอปจะได้รับอีเมลและข้อความเพื่อเตือนให้ฝึก และแพทย์จะติดต่อกลับหากไม่ได้ฝึกภายใน 2-3 วัน (Mintel, 2021V) หรือ Smart Speakers for Seniors โดย JD Health ได้เปิดตัวลำโพงอัจฉริยะซึ่งมาพร้อมกับบริการ telehealth ที่ปรับแต่งสำหรับผู้ใช้สูงอายุที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านการโทรด้วยเสียงและวิดีโอแทนการพิมพ์ การใช้คำสั่งเสียง ผู้สูงอายุสามารถเปิดใช้งานบริการสุขภาพทางไกล “family doctor” ของ JD Health ได้ทุกเมื่อ เพื่อรับคำปรึกษาทางการแพทย์และสุขภาพไม่จำกัด AI-based speaker สามารถเข้าใจภาษาถิ่นที่หลากหลาย นอกจากคำปรึกษาทางการแพทย์แล้ว ผู้ใช้ระดับสูงยังสามารถโทรออกและตรวจสอบสภาพอากาศได้ด้วย รวมถึงฟังก์ชั่นอื่นๆ แพทย์ยังสามารถติดต่อบุตรหลานของผู้ป่วยสูงอายุเพื่อพูดคุยได้ เนื่องจากแพทย์สามารถเข้าถึงรายงานสุขภาพของผู้ปกครองได้จากสมาร์ทโฟน (Mintel, 2021S)

Lidl Polska ได้เปิดตัวการทดสอบทางการแพทย์ 12 รายการที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบสุขภาพที่บ้าน การทดสอบรวมถึงการวินิจฉัยโรคเซลิแอค (celiac disease) การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ตลอดจนการตรวจหาระดับวิตามินดีและธาตุเหล็ก และกิจกรรมของต่อมไทรอยด์ ผู้บริโภคยังสามารถซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ การตกไข่ และวัยหมดระดูก่อนกำหนดได้อีกด้วย การทดสอบแสดงให้เห็นความแม่นยำ 87%-98.9% และราคาอยู่ระหว่าง PLN24.99-29.99 ต่อแพ็ค หรือ 198.54-238.27 บาท (Mintel, 2022D)

ทีมนักวิจัยของ Universidad Católica San Pablo พัฒนาชุดชั้นในที่สามารถช่วยแพทย์ในการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นได้ อุปกรณ์นี้อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งออกโดยเรดาร์และรับสัญญาณจากเสาอากาศ ข้อมูลทั้งหมดนี้รวบรวมและวิเคราะห์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ ต้องสวมใส่อุปกรณ์สวมใส่เป็นระยะเวลา 10 นาทีเพื่อทำการสแกนเต้านมให้สมบูรณ์ สามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม telemedicine ได้ อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถมีผลกระทบอย่างมากต่อการจัดการด้านสุขภาพในพื้นที่ห่างไกล (Mintel, 2022MO)

AnswersNow แพลตฟอร์มออนไลน์ให้บริการผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กออทิสติกเข้าถึงแพทย์ด้านการบำบัดด้วย tele-ABA (Applied Behavior Analysis) สำหรับเด็กออทิสติก (Mintel, 2021A)

Duck Group บริษัทตู้จำหน่ายยาอัตโนมัติ จับมือ Dietz ผู้ให้บริการ telemedicine พัฒนาตู้คีออสที่ผู้บริโภคสามารถปรึกษาแพทย์และรับยาได้ด้วยตนเองจากระยะไกล เครื่องดังกล่าวจะถูกติดตั้งในชุมชนเพื่อช่วยให้คนทุกวัยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ง่ายขึ้น (Mintel, 2022M) อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ E-pharmacy ร้านขายยาอิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกของไนจีเรียเปิดตัวโดย HealthPlus Limited บริการนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคชาวไนจีเรียสามารถเข้าถึงเภสัชกรหรือแพทย์ได้ทันทีทางออนไลน์ การเปิดตัวครั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการในการซื้อยาออนไลน์ เนื่องจากบริษัทสังเกตเห็นว่าสิ่งนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก ทั้งในด้านความสะดวกและความปลอดภัยในช่วงที่เกิดโรคระบาด (Mintel, 2021E)

  • การต้อนรับผู้ป่วยสู่สถานพยาบาลผ่านประตูดิจิทัล

ในยุคที่เราสามารถจองเที่ยวบินหรือห้องพักโรงแรมทางออนไลน์ได้ภายในไม่กี่วินาที การนัดหมายสถานพยาบาลก็กำลังปรับเปลี่ยนให้รวดเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยเครื่องมือจัดตารางเวลาออนไลน์ (online scheduling) ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเลือกช่วงวันและเวลาการนัดหมายมายังสถานพยาบาลที่เหมาะกับตารางงานของตนเองได้อย่างง่ายดาย การมีส่วนร่วมกับผู้ป่วยทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่องสามารถนำพาผู้ป่วยไปสู่การดูแลรักษา อีกทั้งยังมี ห้องรอเสมือนจริง (virtual waiting room) ช่วยให้ผู้ป่วยรออย่างเพลิดเพลินและสะดวกสบายจนกว่าจะถึงเวลานัดหมาย

  • การสนับสนุนการรับภาพทางการแพทย์จากระยะไกล

นอกเหนือจากเครื่องมือ telehealth ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการดูแลแล้ว การใช้ telehealth ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ให้บริการยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานร่วมกันแม้ว่าจะอยู่ห่างกันก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพสามารถฝึกอบรม แนะนำ และช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์น้อย ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันและให้การสนับสนุนแบบเรียลไทม์ผ่าน telehealth

  • การนำความเชี่ยวชาญด้านอัลตราซาวด์มาไว้ข้างเตียงด้วยการทำงานร่วมกันทางไกลแบบไลฟ์สด เทเลอัลตราซาวนด์ (tele-ultrasound)

เป็นอีกหนึ่งในหลายๆ ตัวอย่างที่เกิดขึ้นใหม่ของ telehealth ที่สามารถช่วยให้ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญแพร่หลายมากขึ้นทั่วทั้งเครือข่ายสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งอาจมีเจ้าหน้าที่เฉพาะทางไม่เพียงพอ แม้ว่าเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์จะทำงานได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังต้องการทักษะการใช้มือที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีทางคลินิกที่ซับซ้อนมากขึ้น การใช้แพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันแบบไลฟ์สดที่ผสานเข้ากับระบบอัลตราซาวนด์ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ที่โรงพยาบาลในเมืองสามารถสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลได้ เช่น การการอธิบายผลการตรวจจากระยะไกล ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเครียดกับการต้องรอผลเป็นเวลาหนึ่งหรือสองสัปดาห์

Pulsenmore (https://pulsenmore.com/) ผู้พัฒนา Pulsenmore ES™ ซึ่งเป็นโซลูชันอัลตราซาวนด์ทารกในครรภ์ที่บ้าน ที่สามารถให้บริการผู้ป่วยและผู้ดูแลในพื้นที่ห่างไกล และได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพทางคลินิกและการดำเนินงาน Pulsenmore ได้รับรางวัล People’s Choice Award และ American Telemedicine Association (ATA) Telehealth Innovators ประจำปี 2022 (American Telemedicine Association, 2022)

  • การช่วยให้แพทย์ผู้รักษาสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องออกจากห้องปฏิบัติการ (peer-to-peer education)

ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการรักษาแบบใหม่และเฉพาะทางสูงอาจถูกจำกัดอยู่ในแพทย์กลุ่มเล็กๆ เท่านั้น โดยปกติแล้ว ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะอยู่ใน interventional room เพื่อให้การฝึกอบรมภาคปฏิบัติแก่ผู้ที่มีประสบการณ์น้อย การทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริง สามารถเรียนรู้และทำงานร่วมกันผ่านเว็บแคมที่ติดตั้งบนเพดานของ interventional room ในทำนองเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคซึ่งรู้รายละเอียดทั้งหมดของอุปกรณ์การรักษาเฉพาะหรือระบบแทรกแซง สามารถเรียกขอรับการสนับสนุนทางไกลได้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังขั้นตอน ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแคนาดาประสบความสำเร็จในการควบคุมการใช้สิ่งปลูกฝังชนิดใหม่ในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกเพื่อรักษาหลอดเลือดโป่งพองในสมอง ผ่านการสตรีมภาพและเสียงแบบสองทิศทาง ในอนาคต สามารถจินตนาการถึงการใช้เครื่องมือดังกล่าวในวงกว้างขึ้นเพื่อการเผยแพร่ความรู้อย่างรวดเร็ว โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาเป็นผู้สั่งการ อธิบายประกอบ และแชร์วิดีโอการศึกษาของตนเอง

  • การช่วยเหลือผู้ป่วยหนักจากระยะไกล (tele-ICUs)

tele-ICUs เป็นอีกตัวอย่างของการที่ telehealth สามารถขยายสายตาของแพทย์ไปยังโรงพยาบาลใดๆ ในประเทศ หรือแม้แต่ทั่วโลก นำโดยทีมดูแลผู้ป่วยหนักในศูนย์ตรวจสอบส่วนกลางที่ทำหน้าที่คล้ายกับศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ tele-ICUs ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจสอบจากระยะไกล ผู้ป่วยหนักและพยาบาลในศูนย์กลางได้รับการสนับสนุนโดยกล้องความละเอียดสูง การวัดและส่งข้อมูลทางไกล และการแสดงภาพข้อมูลขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานข้างเตียงไม่ว่าจะอยู่ที่ใด การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์จะแจ้งเตือนทีมดูแลถึงสัญญาณเริ่มต้นของการทรุดลงของผู้ป่วย ทำให้สามารถเข้าแทรกแซงได้อย่างรวดเร็วเมื่อจำเป็น ในช่วงที่เกิดโรคระบาด tele-ICUs มีบทบาทสำคัญในการให้การสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน เนื่องจากห้องไอซียูมีผู้ป่วยล้นหลาม

  • การดูแลผู้ป่วยด้วยไบโอเซนเซอร์ที่สวมใส่ได้

เซ็นเซอร์ที่หน้าอก สามารถวัดและส่งสัญญาณชีพ เช่น ข้อมูลการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจ ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น ท่าทางและระดับกิจกรรม หลังจากการระบาดของ COVID-19 และการขาดแคลน PPE ที่เกิดขึ้นในช่วงแรก โรงพยาบาลได้รับประโยชน์อย่างมากจากการใช้ไบโอเซนเซอร์แบบสวมใส่เพื่อติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วย COVID-19 โดยเฉพาะ โดยไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่เสี่ยงโดยไม่จำเป็น

Biobeat (https://www.bio-beat.com/) ระบบที่ออกแบบมาเพื่อแปลงการรวบรวมข้อมูลและการสนับสนุนการตัดสินใจโดยการวัดสัญญาณชีพ 13 รายการโดยอัตโนมัติและส่งผลลัพธ์ไปยังเว็บแอปพลิเคชันและ EMR

  • การมอบความสะดวกสบายให้กับหญิงมีครรภ์ผ่านการตรวจสอบระยะไกล

ประชากรกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีการตรวจติดตามแบบใหม่คือคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากผู้หญิงจำนวนมากกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการติดเชื้อ COVID-19 ต่อการตั้งครรภ์ การแพร่ระบาดได้เน้นย้ำถึงคุณค่าของการดูแลก่อนคลอดทางไกล การใช้แผ่นอิเล็กโทรดไร้สายและแผ่นแปะอิเล็กโทรดแบบใช้แล้วทิ้งที่วางบนท้องของสตรี ผู้ดูแลสามารถตรวจสอบสัญญาณชีพของทั้งแม่และลูกจากระยะไกลเพื่อลดการมีปฏิสัมพันธ์ทางร่างกายที่ไม่จำเป็น

บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติฝรั่งเศส ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคจัดการกับความเจ็บปวดเรื้อรังผ่านอุปกรณ์ที่ใช้แรงกระตุ้นไฟฟ้า เพิ่งได้รับการอนุมัติสำหรับตลาดสหรัฐฯ อุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่า actiTENS ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) และทำงานโดยการเชื่อมต่อแผ่นอิเล็กโทรดที่วางอยู่บนร่างกายเข้ากับระบบกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง (TENS) ระบบจะส่งแรงกระตุ้นไปยังแผ่นอิเล็กโทรด ช่วยลดความเจ็บปวดเป็นระยะเวลานาน และดำเนินการโดยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน แอปพลิเคชันนี้ยังรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้เพื่อติดตามการพัฒนาของความเจ็บปวดสำหรับแพทย์และผู้ป่วย (Mintel, 2021E)

  • การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผ่านการพบทันตแพทย์เสมือนจริง (tele-dentistry)

tele-dentistry ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรึกษาทันตแพทย์ที่มีใบอนุญาตผ่านแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยไม่ต้องออกจากบ้าน ด้วยการแชร์ภาพถ่ายความละเอียดสูงของฟันและระบุข้อกังวล เพื่อรับการประเมินส่วนบุคคลและคำแนะนำเพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง

  • การให้การเข้าถึง telehealth ได้ง่ายผ่านสถานีดูแลเสมือน (virtual care station)

สภาพแวดล้อมด้านการแพทย์ทางไกลแบบพ็อดที่ให้บริการการดูแลเสมือนจริงในละแวกใกล้เคียงที่สะดวกสบาย เช่น สถานประกอบการค้าปลีก ผู้ป่วยสามารถนั่งในห้องส่วนตัวเพื่อสนทนาเสมือนจริงกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ โดย virtual care station มีกล้อง แสง และลำโพงคุณภาพสูง ทั้งหมดนี้ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการได้รับมุมมองที่ดีเกี่ยวกับปัญหาของผู้ป่วย เช่น บาดแผลหรือปัญหาผิวหนัง

ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับ telehealth เพื่อช่วยดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษย์ จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำไปสู่การบรรจบกันของผู้คน ข้อมูล เทคโนโลยี และการเชื่อมต่อเพื่อปรับปรุงการดูแลสุขภาพและผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

ที่มาข้อมูล