ความท้าทายในการใช้งาน Cloud

Cloud computing จัดเป็น 1 ใน 4 Digital superpowers ในยุคดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วย

  1. Cloud ไม่จำกัดขนาด
  2. Mobile ไม่จำกัดการติดต่อสื่อสาร
  3. IoT ไม่จำกัดการเข้าถึง
  4. AI ความชาญฉลาดเหนือคู่แข่ง

แม้ว่า Cloud computing จะเอื้อประโยชน์ในการดำเนินงานขององค์กร แต่ก็มีความท้าทายในการใช้งานที่ควรคำนึงถึง แบ่งตามประเภทของ Cloud คือ Public Private และ Hybrid 

Public cloud

  • ขาดความยืดหยุ่น 34%
  • ความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย 31%
  • การเข้าถึงสารสนเทศ/ข้อมูลโดยภายนอก 31%
  • ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ 24%
  • ขาดมาตรฐาน 22%
  • ค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษา 21%
  • ขาดกระบวนการ 19%
  • ขาดการควบคุม 16%
  • ไม่รู้ 1%

Private cloud

  • ความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย 35%
  • ค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษา 30%
  • ขาดการควบคุม 23%
  • ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ 23%
  • ขาดความยืดหยุ่น 23%
  • ขาดกระบวนการ 21%
  • ขาดมาตรฐาน 20%
  • การเข้าถึงสารสนเทศ/ข้อมูลโดยภายนอก 20%
  • ไม่รู้ 2%

Hybrid cloud

  • ความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย 48%
  • การเข้าถึงสารสนเทศ/ข้อมูลโดยภายนอก 27%
  • ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ 27%
  • ค่าใช้จ่ายของการ maintenance 25%
  • ขาดการควบคุม 23%
  • ขาดกระบวนการ 20%
  • ขาดความยืดหยุ่น 10%
  • ขาดมาตรฐาน 12%
  • ไม่รู้ 3%

ที่มาข้อมูลเรียบเรียงจาก:

“Digital Acceleration: Be the Next Digital Success Story” โดย Mr.Mark Weaser (Vice President บริษัท OutSystems Asia/Pacific) ในงาน IDC CIO Summit 2019 จัดโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น (International Data Group – IDC) เมื่อ วันที่ 15 พ.ค. 2562 ณ Conrad Bangkok โดย งาน IDC CIO Summit 2019 จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและผลลัพธ์การดำเนินงานของหน่วยงาน และ การปรับตัวของหน่วยงานต่อเรื่องดังกล่าว ให้กับผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

Digital transformation กับ Digital worker และ Digital workforce

Digital transformation คือ การนำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน ขณะที่การเริ่มต้น Digital transformation นั้น คือ การสร้างแรงบันดาลใจของผู้คนด้วย mindset ใหม่ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น

โดยหนึ่งแนวคิดของการบริหารจัดการองค์กรในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล คือ Agile organization ซึ่งหมายถึง การที่องค์กรมีความยืดหยุ่นและมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไป จากความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยต้องลดขั้นตอนในการทำงาน และ การอนุมัติ และการให้อำนาจแก่พนักงานมากขึ้น ซึ่งการจะเป็น Agile organization จะต้องมี Agile mindset คือ การพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การสร้าง Feedback loop และ การส่งมอบมูลค่าทางธุรกิจที่รวดเร็ว โดยยึดความโปร่งใส การตรวจสอบโดยละเอียด และการปรับตัว

แรงงานดิจิทัลและการทำงานในอนาคต – พัฒนาการของ Digital workforce

  • ก่อนปี 2013 กระบวนการทำงานมีลักษณะเป็นแบบ Manual process
  • ปี 2013-2016 กระบวนการทำงานพัฒนาขึ้นเป็น Robotic Process Automation (RPA)
  • ปี 2016-2019 กระบวนการทำงานพัฒนาขึ้น Digital workforce คือ การทำงานร่วมกันของ RPA Cognitive และ Analytics
  • ปี 2017-2021 กระบวนการทำงานพัฒนาขึ้น Digital labor platform คือประกอบด้วย Digital labor platform Bot Store Cloud

เหตุผลที่ต้องมีการยกระดับ Digital workforce

  • ทำให้ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเกี่ยวกับแรงงานเหมาะสม เพิ่มความสามารถของแรงงาน
  • เพิ่มความเร็ว ความถูกต้อง (100%) และ ความพร้อมใช้งาน (24×356)
  • ปรับปรุงการปฏิบัติตาม การควบคุม และการตรวจสอบ
  • สนับสนุน digital transformation
  • เสริมสร้างขวัญและกำลังใจของพนักงาน

รากฐานขององค์กรดิจิทัล คือ

  • การลดต้นทุนการดำเนินงาน
  • การพัฒนาคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้า
  • การสร้างความสามารถที่ทดแทนได้แบบต้นทุนต่ำ
  • ความได้เปรียบทางการแข่งขัน

กลยุทธ์ Digital workforce ต้องเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กร 

สิ่งที่สำคัญในองค์กรดิจิทัล คือ ความยืดหยุ่น ความปลอดภัย และ ธรรมาภิบาลและการควบคุม

  • ความยืดหยุ่น ประสบการณ์ของผู้ใช้ที่ช่วยให้สามารถปรับใช้ และ Scale-Out อย่างรวดเร็ว
  • ความปลอดภัย ความปลอดภัยระดับองค์กรที่ตรงตามข้อกำหนดการตรวจสอบที่เข้มงวดที่สุด
  • ธรรมาภิบาลและการควบคุม ตรวจสอบและวิเคราะห์ bots ทั่วทั้งองค์กรในรูปแบบการควบคุมกลาง

Digital workforce สำหรับ องค์กรที่ทันสมัย 

  • Do กระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อนซึ่งทำให้เป็นอัตโนมัติ
  • Think กระบวนการที่ไม่มีโครงสร้างแบบอัตโนมัติด้วย AI และ Machine learning
  • Analyze การวิเคราะห์กระบวนการอัตโนมัติแบบเรียลไทม์

ที่มาข้อมูลเรียบเรียงจาก:

“The Digital Transformation Journey: Getting Stared” โดย คุณ วีรภัทร จันทรวรรณกูล (ประธานเจ้าหน้าที่สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทประกันชีวิต FWD) และ “Digital Worker & the Future of Work” โดย Mr.Lau Seng Kiam (Senior Director, Sales Engineering บริษัท Automation Anywhere) ในงาน IDC CIO Summit 2019 จัดโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น (International Data Group – IDC) เมื่อ วันที่ 15 พ.ค. 2562 ณ Conrad Bangkok โดย งาน IDC CIO Summit 2019 จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและผลลัพธ์การดำเนินงานของหน่วยงาน และ การปรับตัวของหน่วยงานต่อเรื่องดังกล่าว ให้กับผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

Digital transformation กับผลกระทบและการปรับตัวของหน่วยงาน

Digital transformation คือ การนำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน
ทั้งนี้ Mr.Jun Fwu Chin (Research Director, IDC Asia/Pacific) แสดงความคิดเห็นว่า Digital transformation คือ การกลายเป็น digital native หรือ การกลายเป็นคนที่เกิดในยุคดิจิทัล โดยการที่บริษัทหรือองค์กรจะกลายเป็น Digital native บริษัทหรือองค์กรนั้นต้องขับเคลื่อนด้วยลูกค้าและกำลังแรงงานที่ชาญฉลาด เรียนรู้และปรับจากความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่มีความสำคัญ กระตุ้นการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ กระตุ้นรายได้ใหม่ และ กระตุ้นความจงรักภักดีของลูกค้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีและข้อมูล

จากการสำรวจข้อมูลของบริษัทในประเทศไทยพบว่า ประมาณ 36.8% มีการบูรณาการหรือดำเนินการเกี่ยวกับ digital transformation อย่างต่อเนื่องภายในองค์กรในส่วนของการดำเนินงานและการบริการลูกค้า และ มีเพียง 10.5% มีกลยุทธ์ในการใช้ digital transformation เพื่อแปลงเปลี่ยนตลาดและลูกค้าด้วยการสร้างโมเดลธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่

การแปลง digital transformation สู่ ไอทีฟังก์ชั่น เกี่ยวข้องกับ 4 ส่วน คือ องค์กร ความสามารถหลัก การสร้างรายได้ และการจัดการความเสี่ยง

  • องค์กร คือ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เช่น การจัดการการเปลี่ยนแปลง KPIs
  • ความสามารถหลัก คือ ความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและง่ายดาย และ ความสามารถในการปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้น เช่น ระบบอัจฉริยะ
  • การสร้างรายได้ คือ การขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาและช่องทางการจำหน่าย เช่น การสร้างรายได้จากข้อมูล หรือ วิศวกรซอฟต์แวร์ระดับองค์กร
  • การจัดการความเสี่ยง คือ เปิดทางธรรมมาภิบาลและความยืดหยุ่น เช่น ความไว้เนื้อเชื่อใจในโลกดิจิทัล หรือ digital trust

อนาคตของการทำงาน กับ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในไอทีคือสิ่งสำคัญ

  • วัฒนธรรม การมีส่วนร่วมและการมีกำลังของพนักงานที่สอดคล้องกับทักษะดิจิทัลใหม่
  • พื้นที่ การเชื่อมต่อและการป้องกันสิ่งแวดล้อมของการทำงาน อิสรภาพของเวลาและสถานที่
  • การร่วมมือกันระหว่างคนและเทคโนโลยี

การสร้างความสามารถหลักทางไอทีเพื่อความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและง่ายดายและการเพิ่มขนาดหรือสเกลของธุรกิจ แบ่งเป็น 3 ระดับ

  • ระดับที่ 1 เทคโนโลยีใหม่และโมเดลการส่งมอบ ระดับแรกเป็นการเข้าถึง IT เช่น Cloud Mobile Social Big data
  • ระดับที่ 2 แพลตฟอร์มและชุมชน เช่น AI IoT Blockchain Natural interfaces
  • ระดับที่ 3 ระบบที่ทำงานโดยอิสระ เช่น Quantum computing BioDigital integration Exponential AI

มีการคาดการณ์ว่า 60% ของ CIO จะประยุกต์ข้อมูลและ AI สู่กระบวนการดำเนินงาน เครื่องมือ และขั้นตอนไอที ในปี 2021

การสร้างแพลตฟอร์มที่ทั้งเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและง่ายดาย และ สามารถปรับขนาดได้ เน้นเรื่อง

  • กลยุทธ์ Cloud-based API เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามระบบนิเวศ ecosystem
  • Agile application architectures บน Platform-as-a-Service (PaaS)
  • เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ลูกค้า
  • Digital trust ผ่านอัตลักษณ์ และ การจัดการช่องโหว่และภัยคุกคามในบริการทั้งหมด
  • Intelligent core บนการจัดการข้อมูล AI และ Machine learning

องค์กรแห่งอนาคต คือองค์กรที่เจริญเติบโตด้วยวัฒนธรรมแบบ digital native แข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ecosystem การสร้างรายได้จากการเข้าอกเข้าใจและการแสดงความสามารถในการนำโมเดลการทำงานเข้ากับความต้องการที่ซับซ้อนของลูกค้า ทั้งหมดทำได้โดย กำลังแรงงานที่ชาญฉลาด การเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยพนักงานทุกๆ คน ที่ปรับปรุงการดำเนิงนงานตลอดเวลา

ที่มาข้อมูลเรียบเรียงจาก: 

“The CIO’s digital determination playbook” โดย Mr.Jun Fwu Chin (Research Director, IDC Asia/Pacific)  ในงาน IDC CIO Summit 2019 จัดโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น (International Data Group – IDC) เมื่อ วันที่ 15 พ.ค. 2562 ณ Conrad Bangkok โดย งาน IDC CIO Summit 2019 จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและผลลัพธ์การดำเนินงานของหน่วยงาน และ การปรับตัวของหน่วยงานต่อเรื่องดังกล่าว ให้กับผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 

การ Mirror หน้าจอ Smart Phone ไปออก PC

หลายครั้งในการบรรยายที่วิทยากรต้องการโชว์แอปพลิเคชันบน Smart Phone ให้ผู้อบรมได้เห็น แต่เป็นอุปสรรค์เพราะการโชว์จาก Smart Phone โดยตรงจะเล็กเกินไปจนมองไม่เห็น จำเป็นต้องหาทาง mirror หน้าจอมือถือไปออก PC เพื่อที่จะไปออก Projector อีกทีหนึ่ง

แอปพลิเคชัน ApowerMirror – Mirror&Reflect เป็นแอปฯ จาก บ. Apowersoft Limited ที่มีความสามารถสูง สามารถตอบโจทย์วิทยากรที่ต้องการโชว์แอปพลิเคชันให้ผู้อบรมเห็น รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ทั้งยังมีโปรแกรมเสริมใน PC และมีทั้งแบบฟรีและชำระเงินเพิ่มเพื่อใช้ฟังก์ชันที่มีประโยชน์อื่นมากมาย

สามารถ Download แอปพลิเคชันในระบบต่างๆ ได้ดังนี้
Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.apowersoft.mirror
iOS : https://itunes.apple.com/us/app/apowermirror-mirror-reflect/id1244625890 
PC : https://www.apowersoft.com/phone-mirror 
แนะนำการใช้งานโปรแกรมตามนี้ครับ (ใช้การสาธิตระหว่าง PC (version 1.4.3.3) และ มือถือ Android )

เมื่อลงโปรแกรมที่ PC แล้ว และลงแอปฯ บนมือถือแล้ว สิ่งสำคัญอันดับแรก ต้องให้ทั้ง 2 device นี้ เชื่อมต่อ wifi วงเดียวกัน ในที่นี้ เป็นตามรูป (ฝั่งซ้ายเป็น PC ฝั่งขวาเป็น Smart Phone)
  

เริ่มใช้งาน เปิดโปรแกรมทั้ง 2 device

ฝั่ง PC เข้าสู่หน้าเตรียมพร้อม ขึ้นข้อความว่า ให้เปิดแอปฯ ฝั่งมือถือ
ฝั่งมือถือ เข้าสู่หน้าเตรียมพร้อม แล้วแจ้งว่าให้เชื่อมต่อ Wifi วงเดียวกัน ให้คลิ๊กที่ปุ่มกลาง (Mirror)

ต่อจากนี้ เป็นการจัดการฝั่งมือถือ โดยทำตามนี้
เมื่อคลิกปุ่มไปแล้ว ระบบจะหา PC ที่อยู่ในวง wifi เดียวกัน และเปิดโปรแกรมรออยู่

 
เมื่อเจอแล้ว จะขึ้นชื่อให้เลือกว่าเป็น PC เครื่องไหน ให้เราคลิกที่ชื่อเครื่องของเราได้เลย

 
ระบบจะให้เลือกว่า จะใช้การทำงานแบบไหน
– Phone Screen Mirroring เพื่อ mirror หน้าจอมือถือไปออก PC (คลิกตัวเลือกนี้)
– Computer Screen Mirror เพื่อ mirror หน้าจอ PC ไปออกมือถือ

เมื่อสั่ง mirror แล้ว บน PC จะได้รับ screen mirror จากหน้าจอมือถือมาออกแล้ว
  

ทดสอบการใช้งาน จะ screen mirror มา 100%
  

มีฟังก์ชันการใช้งานนึง ที่ขอแนะนำให้ใช้ คือการ record การ screen mirror เป็นไฟล์ VDO สมบูรณ์มาก
  

สามารถปรับ account level หากต้องการฟังก์ชันการใช้งานที่ดีขึ้น

หวังว่าโปรแกรมนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับวิทยากรมากขึ้น หรือใช้งานสำหรับ user ทั่วไปก็ได้

บทบาทของห้องสมุดกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้บริษัทผู้ให้บริการระบบบริการออนไลน์ต่างๆ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการจำนวนมากได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อนำมาทำรายงานสรุปข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการเพื่อการวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจเปิดเผยให้เห็นถึงลักษณะ ความสนใจ และความชอบของผู้ใช้บริการ อาจอาจส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้ใช้บริการเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ บริษัทผู้ให้บริการระบบบริการออนไลน์ต่างๆ ยังสามารถกำหนดเรื่อง โพสต์ หรือเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้ใช้บริการเห็นบนแพลตฟอร์มที่ตนเองให้บริการ โดยคัดสรรตามลักษณะ ความสนใจ และความชอบของผู้ใช้บริการ ยกตัวอย่างเช่น Social media ขึ้นโฆษณาในสิ่งที่เรากำลังสนใจ ไม่ใช่แค่เพียง Social media แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางวิจัยและวิชาการ เช่น ผู้ให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์พยายามตรวจสอบการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ของผู้ใช้บริการและปรับแต่งผลลัพธ์และประสบการณ์ในการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น

ขณะที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) มาตรา 12 ระบุว่า บุคคลใดจะถูกแทรกแซงตามอำเภอใจ ในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย หรือการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ หรือ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2556 และ 2557 มีมติเกี่ยวกับ สิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล เรียกร้องให้ทุกประเทศ เคารพและปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัว รวมถึงในบริบทของการสื่อสารแบบดิจิทัล เช่นเดียวกัน กฎหมายหลายฉบับของไทยที่พูดถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 พรบ. ว่าด้วยธุุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ ร่าง พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ…. เป็นต้น

International Federation of Library Associations and Institutions (IFLA) สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด มีแถลงการณ์เฉพาะว่า ห้องสมุด…มีความรับผิดชอบในการ…มุ่งมั่นที่จะทำให้มั่นใจว่าความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ สื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศ และบริการ ที่ผู้ใช้ใช้ยังคงเป็นความลับ หลักจรรยาบรรณสำหรับบรรณารักษ์และผู้บริการสารสนเทศของ IFLA ระบุถึงการเคารพความเป็นส่วนตัว การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และการรักษาความลับในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และห้องสมุดว่าคือหลักการสำคัญ 

ตามธรรมเนียมปฏิบัตินโยบายการให้บริการห้องสมุดให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลและความลับของผู้ใช้บริการห้องสมุด แต่ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ในห้องสมุดก็ถูกท้าทาย กล่าวคือ ผู้ให้บริการเนื้อหาและบริการเชิงพาณิชย์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกอาจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของผู้ใช้ การสื่อสาร และธุรกรรม ระบบห้องสมุดในลักษณะ cloud-based อาจถ่ายโอนและจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้ไว้นอกพื้นที่ให้บริการของห้องสมุด เมื่อห้องสมุดเสนอบริการบนอุปกรณ์มือถือของผู้ใช้บริการ บริการอาจรวบรวมข้อมูลประจำตัวและข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้บริการ ติดตามการใช้ห้องสมุด และการแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลที่สาม เป็นต้น

ห้องสมุดสามารถตัดสินใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลประเภทใดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ห้องสมุดจะเก็บรวบรวมและพิจารณาหลักการของการรักษาความปลอดภัยข้อมูล ห้องสมุดสามารถเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการเพื่อให้แน่ใจว่าเกี่ยวกับการป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ แต่ต้องยอมรับว่าโอกาสของห้องสมุดที่จะมีอิทธิพลต่อการควบคุมผู้ให้บริการอาจจะมีจำกัด

IFLA มีคำแนะนำสำหรับห้องสมุดเกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ ดังนี้

  • ห้องสมุดควรเคารพความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการทั้งในระดับหลักการและการปฏิบัติ
  • ห้องสมุดควรสนับสนุนความพยายามขององค์กรที่ดำเนินการเรื่องการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับสากล เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของบุคคลและสิทธิ์ดิจิทัลของพวกเขา พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดสะท้อนความคิดเห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้
  • ห้องสมุดควรปฏิเสธการเฝ้าระวังทางอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจสอบหรือการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้หรือข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้จากระบบที่ผิดกฎหมายทุกประเภท
  • ในขณะที่การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้และการเฝ้าระวังข้อมูลของรัฐบาลเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างสมบูรณ์ ห้องสมุดควรตรวจสอบการบุกรุกข้อมูลและการสื่อสารของผู้ใช้โดยรัฐบาล โดยให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง ในปริมาณที่จำเป็น โดยมีจุดมุ่งหมายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • เมื่อห้องสมุดให้บริการการเข้าถึงทรัพยากร บริการ หรือเทคโนโลยี ที่อาจเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ห้องสมุดควรส่งเสริมให้ผู้ใช้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงให้คำแนะนำในการป้องกันข้อมูลและความเป็นส่วนตัว
  • ห้องสมุดควรสนับสนุนความสามารถของผู้ใช้ในการตัดสินใจ เลือกใช้ข้อมูล การกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายในการสื่อสารและการใช้บริการในอินเทอร์เน็ต
  • การป้องกันข้อมูลและการปกป้องความเป็นส่วนตัวควรอยู่ในหลักสูตรฝึกอบรมการรู้สื่อและสารสนเทศของห้องสมุด รวมถึงการฝึกอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือที่จะใช้เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว และ
  • การศึกษาของห้องสมุดและผู้เชี่ยวชาญควรรวมเรื่องการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว

อ้างอิง

International Federation of Library Associations and Institutions. (2015, 14 August). IFLA Statement on Privacy in the Library Environment. Retrieved from https://www.ifla.org/files/assets/hq/news/documents/ifla-statement-on-privacy-in-the-library-environment.pdf

ตรวจสอบและตั้งค่าความปลอดภัยให้ facebook

เมื่อมีข่าว facebook โดนแฮก หรือการขโมยข้อมูลบัญชีผู้ใช้ facebook บ่อยครั้ง สักวันหนึ่งเราอาจจะตกเป็นเยื่อมิจฉาชีพบ้างก็ได้ เราจะใช้ facebook อย่างไรให้ปลอดภัย ลองมาดูวิธีการตรวจสอบและตั้งค่าความปลอดภัยให้กับ facebook กัน

  1. ไปที่เมนูการตั้งค่า –> การรักษาความปลอดภัยและการเข้าสู่ระบบ จะมีรายการเมนูและรายละเอียดวิธีใช้งานดังนี้

    Continue reading “ตรวจสอบและตั้งค่าความปลอดภัยให้ facebook”

สรุปรายงานสถานะการจัดการความรู้ขององค์กรไทย

ทริส คอร์ปอเรชั่น และ สถาบันที่ปรึกษาด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำรวจสถานะการจัดการความรู้ (Knowledge Management – KM) ขององค์กรไทย วัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพของ KM ขององค์กรในประเทศไทย และ วิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อน KM ในองค์กรต่างๆ โดยทำการศึกษาในช่วงเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 2561 ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วม 160 แห่ง (หน่วยงานราชการ 49% รัฐวิสาหกิจ 17% และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 34%) ผลการศึกษาแบ่งตามประเด็น ได้แก่

ความตระหนักต่อ KM

จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่าองค์กรที่มีการดำเนินการ KM คิดเป็น 76% โดยประเภทองค์กรที่มีการดำเนินการ KM มากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการ และบริษัทเอกชน ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาขนาดขององค์กรด้วยจำนวนบุคลากรในองค์กร พบว่าองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งมีบุคลากรมากกว่า 1,000 คน มีการดำเนินการ KM มากที่สุด และองค์กรที่มีการดำเนินการ KM มากกว่า 75% มีการดำเนินการมาแล้วมากกว่า 3 ปี

ลักษณะของ KM ในองค์กร

การดำเนินการ KM ขององค์กรนั้น พบว่า จะมีหน่วยงานเฉพาะที่มีหน้าที่ดำเนินการ KM อาจอยู่ในระดับกลุ่มงาน ฝ่าย หรือแผนก (37%) และ เป็นการขับเคลื่อนดำเนินการโดยมีคณะทำงานหรือคณะกรรมการด้าน KM ที่มีลักษณะการทำงานข้ามสายงานหรือข้ามหน่วยงานภายในองค์กร (30%) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรเข้าใจว่า KM เป็นสหสาขาวิชาหรือเกี่ยวข้องกับหลายสาขา รวมถึงการมีระดับการจัดการ คือ มีผู้บริหารระดับสูงหรือกลางจากหน่วยงานรับผิดชอบดูแล KM (23%)

Top 3 ลักษณะของ KM ที่องค์กรส่วนใหญ่ดำเนินการ ได้แก่

  1. การจัดทำแนวทางการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานให้บุคลากรทราบ (Knowledge map)
  2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามสายงาน (Cross functional team)
  3. การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ทันการณ์ตลอดเวลา

เป้าหมายของ KM

เป้าหมายขององค์กรที่ดำเนินการ KM พบว่า นั้น มากกว่าครึ่ง (53%) ให้ความสำคัญที่ “นวัตกรรม” ที่มีคุณค่าต่อการเติบโตขององค์กร สะท้อนว่าทำ KM ไม่ใช่เพื่อปรับปรุงงานอย่างเดิม แต่เป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรม และแสดงถึงการเชื่อมโยงที่องค์กรส่วนใหญ่ยอมรับระหว่าง KM กับ นวัตกรรม

เป้าหมายในลำดับถัดมา ได้แก่ การปรับปรุงผลการดำเนินงาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์/บริการ การเพิ่มความสามารถขององค์กรต่อการเติบโตในอนาคต ความพึงพอใจของลูกค้า/ผู้ใช้บริการ และสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นของบุคลากร

อุปสรรคของ KM ในองค์กร

  • อันดับที่ 1 บุคลากรขาดความตระหนักหรือความสนใจ
  • อันดับที่ 2 การขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการและเครื่องมือ KM
  • อันดับที่ 3 การขาดแรงจูงใจ
  • อันดับที่ 4 ข้อจำกัดของบุคลากร (ขาดความรู้หรือทักษะ)
  • อันดับที่ 5 ผู้บริหารขาดความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง
  • อันดับที่ 6 ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรไม่เอื้อ

ซึ่งจากอุปสรรคข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าความไม่สำเร็จต่างๆ นั้นมักเกิดขึ้นเกี่ยวกับ บุคลากร

เมื่อพิจารณาอุปสรรคของ KM ในองค์กร ตามประเภทขององค์กร พบว่าองค์กรทุกประเภทมีความคิดเห็นตรงกันก็คือ การที่บุคลากรในองค์กรยังขาดความตระหนักหรือความสนใจใน KM เท่าที่ควร

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ KM ในองค์กร

การศึกษาพบว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จในผลลัพธ์ระดับที่แตกต่างกัน มีปัจจัยที่ให้ความสำคัญควบคู่กันไปแตกต่างกัน คือ

  • องค์กรที่ตั้งเป้าหมายความสำเร็จของ KM ในระดับเริ่มต้น จะให้ความสำคัญกับ กระบวนการจัดการความรู้ (KM process)
  • ระดับที่ก้าวหน้าต่อมา จะให้ความสำคัญกับ การนำองค์กร (Leadership)
  • องค์กรที่ต้องการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จในระดับสูงสุด จะให้ความสำคัญกับ การวางกลยุทธ์ KM (KM strategy) และ การผสาน KM เข้าเป็นส่วนเดียวกันกับการปฏิบัติงาน (Operation)

ประเภทขององค์กรกับ KM (ภาพรวม)

การสำรวจพบว่าค่าเฉลี่ยระดับสมรรถนะด้าน KM ในองค์กร (ทั้งหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และบริษัทจดทะเบียน) อยู่ในระดับปานกลาง มีระดับคะแนนสมรรถนะด้าน “การนำองค์กร” (Leadership) สูงเช่นเดียวกัน และ มีระดับคะแนนสมรรถนะด้าน “บุคลากร” ต่ำที่สุดเช่นเดียวกัน

ในหน่วยงานราชการ การสำรวจพบว่า “การนำองค์กร” และ “การวางแผน/ทรัพยากรสนับสนุน” เป็นด้านที่หน่วยงานราชการมีระดับคะแนนสูงสุดตามลำดับ ขณะที่ “บุคลากร” เป็นด้านที่มีระดับคะแนนต่ำที่สุด

ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การสำรวจพบว่า “การวางแผน/ทรัพยากรสนับสนุน” และ “การนำองค์กร” เป็นด้านที่มีระดับคะแนนสูงสุดตามลำดับ ขณะที่ “บุคลากร” เป็นด้านที่มีระดับคะแนนที่ต่ำที่สุด

ในบริษัทจดทะเบียน การสำรวจพบว่า “กระบวนการปฏิบัติงาน” (องค์กรมีการสร้างความตระหนักต่อความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงานที่สำคัญ) และ “การนำองค์กร” เป็นด้านที่มีระดับคะแนนสูงสุดตามลำดับ ขณะที่ “บุคลากร” เป็นด้านที่มีระดับคะแนนต่ำที่สุดเช่นเดียวกับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จ KM อย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษา พบ 2 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จ KM อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ บุคลากร และ กระบวนการปฏิบัติงาน

  1. องค์กรควรให้ความสำคัญกับบุคลากร ได้แก่ การสร้างบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ KM มาประยุกต์ใช้ในองค์กร ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดกิจกรรมที่หลากหลาย เสริมสร้างบรรยากาศของการรับฟัง เปิดเผยและเชื่อใจกัน มีการสนับสนุนการจัดตั้งและบริหารทีมข้ามสายงานที่มีประสิทธิผล และมีการกำหนดและติดตามพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่สนับสนุน KM รวมทั้งนำพฤติกรรมดังกล่าวมาเชื่อมกับระบบการประเมินผลงานของบุคลากร
  2. องค์กรควรพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานประจำอย่างมีประสิทธิผลและต่อเนื่อง โดยใช้เครื่องมือในการปรับปรุงกระบวนการต่างๆ มีการนำความรู้ภายในและภายนอกองค์การมาใช้เพื่อให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน และสร้างความตระหนักต่อความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงานที่สำคัญ

ข้อจำกัดของการศึกษา

การสำรวจนี้มีข้อจำกัด คือ การใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเดียวในการเก็บข้อมูล อาจมีเรื่องมุมมองส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอบคำถามในมุมของตนเองหรืองานของตนเองเป็นหลักไม่ใช่ภาพรวมขององค์กร


ที่มา : TRIS Academy. (2562). รายงานสถานะการจัดการความรู้ขององค์กรไทย (Current status of organizational KM capability in Thailand): Executive report

นอร์เวย์ย์ลงนามในข้อตกลง Read-and-Publish กับ Elsevier

กลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของนอร์เวย์ ลงนามในข้อตกลง “Read-and-Publish” ซึ่งรวมค่า open-access publishing กับสำนักพิมพ์ Elsevier

Read-and-Publish เป็นข้อตกลงที่รวมค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงและการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในลักษณะการเข้าถึงแบบเปิด (Open Access – OA) เข้าไว้ด้วยกัน เป็นค่าใช้จ่ายเดียว แทนการแบ่งค่าใช้จ่ายเป็นสองส่วนอย่างที่ผ่านมาๆ ซึ่งบรรณารักษ์และนักเจรจาจำนวนมากเชื่อว่าโมเดลนี้จะลดค่า
ใช้จ่ายในการสมัครสมาชิกฐานข้อมูลออนไลน์พร้อมกับเพิ่มการเผยแพร่แบบการเข้าถึงแบบเปิด บางคนก็เชื่อว่า ในที่สุด โมเดลนี้สามารถกำจัด Paywall หรือวิธีในการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บเพจหรือฐานข้อมูลออนไลน์ จนกว่าผู้อ่านจะสมัครเป็นสมาชิก และเสียค่าสมาชิกเสียก่อน 

ที่ผ่านมา กลุ่มห้องสมุด มหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยในเยอรมนี ฮังการี และสวีเดน รวมถึงก่อนหน้านี้ในนอร์เวย์ ยกเลิกสัญญา 
การสมัครเป็นสมาชิก Elsevier เนื่องจากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันในโมเดลนี้กับ Elsevier ซึ่งเชื่อว่าทำให้ Elsevier สูญเสียธุรกิจ

ข้อตกลงที่ยอมรับได้ร่วมกันล่าสุด ระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในนอร์เวย์กับ Elsevier มีลักษณะเป็น ข้อตกลงแบบ Pilot 2 ปี ซึ่งจะให้สิทธิ์มหาวิทยาลัย 7 แห่ง และ สถาบันวิจัย 39 แห่ง ของนอร์เวย์ เข้าถึงบทความ 16 ล้านฉบับ จากวารสาร 2,800 ชื่อ ของ Elsevier รวมถึงครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์และเผยแพร่บทความของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยดังกล่าวในวารสารของ Elsevier ภายใต้แนวคิดการตีพิมพ์ผลงานแบบเปิด 1,850 บทความ ข้อตกลงนี้จะมีราคา 9 ล้านยูโร หรือ 10.1 ล้านดอลลาร์ หรือ 320 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 3% จากข้อตกลงก่อนหน้าซึ่งไม่รวมค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ผลงานแบบเปิด 

ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างข้อตกลงนี้กับข้อตกลงที่ล้มเหลวที่ผ่านมากับ Elsevier คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของนอร์เวย์ดูเหมือนจะเต็มใจจ่ายเงินเพื่อครอบคลุมการตีพิมพ์ผลงานแบบเปิดมากกว่าการสมัครสมาชิกปัจจุบัน Roger Schonfeld ผู้อำนวยการของห้องสมุด Ithaka S+R และโปรแกรมการสื่อสารทางวิชาการ ชี้ให้เห็นว่าบางที Elsevier อาจปรับท่าทีในข้อตกลง Read-and-Publish เพื่อตอบสนองต่อการยกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ

ข้อตกลงระหว่าง กลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของนอร์เวย์ กับ Elsevier จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ผลงานแบบเปิดที่มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Elsevier ของสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของนอร์เวย์ อย่างไรก็ตาม กลุ่มฯ จะไม่ได้รับเงินคืนหากล้มเหลวในการเผยแพร่จำนวนบทความในรูปแบบการเข้าถึงแบบเปิดตามที่จัดสรรและตกลงกับ Elsevier

ข้อตกลงดังกล่าวนี้ถือเป็นข้อตกลงระดับประเทศเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิดข้อตกลงแรกของ Elsevier 

ที่มา:

Else, H. (2019, April 26). Elsevier strikes its first national deal with large open-access element. Nature, Retrieved from https://www.nature.com/articles/d41586-019-01349-6

Elsevier. (2019, April 23). Norway and Elsevier agree on pilot national licence for research access and publishing. Retrieved from https://www.elsevier.com/about/press-releases/corporate/norway-and-elsevier-agree-on-pilot-national-licence-for-research-access-and-publishing 

McKenzie, L. (2019, April 24). An Elsevier pivot to open access. Inside Higher Ed, Retrieved from https://www.insidehighered.com/news/2019/04/24/elsevier-agrees-first-read-and-publish-deal

ออกแบบห้องสมุดอย่างไรที่ทำให้เด็กอยากอ่าน (How to design a library that makes kids want to read)

ความนำ : มุมมองและประสบการณ์การออกแบบห้องสมุดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านและนักคิดรุ่นใหม่ โดย Michael Bierut

เนื้อความ : Michael Bierut เป็นนักออกแบบและนักวิจารณ์ โดยเป็นหุ้นส่วนใน Pentagram บริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นผู้ก่อตั้ง Design Observer และยังเป็นอาจารย์ที่ Yale School of Art และ Yale School of Management

Michael Bierut ได้รับการติดต่อและว่าจ้างจากองค์กร ที่ชื่อว่า โรบิน ฮู้ด (Robin Hood) องค์การกุศลที่เอาเงินจากคนรวยไปแบ่งให้คนจน ซึ่งตั้งอยู่ในนิวยอร์ก โดยองค์กร โรบิน ฮู้ด ต้องการทำประโยชน์ให้กับระบบโรงเรียนของนิวยอร์ก โครงการขนาดใหญ่ที่ให้การศึกษากับนักเรียนมากกว่าล้านคนในแต่ละครั้ง รวมถึงการพัฒนาตึกเก่าที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมให้กลายเป็นตึกที่สวยงามและสามารถใช้งานได้ แต่การซ่อมตึกนั้นแพงเกินไป และไม่สมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ ดังนั้น องค์กร โรบิน ฮู้ด จึงมองหาห้องสักห้องหนึ่งในตึกแต่ละตึกให้มากตึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ และดำเนินการซ่อมแซมห้องนั้น ให้เป็นห้องสมุดของโรงเรียน เพื่อพัฒนาชีวิตของเด็ก และ องค์กร โรบิน ฮู้ด มีแนวคิดที่เรียกว่า ห้องสมุดแห่งความคิดริเริ่ม ที่ๆ มีหนังสือ และที่ๆ นักเรียนทุกคนต้องผ่านห้องสมุดนั้น และนั่นคือหัวใจและจิตวิญญาณของโรงเรียน

ในช่วงแรกของการพัฒนาห้องสมุดของโรงเรียน มีการนำสถาปนิกเข้าไปประมาณ 10 – 20 คน พร้อมกับการให้โจทย์ไไปคิดมาว่า ห้องสมุดคืออะไร องค์กร โรบิน ฮู้ด ยังจัดฝึกอบรมบรรณารักษ์ เพื่อปฎิรูปโรงเรียนรัฐ ด้วยการพัฒนาห้องสมุดเหล่านี้ หลังจากนั้น Michael Bierut จึงถูกชวนเข้าร่วมงานในฐานะกราฟฟิคดีไซเนอร์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทำทุกๆ อย่าง โดย Michael Bierut เริ่มจากการออกแบบโลโก้ห้องสมุด

Michael Bierut ออกแบบโลโก้ห้องสมุด 3 แบบ ภายใต้แนวคิดพื้นฐาน คือ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนในนิวยอร์ก และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อลบแนวคิดที่ว่า ห้องสมุดเก่าเหม็นอับ ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ทุกคนรู้สึกเบื่อหน่าย

โลโก้แบบที่ 1 ต้องการสื่อว่าห้องสมุด คือสถานที่ที่มักจะคิดว่าห้ามพูดคุยส่งเสียงดัง ห้องสมุดจะต้องเงียบเป็นเขตปลอดเสียง แต่ต่อไปนี้จะให้คิดถึงห้องสมุดว่าคือสถานที่ที่พูดคุยได้ ส่งเสียงดังได้ และเรียกว่าห้องอ่านหนังสือ

โลโก้แบบที่ 2 คือ “OWL” ซึ่งอาจย่อมาจาก One World Library (ห้องสมุดสากล) หรือ Open. Wonder. Learn (เปิดกว้าง มหัศจรรย์ เรียนรู้

โลโก้แบบที่ 3 แบบสุดท้าย ตัวเลือกที่สาม มาจากเรื่องของภาษา “Read: past tense and past participle of read.” “เรด” (เคยอ่าน) เป็นรูปอดีตของ “รีด” (อ่าน) ซึ่งสะกดเหมือนกัน ซึ่งทำไมเราไม่เรียกสถานที่นี้ว่า “โซนเรด” (โซนแดง)

เมื่อนำเสนอผลงานโลโก้ Michael Bierut ก็ได้รับผลตอบกลับว่า จุดเริ่มต้นของงานทั้งหมดนี้คือเด็กรู้สึกเบื่อห้องสมุด ห้องสมุดเก่าเหม็นอับ ห้องสมุดในโรงเรียนชำรุดทรุดโทรมมาก ดังนั้น Michael Bierut จึงถูกขอให้ลืมแนวคิดเรื่องสร้างชื่อใหม่สำหรับห้องสมุด แค่เรียกว่า ห้องสมุด ก็พอ แต่จะทำให้ห้องสมุดมีเสน่ห์

หลังจากนั้น Michael Bierut ได้รับแจ้งจากสถาปนิกเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการออกแบบ ปัญหาคือมีช่องว่าง ระหว่างชั้นวางกับเพดาน อยากได้อะไรที่เป็นภาพวาดบนผนัง สุดท้ายจึงถ่ายรูปเด็กๆ ในโรงเรียน แล้วมาติดรอบๆ ข้างบน มีภาพถ่ายของเด็กๆ เสมือนเด็กเหล่านั้นเป็นฮีโร่ ซึ่งเด็กๆ พวกนี้ถูกคัดเลือกมาจากอาจารย์ใหญ่และบรรณารักษ์ ทำให้บรรยากาศห้องสมุดดีขึ้น

Michael Bierut ยังชวนคนรู้จักคนอื่นๆ มาช่วยกันตกแต่งห้องสมุด เช่น วาดภาพประกอบ ภาพเงาของสิ่งที่อยู่ในหนังสือ การสัมภาษณ์เด็กๆ และให้พูดเกี่ยวกับหนังสือเล่มโปรด และนำคำพูดของเด็กๆ มาเป็นภาพสลักข้างบน การทำข้อความแบบภาพการ์ตูนมังงะ การติดตั้งวัตถุและคำพูดที่แฝงความหมาย ทำให้นักเรียนตื่นตาตื่นใจ เป็นสิ่งที่น่าพอใจมากๆ หน้าที่ของผมคือเข้าใจศิลปิน ในพื้นที่สามฟุตคูณสิบห้าฟุต ทำตามความพอใจแล้วเขาก็ไปติดตั้งงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด

แต่สิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือ ผมได้รับบัตรเชิญทำจากกระดาษสีน้ำตาลจะเขียนว่า คุณได้รับเชิญให้ไปงานเปิดตัวห้องสมุดใหม่ของเรา จะมีตัวแทนนักเรียนอ่านสุนทรพจน์ บทกลอนทึ่แต่งขึ้นเป็นพิเศษ พร้อมทั้งบุคคลสำคัญมามอบประกาศนียบัตร เป็นสิ่งที่น่าเบิกบานใจมากที่ได้ไปงานเปิดตัวห้องสมุดเล็กๆเหล่านี้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการไปพบบรรณารักษ์ทั้งหลาย ซึ่งได้รับการต้อนรับดูแล เสมือนที่ส่วนตัวที่พวกเขาได้รับเชิญมา ให้นักเรียนได้ สดชื่น ทำให้หนังสือมีชีวิต เป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น สุดท้ายอยู่ห้องสมุดที่กำลังจะปิด บรรณารักษ์พูดว่ากำลังจะปิดไฟพอดี ดีมากเลยคุณอยู่ที่นี่ คุณอยากเห็นหรือไม่ว่าปิดไฟอย่างไร แล้วบรรณารักษ์ก็ปิดไฟทุกดวง ทีละดวง ทีละดวง และไฟดวงสุดท้ายที่เหลืออยู่คือไฟที่ฉายไปที่หน้าของเด็กๆ นั่นเป็นไฟดวงสุดท้ายที่เหลือไว้ทุกคืน เพราะอยากเตือนตัวเองว่า เพราะอะไรฉันจึงมาทำงานที่นี่

นึกถึงตอนที่เริ่มงานออกแบบโลโก้ คิดชื่อใหม่ แต่ผลที่ได้ไม่เป็นเช่นนั้น ไกลกว่านั้นคือบรรณารักษ์ ผู้ที่ได้เจอผลลัพธ์แห่งแหล่งแรงบันดาลใจ เด็ก 40,000 คนต่อปี ได้รับอิทธิพลจากบรรณารักษ์เหล่านี้ บรรณารักษ์ได้สร้างยุคเด็กกับหนังสือ ซึ่งเป็นผลจากการที่ไม่ได้ตั้งใจแต่ได้รับความพึงพอใจที่ดีที่สุด

 


Bierut, M. (2017, March). How to design a library that makes kids want to read [Video file]. Retrieved from https://www.ted.com/talks/michael_bierut_how_to_design_a_library_that_makes_kids_want_to_read?utm_source=facebook.com&utm_medium=social&utm_campaign=tedspread