บทบาทของ Open Access ต่อ SDGs

เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สุดลงในปี 2015 องค์การสหประชาชาติ (United Nation – UN) จึงกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 (post-2015 development agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยประเด็นสำคัญของวาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 คือ การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คาดว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030

SDGs ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ ดังนี้

  1. No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่
  2. Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
  3. Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ
  4. Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
  5. Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง
  6. Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
  7. Affordable and Clean Energy รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย
  8. Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า
  9. Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรม
  10. Reduced Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  11. Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  12. Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
  13. Climate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
  14. Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  15. Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
  16. Peace and Justice Strong Institutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  17. Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Jayshree Mamtora และ Prashant Pandey จาก Office of Library Services มหาวิทยาลัย Charles Darwin ประเทศออสเตรเลีย เสนอบทบาทของ Open Access (OA) หรือการเข้าถึงแบบเปิด ที่มีต่อ SDGs ทั้ง 17 ข้อ โดยเสนอว่า

  1. No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ
    2. ด้วยการอำนวยความสะดวกการเรียนรู้
  2. Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศทางเทคนิคล่าสุด และ
    3. ด้วยการอำนวยความสะดวกการเรียนรู้
  3. Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ
    1. ด้วยการเข้าถึงผลการวิจัยล่าสุดในวารสารทางด้านสุขภาพและการแพทย์ ทั้งสำหรับสารสนเทศทางเทคนิครวมถึงการสนับสนุนในการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ที่เหมาะสมเกี่ยวกับสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ
  4. Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ
    2. ด้วยการอำนวยความสะดวกการเรียนรู้
  5. Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง
    1. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อขยายขอบเขตและความลึกซึ้งของการอภิปรายเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง และ
    2. ด้วยสารสนเทศเพื่อการพัฒนานโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเพศ
  6. Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนานโยบายและการกำหนดโครงการเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
  7. Affordable and Clean Energy รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย
    1. ด้วยการการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนานโยบายและการกำหนดโครงการเกี่ยวกับพลังงานที่ยั่นยืน
  8. Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเชิงพาณิชย์
    2. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับนโยบายของรัฐบาล
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และ
    4. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  9. Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรม
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ และ
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศทางเทคนิคล่าสุด
  10. Reduced Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
    1. การเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลโดยไม่คำนึงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสถานะทางการเงินสำหรับการเข้าถึงที่เท่าเทียม
  11. Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อความตระหนักหรือการรับรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม
  12. Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับความตระหนักหรือการรับรู้ปัญหาและเพื่อส่งเสริมการอภิปรายเกี่ยวกับการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผู้กำหนดนโยบาย และ
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกำหนดโครงการและกลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ
  13. Climate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับความตระหนักปัญหาและเพื่อส่งเสริมการอภิปรายเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผู้กำหนดนโยบาย และ
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกำหนดโครงการและกลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ
  14. Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับความตระหนักปัญหาและเพื่อส่งเสริมการอภิปรายเกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผู้กำหนดนโยบาย และ
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกำหนดโครงการและกลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ
  15. Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับความตระหนักปัญหาและเพื่อส่งเสริมการอภิปรายเกี่ยวกับการปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผู้กำหนดนโยบาย และ
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกำหนดโครงการและกลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ
  16. Peace and Justice Strong Institutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการตระหนักและการอภิปรายเกี่ยวกับการส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก เพื่อการรายงานความโปร่งใสในโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และ
    2. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สำหรับการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะ
  17. Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    1. คลัง Open Access ในการสนับสนุนการริเริ่มในท้องถิ่น และ
    2. ด้วยการแบ่งปันการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ที่สะท้อนการทำงานร่วมกันและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

Jayshree Mamtora และ Prashant Pandey ยังได้แนะนำบางประเด็นสำหรับห้องสมุดและสถาบันอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย เกี่ยวกับการริเริ่ม OA กับเป้าหมายระยะยาวในการสนับสนุน SDGs ประกอบด้วย

  1. การพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัล (digital repository) เพื่อเก็บการวิจัยและข้อมูลแบบเปิด
  2. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่และการทำให้ ICTs พร้อมใช้งาน เพื่อเผยแพร่การวิจัยและข้อมูลแบบเปิดทางออนไลน์
  3. การสร้างนโยบาย OA เพื่อสั่งการการทำให้ผลการวิจัยพร้อมที่จะให้บริการ และ เพื่อบังคับใช้การปฏิบัติเกี่ยวกับ OA
  4. การส่งเสริมสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สำหรับการเผยแพร่ผลงาน
  5. การโน้มน้าวทางการบริหารเกี่ยวกับความต้องการ คุณค่า และประโยชน์ของ OA เพื่อการได้รับการสนับสนุน
  6. การจ้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะที่จำเป็นในการทำงานกับคลังข้อมูลสถาบัน (institutional repository)
  7. การทำให้คลังข้อมูลสถาบันเป็นเรื่องง่ายสำหรับบุคลากรในองค์กรในการลงทะเบียนและเก็บผลงาน
  8. การทำงานร่วมกับสถาบัน ห้องสมุด ผู้ให้ทุนวิจัย และสำนักพิมพ์อื่นๆ ในระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่ม นโยบาย และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ OA

 

อ้างอิง

  • สหประชาชาติในประเทศไทย. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เข้าถึงจาก http://www.un.or.th/th/sdgs/
  • it24hrs. (2561, พฤศจิกายน 3). SDGn 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย UN เพื่อให้โลกดีขึ้น. เข้าถึงจาก https://www.it24hrs.com/2018/sdgs-sustainable-development-goals-un/
  • Mamtora, J., & Pandey, P. (2018). Identifying the role of open access information in attaining the UN SDGs:
    perspectives from the Asia-Oceania region. http://library.ifla.org/2110/1/205-mamtora-en.pdf
  • United Nation. Retrieved from https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/

รีวิว Microsoft AI School เรียน AI ออนไลน์ฟรี

นับเป็นข่าวดีของใครก็ตามที่อยากจะเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี Artificial Intelegence แบบฟรี ๆ  เมื่อ Microsoft ได้ประกาศเปิดสอน AI ฟรี ผ่าน AI School  ที่ https://aischool.microsoft.com  บทความนี้จึงขอพาทุกคนไปลองสัมผัสภาพรวมของ AI School ดังกล่าว สิ่งสำคัญในการเรียนในโรงเรียนนี้ คุณต้องมี account ของ microsoft เสียก่อน โดยเป็น accountของ hotmail หรือ outlook ก็ได้  เมื่อเข้าในเว็บไซต์ดังกล่าว เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงมีความใหม่และไม่เข้าใจในเทคโนโลยีนี้ รวมทั้งมีคำถามว่า จะเริ่มอย่างไร?  แล้วจะเรียนอะไร ?  ข้อนี้ถือเป็นจุดเด่นของเว็บไซต์ที่ตอบโจทย์ได้ลงตัว เนื่องจากมีระบบ path builder เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่า เราจะเลือกเรียนอะไร มีความเชี่ยวชาญด้านไหน และต้องการเรียนด้วยสื่อแบบใด เช่น วีดีโอ บทความ หรือลงมือทำจริง  เป็นการเลือกคำตอบไม่กี่ข้อ  โดยผู้เขียนได้ลองตอบคำถามที่สนใจในการเรียน ว่าสนใจเรียนด้าน Data Science ถนัดโปรแกรมภาษา PHP และต้องการเรียนรู้เชิงลึกด้าน Deep Learning โดยเน้นการปฏิบัติแบบ Hands on  ทางระบบก็ส่ง Playlist มาให้เลือก ดังภาพ

ในแต่ละ Playlist จะพบว่ามี module ย่อย ๆ ที่เราสามารถเลือก save module ที่สนใจ เพื่อทำการเรียนรู้ตามจำนวนชั่วโมงและบทเรียนไว้ได้ด้วย ดังภาพ

ผู้เขียนลองทดสอบเลือกเข้าไปในแต่ละโมดูล ก็พบว่า ในแต่ละโมดูลยังมีบทเรียนย่อย ที่ให้รายละเอียดแนวทางการเรียน รวมถึงเวลาที่จะต้องใช้เรียน และอื่น ๆ อีกมาก  ซึ่งผู้เรียนสามารถ Mark ว่าเรียนจบได้ หากต้องการ

ในขณะที่ทำการเขียนนี้ ผู้เขียนยังไม่พบว่า หากเรียนจบแล้ว สามารถทำการสอบ Certification ได้เลยหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ  https://academy.microsoft.com/en-us/tracks/artificial-intelligence  ซึ่งเป็นคอร์สการเรียน AI ที่มีขั้นตอนเรียนในคอร์สชัดเจน จะพบว่าหากเรียนจบสามารถได้รับ Achievement เป็น certification ที่ออกโดย microsoft ได้เลยครับ โดยภาพข้างล่างนี้จะแสดงในส่วนของการเรียน Data Science AI ของ academy.microsoft.com

โดยสรุป
          Microsoft AI School เจาะกลุ่มผู้เรียนรู้ในหลายกลุ่มอายุ หลายประเภทธุรกิจ  มีข้อดีคือสามารถใช้ PATH BUILDER สร้างคอร์สการเรียนรู้เป็น Playlist ได้หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหรือไม่เรียนคอร์สใด ๆ ก็ได้ อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ในโดเมนที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับ tools หรือเครื่องมือที่ microsoft เตรียมไว้ให้ใช้ได้ฟรี เช่น Azure Machine Learning service หรืออื่น ๆ เป็นต้น  โดยจะมีข้อกำหนดเงื่อนไขแตกต่างกันไปตามหัวข้อเรียนต่าง ๆ  ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน AI ที่ดีและฟรีครับ  ส่วนใครที่อยากเน้นเชิงลึก ได้ Certificate จาก Microsoft ให้ลงเรียนออนไลน์ฟรีที่ academy.microsoft.com ก็จะเข้มข้นกว่า แต่ก็แลกมากับคอร์สที่ต้องผ่านตามกำหนดครับ

ผลสำรวจเกี่ยวกับ Open Science: Open Access และ Data sharing ของนักวิจัย

ตุลาคม ปี 2016 สำนักพิมพ์ Wiley สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับ Open Science จากนักวิจัยผู้เขียนบทความวิชาการ จำนวน 4,680 คน ใน 112 ประเทศทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เข้าใจว่านักวิจัยปฏิบัติต่อการร้องขอหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับ Open Access (OA) หรือ การเข้าถึงแบบเปิด การจัดการข้อมูล และการมีส่วนร่วมในการแชร์ข้อมูลและผลงานวิจัยของตนเองอย่างไร การสำรวจนี้สร้างขึ้นจากการสำรวจก่อนหน้าของ สำนักพิมพ์ Wiley เกี่ยวกับ OA และ Open Data ในปี 2013 เพื่อค้นหาแนวโน้มในการวิจัย

Open Access (OA)

  • การเผยแพร่ผลงานในรูปแบบ OA เพิ่มมากขึ้น เกือบ 2 ใน 3 ของผู้เขียนระบุว่าได้ตีพิมพ์บทความใน Hybrid journal หรือ Gold journal (65% ระบุว่าตีพิมพ์ในวารสาร OA และ 35% ระบุว่าไม่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร OA) โดยเพิ่มขึ้น 8% จากปี 2013
  • ผู้ตอบแบบสำรวจรับรู้ถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ให้ทุน (50%) และสถาบัน (55%) เพื่อให้เผยแพร่บทความสู่สาธารณะ ไม่ว่าจะในรูปแบบ Gold OA หรือ Green OA
  • กลุ่มสาขาที่มีการกำหนดให้เผยแพร่บทความในรูปแบบ OA มากที่สุดคือ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (70%) สาขาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (70%) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (60%) และ สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (54%)
  • 58% ของผู้เขียนในทวีปเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า หน่วยงานผู้ให้ทุนกำหนดให้ตีพิมพ์บทความใน OA รองลงมาคือผู้เขียนในทวีปอเมริกา (44%) และในทวีปยุโรป ตะวันอออกลาง และแอฟริกา (47%) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการกำหนดของสถาบันของผู้เขียน พบว่าตัวเลขสูงกว่า คือ 66% ของผู้เขียนในทวีปเอเชียแปซิฟิกระบุว่าหน่วยงานของตนกำหนดให้ตีพิมพ์บทความใน OA ขณะที่ผู้เขียนในทวีปอเมริการะบุการกำหนดดังกล่าวจากสถาบันเพียง 39%

Article Archiving

  • มีการรายงานเรื่องการเก็บบทความ (ทั้งในคลังความรู้องค์กร คลังความรู้สาธารณะ และเว็บเพจส่วนตัวของผู้เขียนบทความ) มากกว่า 2 เท่า (34% กำหนดให้มีการจัดเก็บโดยสถาบัน และ 17% กำหนดให้มีการจัดเก็บโดยผู้ให้ทุน)
  • 44% ของนักวิจัยเก็บบทความของตนในคลังความรู้ขององค์กร 34% เก็บไว้ในคลังความรู้สาธารณะ และ 22% เก็บไว้ในเว็บเพจส่วนตัว
  • ในทวีปยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา และ เอเชียแปซิฟิก พบว่าแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้นักวิจัยเก็บบทความในคลัง คือ การกำหนดของสถาบัน ต่างจากในทวีปอเมริกาที่แรงจูงใจสำคัญคือการต้องการเผยแพร่ผลงานของผู้เขียน

Data Sharing

  • 69% ของนักวิจัย (จากทั้งหมด 4,680 คน) ระบุว่าได้แบ่งปันข้อมูลการวิจัยของตนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 17% จากการศึกษาก่อนหน้าในปี 2014 ที่ 52%
  • วิธีที่พบบ่อยที่สุดที่นักวิจัยใช้ในการแบ่งปันข้อมูล คือ ในการประชุม (48%) เป็นข้อมูลเสริมในวารสาร (40%) หรือ ไม่เป็นทางการ/เมื่อถูกร้องขอ (33%) โดย 41% ระบุว่ามีการแชร์ข้อมูลอย่างเป็นทางการผ่านรูปแบบต่างๆ ของคลังข้อมูล (29% ในเว็บเพจโครงการ สถาบันหรือส่วนตัว 25% ในคลังข้อมูลสถาบัน มหาวิทยาลัยหรือองค์กรสนับสนุน 10% ในคลังข้อมูลเฉพาะสาขา และ 6% ในคลังข้อมูลทั่วไป)
  • นอกเหนือจากการกำหนดของสถาบันหรือหน่วยงานผู้ให้ทุนที่เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้นักวิจัยแชร์ข้อมูล เหตุผลอื่นๆ คือ
    • เพื่อเพิ่มผลกระทบและการมองเห็นของงานวิจัย (39%)
    • เพื่อประโยชน์สาธารณะ (35%)
    • เพื่อความโปร่งใสและการนำข้อมูลมาใช้ซ้ำ (31%)
    • ข้อกำหนดของวารสาร (29%)
  • ในทางตรงกันข้าม เหตุผลอันดับต้นๆ ที่นักวิจัยไม่ต้องการแชร์ข้อมูล คือ
    • ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและความลับ (50%)
    • ความกังวลเกี่ยวกับจริยธรรม (31%)
    • การตีความที่ผิดหรือการใช้ในทางที่ผิด (23%)

ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้ส่วนใหญ่สอดคล้องกับการสำรวจก่อนหน้า แต่ที่น่าสนใจ คือ ความกังวลเกี่ยวกับจริยธรรม ขยับขึ้นมาเป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้เขียนอ้างว่าไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลของตนเองแก่ผู้อื่น

ข้อมูลเพิ่มเติม

Hybrid journal คือ วารสารแบบดั้งเดิม ที่ห้องสมุดยังต้องจ่ายค่าบอกรับเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านบทความในวารสารได้ และ ยังมีบทความที่เป็น OA ซึ่งผู้เขียนต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มให้แก่วารสาร หากต้องการสิทธิ์ในการนำบทความเฉพาะของตนไปจัดเก็บหรือเผยแพร่ในเว็บไซต์ส่วนตัวหรือคลังความรู้องค์กร ผู้อ่านสามารถอ่านบทความในวารสารได้โดยไม่ต้องเสียค่าดาวน์โหลดบทความ

Gold journal คือ วารสาร OA ที่ผู้อ่านสามารถอ่านบทความในวารสารได้ทันทีที่บทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ โดยผู้อ่านไม่เสียค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลดบทความ แต่ผู้เขียนบทความต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่วารสาร

Gold OA หมายถึง บทความได้รับการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตทันทีที่บทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์

Green OA หมายถึง บทความไม่ได้รับการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตทันทีที่บทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ แต่สามารถอ่านบทความฉบับย้อนหลังได้ ซึ่งบางวารสารอาจกำหนดให้มีการทิ้งช่วงเวลา 6–24 เดือน หลังบทความนั้นได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนสามารถนำบทความของตนไปจัดเก็บหรือเผยแพร่ในเว็บไซต์ส่วนตัวหรือคลังความรู้องค์กร

ที่มาข้อมูล

Vocile, B. (2017, April 20). Open science trends you need to know about [Blog post]. Retrieved from https://www.wiley.com/network/researchers/licensing-and-open-access/open-science-trends-you-need-to-know-about

What does Google know about me?

Google รู้อะไรบ้างเกี่ยวกับฉัน?

คุณทราบหรือไม่ว่าทำไมไม่ชอบหาข้อมูลบน DuckDuckGo นั่นหมายถึงเมื่อคุณสืบค้นข้อมูลบน Google จะถูกเก็บข้อมูลทุกๆการสืบค้นอย่างลึกที่สุด เขาพยายามเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ให้มากที่สุด คนจำนวนมากไม่ใช้อย่างอื่นถ้าคุณไม่ใช้ Google โดยที่ Google ได้เก็บข้อมูล 75% จากล้านเว็บไซต์ นั่นหมายถึงพยายามเก็บข้อมูลจากประวัติการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ผู้ใช้มักไม่ทราบว่า Google แฝงไปด้วยโฆษณาและคุณมักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปในอินเทอร์เน็ตและในแอปพลิเคชั่น คุณทราบหรือไม่ว่าโฆษณาแฝงนี้ติดตามคุณไปทุกแห่ง นี่คือ Google พวกเขาไม่ได้สืบค้นข้อมูลเพียงบริษัทเท่านั้น แต่เขาติดตามบริษัทเหล่านั้นไปด้วย โดยที่ Google จะติดตามนับรอบการสืบค้นให้มากที่สุดทุกๆ ครั้งที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลนั้นๆ

ถ้าคุณใช้ Google

ถ้าคุณใช้ Google พวกเขาพยายามติดตามอย่างมากเพื่อเก็บข้อมูลให้มากรวมทั้งข้อมูล วิดีโอ ที่ดูบนยูทูบ ผู้ใช้จำนวนมากไม่ทราบว่า Google เป็นเจ้าของ YouTube ด้วย แม้แต่ Android ที่คุณใช้อยู่นั้นGoogle ก็เป็นเจ้าของเช่นกัน ทุกๆแห่งที่มี Google บริการ กรณีคุณใช้แอพพลิเคชั่นเป็นประจำ ก็จะติดตามคุณไปทุกที่ที่คุณใช้สืบค้น แม้กระทั่งรูปภาพของคุณด้วย ทุกข้อความที่ไม่ใช่ IOS จะไม่มีการเข้ารหัสติดตาม ถ้าคุณใช้ Gmail มั่นใจได้ว่าคุณได้รับข้อความแน่นอน ถ้าคุณใช้ปฎิธินของ Google พวกเขาจะทราบเวลานัดหมายตามแพลนของคุณทั้งหมด

Google สามารถติดตามคุณที่บ้าน หรือทุกแห่งที่คุณเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบการเข้าถึงได้ ตามหลักการแล้วพวกเขาติดตามคุณไปทุกแห่ง ทั้งนี้ดูได้จากประวัติการเข้าถึง

คุณคือสินค้า

ทำไม Google ต้องการข้อมูลมากมาย เพราะ Google ไม่ได้ค้นหาข้อมูลบริษัทแต่ติดตามบริษัทมากกว่า ข้อมูลทั้งหมดจะถูกสร้างอย่างแข็งแกร่งโดยนำมาจากโปรไฟล์ของคุณซึ่งบางครั้งรู้เรื่องส่วนตัวมากกว่าตัวคุณเองเสียอีก Google ใช้ข้อมูลไปทำโฆษณาไม่เฉพาะสืบค้นข้อมูลต่างๆ แต่มากกว่าสามล้านเว็บไซต์ ทุกๆ ครั้งที่คุณเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน Google จะติดตามเพื่อเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย Google แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลจากร้อยเป็นพันในการโฆษณาโดยใช้คุณเป็นตัวสินค้า เมื่อไม่มีทางเลือกมีความเป็นไปได้ที่จะมี web-based เริ่มจากเมื่อปี 2014 ชื่อว่า DuckDuckGo สร้างขึ้นโดยปราศจากข้อแม้ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ

การไม่มีอะไรแอบซ่อน

แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงว่าไม่มีอะไรแอบแฝงซ่อนเร้น พวกเขายังคงไม่ตระหนักถึงข้อมูลที่ Google เก็บไว้ แต่นั่นยังเป็นเพียงข้อโต้แย้งอันลึกซึ้งหลากหลายเหตุผล

ทุกคนมีข้อมูลส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครล่วงรู้ เปรียบเสมือนคุณปิดประตูห้องน้ำเวลาคุณอาบน้ำใช่หรือไม่? ความเป็นส่วนตัวคือการควบคุมข้อมูลส่วนตัวของตนเอง คุณคงไม่อยากให้ทุกคนทราบและเข้าถึงข้อมูลลึกๆ ของคุณ ทั้งนี้ความเป็นส่วนตัวเป็นความสำคัญของประชาธิปไตยคล้ายกับการโหวตที่นั่ง ดังเช่นการรักษาพยาบาล การเบิกเงิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ

คุณสามารถใช้ Google ฟรี

เบื้องต้น Google พยายามดึงข้อมูลสืบค้นข้อมูลมากเกินไปจนน่ากลัวและง่ายดายจากแหล่งหนึ่งไปสู่ทุกคน เป็นหนทางที่ดีที่จะลดทอนอำนาจของ Google ปิดให้เป็นศูนย์ ถ้าคุณพร้อมที่จะอยู่โดยไม่มี Google เรามีข้อเสนอสำหรับบริการแหล่งใหม่ของผลิตภัณฑ์ สำหรับการบริการของสินค้าคือต้องเคลียร์ Google ออกจากประวัติการสืบค้นเดิม เปรียบเสมือนติดกับดักการใช้ของฟรี

เริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีสืบค้นที่คุ้นชินมายาวนาน มาใช้ DuckDuckGo.com คุณจะปิดกั้นการรุกรานข้อมูลติดตามคุณไปในเว็บต่างๆ อีกด้วย

ถ้าคุณยังไม่คุ้นเคยกับ DuckDuckGo.com พวกเราคือทางเลือกใหม่ที่คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวคุณบนออนไลน์ เราสร้างระบบสืบค้นเหมือนกับ Google ที่ http://duckduckgo.com และนำเสนอบนโมบาย แอพลิเคชัน และ เดสทอป บราวเซอร์ สำหรับปกป้องคุณจาก Google การเข้าถึง Facebook และอื่นๆ ไม่เป็นปัญหาคุณสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ๆ มีอินเทอร์เน็ต พวกเราพยายามให้ความรู้กับผู้ใช้เกี่ยวกับบล๊อกของเรา โซเชียลมีเดีย หลักสูตร และจดหมายข่าว

แหล่งที่มา : https://www.quora.com/What-does-Google-know-about-me/answer/Gabriel-Weinberg

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน ฉบับที่12 เดือนธันวาคม 2561

แผนงานร่วมภารกิจทีมประเทศไทยตามแนวทางของนายเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา
แคนาดาได้เปิดประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะการที่แคนาดาเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีความพร้อมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทย โดยได้ให้แนวทางกับประเทศไทยไว้ดังนี้
1. การแบ่งกรอบการเจรจาและการพัฒนาความร่วมมือมุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์กับแคนาดาใน 3 ระดับ ทั้งระดับรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ซึ่งบทบาทในมิติด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องยึดโยงได้ทั้ง 3 ระดับ และสามารถผลักดันให้เกิดรูปธรรมที่ข้ามระดับได้ เช่นระดับรัฐกับเอกชน หรือรัฐกับประชาชน ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
2. การดำเนินงานใน 3 มิติ ประกอบด้วย การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับแคนาดา ในด้าน วทน. จะเน้นในภาคเศรษฐกิจ และสังคม ประสงค์เพื่อมุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
3. ลักษณะโครงการความร่วมมือที่น่าสนใจกับแคนาดา อาทิ
 3.1 นวัตกรรมด้านอาหารและการเกษตร แคนาดามีความสนใจและมึความเชี่ยวชาญในหลายสาขา เช่น การทำฟาร์มสัตว์ให้นม (Dairy Farming) การพัฒนาโปรตีนจากแมลงและจากพืช (Insect and Plant based Protein) และการผลิตอาหารในแบบ Functional Food
 3.2 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้าน Creative Economies & Industries ผลักดันการประกอบธุรกิจร่วมทุนไทยแคนาดา เชิง Start-up ที่ช่วยกระตุ้นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรู้เทคนิคด้านวทน. (Knowledge Based Activities)
 3.3 ผลักดันร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการนำแนวทางพัฒนา Big Data และ Internet of Things โดยเฉพาะกับระบบภาคการเกษตร รวมทั้งช่วยพัฒนา platform ที่จะสร้าง value chain และดึงภาคธุรกิจรุ่นใหม่ ที่มีนวัตกรรม ให้สนใจหาช่องทางประกอบธุรกิจกับแคนาดามากขึ้น
 3.4 ในภาคการศึกษาและการวิจันเพื่อพัฒนา สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงออตตาวา ได้ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลักดันให้เกิดการลงนามในความตกลงกับ National Research Council (NRC) แคนาดา ได้สำเร็จแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2561 และจะใช้เป็นกรอบความร่วมมือในด้านส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยของสองประเทศ

แคนาดากับยุคผู้นำคนรุ่นใหม่ที่ไปไกลกว่า 4.0
นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด (Justin Pierre James Trudeau) หัวหน้าพรรคเสรีนิยม ให้ความสนใจอย่างมากในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากแคนาดาเอง เป็นแหล่งของนักวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานด้านงานวิจัย วทน. จำนวนมาก ที่ยังกล่าวได้ว่า ไม่ได้รับการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร หรือนำไปร่วมพัฒนาโลก เนื่องจากระบบราชการของแคนาดา เน้นการมองภายใน สมถะ จึงไม่ค่อยมีความกระตือรือล้นในการแสดงบทบาทเป็นผู้นำโลก แต่เนื่องจากนโยบายของสหรัฐอเมริกา มีการเปลี่ยนแปลงแบบแปลกๆ แคนาดาจึงขยายความร่วมมือกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในมิติด้าน วทน. รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งหัวหน้าคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์  Chief Science Advisor ประจำนายกรัฐมนตรี ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีชื่อ ดร.โมนา นีเมอร์ (Mona Nemer) เพื่อให้การผลักดันด้านวิทยาศาสตร์กับการตัดสินใจทางการเมืองของแคนาดา แคนาดาได้เพิ่มการใช้สื่อของรัฐบาลในด้านวิทยาศาสตร์ เช่น FACETS – วารสารวิทยาศาสตร์ของแคนาดา สามารถให้ข้อมูลด้านวทน. เช่น กระทรวงสิ่งแวดล้อม สำนักงานอวกาศแคนาดา ประมงและมหาสมุทรแคนาดา กระทรวงสาธารณสุข

สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (National Research Council – NRC)
สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (National Research Council – NRC) เป็นองค์กรวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาล ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และการพัฒนาเศรษฐกิจ มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมความก้าวหน้าของการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี NRC สามารถช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาลดำเนิการตามภารกิจลำดับความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ระดับประเทศไปในทิศทางเดียวกัน ผ่านการวิจัยเชิงภารกิจและการพัฒนาเทคโนโลยี โครงการของ NRC มุ่งเน้นไปที่วิทยาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ต่อแคนาดาและเป็นสาขาที่แคนาดามีความโดดเด่น
NRC ประกอบด้วยหน่วยงานวิจัยและพัฒนาแบบบูราการ 4 สาขา ได้แก่ 1) การขนส่งและการผลิต 2) วิศวกรรม 3) ชีววิทยาศาสตร์ และ 4) เทคโนโลยีอุบัติใหม่ พัฒนา มีศูนย์วิจัยเฉพาะด้านรวม 14 แห่งมุ่งเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมหลักหรือสาขา R&D  แต่ละแห่งที่ได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานซึ่งประกอบด้วย ภาคอุตสาหกรรม ภายใต้แผนกการวิจัยที่มีอยู่
สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (National Research Council – NRC)
ศูนย์วิจัยทั้ง 14 แห่งของ NRC ประกอบด้วย
1. Advanced Electronics and Photonics Research Centre
เน้นความเชี่ยวชาญและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์สารกึ่งตัวนำและการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คล้ายกับ NECTEC ของไทย)
2. Aerospace Research Centre
เน้นการวิจัยพัฒนาในการออกแบบการผลิตการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษายานพาหนะทางอากาศและอวกาศ
3. Aquatic and Crop Resource Development Research Centre
เน้นงานวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับพืชอาหารและสัตว์น้ำ ที่เป็นแหล่งอาหารและภาคผลิตภัณฑ์ชีวภาพอื่นๆ
4. Automotive and Surface Transportation Research Centre
เน้นการส่งเสริมทักษะการผลิตขั้นสูงเพื่อช่วยในการพัฒนายานพาหนะที่เบาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดมากขึ้น
5. Construction Research Centre
ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการผลิตวัสดุก่อสร้างและข้อบังคับความปลอดภัยจากอัคคีภัยโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ
6. Digital Technologies Research Centre
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ที่เน้นปัญญาประดิษฐ์ ชีวสารสนเทศศาสตร์ blockchain ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การวิเคราะห์ข้อูมูล การประมวลผลภาษา
7. Energy, Mining and Environment Research Centre
ศูนย์ที่ส่งเสริมงานวิจัยด้านการลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับโลกในภาคพลังงานและเหมือง
8. Herzberg Astronomy and Astrophysics Research Centre
ศูนย์วิจัยด้านดาราศาสตร์และดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (คล้ายกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย สดร. ของไทย)
9. Human Health Therapeutics Research Centre
ศูนย์ที่ทำการการพัฒนาและผลิตวัคซีนสำหรับการบำบัดขั้นสูง และเทคโนโลยีการวินิจฉัย
10. Medical Devices Research Centre
ศูนย์วิจัยอุปกรณ์ทางการแพทย์ โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีการวินิจฉัยทางการแพทย์
11. Metrology Research Centre
ศูนย์วิจัยด้านมาตรวิทยา ดำเนินการวิจัยการวัดและให้บริการด้านมาตรวิทยาเพื่อให้บริการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (คล้ายกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ วศ)
12. Nanotechnology Research Centre
ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี ที่ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานในการวิจัยนาโนวิทยาศาสตร์ที่ใช้ข้ามสาขาวิทยาศาสตร์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ (คล้ายกับ NANOTEC ของไทย)
13. Ocean, Coastal and River Engineering Research Centre
ศูนย์ติดตามและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาด้านวิศวกรรม ในมหาสมุทร ชายฝั่งทะเลและแม่น้ำ
14. Security and Disruptive Technologies Research Centre
ศูนย์ที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกวัสดุขั้นสูงโฟโตนิกส์ และเทคโนโลยีควอนตัม

การลงนามความตกลงด้าน วทน. ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (The National Research Council of Canada – NRC) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562
ซึ่งทั้งสองประเทศจะมีความร่วมมือด้านวทน. โดยเฉพาะนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ และเกษตรกรรมสมัยใหม่

Canadian Super Clusters ซุปเปอร์คลัสเตอร์บนผืนดินที่กว้างใหญ่ไพศาล
กระทรวงนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และการพัฒนาเศรษฐกิจ (Ministry of Innovation, Science and Economic Development) ได้แบ่งเขตผลิตภัณฑ์วทน. เฉพาะทางไว้ 5 ด้าน โดยแบ่งออกได้ดังนี้
1. Digital Technology ในเขตมณฑล British Columbia) ที่มีนครแวนคูเวอร์เป็นศูนย์กลางอยู่ติดฝั่งทะเลมหาสมุทรแปซิฟิก มุ่นเน้นด้าน Augmented Reality, การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การคำนวนแบบควอนตัม และพันธุกรรม
2. AI-Powered Supply Chains (ในมณฑล Quebec) ที่มีนครมอนทรีออลเป็นศูนย์กลางและใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก มุ่งเน้นด้าน Artificial intelligence และเทคโนโลยีเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)
3. Protein Industries มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาพันธุกรรม กระบวนการและ IT ใน Agri-food เนื่องจากเป็นแหล่งเกษตรกรรมบนทุ่งหญ้าแพรรี่
4. Ocean มุ่งเน้นด้านการพัฒนาอุปกรณ์วัดและสำรวจทางทะเล การสร้างพลังงานทางน้ำ รวมถึง Marine Biotechnology
5. Advanced Manufacturing มุ่งเน้นด้าน Internet of Things machine Learning Cybersecurity และ 3D Printing สำหรับรองรับภาคการพัฒนาเมือง

Canada’s Science Vision วิสัยทัศน์ วทน. ของแคนาดา
ประธานาธิบดี ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านวทน. มีการลงทุนที่สำคัญดังนี้
การวิจัยขั้นพื้นฐาน ค่าใช้จ่ายทางอ้อมของการศึกษาวิจัย สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน วทน. การวิจัยแบบสหวิทยาและการวิจัยที่มีความเสี่ยงสูง สนับสนุนโครงการ Canada Research Chairs เพื่อดึงดูดนักวิจัยรุ่นใหม่ การจัดทำสำรวจเก็บข้อมูบเกี่ยวกับนักวิจัยและโครงการวิจัยต่างๆ เพื่อพัฒนาความเท่าเทียมและความหลากหลายในการศึกษา เพื่อสนับสนุนองค์กร Canada Foundation for Innovation ในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือล้ำสมัยด้านการวิจัย เพื่อสนับสนุนการวิจัยประยุกต์และผลักดันความร่วมมือวิจัย เพื่อพัฒนากลยุทธด้านโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยดิจิตอลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงทรัพยากรด้าน Big Data เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของ National Research Council Canada (NRC) และสร้างบทบาทของ NRC เป็นหน่วยงานพันธมิตรด้านการวิจัยและพัฒนาที่น่าเชื่อถือ

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190312-newsletter-washington-vol12-61.pdf

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน ฉบับที่11 เดือนพฤศจิกายน 2561

ย้อนรอย วทน. ซีกโลกใหม่ ที่เก่ากว่าที่คิด
ลาตินอเมริกา เป็นดินแดนที่มีประวัติอันยาวนานและมีอารยธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีหลายชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่ เช่น ชนเผ่าโอลเม็ก (Olmec) มายา (Maya) แอสเต็ก (Aztec) ซาโปเต็ก (Zapotec) ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง ที่สร้างสถาปัตยกรรมยุคโบราณ และคิดค้นเทคโนโลยีในการสำรวจดาราศาสตร์ การทำปฏิทิน ไปจนถึงการแพทย์ หรือกลุ่มชนเผ่าอินคา (Inca) ชนเผ่าอัยมารา (Aymara) และชนเผ่ากัวรานี (Guarani) ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นตระกูลของคนในสาธารณรัฐเปรู รัฐพหุชนชาติแห่งโบลิเวียและสาธารณรัฐปารากวัย

อินคา (Inca)
อาณาจักรอินคาเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ผืนใหญ่ โดยมีศูนย์กลางทางศาสนา การเมือง และการทหารอยู่ที่เมืองกุสโค (Cusco) (ปัจจุบันเป็นเมืองในเปรู) ชาวอินคามีความเชี่ยวชาญในการสลักหินและการก่อสร้าง มีการเรียงก้อนหินที่ขนาบเข้ากันพอดีไม่มีการใช้โคลนช่วยในการทำให้หินติดกัน ตัวอย่างเมืองเร้นลับบนเขาสูง มาชู ปิกชู (Machu Picchu) – 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่มีการออกแบบทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมที่ยอดเยี่ยมบนเขาแอนดีส มาชูป ปิกชู ได้วางผังเมืองสอดคล้องกับธรรมชาติ และเอื้อต่อการดำรงชีพ มีการใช้หินสร้างให้เป็นชั้นลดหลั่นลงมาตามแนวเชิงเขาเพื่อสร้างเกษตรขั้นบันได ชาวอินคาเพาะปลูกพืชหลายชนิด หลักๆคือ มันฝรั่ง ข้าวโพด พริก ฝ้าย มะเขือเทศ ถั่วลิสง ควินัว และผักโขม ทั้งนี้ด้วยสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง หุบเขา และที่ราบต่ำ ชายทะเล รวมทั้งสภาพอากาศหนาวและร้อน เขตฝนตกและแห้งแล้ง มีการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแปรรูปอาหารเก็บไว้ยามขาดแคล เช่น ผลิตแป้งจากมันฝรั่ง หรือการหมักข้าวโพดสด/แห้ง (มีชื่อเรียกว่า Chicha) ในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ โดยเทคโนโลยีนี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

อัยมารา (Aymara)
เป็นชนเผ่าพื้นเมืองเทือกเขาแอนดีส และพื้นที่ราบสูงอัลติพลาโน (Altiplano) ที่อยู่ในโบลิเวีย ชาวอัยมาราอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้เป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนยุคชนเผ่าอินคา การเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์กับวิถีชีวิตของชนเผ่าอัยมารายังไม่โดดเด่นนักเมื่อเทียบกับยุคสมัยของชาวอินคา มีเพียงการรักษาทางการแพทย์ โดยใช้สมุนไพรที่ได้จากส่วนต่างๆ ของพืช ไม่ว่าจะเป็นราก ใบ หรือดอกไม้ และการดำรงชีวิตบนพื้นที่สูงกว่าหมื่นฟุต เช่น กรุงลาปาซ และเมืองเอล อัลโต (EI Alto) ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในฝั่งตะวันตกของโบลิเวีย นอกจากนี้ ชาวอัยมารามีการผลิตสิ่งทอจากวัสดุหลายประเภท เช่น ฝ้าย ขนสัตว์จากแกะ อัลปากา (Alpacas) และยามา (L lamas) ซึ่งนักมนุษยวิทยาหลายคนเชื่อว่า เป็นสิ่งทอที่มีการพัฒนาและมีความซับซ้อนมากที่สุดในโลกในยุคสมัยนั้นด้วย

กัวรานี (Guarani)
เป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในตอนล่างของแอ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำอะเมซอนลงมาตามแม่น้ำอุรุกกวัยและปารากวัยตอนใต้ ในบริเวณโบลิเวียตะวันออกและปารากวัยในปัจจุบัน เชื่อว่าอารยธรรมกัวรานีเกิดในพื้นที่นี้เป็นเวลาอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนการยึดครองของสเปนในช่วงกลางปี ค.ศ.1500 ชนเผ่ากัวรานีมีภาษาเป็นของตนเอง ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในภาษาทางการที่ใช้ในปารากวัย (ภาษาทางการอีกภาษา คือ ภาษาสเปน) มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ในอดีตชาวกัวรานีมีประมาณ 400,000 คน มีการปกครองที่เป็นอิสระ โดยหมู่บ้านหนึ่งจะมีประมาณ 10-15 ครัวเรือน ในแต่ละหมู่บ้านมีหัวหน้าคอยปกครองดูแล มีการปลูกพืช เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด รวมถึง เก็บน้ำผึ้ง ปัจจุบันมีชาวกัวรานีประมาณ 5 ล้านคนอาศัยอยู่ในปารากวัย และอีก 2ล้านคนในโบลิเวีย โดยอยู่ในเขตเมืองซานตาครูซในเขตที่ราบลุ่ม ซึ่งถือเป็นชาติพันธุ์ที่มีประชากรจำนวนมากชาติพันธุ์หนึ่งในลาตินอเมริกา มีประวัติศาสตร์เป็นมรดกสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ได้แก่ ดนตรี การเย็บปักถักร้อย ประเพณี และอาหาร

สาธารณรัฐเปรู
หนึ่งในประเทศในลาตินอเมริกาที่ร่ำรวยทางด้านทรัพยากร ความหลากหลายทางกายภาพและชีวภาพ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน วทน. โดยมุ่งเน้นพัฒนา 4 หัวข้อหลัก คือ
1.ระบบการบริหารจัดการคนเก่ง โดยจะพัฒนาความรู้ เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น
2.การปฏิบัติตามเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในด้าน อาหาร สุขภาพ น้ำสะอาด
3.การพัฒนาเพื่อเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (The Fourth Industrial Revolution) มุ่งเน้นที่เทคโนโลยีหุ่นยนต์ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ การพิมพ์สามมิติ ไบโอเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) พันธุกรรม
4.การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติจากธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

CONCYTEC
หน่วยงาน National Council for Science, Technology and Innovation เป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบรรทัดฐานทางด้าน วทน. ของประเทศ และมีหน้าที่หลักคือ
1.ส่งเสริมการพัฒนาทางด้าน วทน. ผ่านการดำเนินการร่วมกันระหว่างโครงการและความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ
2.เชื่อมโยงระบบ วทน. แห่งชาติระหว่างหน่วยงาน ภาคการศึกษา องค์กร ธุรกิจ และสังคม
3.มีส่วนร่วมในการพัฒนาให้กองทุน วทน. เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้ CONCYTEC ยังทำหน้าที่ในการวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนา วทน. ของประเทศ
-ส่งเสริมการสร้างและถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ให้มีความสอดคล้องกับงานวิจัยและความต้องการของประเทศ
-ส่งเสริมการสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ
-ปรับปรุงคุณภาพของศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
-เสริมสร้างกรอบทางกฎหมายด้าน วทน. ของประเทศ
-ส่งเสริมและพัฒนาสิ่งจูงใจใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นและเพิ่มกิจกรรม ด้าน วทน.

โครงการพัฒนาสมุนไพรสำหรับการเลิกสิ่งเสพติด
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิมา ได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือกับเปรูในด้านสมุนไพรในการพัฒนาสมุนไพร สำหรับการล้างพิษและเลิกสารเสพติด ซึ่ง ศ.ภญ. ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นผู้ให้คำปรึกษาหลักของฝ่ายไทย โดยมุ่งเน้นพืชสมุนไพร 3 ชนิดที่พบได้ในเปรู ได้แก่ รางจืด เถาวัลย์เปรียง และ ย่านางแดง นับเป็นแนวคิดสำคัญที่ใช้มิติด้าน วทน. ในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยอาศัยฐานงานวิจัยด้านทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความคล้ายคลึงกัน

รัฐพหุชนชาติแห่งโบลิเวีย
โบลิเวียเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยแร่ลิเทียมแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นแร่สำคัญที่ใช้ผลิตแบตเตอรีและอุปกรณ์เก็บกักพลังงาน แต่ทั้งนี้ การพัฒนาทางด้าน วทน. ของประเทศยังไม่โดดเด่นมากนัก รัฐบาลโบลิเวียเริ่มผลักดันการพัฒนา โดยเฉพาะการศึกษา โดยมอบทุนการศึกษาให้นักศึกษาไปศึกษาต่อต่างประเทศและกลับมาทำงานให้กับประเทศบ้านเกิด ดังนั้น ภาคการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
กระทรวงศึกษาธิการ
โบลิเวียไม่มีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หรือหน่วยงานระดับกระทรวงที่รับผิดชอบงานด้าน วท. โดยตรง งานด้าน วทน. อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มมหาวิทยาลัยกึ่งรัฐกึ่งเอกชน และกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน

มหาวิทยาลัยแห่งชาติซานอันเดรส (Universidad Mayor de San Andrés – UMSA)
มหาวิทยาลัย San Andres เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุด ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่เป็นลำดับสอง (พ.ศ.2373) ของมหาวิทยาลัยในโบลิเวีย ตั้งอยู่กลางกรุงลาปาซ UMSA เป็นหนึ่งในศูนย์การศึกษาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศ ในปี พ.ศ. 2560 QS ลาตินอเมริกาจัดอันดับมหาวิทยาลัย UMSA เป็นมหาวิทยาลัยโบลิเวียที่ดีที่สุดและอยู่ในตำแหน่ง 91 ของลาตินอเมริกาทั้งหมด

มหาวิทยาลัยคาทอลิก วิทยาเขตซานปาโบล (Catholic University- San Pablo)
มหาวิทยาลัยซานตาครูสเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน บริหารโดยหอการค้าอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวของซานตาครูซ (CAINCO) มหาวิทยาลัยนี้ถือเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงที่สุด และอยู่ในลำดับ 6 ของโบลิเวีย มีคณะที่เปิดรับนักศึกษา 5 คณะ ได้แก่ บริหารธุรกิจ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และมนุษยศาสตร์และการสื่อสาร

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190312-newsletter-washington-vol11-61.pdf

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน ฉบับที่10 เดือนตุลาคม 2561

สถาบัน Smithsonian เป็นสถาบันด้านพิพิธภัณฑ์ การศึกษา และการวิจัยที่ใหญที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยพิพิธภัณฑ์ 19 แห่ง และสวนสัตว์แห่งชาติ 1 แห่ง โดยเป็นสถาบันที่สำคัญแห่งการเก็บรักษามรดกของโลก การค้นพบความรู้ใหม่ๆ และศูนย์เผยแพร่และแลกเปลี่ยนชิ้นงานจัดแสดงและวิจัยที่สำคัญของโลก สถาบันเก็บรักษาและจัดแสดงสิ่งของที่สำคัญในด้านประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และศิลปะ ตั้งแต่ซากฟอสซิลอายุเก่าแก่กว่า 3.5 ล้านปี จนถึงส่วนลงดวงจันทร์ของโครงการอพอลโล่ (Apollo lunar landing module) สถิติวัตถุจัดแสดงที่สถาบัน Smithsonian – สิ่งประดิษฐ์ งานศิลปะ และชิ้นตัวอย่าง กว่า 154 ล้านชิ้นใน Collection ของสถาบันทั้งหมด – สิ่งประดิษฐ์และชิ้นส่วนตัวอย่างกว่า 145 ล้านชิ้น ใน Collection ของ the National Museum of Natural History – บันทึกต่างๆ ในรูปแบบดิจิทัลกว่า 14 ล้านบันทึกเผยแพร่ใน the Collections Search Center – จำนวนสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ กว่า 2 ล้านชิ้นใน Smithsonian Libraries – วัตถุโบราณใช้พื้นที่กว่า 156,830 ลูกบาศก์ฟุตในหอจดหมายเหตุของสถาบัน

National Museum of African Art พิพิธภัณฑ์นี้ เป็นพิพิธภัณฑ์เพียงแห่งเดียวในสหรัฐอเมริกาที่จัดแสดงตัว อนุรักษ์ และศึกษาศิลปะ และวัฒนธรรมแอฟริกา ซึ่งสนับสนุนให้มีการค้นพบและสร้างความประทับใจ ในศิลปะของทวีปแอฟริกาและมนุษยศาสตร์

National Air and Space Museum พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นแหล่งรวบรวมเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นศูนย์การวิจัยทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนยีการบินต่างๆ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ธรณีวิทยา และภูมิศาสตร์ พิพิธภัณฑ์มีอยู่สองแห่งคือ พิพิธภัณฑ์ในกรุงวอชิงตัน ซึ่งได้มีการจัดแสดงเครื่องร่อนของพี่น้องตระกูล Wright ในปี 1903 เครื่องบิน the Spirit of St. Louis ซึ่งเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ยาน Apollo 11 และหินดวงจันทร์ 

National Air and Space Museum The Steven F. Udvar-Hazy Center ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดง the Lockheed SR-71 Blackbird, Boeing B29 และกระสวยอวกาศต่างๆ พิพิธภัณฑ์ National Air and Space Museum ของสถาบัน Smithsonian ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 ในแต่ละปีพิพิธภัณฑ์รองรับผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 7.5 ล้านคน จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีคนเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดอันดับ 3 ของโลก และอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา

National Museum of the American Indian วัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์นี้ คือ การอนุรักษ์และพัฒนาองค์ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองของโลกฝั่งตะวันตก พิพิธภัณฑ์นี้มีอยู่ 3 แห่ง คือ The National Museum of the American Indian กรุงวอชิงตัน The George Gustav Heye Center นครนิวยอร์ก และ The Cultural Resources Center เมือง Suitland Maryland

George Gustav Heye Center พิพิธภัณฑ์ The George Gustav Heye Center เป็นพิพิธภัณฑ์หนึ่งของสถาบัน Smithsonian ตั้งอยู่ในเกาะ Manhattan รัฐนิวยอร์ก ได้จัดแสดงนิทรรศการและสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวกับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน

Smithsonian American Art Museum พิพิธภัณฑ์ Smithsonian American Art Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมงานศิลปะที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่ที่สุด โดยมีชิ้นงานจากศิลปินกว่า 7 พันคน

National Museum of American History พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์และความเป็นมาของสหรัฐฯ และชาวอเมริกัน โดยได้รวบรวมและจัดแสดงชิ้นงานและสิ่งของต่างๆ กว่า 3 ล้านชิ้น เช่น ต้นฉบับบทประพันธ์เพลงแห่งชาติของสหรัฐฯ ผืนธงชาติที่มีดาว 15 ดวง ซึ่งเป็นธงที่ใช้ครั้งแรกในสงครามปี พ.ศ. 2358 และแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลงชาติของสหรัฐฯ หมวกของ Abraham Lincoln และอื่นๆ

Anacostia Community Museum พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมเอกสาร และสิ่งของต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงผลของชุมชนในประวัติศาสตร์และอยู่ติดกับกรุงวอชิงตัน ซึ่งมีผลต่อประวัติศาสตร์ และประเด็นสังคมร่วมสมัยของชุมชนในปัจจุบัน

Arts and Industries Building อาคารพิพิธภัณฑ์นี้เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของกลุ่มพิพิธภัณฑ์ของ Smithsonian Institute เดิมมีชื่อว่า the National Museum หรือเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเก่า ซึ่งปัจจุบันนี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ชั่วคราวและเป็นโรงละครสำหรับเด็ก

Cooper Hewitt Smithsonian Design Museum พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เจาะจงไปที่งานออกแบบทั้งในประวัติศาสตร์และร่วมสมัย ที่สื่อให้เห็นถึงอิทธิพลของการออกแบบที่มีต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ Cooper-Hewitt นอกจากจะมีการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ แล้ว ยังมีการจัดโครงการเพื่อการศึกษาทั้งในและผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตชิ้นงานต่างๆ ที่จัดแสดงที่ Cooper-Hewitt มีทั้งแผ่นวอลเปเปอร์ ศิลปะเพื่อการตกแต่ง การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบสิ่งทอ ภาพวาดและงานพิมพ์ต่างๆ

Freer Gallery of Art เป็นห้องจัดแสดงงานศิลปะจากทวีปเอเชีย จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณและงานศิลปะที่สำคัญบางชิ้นจากสหรัฐฯ ห้องจัดแสดงภาพแห่งนี้มีชิ้นงานทั้งสิ้นกว่า 25,000 ชิ้น ครอบคลุมช่วงเวลากว่า 6,000 ปี ในประวัติศาสตร์ Freer Gallery of Art ได้จัดแสดงชิ้นงานผ่านสื่อออนไลน์ ภายใต้โครงการ Google Art Project ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเรียกชมชิ้นงานต่างๆ ได้อย่างละเอียดเหมือนกับได้เห็นของจริง

Hirshhorn Museum and Sculpture Garden เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงงานปฏิมากรรมร่วมสมัยซึ่งเก็บและรักษาชิ้นงานต่างๆ จากยุคศตวรรษที่ 20 และ 21 สิ่งที่โดดเด่นสำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือตัวอาคารที่มีลักษณะคล้ายกับกระสวยอวกาศทรงกระบอกยกสูงจากพื้นด้วยเสาขนาดใหญ่ 4 ต้น และมีน้ำพุขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง

National Zoo จัดเป็นหนึ่งในสวนสัตว์ที่ดีที่สุดในโลก ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเยือนกว่า 2 ล้านคนจากทั่วโลก สวนสัตว์นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2432 ปัจจุบันนี้มีสัตว์กว่า 2,700 ตัว มากกว่า 390 สายพันธุ์ ซึ่งหนึ่งในสี่เป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ National Zoo Park เป็นสวนสัตว์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำในการดูแลรักษา วิทยาศาสตร์ การศึกษา และการอนุรักษ์สัตว์ 

Natural History พิพิธภัณฑ์นี้จัดเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยที่ดีที่สุดในโลก พิพิธภัณฑ์มุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นให้ผู้เยี่ยมชมเกิดความอยากรู้อยากเห็นการค้นพบ และการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโลก ผ่านการวิจัย การจัดแสดงงาน และโครงการทางการศึกษาต่างๆ ในแต่ละปี มีผู้เยี่ยมชมหลายล้านคน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นฉากสำคัญหนึ่งของภาพยนต์ Night at the Museum ที่โด่งดังทั่วโลก

National Portrait Gallery สถานที่แสดงภาพวาดบุคคลแห่งนี้บอกเล่าเรื่องราวของสหรัฐอเมริการผ่านภาพวาดของบุคคลที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อประเทศ บุคคลดังกล่าวมีทั้งนักกวี ประธานาธิบดี นักแสดงและนักเคลื่อนไหวต่างๆ

National Postal Museum พิพิธภัณฑ์นี้เกิดขึ้นจากการร่วมมือระหว่าง The United States Postal Service (กรมไปรษณีย์ของสหรัฐฯ) และสถาบัน Smithsonian พิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงต่างๆ ที่บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ของการไปรษณีย์ของสหรัฐฯ และทั่วโลก การจัดแสดงแสตมป์และวิธีการส่งจดหมายต่างๆ

Renwick Gallery of the Smithsonian American Art Museum เป็นสถานที่จัดแสดงงานฝีมือ และงานศิลปะเพื่อการตกแต่งซึ่งมีตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน เช่น เครื่องดินเผา เครื่องแก้ว งานโลหะ และงานแกะสลักผลไม้ อาคารนี้ออกแบบโดย James Renwick Jr. ในปี พ.ศ. 2401 โดยเป็นอาคารแรกในสหรัฐฯ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์โดยตรง

Arthur M. Sackler Gallery เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานศิลปะโบราณและร่วมสมัยจากทวีปเอเชีย Arthur M. Sackler เป็นชื่อของผู้บริจาคชิ้นงานกว่า 1,000 ชิ้นและเงินอีกจำนวน 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่พิพิธภัณฑ์

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190312-newsletter-washington-vol10-61.pdf

 

8 Best practices ใน Data science

8 Best practices ใน Data science

  1. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ: ขั้นตอนแรกและถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับงานด้าน Data science คือ การกำหนดโจทย์ที่สำคัญทางธุรกิจที่ต้องการแก้ไข หรือ การกำหนดเป้าหมายที่สำคัญทางธุรกิจที่ต้องการบรรลุ การกำหนดโจทย์หรือเป้าหมายนี้ควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นโจทย์หรือเป้าหมายที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นร่วมกันว่าสำคัญ
  2. ระบุข้อมูลที่ต้องการ: คือการทำความเข้าใจว่ามีข้อมูลใดบ้างและข้อมูลที่มีอยู่นั้นเพียงพอที่จะตอบโจทย์หรือเป้าหมายที่สำคัญทางธุรกิจที่กำหนดไว้ในข้อ 1 หรือไม่ บ่อยครั้งที่ข้อมูลพื้นฐานไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้อง มีข้อผิดพลาด (error) หรือความผิดปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความสะอาด (clean) ข้อมูลเหล่านั้นก่อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์และผลลัพธ์
  3. ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม: ปัจจุบันมีเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลให้เลือกหลากหลาย ทั้งนี้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวรองรับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดเวลา และ รองรับข้อมูลที่มีความซับซ้อนซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่ อย่างไร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. ปกป้องฟีดข้อมูล: การโจมตีทางไซเบอร์ในองค์กรเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงจำเป็นที่องค์กรจะต้องใช้พัฒนากลไกเพื่อป้องกันเรื่องดังกล่าว เช่น Two-Factor Authentication หรือ การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน (เช่น บริการธนาคารออนไลน์ที่ต้องยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่าน และ OTP) หรือ การเข้ารหัสและการแฮช (hash) ข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือ การแบ่งย่อยข้อมูลและการผสมข้อมูลย่อยทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สุดท้าย เพื่อป้องกันช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นในระบบจัดเก็บหรือคลังข้อมูลขององค์กร
  5. ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน: ในองค์กรควรมีการสร้างวัฒนธรรมของการทำงานร่วมกัน มีการเรียนรู้และการต่อยอดงานที่คล้ายคลึงกันที่คนอื่นๆ เคยทำไว้ก่อนหน้า เพื่อไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรกลับไปเริ่มนับ 0 รวมถึงการส่งเสริมทำงานร่วมกันกับชุมชนภายนอกองค์กร
  6. ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล: จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปลูกฝังความคิดเรื่องการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลภายในองค์กร บางกรณีข้อมูลที่ค้นพบอาจตรงข้ามกัน แต่สิ่งสำคัญคือการที่คนในองค์กรยินดีที่จะเข้าใจผลลัพธ์เหล่านี้และทำตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อจัดการกับผลลัพธ์ที่ได้
  7. จัดทำแผนปฏิบัติการ: คุณค่าที่แท้จริงจาก Data science ไม่ได้มาจากการค้นพบสิ่งที่น่าสนใจ แต่เป็นการดำเนินการกับผลลัพธ์ที่ค้นพบ องค์กรควรมีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนซึ่งระบุขั้นตอนการดำเนินงานและระบุผู้รับผิดชอบหรือผู้ขับเคลื่อนหลัก 
  8. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องเป็นประจำ: การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของโมเดลและผลลัพธ์เป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานในองค์กรต้องพร้อมที่จะทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของโมเดลและผลลัพธ์เป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าโมเดลและผลลัพธ์มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่กำลังพัฒนา

ที่มาข้อมูล:

Mohammad, Z. (2017, March 30). 8 Best practices in data science [Blog post]. Retrieved from https://www.datascience.com/blog/eight-data-science-best-practices

Open Science คืออะไร

Open Science หรือ วิทยาการแบบเปิด คือ การเคลื่อนไหว (movement) เพื่อให้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (หมายรวมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) เช่น สิ่งพิมพ์ ข้อมูล ตัวอย่างทางกายภาพ และซอฟต์แวร์ และการเผยแพร่ทางการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์และไม่เสียค่าใช้จ่าย 

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) นิยามความหมายของ Open science โดยเสนอว่า Open science หมายรวมถึง

  • การเข้าถึงแบบเปิดผลงานตีพิมพ์วิชาการทางวิทยาศาสตร์
  • การเข้าถึงแบบเปิดข้อมูลวิจัยและสื่อ
  • การเข้าถึงแบบเปิดแอพพลิเคชั่นดิจิทัลและ source code
  • การเข้าถึงแบบเปิดเพื่อนักวิทยาศาสตร์ สาธารณะ และบริษัทเอกชน
  • การยืนยันทางวิทยาศาสตร์ในฐานะเป็นสินค้าสาธารณะที่ดี

หัวใจสำคัญของ Open Science คือ Open ที่หมายถึง 5R ได้แก่

  1. Retain หมายถึง สิทธิ์ในการสร้าง เป็นเจ้าของ และควบคุมสำเนาของเนื้อหา (เช่นดาวน์โหลด ทำซ้ำ จัดเก็บ และจัดการ)
  2. Reuse หมายถึง สิทธิ์ในการใช้ซ้ำ เช่น ใช้บนเว็บไซต์ ใช้ในบทความฉบับพิมพ์ หรือสื่ออื่นๆ และ ใช้ในชั้นเรียน ใช้ในการวิจัย หรือใช้ในสถานท่ี่หรือโอกาสอื่นๆ
  3. Revise หมายถึง สิทธิ์ในการแก้ไข ปรับปรุง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลง เช่น การแปลจากภาษาหนึ่งเป็นภาษาอื่นๆ 
  4. Remix หมายถึง สิทธิ์ในการนำเนื้อหาจากต้นฉบับหรือเนื้อหาที่แก้ไขแล้วมารวมกับเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งเผยแพร่ภายใต้แนวคิดแบบเปิดเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่
  5. Redistribute หมายถึง สิทธิ์ในการแชร์สำเนาเนื้อหาต้นฉบับ เนื้อหาที่มีการแก้ไข (revise) หรือเนื้อหาที่มีการรวมกัน (remix) แก่คนอื่นๆ 

อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีครบทั้ง 5R โดยหนึ่งในเครื่องมือสำหรับใช้ในการประกาศสิทธิ์หรือเงื่อนไขเหล่านี้ คือ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License) ซึ่งประกอบด้วย 4 เงื่อนไข ได้แก่

  1. แสดงที่มา/อ้างที่มา (Attribution – BY) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ผู้นั้นได้แสดงเครดิตของผู้เขียนหรือผู้ให้อนุญาตตามที่ระบุไว้ ใช้สัญลักษณ์
  2. ไม่ใช้เพื่อการค้า (Non-Commercial – NC) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ไม่นำไปใช้ในทางการค้า ใช้สัญลักษณ์
  3. ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works – ND) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น ใช้สัญลักษณ์
  4. อนุญาตแบบเดียวกัน (Share Alike – SA) : อนุญาตให้ผู้อื่นแจกจ่ายงานดัดแปลง เปลี่ยนรูปหรือต่อเติมงานได้เฉพาะกรณีที่ชิ้นงานดัดแปลงนั้นเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตที่เหมือนกันทุกประการกับงานต้นฉบับ หรือสรุปง่ายๆ ว่าต้องใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันกับงานดัดแปลงต่อยอดใช้สัญลักษณ์

โดย 4 เงื่อนไขข้างต้นนี้สามารถเลือกมาสร้างเงื่อนไขได้ 6 แบบ ดังนี้

  1. Attribution CC – BY ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา
  2. Attribution CC – BY -SA ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน
  3. Attribution CC – BY -ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง
  4. Attribution CC- BY -NC ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาแต่ ห้ามใช้เพื่อการค้า
  5. Attribution CC- BY – NC – SA ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
  6. Attribution CC- BY – NC -ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า

ตัวอย่างเหตุผลที่ต้องมี Open Science คือ

  1. เพื่อเปิดโอกาสแก่นักวิจัยพลเมือง
  2. เพื่อให้นักข่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการตรวจสอบและรายงานข่าว
  3. เพื่อประเมินผลงาน โดยพิจารณาจากการเปิดเผยผลงาน นอกเหนือจากการพิจารณาจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์เท่านั้น
  4. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบอกรับทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ
  5. เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้ทราบว่าเงินที่เสียภาษีนั้นทำไปใช้ในการวิจัยเรื่องใด และได้ผลอย่างไร
  6. เพื่อนักศึกษาได้ข้อมูลประกอบการวิจัย
  7. เพื่อผู้วิจัยคนอื่นๆ ได้นำข้อมูลมาทดลองและใช้งาน เพื่อลดขั้นตอนและงบประมาณในการทำวิจัย โดยการใช้ข้อมูลซ้ำจากที่ได้มีการเก็บไว้ก่อนหน้า

ทั้งนี้ นอกจาการเคลื่อนไหวในส่วน Open Science แล้ว ยังมีการการเคลื่อนไหวในมุมหรือในมิติอื่นๆ เช่น Open Access (การเข้าถึงแบบเปิด) Open Data (ข้อมูลแบบเปิด) Open Government (รัฐแบบเปิด) และ Open Education (การศึกษาแบบเปิด)

Open Access หรือ OA (การเข้าถึงแบบเปิด) เป็นแนวคิดที่เริ่มต้นขึ้นในวงการนักวิจัยที่ต้องการผลักดันให้ผู้ใช้ปลายทางสามารถเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดยเฉพาะผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ (Publication) ที่ได้จากการศึกษาหรือการวิจัยได้อย่างอิสระ ในรูปแบบออนไลน์และไม่เสียค่าใช้จ่าย ลักษณะสำคัญของ Open Access คือ อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เป็นเอกสารเนื้อหาฉบับเต็ม ผ่านการพิจารณาโดยผู้รู้ (Peer review) เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิด ตัวอย่าง Directory of Open Access Journals หรือ DOAJ แหล่งรวบรวมวารสารที่มีการเข้าถึงแบบเปิด และ Directory of Open Access Books หรือ DOAB แหล่งรวบรวมหนังสือที่มีการเข้าถึงแบบเปิด

มีความพยายามผลักดันเรื่อง Open Access ยกตัวอย่าง Plan S เป็นความคิดริเริ่มสำหรับ open-access science publishing โดย Science Europe ซึ่งเป็นสมาคมขององค์กรกองทุนสนับสนุนการวิจัยที่สำคัญและองค์กรด้านการวิจัยในยุโรป ที่ระบุว่านับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2020 งานวิจัยที่ได้รับทุนต้องตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มีการเข้าถึงแบบเปิด หรือ Open Access Journals หรือ แฟลตฟอร์มที่มีการเข้าถึงแบบเปิดของผู้ให้ทุนวิจัย 

Open Research Data หรือ ORD (ข้อมูลการวิจัยแบบเปิด) คือ กระบวนการที่ทำให้ข้อมูลการวิจัยที่ได้จากขั้นตอนการวิจัย เช่น การทดลอง หรือ การสังเกตการณ์ สามารถเข้าถึงในรูปแบบออนไลน์และไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อความโปร่งใสในการใช้งบประมาณวิจัยและการดำเนินการวิจัย เป็นต้น

ตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Open Research Data เช่น โครงการ Horizon 2020 โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป ซึ่งมีเงินทุนสนับสนุนสูงถึง 80,000 ล้านยูโร ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ปี 2014-2020 เพื่อให้นักวิจัยทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นบริษัท สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย หรือองค์กรไม่แสวงหากำไร ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างประเทศ หนึ่งในข้อกำหนดของผู้รับทุนในโครงการนี้คือต้องเผยแพร่ข้อมูลการวิจัยแบบเปิด งานวิจัยทุกอย่างต้องเปิด (Open by default) คือ เปิดเผยเป็นเรื่องปกติ ปกปิดเป็นข้อยกเว้น ภายใต้แนวคิด FAIR data คือ

  • Findability สามารถค้นหาได้
  • Accessibility สามารถเข้าถึงได้
  • Interoperability สามารถทำงานร่วมกันได้
  • Reusability สามารถนำมาใช้ซ้ำได้

แต่ทั้งนี้สำหรับงานวิจัยและข้อมูลวิจัยบางโครงการสามารถปิดได้แต่ต้องอธิบายเหตุผล (Open as possible, Close as necessary) 

Open Science และ Open Access ไม่ใช่สิ่งใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้น แต่ยังไม่มีการยอมรับเรื่องดังกล่าวในระดับสากล และ ยังไม่มีความเข้าใจที่ตรงกันเกีี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในทุกส่วนของโลก คือ ยังพบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องการเปิดเผย (Openness) และสิทธิ์ของผู้ใช้ในการเข้าถึงและใช้สื่อทางการศึกษาและทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในคลังดิจิทัล

 

ที่มาข้อมูล

  • บรรยายพิเศษ เรื่อง Open Science: Open Research Data โดย ศาตราจารย์ ดร.วิลาศ วูวงศ์ ในงานประชุมวิชาการเรื่อง การจัดการศึกษาและวิจัยสารสนเทศศาสตร์ในมิติใหม่ (New Dimensions for Information Science Education and Research) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10.45-12.00 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทราวดี นครปฐม
  • Smith, C. and Marsan, G. A. Open science: the policy challenges. Retrieved from https://jipsti.jst.go.jp/rda/common/data/pdf/lecture/Smith_Symposium.pdf
  • Vrana, R. (2015). Open science, open access and open educational resources: challenges and opportunities. 2015 38th International Convention on Information and Communication Technology, Electronics and Microelectronics (MIPRO), Opatija, 2015, pp. 886-890. doi: 10.1109/MIPRO.2015.7160399

Science & Technology Book Series

สวทช. ขอเชิญชวนน้องๆ และท่านที่สนใจอ่านหนังสือดีๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจเทคโนโลยี ซึ่ง สวทช. ได้จัดทำจำนวน 6 เล่ม ดังนี้
1. เศรษฐกิจชีวภาพ Bio Economy
2. เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy
3. เศรษฐกิจอัจฉริยะ Intelligent Economy
4. เศรษฐกิจผู้สูงวัย Silver Economy
5. เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ Sharing Economy
6. เทคโนโลยีควอนตัม Quantum Technology (มีหัวข้อที่ มว.เขียน 1 บท คือ นาฬิกาอะตอม)

ดาวน์โหลดฟรี  ชุดหนังสือวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน (Science and Technology Book Series) โดย : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(จุดประกายความคิดวิทย์สร้างชาติ)

https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/st-book-series.html

คลิกที่ภาพเพื่อ Download

 

Download ตรง

  1. เศรษฐกิจชีวภาพ Bio Economy
  2. เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy
  3. เศรษฐกิจอัจฉริยะ Intelligent Economy
  4. เศรษฐกิจผู้สูงวัย Silver Economy
  5. เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ Sharing Economy
  6. เทคโนโลยีควอนตัม Quantum Technology