เทคโนโลยีการจับคาร์บอน (carbon capture)

เรียนรู้หลักการของเทคโนโลยีการเก็บและการจับคาร์บอน (carbon capture and storage (CCS) technology) และเทคโนโลยีการเก็บ การใช้ประโยชน์ และการจับคาร์บอน (carbon capture, utilization and storage (CCUS) technology) รวมถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีการจับคาร์บอนและความจำเป็นในการขับเคลื่อน และเหตุผลหลักที่ทำให้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนมีอนาคตที่ดี

เหมือนหรือต่างระหว่างหลักการของเทคโนโลยี CCS และ CCUS
เทคโนโลยี CCS เกิดขึ้น เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน และให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เทคโนโลยี CCS เกี่ยวข้องกับการจับคาร์บอนจากอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิต และขนส่งคาร์บอนไปยังโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่อยู่ชั้นใต้ดิน (underground geological formations) เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปทำลายชั้นบรรยากาศและไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก (greenhouse effect) ส่วนเทคโนโลยี CCUS เหมือนกับเทคโนโลยี CCS ในบางขั้นตอน แต่ไม่มีการขนส่งคาร์บอนไปชั้นใต้ดิน คาร์บอนจะถูกเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมอื่น หรือเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้

ประโยชน์ของเทคโนโลยีการจับคาร์บอนและความจำเป็นในการขับเคลื่อน
การใช้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนอย่างกว้างขวางจะช่วยทำให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้โดย the Center for Climate and Energy Solutions (C2ES) พบว่า เทคโนโลยีการจับคาร์บอน ถ้าได้รับการจัดการที่มีประสิทธิภาพสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกที่ 14 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2050 เมื่อพิจารณาร่วมกับมาตรการลดคาร์บอนอื่นๆ เทคโนโลยีการจับคาร์บอนเป็นตัวสำคัญที่สุดในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ของ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) บอกว่า เทคโนโลยีการจับคาร์บอนต้องอยู่ในแผนการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก รายงานโดย McKinsey พบว่า การใช้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนทั่วโลกต้องขยาย 120 เท่า จากระดับปัจจุบันในปี 2050 เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ตะวันออกกลางใช้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนนำหน้าภูมิภาคอื่นในโลก

เทคโนโลยีการจับคาร์บอนช่วยลดปัญหาความแห้งแล้งของภูมิภาคที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อากาศที่ร้อนและแห้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดอากาศที่รุนแรง เช่น คลื่นความร้อน และความแห้งแล้ง ในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลจาก NASA ในปี 2050 มากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของโลก จะเจอปัญหาความแห้งแล้ง ข้อมูลโดย the UN Convention to Combat Desertification (UNCCD) ความแห้งแล้งทำให้ 650,000 คน เสียชีวิตระหว่างปี 1970 และ 2019 ทำให้เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก และทำให้ประมาณ 55 ล้านคน ได้รับผลกระทบทั่วโลกต่อปี รายงานโดย UN

งานวิจัยของ Bloomberg NEF เมื่อเร็วๆ นี้ รายงานว่า การกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 1.5-15.5 กิกะตัน จะเกิดขึ้นในปี 2030-2050 เพื่อทำให้การร้อนขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่มากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกทำนายว่า 10 กิกะตันของคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกกำจัดเป็นประจำทุกปีจากบรรยากาศในปี 2050 และเพิ่มการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 20 กิกะตันต่อปี ในปี 2100

เหตุผลหลักที่ทำให้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนมีอนาคตที่ดี
1. อุตสาหกรรมหนักกำลังใช้เทคโนโลยีการจับคาร์บอน
2. รัฐบาลทั่วโลกกำลังสนับสนุนเทคโนโลยีการจับคาร์บอน
3. ความร่วมมือทางอุตสาหกรรมทำให้เกิดการแก้ปัญหาข้อจำกัดทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยีการจับคาร์บอนมากขึ้น

เทคโนโลยีการจับคาร์บอนต้องการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาล ต้องมีการพูดคุยระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการจัดการคาร์บอนและภูมิอากาศ

Climate change สร้างผลกระทบและความเสียหายต่อโลก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาเทคโนโลยีการจับคาร์บอน เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปทำลายชั้นบรรยากาศและไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ทั้งนี้ต้องการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาล ต้องมีการพูดคุยระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการจัดการคาร์บอนและภูมิอากาศ เทคโนโลยีการจับคาร์บอนต้องอยู่ในแผนการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก

ที่มา:
1. Ayla Majid (October 16, 2023). Why carbon capture is key to reaching climate goals. https://www.weforum.org/agenda/2023/10/why-carbon-capture-is-key-to-reaching-climate-goals/
2. Jason Kraynek (October 5, 2022). 3 reasons why the future of carbon capture looks promising. https://www.weforum.org/agenda/2022/10/3-reasons-why-future-of-carbon-capture-looks-promising/
3. Victoria Masterson (August 2, 2022). These NASA images show the staggering impact of drought. https://www.weforum.org/agenda/2022/08/nasa-lake-mead-water-drought/

diigo เว็บไซต์จัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ที่สนใจ

diigo เป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ในการทำ social bookmarking

social bookmarking เหมือนการจัดเก็บเว็บไซต์ทั่วไป แต่มีการแบ่งปันเว็บไซต์ที่ถูกเก็บกับผู้ใช้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอื่น ๆ เมื่อพบเว็บไซต์ที่สนใจ บันทึกเว็บไซต์นั้นเข้าไปในเว็บไซต์ diigo จะทำให้สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ที่สนใจที่ไหนก็ได้ตอนไหนก็ได้ ข้อดีอีกข้อของ social bookmarking คือ ทำให้การทำวิจัยง่ายขึ้น โดยนักวิจัยสามารถพบเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บที่มีเนื้อหาในเรื่องที่สนใจโดยง่ายจากการติดตามการจัดเก็บเว็บไซต์ของนักวิจัยคนอื่น ๆ ผ่านเว็บไซต์ diigo

diigo ช่วยในการจัดการกับเนื้อหาของเว็บไซต์ที่สนใจ ที่ถูกจัดเก็บในเว็บไซต์ diigo สามารถเพิ่มคำอธิบายลงไปในหน้าเว็บไซต์ โดยการเน้นหรือใส่ข้อความสั้น ๆ ลงไปในเนื้อหา ให้ tags ประกอบกับเนื้อหาเพื่อง่ายต่อการสืบค้นภายหลัง จัดการเนื้อหาให้เป็นระบบโดยฟังก์ชัน outliner สามารถให้เรื่องการจัดการกับเนื้อหาสามารถเห็นได้เพียงผู้จัดการเนื้อหาเพียงผู้เดียวหรือเห็นโดยบางคนได้

diigo เป็นเครือข่ายทางสังคม สามารถออกแบบให้สังคมเป็นแบบไหน อนุญาตให้มีผู้ติดตามและติดตามผู้ใช้อื่น ๆ และมองหาว่าผู้ใช้จัดเก็บเว็บไซต์อะไรในเว็บไซต์ diigo นอกจากนี้ยังสามารถสร้างกลุ่ม เชิญผู้ใช้บางคนเข้าร่วมกลุ่ม มีการแบ่งปันเนื้อหาในกลุ่ม

วิธีเริ่มต้นใช้งานเว็บไซต์ diigo
เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสร้าง account ที่เว็บไซต์ (https://www.diigo.com/) นอกจากนี้ยังมีหลายทางเลือกในการใช้งานแบบมีค่าใช้จ่าย การเข้าใช้งานแบบฟรีพอสำหรับผู้ใช้งานเบื้องต้น

 

วิธีสร้างกลุ่มในเว็บไซต์ diigo
เมื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ diigo ได้แล้ว จะพบ 4 เครื่องมือ ได้แก่ My Library My Outliner My Groups และ Tools คลิกที่ My Groups ต่อจากนั้นสร้างกลุ่มตามต้องการ กลุ่มของ diigo ทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มเพิ่มการจัดเก็บเว็บไซต์ เน้นเนื้อหา ใส่ข้อความสั้น ๆ ลงไปในเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้สิ่งเหล่านี้เห็นเพียงตนเองและบางคน

 

วิธีจัดเก็บเว็บไซต์
จากเครื่องมือทั้ง 4 Tools จะช่วยในการจัดเก็บเว็บไซต์ เมื่อพบเนื้อหาออนไลน์ที่สนใจเหมาะสำหรับงานวิจัย ต้องจัดเก็บเว็บไซต์นั้นในเว็บไซต์ diigo

 

วิธีใส่ข้อความอธิบายในเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บ
หลังจากจัดเก็บเว็บไซต์ในเว็บไซต์ diigo สามารถเน้นเนื้อหา เพิ่มความเห็น โดยใช้ฟังก์ชัน highlight และ sticky notes

ที่มา:

1. https://www.diigo.com

2. Marcy Marbut (April 3, 2014). Diigo. https://sites.stedwards.edu/socialmedia-mmarbut/2014/04/03/diigo/
3. ALSC Children and Technology committee (December 14, 2013). Using Diigo. https://www.alsc.ala.org/blog/2013/12/using-diigo/
4. Sunita Singhal (May 20, 2020). Diigo- An ICT Tool For Knowledge Dissemination. https://www.linkedin.com/pulse/diigo-ict-tool-knowledge-dissemination-sunita-singhal

 

National AI Ecosystem

การสร้างและพัฒนาระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ (AI Ecosystem) และเชื่อมโยงแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในปี พ.ศ. 2570 ยกตัวอย่าง

  1. การยกระดับการให้บริการ “แพลตฟอร์ม AI For Thai” แพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย
  2. การพัฒนาชุดข้อมูลมาตรฐานสำหรับการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการพัฒนา AI และการส่งเสริมให้เกิดการขยายผลใช้งาน
  3. การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้นของ TPMAP หรือระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบมุ่งเป้า เพื่อแก้ปัญหาความยากจน
  4. การจัดตั้งเครือข่าย AI ทางการแพทย์ (Medical AI Consortium) และการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเปิดทางการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการให้บริการ AI Model ทางการแพทย์ในอนาคต

กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประชาชนทั่วประเทศ ภาคธุรกิจ ภาครัฐและการศึกษา โรงพยาบาลต่างๆ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

  1. เกิดผลงานวิจัยจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีความเสถียร ปลอดภัย สามารถรองรับข้อมูลและการทำงานของทุกภาคส่วน การสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการ และยังสามารถพัฒนาหรือรวบรวมเทคโนโลยีฐานสำคัญทางด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้บริการอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศในการใช้เทคโนโลยีอันจะนำมาซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมบนฐานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต่อไปในอนาคต
  2. เกิดผลงานวิจัยจากการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการ และประมวลผลข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ และสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยเน้นข้อมูลในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงวิจัย พัฒนา และให้คำแนะนำเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อบูรณาการและวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับโจทย์เชิงยุทธศาสตร์ทั้งของภาครัฐและเอกชน

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
  2. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. จำนวนการใช้งานบนแพลตฟอร์มบริการ AI ไม่น้อยกว่า 15 ล้านครั้งและจะให้บริการ AI เพิ่มเติมจากเดิม ไม่น้อยกว่า 2 บริการ
  2. ชุดข้อมูลเปิดขนาดใหญ่สำหรับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ จำนวน 4 ชุดข้อมูล
  3. การเพิ่มคุณภาพการบริการของ TPMAP ซึ่งจะทำให้การออกนโยบายแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  4. เพิ่มจำนวนพันธมิตรในเครือข่าย AI ทางการแพทย์ (Medical AI Consortium) อีก 2 พันธมิตร และเพิ่มจำนวนข้อมูลทางการแพทย์ในแพลตฟอร์มข้อมูลเปิดทางการแพทย์

นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรอง ติดตามโรคไตเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เพื่อพัฒนาชุดตรวจคัดกรองและติดตามภาวะไตเสื่อมในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง ที่ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์กับ อย. และผลักดันเข้าสู่ระบบสาธารณสุขของไทย เพื่อนำไปสู่การเพิ่มโอกาสการตรวจคัดกรองภาวะไตเสื่อมระยะต้นให้กับประชาชน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ามารับการตรวจในโรงพยาบาลและลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของภาครัฐในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (รวม Social Impact การลดค่าใช้จ่ายในการฟอกไต เมื่อเข้าสู่ภาวะไตวาย) ตลอดจนลดการนำเข้าชุดตรวจทางการแพทย์จากต่างประเทศ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจคัดกรอง ติดตามโรคไตเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และผลักดันสู่การใช้ประโยชน์ในประชาชนร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร และสามารถลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในการตรวจคัดกรอง และลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของภาครัฐในการรักษาโรคไต มูลค่าอย่างน้อย 1,500 ล้านบาท (รวม Social Impact การลดค่าใช้จ่ายในการฟอกไต เมื่อเข้าสู่ภาวะไตวาย)

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผลักดันการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรอง ติดตามโรคไตเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน สู่ภาคเอกชน
  2. ส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมชุดตรวจคัดกรอง ติดตามโรคไตเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ร่วมกับภาคเอกชน และเครือข่ายพันธมิตร ให้ได้รับการขึ้นทะเบียน อย. และนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริง

ผลงานเด่น

  1. บริษัทเอกชนที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ อย่างน้อย 1 ราย
  2. สร้างความเชื่อมั่นการใช้ประโยชน์ชุดตรวจโรคไตร่วมกับพันธมิตร ด้วยการขยายผลสู่ประชาชน 2,000 คน ให้ได้รับการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
  3. รพ.สต./หน่วยงานในระบบสาธารณสุข เข้าร่วมตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน อย่างน้อย 9 แห่ง
  4. ต้นแบบนวัตกรรมชุดตรวจทางการแพทย์ภายใต้แผนงานมีระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี (TRL) เพิ่มขึ้น

การพัฒนาวัคซีน ASF สายพันธุ์ไทย

วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาต้นแบบวัคซีน สำหรับโรคระบาดในสุกรและสัตว์ปีก
  2. พัฒนาต้นแบบวัคซีนออโตจีนัส FMDV (สุกร)
  3. พัฒนากระบวนการ/ชุดทดสอบโรค หรือประสิทธิภาพของต้นแบบวัคซีนต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายจากโรคระบาด กรณี ASF อย่างน้อย 15,000 ล้านบาท จากการเพิ่มการเข้าถึงของผลิตภัณฑ์ควบคุมการระบาดของโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร
โดยการนำไปใช้ในพื้นที่ Sandbox จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ จ.ชลบุรี จำนวน 30 ฟาร์ม และดำเนินงานร่วมกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อขยายการใช้งาน Autogenous Vaccine ในวงกว้าง กลุ่มเป้าหมายฟาร์มสุกรในพื้นที่ จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ จ.ชลบุรี จำนวน 30 ฟาร์ม (พ.ศ. 2567-2571)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

ลดผลกระทบจากความเสียหายจากโรคระบาด กรณี ASF อย่างน้อย 15,000 ล้านบาท จากการเพิ่มการเข้าถึงของผลิตภัณฑ์ควบคุมการระบาดของโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร โดยการนำไปใช้ในพื้นที่ Sandbox จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ จ.ชลบุรี จำนวน 30 ฟาร์ม และดำเนินงานร่วมกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อขยายการใช้งาน Autogenous vaccine ในวงกว้าง 

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ต้นแบบวัคซีนออโตจีนัส ASFV เชื้อตายผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ
  2. เซลล์ไลน์สุกรชนิดใหม่
  3. วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์สำหรับ ASFV ในรูปแบบ Single-Cycle และ Gene-Deleted ASFV ที่พัฒนาขึ้นจากสายพันธุ์ไทย
  4. หน่วยงานผู้ผลิต/พัฒนาวัคซีนในไทยรับถ่ายทอดเทคโนโลยี (ราย)

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. ต้นแบบวัคซีนออโตจีนัส ASFV เชื้อตายผ่านการทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพระดับห้องปฏิบัติการ
  2. ต้นแบบวัคซีนออโตจีนัสแบคทีเรียเชื้อตายผ่านการทดสอบในภาคสนาม (ราชบุรี)
  3. เทคนิคการสร้าง ASFV ที่มีการแสดงออกของโปรตีนอื่นด้วยวิธี Homologous recombination
  4. กระบวนการผลิตโปรตีนของไวรัส ASFV แต่ละชนิดเพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบการสร้าง ASFV ที่เพิ่มปริมาณได้ครั้งเดียว (Single-Cycle ASFV) เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนภูมิคุ้มกันต่อไวรัส ASFV ด้วยเทคนิค ELISA

แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล Digital Healthcare Platform

พัฒนาการบริการการแพทย์ปฐมภูมิ รวมถึงการส่งต่อไปสู่การแพทย์ทุติยภูมิ/ตติยภูมิ แก้ไขปัญหาของประชาชนในเรื่องความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข และอุปสรรคในการเข้าถึงหน่วยบริการ แก้ไขปัญหาหน่วยบริการสาธารณสุขที่มีภารกิจมากและหลากหลายเกินจำนวนบุคลากรที่จะรองรับได้ และขาดเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการให้รองรับผู้ป่วยให้ได้มากขึ้น รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในการเตรียมเอกสารเพื่อเบิกจ่ายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยมีผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้ มีแพลตฟอร์มบริการการแพทย์ปฐมภูมิและระบบเบิกจ่าย (A-MED Care) แพลตฟอร์มบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยในที่บ้าน (A-MED Home Ward) แพลตฟอร์มการเบิกจ่าย (e-Claim Gateway) แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (D1669) แพลตฟอร์มบริการข้อมูลและเฝ้าระวังโรคของกรมควบคุมโรค (DDC-Care) แพลตฟอร์มล่ามภาษามือทางไกลสำหรับการแพทย์ (TTRS-Care) สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วประเทศได้รับประโยชน์ 800,000 คน สภาเภสัชกรรม ร้านยาเภสัชชุมชน 1,500 แห่ง

โครงการที่ 1

แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ปฐมภูมิและระบบเบิกจ่าย (A-MED Care) แพลตฟอร์มบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยในที่บ้าน (A-MED Homeward) และแพลตฟอร์มการเบิกจ่าย (e-Claim Gateway)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

  1. ให้บริการผู้ป่วยนอก (OPD) ที่มีการเจ็บป่วยเล็กน้อย ในแพลตฟอร์ม A-MED Care มากกว่า 1.2 ล้านครั้งต่อปี หรือไม่น้อยกว่า 600,000 คนต่อปี (ผู้ป่วยนอกสามารถกลับมาใช้บริการซ้ำได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี) และมีหน่วยบริการปฐมภูมิร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 1,500 แห่ง
  2. ให้บริการผู้ป่วยใน (IPD) ที่มีกลุ่มโรคตามเกณฑ์การดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน ในแพลตฟอร์ม A-MED Home ward มากกว่า 25,000 ครั้งต่อปี หรือไม่น้อยกว่า 20,000 คนต่อปี (ผู้ป่วยในสามารถกลับมาใช้บริการซ้ำได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี) และมีโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ/ตติยภูมิ เข้าร่วมโครงการมากกว่า 500 แห่ง
  3. ให้บริการเบิกจ่าย (e-Claim Gateway) มียอดการเบิกจ่ายผ่านระบบฯ ไม่น้อยกว่า 500,000 ครั้งต่อปี และมีหน่วยบริการนำร่องอย่างน้อย 10 แห่ง 

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

แพลตฟอร์มการให้บริการดูแลผู้ป่วยและอำนวยความสะดวก ผ่านหน่วยบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โครงการที่ 2

แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (D1669)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

ประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศเข้าถึงบริการฉุกเฉินการแพทย์ 1 ล้านคนต่อปี และมีการใช้งานในโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ 400 แห่ง

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

ศูนย์ D1669 ที่เชื่อมต่อกับศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถระบุพิกัดที่โทรแจ้ง และเชื่อมต่อกับเอกชนผ่าน EMS Gateway

โครงการที่ 3

แพลตฟอร์มบริการข้อมูลและเฝ้าระวังโรคของกรมควบคุมโรค (DDC-Care)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตาม พรบ. ของกรมควบคุมโรค (คร.) ผ่าน 1442 และแอปพลิเคชัน โดยประชาชนในโรงงานที่ติดตามสุขภาพ 1 ล้านคน มีผู้เข้ารับการอบรมการใช้งานไม่น้อยกว่า 500 แห่ง ภายใต้กรมควบคุมโรค (คร.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) โรงพยาบาลรัฐบาล ไม่น้อยกว่า 500 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

ระบบบริการข้อมูลและเฝ้าระวังโรค ติดตั้งให้กับกรมควบคุมโรค โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการเฝ้าระวังโรค และประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการเฝ้าระวังโรคแบบ Location-based ได้

โครงการที่ 4

แพลตฟอร์มล่ามภาษามือทางไกลสำหรับการแพทย์ (TTRS-Care)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

เกิดการใช้งานโดยโรงพยาบาลรัฐบาลทั่วประเทศ รพ.สต. ทั่วประเทศ สำหรับคนพิการทางการ ได้ยินที่ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่น้อยกว่า 1,000 แห่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ 7,000 คน เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาล 1,000 คน และคนพิการทางการได้ยินเข้าถึงบริการทางการแพทย์ 10,000 คน

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

ระบบบริการล่ามทางไกลโดยการเชื่อมต่อการสื่อสาร สำหรับเข้าถึงบริการแบบปกติ แบบฉุกเฉิน และแบบ Telehealth เพื่อคนพิการทางการได้ยิน

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. A-MED Care สำหรับร้านยา มีร้านยาเข้าร่วม 1,500 แห่ง
  2. A-MED Care สำหรับคลินิกพยาบาล มีคลินิกเข้าร่วม 300 แห่ง
  3. A-MED Homeward มี โรงพยาบาลเข้าร่วม 500 แห่ง
  4. ระบบ e-Claim Gateway สำหรับการเบิกจ่าย กองทุน สปสช. มีอย่างน้อย 10 หน่วยบริการที่ใช้งาน
  5. ระบบ UCEP ในส่วนการประเมินคัดแยกระดับความฉุกเฉิน (Pre-Authorization) ของ สพฉ มี โรงพยาบาลเข้าร่วม 300 แห่ง

การยกระดับอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสีเขียว

 ยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร ลดการปลดปล่อยของเสีย เข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว โดยใช้ Thailand i4.0 Index เป็นดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการยกระดับ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571) :
สร้างฐานข้อมูลระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ไม่น้อยกว่า 2,000 ราย และโรงงานมีแนวทางในการยกระดับสู่การผลิตที่ยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 1,000 ราย ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากการต่อยอดและการขยายผลไม่น้อยกว่า 120 ล้านบาทต่อปี

แผนงาน :

  1.  เปิดตัวและเริ่มใช้งานระบบประเมินความพร้อมสู่อุตสาหกรรม 4.0 แบบออนไลน์ (Online Self-Assessment) ภายในปี 2567 เพื่อให้ผู้ประกอบการประเมินระดับความพร้อมฯ ได้ด้วยตนเอง
  2. พัฒนาที่ปรึกษางานปรับปรุงสายการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Manufacturing Advisor: DMA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลดการใช้ทรัพยากร ลดการปลดปล่อยของเสีย และเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว
  3. ช่วยโรงงานลงทุนสู่อุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสีเขียว อย่างคุ้มค่าด้วยบริการที่ครบวงจร เช่น
    • บริการประเมินความพร้อมที่สายการผลิต (On-Site Assessment) โดยผู้ประเมินที่ผ่านการรับรองจาก สวทช.
    • บริการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสีเขียว
    • บริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคเบื้องต้น บริการให้คำปรึกษาเชิงลึก
    • บริการจัดทำแผนการลงทุน บริการที่ปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ BOI
    • บริการทดสอบ Testbed
    • บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมใช้ และบริการรับจ้างวิจัย โดยนักวิจัย สวทช.

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. การประเมินความพร้อมสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านระบบ Online Self-Assessment ไม่น้อยกว่า 500 โรงงาน
  2. อุตสาหกรรมใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีของ สวทช. ที่เกี่ยวข้องกับ Industry 4.0 ไม่น้อยกว่า 100 ราย
  3. การสร้างพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการขยายผลกิจกรรม Thailand i4.0 Platform ไม่น้อยกว่า 5 ราย

การพัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน

พัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE และ SDG เพื่อสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของประเทศไทย ประกอบด้วย

  1. พัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย หรือ SDG 12 ให้กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
  2. พัฒนาข้อมูลดัชนีการหมุนเวียนวัสดุ (Material Circularity Index, MCI) ตามเป้าหมายของหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 – 2570) ให้กับ สศช.
  3. พัฒนาข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม และเหล็ก/เหล็กกล้า สนับสนุนผู้ประกอบการ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับมาตรการ (Carbon Adjustment Mechanism, CBAM)
  4. พัฒนาแพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน สนับสนุนเป้าหมายของโมเดล BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน
  5. พัฒนาฐานข้อมูลและค่ากลางขยะอาหาร (Food Waste) จากแหล่งกำเนิดต้นทางของประเทศ ให้กับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) สนับสนุนการจัดทำ (ร่าง) แผนที่นำทางการจัดการขยะอาหาร (พ.ศ. 2566 – 2573) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

โครงการที่ 1

 พัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. ฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องด้าน CO2, CE และ SDG เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายของหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
  2. ฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกในการรองรับรับมาตรการ CBAM เพื่อสนับสนุนภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน

แผนงาน

  1. พัฒนาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อมูลค่าเพิ่ม (GHG emission per value added) และการบริโภคพื้นฐานต่อการใช้ทรัพยากร (Material Footprint, MF)
  2. พัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ ดัชนีการหมุนเวียนวัสดุ (Material Circularity Index, MCI) ในผลิตภัณฑ์เป้าหมาย (พลาสติก วัสดุก่อสร้าง และเกษตร-อาหาร)
  3. พัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตระดับประเทศให้ทันสมัยและเหมาะสมในบริบทของไทย ได้แก่ ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม เพื่อรองรับมาตรการ CBAM จากฐานข้อมูลในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าเป้าหมาย

โครงการที่ 2

แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบบริหารจัดการข้อมูล Food loss & Food Waste ของประเทศ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายของโมเดล BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน
  2. ฐานข้อมูลและค่ากลางขยะอาหาร (Food Waste) จากแหล่งกำเนิดต้นทางประเภทธุรกิจค้าปลีก รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลขยะอาหารกับข้อมูลการสูญเสียอาหาร เพื่อผลักดันให้เกิดระบบบริหารจัดการข้อมูล Food loss & Food Waste ของประเทศ

แผนงาน

  1.  พัฒนาแพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเก็บข้อมูล ติดตาม และรายงานผลตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามข้อมูลตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
  2. พัฒนาฐานข้อมูลและค่ากลางของขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดต้นทางประเภทธุรกิจค้าปลีก รวมถึงพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชันติดตามประเมินปริมาณขยะอาหาจากแหล่งกำเนิดต้นทาง ด้วยเทคโนโลยีการประมวลด้วยภาพถ่าย (Image Processing) และระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ที่สามารถแสดงตำแหน่งที่ตั้งและปริมาณขยะของแต่ละแหล่งกำเนิด
  3. เชื่อมโยงข้อมูลขยะอาหาร (Food Waste) กับข้อมูลการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ของประเทศ

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. ฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกกลุ่มอะลูมิเนียม และเหล็ก/เหล็กกล้า
  2. แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเน้น 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พลาสติก วัสดุก่อสร้าง และเกษตร-อาหาร
  3. แอปพลิเคชันติดตามประเมินปริมาณขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดต้นทาง

แพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการและผู้สูงอายุ

แพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการและผู้สูงอายุ

แพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการ (Accessible Information And Communication Platform) มีเป้าหมายลดอุปสรรคในการเข้าถึงโลกดิจิทัล ของกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ ใน 3 เรื่อง คือ ช่วยให้เข้าถึงการสื่อสาร, ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และช่วยให้เข้าถึงบริการดิจิทัล โดยแพลตฟอร์มมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบบริการ ดังนี้

  1. บริการถ่ายทอดการสื่อสาร เป็นบริการล่ามทางไกลที่ช่วยคนพิการทางการได้ยินและคนพิการทางการพูด สามารถสื่อสารผ่านบริการโทรคมนาคมพื้นฐานกับคนปกติได้
  2. บริการคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลา (Real Time) เป็นบริการแปลงเสียงเป็นข้อความแบบทันต่อเวลา ที่ช่วยคนพิการทางการได้ยินและผู้สูงอายุ สามารถเข้าใจเนื้อหาข้อมูลในการประชุมสัมมนาหรือรายการโทรทัศน์ได้
  3. บริการสื่ออ่านง่าย (Easy Read) เป็นบริการสร้างสื่อที่นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ชัดเจน เรียบง่ายและเข้าถึงได้ง่าย ที่ช่วยบุคคลที่มีปัญหาทางด้านการรับรู้ เช่น บุคคลออทิสติก บุคคลบกพร่องทางสติปัญหา บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ และกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการศึกษา ให้สามารถเข้าใจรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้
  4. บริการตรวจสอบการเข้าถึงบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และบริการโทรทัศน์ สำหรับคนพิการตามมาตรฐานสากล เป็นบริการที่ช่วยตรวจสอบการเข้าถึงบริการด้านดิจิทัล ได้แก่ เว็บไซต์ โมบายล์แอปพลิเคชัน และโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงบริการให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ด้วยตนเอง

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

ผู้ได้รับ/ผู้ใช้ประโยชน์ รวม 3.15 ล้านคน ได้แก่ คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางการเห็น คนพิการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ คนไร้กล่องเสียง และผู้สูงอายุ เป็นต้น และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้หน่วยงาน 5 หน่วยงาน เพื่อให้มีช่องทางที่ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลตามศักยภาพของความสามารถ

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

แพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการ ที่ประกอบด้วย 4 บริการ โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้หน่วยงาน 5 หน่วยงานนำไปใช้บริการ


ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. มีแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อบริการสื่อดิจิทัลอ่านง่ายสำหรับนักเรียนออทิสติก นักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา และนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับคลังสื่อดิจิทัลและซอฟต์แวร์สำหรับนักเรียนพิการทุกประเภท และมีคลังคำศัพท์อ่านง่ายและภาพที่เข้าใจง่าย จำนวน 1 ฐานข้อมูล
  2. มีสื่อดิจิทัลที่เข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้า โดยมีล่ามภาษามือ และคำบรรยายแทนเสียง (Caption) จำนวน 1,200 เรื่อง
  3. มีบริการล่ามภาษามือทางไกลและคำบรรยายแทนเสียงประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียน 200 ชั่วโมง

แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง (Traffy Fondue)

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริการข้อมูลเมืองที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่น ๆ สำหรับบริหารเมือง/ชุมชน/นิคม ได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องพึ่งพิงระบบที่มีการพัฒนาและจำหน่ายจากต่างประเทศ โดยความสามารถของ platform ให้ครอบคลุมมิติการใช้งานมากยิ่งขึ้น และถูกขยายผลลงไปใช้ในพื้นที่จริง ในปี 2566 มีหน่วยงานรับแจ้งในระบบรวม 10,400 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย เทศบาล 1,300 หน่วยงาน และองค์การบริหารส่วนตำบล 1,800 หน่วยงาน ครอบคลุมการใช้งานทั่วประเทศ โดยมี 14 จังหวัดที่เข้าร่วมใช้งานทุกหน่วยราชการ ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ เช่น อปท. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงการอุดมศึกษาฯ และ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ (มทร. มร.)

บริษัท Fondee หน่วยงานเอกชนที่เป็นเครือข่ายในการใช้งานระบบ โดยจะขยายขอบเขตการให้บริการภาครัฐ อย่างก้าวกระโดดครอบคลุมความต้องการใช้งานที่หลากหลาย เน้นงานขึ้นทะเบียน/รับแจ้งปัญหา เริ่มให้บริการภาคธุรกิจ ยกระดับการให้บริการเพิ่มขึ้น

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมรวม 500 ล้านบาท จากการลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานจากการรับแจ้งปัญหาล่าช้าและไม่ครบถ้วน และผู้รับบริการจากการแจ้งปัญหาและติดตาม รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงต่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม จากแพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง ที่เชื่อมโยงประชาชนเข้ากับหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ (ล้านบาท)

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

ดำเนินการเพื่อส่งมอบการใช้ประโยชน์จริง ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 หน่วยงาน