การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาม่วนชื่น

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี รายได้ก้าวพ้นเส้นความยากจนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ BCG ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีอัตลักษณ์ผ่านมาตรฐาน กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของผู้มีรายต่ำกว่าเส้นความยากจน (มีรายได้มากกว่า 40,000 บาท/คน/ปี) เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

โครงการที่ 1

การยกระดับเกษตรอินทรีย์/อาหารปลอดภัยด้วย BCG Economy

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

เกิดการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย จำนวน 18,000 คน มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. สินค้าเกษตรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับการยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG (50 ผลิตภัณฑ์)
  2. สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ (500 ล้านบาท)
  3. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (18,000 คน)

โครงการที่ 2

การยกระดับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย BCG Economy

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

เกิดการยกระดับรายได้จากการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาต่อยอดขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจฐานรากจำนวน 3,500 คน มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (3,500 คน)
  2. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร้อยละ 50 มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. เกษตรกร/ผู้มีรายได้น้อยพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับประสิทธิภาพ การผลิตจำนวน 5,000 คน
  2. ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดธุรกิจ 5 ผลิตภัณฑ์
  3. เกษตรกร/ผู้มีรายได้น้อยอย่างน้อยร้อยละ 5 ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างรายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  4. สร้างผลลัพธ์ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท

แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (FoodSERP)

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบอาหารฟังก์ชัน เวชสำอาง และ Functional Ingredients และให้บริการแบบ One-Stop Service โดยอาศัยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มีความพร้อม โครงสร้างพื้นฐานโรงงานต้นแบบที่มีมาตรฐานการผลิต เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบที่ทันสมัยและความเชี่ยวชาญของทีมบุคลากรที่ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารใหม่และผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ให้ถึงมือผู้บริโภคมากกว่า 1 ล้านคน ผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมหรือวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมการผลิตส่วนผสมฟังก์ชันจากทรัพยากรชีวภาพของประเทศอย่างยั่งยืน

ประกอบด้วย 2 พันธกิจหลัก ได้แก่

  1. นวัตกรรมอาหารฟังก์ชัน อาหารเฉพาะทาง และอาหารอนาคต (Innovation Of Functional Foods, Specific Foods And Future Foods): มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเทรนด์ตลาด
  2. แพลตฟอร์มบริการผลิตและทดสอบผลิตภัณฑ์อาหาร เวชสำอาง และส่วนผสมฟังก์ชัน (Platform Of Production And Testing Services For Foods, Cosmeceuticals And Functional Ingredients) : มุ่งเน้นให้บริการพัฒนา/นวัตกรรมกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน ให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน อาหาร และเวชสำอางตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะของลูกค้า ในรูปแบบ One-Stop Service ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบและมาตรฐาน และหน่วยงานภาควิชาการ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ระดับอุตสาหกรรม มากกว่า 1,000,000 คน สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม 1,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. การให้บริการพัฒนา/นวัตกรรมกระบวนการผลิต นวัตกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน ให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน อาหาร และเวชสำอางตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะของลูกค้า ในรูปแบบ One-Stop Service ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบและมาตรฐาน และหน่วยงานภาควิชาการ
  2. ผลิตภัณฑ์ระดับอุตสาหกรรม ที่เกิดจากการให้บริการพัฒนากระบวนการ/ผลิตภัณฑ์ การผลิต และทดสอบผลิตภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์)
  3. ผู้ประกอบการที่ใช้บริการ (ราย)

นวัตกรรมการผลิตสารสกัดเพิ่มมูลค่า

ในภาพรวมของสมุนไพรไทย มีมูลค่าการตลาดในปี 2566 เป็นจำนวนถึง 52,104.3 ล้านบาท โดยโอกาสทางธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูง ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2570 จะมีมูลค่าการตลาดถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งมีกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ทั้งด้านอาหารเสริมพร้อมดื่ม เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้รักษาอาการไอ หวัด แพ้อากาศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั่วไป ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบเนื่องจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบพืชพรรณสมุนไพร มีภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ แต่สมุนไพรไทยก็มีอุปสรรค ได้แก่

  1. คุณภาพของวัตถุดิบมีความแปรปรวน ความไม่สม่ำเสมอของปริมาณสารสำคัญ และการปนเปื้อนของโลหะหนักและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กระบวนการผลิตสารสกัดยังให้ปริมาณสารสำคัญน้อย และใช้สารเคมีในการสกัดสูง รวมถึงขาดระบบการผลิตสารสกัดมาตรฐานสำหรับการสกัดในระดับอุตสาหกรรม
  2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรยังมีจำนวนน้อย และผลิตภัณฑ์อาศัยเพียงความเชื่อและความรู้สึกตอบสนองของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่หรือเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาช่วยยืนยันคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย

จากปัญหาและอุปสรรคของสมุนไพรดังกล่าว การพัฒนานวัตกรรมการผลิตสารสกัดเพิ่มมูลค่า เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความงามอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานจากสมุนไพรโดยมีสมุนไพรนำร่อง 3 ชนิดได้แก่ กระชายดำ บัวบก และกะเพรา เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร อุตสาหกรรมสารสกัด และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสมุนไพรไทย สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเอกชนให้สามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐาน ผลักดันให้เกิด “Hub of Thai Herbal Extract” ในการส่งเสริมพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและคว้าโอกาสตลาดสมุนไพรให้กับประเทศอย่างยั่งยืน

โครงการที่ 1

นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานกะเพรา เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

สร้างรายได้ของผู้ประกอบการไทยจากนวัตกรรมจากสารสกัดมาตรฐาน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่า ในปี 2571 จากปีที่เริ่มมีรายได้ (ปี 2569)

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผลิตภัณฑ์อาหาร สารแต่งกลิ่นรสผงแห้งจากสารสกัดกะเพรา (ผลิตภัณฑ์)
  2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลดสภาวะเครียด (Anti Stress) จากสารสกัดมาตรฐานกะเพรา (ผลิตภัณฑ์)
  3. กระบวนการผลิตสารสกัดมาตรฐานกะเพรา ระดับอุตสาหกรรม (กระบวนการ)

โครงการที่ 2

การขยายผลนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานกระชายดำ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

สร้างรายได้ของผู้ประกอบการไทยจากนวัตกรรมจากสารสกัดมาตรฐาน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่าในปี 2571 จากปีที่เริ่มมีรายได้ (ปี 2568)

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดมาตรฐานกระชายดำ (ผลิตภัณฑ์)
  2. ผลิตภัณฑ์ต้านการอักเสบจากสารสกัดกระชายดำ (ผลิตภัณฑ์)
  3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชะลอวัย ลดไขมัน/น้ำตาล ในเลือด (Antiobesity/Hypoglycemia) จากสารสกัดมาตรฐานกระชายดำ (ผลิตภัณฑ์)
  4. กระบวนการผลิตสารสกัดมาตรฐานกระชายดำระดับอุตสาหกรรม (กระบวนการ)

โครงการที่ 3

การเพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานบัวบกด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

สร้างรายได้ของผู้ประกอบการไทยจากนวัตกรรมจากสารสกัดมาตรฐาน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่าในปี 2571 จากปีที่เริ่มมีรายได้ (ปี 2568)

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดบัวบก (ผลิตภัณฑ์)
  2. ผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบของสิว (Anti-Acne) จากสารสกัดบัวบก (ผลิตภัณฑ์)
  3. ผลิตภัณฑ์ยาทาสมานแผลจากสารสกัดบัวบก (ผลิตภัณฑ์)
  4. กระบวนการผลิตสารสกัดมาตรฐานบัวบกระดับอุตสาหกรรม (กระบวนการ)

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1.  สารสกัดมาตรฐานของกระชายดำ สำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging)
  2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและขยายผลสารสกัดมาตรฐานของกระชายดำสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง
  3. ต้นแบบผลิตภัณฑ์ต้านการอักเสบจากสารสกัดกระชายดำ
  4. ผงแต่งกลิ่นจากสารสกัดกะเพรา เสมือนกลิ่นกะเพราสด
  5. ขยายขนาดกระบวนการกักเก็บกลิ่นกะเพรา ที่มีกลิ่นเสมือนกะเพราสดในระดับอุตสาหกรรม
  6. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง /เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging) / เวชสำอางต้านสิว (Anti-Acne) จากอนุภาคนำส่งสารสกัดบัวบก
  7. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและขยายผลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง / เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging) จากอนุภาคนำส่งสารสกัดบัวบก ร่วมกับผู้ประกอบการ
  8. อนุภาคกักเก็บสารสกัดกะเพราลดกรด/ลดความเครียด

การเลือกหมวกนิรภัยสำหรับเด็ก

“หมวกนิรภัยสำหรับเด็ก” เลือกอย่างไรให้เหมาะสม ใช้ได้อย่างปลอดภัย มาดูพร้อมๆกันครับ

เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะครับ

 

ทำไมการแสดงข้อมูล (data visualization) เป็นเรื่องยาก

มี 3 เหตุผล ที่อธิบายทำไมการแสดงข้อมูลเป็นเรื่องยาก

1. การมีให้ของข้อมูล ข้อมูลที่ดีสำหรับการแสดงไม่ง่ายที่จะค้นพบ เมื่อค้นพบ ยังคงต้องการข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่ทำงานร่วมกันได้ จัดทำเป็นเอกสารและอนุญาตอย่างเหมาะสมเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่และพร้อมใช้ ดังนั้นมีการจัดการข้อมูลอยู่เบื้องหลังและหลายสิ่งจำเป็นต้องเกิดขึ้นก่อนที่ข้อมูลมีให้เพื่อการแสดง

2. การออกแบบการแสดง ไม่ใช่ทุกคนสามารถทำการแสดงข้อมูล ต้องการการประยุกต์ใช้การออกแบบและความเข้าใจหลักการออกแบบที่ให้รายละเอียดและมีการใช้อย่างมาก การออกแบบต้องการประสบการณ์ของผู้ใช้และการพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่ใน browsers และเครื่องมือทางดิจิทัล

ดังนั้นไม่เพียงมีข้อจำกัดของทักษะ แต่ต้องการปรับใช้การแสดงในเทคโนโลยีที่จำเพาะ ไม่เหมือนเมื่อกำลังใช้การแสดงบน laptop หรือโทรศัพท์มือถือ หรือ tablet การแสดงที่แตกต่างกันต้องการประเภทการออกแบบที่แตกต่างกัน ในองค์กรขนาดใหญ่ ไม่เสมอไปมีความสามารถเหล่านี้

3. การเข้าถึงและเข้าใจข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงเป็นตัวสำคัญหลัก มีหลายสิ่งที่ลืมในเรื่องของความสามารถในการเข้าถึง ตัวอย่าง เช่น ผู้ใช้ที่มีความผิดปกติของการมองเห็น ต้องออกแบบสำหรับคนเหล่านั้นด้วย

นอกจากสามารถแก้ปัญหาความสามารถในการเข้าถึง ผู้ใช้ต้องเข้าใจสิ่งที่นำเสนอด้วย ในหลายหนทางการแสดงข้อมูลยากมากเกินไป มีกราฟ การโต้ตอบมากเกินไปในการแสดงข้อมูล ต้องทำให้ข้อความอยู่ในรูปที่ง่าย

ที่มา: Holly Lyke-Ho-Gland (August 1, 2022). Better Data Visualization Starts With Simplifying the Message. Retrieved September 23, 2023, from https://www.apqc.org/blog/better-data-visualization-starts-simplifying-message