หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ ยีสต์มีการแปลรหัสดีเอ็นเอเป็นแบบสุ่มได้เป็น 2 แบบ
ยีสต์มีการแปลรหัสดีเอ็นเอเป็นแบบสุ่มได้เป็น 2 แบบ
21 ส.ค. 2561
0
นานาสาระน่ารู้

คณะนักวิจัยจาก Milner Centre for Evolution ที่ University of Bath และ Max-Planck Institute for Biophysical Chemistry ที่ Gottingen ประเทศเยอรมัน ค้นพบเป็นครั้งแรกยีสต์ใช้การแปลรหัสดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน 2 แบบโดยการสุ่ม การค้นพบนี้ถูกเผยแพร่ในวารสาร Current Biology

ยีสต์ที่มีชื่อว่า Ascoidea asiatica สามารถแปลรหัส CTG เป็นกรดอะมิโน serine หรือ leucine แบบสุ่มเหมือนโยนเหรียญหัวก้อย เพื่อทำให้เข้าใจว่ากลไกนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร คณะนักวิจัยศึกษา tRNA (ตัวแปลรหัสดีเอ็นเอโดยอ่านรหัสแล้วนำกรดอะมิโนมาต่อกันเป็นโปรตีน)

ดร. Martin Kollmar หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าวว่า A. asiatica มี 2 ชนิด ของ tRNA สำหรับรหัส CTG หนึ่งชนิดเชื่อมติดกับ leucine และอีกหนึ่งชนิดเชื่อมติดกับ serine ดังนั้นเมื่อแปลรหัส CTG จะมีการสุ่มหยิบหนึ่งชนิดจากสองชนิดของ tRNA ดังนั้นหยิบแบบสุ่มระหว่าง serine และ leucine

ดร. Stefanie Muhlhausen หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าวเพิ่มว่า การเปลี่ยนจาก luecine เป็น serine สามารถทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในโปรตีนเนื่องจากทั้งสองกรดอะมิโนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน serine พบบ่อยๆ บนผิวของโปรตีนในขณะที่ leucine ไม่ชอบน้ำจะฝังตัวอยู่ภายในโปรตีน ยีสต์นี้แก้ปัญหาการแปลรหัสแบบสุ่มได้อย่างไร พบว่า A. asiatica มีการใช้รหัส CTG ไม่บ่อยและหลีกเลี่ยงส่วนสำคัญของโปรตีน

ที่มา: University of Bath (2018, June 14). Microbe breaks ‘universal’ DNA rule by using two different translations. ScienceDaily. Retrieved August 10, 2018, from https://www.sciencedaily.com/releases/2018/06/180614213814.htm

21 ส.ค. 2561
0
แชร์หน้านี้: