หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รูบริคสำหรับประเมินคลัง OER (Open Education Resource Repository)
รูบริคสำหรับประเมินคลัง OER (Open Education Resource Repository)
26 พ.ค. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

BCOER Librarians Working Group พัฒนารูบริค (Rubric) หรือเกณฑ์ประเมินเพื่อใช้ในกระบวนการประเมินคลังของแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Education Resource Repository : OERR) โดยครอบคลุม 8 ประเด็น ได้แก่

  1. การตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
  2. การรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย
  3. การเข้าถึงและความหลากหลาย
  4. การใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน
  5. ความครอบคลุมด้านเนื้อหา
  6. การรองรับฟังก์ชั่นการค้นหาและการไล่เรียงดู
  7. ความหลากหลายของประเภทสื่อ
  8. การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และการอนุญาตให้ใช้งาน

โดยแต่ละประเด็นจะแบ่งการประเมินเป็น 3 ระดับ

1. การตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ความรู้และความเชี่ยวชาญ ชื่อเสียง และความสัมพันธ์ที่ผู้สร้างสรรค์หรือสถาบันมีต่อ OER และ เนื้อหาสาระที่ครอบคลุมใน OERR แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ 3
    • เนื้อหา OERR ถูกตรวจสอบ peer reviewed โดยผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาหรือหัวข้อนั้นๆ
    • OERR มีส่วนเกี่ยวข้องกับหรือร่วมกันกับสถาบันอุดมศึกษา
  • ระดับ 2
    • เนื้อหา OERR ถูกตรวจสอบโดยผู้ที่มีประสบการณ์ในสาขาหรือหัวข้อนั้นๆ เช่น บรรณาธิการวารสาร
    • OERR มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ให้บริการด้านการศึกษา
  • ระดับ 1
    • เนื้อหา OERR ไม่มีมาตรฐานการตรวจสอบที่เห็นได้
    • OERR ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันหรือองค์กรที่คุณสมบัติ

2. การรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาและรวบรวม OER ใน OERR ที่รองรับกลุ่มผู้ใช้งาน ตามอายุ ประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญ

  • ระดับ 3
    • เนื้อหา OERR ถูกจัดระเบียบและสามารถเข้าถึงได้ตามประเภทหรือกลุ่มผู้ใช้
    • เนื้อหา OERR ประกอบด้วย OER ส่วนใหญ่ที่พัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียน นักศึกษา และนักวิชาการในระดับอุดมศึกษา
  • ระดับ 2
    • เนื้อหา OERR จัดหมวดหมู่ตามประเภทหรือกลุ่มผู้ใช้ แต่การเข้าถึงมีข้อจำกัด เช่น OERR รองรับการไล่เรียงดู OER และเนื้อหาในระดับปริญญาตรี แต่ไม่รองรับการค้นหาโดยจำกัดกลุ่มผู้ใช้ได้
    • เนื้อหา OERR ประกอบด้วย OER ที่พัฒนาขึ้นสำหรับทุกระดับการศึกษา
  • ระดับ 1
    • เนื้อหา OERR ไม่มีการจัดการหมวดหมู่ตามประเภทหรือกลุ่มผู้ใช้
    • เนื้อหา OERR ประกอบด้วย OER ส่วนน้อยที่พัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียน นักศึกษา และนักวิชาการในระดับอุดมศึกษา

3. การเข้าถึงและความหลากหลาย
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ความพร้อมใช้งานและการจัดเตรียม OER และเนื้อหา สำหรับสไตล์และความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างและหลากหลายของผู้ใช้

  • ระดับ 3
    • OERR มีรูปแบบทางเลือกอื่นสำหรับ OER ที่อัพโหลด เช่น วิดีโอและการถอดเสียงเป็นตัวหนังสือเพื่ออ่าน
    • OERR มี OER และเนื้อหาที่รองรับความหลากหลายของเพศ ภาษา การแสดงออกทางวัฒนธรรม และแนวทางการศึกษาของผู้ใช้
  • ระดับ 2
    • OERR มีรูปแบบทางเลือกอื่นบางส่วนสำหรับ OER ที่อัพโหลด
    • OERR มี OER และเนื้อหาที่รองรับความหลากหลายของเพศ ภาษา การแสดงออกทางวัฒนธรรม และแนวทางการศึกษาของผู้ใช้ เพียงส่วนน้อย
  • ระดับ 1
    • OERR ไม่รูปแบบทางเลือกอื่นสำหรับ OER ที่อัพโหลด
    • OERR ไม่มี OER และเนื้อหาที่รองรับความหลากหลายของเพศ ภาษา การแสดงออกทางวัฒนธรรม และแนวทางการศึกษาของผู้ใช้

4. การใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ อุปสรรคในการเข้าถึงและใช้ OER

  • ระดับ 3
    • ไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ เพื่อเข้าถึง OER และเนื้อหาใน OERR
    • OERR ทำงานได้กับทุกระบบปฏิบัติการและเว็บเบราว์เซอร์ที่หลากหลาย
    • OERR ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้งาน
    • การนำทาง (Navigation) ใช้งานง่าย
  • ระดับ 2
    • ต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าถึง OER และเนื้อหาบางส่วนใน OERR
    • OERR มี OER และเนื้อหาบางอย่างที่จำกัดสำหรับบางระบบปฏิบัติการหรือเว็บเบราว์เซอร์
    • OERR มีค่าธรรมเนียมการเข้าถึง OER และเนื้อหาบางอย่าง
    • การนำทาง (Navigation) ต้องการการทดลองใช้งานและมีข้อผิดพลาดในการใช้งาน
  • ระดับ 1
    • ต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าถึง OER และเนื้อหาใน OERR
    • ERR จำกัดอยู่ที่ระบบปฏิบัติการหรือเว็บเบราว์เซอร์ที่เฉพาะเจาะจง
    • OERR มีค่าธรรมเนียมการเข้าถึง OER และเนื้อหา
    • การนำขัดข้อง (Navigation) และ/หรือต้องการคำแนะนำปรับปรุงเพิ่มเติม

5. ความครอบคลุมด้านเนื้อหา
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ความลึกของความครอบคลุมด้านเนื้อหาของ OER

  • ระดับ 3
    • OERR มีเนื้อหาที่ครอบคลุมภายในสาขาวิชานั้นๆ
    • OERR เชื่อมโยงแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องภายในหัวข้อและสาขาวิชานั้นๆ หมายความถึง เมื่อค้นหา OER ในหัวข้อหนึ่ง OERR จะมีการเชื่อมโยงไป OER อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในผลการค้นหา
  • ระดับ 2
    • OERR มีเนื้อหาที่ครอบคลุมบางส่วนในสาขาวิชานั้นๆ เช่น มี OER เรื่องชีววิทยาของเซลล์ แต่มีเนื้อหาเรื่องชีววิทยาโมเลกุลน้อย
    • OERR เชื่อมโยงแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องบางส่วนภายในหัวข้อและสาขาวิชานั้นๆ
  • ระดับ 1
    • OERR ไม่มีเนื้อหาที่ครอบคลุมในเรื่องใดๆ ในเชิงลึก
    • OERR ไม่เชื่อมโยงแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องภายในหัวข้อและสาขาวิชานั้นๆ

6. การรองรับฟังก์ชั่นการค้นหาและการไล่เรียงดู
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ฟังก์ชั่นการค้นหาของ OERR เช่น การค้นหาขั้นสูง (Advanced search) การค้นหาขั้นพื้นฐาน (Basic search) และการตัดทอน (Truncation) เพื่อช่วยผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลามากเกินไปในการไล่เรียงดู

  • ระดับ 3
    • OERR มีฟังก์ชั่นการค้นหาขั้นสูงพร้อมตัวจำกัดสำหรับประเภทของกลุ่มผู้ใช้ หัวเรื่อง ประเภทของสื่อ และการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และการอนุญาตให้ใช้งาน
    • OERR มีฟังก์ชันการไล่เรียงดูสำหรับประเภทของกลุ่มผู้ใช้ หัวเรื่อง ประเภทของสื่อ และการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และการอนุญาตให้ใช้งาน
    • การค้นหาและเรียกดู OERR ให้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ระดับ 2
    • OERR มีฟังก์ชันการค้นหาขั้นสูงและตัวจำกัดให้เลือกได้
    • OERR มีฟังก์ชันการไล่เรียงดูแต่อาจจำกัด เช่น สามารถเลือกไล่เรียงดูตามประเภทของกลุ่มผู้ใช้ แต่ไม่สามารถเลือกไล่เรียงดูตามประเภทของสื่อ
    • การค้นหาและเรียกดู OERR ให้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องบางส่วน
  • ระดับ 1
    • OERR ไม่มีฟังก์ชั่นการค้นหาขั้นสูง แต่อาจมีฟังก์ชันการค้นหาขั้นพื้นฐาน
    • OERR ไม่มีฟังก์ชั่นการไล่เรียงดูตามหมวดหมู่
    • การค้นหาและเรียกดู OERR ให้ผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง

7. ความหลากหลายของประเภทสื่อ
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ประเภทของสื่อ (เช่น วิดีโอ เสียง ข้อความ ภาพ และอื่นๆ) ใน OERR

  • ระดับ 3
    • OERR มีความหลากหลายของประเภทของสื่ออย่างมาก
  • ระดับ 2
    • OERR มีความหลากหลายของประเภทของสื่อบ้างบางส่วน
  • ระดับ 1
    • OERR มีความหลากหลายของประเภทของสื่อน้อย

8. การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และการอนุญาตให้ใช้งาน

  • ระดับ 3
    • OERR อนุญาตให้แชร์ แก้ไข และปรับเปลี่ยน OER ภายใต้ข้อจำกัดบางประการ เช่น
      • ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน (CC-BY-SA) หรือ
      • ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)
    • OERR ได้รับการคุ้มครองโดยสัญญาอนุญาตที่เข้มแข็งและเข้าใจง่าย (เช่น Creative Commons หรือ GNU)
  • ระดับ 2
    • OERR อนุญาตให้แชร์ แต่ไม่อนุญาตให้ดัดแปลงหรือแก้ได้ เช่น
      • ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND) หรือ
      • ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC-ND)
    • OERR ได้รับการคุ้มครองโดยสัญญาอนุญาตที่เข้มแข็งและเข้าใจง่าย (เช่น Creative Commons หรือ GNU)
  • ระดับ 1
    • OERR อนุญาตให้แชร์เพื่อการศึกษาเท่านั้น
    • OERR ไม่อนุญาตให้แก้ไขหรือดัดแปลง
    • OERR อยู่ภายใต้ข้อกำหนดการใช้งานที่คลุมเครือหรือไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ข้อกำหนดเว็บไซต์ในการให้บริการ

ที่มา

BCOER Librarians Working Group. (2015). Open Education Resource Repository (OERR) Rubric.
https://open.bccampus.ca/files/2014/07/OERR-Rubric.pdf

26 พ.ค. 2563
0
แชร์หน้านี้: