หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ การจัดการความรู้ (KM) ปาฐกถาพิเศษ “SOCIAL INNOVATION 4 ALL” โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
ปาฐกถาพิเศษ “SOCIAL INNOVATION 4 ALL” โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
21 ต.ค. 2562
0
การจัดการความรู้ (KM)

ปาฐกถาพิเศษ SOCIAL INNOVATION 4 ALL
โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์)

“ประเทศไทยเคยทำ Made in Thailand ปัจจุบันเราอาจจะต้องลุกขึ้นมาทำ Innovation in Thailand” ประเทศไทยในปัจจุบันนี้มีกระแสต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย

  • กระแสที่ 1 : Globalization หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่คนในเมืองมีความหลากหลาย เมืองหลายๆ เมืองกลายเป็นที่มีความหลากหลายของผู้คนที่ต่างเชื้อชาติมาอยู่ร่วมกัน เมืองที่มีความหลากหลายนี้จะเสน่ห์ถ้าสามารถมีนวัตกรรมดีๆ ออกมา แต่เมืองอาจจะไม่มีก็ได้หากความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถที่จะมีความฝันร่วมกันได้
  • กระแสที่ 2 : Digitization การเป็นเมืองสมัยใหม่นั้นจะทำอย่างไรให้อยู่บน diital platform ส่วนนึงแน่นอนว่าจะต้องเป็นเรื่องของเทคโนโลยี แต่เรื่องของคนกับเทคโนโลยีจะปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรในสังคมเมือง นวัตกรรมทางสังคมจะต้องมาตอบโจทย์เรื่องนี้ได้อย่างไร
  • กระแสที่ 3 : Urbanization กระแสของสังคมเมือง ที่เราจะเห็นภาพได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้วคนมากกว่า 50% ของโลกอาศัยอยู่ในเมืองแล้ว แสดงว่าเมืองต่อไปจะมีความสำคัญมากขึ้น แต่กระแสของสังคมเมืองที่มีคนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมากมายและหลากหลาย หากปราศจากการบริหารจัดการที่ดีเมืองจะกลายเป็น “เมกะสลัม” แต่ถ้าหากมีการบริหารจัดการที่ดีจะกลายเป็นเมืองที่น่าอยู่
  • กระแสที่ 4 : Individualization ความเป็นปัจเจกของคน เมื่อกระแสทั้ง 3 ในข้างต้นเริ่มก่อตัวมากขึ้น คนมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ความเป็นปัจเจกของคนคือต่างคนต่างอยู่ ถ้าต่างคนต่างอยู่แล้วจะทำให้เมืองนั้นมีความน่าอยู่ได้อย่างไร

จากกระแสของเมืองที่เติบโตขึ้นทั้ง 4 กระแสข้างต้นนั้นเป็นโจทย์ที่น่าสนใจ แต่ทั้งหมดนี้โลกของความเชื่อมโยงอย่างที่ไม่เคยมีในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมือง มันทำให้เรียกว่า Commonization คือทุกอย่างอยู่ใน Common สุขก็สุขอยู่ด้วยกัน ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน เพราะฉะนั้นคำถามคือแล้วเราจะมีคำตอบให้สามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในสังคมเมืองนี้ได้อย่างไร

การที่จะทำให้เมืองนั้นน่าอยู่เมืองจะต้ององค์ประกอบดังนี้

  • Economic well เมืองต้องมีพลวัฒน์ทางด้านเศรษฐกิจ
  • Social well being เมืองต้องเป็นสังคมที่น่าอยู่
  • Environmental wellness เมืองจะต้องมีสิ่งแวดล้อที่มีความสุข

ความเป็นเมืองนั้นประกอบไปด้วยผู้คนดังนี้เราต้องการให้ผู้คนมารังสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน เพราะแะนั้นเรื่องของ Human Wisdom มีความสำคัญ ดังนั้นจึงได้มีกรอบแนวคิดในการที่จะตอบโจทย์ Innovation in the City ออกเป็น Value Chain 3 อันด้วยกัน

  1. จะทำให้เกิดได้จะต้องจุดกระแสของการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนไหวของผู้คนเรียกว่า Civic movement นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้นั้นไม่ใช่เกิดจากความคิดของคนบางคนเท่านั้น แต่มันต้องเกิดจากความคิดของผู้คนที่ทุกคนมีส่วนที่จะมาช่วยกันรังสรรค์ขึ้นมา
  2. การที่จะทำให้เกิดกระแสของการรังสรรค์นวัตกรรมร่วมกันนั้นจะต้อง empower people จะต้องเติมพลังให้คนในเมือง ในสังคม
  3. Engage ให้คนมีส่วนร่วมในการรังสรรค์นวัตกรรม

ทั้ง 3 Value Chain คือโจทย์ที่ว่าจากนี้ไปหากอยากให้เมืองน่าอยู่เราจะทำให้เกิด Civic Movement เราจะทำอย่างไร เราจำเป็นที่จะต้องมี 2 สิ่งคือ People empowerment กับ People engagement หลังจากนั้นเมื่อมี Civic Movement การเคลื่อนไหวต่างๆ จะนำมาสู่เรื่องของนวัตกรรมในเมืองที่เราเรียกว่า Civic Innovation เพราะฉะนั้นคำถามคือ เราจะให้ประชาชนในเมือง Co-Create ด้วยกัน รังสรรค์นวัตกรรมของเมืองขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้การมีชีวิตอยู่ในสังคมยุคศตวรรษที่ 21 เป็นไปได้อย่างไร เป็นโจทย์ที่น่าสนใจและท้าทายเป็นอย่างยิ่ง

จุดสุดท้ายที่อยากจะทำนวัตกรรมภายในเมือง หรือมี Social innovation ในเมืองเพื่ออะไรก็เพื่อคนสามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน เราอาจจะต้องเปลี่ยนโจทย์ใหม่ เมืองแต่เดิมนั้นจังหวัดต่างๆ เหมือนกับประเทศวัดกันที่ GDP แต่เมืองวัดกันที่ GPP หรือ Gross Provincial Product ฉะนั้นมิติทางเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่พอ เมืองต้องวัดกันที่ความสุข นวัตกรรมต้องนำไปสู่ความสุขของเมือง เพราะฉะนั้นจะต้องวัดกันที่ GPH หรือ Gross Provincial Happiness หมายถึงความสุขของคนในเมือง แต่เมืองจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นจะต้องดูต่อไปว่าเรื่องของ Gross district happiness คือแต่ละตำบล แต่ละเขต แต่ละอำเภอนั้นประชาชนมีความสุขมากน้อยแค่ไหน ทั้งหมดนี้เรียกว่า Value Creation ในการรังสรรค์นวัตกรรมเพื่สร้างความเป็นเมือง เริ่มตั้งแต่เรื่องของ Civic Movement ไปสู่ Civic Innovation เพื่อไปตอบโจทย์ Civic Sustainability

นวัตกรรมในเมืองน่าจะมีอะไรบ้าง เพื่อตอบโจทย์ของคนในเมืองอย่างยั่งยืนมี 4 มิติ หรือเรียกว่า 4C

C1 : Connected City เรื่องของการเชื่อมโยง
เชื่อมโยงทางกายภาพผ่าน Mobility ยกตัวอย่างการจราจรในเมืองที่แย่ มันกลายเป็นเมืองที่ไม่น่าอยู่ เราจะมีนวัตกรรมทางสังคมอย่างไรที่จะไปตอบโจทย์ที่จะทำให้ Mobility กับ Connectivity เกิดขึ้นในเมืองเพื่อให้ทุกคนได้รับความสะดวก ยกตัวอย่างประเทศสิงค์โปร์ เรื่องของ Smarter traffic system สามารถที่จะทำให้ประชาชนรู้ว่าการจราจรจะติดขัดในช่วงใด ระบบของประเทศสิงค์โปร์มีความแม่นยำในการแจ้งการจราจรถึง 90% ฉะนั้นเรื่องนี้เราจะสามารถนำนวัตกรรม นำเรื่องของความเป็น Smarter มาใช้ได้อย่างไร ในอนาคตเรากำลังจะพูดถึง 5G เพราะฉะนั้นนวัตกรรมต่างๆ จะเกิดขึ้นใน 5G อีกมากมายที่จะตอบโจทย์วิถีชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเดินทาง การศึกษา การพยาบาล สิ่งต่างๆ ที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของความสะดวก เพราะฉะนั้นวัตกรรมสิ่งแรกที่จะต้องช่วยกันคิดคือนวัตกรรมบน Connected City จะมีอะไรบ้าง

C2: Clean City เมืองสะอาด
เราอยู่ในเมืองที่น่าอยู่ แต่ ณ วันนี้ในกรุงเทพมหานคร กำลังเผชิญกับ PM2.5 เพราะฉะนั้นเรื่องของ Clean City เรื่องของเมืองสะอาดเราจะไม่พูดแค่ว่า Clean Air เพียงอย่างเดียวแต่มันเป็นเรื่องของ Zero waste คือเมืองที่มีการบริหารจัดการในเรื่องของขยะได้เป็นอย่างดี เมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ในส่วนนี้นวัตกรรมต่างๆ จะตอบโจทย์ได้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่นวัตกรรมจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวแล้ว มันจะต้องเป็นนวัตกรรม Co-Creation ที่เป็นการร่วมมือรังสรรค์นวัตกรรมร่วมกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Startup โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน และภาคชุมชน

C3: Collaborative City เมืองที่ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์กัน
เมืองที่น่าอยู่จะต้องเป็นเมืองที่ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดั้งนั้นนวัตกรรมจะต้องออกมาในแนวที่ทำให้ผู้คนนั้นมีปฏิสัมพันธ์กัน Socializebility เมืองที่น่าอยู่คือเมืองที่มีสังคม ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงเมื่อก่อนและตอนนี้เรากำลังพูดถึง Co-Working Space ซึ่งมันมีมากขึ้น แต่ในอนาคตไม่น่าจะมีแค่ Co-Working Space น่าจะมี Co-Learning Space และมี Co-Living Space ที่จะอยู่ในเมืองเพราะฉะนั้นเป็นโอกาสของ Startup ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะไปตอบโจทย์ Co-Working Space ตอบโจทย์ Co-Living Space ของคนในเมืองอย่างไร ในอนาคตเมืองทุกคนมีโอกาส Share กัน มันจะได้เกิดการ sharing and caring metropolis เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยแนวคิดที่มีอยู่แล้วในบางส่วนที่เรียกว่า Open Source เรามี Open Source Software เรามี Open Source มากมาย แต่ตอนนี้เราอาจจะต้องมีเรื่องของ Open Source metropolis คือเมืองที่มันสามารถที่จะใช้ Facility ต่างๆ ที่เป็นของกลาง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะใช้และทุกคนมีสิทธิ์ที่จะ Share

C4: Creative City เมืองทุกเมืองเมื่อมีอัตลักษณ์ มีเอกลักษณ์ จะต้องมีอัตลักษณ์ในระดับของเมือง อัตลักษณ์ในระดับของชุมชน ที่จะบ่งบอกตัวตนของเมือง มีจุดขายและสามารถที่จะสร้างรายได้ให้กับคนในเมืองได้

ทั้ง 4C เป็นโอกาสที่จะสร้างเมืองในการที่ว่า C1 เป็น Connected City สามารถอำนวยความสะดวกของคนในเมืองตอบโจทย์คนในเมือง และเมื่อเชื่อมโยงกันแล้วจะต้องเกิด Collaborative คือทำอย่างไรให้คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันบนทิศทางที่อยู่บน Clean City เป็นเมืองที่น่าอยู่ แต่เป็นเมืองที่มีสีสัน สามารถทำรายได้แปลงออกมาเป็นเรื่องรายได้ต่างๆ ผ่านสิ่งต่างๆ ที่เรา Creatative City

เฮิร์บ เคน นักสื่อสารมวลชนชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า “เมืองนั้นไม่ได้วัดกันที่ความกว้างหรือความยาวของพื้นที่ แต่วัดกันที่ความกว้างของวิสัยทัศน์ และความสูงของความใฝ่ฝัน” เพราะฉะนั้นจะไม่มีทางเป็นไปได้เลยถ้าไม่ร่วมกันรังสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นร่วมกันในเมือง


อ้างอิง : ปาฐกถาพิเศษ “SOCIAL INNOVATION 4 ALL” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ [ออนไลน์]. 2019, แหล่งที่มา : ปาฐกถาพิเศษ “SOCIAL INNOVATION 4 ALL” [4 ตุลาคม 2562].

แชร์หน้านี้: