หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ สารสนเทศวิเคราะห์ วารสาร Nature:จัดอันดับบทความวิจัยตีพิมพ์ 100 อันดับแรกของโลก
วารสาร Nature:จัดอันดับบทความวิจัยตีพิมพ์ 100 อันดับแรกของโลก
25 พ.ย. 2557
0
สารสนเทศวิเคราะห์
สารสนเทศวิเคราะห์

วารสาร Nature ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2014 หน้าปก เป็นรูป เลข 100  พร้อมข้อความ The Top 100 papers  บทความหลักภายในเล่ม หน้าที่ 550-561 ชื่อเรื่อง  The top 100 papers : Nature explores the most-cited research of all time เรียบเรียง โดย ผู้แต่ง 3 ชื่อ คือ Richard Van Noorden, Brendan Maher & Regina Nuzzo เป็นการนำเสนอรายชื่อบทความงานวิจัยตีพิมพ์ 100 เรื่อง 100 อันดับแรกของโลก ที่มีอิทธิพล ในวงการวิทยาศาสตร์ ได้รับการอ้างอิงสูงสุด   ซึ่งเป็นบทความวิจัยที่ได้มีการสื่อสาร  เผยแพร่ การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของวงการวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดการพัฒนาก้าวหน้าตลอดมาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งผู้แต่งบทความส่วนใหญ่ได้รับรางโนเบลวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ อีกด้วย

nature

cover : Source : http://www.nature.com/nature/journal/v514/n7524/index.html

วารสาร Nature ร่วมมือกับบริษัท  Thomson Reuters  ทำการจัดอันดับ บทความวิจัยตีพิมพ์ 100 เรื่อง ที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด ในช่วงเวลาที่ผ่านมา  โดยคัดเลือกบทความจากฐานข้อมูล Web of Science, WOS  (Science Citation Index, SCI ในชื่อเดิม)  ซึ่งก่อตั้งโดย Eugene Garfield เมื่อปี คศ. 1964 SCI คือแหล่งข้อมูลต้นแบบในการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยจากบทความวิจัยตีพิมพ์ ( assessment of the importance of research papers) ในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี ของ  WOS

 

ปัจจุบัน ฐานข้อมูล Web of Science ครอบคลุมบทความวิจัยที่มีคุณภาพ จำนวนราว 58 ล้านเรื่อง Nature จัดแสดงเป็นรูปภาพแบบ InfoGraphics ในชื่อว่า The paper mountain โดย สมมุติว่าหากสั่งพิมพ์หน้าแรกของทุกบทความในฐานข้อมูล WOS  แล้วจัดเรียงเอกสารบทความซ้อนทับกันขึ้นไปดั่งเช่นภูเขา Kilimanjaro ในแอฟริกา  กองเอกสารจะสูงกว่า 5,000 เมตร  โดยที่ 100 บทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุดนี้  เปรียบเสมือนจุดสูงสุดของภูเขา ที่มีความหนาเพียง 1 เซ็นติเมตร  (เปรียบเทียบกับหอไอเฟล ฝรั่งเศส มีความสูง 301 เมตร และ Burj Khalifa ตึกระฟ้า ใน ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สูง 828 เมตร) หมายความว่าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีขนาดใหญ่มหึหามากเทียบได้กับภูเขาที่สูงราว 5,500 เมตร

alt

รูปภาพ InfoGraphic
http://www.nature.com/news/the-top-100-papers-1.16224#/mountain

Nature จำแนกชุดของบทความวิจัยตีพิมพ์ ตามจำนวนการได้รับการอ้างอิงเป็น 7 ชุดคือ
ชุดที่ 1 มีจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์เพียง 3 บทความ ที่ได้รับการอ้างอิง มากกว่า 100,000 ครั้ง เสมือนดั่งอยู่บนยอดสูงสุดของภูเขา คือ

  1. Protein measurement with the folin phenol reagent. (1951) – 305,148 citations
  2. Cleavage of structural proteins during the assembly of the head of bacteriophage T4.(1970)- 213,005 citations
  3. A rapid and sensitive method for the quantitation of microgram quantities of protein utilizing the principle of protein-dye binding. (1976)- 155,530 citations

ชุดที่ 2 มีจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ 148 เรื่อง ได้รับการอ้างอิง มากกว่า 10,000 ครั้ง

ชุดที่ 3 มีจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ 14,351 เรื่อง ได้รับการอ้างอิง  1,000-9,999 ครั้ง   ตัวอย่าง มีบทความวิจัยตีพิมพ์ 3 เรื่อง ในชุดนี้ ที่มีชื่อเสียงมาก คือ

  1. Watson and crick on structure of DNA (1953)- 5,207 citations
  2. Farman, Gardiner & Shanklin discover the ozone hole (1985)- 1,871 citations
  3. Hirsch propose the h index measure scientific productivity (2005)  – 1,797 citations

ชุดที่ 4 มีจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ 1,066,046 เรื่อง ได้รับการอ้างอิง 100-999 ครั้ง
ชุดที่ 5 มีจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ 13,104,875 เรื่อง ได้รับการอ้างอิง 10-99 ครั้ง
ชุดที่ 6 มีจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ 18,280,005 เรื่อง ได้รับการอ้างอิง 1-9 ครั้ง
ชุดที่ 7 มีจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ 25,332,701 เรื่อง ไม่ได้รับการอ้างอิงเลย  เป็นเอกสารที่เสมือนอยู่ดั่งฐานล่างสุดของภูเขา

วารสาร Nature รวบรวมข้อมูลชุดนี้
จาการสืบค้นฐานข้อมูล Web of science เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2014

วารสาร Nature แสดงรายชื่อบทความ 100 เรื่อง เรียงลำดับตามการได้รับการอ้างอิงสูงสุดไล่เรียงลงมา ดังตัวอย่าง 10 บทความแรก ดังนี้

บทความลำดับที่ 1 ได้รับ Citations: 305,148 ครั้ง
Protein measurement with the folin phenol reagent. Lowry, O. H., Rosebrough, N. J., Farr, A. L. & Randall, R. J.
J. Biol. Chem. 193, 265–275 (1951).

บทความลำดับที่ 2 ได้รับ Citations: 213,005 ครั้ง
Cleavage of structural proteins during the assembly of the head of bacteriophage T4.  Laemmli, U. K. Nature 227, 680–685 (1970)

บทความลำดับที่  3  ได้รับ   Citations: 155,530 ครั้ง

A rapid and sensitive method for the quantitation of microgram  quantities of protein utilizing the principle of protein-dye binding. Bradford, M. M.
Anal. Biochem. 72, 248–254 (1976).

บทความลำดับที่ 4 ได้รับ Citations: 65,335 ครั้ง
DNA sequencing with chain-terminating inhibitors.  Sanger, F., Nicklen, S. & Couslon, A. R.
Proc. Natl Acad. Sci. USA 74, 5463–5467 (1977).

บทความลำดับที่ 5 ได้รับ Citations: 60,397 ครั้ง
Single-step method of RNA isolation by acid guanidinium thiocyanate-phenol-chloroform extraction.  Chomczynski, P. & Sacchi, N.
Anal. Biochem. 162, 156–159 (1987).

บทความลำดับที่ 6 ได้รับ  Citations: 53,349 ครั้ง
Electrophoretic transfer of proteins from polyacrylamide gels to nitrocellulose sheets: procedure and some applications. Towbin, H., Staehelin, T. & Gordon, J.
Proc. Natl Acad. Sci. USA 76, 4350–4354 (1979).

บทความลำดับที่ 7 ได้รับ Citations: 46,702 ครั้ง
Development of the Colle-Salvetti correlation-energy formula into a functional of the electron density. Lee, C., Yang, W. & Parr, R. G.
Phys. Rev. B 37, 785–789 (1988).

บทความลำดับที่ 8 ได้รับ  Citations: 46,145 ครั้ง
Density-functional thermochemistry. III. The role of exact exchange.  Becke, A. D.
J. Chem. Phys. 98, 5648–5652 (1993).

บทความลำดับที่ 9 ได้รับ Citations: 45,131 ครั้ง
A simple method for the isolation and purification of total lipides  from animal tissues.  Folch, J., Lees, M. & Stanley, G. H. S.
J. Biol. Chem. 226, 497–509 (1957).

บทความลำดับที่ 10 ได้รับ Citations: 40,289 ครั้ง
Clustal W: improving the sensitivity of progressive multiple sequence  alignment through sequence weighting, position-specific gap penalties and weight matrix choice.  Thompson, J. D., Higgins, D. G. & Gibson, T. J
Nucleic Acids Res. 22, 4673–4680 (1994).

บทความ 100 อันดับแรกชุดนี้  มีเนื้อหาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสาขาย่อย คือ

  • Biological Techniques (Protein Biochemistry, PCR)
  • Bioinformatics (genetic sequencing)
  • Phylogenetics (genetic variation)
  • Statistics
  • Density functional theory, DFT
  • Crystallography (scattering patterns of X-rays)

ติดตามอ่านเนื้อเรื่องฉบับเต็ม ได้ที่วารสาร Nature ฉบับพิมพ์ หรือออนไลน์ที่ http://www.nature.com/news/the-top-100-papers-1.16224

อ้างอิง
Richard  Van Noorden, Brendan Maher & Regina Nuzzo (2014) The Top 100  papers : nature explore the most-cited research of all time. Nature Volume 514 No.7524 p.550-553

Online Available at :  http://www.nature.com/nature/journal/v514/n7524/index.html

25 พ.ย. 2557
0
แชร์หน้านี้: