ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 กันยายน 2561
งานวิจัยเพื่อการพัฒนาตามนโยบายประเทศไทย 4.0
1 เชิงอรรถ : ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0
การศึกษาชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมไทยรองรับการเชื่อมโยงในภูมิภาคด้วยเศรษฐกิจดิจิตอลระยะที่ 1 (สศอ.,2559) และระยะที่ 2 (สศอ.,2560) โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการทั้ง 2 ระยะนี้เพื่อจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยทั้งในระดับภาพรวมและอุตสาหกรรมรายสาขา สำหรับการศึกษานี้จะมุ่งเน้นในส่วนของการวิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยนบริบบทของเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งประกบด้วย 1 โดยนัยยะของเศรษฐกิจดิจตอลต่อการพัฒนาอุตสาหรรม 2 โดยนับของโมเดลประเทศไทย 4.0 3 เป้าหมายการพัฒนาและอุตสาหกรรมเป้าหมายและ 4 การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า องค์กรธุรกิจในยุคดิจิตอลคือองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยการวิเคราะห์ข้ดมูลแล้วนำไปสร้างสรรค์คุณค่า การยกระดับองค์กรอุตสาหกรรมไทยเพื่อแปลงสภาพไปสู่องค์กรธุรกิจในยุคดิจิตอลรวมถึงการพัฒนาไปสู่อุตาหกรรม4.0 นั้นประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1 การจัดการข้อมูลดิจิตอลและการสร้างคุณคา และ 2 การพัฒนารับเครือข่ายและความเชื่อมโยง ส่วยนัยของโมเดลประเทศไทย 4.0 นั้น การกำหนดอุตสหกรรมเป้าหมายนั้นเป็นนโยบายจากบนลงล่างไม่สอดคล้องกับบริบทอุตสาหกรรมเป็นนโยบายจากบนลงล่างไม่สอดคล้องกับบริบทอุตสาหกรรมปัจจุบันที่เป็นเครือข่ายโซ่คุณค่า ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมไทยควรมุ่งเน้นที่ Theme ของการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต
2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นนโยบายที่ช่วยส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเพิ่มการสร้างสรรค์ทางด้านนวัตกรรมและขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจหรือไม่
ประเทศไทยมีอุทยานวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมของประเทศ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการเป็นนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้วิสาหกิจเจริญเติบโตและมีการพัฒนาโดยการเข้าไปช่วยเพิ่มการสร้างสรรค์ทางด้านนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นนโยบายที่ช่วยเพิ่มการสร้างสรรค์นวัตกรรมและขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับวิสาหกิจ โดยให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาการวิจัยและการเชื่อมโยงกับสถาบันองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งจะทำให้วิสาหกิจสามาถแข่งขันในตลาดได้ และช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต
3 สมรรถนะของภาคอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์จากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างไร? การค้นพบจากการทบทวนอย่างเป็นระบบ
การศึกษาสมรรถนะในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม จะทำให้ทราบว่ามีสมรรถนะใดบ้างที่ควรส่งเสริมและนำมาใช้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์จากความร่วมมือฯ ตลอดจนสามารถนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างสำเร็จ นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังนำเสนอการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงนโยบายรวมถึงแนวทางในการทำวิจัยในอนาคตอีกด้วย
รางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี ค.ศ. 2018
คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี ค.ศ. 2018 ให้แก่ศาสตราจารย์ เจมส์ พี.อัลลิสัน จากศูนย์มะเร็งเอ็ม.ดี.แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ ทาซูกุ ฮอนโจ ผู้เชี่ยวชาญระบบภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น จากผลงานการค้นพบวิธีการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการควบคุมตัวยับยั้งของระบบภูมิคุ้มกัน
โรคมะเร็งกับการรักษาในอดีต
โรคมะเร็ง คือ โรคของเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติที่สามารถบุกรุก ทำลายอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ดี ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกาย โดยปกติเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจะไม่ทำลายเซลล์ของร่างกายเนื่องจากมีความสามารถในการจดจำเซลล์ของร่างกายได้ จึงสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โดยมีทีเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในระบบป้องกันของร่างกายการรักษาโรคมะเร็งในอดีต รักษาโดยการผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด และการใช้ฮอร์โมน ซึ่งพบว่าไม่สามารถใช้ในการบำบัดรักษามะเร็งบางชนิดได้ผล ซึ่งเข้าทำลายทั้งเซลล์มะเร็งรวมไปถึงเซลล์ปกติด้วย
การค้นพบตัวยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน
ในปี ค.ศ.1990 ศาสตราจารย์อัลลิสัน ได้ค้นพบโปรตีน CTLA-4 เป็นตัวยับยั้งการทำงานของทีเซลล์ ซึ่งควบคุมโดยโปรตีน 2 ชนิดคือตัวยับยั้งและตัวเร่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 ศาสตราจารย์อัลลิสัน ได้พัฒนาแอนติบอดีเข้าไปจับกับโปรตีน CTLA-4 จากการทดลองทีเซลล์สามารถเข้าโจมตีเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การพัฒนาวิธีการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
หลังจากนักวิจัยค้นพบตัวยับยั้งทีเซลล์ มีการคิดค้นแอนติบอดีที่ต่อต้านการทำงานของตัวยับยั้งเหล่านั้น และนำมาทดลองปรากฏว่ายับยั้งการทำงานของโปรตีนในการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งไต มะเร็งปอด
การพัฒนาสู่ยารักษาโรค
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติให้ใช้แอนติบอดีต้านโปรตีนเป็นยารักษามะเร็งผิวหนัง มีชื่อยาทางการค้าว่า “เยอร์วอย” (Yervoy) โรคมะเร็งเป็นปัญหาด้านสุขภาพของมนุษยชาติมากกว่า 100 ปี ที่นักวิทยาศาสตร์ได้มีความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
กระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมของประเทศฝรั่งเศส
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. เข้าพบผู้แทนของกระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมของประเทศฝรั่งเศส (Ministry of Higher Education, Research and Innovation, MESRI) เพื่อศึกษาดูงาน เรียนรู้รูปแบบการทำงาน อุปสรรค ความท้าทายในการดำเนินงาน และนำมาถอดบทเรียนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งการดูงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางและรูปแบบการทำงานของหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่กำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นในเร็วๆ นี้
วิวัฒนาการของการดำเนินงานของ MESRI
ในปีค.ศ. 2004/2005 มีการจัดตั้งสำนักงานเพื่อการวิจัยแห่งชาติ เพื่อเป็นสถาบันที่ให้ทุนสำหรับการวิจัยและการจัดตั้งคลัสเตอร์ต่างๆ
ในปีค.ศ.2009 มีการจัดตั้งภาคีการวิจัย เพื่อที่จะเพิ่มความสามารถของการวิจัย ผลิตผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและทางการแพทย์
ในปีค.ศ.2010 ดำเนินโครงการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 29.7 พันล้านยูโร
ในปีค.ศ.2013/2014 ดำเนินโครงการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 5.3 พันล้ายูโร รวมถึงออกกฎหมายสำหรับอุดมศึกษาและการวิจัย และการจัดตั้งคลัสเตอร์ด้านอุดมศึกษาและห้องปฏิบัติการวิจัยที่มีคุณภาพชั้นนำระดับสากล
ในปีค.ศ. 2015-2016 ดำเนินโครงการการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 3 เป็นจำนวนเงิน 5.9 พันล้านยูโร รวมถึงการออกยุทธศาสตร์ชาติด้านการวิจัย การพัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งชาติ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการวิจัย
นโยบายสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ฝรั่งเศสได้กำหนดนโยบายหลัก ประกอบด้วย 1. การสนับสนุน Triangle of Knowledge ซึ่งคือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการวิจัย การศึกษา และนวัตกรรม 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเชื่อมโยงของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำวิจัย เช่น การสร้างคลัสเตอร์ตามภูมิศาสตร์หรือสาขาความเชี่ยวชาญ 3. การลงทุนใน Blue Sky Research ซึ่งเป็นการวิจัยที่ไม่สามาถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ทันทีแต่อาจนำไปสู่แง่คิดทางทฤษฎีและการสร้างการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการสู่ตลาด
ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติของฝรั่งเศส
เป็นสถาบันวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศสและเป็นองค์กรทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใหญ่ในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์คือ
ทำการประเมินและดำเนินงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ชั้นสูงใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
พัฒนา ประยุกต์ใช้ และต่อยอดผลการวิจัย
พัฒนาฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือการอบรมด้านการวิจัย
เข้าร่วมในกระบวนการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศประจำชาติ และในระดับนานาชาติ และนำผลลัพธ์ไปต่อยอดสู่นโยบายระดับชาติ
สถาบันวิจัยของรัฐแห่งอื่นๆ ในประเทศฝรั่งเศส ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ MESRI
สถาบันวิจัยของรัฐ ได้แก่ Inserm ,Inra, Inria,CEA โดยสถาบันจะทำสัญญากับรัฐบาลเป็นเวลา 4 ปี ในการับการสนับสนุน แต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายปีด้วยการผ่านการประเมินและยอมรับจากคณะกรรมการ ซึ่งจะประเมินจากเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และผลที่ได้รับหลังจากการนำเสนอเป็นปีต่อปี โดยเงินที่ได้รับร้อยละ 80 เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินเดือนพนักงาน ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ