หน้าแรก รมต.วิทย์ฯ เยี่ยมชม โรงงานสกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น และกลุ่มโชคนำชัยชมเทคโนโลยีฝีมือคนไทย ผลิตต้นแบบป้อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการผลิตรถโดยสารขนาดเล็ก เรืออลูมิเนียม แม่พิมพ์รถยนต์ชั้นสูง
รมต.วิทย์ฯ เยี่ยมชม โรงงานสกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น และกลุ่มโชคนำชัยชมเทคโนโลยีฝีมือคนไทย ผลิตต้นแบบป้อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการผลิตรถโดยสารขนาดเล็ก เรืออลูมิเนียม แม่พิมพ์รถยนต์ชั้นสูง
14 ก.ย. 2561
0
ข่าวประชาสัมพันธ์

14 ก.ย. 61 ที่โรงงานสกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จ.สุพรรณบุรี – ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย พลเอก นาวิน ดำริกาญจน์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และคณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นำโดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. เข้าเยี่ยมชมโรงงานคนไทย สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น และกลุ่มโชคนำชัย ที่ผันตัวมาพัฒนาวิทยาศาสตร์ R&D และอุตสาหกรรมไทย ให้เกิดนวัตกรรมใหม่มากมาย เช่น รถโดยสารตัวถังเบา, Aluminum และเรือ Aluminum ซึ่งหลังจากนี้จะยังมีโครงการพัฒนาต่างๆ อีกหลายโครงการที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ และ R&D เช่น รถโดยสารไฟฟ้า เรือไฟฟ้า และรถไฟฟ้าพร้อมตัวถัง รวมถึงพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

 

หลังจากที่บริษัทมีการลงนามบันทึกตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ สวทช. ภายใต้กระทรวงวิทย์ฯ ในเรื่องการพัฒนายานพาหนะสมัยใหม่ไปแล้ว ทางสกุลฎ์ซีเตรียมขยับตัวในการเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นต่อไป คือ รถโดยสารไฟฟ้าตัวถัง Aluminum ซึ่งเตรียมร่วมกับบริษัทชั้นนำในเมืองไทยที่มีศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อร่วมพัฒนาด้านอื่นๆ นอกเหนือจากวัสดุสมัยใหม่จาก CNC เป็น Digital Technology สามารถเกิดการผลิตแบบอุตสาหกรรมและขายในตลาดสากลได้ด้วย

 

ในการเยี่ยมชมรัฐมนตรี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ให้ความสนใจในโครงการอื่นๆ ในอนาคตที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามที่ทางรัฐบาลส่งเสริม เช่น งานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันประเทศ (Defense Industry) ซึ่งทางกลุ่มบริษัทมีการเริ่มพัฒนาร่วมกับ สวทช. ไปบ้างแล้ว เช่น ผลงานหุ่นยนต์กู้ระเบิดน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติสามารถบังคับระยะไกลพร้อมกล้องรอบตัว ปืนขึ้นที่สูงในพื้นที่ต่างๆ ตัวถังกันน้ำ และสามารถยกวัตถุได้ 4 กิโลกรัม ผลงานจรวดดัดแปลงสภาพอากาศเพื่อใช้ในการทำฝนเทียม ตัวจรวดใช้เทคโนโลยีขึ้นรูปที่มีความเที่ยงตรงสูง มีระยะควบคุมการล็อคเป้าระยะไกล ผสมผสานการควบคุมการออกแบบ 5 แกน ร่วมกับระบบกล้อง Sensor และ Stabilizer เป็นต้น รวมถึงบริษัทยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบการบริหารโครงการเพื่อการผลิตแบบอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานสากลโดยเริ่มจากการออกแบบ การกระจายแบบทางวิศวกรรมเพื่อ Sourcing ให้บริษัทอื่นๆ แยกกันทำชิ้นส่วน การตรวจสอบควบคุมคุณภาพใน Supply Chain การประกอบและการควบคุมคุณภาพประกอบจนสามารถผลิตเป็นรูปแบบอุตสาหกรรมได้

14 ก.ย. 2561
0
แชร์หน้านี้: