magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 116)
formats

ชอปปิงงานวิจัยสู้เออีซี จาก NAC 2013

เก็บตกจากงาน NAC 2013 หรืองานประชุมวิชาการประจำปีของ สวทช.หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งปีนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากผู้ที่อยากรู้ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างความพร้อมในการก้าวสู่เออีซีหรือประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ได้อย่างไร. “ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล” ผู้อำนวยการ สวทช.บอกว่า งานนี้เป็นการนำเอาผลงานวิจัยดี ๆ ของ สวทช. ออกมาโชว์ โดยเน้นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในภาคธุรกิจได้จริง เพื่อสร้างความมั่นใจและผลักดันให้ประเทศไทยก้าวหลุดพ้นจากการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สำหรับผลงานที่คิดว่าไม่เป็นรองใครในอาเซียน และพร้อมให้ผู้ประกอบการหยิบจับ ไปใช้ในการแข่งขัน อาทิ งานวิจัยด้านการเกษตรที่ไทยมีความพร้อม เช่น งานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ที่เกี่ยวข้องกับปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ลาชูเล่(เอเชีย)รุกเกษตรเต็มพิกัดเผยโฉม”ไจก้า ลาชูเล่”4ด./506.

ลาชูเล่(เอเชีย) ชู “ไจก้า ลาชูเล่า” สุดยอดนวัตกรรมเพื่อการเกษตร ลัดฟ้าสั่งตรงจากอิสราเอล ภายใต้แผนธุรกิจมหัศจรรย์ TCM3 หรือ Triple Core Marketing เผย 4 เดือนหลังล้อนท์เปิดตลาด โกยรายได้ไปแล้ว 50 ล้านบาท หวังสิ้นปีกวาดเพิ่ม 50 ล้านบาท หวังสิ้นปีกวาดเพิ่ม 500 ล้านบาท มั่นใจฝ่าด่านหินตลาดเกษตรโตได้อีกมาก เตรียมวางหมากอนาคตขายข้าวหอมสุพรรณผ่านเอ็มแอลเอ็ม ดร.สุรเชษฐ์ เชื้อศรี ประธานกรรมการ บริษัท ลาชูเล่ (เอเชีย) จำกัด ว่า ตนความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการวางยุทธศาสตร์เพื่อครอบครองส่วนแบ่งทางการ ตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ความงามและการเกษตร ตามนโยบาย “ความมั่งคั่ง คู่ ความมั่นคง” ภายใต้แผนธุรกิจมหัศจรรย์ TCM3 หรือ Triple Core Marketing ซึ่งเป็นแผนการตลาดที่แรงที่สุดในยุคนี้ที่จ่ายได้เร็ว จ่ายได้จริง ลงทุนน้อยทำงานง่าย มีรายได้มั่นคง ซึ่งในขณะนี้หลังจากที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ ใจก้า ลาชูเล่ ออกมารุกตลาดกว่า

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

DIY Spacer นวัตกรรมเพื่อผู้ป่วยหอบหืด

ทุกวันนี้จำนวนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ผลการสำรวจอุบัติการณ์ ของโรคภูมิแพ้ทั่วโลก และในประเทศ ไทยพบว่า เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ภายในระยะเวลา 40 ปี โดยในประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้โดยเฉลี่ย คือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ 23-30 โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ หรือ โรคหืด ร้อยละ 10-15 โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ร้อยละ 15 และโรคแพ้อาหาร ร้อยละ 5 โดยอุบัติการณ์ในเด็กจะสูงกว่าในผู้ใหญ่ ทั้งนี้ในประเภทของโรคภูมิแพ้ที่กล่าวมา ภูมิแพ้ที่นำไปสู่การเสียชีวิตมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงและโรคหืด รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า โรคหืด เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม และหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้น หลอดลมจะหดเกร็งตัวแคบลง เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น และสร้างเมือกเหนียว ทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลง และเกิดอาการหอบหืด คือ หายใจหอบ เหนื่อย หายใจไม่เต็มอิ่ม บางรายต้องมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือนอน โรงพยาบาล และในบางรายอาจเสียชีวิตได้– ( 1226

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘สารน้ำใส’ ปรับน้ำคูเมืองเชียงใหม่เอ็มเทคยันเล่นสงกรานต์ปลอดภัย

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า วท.ได้มอบให้ สวทช. โดย เอ็มเทค เร่งหามาตรการปรับสภาพน้ำคูเมืองต่างๆ ให้ใสสะอาด เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องคุณภาพน้ำ โดยเริ่มจากการปรับสภาพน้ำคูเมืองที่ จ.เชียงใหม่ เป็นที่แรก เนื่องจาก เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะมีทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวและใช้น้ำจากคูเมืองเล่น สงกรานต์กันเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงวันที่ 18-31 มีนาคม ที่ผ่านมา ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ได้นำผลงานนวัตกรรมสารจับตะกอน nCLEAR สกัดจากธรรมชาติ และเครื่องเพิ่มออกซิเจนแบบประหยัด เข้าไปช่วยฟื้นฟูน้ำให้ใสสะอาด รับเทศกาลมหาสงกรานต์เชียงใหม่– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดูดาวกับการ์ตูนสี่สีฝีมือคนไทย ผ่านทางครอบครัวนักวิทยาศาสตร์

“ครอบครัวจอมซ่า ท้าตะลุยวิทย์” เป็น การ์ตูนแนววิทยาศาสตร์โดยความร่วมมือของสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตอน “หนูน้อยนักดูดาว” ที่จะนำผู้อ่านไปสู่อวกาศกับครอบครัวนักวิทยาศาสตร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งเด็กๆ จะได้ทราบถึงที่มา และกำเนิดของกล้องโทรทรรศน์ พร้อมกับได้รู้จักกล้องดูดาวแบบต่างๆ พร้อมสอดแทรกการเรียนรู้เรื่องทิศในท้องฟ้า ช่วงเวลาที่เหมาะสม ต่อการดูดาว การวัดมุมเพื่อให้ทราบว่าดวงดาวที่ปรากฏบนฟ้านั้นอยู่ห่างกันมากน้อย เพียงใด โดยเด็กๆ จะได้สนุกกับการใช้มือและแขนในการวัดระยะห่างของดวงดาว เพื่อจะได้ใช้ค้นหาดาวดวงใหม่ได้สะดวกรวดเร็วและถูกต้อง พร้อมชักชวนเด็กๆ มาดูดาวเหนือ และวิธีสังเกตว่าดาวดวงใดคือดาวเหนือ เป็นต้น จำหน่ายเล่มละ 115 บาท รายการอ้างอิง : ชนิตร ภู่กาญจน์.  ดูดาวกับการ์ตูนสี่สีฝีมือคนไทย ผ่านทางครอบครัวนักวิทยาศาสตร์. แนวหน้า (หนังสือเด่น). ฉบับวันที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระทรวงวิทย์การันตีวิชาชีพไอทีมอบประกาศฯบุคลากรเจ๋ง

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานพิธีมอบประกาศนียบัตรโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที (ITPE) ซึ่งถือว่าเป็นใบเบิกทางที่สำคัญในวิชาชีพไอที เพื่อยกระดับมาตรฐานบุคลากรไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ พร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ โดยหวังเป็นประเทศผู้นำด้านไอทีในภูมิภาคอาเซียน นายวรวัจน์กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะองค์กรหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีให้สอดคล้องกับการ พัฒนาเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา “ในปัจจุบันการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ทำให้องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการองค์กรในหลายๆ ด้านทั้งการบริหาร การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร แต่ละองค์กรได้ใช้งบประมาณเพื่อการลงทุนในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่เครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือบุคลากร” นายวรวัจน์กล่าว– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เด็กไทยรุ่นเล็ก เก่งขั้นเทพ โชว์ศักยภาพ วิทย์-คณิต

  “เด็กไทย ไม่ไร้สมอง” คำกล่าวนี้คงจะไม่เกินไปนัก สำหรับนิยามความสามารถของเด็กไทย ดังจะเห็นได้จากพิธีมอบเหรียญรางวัลนักเรียนในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทาง วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปี 2555 ซึ่งจัดกิจกรรมไปเมื่อตอนสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และประถมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับเหรียญรางวัลจำนวนถึง 390 คน จากโรงเรียนสังกัดต่างๆ ทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย โครงการนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำขึ้น ตั้งแต่ปี 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหาเยาวชนที่มีอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ ให้ได้รับการฝึกอบรม ฝึกฝน และปลูกฝังให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาการอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งกระตุ้นการแสดงออกถึงศักยภาพในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของ เยาวชนไทย ให้กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้านำเสนอ และกล้าตัดสินใจ รวมทั้งได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ปัจจุบันได้คัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์เข้าโครงการแล้วกว่าสองหมื่นคน ซึ่งนักเรียนเหล่านี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในด้านการศึกษาและการเข้า ร่วมกิจกรรมการแข่งขันต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์– ( 101 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องสำอางลุยอาเซียน ไทยดึง’นาโน’อัพเกรดผลิตภัณฑ์

‘อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง’ เป็นอีกภาคส่วนที่เร่งพัฒนาตัวเองไม่ให้ตกขบวนในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน หรือเออีซี (AEC) ข้อมูลจากสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางไทยปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2554 หรือคิดเป็น 5,300 ล้านบาท ส่วนมูลค่าการส่งออกตลาดเวชสำอางในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 หรือคิดเป็น 472 ล้านบาท แต่เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปลายปี 2558 เชื่อว่าตัวเลขส่งออกของไทยย่อมเปลี่ยนแปลงแต่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง รวมถึงจะแย่งส่วนแบ่ง ในกลุ่มอาเซียนได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของภาครัฐและเอกชน– ( 170 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“วรวัจน์” ทุ่ม 2 พันล้าน ผุดโครงการหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูง

วันนี้ (5 เมษายน) ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  พร้อมด้วย รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์กรมหาชน) หรือTCELS   ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง” – ( 105 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน…สตรอว์เบอร์รีตามพระราชดำริ

สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทานเกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ต้องการสร้างอาชีพให้ชาวเขาแทนการปลูกฝิ่น โดยหาพืชชนิดอื่น ๆ ให้ปลูกทดแทน โครงการวิจัยสตรอว์เบอร์รีจึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เริ่มดำเนินการในระหว่าง พ.ศ. 2517 – 2522 โดยได้รับทุนวิจัยจากทางฝ่ายงานวิจัยกระทรวงเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการนำสตรอว์เบอร์รีพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามามากมาย เพื่อทดลองปลูกตามสถานีทดลองเกษตรที่มีระดับความสูงต่างกัน รวมทั้งศึกษาเรื่องของโรคแมลง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และตลอดจนทางด้านการตลาดและส่งเสริมสู่เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายผลจากการทดลองที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องก็ทำให้ได้สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทานหลายพันธุ์ดังต่อไปนี้ สายพันธุ์ สายพันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ผลขนาดปานกลางถึงใหญ่ มีสีแดง ค่อนข้างทนต่อสภาพอุณหภูมิสูง ทนต่อการขนส่งค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบจุด เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สายพันธุ์พระราชทาน 20 เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำมีผลขนาดใหญ่ ผลนิ่ม สีแดงสด กลิ่นหอม รสหวาน ทนทานต่อโรคใบจุด ไม่ทนการขนส่ง สายพันธุ์พระราชทาน 50 (พระราชทานเมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) เป็นสายพันธุ์จากประเทศสหรัฐอเมริกานำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็นปานกลาง มีลักษณะเป็นทรงพุ่มรูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้ม แต่ต้านทานราได้ดี สายพันธุ์พระราชทาน 70 (ตรงกับ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments