magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 14)
formats

หุ่นยนต์กูเกิล

หุ่นยนต์ หรือ Robot สิ่งนี้คงเป็นเทคโนโลยีที่ท่านผู้อ่านทุกท่านรู้จักกันดี ข่าวดังเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการบริษัทเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ (Robotic) รวดเดียวถึง 8 บริษัทโดย Google ภายในเวลาเพียงชั่วสัปดาห์เดียว เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา Google เข้าซื้อกิจการบริษัทที่ชื่อว่า Schaft ผู้ผลิตหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของญี่ปุ่นที่โด่งดังที่ชื่อว่า HRP-2 ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศในการแข่งขันหุ่นยนต์ของ Defense DARPA ที่เรียกว่า DARPA Robotics Challenge การแข่งขันปีล่าสุดซึ่งเพิ่งแข่งจบไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันที่หุ่นยนต์ Humanoid ต้องทำภารกิจกู้ภัยในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิทถล่มโรงไฟฟ้าฟูกูจิมา ประเทศญี่ปุ่น– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สาระวิทย์ เดือนเมษายน 2557 (13)

Cover Story 10 คำถาม กับการเปลี่ยน ผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล เรื่องเด่น เรื่องจากปก: 10 คำถาม กับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัลล น้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก: รักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย : การใช้สบู่ดำและปาล์มน้ำมันเพื่อเป็นพลังงานทางเลือก ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์: ศพไม่เน่า – ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งบวิจัยเอกชนมาแรง

สำรวจค่าใช้จ่าย ด้าน R&D ภาคธุรกิจเอกชนขยับแซงหน้าภาครัฐ โดยปี 54 เอกชนลงทุน 2.07 หมื่นล้านบาท ขณะที่งบวิจัยจากรัฐ 2.02 หมื่นล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ฯ เผยผลสำรวจค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ระบุภาคธุรกิจเอกชนขยับแซงหน้าภาครัฐ อ้างตัวเลขปี 54 เม็ดเงินลงทุน 2.07 หมื่นล้านบาท ขณะที่งบวิจัยจากภาครัฐ 2.02 หมื่นล้านบาท เดินหน้าผลักดันงบวิจัยเพิ่มเป็น 1% ในอีกสองปีข้างหน้า “กานต์” ชี้เอสซีจีให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์-นวัตกรรม ตั้งเป้าเพิ่มงบวิจัยและพัฒนาเป็น 4,600 ล้านบาทหรือ 1% ของรายได้ทั้งหมด นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงผลสำรวจค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน โดยพบว่ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจาก 8,000 ล้านบาทในปี 2549 มาเป็น 20,680 ล้านบาทในปี 2554 ส่งผลให้การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็นร้อย 0.37 หรือกว่า 41,000 ล้านบาท

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เนคเทคเปิดแอพรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยช่วงสงกรานต์

วันนี้(4เมษายน 2557) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  เปิดตัว “SafeMate”  แอพพลิเคชั่น บนมือถือแอนดรอยด์ และ ไอโอเอสช่วยรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสำหรับคนขับรถทั่วไปและรถสาธารณะ พร้อมใช้งานช่วงสงกรานต์ปีนี้ ดร. เฉลิมพล สายประเสริฐ นักวิจัยจากหน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสารและการคำนวณ  เนคเทค กล่าวว่าทีมวิจัยได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น“SafeMate”  ขึ้นโดยมีสมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย(ATRANS)เป็นผู้สนับสนุน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้ขับขี่นำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ที่ อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น  โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน  ได้สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11 เมษายน – 17 เมษายน ปีที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุ ถึง 2,828 ครั้งเสียชีวิต 321ราย และบาดเจ็บ3,040 รายโดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ เมาแล้วขับโดยรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้แอพพลิเคชั่น“ SafeMate” จะเป็นระบบประเมินพฤติกรรมการขับขี่ด้วยสมาร์ทโฟน   ทั้งระบบแอนดรอยด์และไอโอเอส เน้นความสะดวกใช้งานง่ายและ ต้นทุนต่ำ โดยอาศัยเซนเซอร์ ที่ในสมาร์ทโฟน  เป็นตัวประมวลผลเหตุการณ์ในการขับขี่แบบเรียลไทม์ทั้งเบรคเร่ง เปลี่ยนเลน หรือเลี้ยวกะทันหัน  สามารถแจ้งเตือนเมื่อมีการขับขี่แบบอันตราย นอกจากนี้ ยังมีระบบคิดคะแนนประเมินการขับขี่เก็บประวัติการขับรถพร้อมแสดงข้อมูลรายสัปดาห์

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชาวบ้านที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะได้กลับบ้านแล้ว

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ ญี่ปุ่น 2 เม.ย. 2014 -ชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้กับโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ ไดอิจิ ได้รับอนุญาตจากทางการญี่ปุ่นให้กลับสู่บ้านเรือนของตนเองได้เป็นครั้งแรก ทางการญี่ปุ่นได้ออกมายกเลิกประกาศห้ามเข้าพื้นที่บริเวณใกล้กับโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ ไดอิจิแล้ว หลังจากที่มีการประกาศห้ามเข้ามานานกว่า 3 ปี เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้ได้รับอันตรายจากสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้า ถือเป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านในเขตมิยาโกจิ เมืองทามูระ ที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้า สามารถกลับเข้าบ้านเรือนของตัวเองได้ หลังจากถูกทิ้งเอาไว้หลายปีทำให้สภาพบ้านเรือนไม่ต่างจากเมืองร้าง ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กลับเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ยอมรับว่ารู้สึกกลัวเล็กน้อย – ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จับแสงแดดมาส่องเมือง

อาคารใหม่ในนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย กลายเป็นแหล่งรวมของแผ่นกระจกที่มีชื่อเรียกว่า เฮลิโอสแตท ทำหน้าที่ในการปรับเปลี่ยนทิศทาง และช่องทางในการรับแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อให้แสงแดดส่องลงไปยังพื้นที่บางส่วนของเมือง ที่ไม่เคยถูกแสงแดดส่องถึงเลย เจสัน แลงเกอร์ วิศวกรโครงสร้างจากโรเบิร์ต เบิร์ด กรุ๊ป บอกว่า ในเชิงสถาปัตยกรรมแล้วถือว่า พระอาทิตย์ไม่ได้อยู่ในจุดที่ถูกต้องสำหรับการให้แสง ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นการสร้างดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับจุดที่ต้องการ เฮลิโอแสตทเกิดขึ้นจากการนำแผ่นกระจกมาติดกับอาคาร 2 หลังที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน ในย่านที่อยู่อาศัยที่ชื่อว่า วัน เซ็นทรัล พาร์ค โดยแสงแดดที่ส่องลงมาครั้งแรกนั้น จะตกลงไปกระทบกระจกที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาของอาคารหลังที่มีระดับต่ำกว่า ก่อนจะสะท้อนขึ้นไปหาเฮลิโอสแตท ที่ติดตั้งอยู่บนอาคารหลังที่สูงกว่า– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งบวิจัยเอกชนมาแรง

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) ผู้จัดทำ “ดัชนีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เพื่อชี้วัดระดับความก้าวหน้าและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย พบว่าจากการจัดอันดับของสถาบันนานาชาติ ประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การลงทุนด้านวิจัยพัฒนาของประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว สำหรับ แนวโน้มบัณฑิตสายวิทย์ หันไปประกอบอาชีพนางแบบ สายบันเทิงหรือพนักงานขายสินค้ามากขึ้น จึงเร่งผลักดันหลักสูตรเทคโนโลยีผลิตบัณฑิตทดแทนเพื่อรองรับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการ สวทน. กล่าวว่า การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 27 จาก 60 ประเทศ ในปี 2556 สูงขึ้นจาก อันดับ 30 ในปี 2555 โดยอยู่ในอันดับต่ำกว่า มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน หรือ การวัดระดับดัชนีความสามารถในการแข่งขันโดยรวม (The Global Competitiveness Index : GCI) โดย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พระนามาภิไธยนาโน

ภาพลายพระนามาภิไธย ที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร แต่ละเส้นมีความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 80 นาโนเมตร มีความสูงประมาณ 1 นาโนเมตร เมื่อเวลา 11.35 น.วันที่ 31 มีนาคม 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการนี้ ทรงลงพระนามาภิไธยในแผ่นจารึกในวโรกาสทรงเปิดอาคารกลุ่มนวัตกรรม ๒ และทรงเยี่ยมชมศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ทรงทอดพระเนตรสำนักงานและห้องปฏิบัติการของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ทอดพระเนตรการใช้งานกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (Atomic force microscope) หรือ เอเอฟเอ็ม ทั้งนี้ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ทูลเกล้าถวายรูปภาพเขียนลายพระนามาภิไธยที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ซึ่งนักวิจัย ได้แสดงตัวอย่างการควบคุมโครงสร้างระดับนาโนโดยการเขียนลายพระนามาภิไธยที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ใช้เทคนิคการเขียนลวดลายที่เรียกว่า “ออกซิเดชันนาโนลิโธกราฟี (oxidation nanolithography)”– ( 28 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors)

การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 10 วันที่ 2 เมษายน 2557 ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันการตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ท าให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้สะดวกขึ้น สามารถที่จะสกัดพฤติกรรมการคัดลอกผลงานของคนอื่นส่งผลให้การผลิตผลงานทางวิชาการในระดับต่างๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยได้มีการนำโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และมีแผนจะนำไปใช้กับการพิจารณาการให้ทุนวิจัยการพิจารณาผลงานทางวิชาการ การสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้พัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานและความคล้ายกันของเอกสาร  3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลโยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ – ( 809 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Tesco: Homeplus Subway Virtual Store

ตัวอย่าง Mobile technology ด้วย QR code กับการประยุกต์ใช้ทางการตลาด ร้านค้าเสมือน โดย เทสโก โฮมพลัส (Tesco homeplus) ร้านค้าปลีก, ของสด, เครื่องใช้ ประยุกต์แนวคิดใหม่ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าชาวเกาหลี “let the store come to people” ที่มา: Tesco: Homeplus Subway Virtual Store (Movie). (2011). Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=nJVoYsBym88&feature=youtube_gdata_player– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments