magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ควรลงพิมพ์ หรือเป็นบรรณาธิการ ในวารสารที่เป็น Open Access หรือไม่

จากการประชุมวิชาการประจำปีของฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ประจำปี 2556 ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน นั้น รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ วิทยากรท่านหนึ่ง ได้ขึ้นบรรยายในหัวข้อเรื่อง ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access (สไลด์การบรรยายของอาจารย์สามารถติดตามได้ที่ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28-library-science/4134-predatory-publishers.html) ได้กรุณาส่งบทความเรื่อง Should I publish in, or be an editor for, an Open Access (OA) journal?: a brief guide (http://scitech.sla.org/pr-committee/oaguide/) มาให้เพิ่มเติมค่ะ เลยขอส่งต่อให้แฟนพันธุ์แท้ของ STKS และผู้ที่เข้าร่วมงานอ่านกันนะคะ

ทั้งนี้ สามารถติดตามอ่านบทสรุปการบรรยายหัวข้อต่างๆ ของการประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556  ได้ที่ http://stks.or.th/blog และติดตามสื่อนำสนอ (ที่ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่) ได้ที่ http://stks.or.th/th/news/3686-annual-conference-2013.html– ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โปรตีนไขมันต่ำ…กินได้

หลังสหประชาชาติรณรงค์ให้ชาวโลกหันมาบริโภคแมลง ทำให้หลายคนหันมาสนใจ “แมลง”ที่ได้ชื่อว่าเป็นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ ไฟเบอร์สูง

หลังจากสหประชาชาติรณรงค์ให้ชาวโลกหันมาบริโภคแมลง เพื่อลดปัญหาความอดอยากที่กำลังเกิดขึ้นในหลายแห่งบนโลกใบนี้ กลายเป็นประเด็นที่ทำให้หลายคนหันมาสนใจ “แมลง”ที่ได้ชื่อว่าเป็นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ ไฟเบอร์สูง

ความจริงวัฒนธรรมการบริโภคแมลงเป็นอาหาร ของคนไทย ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมานานโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งมีผืนป่าที่เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย “แมลง” ซึ่งเป็นโปรตีนราคาถูกหาง่าย รสชาติดีเข้ามาทดแทนเนื้อสัตว์ ในประเทศไทยมีแมลงมากกว่า 50 ชนิดที่นำมารับประทานเป็นอาหารได้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีผู้คนกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลกบริโภคแมลงเป็นอาหาร
Read more…– ( 171 Views)

 
Tags:
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วช.ขยายผลคลังข้อมูลวิจัยไทยสู่ภูมิภาค

วช.เดินหน้าสัมมนา หน่วยงานวิจัยในภูมิภาค หวังขยายฐานและบูรณาการระบบฐานข้อมูลงานวิจัยไทย

ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช. ร่วมกับหน่วยงานหลักด้านการวิจัยของประเทศไทย พัฒนาระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) เพื่อบูรณาการข้อมูลงานวิจัยและระบบบริหารจัดการทุนวิจัย สนับสนุนการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ โดยแบ่งเป็น 5 ระบบย่อย คือ ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ระบบฐานข้อมูลนักวิจัยและระบบรายงานแบบค้นหาผู้เชี่ยวชาญหรือ Expert Finder ระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่รัฐสนับสนุน ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และระบบฐานข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการหรือ Single Window & Data Entry

ทั้งนี้เมื่อดำเนินการเสร็จครบทุกระบบในปี 2557 คลังข้อมูลงานวิจัยไทย จะเป็นงานวิจัยระดับชาติที่นำเข้าสู่งานวิจัย และบริหารจัดการทุนวิจัยของประเทศที่สมบูรณ์และสะดวก โดยการเข้าเว็บไซต์เพียงที่เดียว ซึ่งปัจจุบันระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย ได้เชื่อมโยงฐานข้อมูลงานวิจัยที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจากหน่วยงานวิจัยทั่วประเทศกว่า 136,000 รายการ สามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่ www.tnrr.in.th

อย่างไรก็ดี วช. ได้พัฒนาและขยายผลคลังข้อมูลงานวิจัยไทย และจำนวนหน่วยงานเชื่อมโยงฐานข้อมูล รวมถึงประชาสัมพันธ์เผยแพร่ประโยชน์ของคลังข้อมูลงานวิจัยไทย แก่หน่วยงานวิจัยและนักวิจัยในภูมิภาค โดยการจัดประชุมสัมมนาเรื่องนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ที่จังหวัดภูเก็ตและขอนแก่น ส่วนครั้งที่ 3 จะมีขึ้นที่ภาคเหนือ วันที่ 28 มิถุนายนนี้ ที่โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้หน่วยงานในภูมิภาคร่วมเชื่อมโยงฐานข้อมูลงานวิจัยกับคลังข้อมูลงานวิจัยไทย.

รายการอ้างอิง : วช.ขยายผลคลังข้อมูลวิจัยไทยสู่ภูมิภาค. เดลินิวส์ (ไอที). วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2556.– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การริเริ่มระบบมาตรฐานสากลเอกสารดิจิทัล DOI ประเทศไทย

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ 


หัวข้อการบรรยาย : การริเริ่มระบบมาตรฐานสากลเอกสารดิจิทัล DOI ประเทศไทย
บรรยายโดย : รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เอกสารประกอบการบรรยาย  

สรุปจากการบรรยาย

DOI (Digital Objec6 Identifier) เป็นมาตรฐานสากล ISO รหัสบ่งชี้เอกสารดิจิทัลทั้ง วช. และ สวทช. ให้ความสนใจริเริ่มให้มีการศึกษาเรื่องนี้ที่ผ่านมาได้มีการบรรยาย และ การอบรมให้แก่หน่วยที่สนใจ

DOI คล้ายกับ ISBN, ISSN แต่มีความแตกต่าง DOI มีลักษณะดังนี้

  • มาตรฐาน ISO 26324 : 2012 ได้รับการรับรองเมื่อ 1 พ.ค. 2012 
  • ปัจจุบันมีรหัส DOI 85ล้านชื่อใน 9,500 องค์กร
  • มีจำนวนการป้อนข้อมูลเพื่อสืบค้น DOI จาก Handle system (dx.doi.org) 87 ล้านครั้ง/เดือน 
  • มีจำนวน publishers ID 2 แสนชื่อ ภายใต้การจัดการ Registrator Agency

เป็นการระบุชื่อไฟล์ดิจิทัล เป็นข้อมูลการจัดเก็บและอ้างอิงคล้าย ISBN/ISSn ช่วยในการจัดการเนื้อหา (content management) ตัวอย่าง 10.1000 Publisher ID/123456 ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ DOI ว่า “ตัวระบุวัตถุดิจิทัล” และ DOI อาจจะมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น รหัสดีโอไอ ตัวบ่งชี้วัตถุดิจิทัล ฯลฯ

Read more…– ( 266 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ


หัวข้อการบรรยาย : ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย
บรรยายโดย : นางกาญจนา ปานข่อยงาม

รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
เอกสารประกอบการบรรยาย 

สรุปจากการบรรยาย
ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานวิจัยหลักของชาติ คือ 6ส. 1ว. มีความร่วมมือในการปฏิรูประบบวิจัยชาติ ซึ่งมีเป้าหมายปฏิรูป 9 มิติสำคัญ คือ นโยบาย การสนับสนุนทุนวิจัย งบวิจัย สถาบันวิจัย บุคลากรวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐาน การจัดการผลผลิต การประเมิน 9 มิตินี้เป็นการศึกษามาตั้งแต่ปี 2554 จากอดีตเลขาธิการสภาวิจัย

  1. นโยบาย ขณะนี้มีนโยบายยุทธศาสตร์ระดับชาติฉบับที่ 8 เป็นกรอบแบ่งตามรายภูมิภาค รวมทั้งเรื่องเร่งด่วนของชาติ และประกาศให้ทุนวิจัย
  2. การสนับสนุนทุนวิจัย ให้แต่ละหน่วยที่ให้ทุนปรับบทบาท โดยวิธีลดบทบาทให้ทุนลงเน้นส่วนอื่นๆ เช่น มาตรฐาน การประเมิน
  3. งบประมาณในปี 2556 มีงบ 0.2 ของ GDP เป็นเงินราว 2 หมื่นล้านบาท ภาคเอกชนยังลงทุนน้อยกว่าภาครัฐ ปี 2557 คาดว่าน่าจะได้ 0.5 GDP หรือ 5 หมื่นล้านบาท
  4. สถาบันวิจัย ต้องปรับบทบาทลดความซ้ำซ้อนการดำเนินงานลง เช่น วิจัยสมุนไพร ซ้ำซ้อนกันน่าจะร่วมกันวิจัย
  5. บุคลากรวิจัย ปัจจุบันมี 7 คนต่อประชากร 1 หมื่นคน ปรับตั้งเป็นให้ได้ 15 คน
  6. โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงฐานข้อมูลที่เน้นในวันนี้
  7. มาตรฐานการวิจัย การวิจัยที่ใช้สัตว์ทดลอง กำลังจะนำเข้าสภาผู้แทน เพื่อให้เป็นกฎหมายรับรอง รวมทั้ง พรบ. การวิจัยในคน มีแผนเสนอเรื่อง City Science
  8. การจัดการผลผลิต โจทย์วิจัยที่ดำเนินการสนองต่อความต้อวการจากการชุมชนหรือไม่
  9. การประเมิน กำลังศึกษาร่วมกับ TDRI เพื่อหาการประเมินผลงานวิจัยเพื่อนำไปวางแผนต่อไป

จากการบรรยายในวันนี้ทั้งหมดเป็นความเคลื่อนไหวที่ วช. อยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่

Read more…– ( 316 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ดร.สุภาพ เกิดแสง”อ.มหา′ลัยดังเปิดหมดเปลือกคดีถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์สหรัฐ18ล.”ถ้าผมผิดทั้งโลกสะเทือน

จากกรณีที่สำนักข่าวเอพีรายงานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555 ถึงคดีที่สำนักพิมพ์ จอห์น ไวลีย์ แอนด์ ซัน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องร้องนายสุภาพ เกิดแสง นักศึกษาไทยปริญญาโททางด้านศึกษาคณิตศาสตร์อยู่ในมหาวิทยาลัยเซาธ์เทิร์น แคลิฟอร์ เนีย (ยูเอสซี) ว่า นายสุภาพละเมิดลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ด้วยการซื้อหนังสือตำรา 8 ปกที่จัดพิมพ์จำหน่ายในต่างประเทศ (อินเตอร์เนชั่นแนล เอดิชั่น) แล้วนำมาขายต่อผ่านเว็บประมูลออนไลน์อีเบย์(e-Bay)ให้กับผู้ซื้อในสหรัฐอเมริกา ทำให้สำนักพิมพ์ได้รับความเสียหาย

และคณะลูกขุนได้ขอให้จ่ายค่าเสียหายให้กับสำนักพิมพ์เป็นเงิน 600,000 ดอลลาร์ หรือราว 18 ล้านบาท จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาและศาลสูงสุดมีมติเมื่อวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมา รับพิจารณาคำอุทธรณ์ดังกล่าว โดยจะเริ่มไต่สวนคดีนี้ในราวปลายปีนี้นั้น Read more…– ( 87 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘หัวคิด’หัวใจเขียว

กว่า 4 ปีกับการเปิดตลาดให้กับสินค้าดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อม วันนี้ “พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร”เขย่าตลาดอีกครั้งกับกลุ่ม’ECO DESIGN THAIๆ’

ว่า 4 ปีกับการเปิดพื้นที่ทางการตลาดให้กับสินค้าดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อมในชื่อร้าน EcoShop ขานรับกระแสรักษ์โลกห่วงใยสิ่งแวดล้อม ณ วันนี้ “พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร”เขย่าตลาดอีกครั้งกับกลุ่มนักออกแบบและผู้ผลิตสินค้าอีโคกว่า 26 แบรนด์ภายใต้ชื่อ “อีโค ดีไซน์ ไทยๆ” (ECO DESIGN THAIๆ)
Read more…– ( 68 Views)

 
Tags: ,
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นาฬิกาแจ้งภัย

Limmex นาฬิกาแจ้งภัยจากสวิส ชนะรางวัลเลิศ M2M Challenge ไฮไลท์ของการแข่งขันระดับโลกกับสุดยอดนวัตกรรมการสื่อสาร

Limmex นาฬิกาแจ้งภัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ชนะรางวัลที่ 1 M2M Challenge ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลท์ของการแข่งขันระดับโลกกับสุดยอดนวัตกรรมการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ (Machine-to-machine Communication)รางวัลที่ได้รับนั้นถูกประกาศขึ้นในงาน Mobile World Congress ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันดีในด้านของโซลูชั่นชั้นนำของ M2M ในประเภทของพลังงาน ความปลอดภัย สาธารณสุข การขนส่งและลอจิสติกส์ รวมทั้งอิเลกทรอนิคส์สำหรับผู้บริโภคทั้งนี้ นาฬิกาแจ้งภัย Limmex ได้นำเอาเทคโนโลยีในด้านของ GSM/GPRS มาใช้เพื่อช่วยในการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์วิกฤต โดยใช้วิธีกดปุ่มที่อยู่บนนาฬิกา หลังจากนั้นตัวของผู้สวมใส่นาฬิกาจะสามารถเชื่อมต่ออัตโนมัติไปยังรายชื่อฉุกเฉินซึ่งจะส่งความช่วยเหลือมาช่วยในทันทีโดยการเชื่อมต่อนั้น สายเรียกแรกจะเชื่อมต่อผ่านไปยังระบบของ Cloud-based ของ Limmex Read more…– ( 85 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช. ดันลำไยไทยส่งออกนอก

ชูนวัตกรรมไทย เพิ่มมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร เดินสายเยือนอินเดียเจรจาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นำร่องอัพเกรดลำไยพรีเมียม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินทางเยือนประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน – 28 มิถุนายน 2556 เพื่อศึกษากรณีตัวอย่าง และเจรจาความร่วมมือในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการลำไยอย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงระบบจัดการด้านการตลาด เพื่อเป็นต้นแบบของระบบการบริหารจัดการผลไม้เพื่อการส่งออกอย่างยั่งยืน Read more…– ( 158 Views)

 
Tags:
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เนื้อเยื่อสมองเทียมสามมิติ

เทคโนโลยีในการสร้างเนื้อเนื่อเทียมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยีประเภทต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเนื่อเยื่อประเภทต่างๆ เช่น กระดูก กระดูกอ่อน ผิวหนัง ปอดเป็นต้น ดูรายละเอียดที่

รายการอ้างอิง :
เนื้อเยื่อสมองเทียมสามมิติ. วงการแพทย์ (วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์). ฉบับวันที่ 01 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556.

 – ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments