magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

TurnItIn VS AntiKoppae

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ


หัวข้อการบรรยาย : TurnItIn VS AntiKoppae

  • TurnItIn บรรยายโดย นายทักขพล จันทร์เจริญ
    Book Promotion & Service Co.,Ltd.
  • AntiKoppae บรรยายโดย : ดร. อลิสา คงทน
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เอกสารประกอบการบรรยาย (AntiKoppae)

สรุปจากการบรรยาย
นายทักขพล จันทร์เจริญ (Book Promotion & Service Co.,Ltd.)
Trunitin
ฐานข้อมูลเพื่อช่วยในการตรวจสอบเนื้อหาข้อมูลว่ามีการคัดลอกหรือไม่ พัฒนาโดย บริษัท IBaradigms USA มีผู้ใช้บริการจากทั่วโลกกว่า 1 หมื่นสถาบัน ลูกค้าที่เป็นอาจารย์จำนวนกว่า 1 ล้านคน รองรับได้ถึง 10 ภาษารวมทั้งภาษาไทยด้วย Trunitin มีลักษณะเป็นเว็บเพจที่สามารถทำงานได้บนโลกออนไลน์ ใช้รหัสผ่าน ทำงานแบบ Task management จัดการงานแต่ละชิ้น
Read more…– ( 195 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผักเม็ด BioVeggie

ด้วยความเป็นนวัตกรรมระดับประเทศด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท วิตามินรวมจากผักเมืองหนาว

การนำผักสด 12 ชนิด มาผ่านกระบวนการอบแห้งร่วมกับการใช้คลื่นไมโครเวฟ ใช้เวลาอันรวดเร็วในการอบแห้ง ยังคงคุณค่าสารอาหารไว้ใกล้เคียงผักสด

ซึ่งการรับประทาน BioVeggie จำนวน 5 เม็ด 5สี จะเท่ากับการบริโภคผักสดประมาณ 150 กรัม อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลกระบุว่า ปริมาณผักที่ควรบริโภคต่อวัน เท่ากับ 400 กรัมต่อวัน ในขณะที่คนไทยเกินครึ่งหรือประมาณร้อยละ 62.3 กินผักผลไม้ไม่เพียงพอต่อวัน ร้อยละ 89 บริโภคผักผลไม้ไม่ครบทั้ง 5 สี และร้อยละ 98 ไม่รู้จักสาร อาหารไฟโตนิวเทรียนท์

จึงนับได้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นทางเลือกของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผักเมืองหนาวที่ผลิตจากโครงการหลวง

รายการอ้างอิง :
ผักเม็ด BioVeggie. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : เทคโนโลยี). วันที่ 29 มิถุนายน 2556.– ( 63 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

โรคสมองเสื่อมดิจิตอล บทเรียนแสนแพงจากแดนกิมจิ

เทคโนโลยีมีคุณประโยชน์ และก็มีโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน หากผู้ใช้เทคโนโลยีไม่รู้เท่าทัน หรือใช้งานอย่างไร้สติ ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่อตนเองลามไปถึงสังคมระดับชาติ ตามลำดับ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหาใหม่ นั่นคือคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และ อุปกรณ์ไอทีนานัปการที่รายล้อมรอบกาย กำลังเป็นโรคสมองเสื่อมเพราะใช้ชีวิตผูกติดกับสมาร์ทโฟน เกมคอนโซล และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากเกินสมควร

อย่าง คิม มิน-วู วัย 15 ปี ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำอย่างหนัก ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า คิม มิน-วู มีอาการเริ่มต้นของโรคความจำเสื่อมเนื่องจากใช้ชีวิตผูกติดกับเทคโนโลยีดิจิตอลมากเกินไป
Read more…– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตำนานแผ่นดิน-ไอโอดีนสมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล ให้ ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย นำไปมอบให้แก่ชุมชนและจังหวัดที่มีผลงานดีเด่นในการรณรงค์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับสารไอโอดีนตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

สำหรับจังหวัดที่มีผลงานดีเด่นในการสร้างหมู่บ้านไอโอดีนจาก 76,000 หมู่บ้านทั่วประเทศได้แก่ จ.นครราชสีมา มีชุมชนหมู่บ้านไอโอดีนมากที่สุด จ.พังงา มีครัวเรือนที่ใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนคุณภาพมากที่สุด จ.เพชรบุรี ใช้สื่อในการเผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักคุณประโยชน์ของไอโอดีนได้ดีที่สุด
Read more…– ( 77 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การโจรกรรมทางวิชาการ Plagiarism

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ


หัวข้อการบรรยาย : การโจรกรรมทางวิชาการ Plagiarism
บรรยายโดย : นายสรวง อุดมสรภัณฑ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เอกสารประกอบการบรรยาย

สรุปจากการบรรยาย
การโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism) นิยาม คือ การคัดลอกผลงานหรือขโมยคามคิดของคนอื่น โดยไม่อ้างอิงให้ถูกต้อง

การกระทำที่เข้าข่าย Plagiarism ศึกษาได้จากเว็บไซต์ plagiarism.org เช่น การคัดลอกข้อความ หรือ ความคิดของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง หรือ ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในแหล่งที่มาของข้อความที่นำไปใช้ ไม่ใช้เครื่องหมาย ” “ เพื่อแสดงว่าคัดลอกมาฯลฯ

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้คือ

  • ระบบอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่าย
  • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สำเนาข้อมูล (copy and paste) ได้อย่างง่าย

เครื่องมือตรวจสอบ

  • มีโปรแกรมจำนวนมากพัฒนาขึ้นมาเพื่อตรวจหา
  • ทำงานเปรียบเทียบข้อความกับแหล่งข้อมูลที่มีเดิม
  • มีการแสดงแถบสีในส่วนที่พบซ้ำกัน

Read more…– ( 1037 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

ข้อควรระวังในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในงานวิจัย

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ


หัวข้อการบรรยาย : ข้อควรระวังในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในงานวิจัย
บรรยายโดย : ดร.เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
เอกสารประกอบการบรรยาย

สรุปจากการบรรยาย
ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาในหลายๆ ส่วน ทั้งลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ฯลฯ ลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับงานเขียน (วรรณกรรม) ศิลปกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ต้องมี 2 ส่วน คือ Originality และ Creativity เกิดขึ้นทันทีไม่ต้องนำไปจดทะเบียน แต่สามารถนำไปจดแจ้งได้ (Notification) ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวไม่ใช่นายจ้าง

การละเมิดได้แก่ การทำซ้ำ (อัพโหลด) ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ทำขาย ให้เช่า อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์เป็นเวลา 50 ปี (นิติบุคคล 50 ปี) ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองในเรื่องของความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีการทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ฯลฯ

ลิขสิทธิ์กับ Open Access (OA)
OA มักใช้ลิขสิทธิ์แบบ creative common (CC) อนุญาตให้เผยแพร่ทำซ้ำได้ สถาบันการศึกษา MIT, Harvard Stanford
มีนโยบายเผยแพร่ผลพวงของงานวิจัยให้กว้างขวางแบบ OA

Creative Common (CC)
มีหลายแบบ เช่น Attribution, share like, non commercial เป็นต้น

การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ระบบ IP มี 3 ส่วนสำคัญ

  1. การสร้าง IP
  2. การนำเข้าสู่ระบบคุ้มครอง IP
  3. การนำ IP ไปใช้ประโยชน์

หน่วยงาน Technology Licencing Office, TLO มีหน้าที่ประเมิน IP ประเมินตลาด ยื่นขอสิทธิบัตร แผนงานทางการตลาด อนุญาตให้ใช้สิทธิ์สู่เชิงพาณิชย์ ตรวจสอบการละเมิดของหน่วยงาน ในประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับระบบทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก รัฐบาลให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้คิดค้นสิทธิบัตร รวมทั้งมีนโยบาย spin-off จัดตั้งเป็นบริษัท มีกฎหมายออกมาตรการใช้ประโยชน์งานวิจัย

สรุปจากการบรรยายโดย
นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่

– ( 219 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เด็กไทยผ่านเข้ารอบแข่งหุ่นยนต์โลก 2013

วานนี้ ( 28 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์รายงานว่า ในลีกหุ่นยนต์กู้ภัยซึ่งมี 18 ทีมเข้าแข่งขัน เป็นการจำลองเหตุการณ์ให้หุ่นยนต์เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งแต่ละทีมจะแข่งขัน 4 รอบเพื่อเก็บคะแนน ปรากฎว่า 3 ทีมเยาวชนไทยโชว์ความสามารถสามารถผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ 6 ทีมสุดท้ายไว้ลายแชมป์เก่า โดยทีมไอราป ฟิวเรียส จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้คะแนนอันดับ 1, ทีมโอวีอีซี ซุ้มกอ จากคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา อันดับ2, ทีมสเตบิไลซ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ส่วนอันดับที่ 3 , 4 , 5 ได้แก่ทีมจากประเทศจีน และประเทศอิหร่านอีก 2 ทีม

มาที่ลีกหุ่นยนต์แอดโฮม หรือ หุ่นยนต์บริการ ที่เน้นให้หุ่นยนต์ปฏิบัติตามคำสั่งตามภารกิจต่างๆ ซึ่งมี 21 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน และในปีนี้เยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันเป็นปีที่ 2 รวม 4 ทีม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในภารกิจช่วยเหลือยามฉุกเฉิน ทีมดงยาง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โชว์ความสามารถตรวจจับบริเวณที่ไม่มีความร้อนได้เพียงทีมเดียว สร้างความฮือฮาให้กับกรรมการและผู้ชมรอบสนาม ทำให้ทีมดงยางเป็น 1 ใน 11 ที่สามารถผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศได้ นอกจากนี้ทีม สคูบ้าแอดโฮม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ผ่านเข้ารอบเช่นกัน ขณะที่ทีมทีอาร์ซีซี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งโชว์ความสามารถ “ตำส้มตำ” ในภารกิจแสดงความสามารถพิเศษจนต่างชาติยกนิ้วให้ และทีมบาธแลป แอสซิสบอท จากมหาวิทยาลัยมหิดล ไม่สามารถผ่านเข้ารอบได้

นอกจากนี้ ลีกหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ทีมเคเอ็มยูทีที จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก็โชว์ความสามารถจนผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย.

รายการอ้างอิง :
เด็กไทยผ่านเข้ารอบแข่งหุ่นยนต์โลก 2013. เดลินิวส์ (ไอที). วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2556.– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยด้วยหลักการ Bibliometrics

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ


หัวข้อการบรรยาย : การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยด้วยหลักการ Bibliometrics
บรรยายโดย : ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เอกสารประกอบการบรรยาย

สรุปจากการบรรยาย

ศูนย์ TCI (Thai Journal Citation Index) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2544 ศึกษาค่า Impact Factor ปัจจุบันมีอายุครบ 12 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศูนย์ TCI ปัจจุบันมีภาระงานที่สูงมาก ทั้ง สกอ. สมศ. สกว. ใช้ข้อมูลของ TCI ในการรับรองผลงานตีพิมพ์ ในปี 2555 ได้ส่งเข้าฐานข้อมูล Scopus ได้ 4 ชื่อ ซึ่งถือได้ว่าเริ่มเข้าสู่ระดับสากล

ศูนย์ TCI มีหลักการว่า คุณภาพบทความเท่ากับคุณภาพวารสาร ดังนั้นวิธีการตรวจสอบแค่ระดับวารสารน่าจะเพียงพอ (ไม่สามารถตรวจสอบระดับบทความ)

Read more…– ( 154 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ


หัวข้อการบรรยาย : ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access
บรรยายโดย : รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการบรรยาย

สรุปจากการบรรยาย

ขั้นตอนหนึ่งของงานวิจัย คือ การตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ในปัจจุบันจะเป็น Publish หรือ Perish ซึ่งมีตัวชี้วัดปริมาณคุณภาพผลงานวิจัยมากมาย เช่น จำนวนบทความ การอ้างอิง วารสารคุณภาพสูง ฯลฯ จึงมีสำนักพิมพ์หาช่องทางการทำธุรกิจแบบใหม่ในยุค OA วารสารแบบ Traditional Journal ผู้อ่านจะต้องจ่ายคือห้องสมุดบอกรับ จำกัดสิทธิ์ในการเข้าอ่าน ส่วนวารสาร Open Access Journals คือ ผู้แต่งบทความจ่ายค่าตีพิมพ์ เปิดฟรีให้ผู้อ่านเกิดเหตุการณ์ สำนักพิมพ์ Nature ขึ้นราคาค่าตีพิมพ์สูงมากแบบไม่มีเหตุผล

การผลิต OAJ เกิด Conflict of interest ทำให้มีการรับตีพิมพ์ทุกเรื่อง เพราะมีรายได้เข้ามา เกิดคำถามในเรื่องคุณภาพของบทความ OAJ มีการเจริญเติบโตมาก (เกิดขึ้น 1,000 ชื่อทุกปี) บรรณารักษ์ชื่อ Jeffrey Beall จาก University of Colorado Denver มีบทบาทในเรื่องนี้มากทำการเปิดโปงสำนักพิมพ์จอมปลอม เช่น Hindawi (อียิปต์) / QMICS Group Bentham Open / MDPI เป็นต้น โมเดล OA ทำให้เกิดปัญหาระดับโลก / ระดับชาติ (มีบทความเรื่องนี้ในวารสาร Nature สามารถติดตามอ่านได้) กระบวนการ review ไม่มีคุณภาพ ไม่ถูกต้อง ไม่โปร่งใส ไม่ยอมรับ นักวิชาการไทยมีการตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้มาก หน่วยงาน สกอ. คปก. เริ่มประกาศรายชื่อวารสารจอมปลอมโดยใช้ Beall’s List

Read more…– ( 952 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ 


หัวข้อการบรรยาย : สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)
บรรยายโดย : รศ.อังสนา ธงไชย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เอกสารประกอบการบรรยาย  

สรุปจากการบรรยาย
OA เกิดขึ้นเมื่อปี 2004 มีการพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นที่ยอมรับจากแนวโน้มของยุคดิจิทัล โมเดล การตีพิมพ์เชิงพาณิชย์ เน้นการตีพิมพ์แบบออนไลน์ซึ่งมีการสร้างคลังเอกสาร (Repository) เป็นคลังเอกสารแบบเปิด (OA) เกิดการสนับสนุนอย่างกว้างขวางมีประโยชน์ต่อการวิจัย นอกจากนี้ OA ยังมีประโยชน์ต่อสังคม เจ้าของผลงาน และ หน่วยงานวิจัยอีกด้วย

Read more…– ( 241 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments