magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

สำรวจภาษาออนไลน์

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เชิญรับฟังการนำเสนอผลงาน “เอสเซนส์” (S-Sense : Social Sensing) ครื่องมือสำหรับรวบรวมติดตาม วิเคราะห์ ประมวลผลข้อความบนเว็บไซต์เครือข่ายเชิงสังคมและเว็บบอร์ด เช่น Facebook Twitter YouTube Pantip.com เป็นต้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญต่อการทำตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน ในวันที่ 3 เม.ย. เวลา 10.00-12.00 น. ณ ชั้น 3 ห้องอโนมา 1 โรงแรมอโนมาn

รายการอ้างอิง :
สำรวจภาษาออนไลน์. โพสต์ทูเดย์ (ปฏิทิน). ฉบับวันที่ 02 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Thai Bioplastics Industry towards ASEAN Economic Community)

ปัจจุบันการใช้พลาสติกในโลกโดยรวมมีมากกว่า 200 ล้านตัน และมีอัตราเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ต่อปี แต่จากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้ม จึงทำให้พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ได้รับความสนใจเพื่อเป็นทางเลือกใหม่และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยจุลชีพอย่างสมบูรณ์ ในระยะเวลา 3-5 ปีมานี้ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถผลิตพลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายและราคาถูกลง จึงทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมชนิดนี้รุดหน้าอย่างก้าวกระโดด และด้วยความก้าวหน้าทางโทคโนโลยี พลาสติกชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง และ อ้อย เป็นต้น ซึ่งสามารถปลูกขึ้นใหม่ทดแทนได้ (Renewable resource) ทั้งยังเป็นวัสดุที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ในการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการประเมินวัฎจักรชีวิต (Life Cycle Analysis) ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก และช่วยทดแทนพลาสติกบางประเภทที่ผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คุณค่าเหล่านี้กอปรกับศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นแหล่งผลิตพลาสติกชีวภาพที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Polybutylenesuccinated, PBS) และ พอลิแล็กติกแอซิด (Polylactic acid, PLA) ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยอาจจะเป็นประเทศแรกในโลกที่มีทั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PBS และโรงงานพลาสติกชีวภาพชนิด PLA ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นทางในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพนานาชนิด ประเทศไทยยังมีศักยภาพด้านการวิจัยพื้นฐานและต่อยอด ทั้งในด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เคมีพอลิเมอร์และวิศวกรรมพอลิเมอร์ ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่เข็มแข็ง นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้กระทรวงการคลังออกมาตรการช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำประมาณ 2% ให้แก่ ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในไทยเป็ฯนเวลาต่อเนื่อง 8 ปี และเจรจากับบีโอไอเพื่อให้คงสิทธิประโยชน์ด้านภาษี 8 ปี เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพนี้เกิดขึ้น  และช่วยสร้างศักยภาพให้เกิดความสามารถในการแข่งขันจากข้อได้เปรียบของประเทศจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ โดยเฉพาะในอาเซียน ซึ่งจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในวันที่ 1 มกราคม 2558 Read more…– ( 205 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหาย

การสัมมนา เรื่อง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหายวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น

ปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยกำลังถูกคุกคามอย่างมาก ทั้งผลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้เร่งฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมและเสียหายให้กลับคืนมา โดยความร่วมมือจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยีและนำไปใช้ให้อย่างเป็นรูปธรรม
วิทยากรประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐ จากการบรรยายในครั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้นำแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูมาใช้แก้ปัญหามาใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น

  1. การฟื้นฟูป่าโดยการโปรยเมล็ดจากอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดจิ๋ว (Micro-UAV)
  2. การส่งเสริมการปลูกป่า
  3. การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  4. การใช้เทคโนโลยีในการติดตามสภาวะของสิ่งแวดล้อมช่วยให้ได้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

Read more…– ( 90 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Information Literacy ในมิติของอาเซียน

การสัมมนา เรื่อง Information Literacy ในมิติของอาเซียน วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC
ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น

Information Literacy ในมิติของอาเซียน ใประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ

  1.  การรู้สารสนเทศ :แนวคิด การศึกษา และวิจัยในประเทศไทย และกลุ่มประชาคมอาเซียนโดย ศ.ดร.ชุติมา สัจจานันท์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2.  การรู้สารสนเทศในยุคดิจิทัล : นโยบายและมุมมองในมิติเทคโนโลยีสารสนเทศ
    โดย ดร. กษิติธร ภูภราดัย สวทช.

วิทยากรทั้งสองท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนี้เป็นอย่างมาก

Read more…– ( 710 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รู้จักกับ AEC ในมุมมองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. หรือ NAC2013 ภายใต้หัวข้อ “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) นั้น นอกจากหัวข้อการสัมมนา การบรรยาย การเสวนา ที่น่าสนใจร่วม 46 หัวข้อแล้ว ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดงานประชุมวิชาการฯ นี้ ได้เผยแพร่หนังสือ เรื่อง “รู้จักกับ AEC ในมุมมองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลในระดับมหภาคที่สำคัญ คือ (จากส่วนหนึ่งของคำนำ)

  1. ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบที่แสดงถึงระดับการพัฒนาและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ข้อมูลทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงข้อมูลการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับสมาชิกอาเซียน
  2. ขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสมาชิกอาเซียนในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทรัพยากรที่จำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนา อันได้แก่ ค่าใช้จ่ายและบุคลากรด้านวิจัยและพัฒา หรือผลผลิตในรูปแบบของบทความ ลิขสิทธิ์ การส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูง
  3. การขับเคลื่อนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้กลไกของอาเซียนที่นำมาสู่ Krabi Initiative รวมถึงข้อตกลงด้านอื่นๆ ที่มีนัยสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ท่านที่สนใจติดตามวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ AEC สามารถหาอ่านจากหนังสือนี้ได้– ( 743 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เยาวชนไทยคว้ารางวัลนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีระดับประเทศ

วันนี้ 29 มี.ค. ศาสตราจารย์ ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รองอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นประธาน แถลงข่าวประกาศผลรางวัลผู้ชนะนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีระดับประเทศ ครั้งที่ 4 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในหัวข้อ นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีกับการประยุกต์ใช้วัสดุนาโน (นาโนคาร์บอน, นาโนซิงค์ออกไซด์ ZnO, นาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ TiO2)ที่หอประชุมใหญ่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Read more…– ( 133 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หนุนสุดยอดนักวิจัยไทยผลิตสินค้าจากสารสกัดเมล็ดลำไย สู่อาเซียนและสากล

ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. ได้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการเตรียมสารสกัดสำคัญจากเมล็ดลำไย ภายใต้ชื่อ Longan-Phytocomplex TM มีคุณสมบัติเด่นคือ มีความปลอดภัยและไม่มีความเป็นพิษต่อยีนส์ (Mutogenicity) แต่ออกฤทธิ์ทำลายและต่อต้านอนุมูลอิสระเซลล์มะเร็งได้ดีมาก สามารถยับยั้งการเสื่อมสลายของคอลลาเจนและ อิลาติน ทั้งยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเมลานินได้อย่างดียิ่งอีกด้วย Read more…– ( 57 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช.ดึงล่ามอิเล็กทรอนิกส์ไฮไลต์งาน NAC2013

สวทช.เปิดงานประชุมวิชาการประจำปี โชว์งานวิจัยเด่น เตรียมความพร้อมสู่เออีซีด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยถึงงานประชุมวิชาการประจำปีของสวทช. หรืองาน NAC 2013 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึง 3 เมษายนนี้ว่า ปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ความพร้อมสู่เออีซี ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่งจะเน้นการนำเสนอผลงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในภาคธุรกิจได้ จริง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 โดยในงานมีทั้งการสัมมนาวิชาการ นิทรรศการในการนำเสนอผลงานวิจัย และการเปิดให้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบของ สวทช. ตั้งเป้าผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 5,000 คน Read more…– ( 76 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯไปทรงเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

รายการอ้างอิง :
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. เดลินิวส์ (กรอบบ่าย-สังคมข่าว). ฉบับวันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความมั่นใจในการใช้พลังงานฟอสซิลของญี่ปุ่น

Published on March 31, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28 มีนาคม  2556
ข่าวหมวดแนวโน้ม -   หลังจากการหยุดผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่น พบว่า มีการใช้พลังงานฟอสซิล เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 ในปี 2012 โดยจำนวนกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากฟอสซิล เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 จากรายงานของ US Energy Information Administration
มีปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพียง 2 แห่ง ที่ดำเนินการหลังจากเกิดคลื่นสึนามิ เมื่อเดือน 2011  ซึ่งมีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดความเสียหายถึง 3 แห่งในเมือง Fukushima Daiichi
หลังจากนั้น ญี่ปุ่น มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว และมีการบริโภคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการ

อ้างอิง : Trend Watch- Japan’s fossil-fuel reliance .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 495 (7442), 414 – 415.
http://www.nature.com/news/seven-days-22-28-march-2013-1.12670– ( 79 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments