magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

เผยงานวิจัย ทุน’สวทช.’

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยในการประชุมรายงานสรุปผลการดำเนินงานของ 2 นักวิจัย ที่ได้รับทุนวิจัยโครงการ NSTDA Chair Professor ว่า ทุนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ มาตั้งแต่ปี 2552

นายทวีศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้ทุนดังกล่าวให้การสนับสนุนไปแล้ว 2 โครงการ โครงการละ 20 ล้านบาท ต่อเนื่องในระยะ 5 ปี และในปี 2558 จะมีการคัดเลือกผู้รับทุนอีกครั้ง สำหรับผู้รับทุนแรกในปี 2552 คือ นายจำรัส ลิ้มตระกูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากโครงการวิจัยเรื่อง “การออกแบบและผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม” ขณะนี้เหลือเวลาศึกษาอีก 1 ปี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ อาทิ เคมีและปิโตรเคมี การแพทย์ เภสัชกรรม เป็นต้น Read more…– ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Seminar on AEC cosmetics rules

The Asean Economic Community will bring about a standardised set of rules and regulations for cosmetic products of all nations in the region. Thai producers have been invited to join the National Nanotechnology Centre’s seminar on “Cosmeceuticals Development for AEC by Science and Technology” on April 1, where the rules and regulations will be unveiled in detail.
At the seminar, research on herbs, clinical tests and marketing aspects of cosmetic products will be revealed to help local producers enhance their competitiveness when the AEC kicks off in 2015.
Go to www.nstda.or.th/nac2013 for seat reservations.

Reference :
Seminar on AEC cosmetics rules
. The Nation (BRIEFS). ฉบับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.แจ้งว่าจะจัดสัมมนา หัวข้อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Cosmeceuticals Development for AEC by S&T) ในวันที่ 1 เมษายนนี้ เวลา  09.00-12.15 น. ที่ห้องประชุม CC-405 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าฟังฟรี ที่ http://www.nstda.or.th/nac2013

รายการอ้างอิง :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC. มติชน (ตะลอนกรุง). ฉบับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 79 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เม.ย.ทีเซลส์เล็งเปิดศูนย์หุ่นยนต์แพทย์

นายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีววิศวกรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายผลิตและบริการคนไทยในราคาที่เหมาะสม และอีก 7 ปีข้างหน้าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าหุ่นยนต์ทางการแพทย์ 100 ล้านบาท/ตัว ลงได้ 50% นอกจากนี้ในวันที่ 9 เม.ย.นี้จะเปิดตัวศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง จะเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล การแพทย์ฉุกเฉิน และการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วย ผู้สูงอายุในระดับแนวหน้าของอาเซียน โดยจะเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกระทรวงมากขึ้น เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ จากข้อมูล Business Report  San Jose, California  ระบุถึงมูลค่าของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูงในตลาดโลกคือ 1.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับประชาคมอาเซียน ประเทศไทยมีความพร้อมสูง โดยเฉพาะมีบุคลากร องค์ความรู้ความชำนาญด้านการแพทย์และนักประดิษฐ์ หุ่นยนต์ แต่ยังขาดการบูรณาการให้เกิดผลผลิตจนถึงระดับอุตสาหกรรมการตลาดและพาณิชย์

“เชื่อว่าหากทุกภาคส่วนผนึกกำลังกันจะสามารถผลักดันหุ่นยนต์ทางการแพทย์ของ ไทยไปสู่ระดับอาเซียนและระดับโลกได้” ผู้อำนวยการศูนย์ทีเซลส์ กล่าว

รายการอ้างอิง :
เม.ย.ทีเซลส์เล็งเปิดศูนย์หุ่นยนต์แพทย์. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556.

                                                      – ( 78 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการวิจัยขององค์การนาซา

Published on March 13, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28  กุมภาพันธ์  2556
ข่าวหมวดวิจัย -  เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2013 องค์การนาซา ได้แถลงการณ์ว่า นาซาได้จัดตั้งหน่วยงานแผนกใหม่ เพื่อพัฒนาภารกิจในการเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านอวกาศ (Space Technology Mission) ในปัจจุบันและอนาคต โดยคณะกรรมการภารกิจพิเศษด้านอวกาศนี้ กล่าวว่า จะมีความร่วมมือกับกับภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงบริษัทด้านป้องกันประเทศ  เพื่อดำเนินการในการสำรวจอวกาศและช่วยผลักดันเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาด้วย

อ้างอิง : NASA programme .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7438), 406-407.
http://www.nature.com/news/seven-days-22-28-february-2013-1.12494– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นิโคตินสามารถส่งต่อโรคสู่ลูกหลานได้หรือไม่

Published on March 13, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์ วิชาการดอทคอม นำเสนอข่าววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ ดังนี้
นักวิทยาศาสตร์จาก Los Angeles Biomedical Research Institute พบว่าสารนิโคตินสามารถสร้างลักษณะการเปลี่ยนแปลงการสืบทอดทางพันธุกรรมบนจีโนมได้ โดยยืนยันว่าพฤติกรรม การสูบบุหรี่ของปู่ย่าตายายอาจส่งผลกระทบต่อโรคหอบหืดและโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ในลูกหลาน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และพบว่าปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อมสามารถตรวจสอบสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวสำหรับรุ่นลูกหลานได้

การทดสอบในหนูที่ท้อง พบว่าหนูที่ได้รับสารนิโคตินจะมีอาการหืด และทำให้ลูกๆ ของมันมีอาการหืดด้วย แม้ว่าจะไม่มีการสัมผัสสารนิโคตินในลูกรุ่นที่สาม การค้นพบนี้แสดงให้ เห็นว่านิโคตินสามารถถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมบนจีโนม ซึ่งมีผลทำให้ลูกหลานมีความบกพร่องในระบบทางเดินหายใจ

อ้างอิง เว็บไซต์วิชาการดอทคอม – http://www.vcharkarn.com/vnews/154883– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หนทางถอนทุนจากงานวิจัยวิชาการ

เนื่องจากแรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความสามารถของมหาวิทยาลัยที่เน้นการทำวิจัย เช่น Stanford University เมือง Palo Alto มลรัฐ California ซึ่งเป็นผู้กำเนิดธุรกิจหลายๆ ธุรกิจที่มีมูลค่าถึงหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ   รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้เริ่มผลักดันให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยพยายามพัฒนาการค้นพบจากการวิจัยให้เป็นสินค้าในตลาด  เป็นผลให้มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งได้ใช้จุดแข็งในการการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นสิ่งดึงดูดอาจารย์และนักศึกษาระดับหัวกะทิให้เข้ามาในมหาวิทยาลัย เพื่อขอเพิ่มงบประมาณเพื่อการวิจัยและทำรายได้จากการค้นพบและประดิษฐ์ต่างๆ   จากแนวโน้มดังกล่าว สามารถกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยที่ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการเปลี่ยนผลงานวิจัยให้เป็นสินค้าจะไม่สามารถเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นได้

แต่หลายครั้งที่มหาวิทยาลัยไม่สามารถทำกำไรจากเทคโนโลยีได้ เพราะการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก นักวิชาการหลายท่านได้ออกมาเตือนว่าบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและมหาวิทยาลัยตั้งความหวังที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ ด้วยการประเมินประโยชน์ที่อาจได้จากการเปลี่ยนงานวิจัยให้เป็นสินค้ามากเกินไป ขณะเดียวกันก็ประเมินความยากและสิ่งที่ต้องลงทุนต่ำเกินไป นักวิชาการหลายท่านแนะนำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ มุ่งใช้ “การถ่ายทอดเทคโนโลยี” เพื่อช่วยให้สังคมได้รับ ประโยชน์จากการค้นพบและทักษะของอาจารย์และนักศึกษามากกว่าเพื่อหาผลประโยชน์ทางการเงิน

การถ่ายทอดเทคโนโลยี หากทำได้สำเร็จจะส่งผลประโยชน์อย่างมากให้มหาวิทยาลัย แต่ถ้าล้มเหลว มหาวิทยาลัยจะสูญงบประมาณจำนวนมาก อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และกลายเป็นข้อคัดค้านต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการมุ่งเน้นไปที่การทำวิจัยต่อไปในอนาคต Read more…– ( 102 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

CPALL ตำนานสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง

สำหรับประเทศไทยร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยเกือบทุกคนเวลาที่เราต้องการซื้อสินค้าเล็กๆน้อยๆเช่นขนมขบเคี้ยวน้ำอัดลมสักขวดหรืออาหารจานด่วนสักจานโดยเฉพาะเมื่อความต้องการนั้นเกิดขึ้นกลางดึก ที่ร้านค้าอื่นๆปิดทำการแล้ว

จากชื่อหลายคนคงเดาได้ว่าร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตกโดยร้านเซเว่นอีเลฟเว่นก่อตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีค.ศ.1927 ตรงกับพ.ศ. 2470 หรือมากกว่า 80 ปีมาแล้ว โดย นายจอห์นเจฟเฟอสันกรีนได้ดัดแปลงโรงเก็บน้ำแข็งเป็นร้านชำเพื่อจำหน่ายไข่ นมและขนมปัง Read more…– ( 130 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทยบิสปาเดย์จัดหนักเพื่อมือใหม่นวัตกรรมพบนักลงทุน

วันนี้ (11 มี.ค.) ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ นายกสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA) เปิดเผยว่า สมาคมจะจัดงานไทยบิสปาเดย์ (Thai-BISPA Day) ในวันที่ 18 มี.ค. นี้หัวข้อ “กลยุทธ์สุดยอด สร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์จากเทคโนโลยี ”

โดยเนื้อหา มีการเวทีสัมมนาถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก วิทยากรจากซิลิคอนวัลเลย์  เมืองที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่สหรัฐ อเมริกา วิทยากรที่เป็นนักพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์จากเกาหลีใต้ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมผู้ประกอบการใหม่ (สตาร์ตอัป) พบนักลงทุน  เพื่อนำเสนอธุรกิจนวัตกรรม อาทิ เจลยางพาราลดแผลกดทับ ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจต่างๆ ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นำไปสู่การตกลงเจรจาการลงทุนร่วมในงานได้ทันที Read more…

– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แนวโน้มบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมไทยไปไกล

วันนี้ (11 มี.ค.) ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ นายกสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย(Thai-BISPA) เปิดเผยแนวโน้มของอุทยานวิทยาศาสตร์และหน่วยบ่มเพาะธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมของประเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและพัฒนาในทางที่ดี โดยระบุว่า นวัตกรรมไบโอเทคโนโลยีของไทยได้สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่จับตามองของบริษัทใน ต่างประเทศ เนื่องจากความสำเร็จทางไบโอเทคโนโลยี จนได้รางวัลระดับโลก มีการลงทุนจากบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัท เฟล็กโซรีเสิรช และ บริษัท ไฮกริมเอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช ทำให้นักวิจัยของไทยได้รับความสนใจ ดังนั้น ไทยควรจะนำจุดนี้ ยกเป็นภาพลักษณ์งานวิจัยของประเทศให้ชัดเจน เพื่อการทำตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ Read more…

– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments