magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ผู้ล่าในน้ำมีผลกระทบต่อชีวิตของพืชที่กักเก็บคาร์บอน

สัตว์ใหญ่ในสายใยอาหารน้ำจืดสามารถส่งผลทางอ้อมต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ


ในระบบนิเวศทางธรรมชาติทั่วโลก สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก ขณะที่สัตว์เล็กก็กินพืชน้ำและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสายใยอาหาร การวิจัยล่าสุดพบว่า การย้ายนักล่าออกจากระบบนิเวศน้ำจืด เป็นการเพิ่มโอกาสในเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำขนาดเล็ก แต่ขณะเดียวกันเป็นการลดปริมาณของพืชน้ำและสาหร่ายซึ่งเป็นอาหารของสัตว์เล็ก โดยกลุ่มการวิจัยเชื่อว่า ผลลัพธ์ของพืชน้ำที่หายไปทำให้ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนิเวศลดลงถึงร้อยละ 93

James Estes นักนิเวศวิทยาจาก University of California เมือง Santa Cruz ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า ผลจากการวิจัยเป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจและมีความน่าเชื่อถือ เพราะมาจากนักวิจัยหลายๆกลุ่มและมีผลที่ตรงกันในเรื่องความสำคัญของนักล่าต่อการปกป้องสิ่งมีชีวิตที่กักเก็บคาร์บอนจากระบบนิเวศที่หลากหลาย

John Richardson นักนิเวศวิทยาด้านน้ำจืด จาก University of British Columbia เมือง Vancouver ประเทศแคนาดาและเป็นผู้เขียนร่วมของงานวิจัยนี้ ซึ่งได้รับตีพิมพ์ออนไลน์ในเว็บไซด์ Nature Geoscience เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2556 กล่าวว่า ผลจากการกระทำของมนุษย์และการจับปลาที่มากไป เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักล่าตามธรรมชาติสาบสูญและส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพอากาศ จนกระทั่งนำไปสู่จำนวนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศที่มากขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภาวะอ๋อ! (Aha experience)

ศาสตราจารย์เอพริล เบนาซิช ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองชาวอเมริกัน ได้ศึกษาสมองของทารกและเด็กเล็กเป็นจำนวนมาก พบว่าเด็กเล็กๆ สามารถเรียนรู้ด้านภาษาได้ด้วยตัวเองจาก “ภาวะอ๋อ (Aha experience)” ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความสำคัญต่อความเข้าใจภาษาพูดและภาษาเขียน และมีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาที่จะต่อยอดไปในด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย

  

Read more…– ( 133 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์อินเดีย

Published on March 13, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 7 มีนาคม  2556
ข่าวหมวดนโยบาย -  นักวิทยาศาสตร์อินเดีย ได้รับความผิดหวังเป็นปีที่ 2 ในเรื่องการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากการของบประมาณจากรัฐบาลปี 2013-2014 โดยที่ 9 สถาบันวิทยาศาสตร์ของอินเดีย  ต้องแบ่งปันงบประมาณก้อน 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐร่วมกัน  ถือได้ว่ามีอัตราเพิ่มจากปี 2012-2013 เพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ
นายกรัฐมนตรี Manmohan Singh ของอินเดีย ได้เคยสัญญาที่จะเพิ่มงบประมาณจำนวนมากในด้านวิทยาศาสตร์  ช่วงปี 2012-2017 แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่กลายเป็นความจริง C.N.R. Rao หัวหน้าสภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่าดีใจที่ ถูกตัดงบประมาณน้อยที่สุด

อ้างอิง : India Budget .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 495 (7439), 10 – 11.
http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12537!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/495010a.pdf– ( 31 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของยุโรป

Published on March 13, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 7 มีนาคม  2556
ข่าวหมวดนโยบาย -  ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป Jose Manuel Barroso ประกาศเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013  เรื่องการจัดตั้งสภา เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาเรื่องทิศทางงานวิจัยที่อาจช่วยส่งเสริมสังคมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ชั้นผู้ใหญ่ 15 ท่าน ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมหลายครั้งในรอบปี  โดยมี Barroso เป็นประธาน หัวหน้าคณะที่ปรึกษา คือ Anne Glover ประกอบด้วยสมาชิก เช่น Susan Gasser นักชีววิทยาระดับโมเลกุลชาวสวิส แห่งสถาบัน Friendrich Miescher Institute ณ กรุง Basel รวมถึง นักประสาทวิทยา Tamas Freund  ผู้อำนวยการของสถาบัน Institute of Experimental Medicine กรุงบูดาเบสด้วย

อ้างอิง : European advisers .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 495 (7439), 10 – 11.
http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12537!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/495010a.pdf– ( 31 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หมีขาวขั้วโลก ยังคงอยู่ในบัญชีรายการสัตว์ใกล้สูญพันธ์ ของสหรัฐ

Published on March 13, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 7 มีนาคม  2556
ข่าวหมวดทั่วไป -   ศาลอุทธรณ์ ในเขตโคลัมเบีย มีมติสนับสนุน ในการตัดสินใจปี 2008 เรื่องที่ว่า หมีขาวขั้วโลกหรือหมีโพลาเป็นรายชื่อหนึ่ง
ที่ถูกคุมคามในกฎหมายสัตว์ใกล้สูญพันธ์  (Endangerd Species Act) ที่มีการให้รายชื่อปลาและ สัตว์ป่า ที่ต้องมีการพึ่งพาสภาพภูมิอากาศ
จากโมเดลการฉายภาพ มีการระบุว่า ถิ่นที่อยู่บนธารน้ำแข็งในฤดูร้อนอาจหายไปในอนาคต  ซึ่งสาเหตุหลักคือ สภาวะโลกร้อน
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2013  ศาลอุทธรณ์ ได้ปฏิเสธไม่ยอมรับ คำยืนขอของรัฐอลาสกาและรัฐอื่นๆ  ในกฎระเบียบเรื่อง adequately  explained and uncontested

อ้างอิง :  Polar bear stays on US endangered list.  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 495 (7439), 10 – 11.
http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12537!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/495010a.pdf– ( 79 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อห้องสมุดยุคใหม่

Published on March 13, 2013 by in Librarian

ในปัจจุบัน สังคมอุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสารและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการให้บริการของห้องสมุดในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเพิ่มศักยภาพของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ หรือนักสารสนเทศของห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต่อการตอบสนองความต้องการข้อมูลข่าวสารหลากหลายรูปแบบของคนในสังคม มีการปรับบทบาทเพื่อบุกเบิก ส่งเสริม และประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารกับนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปใช้ในการบริหารจัดการ แลกเปลี่ยน เผยแพร่ และเรียนรู้องค์ความรู้และวิทยาการใหม่ๆ เพื่อสามารถสนับสนุนการให้บริการและการใช้งานอย่างเหมาะสมกับห้องสมุดและผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมและความต้องการที่แตกต่างกันไป และสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้ แต่การจะปรับเปลี่ยนเป็นห้องสมุดยุคใหม่ให้มีประสิทธิผลนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้กล่าวปาฐกถาไว้ในการประชุมวิชาการศูนย์วิทยทรัพยากร ประจำปี 2556 “เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่ (Live and Learn in the Modern Library)” เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้

Read more…– ( 369 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พายุงวงช้าง

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 9 มี.ค. เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าพายุงวงช้าง ขึ้นบริเวณสะพานปลาแหลมฉบัง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก

ทำให้ชาวประมงที่กำลังนำเรือออกหาปลา พากันนำเรือกลับเข้าฝั่งอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานความเสียหาย หรือผู้ได้รับอันตรายแต่อย่างใด

พายุงวงช้าง (Waterspout) เรียกได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นพายุนาคเล่นน้ำ หรือพวยน้ำ เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายท่อน้ำขนาดใหญ่ เชื่อมต่อระหว่างผืนฟ้าและพื้นน้ำ Read more…– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีปั้นนักฝันสู่นักธุรกิจ

เรื่องการบ่มเพาะธุรกิจ การส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เป็นสิ่งที่หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญและทำกันมากขึ้น เพราะเห็นกันแล้วว่า อีโคซิสเต็มในแต่ละธุรกิจต้องการแนวร่วม ยิ่งมากยิ่งดี มาช่วยกันกระตุ้นอุตสาหกรรมทั้งระบบให้ขับเคลื่อนและเติบโตขึ้น ที่สำคัญการสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้แข็งแกร่ง จะมีผลต่อการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลกของประเทศด้วย Read more…– ( 124 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพลิกตัวของโพลิเมอร์สู่การผลิตพลังงาน

วัสดุศาสตร์: การพลิกตัวของวัสดุเมื่อทำปฏิกิริยา กับน้ำจะถูกแปรสภาพเป็นพลังงาน

 นักวิทยาศาสตร์เคยประสบปัญหาเป็นเวลานาน ในการออกแบบแบตเตอรี่และเซนเซอร์ที่สามารถเพิ่มพลังงานเองได้หลังจากได้รับพลังงานจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจากแสง ความร้อน หรือแม้แต่จากการเคลื่อนไหว แต่ในปัจจุบันนักวิจัยสามารถพัฒนาวัสดุที่สร้างพลังงานได้เองจากการพลิกตัวของวัสดุเมื่อทำปฏิกิริยากับละอองน้ำ

Ming-ming Ma นักวิจัยคนหนึ่งในกลุ่มวิจัยซึ่งนำโดย Robert S. Langer จากสถาบัน MIT กล่าวว่า วัสดุจากโพลิเมอร์ต้องการเพียงแค่ละอองน้ำจำนวนเล็กน้อยเพื่อก่อให้เกิดพลังงาน โดยใช้แค่ความชุ่มชื้นบนผิวก็เพียงพอ เริ่มแรกในงานวิจัยพวกเขาพยายามพัฒนาโพลิเมอร์ที่มี คุณสมบัติที่ทั้งแข็งแรงและยืดหยุ่นเพื่อนำไปใช้สร้างขั้วไฟฟ้าจากสารอินทรีย์ (Organic Electrodes) แต่พอเห็นปฏิกิริยาที่โพลิเมอร์มีต่อน้ำ เลยตัดสินใจที่จะพัฒนาวัสดุเพื่อนำไปใช้ในทางการสร้างพลังงานแทน
ในงานวิจัยนี้ ใช้การรวมตัวระหว่าง Polypyrrole matrix และ Polyol-borate gel เพื่อสร้างวัสดุโพลิเมอร์ที่หนา 30 µm แล้วเมื่อวัสดุดูดซึมความชื้นจะทำให้โมเลกุลของน้ำไปแยกพันธะไฮโดรเจน ระหว่าง Polypyrrole และ Polyol แล้วเกิดการพองตัว ซึ่งหลังจากวัสดุพองตัวแล้วสัมผัสกับละอองน้ำ จะเกิดปฏิกิริยาการม้วนตัวแล้วพลิกตัวอย่างต่อเนื่อง โดยด้านที่เปิดออกสู่อากาศก็จะมีการขับโมเลกุลน้ำออก ขณะที่ด้านที่คว่ำลงก็จะดูดซึมน้ำเมื่อรวมกับการพลิกตัวก็จะเกิดปฏิกิริยาไป เรื่อยๆจนเกิดเป็นวัฏจักร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– ( 76 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชูข้าวใหม่ขึ้นแท่นพรีเมียมทนน้ำท่วม-ขาวนุ่มเทียบหอมมะลิ 105ขอ1พันล.เปลี่ยนพันธุ์ทั้งประเทศ

โพสต์ทูเดย์กรมข้าวของบ 1 ,000 ล้านเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทั้งประเทศ พร้อมเปิดตัว2 สายพันธุ์ ทนน้ำท่วม-ต้านเพลี้ย
นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า กรมได้ของบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1,006 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวใหม่ทั้งประเทศในงบประมาณปี 2557 ตามแผนการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุก 3-5 ปี เพื่อรักษาคุณภาพข้าว ซึ่งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) แสดงความกังวลอยู่

ทั้งนี้ พันธุ์ข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเปลี่ยนมาใช้พันธุ์ข้าว กข.6 และข้าวหอมมะลิ 105 กข.51 และภาคกลางเป็นพันธุ์ กข.41 กข.47 และ กข.49 Read more…– ( 2484 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments