magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

โลกร้อน…ทำให้สัตว์น้ำมีขนาดเล็กลง

Published on December 28, 2012 by in S&T Stories

นักวิจัยจากหลายสถาบันของอังกฤษ ได้แก่ ควีน แมรี คอลเลจ, มหาวิทยาลัยลอนดอน และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิน้ำปรับสูงขึ้น กำลังเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำมีขนาดเล็กลง โดยสัตว์โตเต็มวัยทั้งในทะเลและแหล่งน้ำจืดมีขนาดลดลงกว่าสัตว์บกถึง 10 เท่า การค้นพบนี้สะท้อนความเป็นไปได้ว่าอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารทะเลหรืออุตสาหกรรมประมงในอนาคต

ทั้งนี้ นักวิจัยพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์มีขนาดแตกต่างกันเป็นผลจากปริมาณก๊าซออกซิเจนในน้ำที่น้อยกว่าในอากาศเพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำต่างต้องการก๊าซชนิดนี้เพิ่มขึ้น แต่สัตว์น้ำต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มายากกว่า

 

ที่มา :  ” รอบรู้รอบโลก : โลกร้อน…ทำให้สัตว์น้ำมีขนาดเล็กลง” จดหมายข่าว วว. 15(12) :11 ; ธันวาคม 2555.

 – ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“นิวส์วีค”เผยโฉมฉบับสุดท้าย ก่อนแปลงโฉมเป็นสื่อดิจิตอล

นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ “นิวส์วีค” ที่มีอายุกว่า 80 ปี  เผยโฉมนิตยสารฉบับสุดท้ายแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาและเตรียมวางแผงในวันที่ 31 ธ.ค.นี้  ก่อนดำเนินการหยุดตีพิมพ์นิตยสารแบบเล่มอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป โดยจะหันมาเผยแพร่ข่าวสารและผลิตสื่อผ่านระบบดิจิตอลแทน

Read more…– ( 81 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฟอร์บส์จัด 10 รถยนต์ยอดนิยมแห่งปี 2012

นิตยสารฟอร์บส์ จัดอันดับ 10 รถยนต์ยอดนิยมแห่งปี 2012 (The World’s Most Popular Cars: A New Champ) ที่หลากหลายค่ายต่างงัดกลยุทธ์ มาขายกันเต็มที่ในปี 2012 ทั้งการออกแบบด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ รวมไปถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้รถ โดยเฉพาะในประเทศที่มีการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ อย่าง เยอรมันนี รัสเซีย จีน รวมถึงประเทศไทย

โดย10 อันดับ รถยอดนิยมส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ประหยัดน้ำมัน ประกอบไปด้วย

Read more…– ( 139 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10 ภาพอินสตาแกรมรวมเหตุการณ์ของปี 2012

วันนี้ (28 ธ.ค.) เว็บไซต์ต่างประเทศ “เดลี่เมลล์” ประเทศอังกฤษ นำเสนอภาพจากเว็บไซต์แบ่งปันภาพถ่ายที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นสื่อออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2012 อย่าง อินสตาแกรม (Instagram)ซึ่งผู้ใช้สามารถแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขาได้ทันที

 

Read more…

– ( 88 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำไม “รูดอล์ฟ เดอะ เรนเดียร์” ต้องจมูกแดง ???

ใกล้ถึงเทศกาลคริสต์มาสแล้ว “รูดอล์ฟ เดอะ เรนเดียร์” ก็จะเผยโฉมออกมาให้เห็นกันบ่อยๆ ครั้ง คำถามหนึ่งที่ถามกันบ่อยๆ ก็คือ แล้วทำไม รูดอล์ฟ ต้องจมูกแดงด้วย? คำถามที่ว่านั้นดูเป็นคำถามขำ-ขำ แต่กลับมีทีมแพทย์กลุ่มหนึ่งทำวิจัยอย่างเป็นงานเป็นการเพื่อดูว่าเป็นเพราะ เหตุใดจมูกของ รูดอล์ฟ เดอะ เรนเดียร์ ถึงได้จมูกแดงสว่างไสวขนาดนั้น

Read more…– ( 103 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ขอแสดงความยินดีคณะนักวิจัยหน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพสำหรับผลงานการศึกษาติดตามเชื้อราก่อโรคในมดได้รับเลือกแสดงบนเว็บไซต์ A-IMBN Research

ผลงานวิจัยของนางสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยวิจัย ห้องปฏิบัติการราวิทยา คณะผู้ร่วมวิจัยจากห้องปฏิบัติการราวิทยา และห้องปฏิบัติการนิเวศวิทยา ประกอบด้วย ดร. นพพล คบหมู่ นางสาวกนกศรี ทัศนาทัย นายอาทิตย์ คนสนิท นางสาววาสนา น้อยศรีภูมิ นายประเสริฐ ศรีกิติกุลชัย นายรัฐศาสตร์ สมนึกและ ดร. เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด ได้รับการคัดเลือกแสดงบนเว็บไซต์ A-IMBN Research ในเดือนพฤศจิกายน 2555 จากผลงานวิจัยเรื่อง “Life cycle, host range and temporal variation of Ophiocordyceps unilateralis /Hirsutella formicarum on formicine ants” ในวารสาร Journal of Invertebrate Pathology

Read more…– ( 86 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หุ่นยนต์อยู่ร่วมกับมนุษย์

นักเทคโนโลยีจากเนคเทค พาไปเปิดโลกอนาคตของหุ่นยนต์ยุค 2.0 หรือ Robotics 2.0 ที่จะทำงานใกล้ชิดมนุษย์ แถมยังมีประสาทสัมผัสเป็นเลิศ

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Industrial robot) ที่เป็นมิตรกับมนุษย์ สามารถทำงานเคียงคู่กับมนุษย์ในส่วนที่เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ เช่น งานที่พละกำลังมหาศาล หรือที่ต้องใช้ความละเอียดจนมนุษย์อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย จะเป็นแนวโน้มของการผลิตในอนาคต (Future of Manufacturing) แนวโน้มหรือ trend ของวิทยาการหุ่นยนต์ในยุคต่อจากนี้ไป ที่เราเรียกว่ายุค Robotics 2.0 นั้นยังมีอีกหลายแนวโน้ม
Read more…– ( 135 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘ของจิ๋ว’มากประโยชน์

ผู้หญิงน้อยคนนัก ที่จะเลือกเดินบนเส้นทางสายวิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จ จนได้รับเลือกให้ได้รับทุนวิจัยระดับประเทศ

ผู้หญิงน้อยคนนักที่จะเลือกเดินบนเส้นทางสายวิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จ แต่ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป สำหรับ 2 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่หลงไหลในเทคโนโลยีจิ๋ว จนได้รับเลือกให้ได้รับทุนวิจัยระดับประเทศ

Read more…– ( 160 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลาสมิด ดีเอ็นเอพาหะนิยมใช้ในงานพันธุวิศวกรรม

พลาสมิดตามธรรมชาติที่แยกได้จากแบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายเป็นดีเอ็นเอพาหะที่เหมาะสมใช้ในงานพันธุวิศวกรรม โดยพลาสมิดทำให้ดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการสามารถเพิ่มจำนวนและแสดงออกได้ในเซลล์ที่ต้องการแสดงออกซึ่งลักษณะนั้น เริ่มแรกตัดพลาสมิดและดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ แล้วเชื่อมต่อดีเอ็นเอทั้ง 2 ตัวอย่างด้วยเอนไซม์ ligase หลังจากนั้นส่งถ่ายเข้าสู่เซลล์ (transformation) ตัวอย่างพลาสมิดที่นิยมใช้ได้แก่ พลาสมิด pUC ซึ่งมีส่วนประกอบคือ ยีน B-galactosidase (lac Z) ยีนต้านทานต่อยาปฏิชีวนะแอมพิซิลิน ลำดับเบสที่จำเพาะของเอนไซม์ตัดจำเพาะหลายชนิดเรียงตัวซ้อนกันอยู่ในบริเวณยีน lac Z โดยมีลำดับเบสที่จำเพาะของเอนไซม์เพียง 1 ตำแหน่งต่อ 1 เอนไซม์ ดังนั้นบริเวณนี้จึงใช้เป็นที่เชื่อมต่อกับดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการเรียกบริเวณนี้ว่า multiple cloning site

ที่มา : สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. “เวกเตอร์” ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 77-105. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.– ( 268 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เบสของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ

เบสเป็นส่วนประกอบย่อยหนึ่งของนิวคลีโอไทด์ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ โดยต่ออยู่กับน้ำตาลซึ่งต่ออยู่กับหมู่ฟอสเฟต เบสแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ พิวรีน (purine) ได้แก่ adenine (A) guanine (G) และไพริมิดีน (pyrimidine) ได้แก่ cytosine (C) thymine (T) uracil (U) เบส T พบเฉพาะในดีเอ็นเอ ในอาร์เอ็นเอพบเบส U แทน เบสเหล่านี้ต่อกับน้ำตาลดีออกซีไรโบสในดีเอ็นเอ ส่วนในอาร์เอ็นเอต่อกับน้ำตาลไรโบส เบสในดีเอ็นเอช่วยให้สายโพลีนิวคลีโอไทด์ 2 สายจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนเป็นเกลียวคู่ โดยเบส A เกิดพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะกับเบส T และเบส G เกิดพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะกับเบส C

ที่มา : สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. “โครงสร้างและหน้าที่ของดีเอ็นเอ” ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 5-41. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.– ( 62 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments