ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพการพัฒนาตนเองของคนไทย โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการสร้าง คนรุ่นใหม่ และสร้างระบบวิจัยใหม่ ที่มีประสิทธิภาพ กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ โครงการรวมกลุ่มมหาวิทยาลัย โครงการสมองไหลกลับ การให้ทุนการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมวิชาชีพนักวิจัย ตลอดจนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาภายในองค์กร เป็นต้น ในการนี้ ได้ร่วมกับสถาบันในต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดวิทยาการ ตัวอย่างเช่น ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชุเซทส์ (MIT) และมูลนิธิศึกษาพัฒน์ จัดให้มีการวิจัยและพัฒนาร่วมกันเพื่อสนองตามความต้องการของภาคเอกชน และจัดโครงการใหม่ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คือ Chemical Engineering Practice School เพื่อเป็นตัวอย่างการศึกษาวิจัยระดับสูง ที่ใช้การแก้ปัญหาของภาพการผลิตเป็นแกน ในด้านภาคเอกชนได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริม ความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยี ของภาคเอกชนขนาดเล็ก และขนาดกลางโดยการให้บริการปรึกษาอุตสาหกรรม การให้ทุนกู้ยืมเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี และบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนการนำ ระบบคุณภาพ ISO 9000 เข้ามาใช้ในองค์กร
นอกจากนี้เพื่อให้เกิดศูนนย์รวมของการเชื่อมโยงวิจัยระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และเอื้ออำนวยต่อธุรกิจเทคโนโลยีภายในประเทศ สวทช. ได้ดำเนินการจัดสร้าง อุทยานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science Park) ขึ้น อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ แห่งนี้จะประกอบด้วยอาคารสำนักงาน และอาคารวิจัยของศูนย์แห่งชาติทั้งสาม ห้องปฏิบัติการวิจัย หน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยี โรงงานต้นแบบ อาคารเพาะปลูกทดลอง อาคารผู้เช่าร่วม (multi-tenamt) เครื่องมืออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนบริการเชื่อมโรงกับเครือข่ายต่างๆ ครบวงจร ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว ซึ่งจะแล้วเสร็จและเริ่มให้บริการได้ ประมาณต้นปีพุทธศักราช 2542
คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร PDF – 12.25 MB