การวิจัย พัฒนา ออบแบบและวิศวกรรม
จุดมุ่งหมายในการสนับสนุนและดำเนินการวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม ซึ่ง สวทช. ดำเนินการอยู่นั้นต้องการให้เกิดการนำผลงานไปประยุกต์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากผลผลิตซึ่งหมายถึงจำนวนโครงการวิจัยฯ แล้ว สวทช. ยังมุ่งมั่นที่จะนำผลงานไปก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนและสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นนักวิจัยให้นำผลงานวิจัยยื่นจดสิทธิบัตรด้วย
สวทช. ได้ดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม ใน 5 สาขา คือ สาขาพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขานาโนเทคโนโลยี และ สาขาเทคโนโลยีพลังงาน ในปีงบประมาณ 2548 สวทช. ดำเนินการโครงการวิจัยต่อเนื่องมาจากปี 2547 จำนวน 835 โครงการและมีโครงการใหม่เกิดขึ้น 434 โครงการ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2548 นี้ สวทช. มีการดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม รวมทั้งสิ้น 1,269 โครงการ
การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สวทช. ได้ดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีกิจกรรมที่สำคัญได้แก
- การสนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านการวิจัย โดยให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก ทุนนักวิจัยอาวุโส รางวัลพัฒนาวิชาชีพนักวิจัย
- การสัมมนา การฝึกอบรมเฉพาะทาง รวมถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรในด้านการผลิต
- การจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก และเยาวชนเพื่อให้มีกระบวนการคิดแบบมีเหตุผล และมีทักษะทางวิทยาศาสตร์
- การสร้างความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สาธารณชน ได้แก่ การจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ผลงานและความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เป็นต้น
ในปีงบประมาณ 2548 สวทช. มีผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 71,533 คน
การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตและชุมชน
กิจกรรมด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิดและชุมชุนที่สำคัญคือ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Industrial Technology Assistant Program, ITAP) การนำผลงานวิจัย และพัฒนาไปถ่ายทอดให้กับอุตสากรรมการผลิตหรือชุมชนซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เป็นการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์ โดยเน้นที่จำนวนผู้ที่นำผลงานไปใช้ประโยชน์ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2548 มีผู้ใช้บริการทางด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ สวทช. ทั้งสิ้น 720 หน่วยงาน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park, TSP) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software Park, SWP) เป็นต้นแบบของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่ก่อให้เกิดกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาในประเทศ โดยในปีงบประมาณ 2548 มีผู้ประกอบการมาเช่าพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 88 ราย โดยเป็นผู้เช่าในเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จำนวน 56 ราย และเป็นผู้เช่าในอุทยานวิทยาศาสาตร์ประเทศไทย จำนวน 32 ราย
นอกจากนี้ สวทช. ได้ดำเนินงานด้านนโยบายและกฎหมายที่เกียวข้อง สร้างความร่วมมือกับสถาบันเครือข่าย ให้บริการข้อมูลและสร้างฐานข้อมูลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมู่ลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สวทช. ยังได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ทดสอบและสอบเทียบ เพื่อให้บริการแก่ภาครัฐและเอกชน โดยห้องปฏิบัติการดังกล่าวมีทั้งที่ตั้งอยู่ใน สวทช. และสถาบันเครือข่าย กิจกรรมที่สำคัญอีกกิจกรรมหนึ่งคือการให้การรับรองโครงการวิจัยแก่ภาพเอกชน เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีกับกรมสรรพาการได้ถึงร้อยละ 200
คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร PDF – 12.34 MB