หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ รายงานสถานภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Elsevier ประกาศเปิดให้บทความวิจัยโนเบล 2010
Elsevier ประกาศเปิดให้บทความวิจัยโนเบล 2010
1 ม.ค. 2554
0
รายงานสถานภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศวิเคราะห์

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 สำนักพิมพ์ Elsevier ประกาศแสดงความยินดีกับ ผลงานการค้นพบที่โดดเด่นของผู้ได้รับรางวัลโนเบลประจำปี 2010 ในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และ แพทยศาสตร์  Elsevier กล่าวว่ารู้สึกถึงความมีสิทธิพิเศษในการที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับนักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 2010 นี้ หลายๆท่าน คือได้มีโอกาสร่วมสร้างผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีความสำเร็จอย่างสูงในระดับโลก

ผู้บริหารระดับสูงของ Elsevier กล่าวว่า นับเป็นเวลามากกว่าครึ่งศตวรรษ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยอันโดดเด่น กับสำนักพิมพ์ Elsevier ทั้งวารสาร และ หนังสือ รวมถึงได้ร่วมงานกันในฐานะ สมาชิกของกองบรรณาธิการ หรือ เป็นบรรณาธิการ ในวารสารชื่อต่างๆของ สำนักพิมพ์ Elsevier จำนวนมากมาย

Elsevier  ขอสรรเสริญและยกย่อง จึงขอร่วมเป็นเกียรติในความสำเร็จของท่านเหล่านี้  โดยได้จัดบริการเปิดอนุญาตให้สาธารณชน เข้าถึงบทความวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลทั้ง 3 สาขา ในปี 2010 นี้ บนฐานข้อมูล SciVerse ScienceDirect ได้ฟรี (หมายความว่า สามารถให้ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มได้ฟรี Free access to the prize-winning articles)

SciVerse คือชื่อแพลทฟอร์มชุดใหม่ของ สำนักพิมพ์ Elsevier ที่จัดเตรียมให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นฐานข้อมูล 2 ฐานหลักของ Elsevier ได้อย่างสะดวก  รวดเร็ว  คือ ฐานข้อมูล ScienceDirect และ Scopus เปิดแนะนำตัวไปเมื่อราว เดือน กันยายน 2553 นี้  (คือ เป็นการทำการเชื่อมโยงไปมาถึง 2 ฐานในหน้าหลักใหม่คือ SciVerse)

รางวัลโนเบล สาขาเคมี ประจำปี 2010

ในผลงานเรื่องการวิจัย พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา Palladium-catalyzed cross couplings ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์ ที่เป็นการค้นพบ วิธีการเชื่อมโยงอะตอมของคาร์บอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเพื่อสร้างโมเลกุลทางเคมีที่ซับซ้อนที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงอุตสาหกรรมยาและอิเล็กทรอนิกส์

ผู้ได้รับรางวัล โนเบล สาขาเคมี คือ  นักวิทยาศาสตร์ 3 ท่านที่ได้รับรางวัลร่วมกัน   คือ

1. Richarge F.Heck  ศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัย Delaware สหรัฐอเมริกา เคยมีการตีพิมพ์บทความต่างๆ ในวารสารชื่อ Inorganica Chimica Acta, Journal of Organometallic Chemistry และ  Tetrahedron

2. Ei-ichi Negishi ศาสตราจารย์  แห่งมหาวิทยาลัย Purdue  สหรัฐอเมริกา เคยมีการตีพิมพ์บทความต่างๆ ในวารสารชื่อ Heterocycles, Inorganica Chimica Acta, Polyhedron, Tetrahedron, Journal of Molecular Catalysis A  etc.

3. Akira Suzuki  ศาสตราจารย์  แห่งมหาวิทยาลัย Hokkaido ญี่ปุ่น เคยมีการตีพิมพ์บทความต่างๆ ในวารสารชื่อ Journal of Organometallic Chemistry และ Tetrahedron

ตัวอย่าง บทความวิจัยที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ฐานข้อมูล ScienceDirect

Richard F. Heck 

1. Palladium catalyzed synthesis of aryl, heterocyclic and vinylic acetylene derivatives
Journal of Organometallic Chemistry, 1975, 93 (2), pp. 259-263; Dieck, H.A., Heck, F.R .

Ei-ichi Negishi

2. Palladium-catalysed cross-coupling reaction of alkynylzincs with benzylic electrophiles
Tetrahedron Letters, 2005, 46 (16), pp. 2927-2930. Qian, M., Negishi, E.-I.

Akira Suzuki 

3.  A new stereospecific cross-coupling by the palladium-catalyzed reaction of 1-alkenylboranes with 1-alkenyl or 1-alkynyl halides
Tetrahedron Letters, 1979, 20 (36), pp. 3437-3440; Miyaura, N., Yamada, K., Suzuki, A.

แสดงรายการบทความวิจัย จัดเตรียมให้ฟรี  รวม 8 เรื่อง

อ้างอิงจาก เว็บไซต์
http://asia.elsevier.com/elsevierdnn/NobelPrize/tabid/1660/Default.aspx?utm_source=ECU001&utm_campaign=&utm_content=&utm_medium=email&bid=OCREX1F:EL5B5#chemistry

Accessed as 25 November 2010

รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2010

โนเบล ฟิสิกส์ 2010 ได้แก่ 2 นักฟิสิกส์ผู้เป็นอาจารย์และลูกศิษย์ Andre Geim กับ Konstantin Novoselov  แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร  ที่ทำการวิจัยและพัฒนา
“กราฟีน” แผ่นคาร์บอนบางแค่ 1 อะตอม  มีคุณสมบัติพิเศษไม่เหมือนธรรมดา ทั้งแข็งแรง บางเบา และ มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้   สามารถนำไปประยุกต์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

Andre K. Geim  ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ชุด Physica E: Low dimensional Systems and Nanostructure รวมถึงเป็นบรรณาธิการรับเชิญ

Konstantin S. Novoselov  เป็นผู้แต่ง 1 บท (chapter) เรื่อง Graphene : Electronic properties ในสารานุกรม ปี 2008 ชื่อ Encyclopedia of Materials : Science and Technology.

ตัวอย่าง บทความวิจัย ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ฐานข้อมูล ScienceDirect

1. Microscopic view on a single domain wall moving through ups and downs of an atomic washboard potential
Physica E: Low-Dimensional Systems and Nanostructures, 2004, Vol. 22, pp. 406-409, Novoselov, K.S., Dubonos, S.V., Hill, E., Geim, A.K.

2.  On the roughness of single- and bi-layer graphene membranes
Solid State Communications, 2007, Vol. 143, pp. 101-109, Meyer, J.C., Geim, A.K., Katsnelson, M.I., Novoselov, K.S., Obergfell, D., Roth, S., Girit, C., Zettl, A.

แสดงรายการบทความวิจัย จัดเตรียมให้ฟรี  รวม 15 เรื่อง

อ้างอิงจาก เว็บไซต์
http://asia.elsevier.com/elsevierdnn/NobelPrize/tabid/1660/Default.aspx?utm_source=ECU001&utm_campaign=&utm_content=&utm_medium=email&bid=OCREX1F:EL5B5#chemistry

Accessed as 25 November 2010

รางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ประจำปี 2010

รางวัล โนเบลสาขาการแพทย์ ประจำปี 2010  คือ นายแพทย์ Robert G. Edwards ศาสตราจารย์กิตติคุณ แห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดส์ สหราชอาณาจักร ากผลงานการบุกเบิกและพัฒนาวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilisation, IVF) ซึ่งช่วยรักษาคู่สมรสที่มีภาวะไม่เจริญพันธุ์ที่มีบุตรได้ยากให้สามารถมี บุตรได้

Robert G. Edwards  เป็นผู้ก่อตั้ง วารสาร ชื่อ  Reproductive BioMedicine Online (RMBOnline)  ในปี 2000 ได้ร่วมพัฒนาจนกลายเป็นวารสารชั้นนำในสาขานี้ ละในปี 2009 ได้เป็นบรรณาธิการกิตติคุณ ของ RMBOnline

ตัวอย่าง บทความวิจัย ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ฐานข้อมูล ScienceDirect

1. Maturation in vitro of human ovarian oocytes
Lancet, 1965, 286 (7419), 926 929, Edwards R. G.

2.  Towards single births after assisted reproduction treatment
Reproductive BioMedicine Online, 2003, 7(5), 506-508. Edwards, R.G.

แสดงรายการบทความวิจัย จัดเตรียมให้ฟรี  รวม 5 เรื่อง

อ้างอิงจาก เว็บไซต์
http://asia.elsevier.com/elsevierdnn/NobelPrize/tabid/1660/Default.aspx?utm_source=ECU001&utm_campaign=&utm_content=&utm_medium=email&bid=OCREX1F:EL5B5#chemistry

Accessed as 25 November 2010

นอกจากนี้ Elsevier แสดงรายการบทความของนักวิทยาศาสตร์โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2010 ด้วย

แปลและเรียบเรียง โดย
รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553

แชร์หน้านี้: