บทความในชื่อเรื่องข้างต้นนั้น เป็นบทความหลัก (Theme) ของไซแอนติฟิกอเมริกัน ฉบับพิเศษ ประจำเดือนกันยายน 2553 นี้ โดยหน้าปกหลักมีสีแดงทั้งหน้า และมีข้อความว่า จุดสิ้นสุด ใช่หรือไม่ (The end. Or is it?) มีความยาวกว่า 60 หน้า แบ่งเนื้อหาตามหมวดหมู่ต่างๆ
ความหลงใหลในเรื่องจุดจบของโลกอย่างชั่วนิรันด์ ทำไมมนุษย์ถึงได้หลงใหลในเรื่องการสิ้นสุดของโลก (Eternal fascinations with the end, why we’re suckers for stories of our own demise) เป็นชื่อเรื่องหลักของบทนำ เขียนโดย Michael Moyer ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นี่เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่มีการพูดถึงการสิ้นสุดของโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ หัวข้อนี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในหลายๆ เหตุการณ์ ได้แก่
1. บรรดานักเขียนและนักกำกับภาพยนต์เรื่องดัง ซึ่งได้ทำการถอดรหัสจากการบันทึกและปฏิทินซึ่งกำหนดวันเดือนปีไปจนถึงแค่ปี ค.ศ. 2012 ของชนเผ่ามายาโบราณในเรื่องจุดจบของโลก
2. เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีคดีความฟ้องร้องสืบเนื่องมาจากความกลัวกันว่า เครื่อง Large Hadron Collider ซึ่งตั้งอยู่ลึกลงไปใต้ก้นทะเลสาบเจนีวาอาจจะทำให้เกิด black hole ขึ้นได้
3. ก่อนหน้านั้น บรรดาเจ้าของบริษัทและอุตสาหกรรมต่างเตรียมตัวเตรียมทุนรับกับการเปลี่ยนศตวรรษใหม่ที่จะมาพร้อมกับเลขศูนย์สองตัวในระบบบอกวันเดือนปีของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์โปรแกรมไม่สามารถคำนวนข้อมูลได้อีกต่อไป นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างไม่กี่ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการดำเนินไปของกาลเวลาก็สามารถสั่นคลอนความเป็นไปของมนุษยชาติได้
มนุษย์ส่วนใหญ๋มักคิดกันว่าวิทยาศาสตร์ที่เป็นวิทยาการ เน้นให้มนุษย์รับรู้และเห็นความจริงโดยผ่านการทดลองซึ่งจะทำให้เราเลิก หมกมุ่นอยู่กับความคิดเกี่ยวกับจุดจบของมนุษยชาติ แต่จริงๆ แล้วมันกลับตรงกันข้ามวิทยาศาสตร์กลับหยิบยื่นสิ่งที่ทำให้เรากังวลมากยิ่งขึ้นกับเรื่องเหล่านี้
เชื่อหรือไม่ว่าบุคคลหลายท่านที่มีความเชื่ออย่างลึกซิ้งและสนิทใจเกี่ยวกับเรื่องจุดจบของโลกนี้ กลับกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์เสียเอง อาทิเช่น ผู้ร่วมก่อตั้งและนักวิทยาศาสตร์อาวุโสของบริษัท Sun Microsystems ชื่อ Bill Joy ได้กล่าวเตือนถึงภัยที่เกิดจากหุ่นยนต์ตัวจิ๋วที่ปฏิเสธที่จะอยู่ใต้การควบคุมของมนุษย์ว่า หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าหรือแม้แต่กระทั่ง โลกใบนี้
นักดาราศาสตร์ที่ชื่อ Royal Martin Rees ซึ่งได้ออกมาประกาศอย่างเชื่อมั่นต่อสาธารณชนถึงภัยพิบัติทางชีวภาพซึ่งอาจ เกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของมนุษย์ ว่าจะทำให้การล้มตายของผู้คนเป็นจำนวนอย่างน้อยหนึ่งล้านคนก่อนจะถึงปี ค.ศ. 2020 (แต่จนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่มีรายงานดังกล่าว)
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสภาพอากาศหลายท่าน ก็ออกมาเตือนถึงภาวะโลกร้อนที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ มีต้นกำเนิดมาจากทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อว่า Thomas Malthus ซึ่งได้พยากรณ์ไว้ในคริสศตวรรษที่ 19 ว่าการเพิ่มจำนวนของประชากรโลกจะนำไปสู่ความอดอยากและภัยพิบัติกระจายไปทั่วโลกซี่งท้ายที่สุดแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นดังที่ได้มีการทำนายเอาไว้ แต่นั้นก็ไม่ ได้เปลี่ยนความคิดของนักชีววิทยาท่านหนึ่งชื่อว่า Paul R. Ehrlich ซึ่งได้กล่าวเตือนเอาไว้ในหนังสือที่เขียนไว้ในปี 1968 ชื่อว่า The Population Bomb โดยได้กล่าวเตือนว่าภาวะความอดอยากจะกระจายไปทั่วโลกภายในเวลาไม่ถึงสอง ทศวรรษจากวันที่หนังสือเล่มนี้ได้ตีพิมพ์ แต่แล้วสิ่งที่พยากรณ์ไว้ก็ไม่เกิดขึ้นในทางกลับกันมันก็ไม่ได้ หมายความว่าสิ่งที่เหล่านักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ได้ทำนายไว้จะไม่เกิดขึ้น กระนั้นก็ตามมนุษย์โดยทั่วไปยังตระหนักและกังวลเป็นอย่างมากกับภัยพิบัติ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากวิทยาศาสตร์นั่นเอง อาจจะเป็นตัวสาเหตุของปัญหา แต่วิทยาศาสตร์ก็สามารถอธิบายได้ว่าทำไมเราจึงกลัวกันเกินเหตุ นักวิจัยบางสำนักเชื่อว่าความกลัวต่อภัยพิบัติและหายนะเกิดจากความวิตกกังวล กับสถานะการณ์ซึ่งอยู่เหนือความสามารถที่เราจะควบคุมได้ John R. Hall นักสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวี และ นักเขียนหนังสือเรื่อง Apocalypse: From Antiquity to the Empire of Modernity กล่าวว่าความกลัวต่ออาวุธนิวเคลียร์ และ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นจุดสนใจของทุกคนในช่วงปี 1960 – 1970 ได้เป็นปัจจัยสำคัญขอในขณะนี้ การเป็นอยู่ของมนุษยชาติก็ได้รับผลกระทบจากสิ่งคุกคามพื้นฐานเช่น กัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่เหตุการ 9/11 และความถดถอยทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกันกับความหายนะทางเทคโนโลยีเช่นความเสียหายที่เกิดจากการรั่วไหล ของน้ำมันดิบของบริษัท BP ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เราเกิดความสงสัยว่าสังคมในยุคปัจจุบันมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตัวเองหรือไม่ และถ้าหากว่าสังคมมนุษย์กำลังมุ่งหน้าไปสู่ความล่มสลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็อาจจะหมายความว่ามันกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว
สิ่งที่ผลักดันให้เราเกิดความรู้สึกเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากธรรมชาติ ของมนุษย์ซึ่งถูกกำหนดมาให้มีความสงสัยอยากค้นหาความเป็นไปของธรรมชาติ และมันก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์อีกเช่นกัน ในการที่จะสรุปเอาใจความสั้นๆ จากข้อมูลมากมายที่มีความสลับซับซ้อน (ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์อันสลับซับซ้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถูกสื่อมวลชน รายงานให้กลับกลายเป็นเรื่องไร้สาระ) ความต้องการของมนุษย์ในการเชื่อมโยงเหตุการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับลางบอกเหตุเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดความหายนะของมนุษยชาติก็มีต้น เหตุมาจากความหลงตัวเอง
พวกเราทุกคนเชื่อว่าเราอาศัยอยู่ในยุคที่มีความสำคัญซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เรามีอำนาจเหนือโมเลกุล เหนือพันธุกรรม เหนือธรรมชาติ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลร้ายตามมาได้ ความคิดเหล่านี้อาจจะมีต้นกำเนิดมาจากความต้องการที่จะให้มนุษยชาติเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล Nicholas Christenfeld นักจิตวิทยาจาก University of California at Davis ก็ได้กล่าวว่าทัศนะมุมมองที่จำกัดของเราทำให้เราเชื่อว่าเวลาในช่วงที่เรามี ชีวิตอยู่นี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญและสำคัญในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านดี หรือด้านที่ไม่ดี ซึ่งก็อาจจะหมายรวมถึงจุดจบของมนุษยชาติด้วย การที่เราคิดว่าจุดจบของมนุษยชาติกำลังใกล้เข้ามาแล้ว ทำให้เรารู้สึกว่าเราทุกคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลานี้ทุกคนเป็นคนพิเศษ
ในท้ายที่สุดแล้วความกลัวต่อความสิ้นสลายของมนุษยชาติได้สะท้อนให้เห็นถึง ความหวาดกลัวพื้นฐานในตัวเราซึ่งก็คือความกลัวที่มีต่อความตายนั่นเอง ความตายเป็นจุดจบของมนุษย์ เป็นจุดสิ้นสุดของชาติพันธ์ ไม่ว่าเราจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อความตาย มันก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกพ้น เป็นส่ิงที่คนส่วนมากมักจะประมาท แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ในวารสารไซแอนติฟิกอเมริกันเล่มนี้จะมีการพูดถึงเรื่องจุดจบ เราจะกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะสูญสิ้นไปด้วยโรคระบาดหรือไม่ก็ผลกระทบที่เกิดการดาวหางชนโลก หรือการสูญสิ้นที่เกิดมาจากการดับสูญของความรู้ดั้งเดิมที่ค่อยๆ สูญหายไปในหลายๆ แห่งในโลก หรือการสูญสิ้นที่เกิดมาจากการลดลงของทรัพยาการต่างๆ บนโลก
หลังจากบทนำเป็นบทความในเรื่องการสิ้นสุด ในหมวดหมู่ต่างๆ คือ
- หมวด แพทยศาสตร์ Medicine ชื่อเรื่อง Why we will never be able to live forever ? (หน้า 24 – 31) กล่าวถึงเรื่องของความตายซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนจะต้องประสบ และความพยายามของมนุษย์ที่จะมีชีวิตให้ยาวนานที่สุด
- หมวด Bioethics ชื่อเรื่อง Ending one life to save another.
- หมวด Forensics ชื่อเรื่อง What happens to our bodies when we die?
- หมวด Anthropology ชื่อเรื่อง As world cultures disappear, so do their ideas.
- หมวด Technology ชื่อเรื่อง Inventions we wish would go away.
- หมวด Environmental ชื่อเรื่อง How fast the planets resources are dwindling?
- หมวด Risk analysis ชื่อเรื่อง Eight vision of doomsday (and when they’ll arrive)
- หมวด Cosmology ชื่อเรื่อง Could time itself come to an end?
- หมวด Restart ชื่อเรื่อง After the end what comes next?
แปลและเรียบเรียง โดย ดร.สุรพงษ์ ขุนแผ้ว
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
วันที่ 20 ตุลาคม 2553