สรุปการสัมมนาเรื่อง “Knowledge Management in Digital Change”
วันที่ 21 มิถุนายน 2561 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สรุปการบรรยายเรื่อง KM 4.0
โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
1. KM คืออะไร
KM เป็นเครื่องมือไม่ใช่เป้าหมาย KM ตัวเดียวไม่พอต้องการเครื่องมือทางด้าน management อย่างอื่นด้วย ความหมายที่สำคัญที่สุดขณะนี้ของ KM คือการจัดการให้ความรู้ออกฤทธิ์ ความรู้ออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับว่าจะออกฤทธิ์อะไร หลายองค์กรไปมองที่จุดย่อยๆ ก็ได้ผลในจุดย่อยๆ ใน KM 4.0 แนะว่าถ้าให้เกิดประโยชน์ยิ่งใหญ่ต้องมองภาพใหญ่ ในระดับองค์กร ถ้าจะให้ KM ออกฤทธิ์อย่างแท้จริงต้องใช้ในระดับองค์กร เป้าหมายใหญ่ที่สุดของ KM 4.0 คือ KM เข้าไปอยู่ในระบบบริหารจัดการองค์กร มองอีกมุมหนึ่งความหมายที่สำคัญของ KM คือเครื่องมือของการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
2. KM 1.0 เอาความรู้ใส่คอมพิวเตอร์
- KM 2.0 ทำเป็นระบบมากขึ้น เป็น human KM ที่ทำให้คนมี skill ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมี culture ในการแชร์ความรู้ มีจุดอ่อนคือไม่เป็นระบบ เน้นที่ individual
- KM 3.0 คือหนังสือขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้ หลักการสำคัญของ KM 3.0 ต้องอยู่ในวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ใช้ IT มีการจัดการเป้าหมายและระบบสารสนเทศ และมีการจัดการความรู้จากภายนอก
- KM 4.0 ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. จับเป้า จับภาพใหญ่ให้ได้ เป้าต้องอยู่ในภารกิจหลักขององค์กร จับเป้าความรู้ต้องเป็น critical knowledge (ความรู้ที่ส่งผลต่อกิจการที่สำคัญ)
2. ทำเป็นระบบ ต้องมี KM Framework
3. ทำอย่างเป็นขั้นตอน ต้องมียุทธศาสตร์ วางแผน ทดสอบและโครงการนำร่อง ขยายผล บูรณาการกับงานประจำ
4. มีการวัดและสื่อสาร
3. องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้มี 7 ข้อ ได้แก่ 1. เชื่อมโยงคนเข้าหากัน 2. เรียนจากประสบการณ์ 3. เพิ่มโอกาสเข้าถึงเอกสาร (ความรู้) 4. เก็บความรู้ไม่ให้สูญหาย 5. สร้างและใช้วิธีการที่เป็นเลิศ 6. นวัตกรรม 7. การกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของประสิทธิภาพ/ผลิตภาพ เป็นระยะๆ ใน KM 4.0 เน้นบทบาทผู้บริหารมีบทบาทมากในการจัดการความรู้ขององค์กร บทบาทสมาชิกทีม KM ที่สำคัญต้องมีความรับผิดชอบเรื่อง communication ในการออกแบบการประยุกต์ใช้ KM ควรจะทำ resource mapping หลักการสำคัญก็คือ ไม่เริ่มจากศูนย์ บางทีอาจจะมีคนเก่งๆ อยู่แล้วได้ชวนมาเป็นส่วนหนึ่งของทีม KM ด้วย
4. สรุป: KM ต้องไป beyond knowledge แต่ไม่ใช่ knowledge ไม่สำคัญ ทำแล้วได้ผลลัพธ์ พิสูจน์ได้ ในการทำมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการองค์กร ต้องมีการปรับตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร มองมุมหนึ่ง KM เป็นเครื่องมือในการทำให้ปฏิสัมพันธ์แนวราบในองค์กรออกฤทธิ์ ทำให้ผลประกอบการดีขึ้น หรือ KM เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทุกคนในองค์กรเป็น knowledge worker
5. อ. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ถาม: สวทช. ทำอยู่สนใจมี 3 เรื่อง ซึ่ง KM อาจจะเข้ามาช่วยได้ คือ 1.research management 2. peer management 3. customer relationship management สามอย่างนี้อยากจะขอคำแนะนำว่าเราจะดำเนินการอย่างไร คือถ้าเกิดจะมีทีม KM ขึ้นมา แล้วเป็นทีม KM กลางก็จะมีข้อดี แต่มีข้อเสียในแง่ที่ว่า KM กลางก็อาจไม่รู้ลงลึกถึงเรื่อง research ถึงเรื่อง peer ถึงเรื่อง customer ทีนี้จะทำอย่างไรดี หรือว่าเป็น KM ที่ฝั่งรากลึกไม่มีเจ้าหน้าที่เฉพาะ คนที่ทำงานต่างๆ เป็นคนทำ KM
อ. วิจารณ์ ตอบ: ต้องเริ่มที่งานแล้วต้องจับให้ได้ว่างานหลักคืออะไร ที่อ. ยงยุทธพูดเป็นงานหลักของสวทช. ในมุมจากภายนอก มองจากภายนอกเข้ามาซึ่งในสังคมไทยจะขาดเสมอ ไม่ได้ทำเป็นระบบ หลายครั้งพอฝ่ายบริหารทำฝ่ายปฏิบัติการโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานอย่างสวทช. ก็คือระบบบริหารจะสนใจเรื่องข้างนอก แต่ข้างในไม่สนใจ บางทีทำตรงกันข้าม ถ้าจับเรื่องแบบนี้ได้เป็นประโยชน์มหาศาล
สรุปการเสวนาเรื่อง Soft Skills for Knowledge Management in the Digital Age
ทักษะสำหรับ KM มีด้วยกัน 8 ทักษะ ได้แก่
1. story telling เช่นใช้การเล่าด้วยภาพ (visual storytelling) การใช้ภาพคนจะจำได้นานกว่าเป็น text และช่วยประมวลความคิด ต้องหัดเล่าเรื่อง เรื่องที่เล่าเปลี่ยนรูปไปตามเทคโนโลยี annual report ของบริษัทใหญ่ๆ เป็น story telling
2. การอ่าน อ่านให้เยอะจะได้หลายแนวคิด เป็นฐานของ KM อ่านหนังสือได้สัมผัสกับกระดาษได้อะไรมากกว่า tablet โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นจินตนาการ ฝึก creativity
3. การคิดให้เป็น คิดแล้วต้องแชร์ มี 2 ทักษะที่เขียนใกล้กันมาก แล้วก็แปลใกล้กันมาก แต่ไม่เหมือนกันและจำเป็นทั้งคู่ อันแรก systematic thinking (คิดเป็นระบบ) อีกอันคือ systems thinking (คิดเชิงระบบ)
4. ได้ยินไหมหัวใจฉัน ฟังหัวใจของคนที่จะใช้งาน เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ มีงานวิจัยจาก MIT ออกมาว่าคนเราจะฟังอยู่ 4 ระดับ ระดับแรกคือ พอเพื่อนพูด อยู่ที่หูแล้ว เป็นเรื่องที่รู้แล้ว ระดับที่ 2 อยู่ในหัวแล้ว เรื่องนี้เราไม่เคยได้ยินมาก่อน อยู่ในหัว สิ่งที่คิดก็คือขัดแย้งกับที่เราเคยเชื่ออยู่ แล้วก็พยายามหาเหตุผลไปเถียง นี้คือระดับที่ 2 คือฟังแบบลบล้าง ระดับที่ 3 ไปอยู่ที่ตา ฟังแล้วไม่เถียงแล้วแต่ดูอากัปกิริยา พอมาถึงระดับที่ 4 ฟังเหมือนเราเป็นเขาแล้ว ก็คือไปอยู่ในใจเขา ช่วยในเรื่องเวลาเราออกแบบผลิตภัณฑ์ เราต้องเหมือนคนนั้น อย่างทำเรื่องคนพิการ ถ้าเราไม่รู้สึกว่าคนพิการมีปัญหาอย่างไง เราจะออกแบบเหมือนที่เราอยากออกแบบ แต่ออกแบบเพื่อตอบคนคนนั้น เราต้องเหมือนคนคนนั้นเลย
5. media literacy สำคัญมาก ก่อนจะแชร์อะไรลงไป อย่าลืมว่าแชร์ไปใน facebook แล้วมีกาลเวลาจะอยู่ตลอดกาล skill ที่ควบคู่คือ critical thinking ทำอะไรต้องคิดวิเคราะห์ ทำอะไรเหมาะสมไม่เหมาะสมอย่าแชร์โดยอารมณ์
6. digital empathy หุ่นยนต์ไม่สามารถคิดอะไรที่เหมือนคน
7. interaction skill สร้างบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการสนทนา เข้าอกเข้าใจ เปิดใจ สนุกสนาน ผ่อนคลาย มีส่วนร่วม
8. การชม
“นอกจากทั้ง 8 ทักษะ ความใฝ่รู้ เป็นทักษะพื้นฐานของ KM ที่สำคัญมาก” |