หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ การจัดการความรู้ (KM) KM in the Industrial Development Bureau, ROC
KM in the Industrial Development Bureau, ROC
20 ม.ค. 2554
0
การจัดการความรู้ (KM)

“The Application of Knowledge Share Management in the Industrial Development Bureau”


การสัมมนา “Study Meeting on Knowledge Management  in the Public Sector” ณ เมือง Chuncheon ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน 2553  จัดโดย Asian Pacific Organization ผู้แทนของประเทศไต้หวัน ได้นำเสนอหัวข้อเรื่อง “The Application of Knowledge Share Management in the Industrial Development Bureau”

Mr. Jiunn-Shiow Lin (สังกัด Knowledge Services Division (KSD), Industrial Development Bureau, Ministry of Economic Affairs, ROC)  นำเสนอการจัดการความรู้ของ Industrial Development Bureau หรือ IDB  มีการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีหน่วยงานที่ดำเนินการด้านจัดการความรู้โดย เฉพาะ คือ Knowledge Services Division  มีจำนวนพนักงานทั้งหมด 1,200 คน เริ่มดำเนินการจัดการความรู้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โดยมีผู้บริหารเป็นผู้อนุมัติและเห็นด้วยกับพระราชบัญญัติการพัฒนาเศรษฐกิจ ความรู้ (Knowledge Economy Development Act) ในปี ค.ศ. 2001 มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่และมีการจัดตั้ง KSD ซึ่งมีพันธกิจในการพัฒนาบริการทางเทคนิคให้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ในภาพเอกชนและภาคบริการ และเพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม

การจัดการความรู้ของ  IDB เกิดจากการต้องการเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพของภาคบริการ และเพื่อต้องการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ทั้งนี้ IDB ได้กำหนดสูตรในการนำให้เกิด KM ในองค์กรคือ  KM =  (P + K) s โดย P (People)  หมายถึง คน, K (Knowledge) หมายถึง  ความรู้, S (Share) หมายถึง การแบ่งปัน ในที่นี้ ยกกำลัง S ส่วนเครื่องหมาย + หมายถึง เทคโนโลยี (Technology) กล่าวคือ การจัดการความรู้ในองค์กรจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ มีคน มีความรู้ ผนวกกับการมีเทคโนโลยีหรือเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรเกิดขึ้น

การจัดการความรู้ ของ IDB มีการวัดผลของการนำความรู้ไปใช้ หลายประการ ที่น่าสนใจ ได้แก่ มีการทบทวนและให้รางวัลแก่หน่วยงานและพนักงานที่มีคะแนนสูงสุดในการส่ง เอกสาร นอกจากนี้ ยังมีการนับจำนวนการดาวน์โหลดเอกสาร ซึ่งทำให้เห็นความเคลื่อนไหวของการใช้ความรู้ ทำให้ผลลัพธ์ของการทำ KM ใน IDB นั้น เกิด learning time ที่มีประสิทธิผลมากขึ้นจากเดิมที่พนักงานใหม่ 1 คนต้องมีการเรียนรู้ถึง 3 เดือนเป็นมาใช้เวลาเพียง 1 เดือน จำนวนของเอกสารที่สะสมในคลังมีมากกว่า 90,000 รายการ (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2009)  จำนวนผู้ใช้ โดยเฉลี่ยต่อวันสูงถึง 67.8% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดใน IDB และจำนวนการเข้าใช้เอกสารโดยเฉลี่ยเท่ากับ 68.8 ครั้งต่อวัน (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2009)

ผลของการจัดการความรู้ของ IDB ทำให้เห็นว่า ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การหาบุคคลที่เหมาะสมในการดำเนินการ กลยุทธ์ในการนำไปใช้และการให้ความสนับสนุนในการนำไปใช้ต้องให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรมองค์กร โดยต้องคำนึงถึงผู้ใช้ และต้องอย่าคาดหวังว่าจะสมบูรณ์  แต่ต้องคิดว่า ต้องเริ่มที่จะทำ แม้ว่าจะได้รับความสำเร็จในระดับที่เรียกได้ว่ามีคนมาขอดูงานการจัดการความ รู้ก็ตาม IDB ก็หวังว่าจะมีการพัฒนาต่อไปและเชื่อมโยงไปถึงศักยภาพของพนักงานในการสนับ สนุนการเลื่อนตำแหน่ง

แชร์หน้านี้: