หนังสือการพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัลด้วย Drupal

เมื่อพูดถึงการพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัลอย่าง IR หรือ Institutional Repositpry หลายๆ ที่ มักจะนึกถึงซอฟต์แวร์อย่าง DSpace และมีการเลือกใช้ DSpace มาใช้งานกันหลายหน่วย อย่างไรก็ดีประเด็นหนึ่งที่ผู้ใช้ DSpace มักจะไม่พูดถึงกันมากก็คือ ความยุ่งยาก ซับซ้อนในการติดตั้ง การปรับแต่งระบบให้ตรงกับความต้องการของหน่วยงานเป็นอะไรที่สุดยอดของความ “หิน” พอสมควร เนื่องจากหลากหลายสาเหตุ STKS จึงได้ศึกษาดูว่ามีซอฟต์แวร์ใดอีกบ้างที่น่าจะนำมาพัฒนา IR ได้ โดยมีความสามารถไม่แตกต่างจาก DSpace อันได้แก่ การลงรายการโดยผู้ใช้ มีระบบอนุมัติตามสิทธิ์ สนับสนุนการเชื่อมข้อมูลด้วย Protocol OAI-PMH

 

 

ตำราเรียนแบบเปิด (open textbook) สามารถช่วยแก้ปัญหาที่มีมูลค่าระดับพันล้านดอลลาร์

เพื่อจะลดค่าใช้จ่ายของนักศึกษาขณะนี้และในอนาคต ต้องแยกจากตลาดตำราเรียนแบบดั้งเดิมและส่งออกวัสดุการศึกษาผ่านรูปแบบทางเลือกใหม่

การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ศักยภาพของตำราเรียนแบบเปิดและการอนุญาตแบบเปิดในการเป็นทางเลือกใหม่

อย่างย่อ ตำราเรียนแบบเปิดเป็นตำราเรียนที่ถูกเขียนโดยคณะ และถูกทบทวนโดยผู้มีความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ ถูกเผยแพร่ภายใต้การอนุญาตแบบเปิด หมายความว่าตำราเรียนแบบเปิดมีให้ฟรีออนไลน์ ดาวน์โหลดได้ฟรี และถ้าอยู่ในรูปสั่งพิมพ์ออกมามีค่าใช้จ่าย 10-40 ดอลลาร์ หรือประมาณค่าใช้จ่ายในการสั่งพิมพ์

การศึกษาครั้งนี้ได้ทบทวนข้อมูลที่รวบรวมได้จากโปรแกรมนำร่องของมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน 5 โปรแกรม ซึ่งสนับสนุนคณะให้แทนที่ตำราเรียนแบบดั้งเดิมสำหรับหลักสูตรด้วยคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources, OER) และตำราเรียนแบบเปิด

สิ่งที่พบจากการศึกษา
จากการวิเคราะห์โปรแกรมนำร่องบ่งชี้ว่านักศึกษาประหยัด 128 ดอลลาร์ต่อหลักสูตร ด้วยตำราเรียนแบบดั้งเดิมถูกแทนที่ด้วยตำราเรียนแบบเปิด
โดยคาดการณ์การประหยัดของนักศึกษาเฉลี่ยและประยุกต์ใช้กับประชากรนักศึกษาที่ใหญ่กว่า สามารถทำนายว่าตำราเรียนแบบเปิดสามารถประหยัดมากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์แต่ละปี
นอกจากนี้ โดยเปรียบเทียบการลงทุนทั้งหมดและเงินที่ใช้ระหว่างโปรแกรมนำร่องกับการประหยัดทั้งหมดโดยนักศึกษา ซึ่งเป็นผลของโครงการ สามารถสรุปว่าการลงทุนในตำราเรียนแบบเปิดมีผลตอบแทนจากการลงทุนแบบ exponential ในการประหยัดของนักศึกษา

สรุปจากการศึกษา
ตำราเรียนแบบเปิดให้ผลประโยชน์ที่ชัดเจนกว่าตำราเรียนแบบดั้งเดิม
อย่างแรก ตำราเรียนแบบเปิดทำให้นักศึกษาประหยัดอย่างมาก ด้วยสามารถเข้าถึงฟรีออนไลน์ ดาวน์โหลดและพิมพ์ด้วยตนเองฟรี และรูปสั่งพิมพ์ออกมามีให้ที่ประมาณค่าใช้จ่ายในการสั่งพิมพ์ ตำราเรียนแบบเปิดสามารถทำให้นักศึกษาประหยัดพันล้านดอลลาร์แต่ละปี
อย่างที่สอง ตำราเรียนแบบเปิดให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ไม่น่าเชื่อ หลายโปรแกรมที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินประหยัดหนึ่งดอลลาร์สำหรับทุกดอลลาร์ที่ใช้ ผลตอบแทนจากการลงทุนของตำราเรียนแบบเปิดเป็นแบบ exponential

คำแนะนำจากการศึกษา
สถาบันและผู้ถือผลประโยชน์ร่วมทั้งหมดในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยควรให้ความสนใจมากขึ้นกับการแก้ปัญหาของราคาตำราเรียนที่สูง และให้อย่างมีประสิทธิภาพการฝึกอบรมและทรัพยากรที่คณะต้องการเพื่อเปลี่ยนชั้นเรียนให้ใช้ตำราเรียนแบบเปิด

ที่มา: Ethan Senack (February 2015). Open textbooks: The Billion-Dollar Solution. The Student PIRGs. Retrieved May 2, 2022, from https://studentpirgs.org/2015/02/24/open-textbooks-billion-dollar-solution/

การสำรวจความสามารถในการซื้อตำราเรียนของนักศึกษาเพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย

ได้ทำการสำรวจกับนักศึกษามากว่า 5,000 คนในเดือนกันยายน 2020
สิ่งที่พบจากการสำรวจ
1. นักศึกษาไม่ซื้อตำราเรียนที่ถูกสั่งให้ซื้อ ถึงแม้เป็นห่วงว่าจะมีผลกับเกรด
65% ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจไม่ซื้อตำราเรียนเพราะราคา นักศึกษาเป็นห่วงอย่างมากว่าไม่ซื้อวัสดุจะมีผลในทางลบกับเกรด ด้วย 90% รายงานเป็นห่วงอย่างชัดเจนหรือค่อยข้างเป็นห่วง

2. มีนักศึกษามากกว่าไม่ใช้รหัสการเข้าถึง (access codes) ระหว่างการระบาด
มีนักศึกษา 21% ไม่ซื้อรหัสการเข้าถึง อาจเป็นเพราะปัญหาการเงินหรือมีความเชื่อมากขึ้นว่ารหัสการเข้าถึงเป็นส่วนของการเรียนรู้ทางไกล (remote learning) การไม่ใช้รหัสการเข้าถึงหมายความว่านักศึกษาพลาดโอกาสเกี่ยวกับการบ้าน การสอบ และส่วนสำคัญอื่น ๆ ของเกรดในชั้นเรียน

3. COVID-19 มีผลต่อนักศึกษาอย่างมากและมีผลต่อความสามารถในการซื้อวัสดุของหลักสูตร
นักศึกษาได้รับผลกระทบจากการระบาดอย่างกว้าง ด้วย 79% ของนักศึกษา ได้รับผลกระทบในบางหนทาง (นอกเหนือจากส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน) ผลข้างเคียงของการระบาดเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับการต่อสู้มากขึ้นเพื่อการเข้าถึงวัสดุของหลักสูตร

4. การไม่มีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้สัมพันธ์กับการเข้าถึงวัสดุของหลักสูตรและการประสบผลสำเร็จของนักศึกษา
10% ของนักศึกษาไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้เพื่อเข้าร่วมในชั้นเรียนทางไกล 30% ของนักศึกษาไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ ไม่ซื้อรหัสการเข้าถึง 8% ของนักศึกษาไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ ไม่ประสบผลสำเร็จในชั้นเรียนเนื่องจากไม่สามารถซื้อวัสดุของหลักสูตร

5. ความไม่ปลอดภัยในอาหารทำให้นักศึกษาไม่ซื้อวัสดุของหลักสูตรด้วยอัตราที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน
82% ของนักศึกษาซึ่งพลาดมื้ออาหารเนื่องจากการระบาด ไม่ซื้อตำราเรียนเนื่องจากราคา และ 38% ไม่ซื้อรหัสการเข้าถึง

สรุปจากการสำรวจ
COVID-19 เพิ่มอุปสรรคซึ่งนักศึกษาประสบทั้งการเงินและเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงวัสดุของหลักสูตร แม้ว่าไม่ได้ทำให้วัสดุของหลักสูตรแพงขึ้น นักศึกษาซึ่งไม่มีงานทำเนื่องจากการะบาดหรือไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ถูกกระทบมากที่สุดโดยราคาวัสดุของหลักสูตร ปัญหาเหล่านี้จะยังคงอยู่ผ่านวิกฤตสุขภาพสาธารณะโดยปราศจากการให้ทุนเพิ่มขึ้นและการประยุกต์ใช้นโยบายระยะยาวซึ่งให้ความสำคัญกับการเข้าถึงและความสามารถในการซื้อ

คำแนะนำจากการสำรวจ
– สภานิติบัญญติและสำนักงานการศึกษา ควรให้ทุนสำหรับโปรแกรมตำราเรียนแบบเปิดและฟรี แก้ปัญหาการขาดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
– สถาบันอุดมศึกษาและระบบ ควรสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ทุน, การพัฒนาและการยอมรับทางอาชีพ, บรรณารักษ์การศึกษาแบบเปิด เพื่อทำให้ง่ายกว่าสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการนำตำราเรียนแบบเปิดไปใช้และส่งงานออกภายใต้การอนุญาตแบบเปิด นอกจากนี้สถาบันทำเครื่องหมายราคาของวัสดุของหลักสูตรระหว่างการสมัครเข้าเรียนในชั้นเรียน
– คณะ ควรพิจารณานำตำราเรียนแบบเปิดไปใช้ และคิดทบทวนก่อนให้รหัสการเข้าถึง ผู้สอนควรนำการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบไม่แน่นอนมาพิจารณาเมื่อออกแบบหลักสูตร โดยทำให้วัสดุสามารถดาวน์โหลดและสร้างงานที่ได้รับมอบหมายที่ไม่ต้องการอินเทอร์เน็ตที่มั่นคงเพื่อเสนอให้พิจารณา
– หน่วยงานและรัฐบาลนักศึกษา ควรสนับสนุนที่ระดับท้องถิ่นสำหรับนโยบายที่สนับสนุนการนำตำราเรียนแบบเปิดไปใช้, ลดการใช้รหัสการเข้าถึง และเติมเต็มความต้องการพื้นฐานของนักศึกษา รัฐบาลนักศึกษายังสามารถสร้างห้องสมุด hot-spot

ที่มา: Cailyn Nagle and Kaitlyn Vitez (February 2021). Fixing the Broken Textbook Market: Third Edition. U.S. PIRG Education Fund. Retrieved April 25, 2022, from https://uspirg.org/reports/usp/fixing-broken-textbook-market-third-edition

หนังสือ 3 ทศวรรษ วิสัยทัศน์การวิจัยของ สวทช.

เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี สวทช. ได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการบันทึกและเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนา และแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมต่างๆ ที่นักวิจัย สวทช. ทำขึ้น และได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ปัญหาสำคัญต่างๆ โดยเน้นไปที่การคัดเลือกผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง และสร้างผลกระทบอย่างชัดเจนต่อประเทศ จนได้รับการเผยแพร่และการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางจากสื่อมวลชน รวมถึงผลงานที่ได้รับรางวัลระดับประเทศและนานาชาติ

นอกจากนี้ ยังจัดทำบทสัมภาษณ์ผู้บริหาร เพื่อเป็นการถอดบทเรียน เบื้องหลังการผลักดัน กำหนดทิศทาง และวิสัยทัศน์ ในการดูแลให้งานวิจัยตอบโจทย์ประเทศในด้านต่าง ๆ อาทิ ทิศทางการเกษตรและอาหาร สุขภาพการแพทย์ ดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มีการนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของ สวทช. เทียบกับเหตุการณ์สำคัญของประเทศและของโลก เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่า สวทช. ปรับตัวมากเพียงใดต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ

ตลอด 3 ทศวรรษ ปี สวทช. มีการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยจุดแข็งคือ กำลังคนที่มีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญและศักยภาพในระดับต้นๆ ของประเทศ นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายความร่วมมือและมีหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้มแข็ง ร่วมงานกันเสมอมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะฉายภาพ “ความเป็น สวทช.” ให้ผู้อ่านได้เห็น ไม่มากก็น้อย

ตอนที่ 1 ไทม์ไลน์ (Timeline)

ตอนที่ 2 สวทช. เป็น อยู่ คือ (Where We Are)

ตอนที่ 3 สวทช. ในพริบตา (NSTDA@ a Glance)

ตอนที่ 4 ทวนอดีต (Retrospective)

ตอนที่ 5 มองไปข้างหน้า (From Now Onwards)

ตอนที่ 6 หอเกียรติยศ (Hall of Fame)

ตอนที่ 7 จากนวัตกรรมการวิจัยสู่คุณค่าทางเศรษฐกิจ (From Research Innovation to Economic Values)

ตอนที่ 8 สวทช. เพื่อสังคม (NSTDA’s Social Impacts)
ตอนที่ 9 เราคือทีมเดียวกับ (You Are Our Team)
ตอนที่ 10 พีระมิดการสั่งการ (Pyramid of Orders)

ตอนที่ 11 ยินดีให้บริการ (Your Need is Our Service)

ตอนที่ 12 วิสัยทัศน์ ค่านิยมหลัก และการกิจ (Visions, Core Values & Mission)

นักศึกษาตอบสนองอย่างไรต่อราคาตำราเรียนที่สูงและต้องการทางเลือกใหม่

The Student PIRGs (The Student Public Interest Research Groups) ได้ดำเนินการศึกษาเพื่อค้นหาผลของราคาตำราเรียนที่สูงที่มีต่อนักศึกษาและการศึกษาในมหาวิทยาลัย และเพื่อประเมินความสนใจของนักศึกษาในทางเลือกใหม่นอกจากตำราเรียนแบบดั้งเดิม

สิ่งที่พบจากการศึกษา
ระหว่างฤดูใบไม้ร่วงของปี 2013 the Student PIRGs ทำการสำรวจจากนักศึกษา 2,039 คน จากมากกว่า 150 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สิ่งที่พบหลัก คือ
1. ราคาตำราเรียนที่สูงขัดขวางนักศึกษาจากการซื้อวัสดุที่ถูกสั่งถึงแม้มีความห่วงใยเกรด
– 65% ของนักศึกษา ให้ความเห็นว่า ไม่ซื้อตำราเรียนเพราะว่าแพงเกินไป
– 94% ของนักศึกษา ซึ่งไม่ซื้อตำราเรียนรู้สึกกังวลว่าการทำแบบนี้จะมีผลเสียต่อเกรด

2. ราคาตำราเรียนที่สูงมีผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาอื่น ๆ ของนักศึกษา
– เกือบครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่ถูกสำรวจ ตอบว่าราคาของตำราเรียนมีผลต่อกี่ชั้นเรียนหรือชั้นเรียนไหนที่นักศึกษาจะเข้าเรียนในแต่ละภาคการศึกษา

3. นักศึกษาเชื่อว่าทางเลือกใหม่ของสิ่งที่พิมพ์ออกมาและใช้ได้ฟรีผ่านออนไลน์นอกจากตำราเรียนแแบบดั้งเดิมจะทำให้การปฏิบัติดีขึ้น
– 82% ของนักศึกษารู้สึกว่าจะทำได้ดีขึ้นอย่างชัดเจนในหลักสูตร ถ้าตำราเรียนมีให้ฟรีออนไลน์และการซื้อสิ่งที่พิมพ์ออกมาเป็นทางเลือก
– นักศึกษาสนับสนุนตำราเรียนที่มีให้ฟรีออนไลน์และการซื้อสิ่งที่พิมพ์ออกมาเป็นทางเลือก ชี้ให้เห็นโดยตรงว่า ตำราเรียนแบบเปิด (open textbooks) เป็นต้นแบบในอุดมคติเพื่อแทนที่ตำราเรียนแบบดั้งเดิม

สรุปจากการศึกษา
ราคาตำราเรียนที่สูงจะเป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาถ้าราคาตำราเรียนที่ถูกจัดพิมพ์ใหม่ที่สูงไม่ลดลง นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังแสดงว่านักศึกษาพร้อมสำหรับทางเลือกใหม่นอกจากตำราเรียนแบบดั้งเดิมในห้องเรียน ตำราเรียนแบบเปิดเป็นต้นแบบในอุดมคติ ซึ่งนักศึกษาในการสำรวจรู้สึกว่าจะทำให้การปฏิบัติในห้องเรียนดีขึ้น
ในขณะที่การจัดให้มีในปัจจุบันของตำราเรียนแบบเปิดกำลังขยายอย่างรวดเร็ว ยังครอบคลุมเพียงส่วนน้อยของหลักสูตรมหาวิทยาลัยทั้งหมด เพื่อให้มีการแข่งขันในตลาดและเพื่อทำให้ตำราเรียนแบบเปิดเป็นทางเลือกใหม่ที่แท้จริงนอกจากตำราเรียนแบบดั้งเดิม ต้องลงทุน start-up มากขึ้นในการสร้างและการพัฒนาตำราเรียนแบบเปิด

คำแนะนำจากการศึกษา
– นักศึกษาควรสนับสนุนโดยตรงสำหรับการใช้ตำราเรียนแบบเปิดในห้องเรียน
– คณะควรพิจารณานำตำราเรียนแบบเปิดไปใช้ในห้องเรียน ควรตรวจสอบ the U. Minnesota Open Textbook Library ว่ามีหนังสือสำหรับชั้นเรียนหรือไม่
– ผู้บริหารวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยควรพิจารณาสร้างโปรแกรมนำร่องตำราเรียนแบบเปิดในวิทยาเขต สามารถดู MOST Initiative ของระบบมหาวิทยาลัยของ Maryland เป็นตัวอย่าง
– สภานิติบัญญัติของรัฐและสหรัฐ ควรลงทุนสร้างและพัฒนาตำราเรียนแบบเปิดมากขึ้น ดู Open Course Library ของรัฐวอชิงตัน เป็นตัวอย่าง
– สำนักพิมพ์ควรพัฒนารูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถผลิตหนังสือคุณภาพสูงโดยไม่กำหนดราคาที่สูงเกินไปสำหรับนักศึกษา

ที่มา: Ethan Senack (January 2014). Fixing the Broken Textbook Market. the Student PIRGs. Retrieved April 19, 2022, from https://uspirg.org/reports/usp/fixing-broken-textbook-market

 

ตอนที่ 33 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ศ.ดร.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้รับรางวัลเกียรติยศและเชิดชูเกียรตินักเคมีอาวุโส จาก สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ได้รับรางวัล 2021 Chinese Government Friendship Award จาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน

ดร.อัญชลี มโนนุกุล ผลงานโครงการ “การขึ้นฉีดรูปผงโลหะผสมไทเทเนียมชนิดใหม่ที่มีอิลาสติกโมดูลัสต่ำใกล้เคียงกับกระดูกมนุษย์สำหรับการใช้งานทางการแพทย์”

ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม และคณะ ผลงานเรื่อง “แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองผ่านระบบพูดคุยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์”

ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง และคณะ ผลงานเรื่อง “ปุ๋ยคีเลตธาตุอาหารเพื่อเร่งการเจริญของพืช”

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผลงานเรื่อง “หอมข้าว :อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิแบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์”

ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “อนุภาคนาโนพอลิเมอร์ห่อหุ้มด้วยสารประกอบเอซา-บอดิปี้สำหรับใช้เป็นระบบนำส่งสำหรับรักษามะเร็งแบบใช้แสงกระตุ้น”

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ และคณะ ผลงานเรื่อง “eLysozyme สารยับยั้งแบคทีเรียจากโปรตีนไข่ขาวสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและการเพาะเลี้ยงสัตว์”

ดร.ไว ประทุมผาย และคณะ ผลงานเรื่อง “การผลิตเบต้ากลูแคนโพลีแซคคาไรด์ และเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาไรด์ชนิดใหม่จากเชื้อรา Ophiocodyceps dipterigena BCC 2073 เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ”

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ผลงานเรื่อง “COXY-AMP ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์ เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว”

ดร.วรายุทธ สะโจมแสง ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียแลไวรัสจากออร์แกนิคซิงค์ไอออน”

ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะ ผลงานเรื่อง “กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ชนิดเพอร์รอฟสไกต์แบบลายชั้นทีละชั้นที่ควบคุมได้เป็นครั้งแรกของโลก ที่มีประสิทธิภาพและความทนทานความชื้นสูง”
คุณรังสิมา ตัณฑเลขา ได้รับรางวัลนิสิตเก่าดีเด่น จาก สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตอนที่ 32 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.ณัฐปภัสร วิริยะชัยพร และคณะ ผลงานเรื่อง “NanoFlu AB Duplex Rapid Test (ชุดตรวจสำหรับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่)”

ดร.วรายุทธ สะโจมแสง และคณะ ผลงานเรื่อง “Development of Hydrophilic Nanofiltration Membrane for Water Purification”

ดร.นิธิ อัตถิ ผลงานเรื่อง “Flexible Polymers with Antifouling Robust Microstructure for Marine and Medical Applications” และ “Fabrication of robust 3-D microstructure with superhydrophobic properties for marine and medical applications”

ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ปฏิบัติการสหกิจศึกษาในสถานประกอบการดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2563

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ได้รับใบรับรองลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอาคาร ประจำปี 2563 (Carbon Reduction Certification for Building)

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา และคณะ ผลงานเรื่อง “Investigating the potential adaptive responses of the Thai Rice Resource to biotic and abiotic stresses under future climate change conditions”

ดร.จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “ขั้วไฟฟ้าชนิดพิมพ์สกรีนกราฟีนและของเหลวไอออนิกแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับงานเซนเซอร์เคมีไฟฟ้า”

ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะ ผลงานเรื่อง “ท่อดูดซับความร้อนด้วยอนุภาคนาโนกราฟีน-ซิลิกาสำหรับระบบพลังงานรวมแสงอาทิตย์เข้มข้น”

ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดี และคณะ ผลงานเรื่อง “สารเรืองแสงอินทรีย์ในช่วงใกล้อินฟาเรดที่ตอบสนองต่อค่าพีเอชสำหรับการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าด้วยการกระตุ้นแสง”

ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า: Thai People Map and Analytics Platform หรือ TPMAP”

นวัตกรรมในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้

เครื่องมือของ Clarivate (Derwent World Patent Index (DWPI) และ Derwent Patent Citation Index (DPCI)) ให้ข้อมูลสิทธิบัตรที่เป็นที่ยอมรับ ใช้ศึกษานวัตกรรมในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้

นักวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้ทดสอบสิทธิบัตรที่ยื่นจดระหว่างปี 2015 ถึง 2019 โดยหน่วยงานใน 8 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย, ศรีลังกา, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม หน่วยงานรวมถึงสถาบันวิจัยของรัฐบาล, มหาวิทยาลัย และบริษัท

หลังจากการวิเคราะห์มากกว่า 100,000 การประดิษฐ์ที่ยื่นจดโดย 8 ประเทศดังกล่าวข้างต้นระหว่างปี 2015 ถึง 2019 ทำให้ได้ 276 หน่วยงานที่เป็นผู้นำการประดิษฐ์ โดย 58% เป็นสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐบาล ส่วน 42% เป็นบริษัท พบจาก 276 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานในอินเดียเป็นอันดับ 1 จำนวน 167 หน่วยงาน อันดับที่ 2 คือ อินโดนีเซีย จำนวน 44 หน่วยงาน อันดับถัดมา คือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 28 หน่วยงาน อันดับที่ 4 คือ สิงคโปร์ จำนวน 19 หน่วยงาน อันดับที่ 5 คือ มาเลเซีย จำนวน 8 หน่วยงาน อันดับ 6 คือ เวียดนาม จำนวน 7 หน่วยงาน อันดับ 7 คือ ไทย จำนวน 2 หน่วยงาน อันดับ 8 คือ ศรีลังกา จำนวน 1 หน่วยงาน รายชื่อของทั้งหมด 276 หน่วยงาน เผยแพร่ไว้ใน https://clarivate.com/lp/2021-innovation-in-south-and-southeast-asia/

สำหรับประเทศไทยพบ 2 หน่วยงาน (เป็นบริษัททั้งหมด) จาก 276 หน่วยงานที่เป็นผู้นำการประดิษฐ์ ได้แก่ 1. Ptt Group และ 2. Siam Cement Group

นอกจากนี้ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้วิเคราะห์หาหน่วยงานผู้นำการประดิษฐ์ใน 9 ประเทศ คือ 8 ประเทศดังกล่าวข้างต้น และเพิ่มอีก 1 ประเทศ คือ บรูไน ดังข้างล่าง ประเทศที่ไม่สามารถหาหน่วยงานผู้นำการประดิษฐ์ได้ คือ ประเทศที่มีหน่วยงานไม่สามารถผลิตสิทธิบัตรระหว่างปี 2015 ถึง 2019 ได้พอกับเกณฑ์ ประเทศทั้ง 9 ด้านล่างเรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ

สถาบันการศึกษาผู้นำการประดิษฐ์
– บรูไน ไม่สามารถหาสถาบันการศึกษาได้
– อินเดีย Indian Institute of Technology Bombay
– อินโดนีเซีย Universitas Diponegoro
– มาเลเซีย Universiti Putra Malaysia (UPM)
– ฟิลิปปินส์ Cebu Technological University
– สิงคโปร์ National University of Singapore (NUS)
– ศรีลังกา ไม่สามารถหาสถาบันการศึกษาได้
– ไทย ไม่สามารถหาสถาบันการศึกษาได้
– เวียดนาม Hanoi University of Science and Technology (HUST)

สถาบันวิจัยของรัฐบาลผู้นำการประดิษฐ์
– บรูไน ไม่สามารถหาสถาบันวิจัยของรัฐบาลได้
– อินเดีย Council of Scientific and Industrial Research (CSIR)
– อินโดนีเซีย The Indonesian Institute of Sciences (LIPI)
– มาเลเซีย The Malaysian Palm Oil Board (MPOB)
– ฟิลิปปินส์ ไม่สามารถหาสถาบันวิจัยของรัฐบาลได้
– สิงคโปร์ The Agency for Science, Technology and Research (A*STAR)
– ศรีลังกา ไม่สามารถหาสถาบันวิจัยของรัฐบาลได้
– ไทย ไม่สามารถหาสถาบันวิจัยของรัฐบาลได้
– เวียดนาม Vietnam Academy of Science and Technology (VAST)

บริษัทผู้นำการประดิษฐ์
– บรูไน ไม่สามารถหาบริษัทได้
– อินเดีย ดูได้จากรายละเอียดด้านล่าง บริษัทผู้นำการประดิษฐ์ในอินเดีย
– อินโดนีเซีย PT Pertamina
– มาเลเซีย Top Glove Corporation Berhad
– ฟิลิปปินส์ ไม่สามารถหาบริษัทได้
– สิงคโปร์ ASM Pacific Technology Limited
– ศรีลังกา MAS Holdings
– ไทย Siam Cement Group
– เวียดนาม Viettel Group

บริษัทผู้นำการประดิษฐ์ในอินเดียในอุตสาหกรรมต่าง ๆ (เรียงลำดับอุตสาหกรรมตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ)
– ธุรกิจการเกษตร UPL Limited
– ยานยนต์ Mahindra and Mahindra Limited
– สารเคมีและพลังงาน Indian Oil Corporation Limited
– สินค้าประเภทบริโภค ITC Limited
– อุตสาหกรรมหนัก Bharat Heavy Electricals Limited
– อื่น ๆ Welspun Group
– ยา Suven Life Sciences Limited
– ซอฟต์แวร์ Wipro Limited

ที่มา: Clarivate. 2021 Innovation in South and Southeast Asia. Retrieved February 14, 2022, from https://clarivate.com/lp/2021-innovation-in-south-and-southeast-asia/

ตอนที่ 31 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.นิธิ อัตถิ ผลงานเรื่อง “FleXARs: antifouling film to protect your surface and shift the world”

ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานบริหารสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งเอเชีย The Asia Nano Forum (ANF)

ดร.วรายุทธ สะโจมแสง ผลงานเรื่อง “Polymer-Based Nanomaterials and Applications”

ดร.อัชฌา กอบวิทยา ได้รับคัดเลือกให้เป็น SPIE Women in Optics ประจำปี 2022

ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง ผลงานเรื่อง “G.O. –SENSOR Screening for kidney disease”

คุณสิรินทร อินทร์สวาท และคณะ ได้รับรางวัล ASEAN Energy Efficiency and Conservation Best Practice Awards 2020

ดร.คทาวุธ นามดี ผลงานเรื่อง “นาโนวัคซีนแบบจุ่ม โดยเลียนแบบเชื้อก่อโรคในปลา”