รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2561

โครงการศึกษาดูงานด้านยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) และระบบขนส่งอัจฉริยะ Smart Mobility)

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2561 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้เข้าร่วมการศึกษาดูงานโครงการศึกษาดูงานด้านยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ณ ราชอาณาจักรเบลเยียม ร่วมกับคณะจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมเศรษฐกิจ กระทรวงต่างประเทศ โดยได้เข้าพบผู้แทนจากคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการคมนาคม (DG MOVE) เพื่อเข้ารับฟังการบรรยายเกี่ยวกับนโยบายด้านการขนส่งของสหภาพยุโรป และได้เยี่ยมชมบริษัท ยูมิคอร์ S.A. เพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับการรีไซเคิลแบตเตอรี่และเทคโนโลยีด้าน Battery Storage และ UHT Battery Smelter

การประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการคมนาคม (DG MOVE)

อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าภาคเอกชนของอียู ที่มีความรุดหน้าในทุกวันนี้ หัวใจสำคัญคือการทุ่มด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก นโยบายของอียูเน้นให้การสนับสนุนภาคเอกชนผ่านการส่งเสริมด้านงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถและทักษะความเชี่ยวชาญให้กับบุคลากร รวมทั้งให้ข้อมูลความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ พร้อมให้ความสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาระบบชาร์ตไฟสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในปัจจุบันสหภาพยุโรปมีกรอบการดำเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ชื่อ 2030 “Climate & Energy Framework” โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกอียูจะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มสัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2573

  • กำหนดสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยต้องลดลงร้อยละ 15% ภายในปี 2568 และร้อยละ 30 ภายในปี 2573
  • กำหนดสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่หรือระบบไฮบริดร้อยละ 30 ของจำนวนการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573

การเยี่ยมชมบริษัทยูมิคอร์ (Umicore)

บริษัทยูมิคอร์ได้ลงทุนที่เหมราช จังหวัดระยอง ผลิตรถ 2 ล้านคันต่อปี ยูมิคอร์ ได้วิจัยหลัก 5 สาขา ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมของบริษัท ยูมิคอร์ ได้แก่

  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology)
  • การปรับปรุงกระบวนการทางเทคนิค (Technical Process Improvement)
  • การปรับปรุงกระบวนการที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (Non-Technical Process Improvement)
  • การพัฒนาธุรกิจใหม่ (New Business Development)
  • สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย (Environment, Health & Safety)

การจัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการการเขียนข้อเสนอโครงการของสหภาพยุโรป Horizon 2020 และ Horizon Europe (FP9)

ความสำคัญของโครงการ EU Horizon 2020 และ Horizon Europe (FP9) ซึ่งเน้นงานวิจัยและนวัตกรรม 3 ด้าน คือ 1. ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (excellent Science) 2. ความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม (industrial leadership) และ 3. ตอบโจทย์ความท้าทายด้านสังคม (societal challenges)

รายละเอียดของการประชุม วัตถุประสงค์ของการอบรมเชิงปฏิบัติการมี 3 ข้อหลัก คือ

  1. เพื่อให้นักวิจัยไทยได้เรียนรู้โดยตรงจากผู้มีประสบการณ์ ในการส่งข้อเสนอโครงการในการขอทุนระดับยุโรป
  2. เพื่อให้นักวิจัยไทยได้ปฏิบัติการจริง ในการส่งข้อเสนอโครงการในการขอทุนระดับยุโรป
  3. แนะแนวทางที่ตรงจุด และตรงใจคณะกรรมการผู้ประเมินการให้ทุน เพื่อเพิ่มโอกาสการได้รับทุน ในการส่งข้อเสนอโครงการในการขอทุนระดับยุโรป

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190226-newsletter-brussels-vol12-61.pdf

ห้องสมุดกรีนดิจิทัล (Green Digital Library)

ห้องสมุดกรีนดิจิทัล (Green Digital Library) ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลสารสนเทศแก่ประชาชน เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยเน้นการให้บริการออนไลน์ (E-Service) ให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ทุกที่ โดยได้จัดทำ ระบบห้องสมุดออนไลน์ Mobile Application “ห้องสมุดกรีนดิจิทัล” (Green Digital Library) ทั้งในระบบ iOS และ Android

ปัจจุบันการเข้าถึงความรู้ด้านข่าวสารและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากขึ้น แต่ห้องสมุดเดิมไม่ตอบโจทย์ Lifestyle การอ่านของคนรุ่นใหม่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการ Green Digital Library รวบรวมความรู้สิ่งแวดล้อมมาไว้ในที่เดียว ครอบคลุมสื่อสมัยใหม่จากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ระบบ E-Library ที่มี Digital Content ให้อ่านฟรีจำนวนมาก ซึ่งในคลังดิจิทัล จะมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย ของหน่วยงานดังต่อไปนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนสัตว์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ

สามารถเข้าถึงได้ที่
Website : https://greendigitallibrary.deqp.go.th/
Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.bookdose.deqp
iOS : https://apps.apple.com/us/app/green-digital-library/id1447222604?ls=1

Continue reading “ห้องสมุดกรีนดิจิทัล (Green Digital Library)”

แผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับทบทวน 6.2 (พ.ศ. 2562-2566)

แผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับทบทวน 6.2 (พ.ศ. 2562-2566)

download
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ 6 ด้าน คือ ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้กำหนดเป้าหมาย เช่น ยกระดับรายได้เฉลี่ยของคนไทยให้มากกว่า 15,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (GDP) เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ผลิตภาพการผลิตรวมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปีอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอยู่ในอันดับ 1 ใน 20 ของประเทศที่ได้รับการจัดอันดับโดย International Institute for Management Development (IMD) เป็นต้น  ดาวน์โหลดเอกสาร

ทำเนียบนักวิจัยแกนนำประจำปี 2562 โครงการ Chair Professor Grants

“การพัฒนากระบวนการถ่ายเทความร้อนสมัยใหม่สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต”

กระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสสารสองชนิดที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ถ้าอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสม การถ่ายเทความร้อนก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การเพิ่มการถ่ายเทความร้อนถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มสมรรถนะของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการประหยัดพลังงานหรือเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนจะเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยอาจเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ได้จากการผลิต หรือเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์หลัก หรืออาจจะไปเกี่ยวพันกับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย (New Growth Engine)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มงานด้านนอกท่อ (Tube Outside) กลุ่มงานด้านในท่อ (Tube Side หรือ In-Tube Side), กลุ่มงานด้านของไหลทำงานและวัสดุ (Working Fluids and Materials) และ กลุ่มศึกษาพัฒนาอุปกรณ์ทางอุณหภาพ (Thermal Equipment)โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการคือหลักการทางวิชาการสำหรับการออกแบบ และ ปรับปรุง กระบวนการการถ่ายเทความร้อนให้มีสมรรถนะสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ได้จริงกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เกิดการสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งภาควิชาการและภาคอุตสาหกรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ดาวน์โหลดเอกสาร

สุดยอด 6 แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของกระบวนการศึกษา

นาย Daniel Newman ได้เขียนเรื่องราวของ Top 6 Digital Transformation Trends In Education ซึ่งมีความน่าสนใจในมุมมองของการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคตที่กำลังเป็นกระแสสังคมรวมทั้งการเรียนการสอนในอนาคตต้องมีการปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยีทั้งผู้สอนและผู้เรียนรวมถึงเทคโนโลยีในชั้นเรียน  ทางผู้เขียนจึงขอเรียบเรียงสรุปมาให้ทุกท่านได้ลองพิจารณากัน โดย 6 รูปแบบนั้นมีดังนี้

The Top 6 Trends For Digital Transformation In EducationFuturum Research, LLC

1. Augmented Reality / Virtual Reality / Mixed Reality

เทคโนโลยีเสมือนที่รวบรวมสื่อดิจิทัลไว้บนสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ, หนังสือ, โปรแกรม, Smart Device หรือสื่อการสอน ทำให้ห้องเรียนสามารถเป็นได้มากกว่าที่เป็น ผู้เรียนสามารถเผยแพร่ข้อมูลการเรียน หรือสร้างสรรค์การเรียนไปพร้อมกับอาจารย์ได้. ตัวอย่างการนำไปใช้ เช่น บริษัท  Majic Leap ที่สร้างระบบและอุปกรณ์เหล่านี้ และสามารถทำกำไรได้มากกว่า 4 พันล้านดอลล่าร์เลยทีเดียว

2. Classroom Set of Devices

ห้องเรียนจะต้องไม่มีการนำอุปกรณ์ของตัวเองนำมาใช้ในอนาคต (Bring Your Own Device)  หลายปีที่ผ่านมา ทางโรงเรียนเริ่มที่จะมีการนำอุปกรณ์มาให้นักเรียนใช้ ผ่านการจัดสรรค์จากโรงเรียนหรือองค์กรสนับสนุนต่าง ๆ  ที่นำเอา Laptop หรือ google Chromebooks มาใช้ (ในสหรัฐ) โดยให้ความสนใจในเรื่องราวของบทเรียน รวมถึงความปลอดภัยทางด้าน ดิจิทัล (Cyber Safety) รวมทั้งทักษะด้านพลเมืองดิจิทัล ( digital citizenship skills ) ด้วย

3. Redesigned Learning Spaces

ในห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ห้องเรียนจะมี SMARTboard ที่เปรียบเสมือนจอแสดงผลที่สามารถตอบโต้กับเด็กเนักเรียนจากโต๊ะ ผู้สอนจะต้องเรียนรู้การใช้งานเพื่อตอบโจทย์และเป้าหมายในการเรียน ห้องเรียนจะไม่ใช่บอร์ดกระดานดำเหมือนเดิมอีกต่อไป ที่สำคัญในแต่ละสถานศึกษาจะต้องมีการจัดแหล่งเรียนรู้รวมถึงแหล่งบริการการศึกษาที่ให้บริการแบบ 24/7  ซึ่งหมายถึงให้บริการตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น

4. Artificial Intelligence

การใช้ AI ในการศึกษาขั้นสูงจะเป็นเรื่องที่พร้อมใช้งาน. ที่ Australia’s Deaken University  สร้างที่ปรึกษาเสมือนของนักเรียนซึ่งให้บริการตลอดเวลาไม่มีวันหยุด ที่ปรึกษาเสมือนดังกล่าวมีข้อมูลคำถามคำตอบมากกว่า 3หมื่นรายการ รวมถึงการให้บริการ chatbots ด้วย เพราะ chatbot  ติดตั้ง Natural Language Progression  ที่เรารู้จักกันแบบเดียวกับ Siri ซึ่งทำให้สามารถรองรับการตอบโต้กับผู้เรียนได้อย่างดี รวมทั้งมีระบบ Intelligence Tutoring Systems. อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเหล่านี้จะไม่ได้หวังผลเพื่อไปทดแทนอาจารย์ประจำแต่อย่างใด.

5. Personalized Learning

ถ้าเปรียบเทียบจริง ๆ ผู้เขียนขอสรุปให้ว่า เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัยแบบเชิงลึกของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะเป็นผู้รับรู้แนวทางการเรียนจากอาจารย์แล้วค้นหาในสิ่งที่ตนเองชอบ เก็บข้อมูล รวมถึงเรียนรู้อย่างรวดเร็ว ในมุมของผู้สอนก็สามารถที่จะเรียนรู้พฤติกรรมของผู้เรียน รับทราบผลตอบรับ รวมถึงมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เป็น Educational tools ที่เพิ่มเติมข้อมูลผู้เรียนระยะยาว สามารถปรับปรุงและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

6. Gamification

เรียนรู้จากเกมส์โดยใช้เทคโนโลยีเกมส์มาเป็นส่วนร่วมในการเรียนการสอนคือเรื่องที่จะนำเข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อสร้างความสนใจใหม่ให้กับผู้เรียน  เทคโนโลยีเกมส์ สามารถสร้างการเรียนรู้ในบทเรียนยาก ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย  ยกตัวอย่างเช่น การจำลองเหตุการณ์ สถานการณ์เพื่อการแก้ปัญหายาก ๆ โดยใช้แบบจำลองผ่านเกมส์ ก็จะทำให้สามารถเรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหา รวมทั้งสามารถออกแบบแนวทางการเรียนรู้ ทักษะใหม่ ๆ ได้อยู่เสมอ ผู้เรียนและผู้สอนจะได้รับผลตอบรับเพื่อการพัฒนาต่อเนื่องจากการเล่นดังกล่าว  ดังนั้น เทคโนโลยีเกมส์จากบทเรียนจึงเป็นเรื่องท้าทายที่จะสร้างทีมในการพัฒนาบทเรียนให้มีความสนุกตื่นเต้นและเสริมทักษะในอนาคต

โดยสรุป    6 รูปแบบกระแสเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางที่กำลังเติบโตในอนาคตของแวดวงการศึกษาซึ่งสามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้กับแวดวงอื่นๆได้ หากคุณผู้อ่านสนใจเทคโนโลยีใดก็สามารถทดลองเรียนรู้เพื่อค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในอนาคตได้ และหากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามอ่านต่อได้จากบทความต้นฉบับนี้ครับ
https://www.forbes.com/sites/danielnewman/2017/07/18/top-6-digital-transformation-trends-in-education/

ตัวอย่างการประยุกต์นำ IoTAR มาใช้งานห้องสมุด

เนื่องจากค่าความชื้นและอุณหภูมิในห้องสมุด มีผลทำให้วัสดุสารสนเทศ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รูปภาพ สไลด์ แผ่น CD DVD เสื่อมสภาพ เเละอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ ดังนั้นจึงได้นำเทคโนโลยี Internet of things  (IoT) เข้ามาช่วยในการอ่านค่าความชื้น อุณหภูมิ เเละใช้เทคโนโลยี  Augmented Reality (AR) มาช่วยในการเเสดงผล โดยการ track image เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล เเละเพิ่มฟังก์ชั่นการควบคุมเปิดปิดไฟ อีกด้วย

ARIoT

ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12

การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในทุกมิติของการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความมั่นคง นอกจากนี้ ในพื้นที่ชายแดน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการพัฒนาในประเทศเพื่อนบ้านเป็นอีกประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ที่ผ่านมาการกระจุกตัวของการพัฒนาที่อยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง การขยายตัวของประชากรในเขตเมือง การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเปลี่ยนแปลงนโยบายการพัฒนาประเทศของประเทศเพื่อนบ้าน และการเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลกก่อให้เกิดโอกาสและภาวะคุกคามต่อการพัฒนาของประเทศไทย

การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) – Thailand

alt Download เอกสารฉบับเต็ม 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12

การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ จากเดิมที่ขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตภาคอุตสาหกรรมไปสู่ “Innovation Driven Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งยกระดับรายได้ของประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง

การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) – Thailand
alt Download เอกสารฉบับเต็ม