ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2565 โดย IMD (2022 IMD World Competitiveness Ranking)

ในปี 2565 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2022 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2564-2565 โดย IMD

                       ประเทศ  เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ สวีเดน ฮ่องกง ไทย
                           ปี 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564
อันดับรวม 1 3 2 1 3 5 4 2 5 7 33 28
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ 13 17 30 7 2 1 21 16 15 30 34 21
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ 18 12 7 4 1 15 15 10 21 32 51 41
1.2 การค้าระหว่างประเทศ 13 10 12 15 1 1 27 17 4 2 37 21
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ 17 24 52 12 5 3 14 17 3 7 33 32
1.4 การจ้างงาน 25 22 27 15 3 18 42 30 39 40 4 3
1.5 ระดับราคา 41 42 59 58 54 57 39 41 63 63 31 37
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ 6 7 1 2 4 5 9 9 2 1 31 20
2.1 ฐานะการคลัง 4 5 3 1 6 12 9 7 2 9 29 14
2.2 นโยบายภาษี 57 56 12 12 11 8 55 58 2 2 7 4
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน 2 5 1 1 6 7 4 3 10 11 41 36
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ 3 2 7 10 2 3 4 4 1 1 38 30
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม 2 3 6 5 22 17 5 4 33 34 44 43
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ 1 1 4 5 9 9 2 2 7 3 30 21
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ 1 1 2 4 9 14 4 3 6 9 47 40
3.2 ตลาดแรงงาน 11 14 5 6 12 4 4 5 20 8 13 10
3.3 การเงิน 7 7 1 1 11 13 3 6 5 3 27 24
3.4 การบริหารจัดการ 1 1 8 9 14 14 3 3 4 2 22 22
3.5 ทัศนคติและค่านิยม 3 6 14 13 12 9 2 4 16 8 25 20
4. โครงสร้างพื้นฐาน 2 3 1 1 12 11 3 2 14 16 44 43
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน 4 3 5 5 43 20 9 10 11 7 22 24
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี 3 6 6 8 1 1 5 3 7 7 34 37
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ 10 11 4 3 16 17 7 7 23 23 38 38
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม 4 4 1 3 25 25 2 1 18 21 51 49
4.5 การศึกษา 4 3 1 1 6 7 5 4 13 8 53 56

เดนมาร์กได้อันดับ 1 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ รองลงมาคือ สวิตเซอร์แลนด์ มีอันดับลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ถัดมาเป็นสิงคโปร์ ซึ่งปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ อันดับ 4 คือ สวีเดน ตกลงมาจากปีที่แล้ว 2 อันดับ ส่วนอันดับ 5 คือ ฮ่องกง เลื่อนอันดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ ปีนี้ไทยได้อันดับ 33 ลดลงจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ได้อันดับ 28 ในปีที่แล้ว

เดนมาร์กได้อันดับ 1 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ มีอันดับ 13 ในปีนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ มีอันดับ 6 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ได้อันดับ 1 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเป็นหลักเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ถึง 7 อันดับ จากอันดับ 24 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 17 ในปีนี้ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 3 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน มีอันดับเลื่อนขึ้น 3 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัยย่อย (มีทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย) ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ เป็นอันดับ 3 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 6 ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 42 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 41 และมีอันดับ 56 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 57 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว

สวิตเซอร์แลนด์ มีอันดับลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจถึง 23 อันดับ จากอันดับ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 30 ในปีนี้ ซึ่งทำให้ในปีนี้มีอันดับอยู่ในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนอีก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ มีอันดับ 1 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 4 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ครองอันดับ 1 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่มีการเลื่อนอันดับลงถึง 40 และ 12 อันดับ จากอันดับ 12 และ 15 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 52 และ 27 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศมีอันดับต่ำในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ปีที่แล้วได้อันดับ 58 ในขณะที่ปีนี้ได้อันดับ 59

สิงคโปร์ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ มีอันดับ 3 ในปีนี้ เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ 1 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 4 ในปีนี้ ส่วนอีก 3 ปัจจัยที่เหลือ คือ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับ 9 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ มีอันดับ 12 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ที่เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ เป็นอันดับ 6 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 57 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 54 ส่วนปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับต่ำในปีนี้ อยู่ที่อันดับ 43

สวีเดน ตกลงมาจากปีที่แล้ว 2 อันดับ ได้อันดับ 4 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 5 และ 1 อันดับ จากอันดับ 16 และ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ยังคงครองอันดับ 9 และ 2 ทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่เลื่อนอันดับลง 5 และถึง 12 อันดับ จากอันดับ 10 และ 30 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 15 และ 42 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยการจ้างงานมีอันดับต่ำในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปีนี้มีอันดับ 39 ปีที่แล้วมีอันดับ 41 ปัจจัยย่อยที่มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 58 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 55 ในขณะที่การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของ 3 ปัจจัยย่อยเล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา

ฮ่องกงได้อันดับ 5 ในปีนี้ เลื่อนอันดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน โดยปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 15 อันดับ เป็นอันดับ 15 ในปีนี้ ซึ่งยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือน 2 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับ 16 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ ทำให้ในปีนี้ได้อันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนอีก 2 ปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับลดลง 1 และ 4 อันดับ ได้อันดับ 1 และ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 2 และ 7 ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 11 อันดับ จากอันดับ 32 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 3 อันดับ จากอันดับ 21 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 18 ในปีนี้ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยการจ้างงาน และปัจจัยย่อยระดับราคา ทั้งสองอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 40 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 39 และมีอันดับ 63 ทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว

สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 33 ลดลงจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ได้อันดับ 28 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของ 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 13 อันดับ เป็นอันดับ 34 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับลง 11 อันดับ มีอันดับ 31 ในปีนี้ 3. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับลดลง 9 อันดับ เป็นอันดับ 30 ในปีนี้ 4. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเลื่อนลง 1 อันดับ มีอันดับ 44 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีไว้ในปีนี้เหมือนหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือน 2 ปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้มีอันดับค่อนไปในทางที่ดี ส่วนปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือนที่ผ่านมาหลายปี การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของ 2 ปัจจัยย่อยเป็นหลัก คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ และปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศ ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 10 และ 16 อันดับ จากอันดับ 41 และ 21 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 51 และ 37 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีที่แล้วและมีอันดับไม่ดีในปีนี้ และทำให้ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศมีอันดับเลื่อนลงมากที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ ที่เลื่อนอันดับลงถึง 15, 5 และถึง 8 อันดับ เป็นอันดับ 29, 41 และ 38 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วมีอันดับ 14, 36 และ 30 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบันมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปีนี้มีอันดับ 44 ปีที่แล้วมีอันดับ 43 ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม ที่เลื่อนอันดับลงถึง 7 และ 5 อันดับ จากอันดับ 40 และ 20 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 47 และ 25 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2 อันดับ จากอันดับ 49 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 51 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีที่แล้วและมีอันดับไม่ดีในปีนี้ คงเป็นข่าวดีสำหรับปัจจัยย่อยการศึกษาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยเดียวกัน ที่ก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับเลื่อนขึ้น 3 อันดับ จากอันดับ 56 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 53 ในปีนี้ ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด โดยมีอันดับเลื่อนขึ้น 6 อันดับ จากอันดับ 37 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 31 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยการจ้างงานภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 4 2. ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 4 ในปีที่แล้ว ในขณะที่ปีนี้มีอันดับ 7

สำหรับไทยต้องพัฒนาอีกหลายด้าน เนื่องจากในปีนี้ไทยมีอันดับลดลง 5 อันดับ โดยเฉพาะด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ซึ่งทั้งสองด้านมีอันดับต่ำมากที่สุดเป็นอันดับ 2 และอันดับ 1 ตามลำดับ ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นมาก

 

 

 

 

สวมหมวกนิรภัย 100%

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กำหนดให้พื้นที่ทุกส่วนราชการเป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย 100%

เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะคะ

วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2565

วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์
ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2565

งานสามัคคีวิชาการและอาชีพครั้งที่ 14 ณ กรุงลอนดอน

สามัคคีสมาคมได้จัดงานสามัคคีวิชาการและอาชีพขึ้นทุกปี เพื่อสร้างเสริมเครือข่ายทางวิชาการระหว่างนักศึกษา เป็นโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการทั้งในสหราชอาณาจักรและภูมิภาคยุโรป โดยปีแรกงานมีเพียงประชุมวิชาการและการประกวดบทคัดย่องานวิจัยเท่านั้น แต่ปี พ.ศ. 2564 ได้ปรับรูปแบบงานเป็นออนไลน์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดของโรคโควิด-19 และให้นักเรียนไทยนอกสหราชอาณาจักรเข้าร่วมได้
งานปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “The Remake of Thailand” กล่าวถึง อุปสรรคและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงาน คือ
1. เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างนักศึกษาในสาขาที่แตกต่างกันเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย
2. ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถบูรณาการงานวิจัยของตนเข้ากับประเด็นปัญหาในปัจจุบันในประเทศไทย และนำมาสู่การใช้งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3. สร้างเสริมโอกาสในอาชีพและการทำงานแก่นักศึกษาไทย

   กิจกรรมภายในงาน
งาน Samaggi Abstract Competition ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานครั้งที่ 14 ได้เปิดรับผลงานบทคัดย่อทางออนไลน์ การแข่งจันรอบสุดท้ายแต่ละสาขาประกอบด้วยการนำเสอนงานวิจัยผ่านวิดีโอ 10 นาที ต่อด้วยตอบคำถามสดอีก 10 นาที โดยมีทั้งหมด 6 สาขาวิชาดังนี้ ชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ การวิเคราะห์ทางสังคม และมนุษยศาสตร์และศิลปะและวิศวกรรมและเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์และธุรกิจศึกษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ ผลการจัดงาน มีผู้ส่งบทคัดย่อทั้งหมด 104 ราย โดยมี 18 รายผ่านเข้ารอบนำเสนอหลัก (Oral Presentation) และอีก 14 รายเข้าร่วมรอบนำเสนอ E-Poster โดยผู้ชนะสามอันดับแรกในแต่ละสาขาจะได้รับรางวัลมูลค่ารวม 300 100 และ 50 ปอนด์สเตอร์ลิงตามลำดับ

งานประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในฝรั่งเศสประจำปี 2565
เมื่อวันที่ 8-9 เมษายน 2565 สมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเสศ ได้จัดงานประชุมวิชาการประจำปี 2565 หัวข้อ “จุดประกายความคิดเชื่อมติดภูมิปัญญา นำพาสู่อนาคต สดใสด้วยนวัตกรรม” ณ กรุงปารีส โดยสำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้หการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของนักเรียนไทยในภูมิภาคยุโรป

   ที่มาของการประชุม
ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่นักเรียนไทยนิยมเดินทางไปศึกษาต่อโดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาลไทย ปัจจุบันมีนักเรียนไทยกระจายอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในสาขาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส รวมถึงด้านธุรกิจ นักเรียนไทยกลุ่มนี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและขับเคลื่อนประเทศไทย ผ่านการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีทั้งทางตรงและทางอ้อม
งานประชุมวิชาการประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อ “จุดประกายความคิด เชื่อมติดภูมิปัญญา นำพาสู่อนาคต สดใสด้วยนวัตกรรม” นั้นมีที่มีจากความต้องการให้นักเรียนไทยในฝรั่งเศสจัดประกายความรู้ในตัวเองเพื่อขจัดความมืดบอดทางวิชาการเป็นลำดับแรก จากนั้นจุดประกายเพื่อสร้างและส่งต่อความรู้และแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น โดยร่วมมือกันสร้างและส่งต่อความรู้ทางวิชาการและการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ส่งประกายแสงสว่างทางความคิดไปยังคนรุ่นใหม่ๆ

   องค์ประกอบของผู้เข้าร่วมงาน
ผู้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการฯ มีจำนวนทั้งหมด 38 ท่าน แบ่งออกเป็นกรรมการสมาคมฯ 10 ท่าน วิทยากร 8 ท่าน พิธีกรรับเชิญ 1 ท่าน กรรมการการเลือกตั้ง 2 ท่าน และผู้สมัครเข้าร่วมงานอื่นๆ 17 ท่าน ในจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 17 ท่าน มีผู้เข้าร่วมงานที่มีสถานภาพเป็นนักเรียนทุนจากแหล่งทุนนอกประเทศไทยจำนวน 6 ท่าน นักเรียนทุนจากหน่วยงานรัฐบาลไทยทั้งหมด 6 ท่าน ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งออกเป็นทุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 1 ท่าน ทุนจากกองทัพบก 2 ท่าน ทุนจากมหาวิทยาลัยรัฐบาล 1 ท่าน และทุนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2 ท่าน ผู้เข้าร่วมงานที่มีสถานภาพเป็นนักเรียนทุนส่วนตัว 3 ท่าน และผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วจำนวน 2 ท่าน คิดเป็นร้อยละ ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยนักเรียนทุนจากแหล่งทุนนอกประเทศไทยร้อยละ 356.29 นักเรียนทุนจากหน่วยงานรัฐบาลไทยร้อยละ 35.29 นักเรียนทุนส่วนตัวร้อยละ 17.65 และผู้ที่สำเร็จการศึกษาร้อยละ 11.77

   รูปแบบของงานประชุม
งานประชุมวิชาการประจำปี 2565 แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1. กิจกรรมทางวิชาการ (Academic Storytelling)
2. กิจกรรมเพื่อสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ (Networking)
รูปแบบของงานจัดในแบบ Storytelling โดยมีวิทยากร (speaker) จำนวน 9 ท่าน โดยเน้นการถ่ายทอดเข้าใจง่าย มีตัวอย่างชัดเจน ภายในระยะเวลาสั้น (ประมาณ 15-20 นาที) เพื่อสร้างความเข้าใจข้ามศาสตร์ โดยสามารถให้ผู้ฟังไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่วิทยากรศึกษาวิจัยเข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ และมีผลตอบรับ (feedback) ได้ทันทีผ่านช่วงถาม-ตอบในช่วงท้ายของการบรรยาย อันเป็นทักษะการเล่าเรื่อง (storytelling) ที่จำเป็นสำหรับการทำงานและสร้างสรรค์ผลงานวิชาการในปัจจุบัน การนำเสนอหัวข้อหลากหลาย ครอบคลุมเรื่องภาษาศาสตร์ อุตสาหกรรมยา การป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ อุตสาหกรรมเคมี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ส่วนที่สอง เป็นกิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ (networking) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความรู้จักคุ้นเคยกัน และสร้างเสริมความสัมพันธ์ในทางวิชาการต่อไปภายหลังการประชุม

   สรุปสาระสำคัญของการบรรยายวิชาการ (Academic Storytelling) ในหัวข้อต่างๆ

1. “การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากอวกาศ (Space-based Information” โดย นายปรเมศวร์ ธุวะคำ
ปัจจุบัน “ข้อมูลจากอวกาศ” เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการติดตามและบริหารงานหลายด้าน ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การเกษตรกรรม การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความมั่นคง ข้อมูลจากอวกาศเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจ และวางแผนกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากอวกาศของไทย

2. “อวกาศยุคใหม่ (new space) และความท้าทายของผู้เล่นใหม่ในอุตสาหกรรมอวกาศ” โดย นางสาวนภสร จงจิตตานนท์
ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการอุตสาหกรรมอวกาศ จากเดิมที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดอุตสาหกรรมอวกาศ กลายเป็นเอกชนที่เป็น “ผู้เล่นใหม่” ทั้งด้านการสร้างดาวเทียมและจรวด ทำให้ต้นทุนการขนส่งขึ้นสู่อวกาศลดลง ส่งผลให้เกิด Business model ใหม่ๆ เป็นการลดกำแพงและเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอวกาศได้มากขึ้น

3. “การฟอกเขียว (greenwashing) ส่งผลต่อโลกและผู้บริโภคอย่างไร” โดย นางสาววนารี อังคณาพาณิช
ปัจจุบันมีสินค้าที่อ้างว่าไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่แท้จริงอาจเป็นการ “ฟอกเขียว” เพื่อให้ภาพลักษณ์ของสินค้าดูดี ทั้งที่ยังมีกระบวนการการใช้สารเคมีที่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคไม่ทราบ จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้ว่าการฟอกเขียวคืออะไร มีที่มาอย่างไร ส่งผลกระทบต่อเราและโลกอย่างไร และเราในฐานะผู้บริโภคสามารถทำอย่างไรได้บ้างเพื่อไม่ให้ถูกหลอกจากการฟอกเขียว

4. “งานวิจัยขึ้นหิ้งมีจริงหรือ ? : นวัตกรรมใน cold chain Logistic” โดย นายธนเทพ เหลืองทองคำ
การทำวิจัยมีจุดประสงค์หลักคือค้นหาคำตอบของปัญหาต่างๆ และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ถูกมองว่าเป็น “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง ทว่า ถ้าเข้าใจงานวิจัยนั้นๆ อย่างถ่องแท้ ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้หรือต่อยอดได้ทั้งสิ้น โดยยกตัวอย่างการทำวิจัยในเรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สามารถนำมาต่อยอดในงานวิจัยเรื่องห่วงโซ่ความเย็นที่สามารถลดการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์และสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

5. “The Charm of malfunction : ศิลปะในความสวยงามที่มีที่ติ” โดย นางสาวพิชญา คูวัฒนาถาวร
งานศิลปะเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา แม้กระทั่งในห้องแคบๆ ตลอดระยะเวลาการล็อกดาวน์ตามมาตรการของรัฐบาลฝรั่งเศสในการป้องกันโรคโควิด-19 The Charn of malfunction เป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ ผุพัง หรือไม่สามารถทำงานได้แล้วที่ยังมีแง่มุมของความสวยงามอยู่

6. “นวนิยายไบเซ็กชวลร่วมสมัย : จากความกำกวมสู่ความหลากหลายและครอบคลุมทางเพศ” โดย นายปริวรรต์ สุขวิชัย

สังคมร่วมสมัย ชุมชนความหลากหลายทางเพศได้รับสิทธิ ความเท่าเทียม และความเข้าใจจากสังคมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ผ่านการต่อสู้เรียกร้องยาวนาน ภาพแทนกลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่มีมากขึ้นในสื่อต่างๆ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้ส่วนมากคือกลุ่มรักร่วมเพศ ในขณะที่เพศหลากหลายอื่นๆ ถูกเบียดขับไปยังชายขอบและได้รับการกล่าวถึงน้อยกว่ามาก หนึ่งในนั้นคือกลุ่มไบเซ็กชวลหรือรักร่วมสองเพศ อาจเป็นผลมากจากการประกอบสร้างทฤษฎีและวาทกรรมทางเพศที่ตั้งอยู่บน “ฐานคิดแบบทวิภาค” หรือคู่ตรงข้ามระหว่างรักต่างเพศและรักร่วมเพศที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพศหลากหลายยุคแรกใช้เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียม ไบเซ็กชวลเป็นกลุ่มเพศชายขอบนี้ซึ่งเป็นผลมาจากความกำกวมของอัตลักษณ์ดังกล่าวที่ควบรวมรักต่างเพศและรักร่วมเพศเอาไว้ในปัจเจกเดียว ความกำกวมนี้จึงทำให้ไบเซ็กชวลถูกเลี่ยงในการประกอบสร้างทฤษฎีและวาทกรรมทางเพศแบบคู่ตรงข้ามที่ต้องการความชัดเจนเพื่อที่จะพัฒนาองค์ความรู้ทางเพศในกลุ่มตน

7. “ตั๋วร่วม เป็นไปได้หรือไม่ในประเทศไทย” โดย นางสาววิภาดา บุญเลิศ

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีระบบขนส่งสาธารณะมากมาย แต่ปัญหาสำคัญของการใช้งานระบบขนส่งเหล่านี้คือ “ขาดการร่วมกันของระบบ” ซึ่งการขาดการร่วมกันในระบบ ไม่ได้ส่งผลแค่เพียงความสะดวกของการเดินทาง แต่ยังส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอย่างหนัก เพราะการขาดตั๋วร่วม จึงส่งผลให้การเกิดค่าโดยสารร่วมยากขึ้น ซึ่งปัญหาสำคัญเกิดจากสัญญาสัมปทาน ที่กำหนดค่าโดยสาร รวมถึงการกำหนดระบบการบริหารจัดการของรถไฟฟ้า และการขาดหน่วยงานผู้กำกับดูแลการขนส่งทางราง

8. “Lost skill ใน ศตวรรษที่ 21 vs การเรียนการสอบบนฐาน Studio-based Learning” โดย นายพชรพล ศรีสนธิ
ปัจจุบันเกิดปัญหาและอุปสรรคกับตัวนักเรียนและครูผู้สอนในระหว่างการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และส่งผลกระทบต่อทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของเด็ก วิทยากรได้บรรยายถึงแนวการเรียนการสอนแบบ Studio-based learning และ Experiential learning เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบ Studio-based learning วิทยากรสรุปว่า การศึกษาไทยมีอนาคตแน่นอนถ้าครูและบุคลากรทางการศึกษามองเห็นอนาคต ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนไป นักเรียนเช่นกัน ซึ่งเป็นข้อดีที่ครูจะเอาทักษะพิเศษของเด็กยุคนี้ มาเจียระไน ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่เปิดกว้างและทำให้นักเรียนค้นพบตัวเองและเข้าใจชีวิตจริง

9. “รัฐธรรมนูญและปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมของสังคมไทย” โดย นายสิรวิชญ์ ทีวะกุล
ไม่ว่าเรื่องใดที่มีปัญหาในเชิงโครงสร้างและการพัฒนา ท้ายที่สุดก็จะวนมาที่ปัญหาทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานที่สุดซึ่งวางบทบาทระหว่างรัฐและเอกชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงรัฐธรรมนูญและปัญหาทางรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่แก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและนวันกรรม

   ผลลัพธ์ของการจัดประชุม
การนำเสนองานของวิทยากรและนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสในหลากหลายสาขาย่อย ทั้งสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี รวมทั้งกิจกรรม My Work in 180 seconds ทำให้นักเรียนไทยได้แลกเปลี่ยนความรู้แบ่งปันประสบการณ์แนวคิดและวิธีการศึกษาวิจัยผ่านการแสดงความคิดเห็นและถาม-ตอบ เพื่อเป็นแนวทางนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/20220915-newsletter-brussels-no03-mar65.pdf

 

 

 

 

ข้อมูล Smart Greenhouse จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ. 2565-2570) หัวข้อ Modern Agriculture เทคโนโลยีกับเกษตรแนวใหม่ ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ประสิทธิภาพสูง เพิ่มมูลค่า ลดการสูญเสีย มีมาตรฐาน ความปลอดภัย รองรับการเปลี่ยนแปลง) โดย Smart Greenhouse หรือโรงเรือนอัจฉริยะ เป็นหนึ่งใน Core technology ของ Agenda Modern Agriculture

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเรื่อง Smart Greenhouse (คำค้นจากทุกเขตข้อมูล ALL ( “Smart Greenhouse” OR greenhouses OR greenhouse OR “Greenhouse Monitoring” OR “Greenhouse Controls” OR “Intelligent Greenhouse” OR “Green House” OR “Greenhouse Climate Control” ) ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 11 สิงหาคม 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางด้าน Smart Greenhouse เฉพาะของประเทศไทย จำนวน 4,776 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 610 รายการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 597 รายการ มหาวิทยาลัยมหิดล 513 รายการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 470 รายการ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 398 รายการ นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว Smart Greenhouse ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel:www.mintel.com

ภาพที่ 2 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Smart Greenhouse

ฐานข้อมูล Mintel ข้อมูลปี 2020-ปัจจุบัน

คำค้นที่ใช้ Greenhouse

  • Solar Strawberries – สวนเรือนกระจกสตรอเบอรี่ได้ติดตั้งแผงกระจกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้กำหนดเป้าหมายและจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยให้สามารถติดตามและตรวจสอบกระแสไฟฟ้าที่ต้องการ ณ จุดต่างๆ ในแต่ละวันเพื่อให้พลังงานแก่พื้นที่เพาะปลูกและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในตัวเอง ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมีความรอบคอบอย่างมากเกี่ยวกับคุณภาพและความสดของผลิตผลที่ซื้อ รับประทาน และใช้ในครัว นอกจากนี้ นักช็อปในเมืองยังให้ความสำคัญกับผักและผลไม้ที่ได้รับการเพาะปลูกอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชนบทของประเทศ สิ่งนี้สนับสนุนให้ Aqua Ignis ดำเนินการขั้นเด็ดขาดในการบำรุงเลี้ยงสตรอว์เบอร์รีที่อุดมสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่ำ เรือนกระจกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งตั้งอยู่ในรีสอร์ทน้ำพุร้อนธรรมชาติ คาดว่าจะกลายเป็นสถานที่ที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศ Aqua Ignis และ ClearVue ได้กล่าวว่าโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจะช่วยเพิ่มความสนใจในประโยชน์ที่กว้างขึ้นของแผงกระจกพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์และที่บ้าน
  • Grow Food Anywhere – นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในไอร์แลนด์ UL และ NUI ได้สร้างแนวคิดเรือนกระจกแบบใหม่ที่ช่วยให้สามารถผลิตอาหารได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า น้ำ หรือแสงแดดจากภายนอก โครงการนี้เรียกว่า C-Minus ได้เห็นการพัฒนาเรือนกระจกในตัวเองซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสร้างน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในตัวเอง สิ่งนี้จะช่วยให้สามารถปลูกอาหารได้ทุกที่ในโลก ปรับปรุงความมั่นคงด้านอาหารในขณะที่ลดการใช้ที่ดินและการปล่อยคาร์บอนจากการผลิตอาหาร เรือนกระจกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่กว้างขึ้นซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเทคโนโลยีลบคาร์บอน ซึ่งกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศมากกว่าที่ปล่อยออกมา
  • High-Tech Greenhouse –  ฟาร์มทะเลแดงในซาอุดิอาระเบียได้พัฒนาเทคโนโลยีเรือนกระจกที่สามารถผลิตพืชผลโดยใช้น้ำน้อยที่สุดบนพื้นที่ชายขอบ บริษัทสตาร์ทอัพด้านการเกษตรได้ค้นพบวิธีการทำการเกษตรแบบออร์แกนิกและปราศจากยาฆ่าแมลงที่ยั่งยืน โดยจะแทนที่น้ำจืดด้วยน้ำเกลือและใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยเรือนกระจกซึ่งช่วยลดการใช้น้ำจืดได้ 90% และใช้พลังงานน้อยกว่าเรือนกระจกแบบธรรมดาที่ระบายความร้อนด้วยเครื่องจักรถึง 2-6 เท่า จนถึงตอนนี้ บริษัทได้พัฒนามะเขือเทศเชอรี่ปลอดสารจีเอ็มโอที่ทนต่อเกลือและมีรสหวาน มีปริมาณวิตามินซีสูงกว่าและอายุการเก็บรักษานานกว่าผลไม้ที่ปลูกแบบดั้งเดิม ทีมงานกำลังสร้างโรงงานนำร่องเรือนกระจกน้ำเค็มอันทันสมัยแห่งใหม่ขนาด 21,000 ตารางฟุตในอุทยานวิจัยและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยคิงอับดุลลาห์ เพื่อดำเนินการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรต่อไป

ข้อมูล Remote Sensing, Smart Farming จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ. 2565-2570) หัวข้อ Modern Agriculture เทคโนโลยีกับเกษตรแนวใหม่ ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ประสิทธิภาพสูง เพิ่มมูลค่า ลดการสูญเสีย มีมาตรฐาน ความปลอดภัย รองรับการเปลี่ยนแปลง) โดย Remote sensing, Smart farming เป็นหนึ่งใน Core technology ของ Agenda Modern Agriculture

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเรื่อง Remote sensing, Smart farming (คำค้นจากทุกเขตข้อมูลด้วยคำค้น “remote sensing” OR “smart farming” และเลือก keyword คือ Remote Sensing, GIS, Radar, Radar Imaging, Geographic Information Systems, Soil Moisture, Agriculture, Soils, Monitoring, Data Processing, Artificial Intelligence, Weather Forecasting, Sensors, Remote Sensing Images, Data Mining และ Water Management ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 11 สิงหาคม 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางด้าน Remote sensing, Smart farming เฉพาะของประเทศไทย จำนวน 1,750 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) 384 รายการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 142 รายการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 140 รายการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 97 รายการ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 96 รายการ นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว Remote sensing, Smart farming ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel:www.mintel.com

ภาพที่ 2 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Remote sensing, Smart farming

ฐานข้อมูล Mintel ข้อมูลปี 2019-ปัจจุบัน

  • Smart Ginseng – HanaroFarm ของเกาหลีร่วมมือกับบริษัทและมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นเพื่อสร้างฟาร์มอัจฉริยะแห่งแรกของเวียดนามเพื่อปลูกโสม ซึ่งใช้ในยาสมุนไพร ฟาร์มขนาด 200 เฮกตาร์จะใช้เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อปลูกโสมเวียดนามที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่าซัมง็อกลินห์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม มหาวิทยาลัย Quy Nhon และมหาวิทยาลัย Thu Dau Mot จะติดตามโครงการเพื่อประเมินการปรับปรุงเนื้อหาทางโภชนาการของพืชที่ปลูกอย่างชาญฉลาด ด้วยการควบคุมกระบวนการเพาะปลูกและสภาพภูมิอากาศโดยใช้เซ็นเซอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ HanaroFarm หวังที่จะปรับปรุงอัตราการเก็บเกี่ยวและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  • Chicken Shed Robot – Tibot Technologies ได้เปิดตัว Spoutnic Nav หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อให้การเลี้ยงไก่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หุ่นยนต์จะเดินทางไปรอบๆ โรงเพาะฟักเพื่อกระตุ้นให้ไก่เคลื่อนที่ไปรอบๆ และวางไข่ในรัง ไม่ใช่บนพื้น Spoutnic Nav ยังช่วยเติมอากาศให้กับโรงเพาะฟักและกระตุ้นให้ไก่เคลื่อนไหวมากขึ้นเพื่อให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วขึ้น สามารถปรับให้เป็นแบบส่วนตัวเพื่อให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สามารถปรับให้เข้ากับประเภทของเครื่องนอนที่ใช้และเวลาทำการได้
  • How Fresh are the Eggs? – สถาบันวิจัยอาหารแห่งเกาหลี ใช้ reusable wireless sensor tag, communication unit and dynamic software เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวและอุณหภูมิโดยรอบของไข่โดยไม่ทำให้เปลือกแตก ระบบการคาดการณ์แบบไดนามิกจะวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมและกำหนดความสดโดยใช้หน่วย Haugh ซึ่งวัดน้ำหนักและขนาดของไข่ขาวและตรวจสอบความสด โดยตัวเลขที่สูงกว่าแสดงถึงคุณภาพที่ดี

ภาพที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Remote sensing, Smart farming

  • Automatic Growth – Vergromat โซลูชันเรือนกระจกแนวตั้งอัตโนมัติเต็มรูปแบบ สามารถช่วยปลูกอาหารในท้องถิ่นได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ลดการใช้พลังงานลง ระบบเรือนกระจกสามารถควบคุมแสง อุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศแบบอัตโนมัติเพื่อผลิตพืชชนิดต่างๆ ได้ตลอดทั้งปี เรือนกระจกหุ้มฉนวนอย่างดีและประหยัดพื้นที่เนื่องจากมีการออกแบบในแนวตั้ง แม้ว่าจะเหมาะที่สุดสำหรับพืชที่ไม่เติบโตสูงเกินไป แต่ก็มีข้อจำกัดน้อยมากสำหรับสิ่งที่ปลูกได้ นอกจากนี้ คุณภาพของพืชผลสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 15% ระบบสามารถลดต้นทุนด้านพลังงานจากแสงสว่างและความร้อนได้มากถึง 80% และยังสามารถลดการใช้น้ำและของเสียได้อีกด้วย สารละลายมีขนาดกะทัดรัดและปรับขนาดได้ง่าย ดังนั้นจึงสามารถผลิตอาหารในท้องถิ่นได้ใกล้กับที่จำหน่าย
  • QC with AI – Lotte Mart ได้เริ่มใช้ AI-based screening system เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลไม้ AI-based screening system รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผลไม้ รวมทั้งน้ำหนัก ปริมาณน้ำตาล ปริมาณน้ำ และความสุกโดยใช้ ear-infrared light เทคโนโลยีใหม่นี้ยังทำให้สามารถระบุข้อบกพร่อง เช่น สีน้ำตาล ความสุกมากเกินไป หรือเมล็ดแตก ซึ่งอาจเร่งการเน่าของผล ปัจจุบันบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่กำลังใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลไม้ เช่น เมล่อนและพีช
  • Autonomous Tractor – John Deere ได้พัฒนารถแทรกเตอร์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่มีความสามารถในการทำฟาร์มขนาดใหญ่ รถแทรกเตอร์ซึ่งเปิดตัวในงาน CES 2022 มีสีและรูปลักษณ์ที่เหมือนกันของรถแทรกเตอร์ John Deere อื่นๆ แต่มาพร้อมกับกล้องหกคู่ เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ออนบอร์ดที่ควบคุมโดยปัญญาประดิษฐ์ AI สามารถวิเคราะห์ภาพในแบบเรียลไทม์ และระบุวัตถุที่อยู่รอบ ๆ รถแทรกเตอร์ ซึ่งช่วยให้สามารถกำหนดทิศทางที่ควรไปและเมื่อใดควรหยุด ชาวนาสามารถเลือกที่จะนั่งในรถแท็กซี่หรือตรวจสอบจากวิดีโอฟีดข้อมูลสดที่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทั้งหมดของรถแทรกเตอร์

ภาพที่ 4 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Remote sensing, Smart farming

  • Plain of Drones – Nippon Telegraph and Telephone (NTT) กำลังเริ่มการทดลองใช้ระยะเวลา 2 ปี เพื่อดูโดรนที่ตรวจสอบโดยระบบ GPS ที่บินอยู่เหนือพื้นที่เพาะปลูกในจังหวัดฟุกุชิมะ โดรนที่ติดตั้งกล้องจะถ่ายภาพต้นข้าวและให้ข้อมูลเฉพาะเวลาสำหรับการวิเคราะห์โดยใช้เทคโนโลยี AI ผลลัพธ์จะช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบพืชผลและสภาพอากาศได้อย่างแม่นยำ และปรับระยะเวลาของกระบวนการฉีดพ่นและใส่ปุ๋ยอย่างเหมาะสม
  • Drone Rice Farming – XAG กำลังส่งเสริมการใช้โดรนเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรในการปลูกข้าวอย่างยั่งยืนโดยใช้ทรัพยากรน้อยลงในประเทศผู้ผลิตข้าวที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดรน XAG ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของกวางโจวใช้ AI และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกษตรกรในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงสามารถจัดการกระบวนการเพาะปลูกจากระยะไกล เช่น การเพาะเมล็ดและการฉีดพ่น เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลก ในขณะที่ความกลัวทั่วโลกเติบโตขึ้นเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร โซลูชั่นด้านการเกษตรสามารถช่วยให้มั่นใจได้ว่ามีสินค้าหลักที่สม่ำเสมอและราคาไม่แพง ผู้บริโภคต้องการอาหารที่ได้รับการบำรุงเลี้ยงอย่างยั่งยืนมากขึ้น การทดลองข้าวแบบอัตโนมัติในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ 8 เมตริกตันต่อเฮกตาร์ โดยใช้เมล็ดพันธุ์น้อยกว่าการทำนาด้วยมือถึง 35% ผลประโยชน์ยังสามารถสนับสนุนการสืบทอดการเกษตร การใช้เทคโนโลยีและโดรนที่ทันสมัยสามารถส่งเสริมให้คนรุ่นหลังมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการเกษตรมากกว่าที่จะแสวงหาอาชีพที่แตกต่าง
  • Tech to Save Durians – สวนผลไม้ชั้นนำของมาเลเซียหันไปใช้วิธีการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มคุณภาพของพืชผล สปริงเกลอร์ที่ติดอยู่กับเครือข่ายท่อจะถูกเปิดใช้งานจากระยะไกลเพื่อให้น้ำและปุ๋ยแก่ต้นทุเรียน และโดรนจะบินเหนือสวนที่ฉีดสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อจำเป็น ตามข้อมูลของบริษัท ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 40% ในขณะที่จำนวนพนักงานที่ต้องการลดลง 30%

ภาพที่ 5 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Remote sensing, Smart farming

  • AI Checks for Cows- CattleEye เป็นระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่สามารถตรวจจับสัญญาณของความพิการในโคและการตรวจสอบของมนุษย์ได้โดยอัตโนมัติ CattleEye สแกนการเคลื่อนไหวของวัวเพื่อตรวจหาสัญญาณเริ่มต้นของความอ่อนแอ และกำลังถูกใช้ในฟาร์มทั่วสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา โดยมีสัตว์ประมาณ 20,000 ตัวอยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง
  • Old Farm เคล็ดลับใหม่
  • ฟาร์มทุเรียนใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อค้นหาและเก็บเกี่ยวทุเรียนสด เซ็นเซอร์สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแรงตึงและน้ำหนักสุทธิเมื่อผลลดลง เทคโนโลยีนี้ใช้ส่วนประกอบ Machine Type Communications (mMTC) ขนาดใหญ่ของ 5G เพื่อช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับความต้องการในการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะได้รับการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์พร้อมระบุตำแหน่งของผลไม้ ข้อมูลที่รวบรวมสามารถช่วยให้เกษตรกรทำนายฤดูกาลทุเรียนได้เช่นกัน
  • A Durian for Your Cut – นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการใช้เปลือกทุเรียนที่ทิ้งแล้วเพื่อสร้างผ้าพันแผลไฮโดรเจลต้านเชื้อแบคทีเรียราคาถูก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปแล้ว ผ้าพันแผลไฮโดรเจลจะใช้โดยตรงกับแผลหลังการผ่าตัด ช่วยลดรอยแผลเป็นโดยการรักษาบริเวณแผลให้ชุ่มชื้นในช่วงแรกของกระบวนการสมาน ตัวไฮโดรเจลเองมักจะทำจากโพลีเมอร์สังเคราะห์ โดยเติมไอออนเงินหรือทองแดงเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย โพลีเมอร์มักไม่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและทำจากทรัพยากรที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ การรวมไอออนของโลหะยังช่วยเพิ่มต้นทุนอีกด้วย ผ้าพันแผลที่ได้มาจากทุเรียนทำโดยการสกัดเซลลูโลสคุณภาพสูงจากเปลือกที่เหลือบางส่วน จากนั้นผสมกับกลีเซอรอลที่เหลือจากการผลิตสบู่และไบโอดีเซล และฟีนอลจากยีสต์ธรรมชาติ ส่งผลให้เนื้อเจลฆ่าเชื้อโรคที่อ่อนนุ่มมีเนื้อสัมผัสที่คล้ายคลึงกัน ไปจนถึงซิลิโคนที่สามารถตัดเป็นแผ่นได้
  • Food for Drones – นักวิจัยในมาเลเซียได้พัฒนาเทคนิคในการเปลี่ยนเส้นใยจากใบสับปะรดเป็นวัสดุที่แข็งแรงพอที่จะทำโครงโดรน นำโดยมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย จุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการค้นหาการใช้ขยะสับปะรดที่ผลิตโดยเกษตรกรในพื้นที่ Hulu Langat ในประเทศมาเลเซียอย่างยั่งยืน หากร่างกายของโดรนเสียหาย โครงของโดรนสามารถฝังลงดินได้ และจะใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ในการย่อยสลายทางชีวภาพ
  • Laser Weeding – โครงการ WeLASER ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปกำลังพัฒนาเลเซอร์เพื่อกำจัดวัชพืชที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับยาฆ่าแมลงและปุ๋ย ประสานงานโดยสภาระดับสูงเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของสเปน (CSIC) WeLASER จะพัฒนาโซลูชันที่ไม่ใช้สารเคมีสำหรับการจัดการวัชพืช มันจะประกอบด้วยการใช้ปริมาณพลังงานที่ทำให้ถึงตายกับเนื้อเยื่อของวัชพืชผ่านแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์กำลังสูง ระบบ AI-vision ที่ชาญฉลาดจะแยกพืชผลออกจากวัชพืชและชี้เลเซอร์ไปที่พวกมัน เลเซอร์จะถูกใช้ทั่วสนามโดยยานยนต์ไร้คนขับ ด้วยงบประมาณโดยรวม 5.4 ล้านยูโร WeLASER คาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566

ภาพที่ 6 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Remote sensing, Smart farming

  • Breathable Sand – Rechsand ผลิตขึ้นจากทรายที่ดีที่สุดจากทะเลทรายโกบี ซึ่งผ่านการบำบัดเพื่อให้มีการซึมผ่านและองค์ประกอบต่างๆ ที่ช่วยลดการใช้น้ำและเพิ่มความยั่งยืน Rechsand ผลิตขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง Dake Group ของแอฟริกาใต้และ Rechsand Technology Group ของจีน โครงสร้างโมเลกุลของทรายได้รับการปฏิบัติเพื่อให้เป็น ‘ทรายที่ระบายอากาศได้’ ซึ่งถือเป็นพลังที่จะปฏิวัติการทำฟาร์มในทะเลทราย ลดการใช้น้ำในการทำสวนหรือทำการเกษตรได้ถึง 80% และการซึมผ่านของอากาศช่วยให้รากพืชทำงานได้ดีขึ้นในแง่ของคุณภาพและการเจริญเติบโต
  • Stressed Greens – นักวิจัยชาวอิสราเอลได้สร้างโซลูชันการเกษตรอัจฉริยะเพื่อติดตามและคาดการณ์ความเครียดของพืชผล นักวิจัยจาก Technion – Israel Institute of Technology ได้สร้างระบบอัตโนมัติที่ตรวจสอบความเครียดของพืช สิ่งนี้เป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตและอายุขัยของพืชโดยใช้ภาพถ่ายสี การถ่ายภาพความร้อน และการเรียนรู้เชิงลึก โดยมีความแม่นยำมากกว่า 90% ในการทำนาย หมายความว่าเกษตรกรสามารถระบุได้เมื่อเกิดความเครียดจากภัยแล้งและช่วยรักษาพืชไว้ตลอดจนคาดการณ์ผลผลิตพืชผล

ภาพที่ 7 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Remote sensing, Smart farming

The Surroundings Driver อธิบายถึงวิธีที่ผู้บริโภคค้นหาโซลูชันเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อม ซึ่งกำลังผลักดันนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนโลกทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะผลักดันความต้องการโซลูชันด้านการเกษตรเพิ่มเติมที่มุ่งเน้นการปรับปรุงความยืดหยุ่นของพืชและความยั่งยืน แอพ AI และเทคโนโลยีคาดการณ์จะถูกรวมเข้ากับอุปกรณ์ขนาดเล็กเพื่อช่วยให้เกษตรกรและผู้ปลูกที่บ้านปรับปรุงประสบการณ์การปลูกและผลผลิตของพวกเขา เราจะเห็น ‘พืชที่ได้รับการอัพเกรด’ ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมเพื่อให้ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น เช่น ปริมาณแคลเซียมที่มากขึ้น ธาตุเหล็กที่สูงขึ้น หรือเสริมด้วยสารอาหาร เช่น คอลลาเจนหรือวิตามินหลายชนิด

วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2565

วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์
ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2565

รางวัลเกียรติคุณ Friend of Thai Science 2021
การมอบรางวัลเกียรติคุณ Friend of Thai Science ให้แก่บุคคลผู้มีคุณูปการต่อวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย (อววน.) ที่มีผลงานวิจัยเป็นที่ประจักษ์และความเชี่ยวชาญโดดเด่น หรือ มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือด้าน อววน. ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับไทยและมนุษยชาติ รวมทั้งผลงานสามารถนำไปต่อยอดกับแผนพัฒนาประเทศไทยด้าน อววน.

ยุโรปมุ่งพัฒนาเป็นผู้นำด้านการผลิตไมโครชิปเพื่อเสริมสร้างอธิปไตยทางดิจิทัล
ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ใช้ในการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ยานยนต์ ตลอดจนการผลิตดาวเทียม ไมโครชิปเป็นทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์ เป็นหัวใจของการแข่งขันด้านเทคโนยีของโลก เป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ เช่น ระบบยานยนต์อัตโนมัติ การประมวลผลแบบ cloud การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ 5G/6G และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งการระบาดของโควิดได้เน้นย้ำให้สหภาพยุโรปเห็นถึงความเปราะบางในห่วงโซ่การผลิตไมโครชิปทั่วโลก
ผลกระทบของโควิทต่อการผลิตไมโครชิปและอุตสาหกรรมในยุโรป
วิกฤติการแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคโครวิด การขนส่งวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตหยุดชะงัก นอกจากนี้โรงงานผลิตต้องปิดตัวชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ทำให้การผลิตไมโครชิปสู่ตลาดโลกลดลง ทางกลับกันความต้องการของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น จึงจำเป็นต้องชะลอการผลิต บางรายปิดโรงงานชั่วคราว เช่น บริษัท Mercedes Benz บริษัท BMW และบริษัท Volkswagen และมีการปิดฝ่ายการผลิตที่โรงงานผลิตรถบรรทุกในประเทศเยอรมนีเป็นการชั่วคราว

แผนส่งเสริมการเป็นผู้นำด้านการผลิตไมโครชิปของยุโรป
สหภาพยุโรปได้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรของบริษัทผู้ผลิตไมโครชิป ประกอบด้วย บริษัท ASML บริษัท Infineon บริษัท STM และบริษัท NXP เพื่อช่วยศึกษาช่องว่างของการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครชิปของยุโรป เพื่อขยายอุตสาหกรรมการผลิตให้เทียบเท่าของสหรัฐฯ จีน และ เกาหลีใต้
ล่าสุดประกาศว่าจะมีการออกกฎหมาย European Chips Act เพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศ โดยจุดแข็ง คือ การเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไมโครชิป และการผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตไมโครชิป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนต้องการลดการพึ่งพาการนำเข้าไมโครชิปจากต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด “Strategic Autonomy”
โดยองค์ประกอบหลักของร่างกฎหมาย European Chips Act มี 3 ข้อดังนี้
1. การจัดตั้ง Chips for Europe Initiative ซึ่งเป็นการรวบรวมทรัพยากรด้านอุตสาหกรรมไมโครชิปจากประเทศสมาชิกและประเทศพันธมิตรเข้าด้วยกัน และอัดฉีดงบประมาณ ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไมโครชิปชั้นสูง พร้อมทั้งฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเข้าใจถึงระบบนิเวศและห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมไมโครชิป
2. การจัดทำแผนงานเพื่อดึงดูดการลงทุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตไมโครชิปในยุโรป เพื่อเพิ่มอธิปไตยทางการผลิต และลดการพึ่งพาการนำเข้าไมโครชิปจากต่างประเทศ ทั้งยังจัดสรรทุน Chips Fund ให้แก่วิสาหกิจเริ่มต้น (start-ups) ในการต่อยอดและขยายตลาดของนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านไมโครชิป
3. การจัดตั้งกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อช่วยติดตามและตรวจสอบอุปทานไมโครชิปคำนวณอุปสงค์ และคาดการณ์ปัญหาขาดแคลนไมโครชิป ทำแผนเพื่อหาจุดอ่อนในการผลิต

หน่วยงานที่สำคัญด้านการพัฒนาไมโครชิปในยุโรป
ในยุโรปมีศูนย์วิจัยไมโครชิปที่สำคัญ ได้แก่ Interuniversity Microelectronics Centre (IMEC) ในเบลเยียม เป็นผู้นำด้านการผลิตไมโครชิปขนาดจิ๋วแต่ประสิทธิภาพสูง และรับเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากนี้ยังมีบริษัท ASML ของเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับใช้ในโรงงานผลิตไมโครชิปทั่วโลก
บริษัท ASML ได้ใช้เทคโนโลยี Extreme ultraviolet lithography เพื่อผลิตชิปขนาดจิ๋วแต่ทรงพลัง สามารถประมวลผลได้เร็ว มีประสิทธิภาพ และจุข้อมูลจำนวนมหาศาล ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยี Extreme ultraviolet lithography หรือ EUV ใช้ผลิตชิปและเซมิคอนดักเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แสงอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นสั้นมากๆ ขีดเขียนลายวงจรไฟฟ้าและมีขนาดเล็กโดยมีลำแสงความยาวคลื่นที่สั้น ช่วยให้เขียนลายวงจรได้ละเอียดบนพื้นที่จำกัด เหตุนี้จึงสามารถผลิตชิปที่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ได้ และเมื่อนำชิปขนาดจิ๋วไปใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้มีน้ำหนักเบา กินไฟน้อยลง แต่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและจุข้อมูลได้มากขึ้น

ภาพรวมสถานะและความก้าวหน้าของประเทศลิทัวเนีย ในด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ศักยภาพด้านนวัตกรรม (innovation performance) สาธารณรัฐเช็กจัดอยู่นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators) อยู่ลำดับที่ 2 รองจากประเทศเอสโตเนีย ถือว่าสาธารณรัฐเช็กเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในกลุ่มนี้ และมีอักตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มเช่นกัน โดยมีการพัฒนาสูงสุด้านภาวะผู้ประกอบการ และทรัพย์สินทางปัญญา การเพิ่มขึ้นรายได้จากต่างประเทศจากการจัดทำใบอนุญาตและสิทธิบัตร จุดแข็งของสาธารณรัฐเช็กคือ ทรัพยากรมนุษย์ และภาวะผู้ประกอบการ จุดอ่อนคือ ระบบทางการวิจัยที่ยังไม่เปิดกว้าง และไม่น่าดึงดูดเท่าที่ควร
การบินและอวกาศ พลังงาน เทคโนโลยีการขนส่ง และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสาขาที่มีความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ มีความร่วมมือระดับนานาชาติ แม้ไม่ใช่สาขาที่สาธารณรัฐเช็กมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด แต่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ได้สูง ทางกลับกันมีความเชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์สาขาที่เกี่ยวกับอาหาร การเกษตร และประมง ซึ่งมีวารสารวิชาการสาขาเหล่านี้ตีพิมพ์ออกมาเป็นจำนวนมาก

ความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมอวกาศของสาธารณรัฐเช็ก
สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) ใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านอวกาศทางวิทยาศาตร์ นานกว่า 60 ปี ช่วงเริ่มต้น 10 ปีแรก เป็นการใช้ข้อมูลจากระบบเซ็นเซอร์ (sensors) ที่เชื่อมต่อกับดาวเทียมขนาดเล็กในการทดลอง ค้นคว้า และวิจัยในสถาบันวิจัยและภาคธุรกิจขนาดเล็ก จุดเปลี่ยนของการพัฒนากิจการด้านอวกาศเกิดจากการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การอวกาศยุโรป หลังจากนั้นมาพัฒนาการด้านกิจการอวกาศมีความโดดเด่น การพัฒนาและบทบาทในด้านกิจการอวกาศมาอย่างต่อเนื่อง
เมื่อต้นปี ค.ศ. 2020 ได้ประกาศ แผนกิจการด้านอวกาศแห่งชาติ 5 ปี (National Space Plan 2020-2025) (NSP 2020-2025)  วัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างศักยภาพและขีดความสามารถด้านกิจการอวกาศทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา ตลอดจนเพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้การลงทุนด้านอุตสาหกรรมอวกาศเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและยังเป็นยุทธศาสตร์ สาธารณรัฐเช็กให้ความสำคัญด้านอวกาศหลายมิติ เช่น การสังเกตการณ์โลกเพื่อสำรวจทรัพยากร การสำรวจอวกาศ การสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบนำร่องด้วยดาวเทียม การบินในอวกาศโดยมนุษย์และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และการเฝ้าระวังกิจกรรมทางอวกาศ
ปัจจุบันสาธารณรัฐเช็กมีบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งเริ่มต้นจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของ ESA Business Incubation Center (ESA BIC) นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้ง Czech Space Alliance (CSA) เป็นสมาคมผู้ประกอบการด้านกิจการอวกาศ มีบทบาทสำคัญโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตและพัฒนาอุปกรณ์และส่วนประกอบของจรวดและสถานีอวกาศ พัฒนาโปรแกรมและซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศ

ความร่วมมือระหว่างไทยและสาธารณรัฐเช็กในมิติกิจการด้านการบินและอวกาศ
การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็ก ในปี 2562 รัฐบาลไทยและสาธารณรัฐเช็กได้มีการหารือร่วมกัน โดยเฉพาะการพัฒนาความร่วมมือทางทหาร – การบิน โดยรัฐบาลสาธารณรัฐเช็กได้แสดงความสนใจการลงทุนใน eastern seaboard ของไทย โดยไทยจะร่วมมือกับสาธารณรัฐเช็กในการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาโรงงานประกอบและศูนย์อำนวยความสะดวกการซ่อมบำรุงซ่อมแซม และยกเครื่อง (MRO: Maintenance, Repair, and Overhaul) อากาศยาน   

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/20220915-newsletter-brussels-no02-feb65.pdf

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูล Coral จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ. 2565-2570) หัวข้อ Biodiversity ที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเก็บรักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าและยั่งยืน โดย Coral หรือ ปะการัง เป็นหนึ่งใน Core technology ของ Agenda Biodiversity

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเรื่อง Coral (คำค้นจากเขตข้อมูล Title, Abstract, Keyword ด้วยคำค้น coral และเลือก keyword คือ Coral Bleaching, Bleaching, Conservation และ Environmental Stress ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 28 มิถุนายน 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางด้าน Coral เฉพาะของประเทศไทย จำนวน 127 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 36 รายการ รองลงมา คือ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (Phuket Marine Biological Center) 20 รายการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14 รายการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 13 รายการ มหาวิทยาลัยบูรพา และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 8 รายการ เท่ากัน นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว Coral ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel:www.mintel.com

ภาพที่ 2 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Coral conservation

ด้วยความตระหนักถึงสภาพความหายนะของแนวปะการังในเปอร์โตริโกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่น ดังนั้น Medalla Light เสนอโครงการ CSR ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการเติบโตของปะการัง แบรนด์จะบดขวดเบียร์และผสมทรายที่ได้กับซีเมนต์เพื่อการบูรณะ ส่วนผสมนี้จะนำไปใช้กับแนวปะการังในเปอร์โตริโก

นักวิจัยในอิสราเอลกำลังทดลอง 3D-printed coral reefs โดยหวังว่าจะสามารถฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ แนวปะการังที่พิมพ์ 3 มิติสามารถเลียนแบบรูปร่างตามธรรมชาติเพื่อดึงดูดปลาสายพันธุ์ต่างๆ เพื่อพยายามฟื้นฟูชีวิตทางทะเลของไอแลต เครื่องพิมพ์ 3 มิติได้รับการพัฒนาโดยนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยี Technion Israel, มหาวิทยาลัย Ben-Gurion แห่ง Negev และมหาวิทยาลัย Bar-Ilan ใช้กรดโพลิแลกติก ซึ่งเป็นพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ทำจากข้าวโพด มันสำปะหลัง หรืออ้อย เพื่อผลิตโครงสร้างคล้ายเสา สิ่งเหล่านี้ถูกติดตั้งลงไปในน้ำพร้อมกับฟาร์มปะการังเพื่อเลียนแบบความซับซ้อนของระบบนิเวศของแนวปะการัง 3D printing จะปฏิวัติกระบวนการผลิตที่สำคัญด้วยการเปลี่ยนพลาสติก กระดาษ และไม้ด้วยวัสดุเหลือใช้ที่ยืดหยุ่น ยั่งยืน และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่ว่าจะในอากาศ บนพื้นดิน หรือใต้น้ำ

บริษัท Blue Oasis Technology ของโปรตุเกส ได้พัฒนาแนวปะการังเทียม แนวปะการังเทียมประกอบด้วยขยะอุตสาหกรรมที่มาจากท้องถิ่นและเศษอาหาร และจำลองสภาพแวดล้อมใต้น้ำที่แท้จริง แนวปะการังสามารถเพาะเลี้ยงด้วยปะการังที่ปลูกในห้องแล็บซึ่งได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นจนถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้น Blue Oasis Technology ยังได้พัฒนา BluBoxx ซึ่งเป็นเครื่องตรวจสอบข้อมูลที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ ความเป็นกรด และความเค็มของสิ่งแวดล้อม

โครงการ Dubai Oyster จะนำเศษอาหารไปใช้สร้างแนวปะการังนอกชายฝั่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โครงการริเริ่มในการรีไซเคิล โดยที่ร้านอาหารนำหอยนางรมที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ให้เป็นส่วนประกอบทางชีววิทยาเพื่อสร้างแนวปะการังเทียมและแหล่งที่อยู่อาศัยที่สัตว์ป่าสามารถเจริญเติบโตได้ ด้วยวิธีนี้แนวปะการังจะไม่เพียงแต่สร้างที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์ทะเลเท่านั้น แต่ยังสร้างโครงสร้างที่ตัวอ่อนหอยนางรมจะเติบโตอีกด้วย โครงการนี้ร่วมสร้างโดย Joey Ghazal ผู้ก่อตั้ง The Maine Group ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารสามแห่งในดูไบที่จำหน่ายหอยนางรมมากกว่า 50,000 ตัวต่อเดือน

นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล Neo Mei Lin และ Jani Tanzil กำลังใช้ตัวต่อ LEGO ที่ถอดออกได้เพื่อกักเก็บปะการังและหอยขนาดยักษ์ เพื่อที่จะฟื้นฟูประชากรปะการังของสิงคโปร์

ภาพที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Coral conservation

“Going green” ผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในลักษณะที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหรือสร้างของเสียที่ไม่จำเป็น It’s time to “think blue” ไม่เพียงแต่ทำงานเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงวิธีชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโลกด้วย ผลิตภัณฑ์ “สีน้ำเงิน” ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งและคิดในระยะยาวมากกว่าแค่ผลกระทบทันทีจากการผลิตผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งของความงาม “สีน้ำเงิน” คือการเคลื่อนไหวไปสู่สูตรครีมกันแดดที่ปลอดภัยต่อแนวปะการัง แต่อาจขยายไปถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย การวิจัยสามารถขยายรายชื่อส่วนผสมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศธรรมชาติ เช่น แนวปะการัง

ในขณะที่คำว่า ‘ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ’ เป็นคำศัพท์สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปแล้ว แต่ผู้บริโภคก็กำลังมองหาสิ่งนี้ในสูตรความงามด้วยผู้บริโภคมองว่าส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นเครื่องหมายสูงสุดของความปลอดภัย ทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม ต้องการเห็นส่วนผสมจากธรรมชาติซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วเชื่อว่าสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ความกังวลเรื่องความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพได้ผลักดันการเรียกร้องผลิตภัณฑ์กันแดดที่ปลอดภัยต่อแนวปะการัง เทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพที่ปลอดภัยต่อมหาสมุทรให้การป้องกันรังสียูวี เทคโนโลยี minervPHB RIVIERA ของ Bio-on ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมถือเป็นการเริ่มต้นครั้งแรกในการใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อการป้องกันแสงแดดที่ใช้ในผลิตภัณฑ์กันแดด My Kai ผงไมโครโพลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอต (PHA) ของ Bio-on ทำจากวัสดุจากพืชหมุนเวียน ทำให้ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100%

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประเทศไทย ออกประกาศห้ามใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังในอุทยานแห่งชาติทางทะเลของไทย ใครก็ตามที่พบว่าใช้ครีมกันแดดเหล่านี้อาจถูกปรับสูงสุด 100,000 บาท ขอแนะนำให้นักดำน้ำใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีซิงค์ออกไซด์ซึ่งปลอดภัยสำหรับสัตว์ทะเล ความตระหนักของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากพฤติกรรมได้ผลักดันให้แบรนด์ต่างๆ หันมาใช้ส่วนผสมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นในผลิตภัณฑ์เพื่อความงามของตนด้วย ปัจจุบันผู้บริโภคคาดหวังว่าแบรนด์ต่างๆ จะก้าวไปไกลกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ไปจนถึงส่วนผสมที่ใช้ กฎระเบียบและกฎหมายที่เพิ่มขึ้นซึ่งบังคับใช้ในการปกป้องมหาสมุทรเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการเพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

  • ครีมกันแดดชิเซโด้มีโอกาสน้อยที่จะก่อให้เกิดมลพิษในน้ำทะเล
  •  Neboa แบรนด์ผมมาในบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกจากมหาสมุทร
  • Aethic ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวในลอนดอนเสนอตัวเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงครีมกันแดดที่สร้างขึ้นโดยความร่วมมือกับนักชีววิทยาทางทะเล
  • Kao กำลังปรับปรุงผลิตภัณฑ์กันแดดของ Allie เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับด้านการคุ้มครองทางทะเลฉบับใหม่ที่มีการเปิดตัวทั่วเอเชีย ผลิตภัณฑ์กันแดดของบริษัทไม่มีสารเคมีเช่น oxybenzone และ octinoxate ที่ถูกห้ามในบางประเทศ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในมหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตในทะเล บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ใช้พลาสติกชีวภาพที่เป็นมิตรต่อโลกซึ่งได้รับการรับรองโดย Forest Stewardship Council และ Kao จะบริจาครายได้จากการขายบางส่วนเพื่อรณรงค์ทำความสะอาดมหาสมุทร สะท้อนถึงความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ภาพที่ 4 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Coral conservation

ตัวขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมและสิทธิระบุว่าผู้บริโภคแสดงความสนใจอย่างแรงกล้าในจุดประสงค์ของแบรนด์และแรงผลักดันด้านจริยธรรมที่กำหนด สิ่งนี้จะเป็นเช่นนี้ต่อไปเนื่องจากกระบวนทัศน์การบริโภคอย่างมีจริยธรรมยังคงขยายตัวไปทั่วกลุ่มประชากรที่กว้างขึ้น จะเห็นแบรนด์ต่างๆ ที่สื่อสารค่านิยมทางศีลธรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ความยั่งยืนจะไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไปแต่จำเป็นสำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งของแผนการผลิตของตน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ธุรกิจ และชุมชน ที่จะก้าวเข้ามาและก้าวขึ้นเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม แบรนด์ที่สามารถพิสูจน์ความมุ่งมั่นในการปกป้องสิ่งแวดล้อมจะได้รับความภักดีและความไว้วางใจจากผู้บริโภค

เทคโนโลยีจะถูกสร้างขึ้นเพื่อปรับและเปลี่ยนโครงสร้างใหม่แก่พืชเพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น ดังนั้นจึงเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดให้กับพืช

Mineral sunscreen จะได้รับแรงฉุดมากขึ้นเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับส่วนผสมของครีมกันแดดเคมีและการเชื่อมโยงกับความเสียหายของแนวปะการังและการระคายเคืองผิวหนังที่เพิ่มขึ้น Mineral sunscreen สามารถสอดคล้องกับความยั่งยืนและแนวโน้มความงามที่สะอาดขึ้น

ข้อมูล COVID-19 จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ.  2565-2570) หัวข้อ Medicine & Biopharmaceuticals ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการวินิจฉัย รักษาแบบแม่นยำ และการแพทย์ขั้นก้าวหน้า เพิ่มศักยภาพบริการและอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ และความมั่นคงด้านสาธารณสุข โดย COVID-19 นับเป็น Emerging Infectious Diseases เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการวินิจฉัย ควบคุม ป้องกัน โรคติดเชื้อการดื้อยาของเชื้อก่อโรค และการพัฒนา API ต้านไวรัส

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเรื่อง COVID-19 (คำค้น COVID-19 จากเขตข้อมูล Title, Abstract, Keyword ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 31 กรกฎาคม 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางด้าน COVID-19 เฉพาะของประเทศไทยจำนวน 2,591 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 568 รายการ รองลงมา คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 383 รายการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 175 รายการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 139 รายการ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 121 รายการ นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว COVID-19 ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel: www.mintel.com

ภาพที่ 2 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 : Customer data report

การทบทวนความรู้สึกและปฏิกิริยาของคนไทยในช่วงการระบาดของ COVID-19 และการดำเนินการที่เป็นไปได้ที่จะดำเนินการหลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้

  • สู่ชีวิตที่มีการวางแผนที่ดีขึ้น
  • ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดสุขภาพและสุขอนามัย – รักษาระดับสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อไป เพิ่มการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกัน ลงทุนในประกันสุขภาพและประกันชีวิต
  • หาวิธีบริหารจัดการการเงิน
  • ใช้จ่ายอย่างชาญฉลาดเพื่อการพักผ่อน

สุขอนามัยเป็นสิ่งสำคัญ คนไทยส่วนใหญ่กังวลเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น ส่งผลให้นิสัยในชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป เช่น การสวมหน้ากากในที่สาธารณะ ล้างมือบ่อยขึ้น และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน

ภาพที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19

การเชื่อมต่อและการสื่อสารในยุคดิจิทัล: รวมผลกระทบของ COVID-19 – สหรัฐอเมริกา – ธันวาคม 2020
วิธีการสื่อสารที่ต้องการ กับกลุ่มคนต่างๆ เช่น คู่สมรส / บุคคลอื่นที่สำคัญ เพื่อน ญาติสนิท ติดต่องาน

ภาพที่ 4 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 : Product analysis, Top claims

ภาพที่ 5 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 Report : 2021 Global Packaging Trend

เทรนด์บรรจุภัณฑ์ระดับโลกปี 2564

  • เพื่อต่อสู้กับความเครียดที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 บรรจุภัณฑ์จะกลายเป็นเส้นทางในการสร้างความมั่นใจด้านสุขอนามัยและสนับสนุนความสุขทางอารมณ์ของผู้บริโภค
  • คาดการณ์: บรรจุภัณฑ์ต่อต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial packaging) และ บรรจุภัณฑ์เพื่อให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้โดยตรง (Connected packaging)
  • วาซาบิมีลักษณะเฉพาะที่นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและวิศวกรบรรจุภัณฑ์รู้จักมายาวนาน คือความสามารถในการป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและขยายความสดของอาหาร ภายใต้แบรนด์ Wasaoro โดย Mitsubishi Chemical Films เทคโนโลยีดังกล่าวอาจได้รับความนิยมจากแบรนด์ต่างๆ ที่มองหาโซลูชันบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่ตอบสนองความคาดหวังของความสดของอาหารและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา ความปลอดภัย และสุขอนามัย
  • การทดลองในวัสดุบรรจุภัณฑ์ทางเลือก : แนวคิดในการใช้คุณสมบัติทางยาของไคโตซาน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การใช้ฟิล์มที่ใช้ไคโตซานเคลือบด้วย zataria ซาทาเรีย (เครื่องเทศคล้ายโหระพาที่รู้จักกันในคุณสมบัติคล้ายไคโตซาน) และน้ำมันหอมระเหยอบเชยกำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบเพื่อใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหาร

ภาพที่ 6 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 Report : Patent Insights, boosting

boosting ภูมิคุ้มกันสุขภาพ — อาหารและเครื่องดื่ม

  • ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่เน้นภูมิคุ้มกัน ผู้บริโภคกำลังมองหาอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยปรับปรุงการทำงานของภูมิคุ้มกันโดยกลไกทางธรรมชาติ
  • การยื่นจดสิทธิบัตรอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสนับสนุนสุขภาพภูมิคุ้มกันยังคงเติบโต โดยเน้นที่พฤกษศาสตร์เป็นหลักเป็นส่วนประกอบที่ออกฤทธิ์
  • การยื่นจดสิทธิบัตรล่าสุดยังมุ่งเน้นไปที่โภชนาการเฉพาะหรืออาหารเสริมเพื่อเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และบุคคลที่ทุกข์ทรมานจากโรคเรื้อรัง
  • ประเทศชั้นนำสำหรับสิทธิบัตรที่ได้รับ ได้แก่ จีน: 22%, เกาหลี: 15%, สหรัฐอเมริกา: 6%, ญี่ปุ่น: 5%, ฝรั่งเศส: 4%
  • โดยสถาบันวิจัยของเกาหลีครองโดเมนอาหารและเครื่องดื่มที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยพฤกษศาสตร์เป็นส่วนผสมที่พบบ่อยที่สุดที่อ้างถึงในสิทธิบัตรอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสนับสนุนสุขภาพภูมิคุ้มกัน

ภาพที่ 7 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 Report : Keep lungs healthy

บำรุงปอดให้แข็งแรงด้วยอาหารเสริม — วิตามิน & อาหารเสริม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ โดยใช้ micronutrient
และอาหารเสริมวิตามินดี

โอกาส : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับสุขภาพปอดจะมีโอกาสเติบโตได้เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มใช้แนวทางป้องกันและป้องกันสุขภาพของตนเอง และพยายามลดความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตให้เหลือน้อยที่สุด อาหารเสริมสุขภาพปอดมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันมีความสำคัญเพิ่มขึ้น และการระบาดของ COVID-19 ยังคงมีอยู่ แบรนด์ควรเน้นที่สารอาหารรองที่ปกป้องสุขภาพปอด เช่น วิตามิน A, C, D และ E ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพปอด นอกจากนี้ แบรนด์ต่างๆ ควรสำรวจศักยภาพของส่วนผสมยาแผนโบราณ/ดั้งเดิมควบคู่กัน

ภาพที่ 8 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 Report : Patent insights: sensitive skin

ผิวแพ้ง่าย

  • การระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่องทำให้ผู้บริโภคสนใจผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่แพ้ง่าย เพื่อช่วยต่อสู้กับผลกระทบด้านลบจากความเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้น
  • การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ละเอียดอ่อนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกหลังจากการระบาดของโควิด-19 โดยเน้นส่วนผสมที่เป็นที่รู้จัก (เช่น เซราไมด์) และส่วนผสมจากธรรมชาติที่มาใหม่ใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์อเนกประสงค์ที่ปลอดภัย ประสิทธิภาพสูง
  • เกาหลีใต้มีกิจกรรมการจดสิทธิบัตรสูงสุดสำหรับสูตรเครื่องสำอางที่กำหนดเป้าหมายไปยังผิวบอบบาง โดยผู้ผลิตเครื่องสำอางรายใหญ่ถือครองสิทธิบัตรจำนวนมากที่สุด (ที่ได้รับและรอดำเนินการ) มากที่สุด
  • ความสนใจในผลิตภัณฑ์ผิวแพ้ง่ายเพิ่มขึ้น : ความเครียดและความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยของส่วนผสมและผลิตภัณฑ์จากโควิด-19 คาดว่าจะกระตุ้นให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์ผิวที่บอบบางมากขึ้น
    o เพิ่มความมั่นใจและความไว้วางใจของผู้บริโภคในแบรนด์โดยส่งเสริมส่วนผสมที่คุ้นเคยซึ่งมักใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่บอบบาง
    o พัฒนาสูตรใหม่ที่ย้อนกลับความไม่สมดุลของผิวที่เกี่ยวข้องกับผิวบอบบางโดยกำหนดเป้าหมายไปที่ไมโครไบโอมของผิวหนัง
    o การสวมมาสก์แบบต่อเนื่องจะทำลายผิวและทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนังมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เปิดโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ ขยายพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์สำหรับผิวแพ้ง่ายเพื่อป้องกันการระคายเคืองที่เกิดจากมาสก์ ผิวที่แพ้ง่ายสงบ และเสริมเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง

ภาพที่ 9 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 Report : Patent insights: hand sanitisers

เจลล้างมือ

  • มือมีบทบาทสำคัญในการแพร่เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ซึ่งได้เพิ่มความต้องการของผู้บริโภคในการใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัสที่มือมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
  • นับตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ความต้องการผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อไวรัสก็เพิ่มขึ้นเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคด้วยมือที่ปนเปื้อน
  • สหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิบัตรส่วนใหญ่สำหรับองค์ประกอบฆ่าเชื้อด้วยมือ
  • คำแนะนำ
    o เน้นเจลล้างมือฆ่าเชื้อ
    o คาดหวังน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีผลฆ่าเชื้อทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง
    o มองหาเจลล้างมือที่เหมาะกับผิว
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์เจลทำความสะอาดมือจะยังคงมีความสำคัญต่อไป เนื่องจากผู้บริโภคกลัวว่าจะติดไวรัสและความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์นี้ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การใช้เจลล้างมือแบบเรื้อรังจะทำให้ผิวหนังถูกทำลายและแห้งกร้าน ผู้บริโภคจะมองหาเจลล้างมือที่อ่อนโยนกว่าแต่ได้ผล และส่วนใหญ่จะสนใจในการปกป้องในระยะยาวเพื่อช่วยลดการติดเชื้อ

ภาพที่ 10 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 : Innovative product

1. มาส์กที่จัดการกับสิวด้วยการผสานส่วนผสมบำรุงผิวเข้ากับเนื้อผ้า เพื่อป้องกันปัญหาผิว
2. มาส์ก 2 ชั้นที่มีส่วนผสมของทองแดงและเชียบัตเตอร์เพื่อป้องกันรอยแดง ระคายเคือง และ ‘maskne’ หรือ สิวจากมาส์ก ซึ่งสามารถซักได้
3. มาส์กป้องกันมลภาวะที่สร้างไฮโดรเจนและให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว
4. มาส์กบรรเทา ชุ่มชื้น สดใส และสมานผิวที่เครียดจากการสวมหน้ากากทางการแพทย์เป็นเวลานาน
5. อุปกรณ์เสริมที่อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตรจะอยู่ใต้จมูกระหว่างหน้ากากกับผิวหนัง เพื่อให้ผู้สวมหน้ากากหายใจได้ง่ายขึ้นและหลีกเลี่ยงการเลอะเมคอัพ

ภาพที่ 11 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 : Innovative product

6. สเปรย์น้ำหอมสิ่งแวดล้อมสำหรับมาส์ก อ้างว่าช่วยขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในโรงพยาบาล ให้ความรู้สึกสบาย และช่วยให้หายใจสะดวก
7.ยาดมเป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์ แบล็คอินเฮเลอร์
8. สเปรย์มาสก์เพื่อสุขอนามัยของ Bio-Gate AG มีส่วนผสมของซิลเวอร์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
9. สเปรย์ดับกลิ่นที่ออกแบบมาสำหรับหน้ากากผ้าโดยเฉพาะ

ภาพที่ 12 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 : Innovative product

10. โลชั่นบำรุงผิวกายที่ให้ความชุ่มชื้นแทนเจลทำความสะอาดมือและป้องกัน COVID-19 และ H1N1 ได้นาน 4 ชั่วโมง
11. เจลล้างมือแบบ 2-in-1 และเจลล้างมือแบบพกพาที่ปราศจากแอลกอฮอล์และอ่อนโยนต่อผิว
12. เจลทำความสะอาดมือที่บรรจุในขวดจ่ายแบบใช้ซ้ำได้ที่มีสไตล์ซึ่งทนทานต่อการแตกเป็นเสี่ยง zero-waste
13. Bioharmonious hand sanitiser ตัวแรกที่ออกสู่ตลาดด้วยเทคโนโลยี Activated Silk เพื่อปกป้องและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว

ภาพที่ 13 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 : Innovative product

14. เครื่องดื่มโยเกิร์ตที่ช่วยบรรเทาอาการไม่สบายตาและจมูกอันเนื่องมาจากการแพ้
15. Serum ช่วยให้ผิวสงบ
16. แชมพูและสเปรย์ฆ่าเชื้อต้านจุลชีพที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA อ้างว่าช่วยปกป้องเส้นผมและหนังศีรษะจากแบคทีเรียและเชื้อโรค

ข้อมูล Coastal จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ. 2565-2570) หัวข้อ Biodiversity ที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเก็บรักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าและยั่งยืน โดย Coastal หรือ ชายฝั่งทะเล เป็นหนึ่งใน Core technology ของ Agenda Biodiversity

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเรื่อง Coastal (คำค้นจากเขตข้อมูล Title, Abstract, Keyword ด้วยคำค้น coastal และเลือก keyword คือ Coastal Engineering, Erosion, Coastal Sediment, Coastal Erosion และ Shore Protection ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 28 มิถุนายน 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางด้าน Coastal เฉพาะของประเทศไทย จำนวน 144 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 31 รายการ รองลงมา คือ Asian Institute of Technology 25 รายการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 25 รายการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 รายการ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 11 รายการ นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว Coastal ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel: www.mintel.com

ภาพที่ 2 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Coastal

ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรน้ำของอินโดนีเซียพัฒนาเทคโนโลยีคอนกรีตใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องชุมชนชายฝั่งจากการกัดเซาะของแผ่นดินและคลื่นสูงเป็นพิเศษ คอนกรีตบล็อกใหม่ได้รับการพัฒนาโดยปรับใช้ระบบประสานปฏิวัติ revolutionary interlocking system ที่สามารถให้การป้องกันที่เสริมกำลังริมทะเลจากคลื่นสูงถึง 1.5 เมตร

ผู้คนจากทุกทวีปต่างกังวลกับผลกระทบของภาวะโลกร้อน ซึ่งรวมถึงสภาพอากาศตามฤดูกาลที่ทวีความรุนแรงขึ้นและการคุกคามที่มากขึ้นจากภัยธรรมชาติที่เกิดจากสภาพอากาศ สิ่งนี้กดดันรัฐบาลให้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการป้องกันเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น บริเวณชายฝั่งและที่ราบลุ่มแม่น้ำ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพจะพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งให้ข้อมูลการติดตามและกลไกการเตือนที่แม่นยำแบบเรียลไทม์

ข้อมูล Mangrove จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ. 2565-2570) หัวข้อ Biodiversity ที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเก็บรักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าและยั่งยืน โดย Mangrove หรือ ป่าชายเลน เป็นหนึ่งใน Core technology ของ Agenda Biodiversity

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเรื่อง Mangrove (คำค้นจากเขตข้อมูล Title, Abstract, Keyword ด้วยคำค้น mangrove และเลือก keyword คือ Biodiversity, Salinity, Metabolism, Genetics, Carbon, Rhizophora Mangle, Conservation, Species Diversity, Plant Extract, Nucleotide Sequence, RNA 16S, Deforestation, Coastal Zone Management, Molecular Structure, Sequence Analysis, DNA และ Ecosystem Services ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 28 มิถุนายน 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางด้าน Mangrove เฉพาะของประเทศไทย จำนวน 439 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 83 รายการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 82 รายการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 59 รายการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 59 รายการ และมหาวิทยาลัยมหิดล 34 รายการ นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว Mangrove ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel:www.mintel.com

ภาพที่ 2 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mangrove

การปลูกป่าชายเลน
เทคโนโลยี

  • การใช้โดรนเพื่อปลูกป่าชายเลนริมแม่น้ำอิระวดีของพม่า โดรนดังกล่าวได้รับการจัดหาโดยบริษัท BioCarbon Engineering ของสหราชอาณาจักร เพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของพม่า
  • โดรนสำรวจพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิประเทศและคุณภาพดิน ก่อนยิงฝักเมล็ดด้วยแรงพอที่จะเจาะดิน กล่าวกันว่าโดรนทำงานเร็วกว่ามนุษย์ถึง 10 เท่า และลดต้นทุนลงครึ่งหนึ่ง

โครงการ/กิจกรรม

  • สำนักงานฟื้นฟูพื้นที่พรุและป่าชายเลนของอินโดนีเซีย (IPMRA) เสนอเงินทุนและฝึกอบรมชาวบ้านในการเตรียมเมล็ดพันธุ์และดูแลต้นกล้าเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลน เป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มที่กำลังเติบโตทั่วโลกในการควบคุมการทำลายป่าชายเลนและการขยายพันธุ์เนื่องจากผลประโยชน์ทางธรรมชาติ ภูมิอากาศ และการปกป้องชายฝั่งที่หลากหลาย อินโดนีเซียเพิ่งนำเป้าหมายไปสู่ net-zero emissions ปี 2060 หรือเร็วกว่านั้น ป่าชายเลนกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าฝนประมาณ 5 เท่า ชาวบ้านที่เป็นผู้ประกอบการกำลังมองหาวิธีเปลี่ยนป่าชายเลนให้เป็นแหล่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • UAE สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพิ่มคำมั่นว่าจะปลูกป่าชายเลน 30 ล้านต้นเป็น 100 ล้านต้น ในปี 2030 เพื่อลดผลกระทบจาก climate change และดักจับ blue carbon ผ่านมหาสมุทรและระบบนิเวศชายฝั่ง
  • Red Sea Project การพัฒนาการท่องเที่ยวที่หรูหราที่มีความทะเยอทะยานที่สุดในโลก โดยมีเกาะมากกว่า 90 เกาะและภูมิประเทศเป็นทะเลทรายและภูเขายาวหลายไมล์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Red Sea บริษัท Red Sea Development Company จะปลูกไม้พุ่มและต้นไม้กว่า 15 ล้านต้น กล้าไม้และพืชที่จะประกอบเป็นพืช 15 ล้านต้นจะถูกจัดหาผ่านเรือนเพาะชำของบริษัท นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแผนเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของสาหร่ายเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งเพิ่มป่าชายเลนและแนวปะการัง การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและหมุนเวียนได้เป็นหัวใจของการพัฒนา ซึ่งมุ่งหวังที่จะบรรลุความหลากหลายทางนิเวศวิทยาและความสมดุลเมื่อพร้อมแล้วภายในปี 2040

แบรนด์

  • บริษัทในสหราชอาณาจักรและยุโรปมุ่งมั่นที่จะแสดงความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น แบรนด์ของเบลเยียม Shore by Morubel Bio’s Organic Whole Whiteleg Prawns ซึ่งเปิดตัวในเดือนมกราคม 2019 ระบุในบรรจุภัณฑ์ว่าผู้ผลิต ‘มีส่วนทำให้เกิดความมั่งคั่งทางธรรมชาติของคอสตาริกาโดยการลงทุนในการฟื้นฟู
    ป่าชายเลนและโครงการพื้นที่สีเขียวในฟาร์ม’

ภาพที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mangrove

ผู้บริโภคคาดหวังว่าแบรนด์และหน่วยงานต่างๆ จะจัดการกับ climate change และปกป้องโลก การอนุรักษ์ธรรมชาติและการมีอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นซึ่งมีคาร์บอนบวกจะยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการวางผังเมือง แบรนด์ที่สนับสนุนโครงการเหล่านี้และดำเนินการอย่างยั่งยืนจะเป็นที่ต้องการ แบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างแอพที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนเพื่อเชื่อมต่อผู้อยู่อาศัยกับการสร้างใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่สาธารณะ เราจะเห็น plant walls และส่วนหน้าของอาคารที่ทาสีด้วยสีดูดซับคาร์บอน ตลอดจนความต้องการอุปกรณ์ในการปลูกสมุนไพรและอาหารที่บ้านสะดวกยิ่งขึ้น

โดรนจะยังคงขยายขอบเขตการเข้าถึงไปไกลกว่าบริการจัดส่งถึงบ้าน เพื่อรวมเป็นพันธมิตรในการมอบหมายงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดรนจะให้ความช่วยเหลือทันทีเมื่อเผชิญกับภัยพิบัติทางนิเวศวิทยา ขยายขีดความสามารถของมนุษย์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น น้ำมันในทะเลรั่วหรือไฟไหม้ในพื้นที่ป่า โดรนจะช่วยติดตามและควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายหรือการล่าสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์