เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตำราเรียนแบบเปิด (open textbook)

ตำราเรียนแบบเปิดเป็นทางเลือกใหม่ของตำราเรียนแบบดั้งเดิม ซึ่งสามารถทำให้นักศึกษาประหยัดเงินและทำให้ประสบการณ์การศึกษาดีขึ้น
ตำราเรียนแบบเปิดถูกเขียนโดยคณะเหมือนตำราเรียนแบบดั้งเดิม ยกเว้นผู้แต่งเผยแพร่ภายใต้การอนุญาตแบบเปิด นอกจากนี้ตำราเรียนแบบเปิดมีให้ฟรีออนไลน์และเสียค่าใช้จ่ายไม่แพงเมื่อต้องการพิมพ์ออกมา สมาชิกของคณะแต่ละคนสามารถปรับตำราเรียนแบบเปิดเพื่อให้เหมาะสมกับชั้นเรียน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับตำราเรียนแบบเปิด
1. ไม่มีหนทางที่ง่ายกว่าที่ทำให้นักศึกษาประหยัดเงินสำหรับตำราเรียนใช่ไหม
คำตอบ: หนังสือที่ใช้แล้ว, การเช่าหนังสือ และโปรแกรมอื่น ๆ สามารถช่วยได้ แต่ตำราเรียนแบบเปิดเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อประหยัดเงินสำหรับนักศึกษา

2. เชื่อได้อย่างไรว่าตำราเรียนแบบเปิดมีคุณภาพสูง
คำตอบ: ขณะนี้มีให้ตำราเรียนแบบเปิดที่มีคุณภาพสูงจำนวนมาก เขียนโดยผู้นำในสาขา, peer-reviewed และถูกออกแบบแบบมืออาชีพ นอกจากนี้นักศึกษาจำนวนมากพบว่า OER (open educational resource, ทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด) มีประสิทธิภาพเหมือนหรือมากกว่าหนังสือแบบดั้งเดิม

3. ใครเขียนตำราเรียนแบบเปิด ได้รับการจ่ายอย่างไร
คำตอบ: มีหลายบริษัทตำราเรียนแบบเปิดซึ่งทำตามกระบวนการที่จำเพาะของการแต่ง แก้ไข และตีพิมพ์หนังสือ ในกรณีอื่น ๆ ผู้แต่งหรือทีมผู้แต่งได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิ, มหาวิทยาลัย หรือรัฐบาล

4. ตำราเรียนแบบเปิดเหมือน e-books ใช่ไหม
คำตอบ: ไม่ ทั้งสองเป็นดิจิทัลและสามารถถูกใช้บน laptops, tablets และ smartphones ถึงอย่างไรก็ตาม e-books ยังคงมีราคาค่อนข้างแพงและมีข้อเสียหลายอย่าง เช่น การเข้าถึงซึ่งหมดอายุและมีข้อจำกัดในการสั่งพิมพ์ ในทางตรงข้ามตำราเรียนแบบเปิดมีให้ฟรีออนไลน์ ไม่มีการหมดอายุ และไม่มีข้อจำกัดในการสั่งพิมพ์

5. เป็นเรื่องถูกกฎหมายในการแบ่งปันและดัดแปลงตำราเรียนแบบเปิดใช่ไหม
คำตอบ: การอนุญาตแบบเปิดส่วนใหญ่ยอมให้ผู้สอนดัดแปลงหรือแก้ไขเนื้อหาของหนังสือ ถึงแม้ผู้แต่งมีทางเลือกที่จะรักษาไว้สิทธิ์อื่น ๆ ที่แน่นอนสำหรับตัวเอง ในกรณีใดก็ตามผู้แต่งต้นฉบับควรจะอย่างน้อยที่สุดถูกอ้างอิงสำหรับผลงาน

6. สามารถได้รับหนังสือซึ่งกำลังใช้เป็นตำราเรียนแบบเปิดใช่ไหม
คำตอบ: ถ้าหนังสือที่กำลังใช้ถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์หลัก คำตอบคือ น่าจะไม่ สำนักพิมพ์แบบดั้งเดิมขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะขายหนังสือเพื่อผลกำไรที่ดี

7. สามารถเขียนตำราเรียนแบบเปิดของตนเองถ้าต้องการใช่ไหม
คำตอบ: ใช่ มีหลายมูลนิธิ, รัฐ, บริษัท และสถาบันซึ่งจะจ่ายให้อาจารย์เพื่อเขียนตำราเรียนแบบเปิด อาจารย์สามารถแม้แต่ตีพิมพ์ด้วยตัวเองตำราเรียนแบบเปิดโดยปล่อยออกภายใต้การอนุญาตแบบเปิด

ที่มา: The Open Textbook Alliance. Open Textbooks Guide. Retrieved June 21, 2022, from https://studentpirgs.org/resources/open-textbooks-guide/

วิธีสนับสนุนทำให้สามารถจ่ายได้สำหรับตำราเรียน

The Student PIRGs (The Student Public Interest Research Groups) ได้ทำการศึกษาใน 40 วิทยาลัยที่ไม่แสวงหากำไรทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน และเป็น 2 ปีและ 4 ปี เพื่อระบุวิธีสนับสนุนทำให้สามารถจ่ายได้สำหรับตำราเรียน สิ่งที่พบหลัก คือ

1. เมื่อสำนักพิมพ์ผูกตำราเรียนเข้ากับรหัสการเข้าถึง ทำให้หมดโอกาสสำหรับนักศึกษาจ่ายน้อยลงด้วยตลาดหนังสือใช้แล้ว
จากการผูกตำราเรียนเข้ากับรหัสการเข้าถึงในตัวอย่างที่ศึกษา ทำให้ 45 เปอร์เซ็นต์หรือเกือบครึ่งหนึ่งไม่มีให้จากแหล่งอื่น ๆ ยกเว้นร้านหนังสือของวิทยาเขต ทำให้นักศึกษาไม่สามารถซื้อจากที่อื่นหมายความว่านักศึกษาต้องจ่ายราคาเต็มสำหรับวัสดุเหล่านี้ สำหรับชั้นเรียนที่ใช้วัสดุที่มีการผูกเข้าด้วยกัน นักศึกษาต้องจ่ายราคาเต็ม ในขณะที่สำหรับชั้นเรียนที่ใช้ตำราเรียนเพียงอย่างเดียว นักศึกษาสามารถลดค่าใช้จ่ายถึง 58 เปอร์เซ็นต์โดยการซื้อตำราเรียนที่ใช้แล้วออนไลน์

2. วิทยาลัยซึ่งลงทุนในทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (open educational resources, OER) ทำให้นักศึกษาประหยัดอย่างมาก
OER คือวัสดุที่ใช้ในการศึกษาซึ่งสามารถดาวน์โหลดหรือเข้าถึงได้ฟรีออนไลน์ และยังมีประโยชน์อื่น ๆ มากมายสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ ตัวอย่างเช่น ใน Massachusetts การใช้ OER ของ Greenfield Community College ใน 3 จาก 6 หลักสูตรในการศึกษานี้ทำให้นักศึกษาใช้ 31 ดอลลาร์ต่อหลักสูตรเพื่อจ่ายสำหรับวัสดุ เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับชาติที่ 153 ดอลลาร์ต่อหลักสูตร

3. การเปลี่ยน 10 ชั้นเรียนแนะนำเบื้องต้นในการศึกษานี้ไปเป็น OER จะทำให้นักศึกษาประหยัดเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปีในการจ่ายสำหรับวัสดุที่ใช้ในหลักสูตร

คำแนะนำจากการศึกษา
– วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
ควรจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับคณะเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนไปใช้ตำราเรียนแบบเปิด นอกจากนี้ควรรวบรวมผู้มีผลประโยชน์ร่วมในสภาความสามารถในการจ่ายได้สำหรับตำราเรียนเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการใช้ OER, ให้ทุนเพื่อสนับสนุนโปรแกรม OER หรือจ้างเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดเพื่อขับเคลื่อนโปรแกรมซึ่งสร้างวัฒนธรรมในวิทยาเขตสนับสนุนการศึกษาแบบเปิด
– คณะ
ตรวจสอบตำราเรียนซึ่งเป็นของรัฐและคลัง OER ของสถาบัน เช่น the Open Textbook Library หรือ the OER Commons, ใช้เนื้อหาแบบเปิดหรือเป็น public domain ในซอฟต์แวร์การจัดการการเรียนรู้ของวิทยาลัยแทนที่รหัสหรือตำราเรียนที่มีราคาแพง และถามคณะอื่น ๆ ว่าจะแนะนำวัสดุแบบเปิดอะไร
– นักศึกษา
ปฏิบัติในระดับไหนเท่าที่สามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของรัฐบาลนักศึกษาเพื่อทำงานในการสนับสนุนให้มีตำราเรียนที่สามารถจ่ายได้มากขึ้น คุยกับอาจารย์เกี่ยวกับการทำให้เป็นแบบเปิด, ทำงานกับรัฐบาลนักศึกษาเพื่อให้มีการประชุมเพื่อแก้ปัญหาสำหรับโปรแกรมให้ทุน OER หรือทำให้สโมสรสนับสนุนตำราเรียนที่สามารถจ่ายได้
– ผู้จัดทำนโยบาย
ผลักดันเพื่อตำราเรียนฟรีนอกจากเพิ่มความช่วยเหลือนักศึกษา, ส่งเสริมกฎหมายซึ่งจะกระตุ้นการนำ OER มาใช้หรือสนับสนุนความโปร่งใสกับการกำหนดหลักสูตร และใช้ platform เพื่อทำให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับการแก้ปัญหาตลาดตำราเรียนที่วิกฤต ที่สำคัญที่สุดที่ระดับสหพันธรัฐ ผู้จัดทำนโยบายต้องทดสอบการปฏิบัติของการผูกเข้าด้วยกันและเพิ่มประสิทธิภาพประเด็นกฎหมายซึ่งทำให้นักศึกษาซื้อวัสดุที่ใช้ในหลักสูตรในมากกว่าหนึ่งเหตุผล และเป็นหนึ่งหน่วยมากกว่าการผูกเข้าด้วยกัน นอกจากนี้นโยบายระดับสหพันธรัฐควรแก้ปัญหาการหมดอายุที่มีลักษณะจำกัดและลักษณะการใช้ครั้งเดียวของรหัสการเข้าถึงออนไลน์

ที่มา: Kaitlyn Vitez (January 25, 2018). Open 101 an action plan for affordable textbooks. The Student PIRGs. Retrieved June 21, 2022, from https://studentpirgs.org/2018/01/25/open-101-action-plan-affordable-textbooks/

ข้อมูล Biomarker จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ. 2565-2570) หัวข้อ Medicine & Biopharmaceuticals ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการวินิจฉัย รักษาแบบแม่นยำ และการแพทย์ขั้นก้าวหน้า เพิ่มศักยภาพบริการและอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ และความมั่นคงด้านสาธารณสุข โดยเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการดำเนินงาน คือ Biomarker

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเทคโนโลยี Biomarker (คำค้น biomarker จากเขตข้อมูล Title, Abstract, Keyword ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 2 มิถุนายน 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี Biomarker เฉพาะของประเทศไทยจำนวน 2,623 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 848 รายการ รองลงมา คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 749 รายการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 308 รายการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 304 รายการ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 170 รายการ สำหรับ สวทช. อยู่อันดับที่ 6 จำนวน 118 รายการ นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว Biomarker ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel | www.mintel.com

ภาพที่ 2 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Biomarker : Health care, Beauty care, Personal care, Skincare, Vitamins & dietary supplement

  1. nanomaterial-based heart attack sensor แบบสวมใส่ เพื่อตรวจสอบ biomarker สุขภาพหัวใจที่สำคัญและคาดการณ์อาการหัวใจวาย
  2. อุปกรณ์วินิจฉัยโรค COVID-19 และโรคอื่นๆ จากตัวอย่างลมหายใจ 10 วินาที
  3. AI app และเครื่องมือวินิจฉัยตนเองแบบออนไลน์สามารถกระตุ้นให้ผู้คนขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าและนอนไม่หลับผิดปกติ การตรวจจับตั้งแต่เนิ่นๆ จะเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ และยังสามารถช่วยหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุบนท้องถนนและข้อผิดพลาดของมนุษย์ในที่ทำงานได้อีกด้วย
  4. การใช้เทคโนโลยี AI และเทคโนโลยีเสียง เพื่อทำความเข้าใจสภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้นโดยใช้เสียงเป็น biomarker
  5. Biomarker-based services ใช้การตรวจเลือดเพื่อประเมินความต้องการสารอาหารแบบเรียลไทม์มากขึ้น
  6. อุปกรณ์สวมใส่ได้ที่ให้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของสุขภาพ เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมทางกายภาพและ biomarker ในเชิงลึก สำหรับการสามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคล
  7. app ที่ใช้สภาวะของจิต AI วิทยาศาสตร์ และพฤติกรรมมนุษย์ เชื่อมสัมพันธ์ร่างกายกายและใจ ข้อมูล AI และ GPS ช่วยให้สามารถจับ และ mining ข้อมูลได้ ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมทางกายภาพและ biological markers ในเชิงลึก

ภาพที่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Biomarker

  • เซรั่มปกป้องการเปลี่ยนสีผิว เพิ่มความกระจ่างให้กับผิวที่สว่าง สีผิวสม่ำเสมอยิ่งขึ้น และลดรอยดำ
  • เจลลด 12 สัญญาณแห่งวัย ด้วยเทคโนโลยีออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มพลังงานให้ผิวและต่อสู้กับสัญญาณแห่งวัย
  • เซรั่มยับยั้ง biomarker รับผิดชอบต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม
  • น้ำมันปลาแซลมอนนอร์เวย์อ้างว่ามีประสิทธิภาพในการลด biomarkers ที่เลือกซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมช่วยสนับสนุนสอง markers ของกระดูกอ่อนและสุขภาพข้อต่อที่มี CRP ซึ่งเป็นเครื่องหมายสำคัญของการอักเสบและ CIIC ซึ่งเป็น biomarker ของสุขภาพกระดูกอ่อน

ภาพที่ 4 Biomarker Trendscape

ภาพที่ 4 แสดงภาพแนวโน้มเรื่อง Biomarker ในหลากหลายเรื่อง เช่น Technology และที่น่าสนใจคือสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับผู้คน ในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing) สอดคล้องกับรายงานวิเคราะห์เรื่อง แนวโน้มผู้บริโภคทั่วโลกปี 2030 ของ Mintel (2030 Global Consumer Trends : 7 core drivers of consumer behaviour that will shape global markets over the next 10 years) ที่ 1 ใน 7 เรื่องนั้น คือ Wellbeing

ภาพที่ 5 2030 Global Consumer Trends

ภาพที่ 5 รายงานเรื่อง 2030 Global Cosumer Trends จัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลโดย Mintel

การสำรวจนักศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการจ่ายสำหรับตำราเรียนและการช่วยเหลือทางการเงิน

The Student PIRGs (The Student Public Interest Research Groups) ได้ทำการสำรวจในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2015 โดยได้สอบถามนักศึกษาเกือบ 5,000 คน จาก 132 สถาบัน ใน 25 รัฐ สิ่งที่พบ คือ

1. จำนวนนักศึกษาที่สำคัญใช้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อซื้อตำราเรียนและวัสดุที่ใช้ในหลักสูตร
การสำรวจได้ถามนักศึกษาว่าได้ใช้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อจ่ายสำหรับตำราเรียนหรือไม่ จากในคำถามนี้ ความช่วยเหลือทางการเงินคือ เงินทุน (grants), ทุนการศึกษา (scholarships) หรือเงินกู้ยืม (loans) ไม่รวมเงินที่ได้จากพ่อแม่หรือครอบครัว
29.7 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาตอบว่าใช้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อจ่ายสำหรับตำราเรียน ถ้าใช้กับผู้ลงทะเบียนเรียนระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา หมายความว่ามากกว่านักศึกษา 5.2 ล้านคนใช้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อซื้อตำราเรียน

2. นักศึกษาใช้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อจ่ายส่วนใหญ่สำหรับตำราเรียน
จากข้อ 1 รู้ว่า 29.7 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาตอบว่าใช้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อจ่ายสำหรับตำราเรียน เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะหาคำตอบว่านักศึกษาใช้ความช่วยเหลือทางการเงินมากน้อยแค่ไหน โดยถามนักศึกษาให้ตอบเป็นปริมาณการจ่ายสำหรับตำราเรียนของความช่วยเหลือทางการเงิน ทั้งในเรื่องเงินดอลลาร์ที่ใช้และเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายสำหรับตำราเรียนทั้งหมดต่อภาคการศึกษา
สำหรับนักศึกษาซึ่งใช้ความช่วยเหลือทางการเงิน 70 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายของตำราเรียนทั้งหมดพึ่งความช่วยเหลือทางการเงินโดยเฉลี่ย และใช้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยเฉลี่ยมากกว่า 300 ดอลลาร์ต่อภาคการศึกษา เพื่อซื้อตำราเรียน

3. ราคาตำราเรียนที่สูงมีผลต่อนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชน (community college)
เมื่อพิจารณาโดยชนิดของวิทยาลัย พบว่าเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่าของนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชนใช้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อซื้อตำราเรียน สำหรับนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชนที่ใช้ความช่วยเหลือทางการเงิน 65 เปอร์เซ็นต์ พูดว่าใช้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อจ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายตำราเรียนทั้งหมด เปรียบเทียบกับเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ ของโรงเรียน 4 ปี
และโดยเฉลี่ยนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชนที่ใช้ความช่วยเหลือทางการเงินใช้ 347 ดอลลาร์ของความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับจ่ายเพื่อตำราเรียน เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของ 290 ดอลลาร์ของโรงเรียนรัฐ 4 ปี

สรุปจากการสำราจ
ราคาตำราเรียนที่สูงต้องการผู้จัดทำนโยบายดำเนินการในทุกระดับเพื่อสนับสนุนทางเลือกใหม่แทนการตีพิมพ์ในระบบดั้งเดิม
มีการให้ความสนใจอย่างมากกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาที่ได้รับอนุญาตแบบเปิด โดยเฉพาะตำราเรียนแบบเปิด (open textbooks) เป็นทางเลือกของการตีพิมพ์แบบดั้งเดิม ในทางตรงข้ามโดยตรงกับสำนักพิมพ์แบบดั้งเดิม ซึ่งควบคุมอย่างเคร่งครัดทุกด้านของการเข้าถึงและการใช้ตำราเรียนและวัสดุ ตำราเรียนแบบเปิดมีให้ใช้ฟรีออนไลน์ ฟรีเพื่อการดาวน์โหลดและสามารถสั่งพิมพ์ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง
The Student PIRGs เคยมีรายงานแสดงว่าตำราเรียนแบบเปิดทำให้นักศึกษาประหยัดเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมและนโยบายทำให้การพัฒนาและการนำไปใช้ทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดเป็นไปอย่างช้า

คำแนะนำจากการสำรวจ
– สถาบัน
เหมาะสมมากสำหรับการเป็นเจ้าของในการแก้ปัญหาราคาตำราเรียนที่สูง โดยห้องสมุดและเจ้าหน้าที่สนับสนุน สถาบันมีโครงสร้างพื้นฐานที่จะจัดให้มีการฝึกอบรมและการพัฒนาทางอาชีพสำหรับคณะเกี่ยวกับตำราเรียนแบบเปิด และมีทรัพยากรที่จะสนับสนุนคณะที่สนใจในการพัฒนา การปรับใช้ หรือสร้างวัสดุที่ใช้ในหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตแบบเปิด
– คณะ ควร
1. สำรวจตำราเรียนแบบเปิดที่มีอยู่ผ่าน the Open Textbook Library (open.umn.edu/opentextbooks) หรือ OpenStax (openstaxcollege.org)
2. ทำให้เนื้อหาที่ได้รับอนุญาตแบบเปิดเข้าไปอยู่ในวัสดุที่ใช้ในหลักสูตร
3. พิจารณาตีพิมพ์วัสดุที่ได้รับการพัฒนาภายใต้การอนุญาตแบบเปิด
4. เป็นผู้แต่งตำราเรียนแบบเปิด
5. สนับสนุนการพัฒนาทางอาชีพเกี่ยวกับวัสดุที่ได้รับอนุญาตแบบเปิดสำหรับเพื่อนร่วมงานถึงผู้บริหารวิทยาเขต
6. สนับสนุน OER (Open educational resource) แก่คณะอื่น ๆ และสนับสนุนคณะอื่น ๆ เพื่อใช้ OER ในหลักสูตร
– ผู้จัดทำนโยบายและผู้บัญญัติกฎหมาย
ผู้จัดทำนโยบายสนับสนุนผู้มีผลประโยชน์ร่วมในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในรัฐหรือเมืองเพื่อดำเนินการในเรื่องราคาตำราเรียนที่สูงและส่งออกโปรแกรมที่สนับสนุนการนำตำราเรียนแบบเปิดไปใช้ นอกจากนี้ผู้จัดทำนโยบายยังสามารถสนับสนุนความพยายามที่จะสร้างตลาดที่สมดุลโดยลงทุนในการสนับสนุนเกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อคณะหรือสถาบันซึ่งกำลังเปลี่ยนไปเป็นตำราเรียนแบบเปิด
– นักศึกษา ควร
1. เข้าร่วมหรือสร้างหน่วยงานที่สนับสนุนเพื่อการแก้ปัญหาความสามารถในการจ่ายเพื่อตำราเรียนแบบสมาร์ท
2. บอกให้ผู้นำรัฐบาลนักศึกษาทำให้ผู้บริหารวิทยาเขตเข้าไปมีส่วนในนโบายสนับสนุนตำราเรียนแบบเปิดและทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดในวิทยาเขต
3. พบกับอาจารย์เกี่ยวกับตำราเรียนแบบเปิดและทำให้อาจารย์รู้จักกับทรัพยากร เช่น the Open Textbook Library หรือ OpenStax
4. ทำให้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่สนับสนุนเป็นแหล่งของผู้ชนะเลิศความรู้และการอนุญาตแบบเปิด
– สำนักพิมพ์ ควร
1. สนับสนุนการพัฒนาวัสดุที่ใช้ในหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตแบบเปิดและการใช้ซึ่งส่งออกตำราเรียนที่มีราคาไม่แพงหรือฟรีให้นักศึกษา
2. จัดการปัญหาของนักศึกษาเกี่ยวกับรหัสการเข้าถึงและข้อจำกัดการใช้ที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ
3. ร่วมมือกับผู้ให้บริการตำราเรียนแบบเปิดเพื่อให้มีวัสดุเสริมราคาไม่แพง

ที่มา: Ethan Senack and Robert Donoghue (February 2016). Covering the cost: why we can no longer afford to ignore high textbook prices. The Student PIRGs. Retrieved June 21, 2022, from https://studentpirgs.org/2016/02/03/covering-cost/

 

ราคาวัสดุที่ใช้ในหลักสูตรที่สูงมีผลต่อนักศึกษาอย่างไร

The Student PIRGs (The Student Public Interest Research Groups) ได้ทำการสำรวจระดับชาติในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2019 เพื่อตอบคำถามดังข้างต้น

ในการสำรวจได้ถามนักศึกษาเกือบ 4,000 คน จาก 83 สถาบัน สิ่งที่พบหลัก คือ
1. นักศึกษาไม่ซื้อตำราเรียนที่ได้รับมอบหมาย ถึงแม้กังวลว่าจะมีผลต่อเกรด
66 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมด ไม่ซื้อหรือเช่าวัสดุที่ใช้ในหลักสูตรในบางเวลาของการเป็นนักศึกษาเพราะราคา และที่จำเพาะมากขึ้น 63 เปอร์เซ็นต์ไม่ซื้อตำราเรียน เปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2014 ซึ่งพบ 65 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาไม่ซื้อหนังสือ

2. นักศึกษาไม่ซื้อรหัสการเข้าถึง (access codes) และยอมทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ
17 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมด ไม่ซื้อรหัสการเข้าถึง ถึงแม้ว่าจะมีเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าอย่างชัดเจนกว่าเปอร์เซ็นต์ที่ไม่ซื้อวัสดุชนิดอื่น แต่การไม่ซื้อรหัสการเข้าถึงมีผลโดยตรงต่อเกรด เพราะถ้าไม่มี password เพื่อเข้าถึงงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งต้องการรหัสการเข้าถึง นักศึกษาไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้

3. นักศึกษาไม่ซื้อวัสดุถึงแม้กังวลว่าจะมีผลต่อเกรดโดยตรง
เมื่อถามว่านักศึกษารู้สึกกังวลหรือไม่ว่าไม่ซื้อวัสดุที่ใช้ในหลักสูตรจะมีผลในเชิงลบต่อเกรด 90 เปอร์เซ็นต์ตอบว่ารู้สึกกังวลสำหรับตำราเรียนและ 92 เปอร์เซ็นต์รู้สึกกังวลสำหรับรหัสการเข้าถึง

4. ราคาตำราเรียนมีผลต่อความสามารถของนักศึกษาที่จะตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานและการจบการศึกษาตรงเวลา
– 22 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมดให้ความสำคัญกับรหัสการเข้าถึงมากกว่าวัสดุที่ใช้ในหลักสูตรรูปแบบอื่น ๆ
– 19 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมดตัดสินใจชั้นเรียนไหนที่จะเข้าเรียนขึ้นอยู่กับราคาของวัสดุที่ใช้ในหลักสูตร
– 7 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมดเลิกเรียนถ้าไม่สามารถจ่ายเพื่อวัสดุ
– 3 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมดสอบตกเนื่องจากไม่สามารถจ่ายสำหรับวัสดุที่ใช้ในการเรียน
ผลของราคาวัสดุที่ใช้ในหลักสูตรขยายไปยังนอกชั้นเรียน
– 25 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมดต้องทำงานพิเศษเพื่อจ่ายสำหรับวัสดุที่ใช้ในหลักสูตร
– 11 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมดไม่ซื้ออาหารเนื่องจากราคาวัสดุ
– 9 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจทั้งหมดไม่ได้จ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

5. นักศึกษาไม่ตระหนักในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและการใช้โดยบริษัทเทคโนโลยีการศึกษา
ได้มีการถามนักศึกษาให้คะแนนความเข้าใจต่อสำนักพิมพ์และบริษัทเทคโนโลยีการศึกษาใช้ข้อมูลนักศึกษาจาก 1-10 โดย 10 คือเข้าใจดีมากและสามารถอธิบายแก่คนอื่น ๆ ผลคือนักศึกษาให้คะแนนด้วยค่าเฉลี่ยคือ 2 แสดงว่าไม่ค่อยเข้าใจว่ารายละเอียดของนักศึกษาถูกใช้โดยสำนักพิมพ์และบริษัทเทคโนโลยีการศึกษาอย่างไร

สรุปจากการสำรวจ
วัสดุที่ใช้ในหลักสูตรเป็นอุปสรรคทางการเงินต่อความสำเร็จของนักศึกษา ราคาที่สูงมีผลมากกว่าเกรดขยายไปถึงความสามารถของนักศึกษาในการตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐาน การแก้ปัญหาโดยการใช้ตำราเรียนแบบเปิด (open textbooks) ยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากเพื่อรับประกันในเรื่องการประหยัด

คำแนะนำจากการสำรวจ
– สภานิติบัญญัติและสำนักงานการศึกษา ควรให้ทุนสำหรับโปรแกรมตำราเรียนแบบเปิดและฟรี และจำกัดการใช้รหัสการเข้าถึงและวัสดุเพื่อการค้าอื่น ๆ ที่มีผลต่อความสามารถในการจ่าย ความเสมอภาค และการเข้าถึงของนักศึกษา
– สถาบันอุดมศึกษาและระบบ ควรสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ทุน, การพัฒนาและยอมรับทางอาชีพ เพื่อทำให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการนำตำราเรียนแบบเปิดไปใช้และส่งงานออกภายใต้การอนุญาตแบบเปิด
– คณะ ควรพิจารณานำตำราเรียนแบบเปิดไปใช้และคิดทบทวนก่อนให้รหัสการเข้าถึง ควรพิจารณาเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลนักศึกษา เมื่อมอบหมายวัสดุทางดิจิทัลหรือเครื่องมือ
– นักศึกษา ควรแต่ละคนสนับสนุนตำราเรียนแบบเปิด
– หน่วยงานและรัฐบาลนักศึกษา สามารถสนับสนุนที่ระดับท้องถิ่นในเรื่องนโยบาย ซึ่งสนับสนุนการนำตำราเรียนแบบเปิดมาใช้และคุ้มครองข้อมูลดิจิทัลของนักศึกษา

ที่มา: Cailyn Nagle and Kaitlyn Vitez (June 2020). Fixing the Broken Textbook Market: Second Edition. U.S. PIRG Education Fund. Retrieved June 20, 2022, from https://uspirg.org/sites/pirg/files/reports/Fixing-the-Broken-Textbook-Market_June-2020_v2.pdf

หนังสือ OpenOffice.org Impress

คู่มือการสร้างสื่อนำเสนอคุณภาพด้วย OpenOffice.org Impress ฉบับนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้โปรแกรมเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ อันเป็นโปรแกรมที่มีคุณค่าและความสำคัญอย่างมากในวงการ ไอซีทีของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆองค์กร ทุกๆ คนมีส่วนร่วมในการใช้งานไอซีทีที่ปลอดภัย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ซึ่งสอดรับแนวทางการใช้ไอซีทีอย่างมีคุณธรรม เละจริยธรรมอย่างแท้จริง ถือเป็นก้าวสำคัญของการใช้คอมพิวเตอร์ของคนไทย เพราะเป็นการใช้ผลงานของคนไทยที่เป็นการต่อยอคจากโปรแกรมเปิดเผยรหัสค้นฉบับอันมีชื่อเสียงทั่วโลก

 ดาวน์โหลดเอกสาร PDF

 เปิดอ่านออนไลน์รูปแบบ e-Book Filp

หนังสือหลักแนวปฏิบัติการจัดการจดหมายเหตุ

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พุทธศักราช 2532 มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ข้อ 7 กำหนดให้มีหน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานของฝ่ายบริการสนเทศ เป็นส่วนราชการหนึ่งของสำนักบรรณสารสนเทศซึ่งทำหน้าที่เป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัย นับแต่นั้นมาได้เริ่มต้นดำเนินงานด้านจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยครอบคลุมทั้งงานด้านเทคนิคและบริการเผยแพร่สารสนเทศจดหมายเหตุ และมีพัฒนาการมาโดยลำดับ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการข้อมูลเอกสารราชการของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่สิ้นกระแสการใช้งานแล้วที่มีคุณค่าสะท้อนถึงประวัติความเป็นมา พัฒนาการและเรื่องราวสำคัญของมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด

 ดาวน์โหลดเอกสาร PDF

 เปิดอ่านออนไลน์รูปแบบ e-Book Filp

หนังสือคู่มือการใช้งาน OpenOffice.org

ความต้องการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำระบบงานสำนักงาน มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน มีการเลือกใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟด์แวร์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของหน่วยงาน อย่างไรก็ตามการลงทุนเกี๋ยวกับคอมพิวเตอร์ และซอฟด์แวร์ นับเป็นภาระอย่างหนึ่งของหน่วยงาน เนื่องจากต้องลงทุนด้วยมูลค้ำสูง การลงทุนเกี่ยวกับไอทีในหน่วยงาน จึงต้องพิจารณาอย่างถี่อ้วน หลายๆ หน่วยงานเลี่ยงไม่ได้กับการลงทุนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เละฮาร์คแวร์ต่างๆ แด่ในปัจจุบันการลงทุนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์บริหารจัดการงานสำนักงาน มีทางเลือกที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาซอฟต์วร์รหัสเปิด ซึ่งเปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี

 ดาวน์โหลดเอกสาร PDF

 เปิดอ่านออนไลน์รูปแบบ e-Book Filp

หนังสือข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3

การจัดทำสื่อคิจิทัลที่ผ่านมามักจะเน้นการใช้งานโปรแกรมมากกว่าการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานการสร้าง การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การเข้ากัน ได้เมื่อนำสื่อดิจิทัลไปใช้งาน ส่งผลให้เกิดปัญหาหลากหลายตามมาจำนวนมาก เสียทั้งงบประมาณ กำลังที่ต้องทำงานซ้ำช้อน รวมทั้งอาจจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลในอนาคดฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล จึงได้นำประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง จากการวิจัย แปลงเป็นความรู้ในรูปแบบเอกสารเล่มนี้ เพื่อเป็นจุดตั้งต้นสำหรับทุกท่านทุกหน่วยงานได้ร่วมกันกำหนดแนวทาง แนวปฏิบัติ ข้อกำหนด หรือมาตรฐานการพัฒนา การใช้งานสื่อดิจิทัลภายในหน่วยงานของท่านต่อไป

 ดาวน์โหลดเอกสาร PDF

 เปิดอ่านออนไลน์รูปแบบ e-Book Filp